ข่าวประชาสัมพันธ์

ติดต่อสำนักงาน 075-773140-2 E-mail ts@ago.go.th

ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทรมานและกระทำให้บุคคลสูญหาย ประจำสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง  โทร 075-773140 ต่อ 320 ติดต่อเจ้าหน้าที่ 089 728 3818 E-mail ptd.ts@ago.go.th

ภาพกิจกรรม

วันที่ 3 เมษายน 2567 นายสันติ เกตุรัตน์ อัยการจังหวัดทุ่งสง พร้อมด้วยข้าราชการอัยการ และบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง เข้าร่วมโครงการ “131 ปี องค์กรอัยการ ที่พึ่งด้านกฎหมายของรัฐและประชาชน” ในภาค 8 ณ สำนักงานอัยการภาค 8


วันที่ 31 มกราคม 2567 นางกอร์ปกุล วินิจนัยภาค ผู้ตรวจการอัยการ พร้อมคณะ ตรวจราชการของสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง ประจำปีงบประมาณ 2567


วันที่ 18 มกราคม 2567 นายโกวิท จงจิต อัยการจังหวัดทุ่งสง ร่วมเป็นเกียรติในพิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยเฉลิมพล ประจำปี 2567 ณ ลานอเนกประสงค์ ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร


วันที่ 5 ธันวาคม 2566 นายโกวิท จงจิต อัยการจังหวัดทุ่งสง ข้าราชการอัยการ และบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง
ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ณ โรงยิมเนเซียมเทศบาลเมืองทุ่งสง


วันที่ 23 ตุลาคม 2566 ข้าราชการอัยการ และบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง เข้าร่วมกิจกรรมวันปิยมหาราช เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาล 5) สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา


วันที่ 22 ตุลาคม 2566 ข้าราชการอัยการ และบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง เข้าร่วมพิธีบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระปิยมหาราช) ณ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา (สวนหลวง ร.5)


วันที่ 28 กันยายน 2566 สำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง จัดกิจกรรมวันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน (Thai National Flag Day) ประจำปี 2566 ณ สำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง


วันที่ 25 กันยายน 2566 นายโกวิท จงจิต อัยการจังหวัดทุ่งสง เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลัย เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา “ค่ายศรีนครินทรา” ณ บริเวณลานพระราชานุสาวรีย์ฯ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 42 (ค่ายศรีนครินทรา)


วันที่ 12 สิงหาคม 2566 นายโกวิท จงจิต อัยการจังหวัดทุ่งสง พร้อมด้วยพนักงานอัยการ และบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง
ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2566 ณ สนามที่ว่าการอำเภอทุ่งสง


วันที่ 7 สิงหาคม 2566 นายโกวิท จงจิต อัยการจังหวัดทุ่งสง พร้อมด้วยพนักงานอัยการ และบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง ร่วมกิจกรรมวันรพี 2566 ณ ศาลจังหวัดทุ่งสง เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย


วันที่ 28 กรกฎาคม 2566 นายโกวิท จงจิต อัยการจังหวัดทุ่งสง พร้อมด้วยพนักงานอัยการ และบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566 ณ สนามที่ว่าการอำเภอทุ่งสง


วันที่ 26 กรกฎาคม 2566 สำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 5 สำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง


วันที่ 20 กรกฎาคม 2566 นายโกวิท จงจิต อัยการจังหวัดทุ่งสง ร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกรีฑาภายใน อินทนิลเกมส์ ประจำปี 2566 ณ โรงเรียนทุ่งสง


วันที่ 13 มิถุนายน 2566 นายโกวิท จงจิต อัยการจังหวัดทุ่งสง เป็นประธานในพิธีเปิด “โครงการพัฒนาศักยภาพเยาวชนวัยใส” (เพื่อนที่ปรึกษา)

ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติฯ โรงเรียนทุ่งสง


วันที่ 3 มิถุนายน 2566 นายโกวิท จงจิต อัยการจังหวัดทุ่งสง และบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง

ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2565 ณ สนามที่ว่าการอำเภอทุ่งสง


วันที่ 16 พฤษภาคม 2566 พนักงานอัยการ และบุคลาการ สำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง ร่วมกิจกรรมชมรมอังคารกันเอง

ประจำเดือนพฤษภาคม 2566 ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมรา เขต 2


วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 นายมงคล จิรชัยสกุล อธิบดีอัยการภาค 8 พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง


วันที่ 21 เมษายน 2566 นายโกวิท จงจิต อัยการจังหวัดทุ่งสง ข้าราชการอัยการ และบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง

ร่วมกิจกรรมตักบาตร วันครบรอบ 141 ปี วันศาลยุติธรรม ณ ศาลจังหวัดทุ่งสง


วันที่ 12 เมษายน 2566 สำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง จัดกิจกรรมสรงน้ำพระ และรดน้ำขอพรอัยการจังหวัดทุ่งสง เนื่องในเทศกาลวันสงกรานต์


วันที 11 เมษายน 2566 นายโกวิท จงจิต อัยการจังหวัดทุ่งสง พร้อมด้วยข้าราชการอัยการ และบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง

ร่วมกิจกรรมชมรมอังคารกันเอง ประจำเดือนเมษายน 2566 ณ อาคารหอประชุมวิธานสันติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่)


วันที่ 5 ธันวาคม 2565 นายปราโมทย์ รัตนประทีป อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ข้าราชการอัยการ และบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง
ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอทุ่งสง


วันที่ 23 ตุลาคม 2565 ข้าราชการอัยการ และบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง เข้าร่วมกิจกรรมวันปิยมหาราช เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา


วันที่ 22 ตุลาคม 2565 ข้าราชการอัยการ และบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง เข้าร่วมพิธีบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จพระปิยมหาราช) ณ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ รัชกาลที่ 9


วันที่ 13 ตุลาคม 2565 สำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง เข้าร่วมกิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 13 ตุลาคม 2565


วันที่ 28 กันยายน 2565 สำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง จัดกิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย เนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย ณ สำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง


วันที่ 12 สิงหาคม 2565 นายเอกรินทร์ ชนะกุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง
ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2565 ณ สนามที่ว่าการอำเภอทุ่งสง


วันที่ 11 สิงหาคม 2565 สำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง จัดโครงการอัยการอาสา เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565


วันที่ 5 สิงหาคม 2565 นายนนทวัฒน์ เกลี้ยงเกลา อัยการจังหวัดทุ่งสง และบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง ร่วมกิจกรรมวันรพี 2565 ณ ศาลจังหวัดทุ่งสง
เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย


วันที่ 28 กรกฎาคม 2565 นายนนทวัฒน์ เกลี้ยงเกลา อัยการจังหวัดทุ่งสง และบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2565 ณ สนามที่ว่าการอำเภอทุ่งสง


วันที่ 26 กรกฎาคม 2565 สำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2565


วันที่ 3 มิถุนายน 2565 นายนนทวัฒน์ เกลี้ยงเกลา อัยการจังหวัดทุ่งสง และบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2565 ณ สนามที่ว่าการอำเภอทุ่งสง


เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๔ สำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง
จัดกิจการรมวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร


วันที่ 28 กันยายน 2564 สำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสงจัดกิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทยเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย


เกี่ยวกับสำนักงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง

          เดิมสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง ใช้ชื่อว่า “สำนักงานอัยการจังหวัดประจำศาลจังหวัด ทุ่งสง” โดยเปิดทำการเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2523 มีนายบัญญัติ  วิสุทธิมรรค เป็นอัยการจังหวัดประจำศาลจังหวัดทุ่งสง เป็นคนแรก

          ต่อมาวันที่ 2 ธันวาคม 2546 ได้มีการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานอัยการสูงสุด  และได้มีการเปลี่ยนชื่อหน่วยงาน โดยให้เรียกสำนักงานใหม่ว่า “สำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง”

ภารกิจ

–          การอำนวยความยุติธรรมทางอาญา

–          การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน

–          การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน

–          การพัฒนาขีดสมรรถนะของบุคลากร

–          การพัฒนากฎหมายและวิจัย

พื้นที่ดำเนินการ

          10 อำเภอ     59  ตำบล 59 อบต.

          576 หมู่บ้าน   สถานีตำรวจ 12 สภ.         

          เปิดสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง มีข้าราขการการเมือง ข้าราชการตำรวจ นายก อบต พ่อค้าประชาชน มาร่วมงานกันพร้อมเพียง

          เวลา 09.09 น.วันที่ 2 กันยายน 2556 ที่สำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง ได้ทำพิธีเปิดอาคารหลังใหม่ โดยมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาร่วมงานอย่างพร้อมเพียง มี พ.ต.อ.ธรรมนูญ ไฝจู ผกก.สภ.ทุ่งสง พ.ต.อ.อนันต์ หริกจันทร์ ผกก.สภ.ฉวาง พ.ต.ท.ณัฐชนนท์ เกิดก่อ หัวหน้างานสอบสวน สภ.ช้างกลาง นายวรศักดิ์ อดิเทพวรพันธุ์ นายสุเมธ ผาสุกนายก อบต.นาหลวงเสน รองนายกเทศบาลตำบลถ้ำใหญ่ ผู้คุมเรือนจำทุ่งสง พ่อค้า ประชาชน ที่อาคารหลังใหม่ ต.ถ้ำใหญ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช โดยมีนายเรวัฒน์ จันทร์ประเสริฐ ผู้ตรวจการสำนักงานอียการ มาเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารหลังใหม่ มีนายพิงพันธ์ เชาวลิต อัยการจังหวัดทุ่งสง กล่าวรายงานต้อนรับ สำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง เดมใช้ชื่อว่า สำนักงานอัยการจังหวัดประจำศาลจังหวัดทุ่งสง และต่อมาได้มีการแบ่งส่วนราชการภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้มาเป็นชื่อใหม่ว่า สำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง และทางสำนักงานอัยการสูงสุด ได้จัดสรรงบประมาณให้มีการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ในปี 2552 ด้วยงบประมาณ 131 ล้านบาท และได้ดำเนินการการก่อสร้างตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553 จนแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2555 ดังนั้ทางอธิบดีอัยการภาค 8 และคณะอัยการสำนักงานจังหวัดทุ่งสงได้ลงความเห็นให้มีการเปิดที่ทำการของสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง ขึ้นในวันที่ 2 กันยายน 2556 เพื่อให้เป็นของขวัญแก่ประชาชนชาอำเภอทุ่งสง และอำเภอใกล้เคียง ของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยได้นิมนต์พระสงฆ์ มาทำทำพิธีเพื่อเป็นสิริมงคลต่อไป

