ข่าวประชาสัมพันธ์

สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาครร่วมพิธีทำบุญตักบาตรเพื่อถวายพระราชกุศลและวางพวงมาลาถวายความเคารพและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันนวมินทรมหาราช (13 ตุลาคม 2566) เวลา 07.30 น. ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร

สำนักงานอัยการจังหวัดประดับธงชาติไทย ณ สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร อาคารศาลากลางจังหวัดสมุทรสาครหลังเก่า เนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน 2566

สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาครร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะและจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง วันที่ 12 สิงหาคม 2566 เวลา 19.09 น. ที่บริเวณลานเอนกประสงค์หน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร

สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมกิจกรรมทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2566 เวลา 07.30 น. ที่บริเวณวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร ตำบลยกกระบัตร อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

สำนักงานอัยการจังหวัด ร่วมกิจกรรมโครงการ “รำลึกวันรพี” ประจำปี พ.ศ.2566 โดยมีนายเสมา ชมชื่นธรรม อัยการจังหวัดสมุทรสาคร และบุคลากรในสังกัด เข้าร่วมกิจกรรม

สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร จัดกิจกรรมตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พร้อมเครื่องราชสักการะ เนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติ วันที่ 12 สิงหาคม 2566

นายเสมา ชมชื่นธรรม อัยการจังหวัดสมุทรสาคร จัดพิธีถายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566

นายเสมา ชมชื่นธรรม อัยการจังหวัดสมุทรสาคร และคณะข้าราชการฝ่ายอัยการ ร่วมให้การต้อนรับอธิบดีอัยการสำนักงานอัยการภาค 7 และคณะ
ในโอกาสที่ตรวจราชการสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร ประจำปี 2566 ในวันที่ 15 มิถุนายน 2566

คณะข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสดุดี เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วันที่ 25 เมษายน 2566

วันที่ 20 เมษายน 2566 ท่านเสมา ชมชื่นธรรม อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค ๒ ช่วยราชการสำนักงานอัยการภาค ๗ รักษาราชการในตำแหน่งอัยการจังหวัดสมุทรสาคร และคณะ เข้าพบท่านอธิบดีอัยการภาค ๗ ณ สำนักงานอัยการภาค ๗ เนื่องในโอกาสย้ายมาดำรงตำแหน่งใหม่ที่สำนักงานอัยการภาค ๗

สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมพิธีวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ วันที่ 6 เมษายน 2566

ท่านเสมา ชมชื่นธรรม อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค ๒ ช่วยราชการสำนักงานอัยการภาค ๗ รักษาราชการในตำแหน่งอัยการจังหวัดสมุทรสาคร เข้าพบผู้บริหาร เนื่องในโอกาสย้ายมาดำรงตำแหน่งใหม่ที่สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร

นางเยาวลักษณ์ หะรินสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร และคณะ ร่วมแสดงความยินดี และต้อนรับ ท่านเสมา ชมชื่นธรรม อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค ๒ ช่วยราชการสำนักงานอัยการภาค ๗ รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดสมุทรสาคร เนื่องในโอกาสมาดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดสมุทรสาคร

สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมพิธีวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า และวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี พ.ศ.2566

นายจตุพร จันทปลิน ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะ เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องใน “วันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ” ประจำปี ๒๕๖๖ พร้อมบุคลากรในสังกัด

สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาครร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕

สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร จัดตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐธานพระบรมฉายาลักษณ์ พร้อมเครื่องราชสักการะ เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕

นายจตุพร จันทปลิน อัยการจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมพิธีถวายราชสักการะน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องใน “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” 14 พฤศจิกายน 2565

สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมพิธีวางพวงมาลา และกล่าวน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 23 ตุลาคม 2565

สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมพิธีตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีวางพวงมาลา
เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2565

สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร จัดกิจกรรมตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ พร้อมเครื่องราชสักการะ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  13 ตุลาคม 2565

คณะข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร เข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2565

นายจตุพร จันทปลิน อัยการจังหวัดสมุทรสาคร และคณะข้าราชการฝ่ายอัยการ ร่วมงานวันรพีพระบิดาแห่งกฎหมายไทย ประจำปี พ.ศ. 2565 ณ ศาลจังหวัดสมุทรสาคร ในวันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม 2565

นายจตุพร จันทปลิน อัยการจังหวัดสมุทรสาคร และคณะข้าราชการฝ่ายอัยการ ร่วมถวายราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2565 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ลานหน้าอาคารศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร (หลังเก่า) ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 เวลา 17.30 น.

