วันฉัตรมงคล
4 พฤษภาคม 2567
………………………………………………………………………….
“เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป”
พระปฐมบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ 4 พฤษภาคม พุทธศักราช 2562

นายอาคม เย็นทั่ว อัยการจังหวัดผู้ช่วย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่
ร่วมวางพวงมาลาวันคล้ายวันสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี

นายมาโนชญ์ จันทวงศ์ อัยการอาวุโส พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่
ร่วมวางพานพุ่มวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ ในวันที่ 6 เมษายน 2567 ณ ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ร.ต.อ.นิสิต วิพลชัย อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงสุราษฎร์ธานี
พร้อมด้วยพนักงานอัยการ และเจ้าหน้าที่ธุรการ
ร่วมประชุมปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมในภาพรวมของสำนักงานอัยการสูงสุด ปีงบประมาณ 2567

นายสุธิศิลป์ เกิดขาว อัยการจังหวัดผู้ช่วย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่
ร่วมวางพานพุ่มดอกไม้ เนื่องใน
วันพ่อขุนรามคำแหง
ในวันที่ 17 มกราคม 2567 ณ หอประชุม ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี

สำนักงานอัยการคดีศาลแขวง ประชุมบุคลากรเพื่อประกาศเจตนารมณ์ เรื่อง ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ของสำนักงานอัยการสูงสุด
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567

นายมาโนชญ์ จันทวงศ์ อัยการอาวุโส พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่
ร่วมทำบุญตักบาตร และวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะ เนื่องใน
วันคล้ายวันพระราชสมภพ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ในวันที่ 5 ธันวาคม 2566 วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ณ ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี

นางสาวสุจิตรา พรหมเกิด อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่
ร่วมทำบุญตักบาตร เนื่องในวันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ประจำปี 2566

ณ ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี

นางสาวชนกชนม์ อภิรักษ์เนติพงศ์ อัยการจังหวัดผู้ช่วย และเจ้าหน้าที่
ร่วมวางพวงมาลาเนื่องในวันปิยะมหาราช 23 ตุลาคม 2566 ณ ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี

นางสาวสะอาด น้อยจันทึก อัยการจังหวัดผู้ช่วย และเจ้าหน้าที่
ร่วมตักบาตรและวางพวงมาลา
เนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2566

นายอภิชาติ แสนทวีสุข รองอัยการจังหวัด และเจ้าหน้าที่ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันที่ 28 กันยายน 2566
วันพระราชทานธงชาติไทย ณ สำนักงานอัยการภาค 8

อัยการคือใคร

                                “อัยการ” หรือ “พนักงานอัยการ” เป็นข้าราชการ ซึ่งรับราชการในสำนักงานอัยการสูงสุดโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานอัยการสูงสุด มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ 

คุณสมบัติของอัยการ

                                บุคคลใดประสงค์จะรับราชการเป็นข้าราชการอัยการต้องไปสมัครคัดเลือกที่สำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดได้ประกาศให้มีการสมัครสอบคัดเลือกและต้องสอบคัดเลือกตามหลักสูตรและวิธีการสอบคัดเลือกที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนดไว้

                                ผู้สมัครสอบคัดเลือกเป็นข้าราชการอัยการต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1.ต้องสอบไล่ได้เป็นธรรมศาสตร์บัณฑิต หรือนิติศาสตร์บัณฑิต หรือสอบไล่ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดเทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี

2.ต้องสอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา

3.ต้องเคยประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นผู้พิพากษา จ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานคุมประพฤติ นายทหารเหล่าพระธรรมนูญหรือทนายความหรืออาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งคณบดีหรือตำแหน่งที่เทียบเท่ารับรองว่าได้สอนวิชากฎหมายในคณะนิติศาสตร์ในวิชาใดวิชาหนึ่งหรือหลายวิชาดังนี้ คือ กฏหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายลักษณะพยาน กฎหมายล้มละลาย พระธรรมนูญศาลยุติธรรมหรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวง และวิธีพิจารณาความอาญาในศาลศาลแขวงมาแล้ว หรือข้าราชการ หรือพนักงานท้องถิ่นตำแหน่งนิติกรซึ่งผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกรตามมาตรฐานในสายงานนิติกรก.พ.กำหนดหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งทำหน้าที่พนักงานสอบสน และผู้บังคับบัญชารับรองว่าได้ปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานสอบสวนมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง

ผู้สมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการอัยการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยที่ได้ประกอบวิชาชีพทนายความทางกฎหมายจะต้องได้ว่าความในศาล โดยทำหน้าที่หรือมีส่วนร่วมทำหน้าที่ทนายความในขณะที่ศาลออกนั่งพิจารณามาแล้วไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง ในจำนวนนี้ต้องเป็นคดีแพ่งไม่น้อยกว่า 5 เรื่อง โดยมีหนังสือรับรองของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณามาแสดงว่าได้ทำหน้าที่ดังกล่าวอย่างแท้จริง

4.ต้องมีสัญชาติไทยโดยการเกิด

5.มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี

6.เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ

7.เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตสภา

8.ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี

9.ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

10.ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการหรือกฎหมายอื่น

11.ไม่เคยเป็นผู้ถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการหรือรัฐวิสาหกิจ

12.ไม่เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

13.ไม่เป็นไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือสิติฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ หรือเป็นโรคเรื้อน หรือวัณโรคในระยะอันตรายหรือโรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคมหรือโรคยาเสพติดให้โทษอย่างแรงหรือโรคพิษสุราเรื้อรัง

14.ต้องผ่านการตรวจร่างกายและจิตใจจากคณะกรรมการแพทย์ไม่น้อยกว่าสามคนซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดได้กำหนดและได้พิจารณารายงานแพทย์แล้วเห็นว่าสมควรรับสมัครได้

ประวัติ
สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงสุราษฎร์ธานี

                  เดิมสำนักงานอัยการคดีศาลแขวงสุราษฎร์ธานี ใช้ชื่อว่า “ที่ทำการอัยการประจำศาลแขวงสุราษฎร์ธานี”สังกัดกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทย ต่อมาเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2534 กรมอัยการได้แยกออกจากกระทรวงมหาดไทยเป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง และได้เปลี่ยนชื่อจาก  “กรมอัยการ” เป็น “สำนักงานอัยการสูงสุด” ตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 47 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2534 และ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ.2534  มาตรา 40    สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงสุราษฎร์ธานี เดิมตั้งสำนักงานอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ.2530 ได้ย้ายมาอยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี อาศัยอาคารขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งอยู่ภายในบริเวณศาลหลักเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี 2536 ได้ย้ายมาอยู่ที่อาคารศูนย์ราชการ ภายในศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี และต่อมา ปี พ.ศ. 2553 (ก.พ. 2553) สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงสุราษฎร์ธานีได้ย้ายสำนักงานออกมาจากศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี มาตั้งสำนักงานที่อาคารสำนักงานอัยการภาค 8 (ริมน้ำ) ถนนหน้าเมือง ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ก็คือที่ทำการปัจจุบันนั่นเอง

 สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงสุราษฎร์ธานี มีภารกิจในการบริหารงานยุติธรรมในส่วนของฝ่ายบริหารของรัฐเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนตลอดจนรักษาผลประโยชน์ของรัฐและอำนวยความยุติธรรมเพื่อให้เกิดความเสมอภาคตามกฎหมายและเกิดความเป็นธรรมในสังคม ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เป็นข้อขัดแย้งและการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกันอันเป็นการพัฒนาทางสังคมและลดปัญหาอาชญากรรมและคดีข้อพิพาทต่าง ๆ ให้น้อยลง เพื่อให้เกิดความสงบสุขแก่ประชาชนทั่วไป

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการคดีศาลแขวงสุราษฎร์ธานี

  1. งานอำนวยความยุติธรรม
    มีอำนาจในการดำเนินคดีอาญาที่มีอัตราโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท เช่น คดีขับรถประมาทบาดเจ็บสาหัสหรือได้รับอันตรายแก่กาย, คดีฉ้อโกง, คดียักยอก, คดีทำให้เสียทรัพย์, คดีหมิ่นประมาท, คดีทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย, คดีความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค, คดีความผิดตามพระราชบัญญัติการพนัน, คดีความผิดลหุโทษ คือ ความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกินดังกล่าว
  2. งานรักษาผลประโยชน์ของรัฐ
    2.1 รับว่าต่าง แก้ต่างคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ราคาไม่เกิน 300,000 บาท