           อำนาจหน้าที่โดยทั่วไปของพนักงานอัยการ เมื่อกล่าวถึงอัยการแล้วประชาชนส่วนใหญ่จะไม่ทราบถึงอำนาจหน้าที่ของอัยการอย่างถูกต้องแท้จริงจะทราบแต่เพียงว่าอัยการมีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาในคดีอาญาเท่านั้นโดยมักจะพูดกันว่าอัยการมีมีหน้าที่เอาคนเข้าคุก ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะไม่มีกฎหมายฉบับใดให้อำนาจอัยการเอาคนเข้าคุก ดังนั้น จึงต้องเผยแพร่ให้ประชาชนโดยทั่วไปรู้และเข้าใจถึงอำนาจหน้าที่ของอัยการที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งพอจะสรุปได้ ดังนี้

๑. อำนาจหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรม ได้แก่ การบริหารงานยุติธรรมในส่วนฝ่ายบริหารของรัฐเพื่อให้เกิดความสงบ เรียบร้อยและปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สินโดยอัยการจะเป็นผู้พิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนที่พนักงานสอบสวนเสนอมาแล้ววินิจฉัยสั่งคดี ตลอดทั้งดำเนินคดีอาญาทางศาลในฐานะทนายแผ่นดินตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นๆ บัญญัติไว้ว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของอัยการ

๒. อำนาจหน้าที่ในการรักษาผลประโยชน์ของรัฐ ได้แก่ การพิจารณาให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายแก่ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ ตรวจร่างสัญญา ตอบข้อหารือตลอดจนทั้งการดำเนินคดีในศาลในฐานะทนายความของแผ่นดินแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา

๓. อำนาจหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย ได้แก่ การคุ้มครองสิทธิและรักษาผลประโยชน์ของประชาชน ที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของอัยการ เช่น ในคดีแพ่งให้อำนาจอัยการเข้าไปคุ้มครองสิทธิของบุคคลไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนสาบสูญ การร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก การให้ความช่วยเหลือทางอรรถคดี โดยจัดการทนายอาสาให้ตลอดทั้งการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนทั่วไป

อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอัยการ อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการตามพระราชบัญญัติอัยการ พ.ศ.๒๔๙๘

๑. ดำเนินคดีอาญาตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

๒. ในคดีแพ่งมีอำนาจดำเนินคดีแพ่งแทนรัฐบาล

๓. แก้ต่างคดีแพ่งหรือคดีอาญาในกรณีที่เจ้าพนักงานถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่หรือราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องเนื่องจากการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมายหรือเข้าร่วมกับเจ้าพนักงานกระทำการในหน้าที่ราชการ

๔. ว่าต่างหรือแก้ต่างคดีแพ่งให้เทศบาลหรือสุขาภิบาล แต่ต้องมิใช่เป็นคดีที่พิพาทกับรัฐบาล

๕. ว่าต่างหรือแก้ต่างคดีแพ่งให้นิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาได้ตั้งขึ้น แต่ต้องมิใช่คดีที่พิพาทกับรัฐบาล

๖. เป็นโจทก์ในคดีที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดฟ้องเองไม่ได้เพราะมีกฎหมายห้ามไว้ เช่น ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาไม่ได้ แต่เมื่อผู้นั้นร้องขอพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องแทนได้

๗. ในคดีที่บุคคลใดถูกลงโทษเนื่องจากการกระทำอันละเมิดต่ออำนาจศาล ถ้าศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้นั้นไป เมื่ออัยการเห็นสมควรจะฎีกาก็ได้

๘. ในกรณีที่บุคคลใดผิดสัญญาประกันที่ทำไว้ต่อศาล อัยการมีหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญา

อำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

๑. ร้องขอให้ศาลสั่งให้คนวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถและร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ

๒. ร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลซึ่งมีจิตฟั่นเฟือนหรือกายพิการและไม่สามารถประกอบหน้าที่การงานของตนเองเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งที่ได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ

๓. ร้องขอให้ศาลสั่งการให้ทำไปพลางก่อนตามที่จำเป็นเพื่อจัดการทรัพย์สินของบุคคลที่ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่

๔. ร้องขอให้ศาลสั่งตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไปจัดทำบัญชีทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ หรือขอให้ศาลสั่งให้ผู้จัดการหาประกันหรือแจ้งรายทรัพย์สินหรือถอดถอนผู้จัดการหรือตั้งผู้อื่นแทนต่อไปเมื่อมีเหตุอันสมควร

๕. ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ที่ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นคนสาบสูญและร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ

๖. ร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้จัดการชั่วคราวในกรณีที่ผู้จัดการนิติบุคคลว่างลงและถ้าทิ้งตำแหน่งว่างไว้จะเกิดความเสียหาย

