ประกาศสำนักงานอัยการสูงสุด

ประกาศสำนักงานอัยการจังหวัดตะกั่วป่า

กิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย เวลา 08.00 นาฬิกา วันที่ 28 กันยายน 2566
กิจกรรมการเข้าร่วมพิธี “วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช” ประจำปี 2566
กิจกรรมทำบุญตักบาตรถวายพระกุศล โครงการบรรพชาอุปสมบท 99 รูป ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา กระทรวงมหาดไทย
กิจกรรมพิธีบำเพ็ญกุศลเพื่อถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติสำนักงานอัยการจังหวัดตะกั่วป่า

สำนักงานอัยการจังหวัดตะกั่วป่า เดิมเป็นอาคารชั้นเดียว ต่อมา นายเชษฐวิทย์ ตันติพันธ์ุวดี อัยการจังหวัดตะกั่วป่า ในขณะนั้น ได้ให้สถาปนิกที่ชำนาญงาน มาวางผังและแปลนรูปแบบสำนักงานจนกระทั่งเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕5๐ สำนักงานอัยการสูงสุดได้ทำสัญญาก่อสร้างอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดตะกั่วป่า ตามสัญญาจ้างที่ ๒๖๒/๒๕๕๐ โดยได้ว่าจ้าง บริษัทอัสสะ คอนสตรั่คชั่น จำกัดตกลงว่าจ้าง ก่อสร้างอาคารสำนักงาน จำนวน ๑ หลัง อาคารชุดพักอาศัยข้าราชการธุรการ ๘ ยูนิต จำนวน ๑ หลัง ตกลงว่าจ้าง จำนวนเงิน ๔๖,๘๗๐,๐๐๐ บาท โดยมีการก่อสร้างบริเวณอาคารเดิม ตามหลักฐานที่ดิน นสล. เลขที่ ๖๙๘ เนื้อที่ ๔ ไร่ ๑ งาน และที่ดิน นลส. เลขที่ ๓๒๓๗ เนื้อที่ ๓ งาน ๑๓ (๕/๑๐) ตารางวา เนื้อที่รวมทั้งหมด ๕ ไร่ ๑๓ (๕/๑๐) ตารางวา ก่อสร้างผู้พันตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๐ ซึ่งมีการส่งงานงวดสุดท้ายเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๓ และได้เข้ามาปฏิบัติงาน ในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓ โดยมีนายสันติ นภาสวัสดิ์ เป็นอัยการจังหวััดตะกั่วป่า ขณะนั้น

       ต่อมาวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 นายอดิศร ปักเข็ม อัยการจังหวัดตะกั่วป่า ได้ทำพิธีเปิดสำนักงานอย่างเป็นทางการ โดยมีอธิบดีอัยการภาค 8 เป็นประธาน

       ปัจจุบันเป็นที่ปฏิบัติงานของสำนักงานอัยการจังหวัดตะกั่วป่า, สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพังงา (ตะกั่วป่า) และสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดพังงา (ตะกั่วป่า)

อำนาจและหน้าที่ตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553

          กำหนดให้องค์กรอัยการประกอบด้วย ก.อ. อัยการสูงสุด และพนักงานอัยการอื่น โดยมีสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานธุรการ

          สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นส่วนราชการที่มีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น และนิติบุคคล โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้แทนนิติบุคคล และให้ข้าราชการฝ่ายอัยการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด  มีดังนี้

           1. ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน

           2. ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ

           3. ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร

           4. ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้

           5. ดำเนินการตามที่รัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ

           6.  ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ

           7. ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน

           8. ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด

           9. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด

         ในการตรวจร่างสัญญาตาม (2) และ (3) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (2) หรือนิติบุคคลตาม (3) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 14 มีดังนี้

           1. อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ

           2.ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ

           3. ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโคตุลาการทั้งปวงกับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ

           4. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดีหรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้

           5. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (3) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นเป็นคู่กรณีและมิใช่กรณีที่พิพาทกับรัฐบาลหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้

           6. ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้

           7. ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ

           8. ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ

           9. อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี

           10. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ

           11. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่สำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด

           ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตาร 14 (3) (4) และ (5) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำโดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้

           พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

สำนักงานอัยการจังหวัดตะกั่วป่ามีเขตอำนาจความรับผิดชอบทั้งหมด 5 สถานีตำรวจ ได้แก่

  •           1. สถานีตำรวจภูธรตะกั่วป่า
  •           2. สถานีตำรวจภูธรกะปง
  •           3. สถานีตำรวจภูธรตลาดใหญ่
  •           4. สถานีตำรวจภูธรคุระบุรี
  •           5. สถานีตำรวจภูธรเขาหลัก

บุคลากร

นายอัมพร รัตนพันธ์
อัยการจังหวัดตะกั่วป่า

นายณัฐชะวิศ ปานพรหมมินทร์
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้กลั่นกรองงาน

นายจตุรงค์ คงนคร
รองอัยการจังหวัด

นางสาววิลาสิณี เหมทานนท์
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นายพีรเดช เพชรคุณ
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นางสาวอุบลวัณณ์ พัดดำ
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการพิเศษ
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

นางสาวไพศรี ด้วงศรีทอง
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นางสาววัลภา นำพา
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นางสาวธุมเกต กสิบาล
นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ

นางสาวอุสุมาภรณ์ กล่ำนคร
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวเกณิกา วัชรสินธุ์
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวปารณีย์ นวลส่ง
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวนฤมล คำสอน
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวรุ่งทิวา ตันสกุล
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นางศิรพร ชูชัย
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นางสาวจิราพร ชนะรัตน์
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นายปิยะ หนูช่วย
พนักงานขับรถยนต์

