พิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

วันอังคาร ที่ 30 เมษายน 2567 เวลา 14.00 น. นายศราวุธ สุขแก้ว อัยการจังหวัดภูเก็ต มอบหมายให้นายณัชพงศ์ธร คงแข็ง รองอัยการจังหวัด
พร้อมด้วยข้าราชการธุรการ เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เพื่อให้พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า ได้ร่วมแสดงออกถึงความจงรักภักดี
และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย ณ ศาลาการเปรียญ วัดขจรรังสรรค์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

————————

พิธีสวดพระปริตรและเจริญพระพุทธมนต์เพื่อถวายเป็นพระกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ

เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2567 เวลา 17.00 น.นายศราวุธ สุขแก้ว อัยการจังหวัดภูเก็ต ร่วมพิธีสวดพระปริตร
และเจริญพระพุทธมนต์เพื่อถวายเป็นพระกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร
เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 29 เมษายน 2567 นับเป็นโอกาสอันเป็นมงคลยิ่งที่พระองค์ท่านจะทรงเจริญพระชนมายุครบ 19 พรรษา
ณ วัดสะปำธรรมาราม ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

——————————–

โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันที่ 22 เมษายน 2567 นายศราวุธ สุขแก้ว อัยการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยข้าราชการธุรการ เข้าร่วมพิธีบรรพชา
โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ
28 กรกฎาคม 2567 ณ วัดเทพวนาราม (วัดม่าหนิก) ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

————————————–

พิธีปลงผม โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันที่ 21 เมษายน 2567 นายศราวุธ สุขแก้ว อัยการจังหวัดภูเก็ต มอบหมายให้นางสาวพรรษชล เกษราพงศ์ อัยการจังหวัดผู้ช่วย
พร้อมด้วยข้าราชการธุรการ เข้าร่วมพิธีปลงผม โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
ณ วัดเทพวนาราม (วัดม่าหนิก) ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

————————————–

นายศราวุธ สุขแก้ว อัยการจัดหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยสำนักงานอัยการภายในจังหวัดภูเก็ตทั้งหมดร่วมกันจัดงาน
“รดน้ำดำหัวอัยการผู้ใหญ่” ในจังหวัดภูเก็ต การแสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้ใหญ่ที่เคารพรักนั้นสำคัญ เพียงได้ทำปีละครั้งก็สุขหัวใจ

————————————–

สำนักงานอัยการภาค 8 จัดโครงการ “131 ปี องค์กรอัยการ ที่พึ่งด้านกฎหมายของรัฐและประชาชน”

วันที่ 3 เมษายน 2567 สำนักงานอัยการภาค 8 จัดโครงการ “131 ปี องค์กรอัยการ ที่พึ่งด้านกฎหมายของรัฐและประชาชน”
โดยการจัดกิจกรรมทางศาสนาเจริญพระพุทธมนต์ กิจกรรมปล่อยปลา และกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ณ อาคารสำนักงานอัยการภาค 8
โดยมีท่านฉัตรชัย ใจดี อธิบดีอัยการภาค 8 เป็นประธานในพิธี มีอัยการจังหวัดและพนักงานอัยการทุกสำนักงานในภาค 8 เข้าร่วมพิธี
ในการนี้นายศราวุธ สุขแก้ว อัยการจังหวัดภูเก็ต , นางสาวศิรินธร พัฒนาอิทธิกุล อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงภูเก็ต , นายสุวัฒนา แสงอุไร
อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดภูเก็ต และ นางสาวพูลสุข เพ็งสังข์ อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ นำคณะอัยการและเจ้าหน้าที่เข้าร่วมพิธีรดน้ำขอพรผู้บังคับบัญชา และอัยการอาวุโสผู้เคยเป็นอดีตผู้บังคับบัญชาเพื่อแสดงออกถึงความเคารพนับถือ แสดงความกตัญญู
พร้อมกับการขอขมาและขอรับพรเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าราชการและบุคลากรในสำนักงานเนื่องในโอกาสวันปีใหม่ไทย

————————————–

พิธีวางพวงมาลา “รำลึก 111 ปี พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง)”

วันพุธ ที่ 10 เมษายน 2567 นายศราวุธ สุขแก้ว อัยการจังหวัดภูเก็ต มอบหมายให้นายอิทธิโชติ กุลรัตนโชติ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด 
พร้อมด้วยข้าราชการธุรการ เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลา “รำลึก 111 ปี พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง)”
เพื่อแสดงถึงความเคารพ เชิดชูเกียรติ และรำลึกถึงคุณงามความดี และคุณประโยชน์ในการวางรากฐานและสร้างความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ
ให้จังหวัดภูเก็ต ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี สวนสาธารณะเขารัง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

————————————————

วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ ประจำปี 2567

วันเสาร์ ที่ 6 เมษายน 2567 นายศราวุธ สุขแก้ว อัยการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยข้าราชการธุรการ
เข้าร่วมพิธีวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์
ณ อาคารหอประชุมจังหวัดภูเก็ต ห้องประชุมมหิศรภักดี ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ตำบลตลาดเหนือ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

————————————————

วันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

วันที่ 2 เมษายน 2567 นายศราวุธ สุขแก้ว อัยการจังหวัดภูเก็ต มอบหมายให้ “นายธนวิชญ์ วิมลพันธุ์” อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ในการเข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ วัดกระทู้ จังหวัดภูเก็ต

————————————————

ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล
และพิธีถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

วันอังคาร ที่ 2 เมษายน 2567 เวลา 07.30 น. นายศราวุธ สุขแก้ว อัยการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยข้าราชการธุรการ เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล
และพิธีถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ณ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต อำเภอเมือวภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

