ประกาศสำนักงานอัยการคดีศาลแขวงทุ่งสง

เปิดทำการในวันหยุดราชการ ประจำเดือน พฤษภาคม 2567

วันที่ 5, 11, 18, 25


ประกาศสำนักงานอัยการคดีศาลแขวงทุ่งสง

เปิดทำการในวันหยุดราชการ ประจำเดือน เมษายน 2567

วันที่ 7, 12, 14, 16, 20, 27

สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงทุ่งสง
ร่วม
กิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2566


สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงทุ่งสง
ร่วมกิจกรรมน้อมรำลึก เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 23 ตุลาคม 2566

ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา เทศบาลเมืองทุ่งสง


สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงทุ่งสง
ร่วมกิจกรรมวันพระราชทานธงชาติไทย

วันที่ 28 กันยายน 2566
ณ บริเวณหน้าเสาธง อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง


สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงทุ่งสง
ร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2566
ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอทุ่งสง 


สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงทุ่งสง
ร่วมวางพวงมาลาในวันรพี
7 สิงหาคม 2566 ณ ศาลจังหวัดทุ่งสง


สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงทุ่งสง
ร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566 ณ ที่ว่าการอำเภอทุ่งสง


สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงทุ่งสง
ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566
26 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมชั้น 5 สำนักงานอัยการจังหวัดทุ่งสง


สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงทุ่งสง
ร่วมกิจกรรมวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี
3 มิถุนายน 2566 ณ ที่ว่าการอำเภอทุ่งสง


สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงทุ่งสง
ร่วมกิจกรรมวันศาลยุติธรรม
21 เมษายน 2566 ณ ศาลจังหวัดทุ่งสง


สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงทุ่งสง
ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา
เพื่อถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี
กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
20 ธันวาคม 2565 ณ วันเขาปรีดี อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช


สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงทุ่งสง
ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ
5 ธันวาคม 2565


สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงทุ่งสง
ร่วมกิจกรรมน้อมรำลึกเนื่องในวัน “ปิยมหาราช” วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
23 ตุลาคม 2565


สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงทุ่งสง
พิธีบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.5 เนื่องในวันปิยมหาราช ปี2565
22 ตุลาคม 2565


สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงทุ่งสง ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาคบพิตร
13 ตุลาคม 2565


สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงทุ่งสง ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย
28 กันยายน 2565


ประวัติสำนักงานอัยการคดีศาลแขวงทุ่งสง

สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงทุ่งสง เปิดทำการเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๘ ตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดจำนวนเขตอำนาจ และวันเปิดทำการของศาลแขวงในจังหวัดทุ่งสง พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒  ตอนที่ ๒๑ ก หน้ำ ๗๒ ลงวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘ ให้เปิดทำการศาลแขวงทุ่งสง ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๘ เป็นต้นไป มีเขตอำนาจในการรับสำนวน   ๑๐  อำเภอ  ๑๒ สถานีตำรวจ ดังนี้

  • ๑. สถานีตำรวจภูธรจุฬาภรณ์
  • ๒.สถานีตำรวจภูธรภูธรฉวาง
  • ๓.สถานีตำรวจภูธรช้างกลาง
  • ๔.สถานีตำรวจภูธรถ้ำพรรณรา
  • ๕.สถานีตำรวจภูธรทุ่งสง
  • ๖.สถานีตำรวจภูธรทุ่งใหญ่
  • ๗.สถานีตำรวจภูธรนาบอน
  • ๘.สถานีตำรวจภูธรบางขัน
  • ๙.สถานีตำรวจภูธรพิปูน
  • ๑๐.สถานีตำรวจภูธรร่อนพิบูลย์
  • ๑๑.สถานีตำรวจภูธรกะปาง
  • ๑๒.สถานีตำวจภูธรไม้เรียง

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด มีดังนี้

          (มาตรา ๒๓) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชากร เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้           (๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน 
          (๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ 
          (๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
          (๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้ 
          (๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
          (๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้ารการฝ่ายอัยการ
          (๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
          (๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
          (๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด 
          ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ


อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด มีดังนี้

          (มาตรา ๒๗)  ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
          (๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ
          (๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสุดของสำนักงานอัยการสูงสุด 
          ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้
          ให้อัยการสูงสุดโอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุดอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการมีดังนี้

          มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำจานและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
          (๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
          (๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
          (๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนี่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
          (๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
          (๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
          (๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาก ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
          (๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
          (๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
          (๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
          (๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
          ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้ 
          พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.


