วันพุธที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๗ พ.ต.ต.วัฒนา บุญเหิน อัยการจังหวัดทองผาภูมิ พร้อมคณะ เข้าร่วมโครงการ “๑๓๑ ปี องค์กรอัยการ ที่พึ่งด้านกฎหมายของรัฐและประชาชน” ณ สำนักงานอัยการภาค ๗ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี

อัยการจังหวัดทองผาภูมิและคณะ เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอทองผาภูมิ

เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๗ อัยการจังหวัดทองผาภูมิและคณะ เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในโอกาสพิเศษ ปีแห่งการศวรรคตครบ ๗ ปี หรือ “สัตตมวรรษ” และเข้าร่วมพิธีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณฯ และถวายความอาลัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ ที่ว่าการอำเภอทองผาภูมิ

อัยการจังหวัดทองผาภูมิและคณะ เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล พิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล พิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม พิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอทองผาภูมิ และเข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ ๙๑ ต้น กิจกรรมจิตอาสาพัฒนา บำรุงรักษา ทำความสะอาดบริเวณสวนฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษาบรมราชินีนาถ และกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำบริเวณป้อมท้ายน้ำบ้านชงโค จำนวน ๑๐๐,๐๙๑ ตัว ณ เขื่อนวชิราลงกรณ เนื่องในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๖

อัยการจังหวัดทองผาภูมิและคณะ เข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี และความสามัคคีของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า ประกอบด้วย พิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล พิธีถวายเครื่องราชสักการะ วางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอทองผาภูมิ

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติสำนักงานอัยการจังหวัดทองผาภูมิ

          จังหวัดกาญจนบุรี มีเนื้อที่ประมาณ ๑๙,๔๘๖ ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น ๑๐ อำเภอ ๒ กิ่งอำเภอ สถานีตำรวจ ๒๐ แห่ง ภูมิประเทศส่วนใหญ่ เป็นป่าเขาและที่ราบสูง โดยเฉพาะอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี อยู่ชายแดนติดต่อประเทศพม่า ห่างไกลจากตังจังหวัด ๑๔๖ และ ๒๒๐ กิโลเมตร ตามลำดับ ประชาชนในสองอำเภอดังกล่าวมีความยากลำบากใน การเดินทางติดต่อราชการที่ศาลจังหวัดกาญจนบุรี ศาลจังหวัดกาญจนบุรี จึงมีคำสั่งกำหนดให้มีการนั่งพิจารณา ณ. ศาลจังหวัดกาญจนบุรี (ทองผาภูมิ) เพื่อให้ผู้พิพากษา นายเดียว พิจารณาคดีอาญา ที่มีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และการไต่ส่วนชันสูตรพลิกศพ กรณีความตายเกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฎิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าเป็นปฎิบัติราชการตามหน้าที่ ที่เกิดในท้องที่อำเภอทองผาภูมิและสังขละบุรี และพิจารณาคดีแพ่ง ที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินหนึ่งแสนบาท ซึ่งจำเลยมีภูมิลำเนา หรือทรัพย์ตั้งอยู่หรือมูลคดีเกิดในท้องที่สองอำเภอดังกล่าว โดยเริ่มนั่งพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดกาญจนบุรี (ทองผาภูมิ) ตั้งแต่วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ สำนักงานอัยการสูงสุดจึงแต่งตั้งพนักงานอัยการ ให้ปฎิบัติหน้าที่อัยการจังหวัด และรองอัยการจังหวัด สำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี (ทองผาภูมิ) ตั้งแต่วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ เป็นต้นมา