————————————————

นายศราวุธ สุขแก้ว เข้ารับตำแหน่งอัยการจังหวัดภูเก็ต

วันที่ 1 เมษายน 2567 นายศราวุธ สุขแก้ว เข้ารับตำแหน่งอัยการจังหวัดภูเก็ต โดยมีข้าราชการอัยการ ข้าราชการธุรการ
และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานอัยการจังหวัดภูเก็ตร่วมแสดงความยินดีและให้การต้อนรับ

————————————————

พิธีสวดพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ

เนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2566

วันศุกร์ ที่ 13 ตุลาคม 2566 นายวิกรม โกมลตรี อัยการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วยข้าราชการธุรการ ร่วมพิธีสวดพระพุทธมนต์และ ทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ เนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2566 เพื่อระลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ณ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต

————————————————

กิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน (Thai National Flag Day)

ประจำปี 2566

วันพฤหัสบดี ที่ 28 กันยายน 2566 ข้าราชการฝ่ายอัยการ และเจ้าหน้าที่ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย เวลา 08.00 นาฬิกา ณ บริเวณหน้าเสาธง ของสำนักงานอัยการจังหวัดภูเก็ต เนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย เพื่อเป็นการสร้าง ความภาคภูมิใจของคนในชาติ และเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย 


เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๔

เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๔ นายพรไพโรจน์  ตรีพงษ์พันธุ์ อัยการจังหวัดภูเก็ต พร้อมทั้งพนักงานอัยการ ข้าราชการธุรการ ได้เข้าร่วมทำพิธีถวายพานพุ่มดอกไม้และพิธีถวายบังคม
ต่อพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ อาคารหอประชุม ศูนย์ราชการจังหวัดภูเก็ต
และต่อมาได้ทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล ณ บริเวณด้านหน้าอาคารศาลากลางจังหวัดภูเก็ต (หลังใหม่)


กิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย ๒๘ กันยายน (Thai National Flag Day) ประจำปี ๒๕๖๔

วันอังคารที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๔ ข้าราชการฝ่ายอัยการ และเจ้าหน้าที่ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา ณ บริเวณหน้าเสาธง
ของสำนักงานอัยการจังหวัดภูเก็ต เนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติ และเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย 


เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

ประวัติสำนักงานอัยการจังหวัดภูเก็ต

       ช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จังหวัดภูเก็ตมีฐานะเป็นเมืองขึ้นของสมุหกลาโหม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งข้าหลวงใหญ่ไปประจำ ณ เมืองภูเก็ต ทำหน้าที่กำกับราชการ จัดเก็บภาษีอากร และรับส่งเงินตราในหัวเมืองชายทะเลตะวันตก  ในปี พ.ศ.2418  และเมื่อโปรดให้รวมหัวเมืองชั้นนอกเข้าเป็นมณฑลมีข้าหลวงใหญ่ประจำมณฑลเป็นการทดลองจัดการปกครองก่อนการปฏิรูปการปกครองในปี พ.ศ.2435 นั้น พระองค์โปรดให้รวมเมืองภูเก็ต เมืองกระบี่ เมืองตรัง เมืองตะกั่วป่า เมืองพังงา  และเมืองระนอง  เป็นมณฑล  เรียกชื่อว่า “มณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก” ตั้งกองบัญชาการมณฑลที่เมืองภูเก็ต เมื่อตั้งกระทรวงมหาดไทยขึ้นในปี พ.ศ.2435  จึงเริ่มจัดการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้นมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตกเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น “มณฑลภูเก็ต”ตามชื่อเมืองที่ตั้งมณฑลแต่ยังสังกัดในกระทรวงกลาโหม  จนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๓๗ จึงขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทย  มีฐานะเป็นมณฑลเทศาภิบาลตามระบอบการปกครองแบบเทศาภิบาล  แบ่งการปกครองเป็น มณฑล จังหวัด  อำเภอ  ตำบล  และหมู่บ้านตามลำดับ  และแบ่งหน้าที่บริหารราชการตามกระทรวงในราชธานี
       ในส่วนการปฏิรูปการศาลและกฎหมายก็ดำเนินควบคู่ไปกับการปฏิรูปการปกครอง กล่าวคือ   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ  ให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมเมื่อวันที่  25  มีนาคม  พ.ศ.2434 เพื่อรวมศาลต่าง ๆ ซึ่งแยกย้ายสังกัดอยู่ตามกระทรวงต่าง ๆ ไว้ในสังกัดเดียวกัน  ซึ่งรวมเพียงเฉพาะศาลในกรุงเทพมหานครเท่านั้น  ส่วนศาลหัวเมืองยังคงสังกัดกระทรวงมหาดไทยตามเดิม    จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๔๓๘  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระธรรมนูญศาลหัวเมือง รัตนโกสินทรศก 114” เพื่อจัดระเบียบการศาลหัวเมืองให้สอดคล้องและรวมสังกัดอยู่ในกระทรวงยุติธรรมแห่งเดียว  มีการตั้งศาลขึ้นในเมืองทั่ว ๆ ไปเพื่อให้เพียงพอแก่การอำนวยความสะดวกราษฎรที่เกิด    คดีความ  แยกที่ทำการศาลออกจากศาลากลางซึ่งเดิมใช้เป็นที่ชำระความ  รวมทั้งจัดให้มีพนักงานอัยการเป็นทนายแผ่นดินฟ้องคดีโทษหลวง  และแบ่งศาลหัวเมืองเป็น 3 ชั้น  คือ  ศาลมณฑล  ศาลเมือง ศาลแขวง  จากนั้นโปรดให้ตรา     “พระราชบัญญัติตั้งข้าหลวงพิเศษสำหรับจัดการแก้ไขธรรมเนียมศาลยุติธรรมหัวเมืองทั้งปวง  รัตนโกสินทรศก 115” เมื่อวันที่  21  กันยายน พ.ศ.2439  กำหนดให้มีข้าหลวงพิเศษ  5 นาย  ประกอบด้วยข้าหลวงพิเศษประจำการ  3 นาย  เทศาภิบาลประจำมณฑล  และผู้ว่าราชการเมืองซึ่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง ทำหน้าที่จัดการแก้ไขกิจการศาลหัวเมืองให้เป็นไปตามพระธรรมนูญศาลหัวเมืองกำหนด 
       ข้าหลวงพิเศษสำหรับจัดการแก้ไขธรรมเนียมศาลยุติธรรมหัวเมือง ดำเนินการจัดตั้งศาลมณฑลกรุงเก่าเป็นแห่งแรกในปี พ.ศ.2439 และในปีต่อมาได้จัดการตั้งศาลมณฑลปราจีนบุรี ศาลมณฑลนครราชสีมา ศาลมณฑลนครศรีธรรมราช ศาลมณฑลพิษณุโลก  โดยลำดับ  ในปี พ.ศ.2441  จัดการตั้งศาลมณฑลลพบุรี  ศาลมณฑลภูเก็ต ศาลมณฑลนครสวรรค์  ศาลมณฑลนครไชยศรี  ศาลมณฑลชุมพร  และศาลมณฑลจันทบุรี
 ศาลยุติธรรมมณฑลภูเก็ต  จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่  8  สิงหาคม พ.ศ.2441  ตามประกาศตั้งศาลยุติธรรมมณฑลภูเก็ต  ความว่า “บัดนี้  ทรงพระราชดำริห์เห็นว่า  ควรจะลงมือทำการจัดตั้งศาลยุติธรรมมณฑลภูเก็ต ตามพระธรรมนูญศาลหัวเมืองได้อีกตำบลหนึ่ง  จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ  ให้พระยาประชาชีพบริบาล 1 พระนริศราชกิจ  ข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นข้าหลวงพิเศษตามตำแหน่งอีกนายหนึ่ง  มิศเตอร์ชีมงหนึ่ง  มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติในมาตรา 2 มีอำนาจตั้งศาลยุติธรรมมณฑลภูเก็ต  เต็มตามพระราชบัญญัติข้าหลวงพิเศษทุกประการ