:: กฎหมายองค์กรอัยการตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

 ทำเนียบอัยการคดีศาลแขวงทุ่งสง

๑.  นายไพโรจน์  พนังนิตินันท์   ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๘ – ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙

๒.  นายนรินทร์  รัตนพันธุ์         ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๙ – ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

๓.  นายมณฑล เชื้อบ้านเกาะ     ๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๐ -๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑

๔.  นายสุรศักดิ์  ศิริวัฒน์          ๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๑ – ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

๕.  นายพิทยา  วีระพงศ์            ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๒ – ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓

๖.  นายนิมนรัตน์  จันทษี          ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๓ – ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔

๗.  นายชนะชัย  ลิ้มโอภาส        ๑  เมษายน  พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖

๘. นายนฤพล บุญสิทธิ์        ๑  เมษายน  พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖

๙. นางสาวณัฐนพิน ตั้งจิตต์พิมล        ๑  เมษายน  พ.ศ. ๒๕๖๗ – ปัจจุบัน

นางสาวณัฐนพิน ตั้งจิตต์พิมล
อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงทุ่งสง

นายอำนาจ ชูแก้ว
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

นายเอกรัตน์ รัตนพันธ์
รองอัยการจังหวัด

นาสาวชวัลกานติ์ เกราะแก้ว
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

ร้อยตำรวจเอกธนวัฒน์ บุญช่วย
อัยการจังหวัดผู้ช่วย


นางสาวสุภาภรณ์   แซ่เต้า
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

นางกัลยา คงกุล
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
นางสาวยุภา ชูทอง
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
นางสาวณิชาภัทร อำนักมณี
นิติรชำนาญการ
นางขนิษฐา วงศ์งาม
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
นายปิยณัฐ สงวนถ้อย
นิติกรปฏิบัติการ
ร.ต.ท.หญิงพัฒนพร ภักดีใหม่
นิติกรปฏิบัติการ
นางสาวสุชาดา เสนาสุข
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
นางปรีดา นุ่นรุ่ย
นักการภารโรง
นายวิษณุ ทองอินที
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
นายธนัช สังข์งาม
พนักงานขับรถยนต์
นางสาวกิติพรย์ แก้วทอง
พนักงานธุรการ

สถิติคดี

สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงทุ่งสง

การประกันตัวผู้ต้องหา

การดำเนินงาน หลักประกันตัวผู้ต้องหา

1.  ผู้ขอประกันตัวยื่นคำร้องขอประกันตัวพร้อมหลักฐานประกอบคำร้อง 2.  เจ้าหน้าที่รับคำร้อง/ตรวจสอบหลักฐานเสร็จแล้วลงเวลารับเรื่องที่หัวคำร้องกับกรอกแบบประเมิน  ส่วนที่ 1 ส่งให้ผู้ร้องขอประกัน 3.  เสนอคำร้องให้หัวหน้าพนักงานอัยการพิจารณา 4.  แจ้งผลการพิจารณาและทำสัญญาประกัน 5.  ผู้ร้องขอประกันกรอกแบบประเมินใส่กล่องรับแบบประเมิน

