ข่าวประชาสัมพันธ์

วันที่ 26 มิถุนายน 2566 นายธีรวิทย์ มณีอินทร์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี เข้าร่วมงานพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในวันฉลองพระชนมายุ 8 รอบ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ วัดบัวขวัญ จังหวัดนนทบุรี

วันที่ 3 มิถุนายน 2566 นายธีรวิทย์ มณีอินทร์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมงานพิธีเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๕ หน้าศาลากลางจังหวัดนนทบุรี

วันที่ 2 มิถุนายน 2566 นายธีรวิทย์ มณีอินทร์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี เข้าร่วมงานพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในวันวิสาขบูชา ณ วัดอุทยาน จังหวัดนนทบุรี

วันที่ 5 พฤษภาคม 2566 นายธีรวิทย์ มณีอินทร์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมงานพิธีเนื่องในวันฉัตรมงคล ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารเทศบาลนครนนทบุรี

วันที่ 6 เมษายน 2566 นายธีรวิทย์ มณีอินทร์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมงานพิธีเนื่องในวันจักรี ณ ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารเทศบาลนครนนทบุรี

วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๖ นายธีรวิทย์ มณีอินทร์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ และบุคคลากรของสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี ได้ทำการสัการะบูชาศาลหลักเมืองนนทบุรี  รวมถึงพระพุทธสุทธิธรรมปชานาถ
พระพุทธรูปปางจักรพรรดิ และศาลพระภูมิของอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรีเพื่อความเป็นศิริมงคลในการเข้ารับตำแหน่ง

ประกาศเจตนารมณ์ 2566 No Gift Policy

วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๕ นายณรงค์ ตันยาภิรมย์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี เข้าร่วมพิธีวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ วันชาติ ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๕ หน้าศาลากลางจังหวัดนนทบุรี

วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๕ นายณรงค์ ตันยาภิรมย์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี เข้าร่วมพิธีวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี ๒๕๖๕ ณ ห้องประชุม ชั้น ๕ อาคารเทศบาลนครนนทบุรี

วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๕ นายณรงค์ ตันยาภิรมย์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี เข้าร่วมพิธีวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประจำปี ๒๕๖๕  ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๕ หน้าศาลากลางจังหวัดนนทบุรี

วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๔ นางสาวตุลธิดา ลิ้มสุวัฒน์ รองอัยการจังหวัด ซึ่งได้รับมอบหมายจาก นางสาวสุภาภรณ์ ไชยปุรณะ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี เข้าร่วมพิธีวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประจำปี ๒๕๖๔ ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๕ หน้าศาลากลางจังหวัดนนทบุรี

วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๔ นางสาวสุภาภรณ์ ไชยปุรณะ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี เข้าร่วมพิธีวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประจำปี ๒๕๖๔ ณ อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรี

วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๔ นางสาวสุภาภรณ์ ไชยปุรณะ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี และคณะ เข้าร่วมพิธีวันพระราชทานธงชาติไทย ประจำปี ๒๕๖๔ ณ หน้าอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรี

เกี่ยวกับสำนักงาน

          สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี เปิดทำการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2532 โดยมีชื่อเดิมว่า  สำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรี(แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว) ซึ่งมี นางสาวเนื้อทิพย์ โกมลมาลย์ เป็นผู้ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดนนทบุรี(แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว) เป็นท่านแรก
          ต่อมาในปี พ.ศ.2547 ได้เปลี่ยนชื่อสำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรี(แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว) เป็น สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี
          สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี เปิดทำการอยู่ภายในอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรี  บริเวณอาคารชั้นที่ 1 ด้านหลัง ซึ่งภายในอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรีมีสำนักงานเปิดทำการอยู่รวมกัน 4 สำนักงาน  คือ
          1. สำนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรี
          2. สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงนนทบุรี
          3. สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี และ
          4. สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนนทบุรี

          สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี อยู่ภายใต้การบังคับบัญชา และการกำกับดูแลของสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 255