                       ประกาศมา ณ  วันที่  8  สิงหาคม  รัตนโกสินทรศก  117”

        (1)แม้ข้าหลวงพิเศษจะจัดตั้งศาลมณฑลภูเก็ต  ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2441  ก็ตาม แต่ศาลมณฑลภูเก็ตยังไม่สามารถเปิดทำการได้  เนื่องจากไม่มีผู้พิพากษาไปประจำจนกระทั้งพระยาพิจารณาปฤชามาตย์ (สุหร่าย  วัชราภัย)  เมื่อครั้งเป็นนายเสนองานประกาศเดินทางไปรับตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลภูเก็ต  ในวันที่  2  สิงหาคม  พ.ศ.2442  ศาลมณฑลภูเก็ต  จึงได้เปิดทำการพิจารณาพิพากษาคดี  ได้ตั้งแต่วันที่  4  สิงหาคม  พ.ศ.2442  เป็นต้นมา  ศาลมณฑลภูเก็ตเป็นศาลชั้นสูงมีอำนาจตัดสินคดีความได้ทุกประเภท  และเป็นศาลอุทธรณ์ในมณฑลด้วย  ศาลมณฑลภูเก็ตตั้งอยู่ในเมืองภูเก็ตอันเป็นเมืองที่ตั้งมณฑล  มีตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑล  เป็นตำแหน่งหัวหน้าการยุติธรรมทั้งมลฑล  สืบแทนตำแหน่งข้าหลวงยุติธรรม
      วิธีพิจารณาความในศาลหัวเมืองแต่เดิมเป็นหน้าที่ของผู้ว่าราชการเมืองและกรมการเมืองในทำเนียบชั้นสัญญาบัตร คือ  ยกกระบัตรอันเป็นตำแหน่งที่บังคับบัญชาการรักษาตัวบทกฎหมายพระอัยการหัวเมือง และมีตำแหน่งแพ่งเป็นผู้ช่วยทำหน้าที่ไต่สวนสืบจับโจรผู้ร้าย และฟ้องว่าความแผ่นดิน  พนักงานอัยการประจำศาลตั้งขึ้นเมื่อมีการจัดตั้งศาลหัวเมือง ตามแบบการจัดการศาลยุติธรรมในกรุงเทพฯ  ตามความใน “พระธรรมนูญศาลหัวเมือง รัตนโกสินทรศก  114”  มาตรา  25  ความว่า 
“……ข้าหลวงเทศาภิบาลเมื่อได้รับอนุญาตจากกระทรวง กระทรวงยุติธรรมแล้ว  มีอำนาจที่จะตั้งพนักงานอัยการไว้สำหรับเปนทนายแผ่นดินฟ้อง หากคดีมีโทษหลวงในมณฑลเมืองนั้น ๆ  ตามข้อพระราชบัญญัติความอาญามีโทษหลวง  ถ้าหากว่ามีคดีซึ่งจะต้องแต่งทนายแผ่นดินว่ากล่าวมากเกินกว่าพนักงานอัยการที่มีประจำตำแหน่ง ฤาผู้บัญชาการเมืองจะเห็นสมควรโดยเหตุอย่างอื่น  จะตั้งทนายแผ่นดินเพิ่มเติมว่าความเฉพาะเรื่องฤาชั่วครั้งหนึ่งคราวหนึ่ง โดยจะยังไม่ได้รับอนุญาตของเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมก็ตั้งได้

      (2)ในส่วนการเลือกสรรบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งพนักงานอัยการ  และประโยชน์ของการมีพนักงานอัยการนี้  สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ทรงนิพนธ์ไว้ใน “คำอธิบายการจัดศาลหัวเมือง”  เอกสารประกอบการประชุมเทศาภิบาล ครั้งที่  7-8  วันที่  30-30  มกราคม  พ.ศ.  2438
 “….การที่จะเลือกผู้เปนพนักงานอัยการนั้น  ย่อมจำเปนที่จะต้องเลือกสรรผู้ชำนิชำนาญกฎหมายแลกระบวนถ้อยความตั้งเปนธรรมดา  และไม่จำเปนต้องมีสักกี่คนนัก  แลต้องเปนที่เข้าใจอย่าง 1  ว่า  พนักงานอัยการนี้สำหรับจะเปนทนายว่าความแผ่นดินต่อเมื่อได้รับคำสั่งของข้าหลวงเทศาภิบาลหรือผู้ว่าราชการเมือง…”