2.2 รับแก้ต่างคดีอาญา ซึ่งเจ้าพนักงานของรัฐหรือราษฎร ผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการกระทำตามหน้าที่ และถูกฟ้องคดีอันเนื่องมาจากปฏิบัติตามหน้าที่หรือช่วยเหลือเจ้าพนักงาน (ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง)

  1. งานคุ้มครองสิทธิของประชาชน
    3.1 ร้องขอให้ศาลปล่อยตัวจำเลยหรือผู้ต้องหาที่ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

3.2 ร่วมชันสูตรพลิกศพผู้ซึ่งถึงแก่ความตายในระหว่างควบคุมของเจ้าพนักงาน หรืออันเนื่องมาจากการปฏิบัติการตามหน้าที่ของเจ้าพนักงาน (คดีวิสามัญฆาตกรรม)

3.3 ดำเนินคดีอุทลุมตามบทบัญญัติของกฎหมาย ห้ามมิให้ผู้สืบสันดาน (ลูกหลาน ฯลฯ) ดำเนินคดีกับบุพการี (บิดา, มารดา, ปู่, ย่า, ตา, ยาย) กฎหมายจึงบัญญัติให้เป็นอำนาจของพนักงานอัยการเท่านั้นที่จะดำเนินการได้

อำนาจหน้าที่ของอัยการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
อำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาซึ่งเป็นไปตาม พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 14 ซึ่งบัญญัติว่าในคดีอาญามีอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามกฎหมายอื่น ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ

อำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีอาญา เป็นอำนาจหน้าที่ของอัยการอันถือได้ว่ามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมอย่างหนึ่ง เพื่อก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม และถือเป็นงานหลักของอัยการที่ได้มีการปฏิบิตกันมากที่สุดเป็นประจำวัน ซึ่งได้แก่การตรวจวินิจฉัยสำนวนการสอบสวน และการดำเนินคดีในศาล ซึ่งอำนาจหน้าที่ของอัยการจะเริ่มต้นตั้งแต่ได้รับสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวน โดยสำนวนดังกล่าวอัยการไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องมาก่อนเลย เป็นสำนวนที่พนักงานสอบสวนเป็นผู้ดำเนินการจัดทำขึ้นทั้งสำนวน กล่าวคือ เมื่อมีการกระทำผิดอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้นหน้าที่เริ่มแรกเป็นของพนักงานสอบสวนที่จะต้องสืบสวนหาข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ ในคดีนั้น รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อให้รู้ตัวว่าใครเป็นผู้กระทำผิด และติดตามจับกุมผู้กระทำผิด เมื่อสอบสวนเสร็จแล้วพนักงานสอบสวนก็จะสรุปสำนวนทำความเห็น ถ้าเป็นกรณีไม่รู้ว่าใครเป็นผู้กระทำผิด พนักงานสอบสวนก็จะเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา แล้วส่งสำนวนการสอบสวนไปให้อัยการ

เมื่ออัยการได้รับสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวนแล้ว อัยการมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจวินิจฉัยสำนวนการสอบสวน แล้วทำความเห็นสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

ถ้าเป็นสำนวนการสอบสวนที่ไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด อัยการมีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนงดการสอบสวนหรือให้สอบสวนต่อไปก็ได้
ถ้าเป็นสำนวนการสอบสวนที่รู้ตัวว่าใครเป็นผู้กระทำผิด ไม่ว่าจะจับผู้ต้องหาได้หรือไม่ และพนักงานสอบสวนจะมีความเห็นสั่งฟ้องหรือไม่สั่งฟ้องก็ตาม อัยการมีอำนาจหน้าที่จะสั่งสำนวนได้ดังนี้
ก. ถ้าอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนยังไม่ชัดแจ้ง อัยการมีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติม หรือให้ส่งพยานมาพบอัยการเพื่อซักถามก็ได้

ข. ถ้าอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่า พยานหลักฐานในสำนวนไม่หนักแน่นเพียงพอที่จะรับฟังว่าผู้ต้องหาเป็นปู้กระทำผิด หรือการกระทำของผู้ต้องหาไม่เป็นความผิดต่อกฏหมาย อัยการมีอำนจสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ในกรณีคดีขาดอายุความ ผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์คดีความผิดอันยอมความได้ อัยการมีอำนาจสั่งยุติการดำเนินคดี้