หลักประกันที่ใช้ประกอบการยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว

1.  เงินสด 2.  โฉนดที่ดิน,  น.ส.3 หรือ น.ส.3 ก  มีหนังสือของเจ้าพนักงานที่ดินหรือนายอำเภอท้องที่แสดงว่าที่ดินมีราคาเท่าใด 3.  พันธบัตรรัฐบาลหรือสลากออมสิน 4.  สมุดหรือใบรับเงินฝากประจำของธนาคาร  ต้องมีหนังสือรับรองยอดเงินคงเหลือและรับรองว่าที่ดินมีราคาเท่าใด 5.  ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่ายและได้รับรองแล้ว 6.  ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว 7.  เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายหรือรับรอง 8.  หนังสือรับรองของธนาคารเพื่อชำระเบี้ยปรับแทนกรณีผิดสัญญา 9.  หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย 10.  ใช้บุคคลเป็นประกันโดยแสดงหลักทรัพย์

****เช็คธนาคาร  ที่ใช้ประกันตัวผู้ต้องหา  ต้องไม่ใช้เช็คลงวันที่ล่วงหน้าและสั่งจ่าย “อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงทุ่งสง”

ประกันด้วยหลักทรัพย์

ที่ดิน  

     1.  ต้นฉบับเอกสารที่ดิน (โฉนดที่ดิน,  น.ส.3 ก.)    

     2.  หนังสือประเมินราคาที่ดินจากสำนักงานที่ดิน 

               สมุดเงินฝาก         

   1.  สมุดเงินฝาก               

  2.  หนังสือรับรองยอดเงินฝากธนาคาร

ตำแหน่งบุคคล

                หนังสือรับรองจากต้นสังกัด  แสดงสถานะ  ระดับ  อัตราเงินเดือน  และหากมีภาระผูกพันในการทำสัญญาประกัน หรือใช้ตนเองเป็นประกันหลักประกันรายอื่นอยู่ให้แสดงภาระผูกพันด้วย             

เอกสารของผู้ต้องหา      

          1.  บัตรประจำตัวพร้องสำเนา  จำนวน  1  ฉบับ          

               2.  สำเนาทะเบียนบ้าน  จำนวน  1  ฉบับ              

เอกสารของผู้ประกัน           

               1.  บัตรประจำตัวพร้อมสำเนา  จำนวน  1  ฉบับ           

               2.  สำเนาทะเบียนบ้าน                

               3.  หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรส           

               4.  ใบสำคัญการสมรส/ใบสำคัญการหย่า          

               5.  หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว – สกุล              

***  ประกันด้วยบุคคลผู้ประกันต้องมายื่นขอประกันด้วยตนเอง  จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นประกันแทนไม่ได้  และต้องไม่ติดประกันรายอื่น ***  ประกันด้วยหลักทรัพย์ (ยกเว้นเงินสด)หากมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมายื่นประกันแทนต้องมอบอำนาจโดยให้มีนายอำเภอหรือผู้ทำการแทน   ประทับตราประจำตำแหน่งเป็นผู้รับรองลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ

   การใช้บุคคลเป็นหลักประกัน 

           1.  ข้าราชการพลเรือนระดับ 3 – 5 ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 60,000 บาท                 

                 2.  ข้าราชการพลเรือนระดับ 6 – 8 ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 200,000 บาท              

                 3.  ข้าราชการพลเรือนระดับ 9 – 10 ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท                 

                 4.  ข้าราชการพลเรือนระดับ 11 ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน 800,000 บาท                 

                 5.  ข้าราชการบำนาญตั้งแต่ระดับ   6  หรือเทียบเท่าขึ้นประกันได้ในวงเงินไม่เกิน  800,000  บาท       

                 6.  พนักงานรัฐวิสาหกิจประกันได้ทำนองเดียวกันกับข้าราชการอื่นตาม  ข้อ 1 – 4                 

                 7.  สมาชิกรัฐสภา,  ข้าราชการการเมือง  ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน  800,000  บาท                 

                 8.  สมาชิกสภาจังหวัด  สมาชิกสภาเทศบาล  กำนันและผู้ใหญ่บ้าน  ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน  60,000  บาท