        (3)“….ตำแหน่งพนักงานอัยการสำหรับเปนทนายแผ่นดินดังได้ กล่าวในมาตรา  25  แห่งพระธรรมนูญศาลหัวเมืองนั้นจำต้องมีเพราะตามการที่มักจะเปนได้มาแต่ก่อนนั้น  ถ้ามีผู้หนึ่งผู้ใดกระทำล่วงเกินเลมิดพระราชกำหนดกฎหมายประการใด และที่ใด ๆ บางทีไม่มีโจทย์ฟ้องร้อง ความก็เชือนสูญไปหรือบางทีโจทย์จำเลยสมยอมฟ้องร้องแก้เกี้ยวให้ผู้ผิดรอดพ้นพระราชอาญาต่อไป หรือบางทีไม่มีโจทย์  แต่เจ้าพนักงานจับตัวคนมาฟ้องซักชำระสะสางในถานที่เปนโจทย์ด้วย แลเปนดุลการตัดสินเสร็จไปในตัว  ประเพณีที่เปนดังนี้ชื่อว่าไม่สมควรแก่ยุติธรรม  ตำแหน่งพนักงานอัยการมีขึ้นสำหรับที่จะจัดการแก่การเหล่านี้เปนสำคัญ  กล่าวคือ  ถ้าข้าหลวงแลผู้ว่าราชการเมืองรู้เห็นว่าผู้ใดกระทำล่วงเลมิดพระราชอาญา และจะพ้นไปเสียได้ด้วยไม่มีโจทย์ฟ้องร้องก็ตาม  หรือโจทย์จำเลยสมยอมกันเสียก็ตาม ต้องให้พนักงานอัยการเปน ทนายแผ่นดินฟ้องร้องเอาตัวผู้ผิดมาชำระเอาโทษตามพระราชอาญาจงได้
        แลการที่ให้มีพนักงานอัยการนี้  ยังเพื่อประโยชน์ในความยุติธรรมอย่าง 1 กล่าวคือ ที่จะให้ตำแหน่งผู้พิพากษาสมควรเปนไว้วางใจของราษฎรได้ทั่วกัน ว่าเปนกลางมิได้เกี่ยวข้องในฝ่ายโจทย์หรือจำเลยในคดีใด ๆ  ทั่วไป  เพราะถึงจะเปนความฟ้องร้องว่ากล่าวโดยอำนาจบ้านเมืองก็คงมีพนักงานอัยการเปนโจทย์  ซึ่งจะมาอยู่ในอำนาจและความยุติธรรมของศาลเสมอด้วยจำเลยอีกว่าการที่จำจับกุมคนมาชำระสะสางเอาโดยอำนาจของศาลแลบ้านเมืองปะปนดังแต่ก่อน”

        (4)การอัยการศาลมณฑลภูเก็ตแต่แรก จึงอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต  คือ พระยาวรสิทธิ์เสวีวัตร  (ใต้ฮก  ภัทรนาวิก)  โดยความเห็นชอบของกระทรวงยุติธรรม  และขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยซึ่งบังคับบัญชาหัวเมืองทั่วพระราชอาณาจักร  และคงมีที่ทำการอยู่บนศาลาว่าการมณฑล  มีพนักงานอัยการทำการในตำแหน่งยกกระบัตรมณฑลภูเก็ตคนแรก คือ  นายบูด
พนักงานอัยการแต่เดิมแยกย้ายสังกัดอยู่ตามกระทรวงต่าง ๆ ดังนั้นอำนาจการแต่งตั้งพนักงานอัยการจึงกระจัดกระจายไปตามสายการบังคับบัญชา  ดังที่ระบุไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม  รัตนโกสินทรศก  127 มาตรา  33-34  ความว่า
“……กรมอัยการในกรุงเทพมหานคร  ให้ขึ้นอยู่ในกระทรวงยุติธรรม  อัยการหัวเมืองให้ขึ้นอยู่ในกระทรวง  เจ้าหน้าที่ซึ่งรักษาราชการเมืองและมณฑลนั้น”

        (5)และ “….วิธีตั้งอัยการนั้น ในกรุงเทพมหานครตำแหน่งเจ้ากรมแลปลัดกรมอัยการตั้งโดยพระบรมราชานุญาต พนักงานอัยการในกรุงเทพฯ เจ้ากรมอัยการเปนผู้จัดสรรตั้งโดยได้รับอนุมัติของเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม พนักงานอัยการในหัวเมืองต่างๆ นั้น  เสนาบดีเจ้ากระทรวงที่รักษาราชการเมือง  ตั้งยกกระบัตร์มณฑลแลยกกระบัตร์เมือง  ข้าหลวงสำเร็จราชการมณฑลจัดตั้งตำแหน่งพนักงานอัยการที่รองแต่ยกกระบัตร์ลงมา”

