ข่าวประชาสัมพันธ์

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ได้รับเชิญจากโรงพยาบาลตะกั่วป่า เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ ในหัวข้อ วินัยและการป้องกันการกระทำผิดวินัย

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 ได้รับเชิญจากโรงพยาบาลตะกั่วป่า เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ได้รับเชิญจากกองกฎหมายและสอบสวน สำนักงานฝ่ายอำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 เป็นวิทยากรบรรยายกฎหมาย

วันที่ 8 สิงหาคม 2565 ได้รับเชิญจากองค์การบริหารส่วนตำบลบางวัน เป็นวิทยากรบรรยายกฎหมาย โครงการอบรมกฎหมายและความเข้าใจในสิทธิทางกฎหมายแก่ประชาชน ประจำงบประมาณ 2565

วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 เป็นวิทยากร บรรยายให้ความรู้ หัวข้อ “โืทษทางอาญาในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและความผิดอื่น” ณ กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 425 อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา


โครงการฝึกอบรมการประนอมและระงับข้อพิพาทในระดับชุมชน ปีงบประมาณ 2566

วันที่ 14 มีนาคม 2566 นายสมคิด พัฒแก้ว อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดพังงา(สาขาตะกั่วป่า) นายดนัย นวลส่ง รองอัยการจังหวัด และคณะเจ้าหน้าที่ จัดโครงการฝึกอบรมการประนอมและระงับข้อพิพาทในระดับชุมชน ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอกะปง จังหวัดพังงา

โครงการฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน ประจำปีงบประมาณ 2565

วันที่ 11 สิงหาคม 2565 นายสมคิด พัฒแก้ว อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดพังงา(สาขาตะกั่วป่า) นายดนัย นวลส่ง รองอัยการจังหวัด และคณะเจ้าหน้าที่ ร่วมกับเทศบาลตำบลบางนายสี จัดโครงการฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน ประจำปีงบประมาณ 2565 ณ ศาลาเอนกประสงค์เทศบาลตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

โครงการฝึกอบรมการประนอมและระงับข้อพิพาทในระดับชุมชน ปีงบประมาณ 2565

วันที่ 16 สิงหาคม 2565 นายสมคิด พัฒแก้ว อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดพังงา(สาขาตะกั่วป่า) นายดนัย นวลส่ง รองอัยการจังหวัด และคณะเจ้าหน้าที่ จัดโครงการฝึกอบรมการประนอมและระงับข้อพิพาทในระดับชุมชน ณ ศาลาประชาคมที่ว่าการอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

วันที่ 30 มิถุนายน 2565 นายดนัย นวลส่ง ได้ไปเยี่ยมศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิฯ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่นางขาวและเทศบาลตำบลคุระบุรี

วันที่ 28 มิถุนายน 2565 นายดนัย นวลส่ง ได้ไปเยี่ยมศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิฯ องค์การบริหารส่วนตำบลบางวัน

วันที่ 23 มิถุนายน 2565 นายดนัย นวลส่ง ได้ไปเยี่ยมศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิฯ เทศบาลตำบลคึกคัก

วันที่ 21 มิถุนายน 2565 นายดนัย นวลส่ง ได้ไปเยี่ยมศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิฯ เทศบาลตำบลบางนายสี

กิจกรรมร่วมกันบริจาคสิ่งของแก่ผู้ยากไร้หรือด้อยโอกาส

วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดพังงา และสำนักงานอัยการจังหวัดตะกั่วป่า ร่วมกันมอบสิ่งของเครื่องใช้และอาหารแห้งให้แก่ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพังงา

กิจกรรมปลูกต้นไม้

กิจกรรมปลูกต้นไม้ โดย สำนักงานอัยการตะกั่วป่า และสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดพังงา สาขาตะกั่วป่า ร่วมกันปลูกต้นไม้เพื่อปรับภูมิทัศน์ให้สวยงาม ณ บริเวณหน้าสำนักงาน

เกี่ยวกับสำนักงาน

   

ประวัติความเป็นมา

สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีเป็นหน่วยงานหนึ่งภายในสำนักงานอัยการสูงสุดโดยเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2525 ประกอบกับได้มีพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 23 (1) บัญญัติให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมาย ตลอดจนการให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน จึงมีภารกิจหลักในการปฏิบัติงานในด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนภายใต้กรอบของกฎหมายผ่านทางแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม อันประกอบด้วย

1. การคุ้มครองสิทธิทางศาลตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ 
2. การให้คำปรึกษาทางกฎหมายและการช่วยเหลือในการทำนิติกรรมสัญญา 
3. การช่วยเหลือทางอรรถคดีโดยการจัดหาทนายความว่าต่างแก้ต่างในชั้นศาล 
4. สนับสนุนการประนอมและระงับข้อพิพาทในระดับท้องถิ่น 
5. การเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายให้แก่ประชาชนกลุ่มต่างๆ
6. การฝึกอบรมความรู้ทางกฎหมายให้แก่ประชาชนกลุ่มต่างๆ

และโครงการอื่นที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะโครงการสนับสนุนและช่วยเหลือตามแนวพระราชดำริ โดยจะดำเนินการออกหน่วยเคลื่อนที่เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนตามที่ได้รับการประสานหรือมีหมายกำหนดการจากสำนักราชเลขาธิการหรือหน่วยงานกองงานในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์และดำเนินการพิจารณาแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้เดือดร้อนซึ่งได้ถวายฎีกาผ่านสำนักราชเลขาธิการเพื่อขอพระราชทานความช่วยเหลือส่งผลให้ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนได้รับความเป็นธรรมจำนวนมาก โดยตลอดระยะเวลา 31 ปี ที่ผ่านมาในการปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนของพนักงานอัยการทั่วประเทศเป็นที่ยอมรับและได้รับความเชื่อถือจากประชาชนเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 23 (4) กำหนดให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่งหรือคดีปกครองแทนรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้ และจะเห็นว่าการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบังคับค่าปรับตามคำพิพากษาในคดีอาญาและการบังคับคดีปกครองของพนักงานอัยการในต่างจังหวัดมีเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดได้จัดตั้งสำนักงานการบังคับคดีในส่วนกลางเพื่อรับผิดชอบงานบังคับคดีตามกฎหมายดังกล่าว ในกรณีการบังคับค่าปรับตามคำพิพากษาและการบังคับคดีในต่างจังหวัดซึ่งจะเป็นที่ตั้งของทรัพย์ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาแต่ยังขาดหน่วยงานและพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบโดยตรง จึงต้องส่งเรื่องให้สำนักงานการบังคับคดีในส่วนกลาง ซึ่งเป็นการเพิ่มขั้นตอนและระยะเวลารวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการมากกว่าการบังคับคดีในต่างจังหวัด โดยจะเห็นว่าการบังคับค่าปรับและการบังคับคดีนั้นเป็นการรักษาผลประโยชน์ของรัฐและเป็นการบังคับโทษตามกฎหมาย ให้มีผลต่อผู้กระทำความผิดเพื่อเป็นการรักษาความยุติธรรมตามกฎหมายให้แก่ผู้เสียหายและรัฐได้อย่างแท้จริง ทั้งเป็นการดำเนินการเพื่อให้รัฐมีรายได้จากการบังคับค่าปรับและการบังคับคดีซึ่งมีจำนวนค่าปรับและทุนทรัพย์ตามคำพิพากษาจำนวนมาก แต่รัฐไม่สามารถบังคับค่าปรับและบังคับคดีได้อย่างเต็มที่ทำให้รัฐมีเพียงรายได้หรือหนี้ตามคำพิพากษาที่เป็นตัวเลขเท่านั้นมิได้มีการบังคับเป็นจำนวนเงินที่จะส่งแก่รัฐได้อย่างแท้จริง

สำนักงานอัยการสูงสุดและพนักงานอัยการ จึงมีหน้าที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบดังกล่าวให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายอัยการสูงสุดจึงมีนโยบายให้จัดตั้งสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดจำนวน 76 จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนโดยจะมุ่งเน้นการให้บริการแก่ประชาชนอย่างรวดเร็ว ลดขั้นตอนการดำเนินงาน ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างเต็มที่ตลอดจนการรักษาผลประโยชน์ของรัฐในด้านการบังคับคดีได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยมีอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2557 พร้อมกันทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดพังงา สาขาตะกั่วป่า โดยใช้ชื่อย่อว่า สคชจ.พังงา สาขาตะกั่วป่าจึงได้เริ่มเปิดทำการมานับแต่บัดนั้น เป็นต้นไป