นายจตุพร จันทปลิน อัยการจังหวัดสมุทรสาคร และคณะข้าราชการฝ่ายอัยการ ทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
28 กรกฎาคม 2565 ณ บริเวณวัดเจษฎาราม (พระอารามหลวง) ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 เวลา 06.30 น.

วันอังคาร ที่ 26 กรกฎาคม 2565 นายจตุพร จันทปลิน อัยการจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ บุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร เข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล
และถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดี และพลังของแผ่นดิน และลงนามถวายสัตย์ปฏิญาณฯ ประจำปี 2565 ณ สำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร

วันจันทร์ ที่ 18 กรกฎาคม 2565 นายจตุพร จันทปลิน อัยการจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ บุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร จัดกิจกรรมโครงการอัยการอาสาเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 เลี้ยงอาหารกลางวันและบริจาคสิ่งของให้แก่เด็กด้อยโอกาส ณ มูลนิธิคุ้มครองเด็ก (จ.สมุทรสงคราม)

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมาสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร

ประวัติความเป็นมาของสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร ไม่ใด้มีการบันทึกไว้ และไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่เมื่อได้ศึกษาจากที่ได้มี พระบรมราชโองการให้โอนกรมอัยการจากกระทรวงยุติธรรมไปสังกัดกระทรวงมหาดไทยแล้ว ต่อมาประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นแบบ ประชาธิปไตยโดยมีรัฐธรรมนูญเมื่อ พ.ศ.2475 ปรากฏว่าได้มี พระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาขึ้นใหม่หลายฉบับ อันเป็นการจัดระเบียบ บริหารราชการ และการแบ่งส่วนราชการของกรมอัยการ ได้แก่ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรง ทบวง กรม พ.ศ.2476 และ พ.ศ.2495 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า กรมอัยการ เป็นกรมในสังกัดกระทรวงมหาดไทย พระราชบัญญัติด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2478 ซึ่งตามมาตรา 18,19,20 อัยการจังหวัดเป็นคณะกรมการจังหวัดร่วมรับผิดชอบ ในการบริหารแห่งจังหวัดนั้น และตามพระราชบัญญัตินี้การปกครองส่วนภูมิภาค ไม่ได้แบ่งออกเป็นมณทลอย่างแต่ก่อน ดังนั้น ตำแหน่งอัยการมณทล จึงยกเลิกไป พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงาน และกรมในกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2476 ซึ่งได้แบ่งส่วนราชการของกรมอัยการออกเป็น ราซการบริหารส่วนกลางและภูมิภาค ส่วนกลางแบ่งออกเป็น 3 กอง คือ สำนังานเลขานุการกรม กองอัยการ กองคดี ส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็นกองอัยกรจังหวัด และอัยการอำภอ สันนิษฐานได้ว่าสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร จัดตั้งขึ้นมื่อประมาณ พ.ศ 2478 โดยสำนักงานอัยการจังหวัดสมุทรสาคร ตั้งอยู่ภายในศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร จนถึงปัจจุบัน

