ข่าวประชาสัมพันธ์

สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาครร่วมพิธีทำบุญตักบาตรเพื่อถวายพระราชกุศลและวางพวงมาลาถวายความเคารพและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันนวมินทรมหาราช (13 ตุลาคม 2566) เวลา 07.30 น. ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร

สำนักงานอัยการจังหวัดประดับธงชาติไทย ณ สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร อาคารศาลากลางจังหวัดสมุทรสาครหลังเก่า เนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน 2566

สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาครร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะและจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง วันที่ 12 สิงหาคม 2566 เวลา 19.09 น. ที่บริเวณลานเอนกประสงค์หน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร

สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมกิจกรรมทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2566 เวลา 07.30 น. ที่บริเวณวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ตำบลยกกระบัตร อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

สำนักงานอัยการจังหวัด ร่วมกิจกรรมโครงการ “รำลึกวันรพี” ประจำปี พ.ศ.2566 โดยมีนายเสมา ชมชื่นธรรม อัยการจังหวัดสมุทรสาคร และบุคลากรในสังกัด เข้าร่วมกิจกรรม

สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร จัดกิจกรรมตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมเครื่องราชสักการะ เนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติ วันที่ 12 สิงหาคม 2566

นายเสมา ชมชื่นธรรม อัยการจังหวัดสมุทรสาคร จัดพิธีถายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566

นายเสมา ชมชื่นธรรม อัยการจังหวัดสมุทรสาคร และคณะข้าราชการฝ่ายอัยการ ร่วมให้การต้อนรับอธิบดีอัยการสำนักงานอัยการภาค 7 และคณะ
ในโอกาสที่ตรวจราชการสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร ประจำปี 2566 ในวันที่ 15 มิถุนายน 2566

คณะข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสดุดี เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วันที่ 25 เมษายน 2566

วันที่ 20 เมษายน 2566 ท่านเสมา ชมชื่นธรรม อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค ๒ ช่วยราชการสำนักงานอัยการภาค ๗ รักษาราชการในตำแหน่งอัยการจังหวัดสมุทรสาคร และคณะ เข้าพบท่านอธิบดีอัยการภาค ๗ ณ สำนักงานอัยการภาค ๗ เนื่องในโอกาสย้ายมาดำรงตำแหน่งใหม่ที่สำนักงานอัยการภาค ๗

สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมพิธีวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ วันที่ 6 เมษายน 2566

ท่านเสมา ชมชื่นธรรม อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค ๒ ช่วยราชการสำนักงานอัยการภาค ๗ รักษาราชการในตำแหน่งอัยการจังหวัดสมุทรสาคร เข้าพบผู้บริหาร เนื่องในโอกาสย้ายมาดำรงตำแหน่งใหม่ที่สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร

นางเยาวลักษณ์ หะรินสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร และคณะ ร่วมแสดงความยินดี และต้อนรับ ท่านเสมา ชมชื่นธรรม อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค ๒ ช่วยราชการสำนักงานอัยการภาค ๗ รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดสมุทรสาคร เนื่องในโอกาสมาดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดสมุทรสาคร

สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมพิธีวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า และวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี พ.ศ.2566

นายจตุพร จันทปลิน ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะ เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องใน “วันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ” ประจำปี ๒๕๖๖ พร้อมบุคลากรในสังกัด

สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาครร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕

สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร จัดตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐธานพระบรมฉายาลักษณ์ พร้อมเครื่องราชสักการะ เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕

นายจตุพร จันทปลิน อัยการจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมพิธีถวายราชสักการะน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องใน “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” 14 พฤศจิกายน 2565

สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมพิธีวางพวงมาลา และกล่าวน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 23 ตุลาคม 2565

สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมพิธีตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีวางพวงมาลา
เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2565

สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร จัดกิจกรรมตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ พร้อมเครื่องราชสักการะ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  13 ตุลาคม 2565

คณะข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร เข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2565

นายจตุพร จันทปลิน อัยการจังหวัดสมุทรสาคร และคณะข้าราชการฝ่ายอัยการ ร่วมงานวันรพีพระบิดาแห่งกฎหมายไทย ประจำปี พ.ศ. 2565 ณ ศาลจังหวัดสมุทรสาคร ในวันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม 2565

นายจตุพร จันทปลิน อัยการจังหวัดสมุทรสาคร และคณะข้าราชการฝ่ายอัยการ ร่วมถวายราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2565 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ลานหน้าอาคารศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร (หลังเก่า) ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 เวลา 17.30 น.