อำนาจหน้าที่

1. การคุ้มครองสิทธิ ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ ซึ่งได้บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของพนักงานอัยการ มีดังนี้

  • การร้องขอให้ศาล สั่งให้เป็นบุคคลวิกลจริต เป็นคนไร้ความสามารถ และการร้องขอให้ศาล เพิกถอนคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ (ป.พ.พ. มาตรา 28,
  • การร้องขอให้ศาล สั่งให้บุคคลซึ่งมีจิตฟั่นเฟือน หรือกายพิการฯ และไม่สามารถประกอบการงานของตนเอง เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และการร้องให้ศาล เพิกถอนคำสั่งที่ได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ (ป.พ.พ. มาตรา 32,
  • การร้องขอให้ศาลสั่งการให้ทำไปพลางก่อนที่จำเป็น เพื่อจัดการทรัพย์สินของบุคคล ที่ไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ หรือตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ (ป.พ.พ. มาตรา48,
  • การร้องขอให้ศาล สั่งตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไป จัดทำบัญชีทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ (ป.พ.พ. มาตรา
  • ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ที่ไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ ฯลฯ เป็นคนสาบสูญ (ป.พ.พ.มาตรา
  • ร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้แทน ของนิติบุคคลชั่วคราว ในกรณีที่ผู้แทนของนิติบุคคล ว่างลงและถ้าทิ้งตำแหน่งว่าง ไว้จะเกิดความเสียหาย (ป.พ.พ. มาตรา
  • ร้องขอให้ศาล แต่งตั้งผู้แทนเฉพาะการ ในกรณีประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคล ขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนของนิติบุคคลในการอันใด อันเป็นเหตุ ให้ไม่มีผู้แทน ของนิติบุคคลเหลืออยู่ หรือเหลืออยู่มีจำนวนไม่พอ จะเป็นองค์ประชุม หรือไม่พอจะกระทำการ อันนั้นได้ (ป.พ.พ. มาตรา 74,
  • ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติการประชุมใหญ่ของสมาคม ที่ได้มีการนัดประชุม หรือการลงมติโดยไม่ปฏิบัติตาม หรือฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือกฎหมาย (มาตรา 4 เบญจ)
  • ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชี ในกรณีที่มีการเลิกสมาคม และไม่มีผู้ชำระบัญชี (ป.พ.พ. มาตรา 106,
  • เป็นผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิ ในกรณีผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิถึงแก่ความตาย ก่อนนายทะเบียน รับจดทะเบียน และทายาทหรือผู้จัดการมรดก หรือ ผู้ซึ่งผู้ตาย มอบหมายไม่ดำเนินการ ขอตั้งมูลนิธิต่อไป ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด (ป.พ.พ. มาตรา 117 วรรคแรก)
  • ร้องขอให้ศาลจัดสรรทรัพย์สิน ให้แก่นิติบุคคลอื่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์ใกล้ชิดที่สุด กับความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรม ในกรณีที่ไม่สามารถจัดตั้งมูลนิธิขึ้นได้ ตามวัตถุประสงค์ ที่ผู้ตายกำหนด (ป.พ.พ. มาตรา 117 วรรค2, 1679 วรรค
  • ขอจดทะเบียนมูลนิธิ เมื่อทายาทหรือผู้จัดการมรดก มิได้ขอจดทะเบียน ก่อตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม ภายในเวลาที่ กฎหมายกำหนด (ป.พ.พ. มาตรา 118 วรรค 2)
  • ขอจดทะเบียนมูลนิธิ เมื่อผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนมูลนิธิตามพินัยกรรม ไม่ดำเนินการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ตามคำสั่งของนายทะเบียน ตามมาตรา 115 จนเป็นเหตุให้นายทะเบียน ไม่รับจดทะเบียนมูลนิธิ เพราะเหตุดังกล่าว (ป.พ.พ.มาตรา 118)