ประวัติของจังหวัดสมุทรสาคร เป็นจังหวัดชายทะเล ตั้งอยู่ปากแม่น้ำท่าจีน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ กล่าวไว้ว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมุทรสาครเดิมเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีชาวจีนนำเรือสำเภาเข้ามาจอดเทียบ ทำการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้า และได้พักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเรียกว่า “บ้านท่าจีน” ตั้งอยู่บริเวณปากอ่าวไทย ต่อมาในสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ (ค. ศ.2099) ได้โปรดให้ยกฐานะ “บ้านท่าจีน” ขึ้นเป็น “เมืองสาครบุรี” เพื่อเป็นหัวเมืองสำหรับเรียกระดมพลเวลาเกิดสงคราม และเป็นมืองด่านป้องกันข้าศึกศัตรูที่จะเข้ามารุกราน บุกรุกทางทะเล ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงโปรด ให้เปลี่ยนชื่อ “เมืองสาครบุรี” เป็น “เมืองสมุทรสาคร” ซึ่งมีความหมายว่า “เมืองแห่งทะลและแม่น้ำ” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2448) ทรงปฏิรูปการปกครอง มีการจัดระบบการบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็นมณฑลเทศาภิบาล และได้ทรงมีพระราชดำริที่จะสร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่น โดยใช้รูปแบบการปกครองแบบสุขาภิบาล จึงได้มีพระบรมราชโองการไห้ยกฐานะ “ตำบลท่าฉลอม” เป็น “สุขาภิบาลท่าฉลอม” จังหวัดสมุทรสาคร เป็นสุขาภิบาลที่ตั้งขึ้นในตัวเมืองเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 6 (พ.ศ.2456) โปรดเกล้าให้ทางราชการเปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” ทั่วทุกแห่งในพระราชอาณาจักร “เมืองสมุทรสาคร” จึงได้เปลี่ยนเป็น “จังหวัดสมุทรสาคร” มาจวบจนปัจจุบันนี้ ส่วนคำว่า “มหาชัย” ที่คนทั่วไปมักเรียกกันขึ้น เป็นชื่อคลองที่สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 แห่งกรุงศรีอยุธยา โปรดให้ขุดคลองเป็นแนวตรงไปออกปากน้ำเมืองสาครบุรีแทนคลองโคกขามที่คดเคี้ยว แต่ยังไม่ทันเสร็จทรงสวรรคตเสียก่อน จนถึงรัชสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ) ได้โปรดให้ขุดคลองต่อจนแล้วเสร็จ และได้พระราชทานนามว่าคลองมหาชัย ซึ่งต่อมา ณ บริเวณฝั่งชัยปากคลองได้งพชุมชนขนาดใหญ่ขึ้นชื่อว่า “มหาชัย” จึงเป็นที่นิยมเรียกขานแต่นั้นเป็นต้นมา

หลักเกณฑ์ และวิธีการที่ประชาชนจะขอรับความช่วยเหลือ

การขอรับความช่วยเหลือบุคคลที่มีสิทธิขอรับความช่วยเหลือ ได้แก่ บุคคดที่ถูกโต้แย้งสิทธิ หรือหน้าที่ของตนตามกฎหมายแพ่ง หรือผู้ที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล เพื่อรับความรับรอง คุ้มครอง บังคับ ตามสิทธิของคนที่มีอยู่ หรือ จะกระทำการ หรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้รับอณุญาต หรือให้ศาลแสดงหรือรับรองสิทธิ ของตนเสียก่อน เช่น ขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก เป็นต้น

คดีที่อัยการพิศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายคดีซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ เช่น
– ร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก
– ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรม การเลิกรับบุตรบุญธรรม
– ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ และร้องขอให้ศาลถอนผู้ปกครอง
– ร้องขอให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครอง
– ร้องขอให้ศาลสั่งให้คนวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถ และการร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งที่สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
– ร้องขอให้ศาล สั่งให้บุคคลซึ่งมีสติฟั่นเพื่อน หรือพิการและไม่สามารถประกอบการงานของตน เป็นคนสมือนไร้ความสามารถ และการร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งที่สั่งให้เป็นคนเสมือนใร้ความสามารถ
– ร้องขอให้ศาล สั่งให้ทำพลางตามที่จำเป็น เพื่อจัดการทรัพย์สินของบุคคลที่ไปจากภูมิลำเนาถิ่นที่อยู่
– ร้องรอให้ศาลสั่งให้ผู้ที่ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ เป็นคนสาบสูญ
– ร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ
– เป็นโจทก์ฟ้องคดีที่กฎหมายห้ามมิให้ราษฎรร้อง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1562 ห้ามมิให้ฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทร้องขอ อัยการจะยกคดีขั้นว่ากล่าวก็ได้

สถานที่ขอรับความช่วยเหลือ ผู้ร้องขอความช่วยเหลือจะขอรับความช่วยเหลือได้ที่สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) ประจำจังหวัดแต่ละจังหวัด

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดมีดังนี้

(มาตรา ๒๓) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชาการ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครอง ป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
(๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
(๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
(๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
(๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
(๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ
(๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
(๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
(๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด
ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุดมีดังนี้

(มาตรา ๒๗) ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
(๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ
(๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสุดของสำนักงานอัยการสูงสุด
ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้
ให้อัยการสูงสุดโอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการมีดังนี้

มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำจานและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
(๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือพนักงานอัยการ
(๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของ สำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
(๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนี่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้ กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
(๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
(๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
(๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึด ทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาก ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตาม ระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

ทำเนียบอัยการจังหวัด


1.
2.
3.
4.
5.
6.
7.
8.
9.
10.
11.
12.
13.
14.
15.
16.
17.
18.
19.
20.
21.
22.
23.
24.
25.
26.
27.
28.
29.
30.
31.
32.
33.
34.
35.
36.
37.
38.
39.
40.
41.
42.
43.
44.
45.
46.
47.
48.
49.
50.
51.