นายจตุพร จันทปลิน อัยการจังหวัดสมุทรสาคร และคณะข้าราชการฝ่ายอัยการ ทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
28 กรกฎาคม 2565 ณ บริเวณวัดเจษฎาราม (พระอารามหลวง) ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 เวลา 06.30 น.

วันอังคาร ที่ 26 กรกฎาคม 2565 นายจตุพร จันทปลิน อัยการจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ บุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร เข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล
และถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดี และพลังของแผ่นดิน และลงนามถวายสัตย์ปฏิญาณฯ ประจำปี 2565 ณ สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร

วันจันทร์ ที่ 18 กรกฎาคม 2565 นายจตุพร จันทปลิน อัยการจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ บุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร จัดกิจกรรมโครงการอัยการอาสาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 เลี้ยงอาหารกลางวันและบริจาคสิ่งของให้แก่เด็กด้อยโอกาส ณ มูลนิธิคุ้มครองเด็ก (จ.สมุทรสงคราม)

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมาสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร

ประวัติความเป็นมาของสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร ไม่ใด้มีการบันทึกไว้ และไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่เมื่อได้ศึกษาจากที่ได้มี พระบรมราชโองการให้โอนกรมอัยการจากกระทรวงยุติธรรมไปสังกัดกระทรวงมหาดไทยแล้ว ต่อมาประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นแบบ ประชาธิปไตยโดยมีรัฐธรรมนูญเมื่อ พ.ศ.2475 ปรากฏว่าได้มี พระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาขึ้นใหม่หลายฉบับ อันเป็นการจัดระเบียบ บริหารราชการ และการแบ่งส่วนราชการของกรมอัยการ ได้แก่ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรง ทบวง กรม พ.ศ.2476 และ พ.ศ.2495 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า กรมอัยการ เป็นกรมในสังกัดกระทรวงมหาดไทย พระราชบัญญัติด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2478 ซึ่งตามมาตรา 18,19,20 อัยการจังหวัดเป็นคณะกรมการจังหวัดร่วมรับผิดชอบ ในการบริหารแห่งจังหวัดนั้น และตามพระราชบัญญัตินี้การปกครองส่วนภูมิภาค ไม่ได้แบ่งออกเป็นมณทลอย่างแต่ก่อน ดังนั้น ตำแหน่งอัยการมณทล จึงยกเลิกไป พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงาน และกรมในกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2476 ซึ่งได้แบ่งส่วนราชการของกรมอัยการออกเป็น ราซการบริหารส่วนกลางและภูมิภาค ส่วนกลางแบ่งออกเป็น 3 กอง คือ สำนังานเลขานุการกรม กองอัยการ กองคดี ส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็นกองอัยกรจังหวัด และอัยการอำภอ สันนิษฐานได้ว่าสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร จัดตั้งขึ้นมื่อประมาณ พ.ศ 2478 โดยสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร ตั้งอยู่ภายในศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร จนถึงปัจจุบัน