๗. ร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้แทนเฉพาะการในกรณีผู้จัดการนิติบุคคลมีประโยชน์ได้เสียหรือเป็นปฏิปักษ์กับนิติบุคคล

๘. ดำเนินการในฐานะเป็นผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิต่อไปในกรณีที่ผู้ตั้งมูลนิธิตายเสียก่อนที่นายทะเบียนจะรับจดทะเบียนมูลนิธิ

๙. ร้องขอให้ศาลถอนถอนกรรมการหรือคณะกรรมการมูลนิธิและแต่งตั้งคนใหม่แทนในกรณีที่กรรมการหรือคณะกรรมการจัดการผิดพลาดเสื่อมเสีย

๑๐. ร้องขอให้ศาลสั่งเลิกมูลนิธิและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี

๑๑. ร้องขอให้ศาลสั่งจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิที่สิ้นสุดลงให้แก่นิติบุคคลซึ่งมีวัตถุประสงค์ใกล้ชิดกับวัตถุประสงค์เดิมของมูลนิธินั้น

๑๒. ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนบริษัทที่เลิกกันเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลายโดยไม่มีผู้ชำระบัญชีตามข้อสัญญาหรือข้อบังคับของห้างหุ้นส่วนบริษัทนั้น

๑๓. ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติของสมาคมที่ลงมติโดยฝ่าฝืนข้อบังคับหรือกฎหมาย

๑๔. ขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีกรณีที่มีการเกิดสมาคมและไม่มีผู้ชำระบัญชี

๑๕. ร้องขอให้ศาลตั้งผู้อื่นนอกจากสามีหรือภริยาเป็นผู้อภิบาลหรือผู้พิทักษ์กรณีที่มีเหตุสำคัญ

๑๖. ร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ

๑๗. ให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแทนเด็กเมื่อศาลส่งคำร้องมาให้ในกรณีที่มีการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร 

๑๘. เด็กอาจร้องขอให้พนักงานอัยการยกคดีขึ้นว่ากล่าวปฏิเสธความเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย

๑๙. ร้องขอให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครอง

๒๐. ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครองและร้องขอให้พิสูจน์ว่าบุคคลที่ศาลตั้งให้เป็นผู้ปกครองเป็นผู้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๘๗ เพื่อให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครองและมีคำสั่งเกี่ยวกับผู้ปกครองต่อไปตามที่เห็น สมควร

๒๑. ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ปกครองหาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์สินหรือแถลงถึงความเป็นอยู่ของทรัพย์สินของผู้อยู่ในความปกครอง

๒๒. ร้องขอให้ศาลถอนผู้ปกครอง

๒๓. ต้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรมและเลิกรับบุตรบุญธรรม

๒๔. ฟ้องคดีแทนบุตรบุญธรรมเกี่ยวกับการขอเลิกรับบุตรบุญธรรม

๒๕. ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ ในกรณีมีมรดกตกทอดแก่ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต

๒๖. ร้องขอให้รัฐบาลให้อำนาจจัดตั้งมูลนิธิเมื่อพินัยกรรมกำหนดไว้

๒๗. ร้องขอให้ศาลจัดสรรทรัพย์สินที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมให้จัดตั้งมูลนิธิให้แก่นิติบุคคลในเมื่อมูลนิธินั้นจัดตั้งขึ้นไม่ได้ตามวัตถุประสงค์

๒๘. ร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีที่เจ้ามรดกตายและทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไปหรืออยู่นอกราชอาณาจักรหรือเป็นผู้เยาว์หรือผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถหรือไม่เต็มใจจะจัดการหรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกหรือในการจัดการหรือในการแบ่งปันทรัพย์มรดกหรือข้อกำหนดพินัยกรรมตั้งผู้จัดการมรดกไม่มีผลบังคับ

๒๙. เป็นโจทก์ฟ้องคดีที่กฎหมายห้ามมิให้ราษฎรฟ้อง เช่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๖๒ ห้ามมิให้ฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาแต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทร้องขอ พนักงานอัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้

๓๐. ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้จัดการมรดกหาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์สินของทายาท ตลอดจนการมอบคืนทรัพย์สินนั้น และแถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์สินของทายาท

อำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา

๑. ร้องขอให้ศาลกำหนดโทษแก่ผู้กระทำความผิดเสียใหม่ในกรณีที่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด

๒. ร้องขอต่อศาลให้สั่งยกเลิกวิธีการเพื่อความปลอดภัยหรือกำหนดวิธีการเพื่อความปลอดภัยที่เป็นคุณมากกว่าวิธีการเพื่อความปลอดภัยเดิม เมื่อปรากฎว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่จะสั่งให้มีการบังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยซึ่งเป็นผลไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่ผู้ที่จะต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อความปลอดภัยหรือนำมาใช้บังคับได้ แต่การใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเป็นคุณกว่า

๓. ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนหรืองดการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ถูกบังคับใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยไว้ชั่วคราว ในกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวกับการใช้บังคับนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

