ข่าวประชาสัมพันธ์

บุคคลากร

ทำเนียบผู้บริหาร

รายนามอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดระนอง

  1. นางบุญศรี ทองดี 1 เมษายน 2557 – 31 มีนาคม 2558
  2. นายธนินท์ นพรัตน์ 1 เมษายน 2558 – 31 มีนาคม 2559
  3. นายสิริพงษ์ ศรีวิศาล 1 เมษายน 2559 – 31 มีนาคม 2560
  4. นายวัชรินทร์ สังสีแก้ว 1 เมษายน 2560 – 31 มีนาคม 2561
  5. นายธวัชชัย รุ่งอรุณ 1 เมษายน 2560 – 31 มีนาคม 2562
  6. นายศราวุธ เสียงแจ้ว 1 เมษายน 2562 – 31 มีนาคม 2563
  7. นายเอกไกร เกียรติชัยประสพ 1 เมษายน 2563 – 31 มีนาคม 2564
  8. นายสุรเดช จำนงค์หาญ 1 เมษายน 2564 – 31 มีนาคม 2565
  9. นายธีรวิทย์ มณีอินทร์ 1 เมษายน 2565 – 31 มีนาคม 2566
  10. นายรังสิ สิทธิสาร 1 เมษายน 2566 – ปัจจุบัน

นางสาวศิริพร อนุญาติ
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
นางสาวจันทรา วรสิงห์
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
นายเศรษฐพงศ์ มะลิทอง
นิติกรปฏิบัติการ
นางสาวธนวรรณ สิริโท
นิติกรปฏิบัติการ

นายพัชรพงษ์  พัฒน์ธนาชัยภัค
ทนายความอาสา
นายเกรียงศักดิ์  ปลอดอินทร์
ทนายความอาสา


เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

               ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชาชน โดยเฉพาะที่มีฐานะยากจนหรือที่อยู่ในชนบทห่างไกล ถูกเอารัดเอาเปรียบในด้านเศรษฐกิจ ถูกแย่งที่ดินทำกิน การใช้อำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรมจนทำให้เกิดการกระทบกระทั่งกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับราษฎรฯลฯมีมูลเหตุสำคัญมาจากความไม่รู้กฎหมายที่ควรรู้สำหรับประชาชน ทำให้คนส่วนหนึ่งมีการกระทำที่ละเมิดต่อกรอบกฎเกณฑ์ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ในขณะที่คนอีกส่วนหนึ่งไม่มีความรู้ที่จะใช้กฎหมายในการปกป้องหรือพิทักษ์สิทธิและประโยชน์ของตนเมื่อเกิดกรณีพิพาทขึ้นจึงกลายเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องทุ่มเทงบประมาณจำนวนไม่น้อยลงไปในแต่ละปีเพื่อจะบรรเทา ตลอดจนขจัดปัญหาดังกล่าวให้หมดสิ้นไป

               กระทรวงมหาดไทยได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานสร้างความเป็นธรรมด้านปัญหากฎหมายแก่ประชาชน โดยจัดให้มีการช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนที่ยากไร้และไม่สามารถจัดหาทนายความด้วยตนเอง ด้วยการจัดหาทนายความอาสาสมัครทำหน้าที่แก้คดีและให้คำแนะนำทางกฎหมายโดยไม่คิดมูลค่าตามเงื่อนไขที่กำหนด เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ให้รัฐจัดหาทนายความให้แก่ผู้ยากไร้ โดยให้กรมอัยการ (ซึ่งในขณะนั้นสังกัดกระทรวงมหาดไทย) เป็นผู้รับผิดชอบ เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการมิใช่เพียงฟ้องความแทนแผ่นดินเท่านั้น หากแต่ยังมีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของรัฐและประชาชนในด้านต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนดอีกด้วย เช่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดบทบาทอัยการให้มีหน้าที่คุ้มครองดูแลคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความความสามารถ คนสาบสูญ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง ตรวจสอบดูแลกิจการบางอย่างที่มีผลกระทบต่อสาธารณชน เช่น นิติบุคคล มูลนิธิ สมาคม ฯลฯ ทั้งยังมีอำนาจหน้าที่ฟ้องคดีและแก้ต่างคดีให้กับหน่วยงานของรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งและคดีอาญา เนื่องจากการปฏิบัติการตามหน้าที่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๔๙๘