ค. ถ้าอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานในสำนวนรับฟังได้ว่าผู้ต้องหาเป็นผู้กระทำผิด อัยการมีอำนาจสั่งฟ้องผู้ต้องหา โดยอัยการจะทำคำฟ้องแล้วยื่นฟ้องผุ้ต้องหาต่อศาล (หลังจากฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลแล้วผู้ต้องหาจะถูกเรียกว่าจำเลย) ถ้าจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำผิดหรือจำเลยรับสารภาพ แต่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป อัยการต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อความผิดของจำเลยต่อศาล ถ้าในระหว่างสืบพยานก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดี ถ้าปรากฏพยานหลักฐานใหม่แน่ชัดว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้กระทำผิด อัยการมีอำนาจที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอถอนฟ้องคดีนั้นได้ เมือศาลได้พิพากษาคดีอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วอัยการที่มีอำนาจหน้าที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไป หรือไม่อุทธรณ์หรือไม่ฎีกาก็ได้ หรืออุทธรณ์ ฏีกา แล้วร้องขอถอนอุทธรณ์ หรือถอนฎีกาก็ได้ี้

ง. ถ้าอัยการพิจารณาสำนวนแล้วเห็นว่าคดีนั้นเป็นความผิดซึ่งอาจเปรียบเทียบได้ เช่น ความผิดลหุโทษ อัยการมีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบปรับคดีนั้นหรือจะสั่งให้พนักงานสอบสวนอื่นที่มีอำนาจจัดการเปรียบเทียบให้ก็ได้

บุคลากร

ทำเนียบอัยการจังหวัดคดีศาลแขวงสุราษฎร์ธานี

1.            นายเสถียร                    มาลากุล                 27 ก.พ. 2518 – 25 มี.ค. 2520

2.            นายบุญยรัตน์               ศุนะนันท์               26 มี.ค. 2520 – 30 เม.ย. 2521

3.            นายวรท                        ศรีไพโรจน์             1 พ.ค. 2521 – 30 มี.ค. 2522

4.            นายวิชาญ                      ราชรักษา               1 เม.ย. 2522 – 30 มี.ค. 2523

5.            นายสุวรรณ                   สมานุหัตถ์              1 เม.ย. 2523 – 14 เม.ย. 2524

6.            ร.ต.เขษม                       สันตะบุตร             15 เม.ย. 2524 – 1 พ.ค. 2526           

7.            นายวิรัตน์                      นิสสระ                   2 พ.ค. 2526 – 15 เม.ย. 2527

8.            นายณรงค์                      ปรางชุมพล        16 เม.ย. 2527 – 14 เม.ย. 2528

9.            นายสมชาย                    ชัยเดชสุริยะ         15 เม.ย. 2528 – 3 พ.ค. 2530

10.          นายชำนาญ                    ทองดี                    4 พ.ค. 2530 – 1 พ.ค. 2531

11.          นายบัณฑิต                    เครือเสน่ห์             2 พ.ค. 2531 – 7 พ.ค. 2532

12.          นายไพรัช                      กังวานสุระ            8 พ.ค. 2532 – 9 พ.ค. 2533

13.          น.ส.เนื้อทิพย์                 โกมลมาลย์           10 พ.ค. 2533 – 12 พ.ค. 2534

14.          นายธวัชชัย                     เสียงแจ้ว              13 พ.ค. 2534 – 3 พ.ค. 2535

15.          นายปราโมทย์                 นพศิริ                  4 พ.ค. 2535 – 30 ก.ย. 2535

16.          นายวันพร                       บุญช่วย               1 ต.ค. 2535 – 30 เม.ย. 2536

17.          นายอรรถยา                     ลิ้มจำรุญ            1 พ.ค. 2536 – 30 เม.ย. 2537

18.          นายยุทธศิลป์                   เสนานาญ           1 พ.ค. 2537 – 30 เม.ย. 2538

19.          นายเชิดพงษ์                    แสงเพ็ญ            1 พ.ค. 2538 – 30 ก.ย. 2538

20.          นายนิวิษฐ์                        ประสิทธิ์วิเศษ      2 ต.ค .2538 – 3 ต.ค. 2539

21.          นายมนัส                          ประทุมพิทักษ์      4 ต.ค. 2539 – 30 เม.ย. 2541