๔. ร้องขอให้ศาลเปลี่ยนโทษกักขังเป็นโทษจำคุก

๕. ฟ้องขอให้กักกันในกรณีที่ผู้กระทำความผิดได้กระทำความผิดติดนิสัย ทั้งนี้เพื่อควบคุมผู้กระทำความผิดติดนิสัยไว้ในเขตกำหนด เพื่อป้องกันการกระทำความผิด เพื่อดัดนิสัยและฝึกหัดอาชีพ

๖. เสนอให้ศาลทำทัณฑ์บนบุคคลซึ่งปรากฏว่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นหรือบุคคลซึ่งถูกฟ้องเป็นคดีแต่ศาลไม่ลงโทษผู้ถูกฟ้องถ้ามีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูกฟ้องน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นเพื่อให้ศาลสั่งให้บุคคลนั้น ทำทัณฑ์บนว่าจะไม่ก่อเหตุดังกล่าว

๗. มีคำขอต่อศาลขอให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเพิกถอนหรือกำหนดเงื่อนไขที่ยังมิได้กำหนดเกี่ยวกับการคุมประพฤติผู้กระทำความผิดซึ่งศาลพิพากษาว่ามีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้หรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้

๘. แถลงให้ศาลทราบว่าผู้ที่ได้รับการรอการลงโทษหรือตามคำพิพากษารอการกำหนดโทษไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขคุมความประพฤติดังที่ศาลกำหนดเพื่อศาลจะได้ตักเตือนหรือกำหนดโทษหรือลงโทษที่รอไว้

๙. เสนอให้ศาลเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งที่ใช้วิธีการสำหรับเด็กหรือออกคำสั่งใหม่ในกรณีที่เห็นว่าพฤติการณ์ที่เกี่ยวกับคำสั่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป

อำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

       เป็นอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาซึ่งบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๔๙๘ มาตรา ๑๑(๑) ว่าในคดีอาญามีอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือพนักงานอัยการอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีอาญาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการซึ่งถือได้ว่ามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการก่ออาชญากรรมอย่างหนึ่ง อันได้แก่ การตรวจวินิจฉัยสำนวนการสอบสวนและการดำเนินคดีในศาลซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่ได้รับสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวน โดยสำนวนการสอบสวนดังกล่าวพนักงานสอบสวนจะเป็นผู้ดำเนินการจัดทำขึ้นทั้งหมดโดยอัยการมิได้เข้าไปเกี่ยวข้องเลย เมื่ออัยการได้รับสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวนแล้วอัยการมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบวินิจฉัยสำนวนการสอบสวน และทำความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

๑. ถ้าเป็นสำนวนการสอบสวนที่ไม่รู้ตัวผู้กระทำความผิด อัยการมีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนงดการสอบสวนหรือดำเนินการสอบสวนต่อไปก็ได้

๒. ถ้าเป็นสำนวนการสอบสวนที่รู้ตัวว่าใครเป็นผู้กระทำความผิดไม่ว่าจะจับตัวผู้ต้องหาได้หรือไม่และพนักงานสอบสวนจะมีความเห็นสั่งฟ้องหรือไม่ก็ตาม

อัยการมีอำนาจที่จะสั่งสำนวนการสอบสวนได้ดังนี้

ก. เมื่ออัยการพิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนการสอบสวนยังไม่ชัดเจนพอก็มีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมหรือให้ส่งพยานมาพบอัยการเพื่อซักถามก็ได้

ข. ถ้าอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนไม่หนักแน่นเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าผู้ต้องหาเป็นผู้กระทำความผิดหรือการกระทำของผู้ต้องหาไม่เป็นความผิดต่อกฎหมาย อัยการมีอำนาจที่จะสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ถ้ากรณีที่คดีขาด อายุความหรือผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาที่เป็นความผิดอันยอมความได้ อัยการมีอำนาจสั่งยุติการดำเนินคดีได้

ค. ถ้าอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนรับฟังได้ว่าผู้ต้องหาเป็นผู้กระทำความผิดจริงอัยการมี อำนาจสั่งฟ้องผู้ต้องหา โดยทำคำฟ้องยื่นฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลซึ่งภายหลังจากถูกฟ้องต่อศาลแล้วผู้ต้องหาจะถูกเรียกว่าจำเลย ในกรณี ที่จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดหรือจำเลยให้การรับสารภาพแต่คดีดังกล่าวมีอัตราโทษตามกฎหมายให้จำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป อัยการมีหน้าที่จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยต่อไป เมื่อศาลพิจารณาและมีคำพิพากษาในคดีนั้นอย่างใดแล้ว อัยการไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาดังกล่าวก็มีอำนาจที่จะอุทธรณ์ หรือฎีกาได้ เว้นแต่จะเข้ากรณีกฎหมายห้ามอุทธรณ์หรือฎีกา

ง. ถ้าอัยการพิจารณาสำนวนการสอบสวนแล้วเห็นว่า คดีนั้นเป็นความผิดซึ่งสามารถทำการเปรียบเทียบปรับได้ เช่น ความผิดลหุโทษ อัยการมีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบปรับคดีนั้นหรือจะสั่งให้พนักงานสอบสวนอื่นที่มีอำนาจดำเนินการเปรียบเทียบให้ได้

อำนาจหน้าที่อย่างอื่นของอัยการในการดำเนินคดีอาญา

-ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับผู้เสียหายในคดีใดๆก่อนคดีเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาที่ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว

– ยื่นฟ้องคดีที่ผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องคดีไว้แล้วแต่ถอนฟ้องคดีนั้นเสีย เว้นแต่เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว

– ฟ้องเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายในคดีอาญาที่ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจาก การกระทำความผิดอาญาในฐานต่างๆอันได้แก่ ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชกทรัพย์ ฉ้อโกงทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ หรือรับของโจร โดยเมื่ออัยการยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลจะมีคำขอรวมไปกับคำฟ้องหรือจะยื่นคำร้องขอในระยะเวลาใดๆ ระหว่างคดีอยู่ในการพิจารณาของศาลชั้นต้น

– ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายขังผู้ต้องหา

– ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ปล่อยคนที่ถูกควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมายหรือถูกจำคุกผิดจากคำพิพากษาของศาล

– คัดค้านการให้ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ต้องหาหรือถูกฟ้องในความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน ๑๐ ปี

– แจ้งคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีให้ผู้ต้องหาและผู้ร้องทุกข์ทราบ ถ้าผู้ต้องหาถูกควบคุมหรือขังอยู่ให้ปล่อยตัวไปหรือขอให้ศาลปล่อยไปแล้วแต่กรณี

– เข้าร่วมการชันสูตรพลิกศพกับพนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และแพทย์ในกรณีที่มีการตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่

         (มาตรา ๒๓) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชากร เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน

(๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ

(๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร

(๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้

(๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ

(๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้ารการฝ่ายอัยการ

(๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน

(๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด

(๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

         อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด มีดังนี้

(มาตรา ๒๗) ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด

(๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ

(๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้ให้อัยการสูงสุดโอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด 

 
    อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ มีดังนี้

มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ

(๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ

(๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ

(๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้

(๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้

(๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้

(๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ

(๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ

(๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี

(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ

(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด  ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้ พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.


:: กฎหมายองค์กรอัยการตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

ข้าราชการอัยการ

นายสันติ เกตุรัตน์
อัยการจังหวัดทุ่งสง

นายปราโมทย์ รัตนประทีป
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้กลั่นกรองงาน

นายสัญญา กิ่งรัตน์
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้กลั่นกรองงาน

นายสมพร เพชรสุทธิ์
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้กลั่นกรองงาน


นายศิริชัย เอียดหนักขัน
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้กลั่นกรองงาน

นายธนพัต ศรีม่วง
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้กลั่นกรองงาน

นายปรีชา จ่าแก้ว
รองอัยการจังหวัด

นายณัฐชนน ประทุม
รองอัยการจังหวัด

นายวรวุฒิ พลเกษตร
รองอัยการจังหวัด

นางสาววิชยาภรณ์ ชูรัตน์
รองอัยการจังหวัด

นางสาวหทัยพร แสงอารยะกุล
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นางสาวปานดวงใจ สายสีทอง
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นายอัทธ วิชยานูรักษ์
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นายจินต์ประเสริฐ ปฐมภาค
อัยการประจำกอง

ร.ต.อ.หญิงมนัสวี เพชรย้อย
อัยการประจำกอง



ข้าราชการธุรการ

นางวัฒนา แก้วกล่ำ
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

นายกรชัยเชษฐ์ คมน์ชญานนท์
นิติกรชำนาญการพิเศษ

นางสาวกาญจนา ทองพราว
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นางอังศดา สังข์ศิลป์ชัย
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นายทิวากร ชอบทำกิจ
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นางสาวสุทัตตา รัตนคช
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวสุพิศ มาแก้ว
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นางสาวสรินทร  ขติยะสุนทร
นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ

นางสีน้ำ ชำนาญกิจ
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวณัฐญาดา นุ่นเกตุ
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

ว่าที่ร้อยตรีหญิงปิยะนุช โบช่วย
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวจิรวรรณ ลือชาการ
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางรุ่งทิพย์ บุญภักดี
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

นางสาวพลอยธวรรณ โกมารทัต
นักวิชาการพัสดุชำนาญการ

นางสาวทิพวรรณ จงจิตร
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวกาญณา อารีกิจ
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นายศุภณัฐ อินนุพัฒน์
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวดวงกมล แก้วสุวรรณ
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวฐานิดา ถนอมนวล
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นางสาวคนึงนิตย์ เจียมรัตนสกุล
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นางเรวดี ชูสง
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

ลูกจ้างประจำและจ้างเหมาบริการ
ทำเนียบผู้บริหาร

นายบัญญัติ วิสุทธิมรรค 
การดำรงตำแหน่ง
รับตำแหน่งเมื่อ : ธ.ค. ๒๕๒๓
พ้นจากตำแหน่งเมื่อ : เม.ย.๒๕๒๔

นายสมพงษ์ ภูชฎาภิรมย์
การดำรงตำแหน่ง
รับตำแหน่งเมื่อ : ๑๕ เม.ย. ๒๕๒๘
พ้นจากตำแหน่งเมื่อ : ๓ พ.ย. ๒๕๒๙

นายอุดร พันธ์อุไร
การดำรงตำแหน่ง
รับตำแหน่งเมื่อ : ๑ พ.ย.๒๕๒๙
พ้นจากตำแหน่งเมื่อ : ๘ พ.ค. ๒๕๓๒