  • ร้องขอให้ศาล มีคำสั่งถอดถอนกรรมการมูลนิธิบางคน หรือคณะกรรมการของมูลนิธิ ในกรณีที่ดำเนินกิจการของมูลนิธิผิดพลาดเสื่อมเสียต่อมูลนิธิ หรือดำเนินกิจการฝ่าฝืนกฎหมาย หรือข้อบังคับของมูลนิธิ หรือกลายเป็นผู้มีฐานะ หรือความประพฤติ ไม่เหมาะสมในการดำเนินการ ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ  (ป.พ.พ. มาตรา
  • ร้องขอให้ศาล มีคำสั่งเลิกมูลนิธิ เพราะวัตถุประสงค์ ของมูลนิธิขัดต่อกฎหมาย หรือมูลนิธิกระทำการขัดต่อกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ อาจเป็นภยันตราย ต่อความสงบสุขของประชาชน หรือความมั่นคงของรัฐ หรือมูลนิธิ ไม่สามารถดำเนินกิจการ ต่อไปไม่ว่าเพราะเหตุใดๆ หรือ หยุดดำเนินกิจการ ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป (ป.พ.พ. มาตรา
  • ร้องขอให้ศาล ตั้งผู้ชำระบัญชีของมูลนิธิ ในกรณีที่มีการเลิกมูลนิธิ เพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย โดยไม่มีผู้ชำระบัญชีตามข้อบังคับของมูลนิธิ (ป.พ.พ.มาตรา 133, ป.พ.พ. มาตรา
  • ร้องขอให้ศาลจัดสรรทรัพย์สินของมูลนิธิ เมื่อได้ชำระบัญชีแล้ว ให้แก่มูลนิธิหรือนิติบุคคลอื่น ที่มีวัตถุประสงค์ใกล้ชิดที่สุด กับวัตถุประสงค์ ของมูลนิธินั้น (ป.พ.พ. มาตรา117 วรรค2)
  • ร้องขอให้ศาลตั้งผู้อื่น นอกจากสามีหรือภรรยา เป็นผู้อนุบาล หรือ ผู้พิทักษ์ถ้ามีเหตุสำคัญ (ป.พ.พ. มาตรา
  • ร้องขอให้ศาลพิพากษาว่า การสมรส เป็นโมฆะ (ป.พ.พ. มาตรา
  • ฟ้องคดีแทนเด็ก ปฏิเสธความเป็นบุตร โดยชอบด้วยกฎหมาย ของชาย (ป.พ.พ. มาตรา
  • ร้องขอให้ศาล ตั้งผู้แทนเฉพาะคดี เพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็ก ในคดีฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตร ในกรณีเด็กไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือ มีแต่ผู้แทนโดยชอบธรรม ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ (ป.พ.พ. มาตรา
  • เป็นโจทก์ฟ้องคดี ที่กฎหมายห้ามมิให้ราษฎรฟ้อง เช่น ฟ้องคดีแทนผู้สืบสันดาน ในการฟ้องบุพการี ทั้งคดีแพ่ง และคดีอาญา อันได้แก่ ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร (ป.พ.พ. มาตรา 1562,
  • ร้องขอให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครอง (ป.พ.พ. มาตรา
  • ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครอง (ป.พ.พ. มาตรา
  • ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ปกครองหาประกันอันสมควร ในการจัดการทรัพย์สิน หรือแถลงถึงความเป็นอยู่ของทรัพย์สิน ของผู้อยู่ในปกครอง (ป.พ.พ. มาตรา
  • ร้องขอให้ศาลถอนผู้ปกครอง (ป.พ.พ. มาตรา 1598/9)
  • ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาต ให้มีการรับบุตรบุญธรรม (ป.พ.พ. มาตรา 1598/21, 1598/22, 1598/23) การเลิกรับบุตรบุญธรรม (ป.พ.พ. มาตรา 1598/31)
  • ฟ้องคดีแทนบุตรบุญธรรม เกี่ยวกับการขอเลิกรับบุตรบุญธรรม (ป.พ.พ. มาตรา 1598/35)
  • ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครอง, ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ ในกรณีที่มรดก ตกทอดแก่ผู้เยาว์ หรือบุคคลวิกลจริต หรือผู้ไม่สามารถจัดการงานตนเองได้ และบุคคลนั้น ยังไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ (ป.พ.พ. มาตรา
  • ร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก ในกรณีเจ้าของมรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์ หรือผู้จัดการมรดกหรือทายาท ไม่สามารถหรือไม่เต็มใจ จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก หรือข้อกำหนดพินัยกรรม ตั้งผู้จัดการมรดกไม่มีผลบังคับ (ป.พ.พ. มาตรา