         (6)สรุปได้ว่าพักงานอัยการในกรุงเทพฯ ขึ้นอยู่กับกระทรวงยุติธรรม  พนักงานอัยการในหัวเมืองมณฑลกรุงเทพฯ ขึ้นกระทรวงนครบาลตามสายการบังคับบัญชา และพนักงานอัยการในหัวเมืองมณฑลอื่นๆ ขึ้นกระทรวงมหาดไทย  ตำแหน่งยกกระบัตรมณฑลภูเก็ต  จึงอยู่ในบังคับบัญชาของเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยและแต่งตั้งโดยเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยด้วย
         จนกระทั่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ใน  พ.ศ.๒๔๕๙  พระองค์โปรดให้รวมพนักงานอัยการสังกัดอยู่ในกระทรวงยุติธรรม  และเปลี่ยนชื่อเรียกตำแหน่งยกกระบัตรมณฑล เป็นอัยการมณฑล ตาม “ประกาศรวมพนักงานอัยการ”  ลงวันที่ 11  มีนาคม  พ.ศ.2458  ความว่า
“มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ดำรัสเหนือเกล้า ฯ  ให้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่าพนักงานอัยการเวลานี้ยังแยกกันอยู่หลายกระทรวงสมควรที่จะรวมอยู่ในกระทรวงเดียวกัน เพื่อให้ทำการสดวกแก่ราชการยิ่งขึ้น  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตราพระราชบัญญัติไว้สืบไปดังนี้
มาตรา 1  ตั้งแต่วันที่  1  เมษายน  พระพุทธศักราช  2459 สืบไป….. ให้เปลี่ยนนามตำแหน่งยกกระบัตร์มณฑลแลยกระบัตร์เมือง  ผู้มีน่าที่เป็นพนักงานใหญ่ของอัยการในมณฑลแลหัวเมืองนั้นเสีย  ให้เรียกว่า  อัยการมณฑล แลอัยการเมืองสืบไป
มาตรา 2  ให้ใช้ข้อความที่กล่าวต่อไปนี้แทนความในมาตรา  33  และ 24 กับ 25  ซึ่งยกเลิกเสียข้างต้นนั้นว่า  มาตรา 33  ให้มีพนักงานอัยการไว้สำหรับเปนทนายแผ่นดินแทนรัฐบาลนาลทั้งในกรุงแลหัวเมือง  เรียกว่า  กรมอัยการ  ให้ขึ้นอยู่ในกระทรวงยุติธรรม  มาตรา 34  วิธีตั้งพนักงานอัยการนั้น  ถ้าเป็นตำแหน่งอธิบดี  เจ้ากรมปลัดกรมอัยการ  และอัยการมณฑล  อัยการเมืองแล้ว  ให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้จัดสรรตั้งโดยพระบรมราชานุญาต  ถ้าเปนพนักงานอัยการอื่น ๆ ให้อธิบดีหรือเจ้ากรมอัยการเป็นผู้จัดสรรตั้งได้  โดยรับอนุมัติของเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม….”

        (7)ตำแหน่งยกกระบัตรมณฑลภูเก็ต  จึงเปลี่ยนชื่อเป็น  อัยการมณฑลภูเก็ต  และขึ้นในกรมอัยการสังกัดกระทรวงยุติธรรมสืบมา  พ.ศ.2465 จึงย้ายไปสังกัดกระทรวงมหาดไทยตาม “ประกาศรวมการปกครองท้องที่  และแบ่งปันน่าที่ราชการระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงยุติธรรม”  ลงวันที่  4  สิงหาคม  พ.ศ.2465  ความว่า
“…..กรมอัยการซึ่งแต่เดิมมาทางกรุงเทพ ฯ ขึ้นอยู่ในกระทรวงยุติธรรมแต่ฝ่ายหัวเมืองขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทย  และภายหลังได้ยกไปรวมไว้เปนกรมเดียวกันขึ้นอยู่ในกระทรวงยุติธรรมนั้น  บัดนี้  สมควรที่จะยกมาไว้ในกระทรวงมหาดไทยเพื่อให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองได้ปฏิบัติการถนัดขึ้น  เพราะฉะนั้นให้…. โอนกรมอัยการจากกระทรวงยุติธรรมมาขึ้นในกระทรวงมหาดไทย  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป”

        (8)รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475แล้ว โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  ให้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยามพุทธศักราช  2476 ประกาศ  ณ  วันที่  9 ธันวาคม  พ.ศ.2476

       (9)จัดระเบียบราชการออกเป็น
         1.  ราชการบริหารส่วนกลาง
         2.  ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
         3.  ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
          ในส่วนราชการบริหารส่วนภูมิภาค จัดระเบียบบริหารราชการออกเป็น  จังหวัดและอำเภอ  เป็นการยกเลิกการปกครองแบบเทศาภิบาล  เมื่อฝ่ายปกครองยกเลิกมณฑลเทศาภิบาลแล้ว  ฝ่ายศาลยุติธรรมจึงต้องปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม  ร.ศ.127  ยกเลิกศาลมณฑลให้ศาลมณฑลเป็นฐานะเป็นศาลจังหวัด และยุบตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑล  ตามความใน   “พระธรรมนูญศาลยุติธรรม  แก้ไขเพิ่มเติม  พุทธศักราช  2476”   วันที่  19 มีนาคม  พ.ศ.2476  มาตรา 4

       (10) ดังนั้น  ตำแหน่งอัยการศาลมณฑลภูเก็ตจึงเปลี่ยนฐานะเป็นอัยการประจำศาลจังหวัดภูเก็ต
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล  พ.ศ.2478  สภาผู้แทนราษฎรเห็นสมควรกำหนดอำนาจหน้าที่พนักงานอัยการ  การแต่งตั้งและจัดระเบียบการบังคับบัญชาพนักงานอัยการ  จึงมีพระบรมราชโองการให้ตรา  “พระราชบัญญัติพนักงานอัยการ  พุทธศักราช 2478” ประการใช้เมื่อวันที่  1  ตุลาคม  พ.ศ.2478  ความว่า
มาตรา 5   ให้มีพนักงานอัยการไว้เป็นทนายแผ่นดินประจำศาลชั้นต้นทุกศาล ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม  สังกัดขึ้นในกรมอัยการ”
มาตรา 6   การแต่งตั้ง  ถอดถอน  ปลด และย้ายพนักงานอัยการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน  ซึ่งใช้อยู่ในเวลานั้น  และพระราชกฎษฏีกากำหนดวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษในกรมอัยการ  ซึ่งตราขึ้นตามความในพระราชบัญญัตินั้น  และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา”
การแต่งตั้งพนักงานอัยการจะต้องแต่งตั้งจากบุคคลที่เป็นสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภาด้วย  และระบุตำแหน่งอัยการประจำศาลจังหวัดไว้ว่า