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

1. รับผิดชอบดำเนินคดีอาญาทั้งปวงในอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการภายในเขตท้องที่ของสำนักงานอัยการคดีเยาวชน
    และครอบครัวจังหวัดนนนทบุรี   ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี
2. รับผิดชอบดำเนินคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังต่อไปนี้
    2.1 ฟ้องคดีแทนเด็กปฏิเสธความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชาย (ป.พ.พ. ม.1545)
    2.2 ร้องขอให้ศาลตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็กในคดีฟ้องของให้รับเด็กเป็นบุตรในกรณีเด็กไม่มีผู้แทน
โดยชอบธรรม  หรือมีแต่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ (ป.พ.พ. ม.1556)
    2.3 เป็นโจทก์ฟ้องคดีที่กฎหมายห้ามมิให้ราษฎรฟ้อง เช่น ฟ้องคดีผู้สืบสันดานในการฟ้องบุพการีทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา
อันได้แก่ ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร (ป.พ.พ. ม.1526,1565)
    2.4 ร้องขอให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครอง (ป.พ.พ. ม.1582)
    2.5 ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครอง (ป.พ.พ. ม.1586) และร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครองและมีคำสั่งเกี่ยวกับ
ผู้ปกครองต่อไปตามที่เห็นสมควรเนื่องจากเป็นผู้ต้องห้ามมิให้เป็นผู้ปกครองตาม ม.1587 (ป.พ.พ. ม.1588)
    2.6 ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ปกครองหาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์สินหรือแถลงถึงความเป็นอยู่ของทรัพย์สินของ
ผู้อยู่ในปกครอง (ป.พ.พ. ม.1597)
    2.7 ร้องขอให้ศาลถอนผู้ปกครอง (ป.พ.พ. ม.1598/9)
    2.8 ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรม (ป.พ.พ. ม.598/21,1598/22,1598/23)  การเลิกรับบุตร
บุญธรรม (ป.พ.พ. ม.1598/31)
    2.9 ฟ้องคดีแทนบุตรบุญธรรมเกี่ยวกับการขอเลิกรับบุตรบุญธรรม (ป.พ.พ. ม.1598/35)
    2.10 ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครอง, ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ในกรณีที่มรดกตกทอดแก่ผู้เยาว์ หรือบุคคลวิกลจริตหรือ
ผู้ไม่สามารถจัดการงานตนเองได้ และบุคคลนั้นยังไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ (ป.พ.พ. ม.1610)
    2.11 ร้องขอให้ศาลจัดตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีเจ้าของมรดกตายทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรือ
อยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์ หรือผู้จัดการมรดก หรือทายาทไม่สามารถหรือไม่เต็มใจจะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้อง
ในการจัดการหรือในการแบ่งปันมรดก

ระเบียบและหลักการในการดำเนินคดีเด็กและเยาวชน

หลักการดำเนินคดีอาญา
           การดำเนินคดีอาญาเด็กหรือเยาวชนนั้น  พนักงานอัยการต้องคำนึงถึงการคุ้มครองเด็ก  สวัสดิภาพของเด็กหรือเยาวชน
โดยการแก้ไขบำบัดและฟื้นฟูยิ่งกว่าการลงโทษตามนัยระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ พ.ศ.2547

ระเบียบและคำสั่งที่ใช้ในการดำเนินคดีอาญา
            ระเบียบและคำสั่งที่ใช้ในการดำเนินคดีอาญาเด็กหรือเยาวชนเป็นไปตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการ
ดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2547 และตามคำสั่งหรือหนังสือเวียนสำนักงานอัยการสูงสุดที่ออกเป็นคราวๆ 

ผู้ต้องหาเป็นเด็กหรือเยาวชน

           “เด็ก” หมายความว่า บุคคลอายุยังไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์
           “เยาวชน” หมายความว่า บุคคลอายุเกินสิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ (พระราชบัญญัติศาลเยาวชนฯ  
พ.ศ.2553 มาตรา 4)

ข้อสังเกต

          1. กรณีเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี กระทำความผิดอาญาไม่ต้องรับโทษ
          2. กรณีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ไม่ถือว่าเป็นเยาวชน

การนับอายุของเด็กหรือเยาวชน
            การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิดในกรณีที่รู้ว่าเกิดเดือนใด  แต่ไม่รู้วันเกิดให้นับวันที่ 1 แห่งเดือนนั้น
เป็นวันเกิด  แต่ถ้าพ้นวิสัยที่จะหยั่งรู้เดือนและวันเกิดของบุคคลใดให้นับอายุบุคคลนั้นตั้งแต่วันต้นปีปฏิทิน (วันที่ 1 มกราคม) 
ซึ่งเป็นปีที่บุคคลนั้นเกิด (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 16)