22.          นายกิตติศักดิ์                    กิตติสินานนท์      1 พ.ค.2541 – 2 พ.ค. 2542

23.          นายจำรัส                          อรรถสุริยานันท์   3 พ.ค. 2542 – 30 เม.ย. 2543

24.          นายเกียรติพล                   ภู่จำรูญ               1 พ.ค. 2543 – 30 เม.ย. 2544

25.          นายสมพร                        แย้มนิล                  1 พ.ค. 2544 – 6 พ.ค. 2545

26.          นายสุรัตน์                        มังคุด                    7 พ.ค. 2545 – 27 เม.ย. 2546

27.          นายภควัต                         สุวรรณวงศ์       28 เม.ย. 2546– 2 พ.ค. 2547

28.          ร.ต.ต.ปราโมทย์               เจียมสกุล              3 พ.ค. 2547 – 3 เม.ย. 2548

29.          นายผูกพันธ์                      พฤกษะศรี            4 เม.ย. 2548 – 30 เม.ย. 2549

30.          นายอุดม                           อึ้งสุวรรณพานิช    1 พ.ค. 2549 – 1 เม.ย. 2550

31.          นายชินวัตร                       เหมือนแก้วจินดา   2 เม.ย. 2550 – 31 มี.ค. 2551

32.          นายธิติ                              คุ้มรักษ์                  1 เม.ย. 2551 – 31 มี.ค. 2553

33.          นายพีรพล                        ชาวเมืองทอง         1 เม.ย. 2553 – 31 มี.ค. 2554

34.          นางวรรณเพ็ญ                  แก้วพนาสิริ           1 เม.ย. 2554-31 มี.ค. 2555

35.          นางสาวอรนุช                   ภักดีวิสุทธิพร       1 เม.ย. 2555- 30 มี.ค. 2556

36.          นายไพบูลย์                       อาชวานันทกุล     1 เม.ย. 2556- 30 มี.ค. 2557

37.          นายสมศักดิ์                       ทองพนัง             1 เม.ย. 2557-30 มี.ค. 2558

38.          นายวันชัย                          หิตะวัฒนกุล         1 เม.ย. 2558-31 มี.ค. 2559

39.          นายเดชชัย                         จันทร์ชุม             1 เม.ย. 2559-2 เม.ย. 2560

40. นายสุเทพ กัณห์อุไร 3 เม.ย 2560-31 มี.ค. 2561

41. นายสิริพงษ์ ศรีวิศาล 2 เม.ย.61-31 มี.ค. 2562

42. นางสาววณี เกษตรธรรม 1 เม.ย.62-31 มี.ค. 2563

43. นายกฤตพล เทียนสุวรรณ 1 เม.ย.63-31 มี.ค. 2564

44. นายศรีวงษ์ หลักคำ 1 เม.ย.64-31 มี.ค. 2565

45. นายเอกสิทธิ์ สุขการณ์ 1 เม.ย.65-31 มี.ค. 2566

46. ร้อยตำรวจเอก นิสิต วิพลชัย 1 เม.ย.66-ปัจจุบัน

ร้อยตำรวจเอก นิสิต วิพลชัย
อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงสุราษฎร์ธานี

นางสาวสุดาพร สาสนัส
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ผู้กลั่นกรอง

นายอภิชาติ แสนทวีสุข
รองอัยการจังหวัด

นางสาวชนกชนม์ อภิรักษ์เนติพงศ์
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นายอาคม เย็นทั่ว
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นายสุธิศิลป์ เกิดขาว
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นายเอกรินทร์ ชูทองคำ
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

พันตำรวจโท มาโนชญ์ จันทวงศ์
อัยการอาวุโส

นางวิไลภรณ์ มาเพ็ง
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการพิเศษ
รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

นางสุมิตตา ธรรมอภิรักษ์
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นางนันท์นภัส ทรัพย์เจริญ
นิติกรชำนาญการ

นางสาวเบญญาภา ยืนยง
นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ

นางสาวเบญจวรรณ จันทร์พิทักษ์
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นายสิทธิชัย หอมแก้ว
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นางสาวสุดารัตน์ นิลเอี่ยม
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวศิวาภรณ์ โชติศิริ
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นายภูธน แก้วไทย
นิติกรปฏิบัติการ