       (11)“มาตรา 11  ให้ทุกท้องที่ที่ตั้งศาลจังหวัด  ให้มีพนักงานอัยการนายหนึ่งหรือหลายนาย  แล้วแต่รัฐมนตรีจะเห็นสมควร  ถ้ามีพนักงานอัยการมากกว่านายหนึ่ง  ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้านายหนึ่ง  เรียกว่า “อัยการจังหวัด”  นอกนั้นให้เป็นผู้ช่วย เรียกว่า “อัยการผู้ช่วย”

       (12) กับทั้งระบุอำนาจหน้าที่พนักงานอัยการไว้ว่า
           ในทางอาญา อัยการมีหน้าที่ดำเนินคดีกับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายของรัฐ และในทางแพ่งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาลศาลทั้งปวง  ฯลฯ
การอัยการประจำศาลจังหวัดภูเก็ต  ดำเนินสืบมาตามประวัติดังกล่าวตราบจนกระทั่งปัจจุบัน

บรรณานุกรม
การปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ ฯ  พระ-จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระปิยมหาราช. พระนคร: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบรัฐมนตรี, /2511(จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบ 100 ปี ตั้งแต่พระบาทสมเด็จ ฯ  พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์ 1 ตุลาคม 2511). 
จักรปาณีศรีศิลวิสุทธิ์, หลวง. เรื่องของเจ้าพระยามหิธร. พระนคร :  โรงพิมพ์ตีรณสาร 2499 (ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยามหิธร (ลออไกรฤกษ์ ณ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่  15  พฤศจิกายน  2499). 
ดำรงราชานุภาพ,  สมเด็จฯ  กรมพระยา.   เทศาภิบาล  พระนคร  :  คลังวิทยา,2495.
ที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร    ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร   :   โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม,  2521  
สุจริต    ถาวรสุข  (ผู้รวบรวม).      การจัดศาลหัวเมืองครั้งแรก    พระนคร   :   โรงพิมพ์ชวนพิมพ์,  2507  (พิมพ์แจกในการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน  ณ วัดราชผาติการาม  วันพฤหัสบดีที่  12  พฤศจิกายน  พุทธศักราช  2507).
สุนัย    ราชภัณฑารักษ์.   ภูเก็ต   กรุงเทพมหานคร  :  แสงการพิมพ์,  /2528.  (พิมพ์เผยแพร่ เนื่องในโอกาสฉลอง 200  ปี   วีรสตรีเมืองถลาง   พ.ศ.2528).
เสถียร   ลายลักษณ์,  นายร้อยตำรวจโท.  และคนอื่น,   ประชุมกฎหมายประจำศก เล่ม 15. พระนคร:  โรงพิมพ์เดลิเมล์,  2478.
…………………. ประชุมกฎหมายประจำศก  เล่ม  16.  พระนคร :  โรงพิมพ์เดลิเมล์, 2478
…………………. ประชุมกฎหมายประจำศก  เล่ม  22. พระนคร :  โรงพิมพ์เดลิเมล์, 2477.
…………………. ประชุมกฎหมายประจำศก  เล่ม  28. พระนคร :  โรงพิมพ์เดลิเมล์, 2477.
…………………. ประชุมกฎหมายประจำศก  เล่ม  35. พระนคร :  โรงพิมพ์เดลิเมล์,  2477.
…………………. ประชุมกฎหมายประจำศก  เล่ม  43. [ม.ป.ท.]  :  2476 
…………………. ประชุมกฎหมายประจำศก  เล่ม  46 พระนคร :  โรงพิมพ์เดลิเมล์,  2477.
…………………. ประชุมกฎหมายประจำศก  เล่ม  48.  (ภาค 2).  พระนคร :  โรงพิมพ์เดลิเมล์,  2478.
อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ) ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส 20  มกราคม 2526 กรุงเทพมหานคร :  โ รงพิมพ์รุ่งเรือง  2526.
อรรถไกวัลวที, หลวง. และสุข  เปรุนาวิน, ศาสตราจารย์  พลโท. ระบบอัยการและศาลทหาร พระนคร  :   โรงพิมพ์ของสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย,  2510.
อำมาตยาธิบดี (เส็ง วิรยศิริ), พระยา. การปกครองฝ่ายพลเรือน. พระนคร  :  
โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น, 2505. (พิมพ์แจกเป็นบรรณาการในงานพระราชทานเพลิงศพ พระภักดีศรีสุพรรณภูมิ  (สุด  สุนทรศารทูล)  ณ  เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม  19  พฤศจิกายน  2505).
………………………………….
            นางสาวสิรินันท์  บุญศิริ
     นักอักษรศาสตร์  5  ค้นคว้าเรียบเรียง
            นางสายไหม   จบกลศึก
          หัวหน้างานประวัติศาสตร์
                  ว่าที่  ร้อยตรี  สมศักดิ์  รัตนกุล
    ผู้อำนวยการกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์     ตรวจแก้.