2. การช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน

           นอกเหนือจากการคุ้มครองสิทธิ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ ตามที่ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ บัญญัติไว้แล้ว ตามพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 29 กันยายน 2549 ข้อ 15 (24) ยังได้กำหนดให้ สำนักงานอัยการสูงสุด มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการ ดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และผลประโยชน์ ของประชาชน และการให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายแก่ประชาชน ดังนั้น การคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย แก่ประชาชน ของสำนักงานอัยการสูงสุด จึงไม่จำกัดอยู่แต่เพียงกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น แต่ยังมีงานด้านการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ในกรณีอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งทางรัฐบาลได้มอบหมาย ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเข้าไปมีส่วนร่วม ในการดำเนินการช่วยเหลือ ประชาชนตามนโยบาย ของรัฐบาลต่างๆ โดย สำนักงานอัยการสูงสุด จะรับนโยบายของรัฐบาลมา และมีคำสั่งของ สำนักงานอัยการสูงสุด ให้พนักงานอัยการ ถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ในการให้ความช่วยเหลือ ประชาชนต่อไป ตัวอย่างเช่น การให้ความช่วยเหลือ เกษตรกรและผู้ยากจน การสนับสนุนการดำเนินงาน กองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น และถ้าเป็นกรณีที่จะต้องมีการให้ความช่วยเหลือทางอรรถคดี แก่ประชาชน ซึ่งอยู่นอกเหนือ อำนาจหน้าที่ ของพนักงาน อัยการ ตามที่กฎหมาย ได้บัญญัติไว้ สำนักงานอัยการสูงสุด ก็จะมีทนายความอาสาที่จะช่วยเหลือ ดำเนินคดีให้ประชาชน ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนต่อไป การให้บริการดังกล่าว เป็นการให้บริการ โดยไม่คิดค่าตอบแทน หรือค่าธรรมเนียมใด ๆ

3. การเผยแพร่ความรู้ ทางด้านสิทธิมนุษยชน และความรู้ทางกฎหมาย แก่ประชาชน

           ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการ สำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 29 กันยายน 2549 ข้อ 15 (24) กำหนดให้ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน มีอำนาจหน้าที่ ในการเผยแพร่ความรู้ ทางด้านสิทธิมนุษยชน และความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน เนื่องจากในปัจจุบัน มีประชาชนจำนวนไม่น้อย ที่ยังไม่ทราบถึงสิทธิและหน้าที่ของตนที่มีอยู่ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงมักจะถูกละเมิดสิทธิ ถูกเอารัดเอาเปรียบ จากผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมายดีกว่า หรือมีสถานะทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งกว่า และยังมีประชาชนอีกจำนวนไม่น้อย ที่ได้กระทำผิดกฎหมาย โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้นการให้ความรู้พื้นฐานทางกฎหมายแก่ประชาชน เป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยให้ประชาชน ได้รับทราบถึงสิทธิและหน้าที่ของตน และใช้สิทธิต่างๆ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

4. การคุ้มครองเด็ก และเยาวชน

           สำนักงานอัยการสูงสุด มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีทั้งปวง ตามที่กฎหมายกำหนด ให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาและพิพากษา ของศาลเยาวชนและครอบครัว และมีอำนาจหน้าที่ คุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และผลประโยชน์ของเด็กและเยาวชน ซึ่งรวมถึงการศึกษาวิจัย และพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง กับการคุ้มครองเด็กและเยาวชน

5. การคุ้มครองผู้บริโภค

           ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 39 คณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค ได้แต่งตั้งให้พนักงานอัยการ โดยความเห็นชอบของอัยการสูงสุด เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญา แก่ผู้กระทำละเมิดสิทธิของผู้บริโภค และตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 29 กันยายน 2549 ข้อ 15 (24) กำหนดให้ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับ การคุ้มครองผู้บริโภค ด้านอรรถคดี การให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมาย และการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ประชาชน และปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้องกับ การคุ้มครองผู้บริโภค