                 9.  ทนายความ  ประกันตนเองหรือญาติได้ตามระเบียบและตามเกณฑ์  ดังนี้                    

                 9.1  ผู้ที่จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป้นทนายความมาแล้วไม่เกิน  2  ปี   ประกันตนเองได้ในวงเงินไม่เกิน  60,000  บาท                    

                 9.2  ผู้ที่จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความมาแล้ว  2  ปีขึ้นไป  แต่ไม่ถึง  5  ปี                           ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน  60,000  บาท                    

                 9.3  ผู้ที่จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความมาแล้วตั้งแต่  5  ปีขึ้นไป  แต่ไม่ถึง  15  ปี   ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน  200,000  บาท                    

                  9.4  ผู้ที่จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความมาแล้วตั้งแต่  15  ปีขึ้นไป   ประกันได้ในวงเงินไม่เกิน  500,000  บาท

หลักเกณฑ์การขอประกันผู้ต้องหาในคดีอาญา

๑.       ผู้มีสิทธิยื่นขอประกันตัวผู้ต้องหา ได้แก่ ตัวผู้ต้องหาหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง

๒.     กรณีการใช้บุคคลเป็นหลักประกัน ในการปล่อยตัวชั่วคราว ไม่จำกัดเฉพาะข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และข้าราชการการเมือง เพียงเท่านั้น บุคคลอื่นๆ มีความน่าเชื่อถือ สามารถใช้สิทธินี้ได้เช่นกัน

๓.     การร้องขอประกันตัว ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าคำร้อง ค่าสัญญาประกัน ค่าเขียนหรือพิมพ์คำร้อง เขียนสัญญาหรือพิมพ์สัญญาประกัน รวมทั้งการพิจารณาการสั่งอนุญาตให้ประกันตัว

๔.     การเขียนหรือพิมพ์คำร้องขอประกันตัว และสัญญาประกันตัวให้เขียนหรือพิมพ์ตามตัวอย่างที่สำนักงานได้จัดทำไว้เป็นตัวอย่างให้ดู หากผู้ขอประกันเขียนหรือพิมพ์ไม่ได้ สำนักงานได้จัดให้มีผู้เขียนหรือพิมพ์ให้และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเขียนหรือพิมพ์แต่อย่างใด

๕.     เมื่อรับคำร้องขอประกันตัวแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้รับคำร้องจะตรวจสอบความถูกต้องของคำร้องสัญญาประกันและหลักประกัน พร้องลงเวลาการรับคำร้องไว้ที่บนหัวกระดาษคำร้อง กรณีผู้ร้องขอประกันมากราย จะจัดบัตรคิวให้บริการตามลำดับ

๖.      การพิจารณาคำขอประกันตัว ปกติพนักงานอัยการจะอนุญาตให้ประกันตัวตามขอ ฉะนั้น อย่าหลงเชื่อคำแอบอ้างหรือการเรียกเงินเพื่อตอบแทนการอนุญาตให้ประกันตัวดังกล่าว

๗.     พนักงานอัยการจะพิจารณาสั่งคำร้องขอประกันตัวภายในระยะเวลา ๒๐ นาที นับแต่รับคำร้องเว้นแต่ในบางกรณีที่มีเหตุผลสมควรที่ไม่อาจดำเนินการได้แล้วเสร็จตามเวลาดังกล่าวให้ขยายระยะเวลาเป็นไม่เกิน ๓๐ นาที นับแต่คำร้อง โดยพนักงานอัยการหรือเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอประกันตัวทราบเหตุดังกล่าว

๘.     จะไม่มีข้ออ้างจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าผู้รับคำร้องไม่อยู่ ไม่มีเจ้าหน้าที่เขียนหรือพิมพ์คำร้องรวมทั้งพนักงานอัยการผู้สั่งอนุญาตคำร้องไม่อยู่ เพราะเป็นหน้าที่ของสำนักงานที่ทดแทนไว้บริการประชาชนเสมอ