นายรุ่งฤทธิ์ วนภูมิ
การดำรงตำแหน่ง
รับตำแหน่งเมื่อ : ๑ พ.ค. ๒๕๓๓
พ้นจากตำแหน่งเมื่อ : ๑๕ ส.ค. ๒๕๓๔

นายวีระชัย คล้ายทอง
การดำรงตำแหน่ง
รับตำแหน่งเมื่อ : ๑๕ ส.ค. ๒๕๓๔
พ้นจากตำแหน่งเมื่อ : ๔ พ.ค. ๒๕๓๕

นายกิตติ ทิศธรรม
การดำรงตำแหน่ง
รับตำแหน่งเมื่อ : ๔ พ.ค. ๒๕๓๕
พ้นจากตำแหน่งเมื่อ : ๑ พ.ค. ๒๕๓๗

นายสุภพ บุญยิ่งยง
การดำรงตำแหน่ง
รับตำแหน่งเมื่อ : ๒ ต.ค. ๒๕๓๘
พ้นจากตำแหน่งเมื่อ : ๔ ต.ค. ๒๕๓๙

นายนิวิษฐ์ ประสิทธิวิเศษ
การดำรงตำแหน่ง
รับตำแหน่งเมื่อ : ๗ ต.ค.๒๕๓๙
พ้นจากตำแหน่งเมื่อ : ๑ เม.ย. ๒๕๔๑

นายสมเจตน์ ชัยเฉลิมปรีชา
การดำรงตำแหน่ง
รับตำแหน่งเมื่อ : ๑ พ.ค.๒๕๔๓
พ้นจากตำแหน่งเมื่อ : ๓๐ เม.ย. ๒๕๔๔

นายพัฒนา อิศรางกูร ณ อยุธยา
การดำรงตำแหน่ง
รับตำแหน่งเมื่อ : ๑ พ.ค.๒๕๔๔
พ้นจากตำแหน่งเมื่อ : ๖ พ.ค. ๒๕๔๕

นางอุษณีย์ ธรรมสุนทร
การดำรงตำแหน่ง
รับตำแหน่งเมื่อ : ๓ พ.ค.๒๕๔๗
พ้นจากตำแหน่งเมื่อ : ๓๐ เม.ย. ๒๕๔๙

นายวันชัย ชาญสตบุตร
การดำรงตำแหน่ง
รับตำแหน่งเมื่อ : ๒ เม.ย. ๒๕๕๐
พ้นจากตำแหน่งเมื่อ : ๓๑ มี.ค.๒๕๕๑

นายคีรี อำนักมณี
การดำรงตำแหน่ง
รับตำแหน่งเมื่อ : ๑ เม.ย. ๒๕๕๑
พ้นจากตำแหน่งเมื่อ : ๓๑ มี.ค. ๒๕๕๔

นายรณรงค์ วุฒิกุล
การดำรงตำแหน่ง
รับตำแหน่งเมื่อ : ๑ เม.ย. ๒๕๕๔
พ้นจากตำแหน่งเมื่อ : ๓๑ มี.ค. ๒๕๕๖

นายพิงพันธ์ เชาวลิต
การดำรงตำแหน่ง
รับตำแหน่งเมื่อ : ๑ เม.ย. ๒๕๕๖
พ้นจากตำแหน่งเมื่อ : ๓๑ มี.ค.๒๕๕๘

นายประเวศ ศิริศักดิ์วัฒนา
การดำรงตำแหน่ง
รับตำแหน่งเมื่อ : ๑ เม.ย. ๒๕๕๘
พ้นจากตำแหน่งเมื่อ : ปัจจุบัน

สถิติคดี

สำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง
ประเภทสำนวนม.ค.- ธ.ค. 2558ม.ค.- ธ.ค. 2559 ม.ค.- ธ.ค. 2560 ม.ค.- ธ.ค. 2561 ม.ค.- ธ.ค. 2562 ม.ค.- ธ.ค. 2563 ม.ค.- ธ.ค. 2564 ม.ค.- ธ.ค. 2565
ส.13,8824,1224,4864,7124,7614,5563,7392358
ส.1 ฟ.3342535 47488515828
ส.21791629512011310310785
ส.2 ก.
ส.3107151605767462524
ส.524112
ส.5 ก.1814171014119
ส.6390263363362267327315156
ส.78794645236405311
ส.12731229
ส.12 ก.5– – 31419158

หลักเกณฑ์และกระบวนงาน

หลักเกณฑ์การขอประกันตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา

๑. ผู้มีสิทธิยื่นขอประกันตัวผู้ต้องหา ได้แก่ ตัวผู้ต้องหาหรือผู้มีประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง

๒. กรณีการใช้บุคคลเป็นหลักประกันในการปล่อยตัวชั่วคราว ไม่จำกัดเฉพาะข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และข้าราชการการเมืองเพียงเท่านั้น บุคคลอื่น ๆ ที่มีความน่าเชื่อถือสามารถใช้สิทธินี้ได้เช่นกัน

๓. การร้องขอประกันตัวไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าคำร้อง ค่าสัญญาประกัน ค่าเขียนหรือพิมพ์ คำร้อง เขียนสัญญาหรือพิมพ์สัญญาประกัน รวมทั้งการพิจารณาการสั่งอนุญาตให้ประกันตัว