ในระยะแรก สำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี(ทองผาภูมิ) ได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักงานเกษตรอำเภอทองผาภูมิ ให้ใช้พื้นที่บางส่วนประมาณ ๗๐ ตารางเมตร เป็นที่ปฎิบัติงานชั่วคราวของพนักงานอัยการ ๒ นาย และเจ้าหน้าที่ธุรการ สำนักงานอัยการจังหวัดช่วยราชการ ๒ นาย การดำเนินคดีส่วนใหญ่ เป็นคดีความผิดเกี่ยวกับ กฎหมายป่าไม้, กฎหมายคนเข้าเมือง, การพนัน, อาวุธปืนฯ, ยาเสพติดให้โทษ (กัญชา) และอื่นๆ ในระหว่างปีงบประมาณ ๒๕๓๓ ได้รับการสนับสนุนจากนายอำเภอทองผาภูมิ (นายประหยัด เวสสบุตร) จัดสรรพื้นที่จำนวน ๑ ไร่ ติดกับสำนักงานเกษตรอำเภอทางทิศเหนือ สร้างอาคารสำนักงาน ซึ่งได้รับงบประมาณในปี ๒๕๓๓ ก่อสร้างอาคารสองชั้น พื้นที่ใช้สอยประมาณ ๓๕๐ ตารางเมตร พร้อมเสาธง และรั้วล้อมรอบ ในวงเงิน ๕,๙๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าล้านเก้าแสนบาท) และจัดสรรพื้นที่ทางด้านหลังศูนย์ราชการให้ปลูกสร้างบ้านพักข้าราชการอีก ๑ ไร่ การก่อสร้างอาคารสำนักงานแล้วเสร็จ และย้ายจากสถานที่ชั่วคราว เข้าไปอยู่ในอาคารสำนักงานปัจจุบัน เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๓๕ ปัจจุบันมีข้าราชการฝ่ายอัยการ ๕ คน และข้าราชการฝ่ายธุรการ ๑๒ คน จ้างเหมาบริการ ๒ คน รวมบุคลากรในสำนักงานทั้งสิ้น ๑๙ คน และมีอำนาจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งในอัตราโทษและทุนทรัพย์ที่อยู่ในการพิจารณาของผู้พิพากษานายเดียวเหมือนเดิม แต่การอำนวยความยุติธรรมในงานของพนักงานอัยการและเจ้าหน้าที่ธุรการ นอกจากจะดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว ยังมีสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับ ซึ่งช่วยให้คำแนะนำให้คำปรึกษา แก้ไขปัญหากฎหมายแก่ประชาชนในเขตพื้นที่อำเภอทองผาภูมิและอำเภอสังขละบุรี ซึ่งประชาชนผู้ติดต่อขอความช่วยเหลือไม่ต้องเดินทางไปถึง ตัวจังหวัดกาญจนบุรี นับว่า เป็นสถานที่อำนวยความยุติธรรมและบริการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สมความ มุ่งหมายของทางราชการทุกประการ 

          ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖ เปลี่ยน การพิจารณาคดีเป็น การพิจารณาคดีเต็มรูปแบบ ยกเว้นคดีที่ผู้ต้องหาเป็นเยาวชน จะต้องนำส่งสำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี(แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว)

          ต่อมาวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๘ สำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี(ทองผาภูมิ) ได้เปลี่ยนเป็น สำนักงานอัยการจังหวัดทองผาภูมิ รู้จักทองผาภูมิ…….

“ทองผาภูมิ” คือชื่อของอำเภอหนึ่งในจังหวัดที่เรามักจะเรียกขานกันสั้น ๆ ง่าย ๆ ว่า “เมืองกาญจน์”
สำหรับคอนิยมไพรเพียงแค่เอ่ยชื่ออำเภอทองผาภูมิขึ้นมาก็ใจระทึกแล้ว เพราะที่นี่ขึ้นชื่อว่ามีผืนป่าที่สมบูรณ์อุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพให้ศึกษา ในขณะที่บางคนเมื่อได้ยินชื่ออำเภอทองผาภูมิแล้วอาจจะแค่มองผ่านเลยไป ด้วยเข้าใจว่าไม่มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจเหมือนกับอำเภออื่น ๆ ในจังหวัดกาญจนบุรีเพราะไปเมืองกาญจน์ทีไรก็ต้องไปเที่ยวแบบเอาความรู้ทางประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ บ่อยครั้ง ที่ใครไปใครมาก็มักจะแวะเที่ยวชมกันที่ตัวเมืองหรือไม่ก็เลยไปไหว้หลวงพ่ออุตตะมะ ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วทองผาภูมิเป็นเมืองที่มีเสน่ห์น่าหลงใหลเกินกว่าที่ใครหลายคนคาดเดาเอาไว้มากมาย……