นายสุพจน์ (สุดจิต์)
นายสุธรรม (สมหวัง)
นายประสิทธิ์
นายโชติ
นายส่ง
นายเลิศ
นายเสรี
นายกวี
นายประสิทธิ์
นายประณต
นายวัฒนา
นายประจวบ
นายณรงค์
นายประสาน
นายกิตติ
นายประวิทย์
นายปรีดี
นายสุทัศน์
นายสัตยา
ร้อยตรีสุวิช
นายจารักษ์
ร้อยตรีสุวิช
นายสมพงษ์
นางสมศรี
นายยุทธศิลป์
นายเธียร
นายนพดล
นายภูติ
นายมนู
นายสมโภชน์
นายพัฒนา
นายณัฐวุฒิ
นายชัยวัฒน์
นายทวีสิน
นายชยันต์
นายสุรสิทธิ์
นายโสภณ
นายชัชวาล
นางเยาวลักษณ์
นายอภิชัย
นายอภิชัย
นางสาวรัตนา
นายสมชาย
นายธีรพงษ์
นายสมพงษ์
นางสาวเรณู
นายปรีชากูล
ร้อยตำรวจเอกณรงค์
นายศราวุธ
นายจตุพร
นายเสมา


พูลเกส
แสงเสย์โย
สุวรรณสมบูรณ์
วิบูลย์สวัสดิ์
วิบูลย์สวัสดิ์
จุฬารัตน์
ปลอดดี
ทีปกร
โหดระภรานนท์
ผลาทร
วานิชผล
พุทาพิทักษ์
เผื่อนทอง
สุสิกขโกศล
ปิลันธนดิลก
พิพัฒนกุลสวัสดิ์
จุลเจิม
ม่วงศิริ
อรุณธารี
สาวนายน
ค้าสนิท
สาวนายน
สุวรรณภักดี
วัฒนไพศาล
เสนานาญ
โอฬารกิจอนันต์
อเนกยุณย์
ศรีวัจณะพงษ์
กาญจนวงศ์
ลิ้มประยูร
อิศรางกูล ณ อยุธยา
สกุลพาณิช
ธิติชัยฤกษ์
หิรัญวัฒศิริ
ศุกระศร
ม่วงศิริ
ศิริรัตน์
จิรบวร
นนทแก้ว
ยอดครุฑ
ไทยเที่ยง
เล็กสมบูรณ์ไชย
ศักดิ์สุนทร
ลิมปนันท์
ขจรชัยกุล
อาจรยวัตรกุล
คูณทรัพย์
น้อยเลิศ
เสียงแจ้ว
จันทปลิน
ชมชื่นธรรม


2484 – 2486
2486 – 2492
2492 – 2497
2497 – 2502
2502 – 2503
2503 – 2507
2507 – 2511
2511 – 2513
2513 – 2515
2515 – 2516
2516 – 2519
2519 – 2520
2520 – 2522
2522 – 2524
2524 – 2525
2525 – 2526
2526 -2527
2527 – 2528
2528 – 2530
2530 – 2531
2531 – 2533
2533 -2534
2534 – 2536
2536 -2538
2538 – 2539
2539 – 2542
2542 – 2543
2543 – 2544
2544 – 2545
2545 – 2546
2546 – 2547
2547 – 2548
2548 – 2549
2549 – 2550
2550 – 2551
2551 – 2552
2552 – 2553
2553 – 2554
2554 – 2555
2555 – 2556
2556 – 2557
2557 – 2558
2558 – 2559
2559 – 2560
2560 – 2561
2561 – 2562
2562 – 2563
2563 – 2564
2564 – 2565
2565 – 2566
2566 – ปัจจุบัน

สถิติคดี

เอกสารเผยแพร่

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังวัดสมุทรสาคร
ศาลากลาง. ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร74000
โทร,โทรสาร 034-810979