๔. การเขียนหรือพิมพ์คำร้องขอประกันตัว และสัญญาประกันตัว ให้เขียน หรือพิมพ์ตามตัวอย่างที่สำนักงานได้จัดหาไว้เป็นตัวอย่างให้ดู หากผู้ขอประกันเขียนหรือพิมพ์ไม่ได้ สำนักงานได้จัดให้มีผู้เขียนหรือพิมพ์ให้ และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเขียนหรือพิมพ์แต่อย่างใด

๕. เมื่อรับคำร้องขอประกันตัวแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้รับคำร้องจะตรวจสอบความถูกต้องของคำร้อง สัญญาประกัน และหลักประกันพร้อมกับลงเวลาการรับคำร้องไว้ที่บนหัวกระดาษคำร้อง กรณีผู้ร้องขอประกันตัวมากรายจะจัดบัตรคิวและให้บริการตามลำดับ

๖. การพิจารณาคำขอประกัน ปกติพนักงานอัยการจะอนุญาตให้ประกันตัวตามคำขอ ฉะนั้น อย่าหลงเชื่อคำแอบอ้างหรือการเรียกเงินเพื่อตอบแทน การอนุญาตให้ประกันตัวดังกล่าว

๗. พนักงานอัยการจะพิจารณาสั่งคำร้องขอประกันตัว ภายในระยะเวลา ๒๐ นาที นับแต่รับคำร้อง เว้นแต่ในบางกรณีที่มีเหตุสมควรที่ไม่อาจดำเนินการได้แล้วเสร็จตามเวลาดังกล่าวให้ขยายระยะเวลาเป็นไม่เกิน ๓๐ นาที นับแต่รับคำร้อง โดยพนักงานอัยการ หรือเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอประกันตัวทราบเหตุดังกล่าว

๘. จะไม่มีข้ออ้างจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าผู้รับคำร้องไม่อยู่ ไม่มีเจ้าหน้าที่เขียนหรือพิมพ์คำร้อง รวมทั้งพนักงานอัยการผู้สั่งอนุญาตคำร้องไม่อยู่ เพราะเป็นหน้าที่ของสำนักงานที่จะต้องจัดเจ้าหน้าที่ทดแทนไว้บริการประชาชนเสนอ

กระบวนงานการขอประกันตัวผู้ต้องหา

๐ ผู้ขอประกันตัวยื่นคำร้องขอประกันตัวพร้อมหลักฐานประกอบคำร้อง เจ้าหน้าที่รับคำร้อง/ตรวจสอบหลักฐานเสร็จแล้วลงเวลารับเรื่องที่หัวคำร้อง

๐ เสนอคำร้องให้หัวหน้าพนักงานอัยการพิจารณาสั่ง

๐ แจ้งผลการพิจารณาและทำสัญญาประกัน

๐ กระบวนงานดังกล่าว นับตั้งแต่เจ้าหน้าที่รับคำร้อง/ตรวจสอบหลักฐาน จนกระทั่งแจ้งผลการพิจารณาและทำสัญญาประกันแล้วเสร็จใช้ระยะเวลาไม่เกิน ๓๐ นาที

กระบวนการคืนหลักประกันตัวผู้ต้องหา

๐ ผู้ขอคืนหลักประกันตัวยื่นคำร้องขอคืนหลักประกันตัวพร้อมหลักฐานประกอบคำร้อง

๐ เจ้าหน้าที่รับคำร้อง/ตรวจสอบหลักฐาน เสร็จแล้วลงเวลารับเรื่องที่หัวคำร้อง เสนอคำร้องให้หัวหน้าพนักงานอัยการพิจารณาสั่ง

๐ แจ้งผลการพิจารณาและนำหลักทรัพย์คืนให้ผู้ขอคืนหลักประกัน

๐ กระบวนงานดังกล่าว นับตั้งแต่เจ้าหน้าที่รับคำร้อง/ตรวจสอบหลักฐาน จนกระทั่งแจ้งผลการพิจารณาและนำหลักทรัพย์คืนให้ผู้ขอคืนหลักประกันแล้วเสร็จ ใช้ระยะเวลาไม่เกิน ๑๕ นาที

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง
264 หมู่ที่ 2 ถนนทุ่งสง-นครศรีธรรมราช ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80110
Office of Thungsong Public Prosecutor Provincial
Address 264 Moo 2 Thungsong-nakhonsithammarat T.Thamyai A. Thungsong Nakhonsithammarat 80110
TEL. 0 7577 3140-2 FAX. 0 7577 3146 E-mail: ts@ago.go.th

ศูนย์อำนวยการชันสูตรพลิกศพ และศูนย์อำนวยการคุ้มครองเด็กในคดีอาญา (กลางวัน)  โทร 075-773147, 075-773140 ต่อ 306
ศูนย์อำนวยการชันสูตรพลิกศพ (กลางคืน)  โทร 075-773140 ต่อ 320
ติดต่อเจ้าหน้าที่ 094-2969453 และ086-0566636

ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการทรมานและกระทำให้บุคคลสูญหาย ประจำสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง  โทร 075-773140 ต่อ 320 ติดต่อเจ้าหน้าที่ 089 728 3818