นายกำธร ชัยคงทอง
นิติกรปฏิบัติการ

นางวีรนุช พัฒนประดิษฐ์
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นางสุดารัตน์ พรหมจันทร์
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นายปกรณ์กฤษณ์ ยุทธโกศา
พนักงานขับรถยนต์

การดำเนินงาน หลักประกันตัวผู้ต้องหา

1.  ผู้ขอประกันตัวยื่นคำร้องขอประกันตัวพร้อมหลักฐานประกอบคำร้อง
2.  เจ้าหน้าที่รับคำร้อง/ตรวจสอบหลักฐานเสร็จแล้วลงเวลารับเรื่องที่หัวคำร้องกับกรอกแบบประเมิน  ส่วนที่ 1 ส่งให้ผู้ร้องขอประกัน
3.  เสนอคำร้องให้หัวหน้าพนักงานอัยการพิจารณา
4.  แจ้งผลการพิจารณาและทำสัญญาประกัน
5.  ผู้ร้องขอประกันกรอกแบบประเมินใส่กล่องรับแบบประเมิน


หลักประกันที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว

1.  เงินสด
2.  โฉนดที่ดิน,  น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก  มีหนังสือของเจ้าพนักงานที่ดินหรือนายอำเภอท้องที่แสดงว่าที่ดินมีราคาเท่าใด
3.  พันธบัตรรัฐบาลหรือสลากออมสิน
4.  สมุดหรือใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร  ต้องมีหนังสือรับรองยอดเงินคงเหลือและรับรองว่าที่ดินมีราคาเท่าใด
5.  ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่ายและได้รับรองแล้ว
6.  ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว
7.  เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายหรือรับรอง
8.  หนังสือรับรองของธนาคารเพื่อชำระเบี้ยปรับแทนกรณีผิดสัญญา
9.  หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย
10.  ใช้บุคคลเป็นประกันโดยแสดงหลักทรัพย์

****เช็คธนาคาร  ที่ใช้ประกันตัวผู้ต้องหา  ต้องไม่ใช้เช็คลงวันที่ล่วงหน้าและสั่งจ่าย “อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงสุราษฎร์ธานี

ประกันด้วยหลักทรัพย์

ที่ดิน  

     1.  ต้นฉบับเอกสารที่ดิน (โฉนดที่ดิน,  น.ส.3 ก.)    

     2.  หนังสือประเมินราคาที่ดินจากสำนักงานที่ดิน 

               สมุดเงินฝาก              

   1.  สมุดเงินฝาก               

  2.  หนังสือรับรองยอดเงินฝากธนาคาร

ตำแหน่งบุคคล

                หนังสือรับรองจากต้นสังกัด  แสดงสถานะ  ระดับ  อัตราเงินเดือน  และหากมีภาระผูกพันในการทำสัญญาประกัน หรือใช้ตนเองเป็นประกันหลักประกันรายอื่นอยู่ให้แสดงภาระผูกพันด้วย             

เอกสารของผู้ต้องหา      

          1.  บัตรประจำตัวพร้องสำเนา  จำนวน  1  ฉบับ          

               2.  สำเนาทะเบียนบ้าน  จำนวน  1  ฉบับ              

เอกสารของผู้ประกัน           

               1.  บัตรประจำตัวพร้อมสำเนา  จำนวน  1  ฉบับ           

               2.  สำเนาทะเบียนบ้าน                

               3.  หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรส           

               4.  ใบสำคัญการสมรส/ใบสำคัญการหย่า          

               5.  หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว – สกุล              

***  ประกันด้วยบุคคลผู้ประกันต้องมายื่นขอประกันด้วยตนเอง  จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นประกันแทนไม่ได้  และต้องไม่ติดประกันรายอื่น ***  ประกันด้วยหลักทรัพย์ (ยกเว้นเงินสด) หากมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมายื่นประกันแทนต้องมอบอำนาจโดย ให้มีนายอำเภอหรือผู้ทำการแทน   ประทับตราประจำตำแหน่งเป็นผู้รับรองลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ

   การใช้บุคคลเป็นหลักประกัน 

           1.  ข้าราชการพลเรือนระดับ 3 – 5 ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 60,000 บาท                 

                 2.  ข้าราชการพลเรือนระดับ 6 – 8 ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 200,000 บาท              

                 3.  ข้าราชการพลเรือนระดับ 9 – 10 ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท                 