เอกสารชุดนี้ได้คัดลอกมาจากหนังสืออนุสรณ์ เปิดที่ทำการอัยการ จังหวัดภูเก็ต
วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พุทธศักราช 2530
(1)นายร้อยตำรวจโท เสถียร ลายลักษณ์ และคนอื่น, ประชุมกฎหมายประจำศก เล่ม 16 (พระนคร : โรงพิมพ์เดลิเมล์,2478), หน้า 399
(2)นายร้อยโท เสถียร ลายลักษณ์ และคนอื่น,ประชุมกฎหมายประจำศก เล่ม 15 (พระนคร:โรงพิมพ์เดลิเมล์, 2478), หน้า 65
(3)สุจริต ถาวรสุข (ผู้รวบรวม), การจัดศาลหัวเมืองครั้งแรก (พระนคร : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์,2507), หน้า 46
(4)เรื่องเดียวกัน,หน้า 45-46.
(5)นายร้อยตำรวจโท เสถียร ลายลักษณ์ และคนอื่น, ประชุมกฎหมายประจำศก เล่ม 22 พระนคร  โรงพิมพ์เดลิเมล์,๒๔๗๗),หน้า 251
(6)เรื่องเดียวกัน,หน้า 252
(7)นายร้อยตำรวจโท เสถียร ลายลักษณ์ และคนอื่น,ประชุมกฎหมายประจำศก เล่ม 28 (พระนคร : โรงพิมพ์เดลิเมล์,2477),หน้า 477-478.
(8)นายร้อยตำรวจโท เสถียร ลายลักษณ์ และคนอื่น, ประชุมกฎหมายประจำศก เล่ม 35 (พระนคร : โรงพิมพ์เดลิเมล์,2477), หน้า 68.
(9)นายร้อยตำรวจโท เสถียร ลายลักษณ์ และคนอื่น, ประชุมกฎหมายประจำศก เล่ม 46 (พระนคร : โรงพิมพ์เดลิเมล์,2477), หน้า 505-513.
(10)เรื่องเดียวกัน, หน้า 734- 735
(11)นายร้อยตำรวจโท เสถียร ลายลักษณ์ และคนอื่น, ประชุมกฎหมายประจำศก เล่ม 48(ภาค 2) (พระนคร : โรงพิมพ์เดลิเมล์,2479), หน้า 1123-1124..
(12)เรื่องเดียวกัน,หน้า 1125

อำนาจหน้าที่

พนักงานอัยการ
วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

ผังกระบวนงาน

มาตรฐานเวลาการบริการเพื่อประชาชน

ประเภทงานบริการเวลาในการปฏิบัติ
– การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายเกี่ยวกับการขอรับคำปรึกษาทางกฎหมาย๔ ชั่วโมง
– การขอประกันตัวผู้ต้องหา (กรณีเอกสารครบถ้วน)๑ ชั่วโมง
– การขอคืนหลักประกัน ในการประกันตัวผู้ต้องหา๒๐ นาที
– การขอคืนหลักประกันเป็นเอกสาร (เช่น โฉนด)๑๕ นาที
– กรณีเป็นเงินสดที่ต้องเบิกจากสำนักงานคลังจังหวัดภูเก็ต (ไม่รวมเวลาดำเนินการของสำนักงานคลังจังหวัดภูเก็ต)๑ วันทำการ
– แจ้งผลเกี่ยวกับทรัพย์สินของกลาง(เมื่อมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหาทุกคน)๔ วันทำการ

 เวลาเริ่มต้นตั้งแต่ผู้รับผิดชอบลงมือปฏิบัติ และเอกสารครบถ้วนตามระเบียบ(หากมีปัญหาหรือขอสงสัย ให้พบอัยการจังหวัด)

 ขั้นตอนและระยะเวลาในการทำสัญญาประกันเมื่อพนักงานสอบสวนส่งสำนวนพร้อมตัวผู้ต้องหา (กรณีที่เอกสารพร้อม)

– ตรวจสำนวนจากพนักงานสอบสวน ๑๐ นาที
– ตรวจสอบเอกสารและหลักทรัพย์๕ นาที
– พิมพ์สัญญาประกัน๑๕ นาที
– ให้นายประกันลงชื่่อ ๑๐ นาที
– ตรวจสอบความเรียบร้อย๓ นาที
– นำเสนออัยการจังหวัดพิจารณา๑๕ นาที
– รับทราบวันนัด๒ นาที
    รวมระยะเวลาในการทำสัญญาประกัน ๑ เรื่อง ใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง     

บุคลากร

ข้าราชการอัยการ

นายศราวุธ สุขแก้ว
อัยการจังหวัดภูเก็ต
ร้อยตำรวจเอกฐาปวัฒน์ ชูทอง
อัยการจังหวัดประจำสำนักงาน
อัยการสูงสุด
นายธนวิชญ์ วิมลพันธุ์
อัยการจังหวัดประจำสำนักงาน
อัยการสูงสุด
นายอิทธิโชติ กุลรัตนโชติ
อัยการจังหวัดประจำสำนักงาน
อัยการสูงสุด 
นายสุพจน์ พืชผล
อัยการจังหวัดประจำสำนักงาน
อัยการสูงสุด 
นายอิศม์ธเดชน์ บัณฑิตมงคลกุล
อัยการจังหวัดประจำสำนักงาน
อัยการสูงสุด 

นายพิรวุฒิ บำรุง
รองอัยการจังหวัด
นายณัชพงศ์ธร คงแข็ง
รองอัยการจังหวัด
นายคณิตศร์ คงทอง
รองอัยการจังหวัด 
นางสาวมาธุสร ศัตรูลี้
รองอัยการจังหวัด
นายนิธิเขต ขจรเนติยุทธ
รองอัยการจังหวัด
นายสิทธิโชค คล้อยสวาท
อัยการจังหวัดผู้ช่วย
นายนนท์ มงคลธรรมากุล
อัยการจังหวัดผู้ช่วย
นางสาวพรรษชล เกษราพงศ์
อัยการจังหวัดผู้ช่วย
นางสาววิวรรณ เปรื่องปัญญานนท์
อัยการจังหวัดผู้ช่วย
นายภคพล ทิศธรรม
อัยการจังหวัดผู้ช่วย
นางสาวกรธัศชณันฎ์ ภักดีอาภรณ์
อัยการจังหวัดผู้ช่วย
นายยงยุทธ ตรีไวย
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