ประวัติของจังหวัดสมุทรสาคร เป็นจังหวัดชายทะเล ตั้งอยู่ปากแม่น้ำท่าจีน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ กล่าวไว้ว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมุทรสาครเดิมเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีชาวจีนนำเรือสำเภาเข้ามาจอดเทียบ ทำการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า และได้พักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเรียกว่า “บ้านท่าจีน” ตั้งอยู่บริเวณปากอ่าวไทย ต่อมาในสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ (ค. ศ.2099) ได้โปรดให้ยกฐานะ “บ้านท่าจีน” ขึ้นเป็น “เมืองสาครบุรี” เพื่อเป็นหัวเมืองสำหรับเรียกระดมพลเวลาเกิดสงคราม และเป็นมืองด่านป้องกันข้าศึกศัตรูที่จะเข้ามารุกราน บุกรุกทางทะเล ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงโปรด ให้เปลี่ยนชื่อ “เมืองสาครบุรี” เป็น “เมืองสมุทรสาคร” ซึ่งมีความหมายว่า “เมืองแห่งทะลและแม่น้ำ” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2448) ทรงปฏิรูปการปกครอง มีการจัดระบบการบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็นมณฑลเทศาภิบาล และได้ทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่น โดยใช้รูปแบบการปกครองแบบสุขาภิบาล จึงได้มีพระบรมราชโองการไห้ยกฐานะ “ตำบลท่าฉลอม” เป็น “สุขาภิบาลท่าฉลอม” จังหวัดสมุทรสาคร เป็นสุขาภิบาลที่ตั้งขึ้นในตัวเมืองเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 6 (พ.ศ.2456) โปรดเกล้าให้ทางราชการเปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” ทั่วทุกแห่งในพระราชอาณาจักร “เมืองสมุทรสาคร” จึงได้เปลี่ยนเป็น “จังหวัดสมุทรสาคร” มาจวบจนปัจจุบันนี้ ส่วนคำว่า “มหาชัย” ที่คนทั่วไปมักเรียกกันขึ้น เป็นชื่อคลองที่สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 แห่งกรุงศรีอยุธยา โปรดให้ขุดคลองเป็นแนวตรงไปออกปากน้ำเมืองสาครบุรีแทนคลองโคกขามที่คดเคี้ยว แต่ยังไม่ทันเสร็จทรงสวรรคตเสียก่อน จนถึงรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ) ได้โปรดให้ขุดคลองต่อจนแล้วเสร็จ และได้พระราชทานนามว่าคลองมหาชัย ซึ่งต่อมา ณ บริเวณฝั่งชัยปากคลองได้งพชุมชนขนาดใหญ่ขึ้นชื่อว่า “มหาชัย” จึงเป็นที่นิยมเรียกขานแต่นั้นเป็นต้นมา

หลักเกณฑ์ และวิธีการที่ประชาชนจะขอรับความช่วยเหลือ

การขอรับความช่วยเหลือบุคคลที่มีสิทธิขอรับความช่วยเหลือ ได้แก่ บุคคดที่ถูกโต้แย้งสิทธิ หรือหน้าที่ของตนตามกฎหมายแพ่ง หรือผู้ที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล เพื่อรับความรับรอง คุ้มครอง บังคับ ตามสิทธิของคนที่มีอยู่ หรือ จะกระทำการ หรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้รับอณุญาต หรือให้ศาลแสดงหรือรับรองสิทธิ ของตนเสียก่อน เช่น ขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก เป็นต้น

คดีที่อัยการพิศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายคดีซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ เช่น
– ร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก
– ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรม การเลิกรับบุตรบุญธรรม
– ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ และร้องขอให้ศาลถอนผู้ปกครอง
– ร้องขอให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครอง
– ร้องขอให้ศาลสั่งให้คนวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถ และการร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งที่สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
– ร้องขอให้ศาล สั่งให้บุคคลซึ่งมีสติฟั่นเพื่อน หรือพิการและไม่สามารถประกอบการงานของตน เป็นคนสมือนไร้ความสามารถ และการร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งที่สั่งให้เป็นคนเสมือนใร้ความสามารถ
– ร้องขอให้ศาล สั่งให้ทำพลางตามที่จำเป็น เพื่อจัดการทรัพย์สินของบุคคลที่ไปจากภูมิลำเนาถิ่นที่อยู่
– ร้องรอให้ศาลสั่งให้ผู้ที่ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ เป็นคนสาบสูญ
– ร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ
– เป็นโจทก์ฟ้องคดีที่กฎหมายห้ามมิให้ราษฎรร้อง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ห้ามมิให้ฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทร้องขอ อัยการจะยกคดีขั้นว่ากล่าวก็ได้

สถานที่ขอรับความช่วยเหลือ ผู้ร้องขอความช่วยเหลือจะขอรับความช่วยเหลือได้ที่สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) ประจำจังหวัดแต่ละจังหวัด

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดมีดังนี้

(มาตรา ๒๓) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชาการ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครอง ป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
(๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
(๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
(๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
(๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
(๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ
(๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
(๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
(๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด
ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุดมีดังนี้

(มาตรา ๒๗) ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
(๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ
(๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสุดของสำนักงานอัยการสูงสุด
ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้
ให้อัยการสูงสุดโอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการมีดังนี้

มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำจานและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
(๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือพนักงานอัยการ
(๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของ สำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
(๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนี่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้ กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
(๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
(๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
(๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึด ทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาก ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตาม ระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

เอกสารเผยแพร่

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังวัดสมุทรสาคร
ศาลากลาง. ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร74000
โทร,โทรสาร 034-810979