               นอกจากนี้ ยังมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ๆ ซึ่งได้บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของอัยการ และเป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน เช่น อำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติล้มละลาย พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น

               จึงเป็นที่มาในการจัดตั้งสำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนขึ้น เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๕

               ต่อมาเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๒๖ คณะรัฐมนตรีได้มีมติโอนโครงการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนในชนบทเขตยากจน ซึ่งขณะนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักนโยบายและแผน มหาดไทย และแผนการจัดตั้งสำนักงานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ในปี พ.ศ.๒๕๒๕ ที่ยังมีปัญหาในการปฏิบัติงาน มาให้กรมอัยการรับผิดชอบดำเนินงานสืบมา

               การปฏิบัติงานของสำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนได้ดำเนินการตามแนวนโยบายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาด้วยดีโดยลำดับได้รับการคัดเลือกและยกย่องให้เป็นหน่วยงานดีเด่นระดับชาติ สาขาพัฒนาสังคม พ.ศ.๒๕๒๙ จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชนทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด

               ในปี พ.ศ.๒๕๓๑ ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทยกำหนดให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน เป็นส่วนราชการระดับกองตามกฎหมายของกรมอัยการ และเปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน

               ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๔ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้มีประกาศ  ฉบับที่ ๔๗ และ ฉบับที่ ๔๙ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ แยกกรมอัยการออกจากกระทรวงมหาดไทยไปเป็นหน่วยงานไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวงใด โดยอยู่ภายใต้กำกับดูแลของนายกรัฐมนตรีโดยตรง และเปลี่ยนชื่อจาก “กรมอัยการ” เป็น “สำนักงานอัยการสูงสุด” และเปลี่ยนชื่อตำแหน่ง “อธิบดีกรมอัยการ” เป็น “อัยการสูงสุด” และมีปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายใน โดยการจัดรูปองค์กรเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ.๒๕๓๕ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ นอกจากการดำเนินคดีอาญา คดีแพ่ง ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายแล้ว ยังให้มีหน้าที่ ดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย เผยแพร่ความรู้ทางด้านสิทธิมนุษยชน และความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนโดยให้ “สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน”(สคช.) เป็นผู้รับผิดชอบ สำหรับในส่วนต่างจังหวัดได้กำหนดให้มี สคช.จังหวัด และ สคช.จังหวัดสาขา เป็นหน่วยดำเนินการในพื้นที่

               ในช่วง ปี พ.ศ.๒๕๔๓ มีการปฏิรูประบบราชการ ได้มีการจัดรูปโครงสร้างกระทรวงยุติธรรมใหม่ด้วย โดยให้สำนักงานอัยการสูงสุด อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ บัญญัติให้องค์กรอัยการเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ โดยมาตรา ๒๕๕ กำหนดให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการและกฎหมายอื่น ดังนั้นจึงมีการตราพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๕๓ กำหนดอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด โดยในมาตรา ๒๓(๑) กำหนดให้มีอำนาจและหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมาย รวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน ทั้งนี้ ในการแบ่งส่วนราชการ การกำหนดอำนาจและหน้าที่ให้ทำเป็นประกาศคณะกรรมการอัยการ

               คณะกรรมการอัยการ มีประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ.๒๕๕๔ ให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย การเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนระหว่างประเทศ รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอรรถคดี การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ประชาชนทั้งยังให้มีสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนภายในเขตพื้นที่สำนักงานอัยการภาค ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด

               ในต่างจังหวัด สำนักงานอัยการสูงสุดได้กำหนดให้มีสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนในทุกสำนักงานอัยการจังหวัดที่ตั้งอยู่ ณ ตัวจังหวัด  ๗๖ แห่ง  (สคช.จังหวัด) และสำนักงานอัยการจังหวัดที่ตั้งอยู่ ณ ตัวอำเภอ ๒๙ แห่ง (สคช.สาขา) ทั่วประเทศ รวม ๑๐๕ แห่ง เพื่อให้การบริการกิจกรรมงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนเป็นไปอย่างทั่วถึงทุกภูมิภาคของประเทศ

ต่อมาได้มีประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๑๐) กำหนดให้มี “สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด”(สคชจ.) เป็นหน่วยงานแยกต่างหากจากสำนักงานอัยการจังหวัด ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๗

(เรียบเรียงจากหนังสือ “๓๐ ปี กับภารกิจอัยการ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม”)

ภารกิจและหน้าที่รับผิดชอบ

1. การคุ้มครองสิทธิทางศาลตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ เช่น การยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก การยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ การตั้งผู้ปกครอง การร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ/คนเสมือนไร้ความสามารถ การยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของบิดา/มารดาผู้เยาว์ในการรับบุตรบุญธรรม

2.  การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ได้แก่
     (1)  การให้คำปรึกษาปัญหาทางกฎหมาย ช่วยเหลือจัดทำนิติกรรมสัญญา และประนอม ข้อพิพาท 
   (2)  การช่วยเหลือทางอรรถคดีแก่ผู้ยากจนและไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยการจัด  ทนายความอาสาดำเนินการในชั้นศาล   
 (3)  สนับสนุนการประนอมข้อพิพาทระดับท้องถิ่น โดยฝึกอบรมผู้นำชุมชน/ผู้นำ   ท้องถิ่นในการประนอมข้อพิพาท 
   (4)  เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายต่าง ๆ แก่ประชาชน เช่น ออกหน่วยเคลื่อนที่ไป   ตามหมู่บ้านต่างๆ ร่วมกับจังหวัดเคลื่อนที่ร่วมกับหน่วยงานอื่นในการออก  เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย   
(5) ฝึกอบรมความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ เช่น เกษตรกร นักเรียน  นักศึกษา
   (6)  การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอรรถคดี โดยให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายเผยแพร่ ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ประชาชน

3. การบังคับคดี โดยรับผิดชอบการดำเนินคดีเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง คดีปกครอง   และคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาตามที่กฎหมายบัญญัติ  ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดภายในเขตท้องที่จังหวัดระนอง

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

ผังกระบวนการทำงาน

สถิติคดี

สถิติคดีประจำปี พ.ศ.2567

กิจกรรมม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.
1. ขอตั้งผู้จัดการมรดก1110 –  –
2. ตั้งผู้ปกครอง –– – – – – – 
3. ถอนอำนาจปกครอง–  –– – – – – – –  –
4. ขอรับบุตรบุญธรรม –  – – – – – – –  –
5. ตั้งผู้อนุบาล11– – – – – – – – 
6. ตั้งผู้พิทักษ์ – –– – – – – –  –– – – 
7. สั่งให้เป็นคนสาบสูญ– – – – – – – – –  –
รวมทั้งสิ้น1211–  