6. การคุ้มครองสิทธิ ประชาชนระหว่างประเทศ

           สำนักงานอัยการสูงสุด ได้มีคำสั่งที่ 251/2548 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2548 ให้จัดตั้ง ศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิ ประชาชนระหว่างประเทศ (ศอสป.) ขึ้นให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ งานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย รวมทั้ง การเผยแพร่ ความรู้ด้านกฎหมายแก่คนไทยในต่างประเทศ และชาวต่างประเทศในประเทศไทย และรับผิดชอบงานด้านการพัฒนาส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ ตามพันธกรณีที่ประเทศไทย มีอยู่ตามกฎหมาย ระหว่างประเทศ ต่อมาได้มีกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการ สำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 ข้อ 15 (24) (ง) ลงวันที่ 29 กันยายน 2549 จัดตั้งสำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคุ้มครองสิทธิ ประชาชนระหว่างประเทศ (สฝคป.) ขึ้นในสังกัดสำนักงานคุ้มครองสิทธิ และช่วยเหลือทางกฎหมาย แก่ประชาชน และให้โอนงานทั้งปวงที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ศอสป. ไปยัง สฝคป. ตามคำสั่ง สำนักงานอัยการสูงสุด ที่ 521/2549

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

นางสาวปาริชาติ วิเชียรบุตร
อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดพังงา
นายสมคิด พัฒแก้ว
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
นายดนัย นวลส่ง
รองอัยการจังหวัด
นายพงษ์พันธ์  คงเพ็ชร์ 
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ    
นายวัชรพนธ์  จันทร์กระจ่าง
นิติกรปฏิบัติการ   
นางสาวนภัสสร  อินทรสุวรรณ์
นิติกร
นายสรภพ  แก้วเกตุทอง
จ้างเหมาบริการพนักงานขับรถยนต์
 นางสาวสุมาภรณ์  ชูเกาะทวด
ทนายความอาสา
 นายมโณปกรณ์  คงฉิม
                            ทนายความอาสา                                                           

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดพังงา สาขาตะกั่วป่า

            ๑. นายทรงกลด  วารายานนท์           พ.ศ.๒๕๕๓ – พ.ศ.๒๕๕๔ 

            ๒. นายพิเชษฐ์   เชาว์กิจค้า             พ.ศ.๒๕๕๔ – พ.ศ.๒๕๕๕

            ๓. นาวาอากาศตรีวิจิตร  บำรุงกิจ       พ.ศ.๒๕๕๕ – พ.ศ.๒๕๕๖

            ๔. นายวิเชียร  ชูสุวรรณ์                พ.ศ.๒๕๕๖ – พ.ศ.๒๕๕๗

            ๕. นายพิเชษฐ์ เชาว์กิจค้า               พ.ศ.๒๕๕๗ – พ.ศ.๒๕๕๘

            ๖. นายกิตติพงศ์  ตรีณัตถพงศ์         พ.ศ.๒๕๕๘ – พ.ศ.๒๕๕๙

            ๗. นางศุภรัตน์ สุวรรณยอด           พ.ศ.๒๕๕๙ – พ.ศ.๒๕๖๐

            ๘. นายวิลาศ  ใจบุญลือ               พ.ศ.๒๕๖๐ – พ.ศ.๒๕๖๑

            ๙. นายพิทยา วีระพงศ์                พ.ศ.๒๕๖๑ – พ.ศ.๒๕๖๒

           ๑๐. นางศนิ อานันทสฤษฎ์           พ.ศ.๒๕๖๒ – พ.ศ.๒๕๖๓

           ๑๑. นายไอศูรย์ ทองประดับ            พ.ศ.๒๕๖๓ – พ.ศ.๒๕๖๔

           ๑๒. นายมนูธรรม เหล่าสกุล            พ.ศ.๒๕๖๔ – พ.ศ.๒๕๖๖

๑๓. นางสาวปาริชาติ วิเชียรบุตร พ.ศ.๒๕๖๖ – ปัจจุบัน

สถิติคดี

สถิติผลการดำเนินงาน
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลืองทางกฎหมาย
และการบังคับคดีจังหวัดพังงา  สาขาตะกั่วป่า
ปี พ.ศ.๒๕๒ – ปัจจุบัน

เรื่องพ.ศ.๒๕๖๒พ.ศ.๒๕๖๓
งานคุ้มครองสิทธิทางศาล๕๖ 
งานประนีประนอมข้อพิพาท๒๒ 
งานช่วยเหลืออรรถคดีโดยทนายความอาสา 
งานให้คำปรึกษากฎหมายแก่ประชาชน๒๐๕ 

เอกสารดาวน์โหลด

ติดต่อหน่วยงาน