                 4.  ข้าราชการพลเรือนระดับ 11 ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 800,000 บาท                 

                 5.  ข้าราชการบำนาญตั้งแต่ระดับ   6  หรือเทียบเท่าขึ้นประกันได้ในวงเงินไม่เกิน  800,000  บาท       

                 6.  พนักงานรัฐวิสาหกิจประกันได้ทำนองเดียวกันกับข้าราชการอื่นตาม  ข้อ 1 – 4                 

                 7.  สมาชิกรัฐสภา,  ข้าราชการการเมือง  ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน  800,000  บาท                 

                 8.  สมาชิกสภาจังหวัด  สมาชิกสภาเทศบาล  กำนันและผู้ใหญ่บ้าน  ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน  60,000  บาท

                 9.  ทนายความ  ประกันตนเองหรือญาติได้ตามระเบียบและตามเกณฑ์  ดังนี้                    

                 9.1  ผู้ที่จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป้นทนายความมาแล้วไม่เกิน  2  ปี   ประกันตนเองได้ในวงเงินไม่เกิน  60,000  บาท                    

                 9.2  ผู้ที่จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความมาแล้ว  2  ปีขึ้นไป  แต่ไม่ถึง  5  ปี                           ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน  60,000  บาท                    

                 9.3  ผู้ที่จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความมาแล้วตั้งแต่  5  ปีขึ้นไป  แต่ไม่ถึง  15  ปี   ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน  200,000  บาท                    

                  9.4  ผู้ที่จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความมาแล้วตั้งแต่  15  ปีขึ้นไป   ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน  500,000  บาท

หลักเกณฑ์การขอประกันผู้ต้องหาในคดีอาญา

๑.       ผู้มีสิทธิยื่นขอประกันตัวผู้ต้องหา ได้แก่ ตัวผู้ต้องหาหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง

๒.     กรณีการใช้บุคคลเป็นหลักประกัน ในการปล่อยตัวชั่วคราว ไม่จำกัดเฉพาะข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และข้าราชการการเมือง เพียงเท่านั้น บุคคลอื่นๆ มีความน่าเชื่อถือ สามารถใช้สิทธินี้ได้เช่นกัน

๓.     การร้องขอประกันตัว ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าคำร้อง ค่าสัญญาประกัน ค่าเขียนหรือพิมพ์คำร้อง เขียนสัญญาหรือพิมพ์สัญญาประกัน รวมทั้งการพิจารณาการสั่งอนุญาตให้ประกันตัว

๔.     การเขียนหรือพิมพ์คำร้องขอประกันตัว และสัญญาประกันตัวให้เขียนหรือพิมพ์ตามตัวอย่างที่สำนักงานได้จัดทำไว้เป็นตัวอย่างให้ดู หากผู้ขอประกันเขียนหรือพิมพ์ไม่ได้ สำนักงานได้จัดให้มีผู้เขียนหรือพิมพ์ให้และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเขียนหรือพิมพ์แต่อย่างใด

๕.     เมื่อรับคำร้องขอประกันตัวแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้รับคำร้องจะตรวจสอบความถูกต้องของคำร้องสัญญาประกันและหลักประกัน พร้องลงเวลาการรับคำร้องไว้ที่บนหัวกระดาษคำร้อง กรณีผู้ร้องขอประกันมากราย จะจัดบัตรคิวให้บริการตามลำดับ

๖.      การพิจารณาคำขอประกันตัว ปกติพนักงานอัยการจะอนุญาตให้ประกันตัวตามขอ ฉะนั้น อย่าหลงเชื่อคำแอบอ้างหรือการเรียกเงินเพื่อตอบแทนการอนุญาตให้ประกันตัวดังกล่าว

๗.     พนักงานอัยการจะพิจารณาสั่งคำร้องขอประกันตัวภายในระยะเวลา ๒๐ นาที นับแต่รับคำร้องเว้นแต่ในบางกรณีที่มีเหตุผลสมควรที่ไม่อาจดำเนินการได้แล้วเสร็จตามเวลาดังกล่าวให้ขยายระยะเวลาเป็นไม่เกิน ๓๐ นาที นับแต่คำร้อง โดยพนักงานอัยการหรือเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอประกันตัวทราบเหตุดังกล่าว