ข้าราชการธุรการ

นางสาวอรสะอาง  เกียรติสุขเกษม
 นิติกรชำนาญการพิเศษ
รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ
สำนักอำนวยการ
นายโยธิน จันทโรทัย
นิติกรชำนาญการ
นางสาวยุวดี สุดสาย
 นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
นางสาวภาวิณี  ขุนนะ
นักวิชาการพัสดุชำนาญการ
นางสาวจงจิตร์ ชนะสิทธิ์
  เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
นางสาวพรศิริ  ส่งน้อย
 นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
นางสาวชนิดาภา  คงรอด
  นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
นางสาวกานต์กนก หนูคง 
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ 
นางสาวเบญจวรรณ สืบเทพ
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ 
นางสาวณฐมน ชัยศิลป์
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
นางสาวสุจิตราภรณ์ สายน้อย
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ 
นางสาวศศิธร ปุนยัง 
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
นางสาวจินตพร กันธิยะ
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
นางสาวอัญวีณ์ รุ่งสิริภมรพงศ์
นิติกรปฏิบัติการ
 นายภูวดล จันทร์สุด
นิติกรปฏิบัติการ 
นายปวีร์ สุธาประดิษฐ์
  นิติกรปฏิบัติการ 
นางสาวสาริศา วทานิยะกุล
นักวิชาการพัสดุปฎิบัติการ
นางสาววิไลวรรณ อุดม
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
นางสาวอารี ปรีดาผล
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

ลูกจ้างประจำ

 นายธัชชัย ไตรรัตน์
   พนักงานขับรถยนต์   

จ้างเหมาบริการ

นายหิรัญ นุชบุตร
คนสวน
นายประยูรศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง
คนสวน
นายภูดิส วัฒนเวส
พนักงานขับรถยนต์
นางจิราภรณ์ ธานินพงศ์ 
พนักงานรักษาความสะอาด
นางสาวสมจิต นุ้ยพินิจ
พนักงานรักษาความสะอาด
นางสาวจรรยา  แสวงหา
พนักงานรักษาความสะอาด

ทำเนียบผู้บริหาร

สถิติคดี

 สถิติคดี สำนักงานอัยการจังหวัดภูเก็ต

ประเภท
สำนวน
สำนวน ส.๑ที่ปรากฏตัวผู้ต้องหาสำนวน ส.๒ไม่ปรากฏตัวผู้ต้องหาสำนวน ส.๓ไม่รู้ตัวผู้กระทำผิดสำนวน ส.๔
ฟ้องความอาญา

สำนวน ส.๕คดีแพ่ง

สำนวน ส.๕ กแก้ต่างคดีอาญา
สำนวนฟื้นฟู
พ.ศ.๒๕๔๘๒,๕๐๘๘๕๔  ๒๔๖๒,๔๖๐  ๗๑๑ ๓๔ 
 พ.ศ.๒๕๔๙๒,๖๔๗๗๗๒ ๑๕๕ ๒,๗๗๓ ๕๗ ๖  ๖๙
 พ.ศ.๒๕๕๐๓,๕๑๑ ๘๗๒ ๑๙๓ ๒,๙๗๙ ๒๗๓  ๙๐
พ.ศ.๒๕๕๑ ๓,๓๘๔ ๑,๑๐๔ ๒๔๓ ๒,๕๔๓ ๓๕ ๕ ๑๒๑
 พ.ศ.๒๕๕๒๓,๖๓๒๘๗๙  ๑๙๖ ๒,๖๖๖ ๒๙ ๕ ๓๓๖
พ.ศ.๒๕๕๓ ๓,๒๒๑๘๔๙ ๑๑๓ ๓,๒๑๓ ๗๓ ๗ ๑,๐๖๖
 พ.ศ.๒๕๕๔๓,๗๓๔ ๗๗๒ ๑๐๘ ๒,๒๔๘ ๗๕ ๓๘ ๑,๑๒๑
 พ.ศ.๒๕๕๕๔,๓๒๐  ๗๖๓ ๑๑๗ ๒,๓๑๓         – ๓๔๕
 พ.ศ.๒๕๕๖๔,๗๒๕๖๐๘๑๓๑๔,๕๕๑ ๔๒๑๐ ๒๖๘
 พ.ศ.๒๕๕๗๕,๐๐๗๖๙๔๒๐๓๔,๖๙๓๓๑๑๕๙
 พ.ศ.๒๕๕๘๕,๙๙๓๖๒๑ ๑๓๒๕,๕๖๒ ๘ ๗๕ ๖๙  
 พ.ศ.๒๕๕๙ ๕,๕๘๖๗๔๐ ๑๙๑ ๕,๔๙๒๘ ๔๕ ๓๘ 
 พ.ศ.๒๕๖๐๕,๑๘๐๗๓๙ – ๕,๑๒๐ ๔ ๓๙ ๒๘
 พ.ศ.๒๕๖๑ ๕,๒๑๑๒๙๘  ๓๗ ๕,๐๙๑ ๑ ๖๑  ๔๒ 
พ.ศ.๒๕๖๒ ๔,๖๓๘๑๖๖  ๔๔๔,๔๖๕  ๓๑ ๓๑ 
พ.ศ.๒๕๖๓ ๔,๕๗๙๒๒๐  ๕๓ ๔,๔๓๑– ๒๒ ๖๔ 
พ.ศ. ๒๕๖๔ ๓,๓๔๑ ๒๕๗  ๒๐ ๓,๒๕๐ – ๑๙ ๑๐๐ 
พ.ศ. ๒๕๖๕๑,๓๐๙๒๓๓๑๖๑,๑๕๖๒๑๓๕

                                                                         ข้อมูล ณ วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๕ 

ดาวน์โหลดเอกสาร

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มทางกฎหมาย

คำร้องทั่วไป : แบบฟอร์มทั่วไป (ขอเลื่อนนัด)

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดภูเก็ต
38/13 ถนนรัตนโกสินทร์ 200 ปี ตำบลตลาดเหนือ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
     โทร.  076 213 699  โทรสาร. 076 213 694
E-mail : phuket@ago.go.th
Facebook : สำนักงานอัยการจังหวัดภูเก็ต