ผังกระบวนงานขอประกันตัวผู้ต้องหา

1. ผู้ขอประกันตัวยื่นคำร้องขอประกันตัวพร้อมหลักฐานประกอบคำร้อง

2. เจ้าหน้าที่รับคำร้อง/ตรวจสอบหลักฐานเสร็จแล้วลงเวลารับเรื่องที่หัวข้อ

3. เสนอคำร้องให้หัวหน้าพนักงานอัยการพิจารณาสั่ง

4. แจ้งผลการพิจารณาและทำสัญญาประกัน

กระบวนงานดังกล่าว ตั้งแต่เจ้าหน้าที่รับคำร้อง/ตรวจสอบหลักฐาน จนกระทั่งแจ้งผลการพิจารณาและทำสัญญาประกันแล้วเสร็จ ใช้ระยะเวลาไม่เกิน ๒๐ นาที เว้นแต่ในกรณีมีเหตุผลอันสมควรที่ไม่อาจดำเนินการได้ภายในระยะเวลาดังกล่าวให้ขยายระยะเวลาเป็นไม่เกิน ๓๐ นาที นับแต่รับคำร้อง โดยพนักงานอัยการหรือเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอประกันตัวทราบเหตุดังกล่าว)

–          จัดทำป้ายติดที่โต๊ะเจ้าหน้าที่แสดงชัดเจนว่าเป็นผู้ทำหน้าที่งานประกันตัวผู้ต้องหาพร้อมชื่อ นามสกุล ตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ดังกล่าว และจัดทำตัวอย่างการเขียนหรือพิมพ์คำร้องขอประกันและสัญญาประกันปิดหน้าสำนักงานโดยเปิดเผยให้เป็นตัวอย่าง

–          พิจารณาเรื่องการประกันตัวผู้ต้องหาเป็นงานแรกเมื่อรับสำนวนการสอบสวนและจะต้องพิจารณาเรื่องขอประกันตัวก่อนการลงสารบ

–          กรณีผู้ขอประกันตัวไม่อาจเขียนหรือพิมพ์คำร้องขอประกัน และสัญญาประกัน ให้จัดเจ้าหน้าที่ที่เขียนหรือพิมพ์คำร้องขอประกันและสัญญาประกันให้โยพลัน โยมิให้เรียกเงินหรือทรัพย์สินใดตอบแทนการเขียนหรือพิมพ์โดยเด็ดขาด และมิให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมคำร้องขอประกันตัวผู้ต้องหาจากผู้ยื่นคำขอ

–          เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับคำร้องขอได้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานถูกต้อง ให้ลงเวลารับไว้ที่หัวกระดาษคำร้องแล้วรีบนำคำร้องขอประกันพร้อมสัญญาประกัน เสนอหัวหน้าพนักงานอัยการหรือพนักงานอัยการผู้ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณาคำสั่งการ

–          ดำเนินการพิจารณาสั่งคำร้องขอประกันให้แล้วเสร็จภายใน ๒๐ นาที นับแต่รับคำร้อง เว้นแต่ในกรณีมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจดำเนินการได้ตามระยะเวลาดังกล่าว ให้ขยายระยะเวลาเป็นไม่เกิน ๓๐ นาที นับแต่รับคำร้อง โยแจ้งเหตุดังกล่าวให้ผู้ขอประกันทราบด้วย และมิให้เรียกเงินหรือทรัพย์สินใดตอบแทน

–          กรณีเจ้าหน้าที่ผู้รับคำร้อง ผู้พิมพ์คำร้อง ผู้ตรวจคำร้อง และผู้พิจารณาสั่งคำร้อง ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่ว่ากรณีใด ให้มอบหมายผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนทันที ห้ามมิให้ยกเหตุข้อขัดข้องดังกล่าวขึ้นอ้างต่อประชาชนผู้รับบริการ

สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงทุ่งสง
ตั้งอยู่ที่ เลขที่  ๒๖๔ หมู่ที่ ๒ ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง 
จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสไปรษณย์ ๘๐๑๑๐
โทร/โทรสาร ๐๗๕ ๓๕๕๐๕๓