          จะว่าไปแล้วทองผาภูมิเป็นเมืองหนึ่งที่มากด้วยธรรมชาติอันงดงาม แวดล้อมไปด้วยขุนเขาที่สลับซับซ้อนและสูงเสียดฟ้า ซุกซ่อนไว้ด้วยเถื่อนถ้ำที่สุดแสนจะอำไพ แซมสลับด้วยป่าดงพงไม้ที่มีลำต้นใหญ่สูงชะลูดแผ่กิ่งก้านร่มครึ้มและผลิใบเขียวชอุ่ม มีธารน้ำไหลเซาะจากเทือกภูสูงผ่านป่าทึบแล้วรวมตัวเป็นน้ำตกสวยใสกระจายฟองขาวสะอาดตาโปรยสายลงมาดุจม่านแห่งสายน้ำจาก ผาสูงกลายเป็นสายธารใหญ่ไหลหล่อเลี้ยงทุกสรรพชีวิตบนผืนโลก สร้างความฉ่ำเย็น ยังความชุ่มชื้นผ่านแดนดิน หากพิจารณากันในด้านประวัติศาสตร์ อำเภอทองผาภูมินับว่าเป็นหัวเมืองเก่า โดยในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงเล็งเห็นว่ามีชุมชนที่หนาแน่นบริเวณแม่น้ำแควน้อย จึงได้ตั้งหัวเมืองขึ้น ได้แก่ เมืองสังขละบุรี เมืองทองผาภูมิ เมืองไทรโยค ทางแม่น้ำแควใหญ่ ได้แก่ เมืองศรีสวัสดิ์ เมืองท่ากระดาน เพื่อให้เกิดยุทธศาสตร์ด้านการข่าวให้แพร่ ไปถึงประเทศพม่าว่าไทยมีกำลังเข้มแข็งพม่าจะได้ไม่กล้ารุกรานและยังเป็นเมืองกันชนคอยส่งข่าวข้าศึกที่จะมารุกรานให้เมืองหลวงทราบ ต่อมาในรัชสมัยพระพุทธเจ้าหลวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระองค์ ทรงปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเสียใหม่ เมืองหน้าด่านอย่างเมืองทองผาภูมิจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอสังขละบุรี” เมื่อประมาณ รศ. ๑๒๐ (พ.ศ. ๒๔๔๔) ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแควน้อย (แควไทรโยค) ที่บ้านท่าขนุน มีเจ้าเมืองปกครองขึ้นตรงต่อกรุงรัตนโกสินทร์ และด้วยความที่เมืองนี้ไม่ได้เป็นเมืองใหญ่เช่นเมืองอื่น ๆ จึงไม่มีกำแพงเมือง หากแต่เป็นเพียงเมืองหน้าด่านที่ใช้สำหรับแจ้งข่าวข้าศึกจากพม่าไปยังเมืองกาญจนบุรีเท่านั้น อำเภอนี้จึงไม่มีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ แม้กระทั่งในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ ๒

          ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๘๒ ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อเมืองนี้ให้ถูกต้องตามประวัติศาสตร์และสอดคล้องกับทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ “ทองคำ” ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่พบมากในอำเภอนี้โดยเปลี่ยนชื่อ “กิ่งอำเภอทองผาภูมิ” จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ จึงได้ยกฐานะเป็น “อำเภอทองผาภูมิ” จนถึงปัจจุบัน