นายพุทธิวัฒน์ สุวบุญประภัทร์
นิติกร

นางสาวจันทิรา นุ้ยสิน
พนักงานรักษาความสะอาด

นายสุภาพ เอมสกุล
คนสวน

นางสาวชุตินันท์ ชุมภูอาจ
นักการภารโรง

รายนามอัยการจังหวัดตะกั่วป่า

ชื่อสกุลดำรงตำแหน่ง ปี พ.ศ.
นาย ชลออัจฉะกาญจน์2481 – 2484
นาย ศิริจารุนาคร2484 – 2486
นาย แก้วพรึกสะสรี2486 – 2490
นาย อิสระบุญประเสริฐ2490 – 2495
นาย เอื้อนคอมันตรี2495 – 2504
นาย เวศน์มิตรกุล2504 – 2507
นาย สนองจันไกรผล2507 – 2509
นาย ดำเกิงโล่สุวรรณ์2509 – 2512
นาย พันนิตยวิมล2512 – 2516
นาย ประจวบพุฒาพิทักษ์2516 – 2519
นาย เลื่อนพงษ์สวัสดิ์2519 – 2520
นาย สุพัตรแสนพล2520 – 2521
นาย บัญญัติวิสุทธิมรรค2521 – 2523
นาย สถาพรอำนวยพาณิชย์2523 – 2524
นาย โกวิทเกิดศิริลักษณ์2524 – 2526
นาย มาโนชย์ศิโรมาศกุล2526 – 2528
นาย ชัยฤกษ์ดิษฐ์อำนาจ2528 – 2530
นาย สัญญาศรีจันทรา2530 – 2531
นาย ไพบูลย์พรภูติ2531 – 2532
นาย ประทีปศิริวงศ์นิธิโชย2532 – 2535
ร.ท. พัฒนะไชยเศรษ2535 – 2536
นาย ทวีศักดิ์วิเศษ2536 – 2537
นาย วิชัยเตชะเกิดกมล2537 – 2538
นาย นิพลผดุงทอง2538 – 2538
นาย มนต์นพเรืองวุฒิ2538 – 2539
นาย วิสูตรพ่วงใส2539 – 2541
นาย สมศักดิ์ติยะวานิช2541 -2542
นาย ยรรยงทิพยพันธุ์2542 – 2543
นาย ก่อเกียรติท้าวประยูร2543 – 2544
นาย พงษ์ศักดิ์คงทน2544 – 2545
นาย อนุสรณ์สุทธรัตน์2545 – 2546
นาย จิโรจน์เอี่ยมโอภาส2546 – 2547
นาย พรชัยวิภาภรณ์พรรณ2547 – 2548
นาย เชษฐวิทย์ตันติพันธุ์วดี2548 – 2549
นาย วิศิษฐ์ลาภนิยม2549 – 2550
นาย พิชัยศรีจำนอง2550 – 2551
นาย สันตินภาสวัสดิ์2551 – 2553
นาย อดิศรปักเข็ม2553 – 2554
นาย เชียงแสนปั้นหยา2554 – 2555
นาย ประดิษฐ์ผดุงเกียรติวงศ์2555 – 2558
นาย  บรรเจิดรัตนมโนธรรม 2558 – 2559 
นาย  เจษฎาเขียวชัย2559 – 2560
นาย กิตติพงศ์ตีรณัตถพงศ์2560 – 2561
นายธรรมะสอนใจ2561 – 2562
นายวิลาศใจบุญลือ2562 – 2563
นายพรไพโรจน์ตรีพงษ์พันธุ์2563- 2564
นายสุภัทรชัยเมียนเกิด2564 – ปัจจุบัน

สถิติคดี

ปริมาณคดี  พ.ศ.2565

ลำดับที่ ประเภทสำนวน จำนวนคดี (คดี) 
๑ ส.๑  สำนวนรู้ตัวผู้กระทำความผิด  
 – รับสำนวน๕๐๘
 – รับสารภาพ๔๑๓
 – ปฏิเสธ๑๔
 – สิบพยาน (ปาก)๑๑๓
ส.๒ สำนวนคดีอาญาไม่ปรากฏตัวผู้ต้องหา๗๑
ส.๒ ก สำนวนคดีอาญาปรากฏผู้ต้องหาที่ไม่ส่งตัวมา๕๕
 (เฉพาะคดีเปรียบเทียบ) 
ส.๓ สำนวนไม่ปรากฏตัวผู้กระทำความผิด๒๗
ส.๔ วาจา๔๙๘
ส.๔ (อาญา)๔๙๘
ส.๕  (แก้ต่าง)
ส.๕ ก (แพ่ง)
ส.๑๐ คดีฆาตรกรรม– 
๑๐ส.๑๑  สำนวนคดีอาญาที่มีความเห็นแย้ง
๑๑ส.๑๒  สำนวนชันสูตรพลิกศพ
๑๒ส.๑๒ ก สำนวนตายผิดธรรมชาติ
๑๓สำนวนฟื้นฟู
๑๔ สำนวนมาตรการ ฯ – 

เอกสารเผยแพร่

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดตะกั่วป่า
เลขที่ 12 ถนนวัฒนา อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา 82110
โทรศัพท์ 076 – 421122   โทรสาร 076 – 421330
Email: tkpa@ago.go.th
ผู้ดูแลระบบ : admin oomph_1988@hotmail.com