เอกสารดาวน์โหลด

เอกสารที่ต้องนำมายื่นในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
1.  ทะเบียนบ้านของผู้ตาย หรือบัตรประจำตัวประชาชน
2.  ทะเบียนบ้านของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
3.  ใบมรณบัตรของผู้ตาย
4.  ใบมรณบัตรของบิดามารดา  กรณีบิดามารดาของผู้ตาย (เจ้ามรดก) ถึงแก่ความตายก่อนแล้ว
5.  ทะเบียนสมรสของสามี หรือ ภรรยาของผู้ตาย
6.  ทะเบียนสมรส และ/หรือ ทะเบียนการหย่าของสามีภรรยาของผู้ตาย
7.  ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล ของทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
8.  สูติบัตรของบุตรของผู้ตาย กรณีบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือไม่สามารถให้ความยินยอมได้
9.  บัตรประจำตัวข้าราชการ  บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้องขอจัดการมรดก
10.  พินัยกรรมของผู้ตาย (ถ้ามี)
11.  หนังสือให้ความยินยอมในการร้องขอจัดการมรดก
12. บัญชีเครือญาติ
13. เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย เช่น โฉนดที่ดิน  สัญญาจำนอง  ทะเบียนรถยนต์      ทะเบียนรถจักรยานยนต์ อาวุธปืน สมุดเงินฝาก  ใบหุ้น  และอื่น ๆ เป็นต้น
14. บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านของผู้ให้ความยินยอมทุกคน
หมายเหตุ  ให้นำต้นฉบับเอกสารทุกอย่างมาแสดงและถ่ายสำเนาเอกสารทุกอย่างจำนวน 3 ชุด    พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วย

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องขอตั้งผู้ปกครอง
1.  สำเนาทะเบียนบ้านของเด็ก   
2.  สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ปกครอง    
3.  สำเนาสูติบัตรของเด็ก   
4.  สำเนามรณบัตรของมารดาเด็ก 
5.  สำเนามรณบัตรของบิดาเด็ก   
6.  สำเนาหลักฐานการสมรสทางศาสนาของบิดามารดาเด็ก 
หมายเหตุ   ให้นำต้นฉบับเอกสารทุกอย่างมาแสดงและถ่ายสำเนาเอกสารทุกอย่างจำนวน 4 ชุด    พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วย

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
1. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ซึ่งจะขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
2. รายงานความเห็นของแพทย์ซึ่งลงความเห็นว่า ผู้ซึ่งจะขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถเป็นผู้วิกลจริตตามกฎหมาย  
3. หลักฐานการเป็นบิดา มารดา หรือสามีภริยาถูกต้องตามกฎหมายในกรณีที่จะขอให้ศาลสั่งให้เป็นผู้อนุบาลตามกฎหมาย   
หมายเหตุ    ให้นำต้นฉบับเอกสารทุกอย่างมาแสดงและถ่ายสำเนาเอกสารทุกอย่าง  จำนวน 4 ชุด พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วย

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องขอรับบุตรบุญธรรม
1.  สำเนาทะเบียนบ้านของบุตรบุญธรรมในขณะยื่นคำร้อง หรือของผู้รับบุตรบุญธรรม
2.  สูติบัตรของบุตรบุญธรรม
3.  เอกสารหลักฐานซึ่งแสดงว่า เป็นบิดามารดาของบุตรบุญธรรม เช่น ใบสำคัญการจดทะเบียนสมรส  สำเนาทะเบียนบ้าน
4.  หนังสือแสดงความยินยอมของคู่สมรสที่ให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรม
5.  ใบมรณบัตรของบิดามารดาซึ่งถึงแก่กรรม ซึ่งไม่สามารถให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรม ตาม ป.พ.พ. 1598/21
6.  ในกรณีที่บิดาหรือมารดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมในการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมได้ ให้แนบคำ สั่งศาลประกอบด้วย

       หมายเหตุ     ให้นำต้นฉบับเอกสารทุกอย่างมาแสดงและถ่ายสำเนาเอกสารทุกอย่างจำนวน 4 ชุด  พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วย

 เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ
1.  สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอความช่วยเหลือและผู้ที่จะขอให้ศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ
2.  บันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้รับแจ้งว่า บุคคลนั้นได้หายไปจากภูมิลำเนาโดยไม่ทราบว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร
หมายเหตุ     ให้นำต้นฉบับเอกสารทุกอย่างมาแสดงและถ่ายสำเนาเอกสารทุกอย่างจำนวน 3 ชุด    พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องด้วย

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดระนอง
เลขที่ 999/1 หมู่ที่ 3 ถนนเพชรเกษม  ตำบลบางริ้น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 85000
โทร./โทรสาร 077821112
E:mail : Ranong-lawaid@ago.go.th