งามวิถีแห่งวัฒนธรรม

อำเภอทองผาภูมิมีศิลปวัฒนธรรมแบบไทยภาคกลางที่ยังคงมีการยึดถือปฎิบัติกันมาตามแบบวิถีไทยแต่เนื่องจากอำเภอทองผาภูมิเป็นอำเภอที่อยู่ติดกับตะเข็บชายแดนไทย – พม่า จึงทำให้มีชนกลุ่มน้อยอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานกันมาก ทำให้มีความแปลกแยกในเรื่องราวของประเพณีวัฒนธรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ โดยชนเผ่าที่มีความโดดเด่นและอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากในเขตอำเภอทองผาภูมิก็คือ ชาวกะเหรี่ยงและชาวพม่า “กะเร็น” (Karen) เป็นคำภาษาอังกฤษ แต่คนไทยส่วนใหญ่มักเรียกกันว่า “กะเหรี่ยง” แต่สำหรับผู้คนในชนเผ่านี้เองแล้วมักจะเรียกตัวเองว่า “กะเร็น” “ยาง” หรือ “กะเหรี่ยง” เป็นชาวเขาเผ่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีการรวมตัวอยู่กันอย่างหนาแน่นในพื้นที่ป่าเขาทางทิศตะวันตกของประเทศไทย บริเวณแนวชายแดนไทย – พม่า โดยในอำเภอทองผาภูมิ มีชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากที่หมู่บ้านเกริงกระเวียและหมู่บ้านทิพุเยในตำบลชะแล ลักษณะการแต่งกายผู้ชายนิยมใส่เสื้อแขนสั้นสีดำหรือแดง มีเชือกถักเป็นพู่รัดเอว สวมกางเกงสีดำขายาวแบบจีนที่เรียกว่า “เตี่ยวสะดอ” หรือบางคนก็สวมโสร่งแบบพม่า ใช้ผ้าโพกหัวสีต่าง ๆ กันไป ส่วนผู้หญิงหากเป็นสาวโสดจะสวมชุดกระโปรงทรงกระสอบสีขาวยาวไปถึงข้อเท้า เสื้อทรงกระบอกแขนสั้น คอเป็นรูปตัววีถักด้ายสีแดงขลิบรอบคอเสื้อ ผ่าลงไปถึงช่วงล่างของตัวเสื้อ แต่หากเป็นผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะสวมเสื้อคอวี สีดำสั้นแค่เอว ชายเสื้อด้านล่างเย็บด้ายสีประดับลูกเดือยหรือลูกปัดสีขาวเป็นรูปตารางหมากรุกหรือจุดสีขาว ๆ สวมผ้าซิ่นสีแดงหรือลายอื่น ๆ ยาวถึงข้อเท้า ปัจจุบันชาวกะเหรี่ยงในประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ กลุ่มใหญ่ ๆ คือ “ปกากะญอ” หรือ “สะกอ” และ “โพล่ง” หรือ “โปว์” สำหรับกะเหรี่ยงที่ทองผาภูมิจัดอยู่ในกลุ่ม “โพล่ง” หรือ “โบว์” ที่อพยพมาจากพม่าตั้งแต่ตอนปลายอยุธยา ส่วนใหญ่เป็นกะเหรี่ยงที่มาจากอำเภอสังขละบุรี โดยมักตั้งหมู่บ้านในแถบภูเขาที่ไม่สูงมากนักหรือตามพื้นราบ ขนาดของหมู่บ้านจะมีตั้งแต่ ๒๐ – ๓๐ หลังคาเรือนขึ้นไปจนถึงกว่า ๑๐๐ หลังคาเรือน ซึ่งลักษณะการจัดตั้งหมู่บ้านของกะเหรี่ยงแต่ละกลุ่มนั้นจะไม่อยู่ปะปนกันส่วนใหญ่หมู่บ้านมักจะอยู่ห่างกันและใช้ระยะเวลาในการเดินเท้าประมาณ ๑ ชั่วโมง เป็นอย่างต่ำ

สำหรับการปกครองภายในหมู่บ้านของกะเหรี่ยงนั้นจะมีฝ่ายสำคัญอยู่ ๓ ฝ่ายด้วยกัน หนึ่งคือหัวหน้าหมู่บ้านที่แต่งตั้งขึ้นตามประเพณี สองหมอผี และสามเป็นกลุ่มผู้อาวุโสของหมู่บ้าน โดยหัวหน้าหมู่บ้านหรือที่ชาวกะเหรี่ยงมักจะเรียกว่า “ฮีโซ่” นั้น ว่ากันว่ายึดถือการสืบทอดสายเลือดทางบิดาเป็นหลัก นอกจากนี้หมอผีและกลุ่มผู้อาวุโสก็นับเป็นผู้ที่มีความสำคัญอยู่มากเช่นกัน โดยหมอผีจะเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมและรักษาโรค ส่วนผู้อาวุโสจะเป็นผู้ที่คอยรักษากฎจารีตประเพณี ตัดสินคดีความ และเป็นที่ปรึกษาให้กับหัวหน้าหมู่บ้าน สังคมกะเหรี่ยงเป็นสังคมที่เรียบง่ายและสันโดษมากทีเดียว อาชีพหลักของพวกเขาก็คือการปลูกข้าวและพืชผักต่างๆ มีการทำนาดำบ้าง ทำไร่แบบหมุนเวียนบ้าง อีกทั้งยังมีการเลี้ยงหมูและช้างเพื่อใช้เป็นอาหาร ประกอบพิธีกรรม ขาย และรับจ้างใช้งาน ส่วนลักษณะครอบครัวของกะเหรี่ยงนั้นเป็นครอบครัวเดี่ยวและถือระบบผัวเดียวเมียเดียวยึดถือการสืบเชื้อสายมาทางฝ่ายหญิงเป็นหลัก ดังนั้นเมื่อมีการแต่งงานเกิดขึ้น ฝ่ายหญิงจะต้องเป็นฝ่ายไปสู่ขอฝ่ายชายโดยใช้หมูเป็นสินสอดทองหมั้น และฝ่ายชายเองก็ต้องย้ายมาอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง

วัฒนธรรมที่สำคัญและน่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ “การรำตง” หรือที่ชาวกะเหรี่ยงมักเรียกกันว่า “เทอรีโต” เป็นการร่ายรำประกอบจังหวะเครื่องดนตรีต่าง ๆ เช่น กลอง สองหน้า ฉิ่ง เกราะ นิยมรำในงานวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา หรือใช้ในการต้อนรับผู้มาเยือน

สิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ การทำ “ทองโย๊ะ” เป็นชื่ออาหารชนิดหนึ่งของชนเผ่ากะเหรี่ยง เรียกว่า “หมี่สิ” หมายถึงความมั่นคงเหนียวแน่น จากคำบอกเล่าของผู้รู้ได้กล่าวเอาไว้ว่า ในอดีตการใช้ชีวิตคู่ของชาวกะเหรี่ยงมีการแตกแยกสูง เมื่อแต่งงานกันไปแล้วก็มักจะอยู่ด้วยกันได้ไม่นาน ทำให้เกิดปัญหาในสังคมมากผู้เฒ่าผู้แก่ของชนเผ่ากะเหรี่ยงเห็นว่าน่าจะมีกลอุบายมาลบล้างอาถรรพ์นี้ จึงได้นำข้าวเหนียว เกลือ งา หรือ แง โดยแงที่ว่านี้เป็นพืชที่มีเฉพาะในกลุ่ม

อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด มีดังนี้

          (มาตรา ๒๓) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชากร เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครอง ป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
          (๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
          (๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
          (๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
          (๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
          (๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ
          (๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
          (๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
          (๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด
          ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ


อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด มีดังนี้

          (มาตรา ๒๗)  ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
          (๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ
          (๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด
          ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้
          ให้อัยการสูงสุดโอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ มีดังนี้

          มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำจานและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
          (๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือพนักงานอัยการ
          (๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของ สำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
          (๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้ กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
          (๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
          (๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
          (๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึด ทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
          (๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
          (๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
          (๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
          (๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
          ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
          พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไป ตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.


:: กฎหมายองค์กรอัยการตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. ๒๕๕๐

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

ทำเนียบผู้บริหาร

๑. นายนันทศักดิ์ พูลสุข   พ.ศ.๒๕๓๓-๒๕๓๔    

๒. นายประนอม มงคลพัฒนกุล        พ.ศ.๒๕๓๔-๒๕๓๕

๓. นายอาทิตย์ บัวทอง              พ.ศ.๒๕๓๕-๒๕๓๖

๔. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์       พ.ศ.๒๕๓๖-๒๕๓๗

๕. นายกมล   ธรรมเสรีกุล           พ.ศ.๒๕๓๗-๒๕๓๗

๖. นายศักดิ์ชัย   อัศวินอานันท์             พ.ศ.๒๕๓๗-๒๕๓๘

๗. นายปราโมทย์   ศรีเตียเพ็ชร           พ.ศ.๒๕๓๘-๒๕๓๙

๘. นายทศพล   ชลมูสิก                   พ.ศ.๒๕๓๙-๒๕๔๑

๙. นายกฤษฎา   สืบพงษ์            พ.ศ.๒๕๔๑-๒๕๔๒

๑๐. เรือโทสมชัย         พันธ์ภูวงศ์                พ.ศ.๒๕๔๒-๒๕๔๓

๑๑. นายอนันต์           สินธุรักษ์                   พ.ศ.๒๕๔๓-๒๕๔๔

๑๒. นายสุทิน              เจริญรักษา              พ.ศ.๒๕๔๔-๒๕๔๕

๑๓. นายชัยวัฒน์        ธิติชัยฤกษ์                พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๔๖

๑๔. นายขจร               มีศีล                        พ.ศ.๒๕๔๖-๒๕๔๗

๑๕. นายมนูญ           มุ่งพาลชล               พ.ศ.๒๕๔๗-๒๕๔๘

๑๖. นายโชคชัย           พัทยาอารยา            พ.ศ.๒๕๔๘-๒๕๔๙

๑๗. นายภาณุพงษ์      เจริญยิ่ง                  พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๐

๑๘. นายสัญจัย          จันทร์ผ่อง                พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๓

๑๙. นางสาวกิจนา      ตรีอนุรักษ์               พ.ศ.๒๕๕๓-๒๕๕๔

๒๐. นายวรวิทย์          สัมพัฒนวรชัย          พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๕