๘.     จะไม่มีข้ออ้างจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าผู้รับคำร้องไม่อยู่ ไม่มีเจ้าหน้าที่เขียนหรือพิมพ์คำร้องรวมทั้งพนักงานอัยการผู้สั่งอนุญาตคำร้องไม่อยู่ เพราะเป็นหน้าที่ของสำนักงานที่ทดแทนไว้บริการประชาชนเสมอ

ผังกระบวนงานขอประกันตัวผู้ต้องหา

1. ผู้ขอประกันตัวยื่นคำร้องขอประกันตัวพร้อมหลักฐานประกอบคำร้อง

2. เจ้าหน้าที่รับคำร้อง/ตรวจสอบหลักฐานเสร็จแล้วลงเวลารับเรื่องที่หัวข้อ

3. เสนอคำร้องให้หัวหน้าพนักงานอัยการพิจารณาสั่ง

4. แจ้งผลการพิจารณาและทำสัญญาประกัน

กระบวนงานดังกล่าว ตั้งแต่เจ้าหน้าที่รับคำร้อง/ตรวจสอบหลักฐาน จนกระทั่งแจ้งผลการพิจารณาและทำสัญญาประกันแล้วเสร็จ ใช้ระยะเวลาไม่เกิน ๒๐ นาที เว้นแต่ในกรณีมีเหตุผลอันสมควรที่ไม่อาจดำเนินการได้ภายในระยะเวลาดังกล่าวให้ขยายระยะเวลาเป็นไม่เกิน ๓๐ นาที นับแต่รับคำร้อง โดยพนักงานอัยการหรือเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอประกันตัวทราบเหตุดังกล่าว)

–          จัดทำป้ายติดที่โต๊ะเจ้าหน้าที่แสดงชัดเจนว่าเป็นผู้ทำหน้าที่งานประกันตัวผู้ต้องหาพร้อมชื่อ นามสกุล ตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว และจัดทำตัวอย่างการเขียนหรือพิมพ์คำร้องขอประกันและสัญญาประกันปิดหน้าสำนักงานโดยเปิดเผยให้เป็นตัวอย่าง

–          พิจารณาเรื่องการประกันตัวผู้ต้องหาเป็นงานแรกเมื่อรับสำนวนการสอบสวนและจะต้องพิจารณาเรื่องขอประกันตัวก่อนการลงสารบ

–          กรณีผู้ขอประกันตัวไม่อาจเขียนหรือพิมพ์คำร้องขอประกัน และสัญญาประกัน ให้จัดเจ้าหน้าที่ที่เขียนหรือพิมพ์คำร้องขอประกันและสัญญาประกันให้โยพลัน โยมิให้เรียกเงินหรือทรัพย์สินใดตอบแทนการเขียนหรือพิมพ์โดยเด็ดขาด และมิให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมคำร้องขอประกันตัวผู้ต้องหาจากผู้ยื่นคำขอ

–          เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับคำร้องขอได้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานถูกต้อง ให้ลงเวลารับไว้ที่หัวกระดาษคำร้องแล้วรีบนำคำร้องขอประกันพร้อมสัญญาประกัน เสนอหัวหน้าพนักงานอัยการหรือพนักงานอัยการผู้ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณาคำสั่งการ

–          ดำเนินการพิจารณาสั่งคำร้องขอประกันให้แล้วเสร็จภายใน ๒๐ นาที นับแต่รับคำร้อง เว้นแต่ในกรณีมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจดำเนินการได้ตามระยะเวลาดังกล่าว ให้ขยายระยะเวลาเป็นไม่เกิน ๓๐ นาที นับแต่รับคำร้อง โยแจ้งเหตุดังกล่าวให้ผู้ขอประกันทราบด้วย และมิให้เรียกเงินหรือทรัพย์สินใดตอบแทน

–          กรณีเจ้าหน้าที่ผู้รับคำร้อง ผู้พิมพ์คำร้อง ผู้ตรวจคำร้อง และผู้พิจารณาสั่งคำร้อง ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่ว่ากรณีใด ให้มอบหมายผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนทันที ห้ามมิให้ยกเหตุข้อขัดข้องดังกล่าวขึ้นอ้างต่อประชาชนผู้รับบริการ

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงสุราษฎร์ธานี
ถนนหน้าเมือง ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000 
โทร. 077272426,077272999
Email: surat_sum@ago.go.th