๒๑. นายอธิคม           ปานโต                      พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๗

๒๒. นายอภิชนษ์         รากบัว                      พ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๕๙

๒๓. นายสุพจน์           สุขวิบูลย์                   พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๐

๒๔. นายทนง              ตะภา                        พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๑

๒๕. นายพนมฤทธิ์       หอมนิจสกุล             พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๒

๒๖. ว่าที่ร้อยตรีมิตร     มูลสวัสดิ์                  พ.ศ.๒๕๖๒-๒๕๖๓

๒๗. นายชลัฏ            มัณฑนาพงศ์              พ.ศ.๒๕๖๓-๒๕๖๔

๒๘. นายกฤตศิลป       ช่วยศรี                     พ.ศ.๒๕๖๔-๒๕๖๕

๒๙. นายศราวุธ          พูลสุข                    พ.ศ.๒๕๖๕-๒๕๖๖

๓๐. นายกอบชัย สุปรินายก พ.ศ.๒๕๖๖-๒๕๖๗

๓๑. พันตำรวจตรี วัฒนา บุญเหิน     พ.ศ.๒๕๖๗-ปัจจุบัน

พันตำรวจตรี วัฒนา บุญเหิน
อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค ๔
ช่วยราชการสำนักงานอัยการภาค ๗
รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดทองผาภูมิ
นายสุรกานต์ ปราบณรงค์
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
นายบรรพต สหสกุล
รองอัยการจังหวัด
นายปิติภัทร จักรเพชร
รองอัยการจังหวัด
ร้อยตำรวจเอก ชัยชนะ สังข์น้อย
อัยการจังหวัดผู้ช่วย
นายวิจิตร ด่านสมัคร
อัยการจังหวัดผู้ช่วย
นางสาวเขมจิรา จุ่นเจิม
นิติกรชำนาญการพิเศษ
รักษาการในตำแหน่ง
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ
นางนพภา วงษ์สกุล
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
นางสาวนงค์นภา สังขสุขุม
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
นางสาวอัญชลี ช่อวิเชียร
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
นางสาวณัฐสุดา วังแก้ว
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
นางสาวศิรินันท์ ศิริเมืองจันทร์
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
ว่าที่ ร.ต.โชค ใจเย็น
นิติกรชำนาญการ
นางสาวชญานุช เพ็งเกร็ด
นิติกรปฏิบัติการ
นายทิวา น้ำใจสุข
นิติกรปฏิบัติการ
นางสาววันลิศษา คล้ายจินดา
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
นางจิราวรรณ สายทอง
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
นางสาวพรนรินทร์ บ่อทรัพย์
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
นางเพ็ญนภา นพรัตน์
พนักงานทำความสะอาด
นายสันติสุข ช่อวิเชียร
พนักงานขับรถยนต์

สถิติคดี

ปี พ.ศ.ส.๑ส.๑
ฟื้นฟูฯ
ส.๒ส.๒ ก.ส.๓ส.ส.๔
ฟ้องวาจา
ส.๕ส.๕ ก.ส.๖ส.๗ส.๑๒ส.๑๒ ก.รวม
๒๕๖๔๖๐๗๑๘๓๐๔๘๕๙๕๒๒๔๒๖๑๔๑,๕๗๕
๒๕๖๕๗๓๓๓๔๒๔๗๑๔๗๒๖๑๘๔๑๘๒,๔๖๕
๒๕๖๖๕๐๗๔๘๒๙๓๘๔๙๐๙๘๗๗๐๕๐๒,๒๒๘
ปี พ.ศ.ส.๑ส.๑
ฟื้นฟูฯ
ส.๒ส.๒ ก.ส.๓ส.๔ส.๔
ฟ้องวาจา
ส.๕ส.๕ ก.ส.๖ส.๗ส.๑๒ส.๑๒ ก.ส.มาตรการ
พิเศษฯ
รวม
๒๕๖๔๓๐๒๒๑๑๖๘
๒๕๖๕๓๐๒๒๑๐๖๕
๒๕๖๖๒๕๒๓๔๘

ผังกระบวนงาน

ติดต่อหน่วยงาน

ที่ทำการชั่วคราว สำนักงานอัยการจังหวัดทองผาภูมิ
ซอยวัดเวฬุวัน หมู่ที่ 1 ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 71180
โทรศัพท์ 034-599124  โทรสาร 034-599554
E-mail : tpp@ago.go.th
Link แผนที่ google map