 การสอบสวนเด็กหรือเยาวชน 

          การสอบสวนในคดีที่ผู้ต้องหาเป็นเด็กหรือเยาวชนให้ถืออายุไม่เกิน 18 ปี ในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา (ไม่ใช่
เจ้าพนักงานจับกุมแจ้งข้อหา)  ส่วนการที่เด็กหรือเยาวชนกระทำผิดขณะอายุไม่เกิน 18 ปี  แต่วันที่แจ้งข้อหาเด็กมีอายุเกิน
18 ปี การสอบสวนก็ไม่ต้องดำเนินการตาม  มาตรา 133 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การสอบสวนจะต้อง
ดำเนินการตามมาตรา 133 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  ซึ่งจะต้องมีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์
บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำนั้นด้วย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 
134 ทวิ)

พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
           ต้องเป็นพนักงานสอบสวน  ต้องมีเขตอำนาจการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 – 21 การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย การสอบสวนในกรณีที่ต้องมีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ พนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 12 ทวิ, 133 ทวิ ในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาผู้ต้องหาที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปี พนักงานสอบสวนต้องถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความ(ที่ปรึกษากฎหมาย) หรือไม่ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 ทวิ  การถามปากคำ(คำให้การ) ผู้ต้องหาที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปี พนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการโดยแยกกระทำเป็นสัดส่วนในสภาพที่เหมาะสม และมีพนักงานอัยการ ทนายความ (ที่ปรึกษากฎหมาย) แต่หากเป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไป หรือในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่ถึงสามปีและถ้าผู้ต้องหาร้องขอต้องมีนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่ผู้ต้องหาร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำด้วยเสมอ (ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 ตรี และนำมาตรา 133 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม)
          –  ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สามปีขึ้นไป หรือในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่ถึงสามปีและผู้เสียหาย
หรือพยานซึ่งเป็นเด็กร้องขอ  หรือในคดีทำร้ายร่างกายเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี  พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการโดยแยก
กระทำเป็นสัดส่วนในสถานที่เหมาะสมสำหรับเด็ก  และมีพนักงานอัยการ  นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็ก
ร้องขอร่วมถามปากคำด้วย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา133 ทวิ) 
          –  ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่ง ซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ 
และพนักงานอัยการ  เข้าร่วมในการถามปากคำพร้อมกันได้  พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133 ทวิ วรรคท้าย
          –  ในคดีที่พนักงานสอบสวนมีความจำเป็นต้องจัดให้เด็กอายุไม่เกินสิบแปดปในฐานะผู้เสียหายหรือพยานชี้ตัวผู้ต้องหา
พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133 ตรี และนำมาตรา 133 ทวิ วรรคห้า
มาใช้บังคับโดยอนุโลม  ทั้งนี้ การดำเนินการของพนักงานสอบสวนดังกล่าวพนักงานอัยการจะต้องปฏิบัติตามระเบียบอัยการ
สูงสุดว่าด้วยการคุ้มครองเด็กในคดีอาญา พ.ศ.2543 ข้อ 11 – 15

การดำเนินคดีของพนักงานอัยการ
การพิจารณาและสั่งคดี
           • การพิจารณาสั่งคดีในคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นผู้ต้องหานั้นจะต้องตรวจพิจารณาสั่งสำนวนโดยละเอียดรอบคอบ
           • จะต้องพิจารณาสั่งคดีให้ทันภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95  หากเป็นคดีความผิด
อันยอมความได้  ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายในสามเดือนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
           • จะต้องนำรายงานการสืบเสาะของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมาประกอบการพิจารณาด้วย
           • จะต้องคำนึงถึงการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนยิ่งกว่าการลงโทษ
           • ต้องพิจารณาของกลาง และขอให้ผู้ต้องหาคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43
           • พิจารณาประวัติการเคยกระทำความผิดและเคยต้องโทษของผู้ต้องหาว่ามีหรือไม่ ถ้ามีก็ให้มีคำสั่งและขอให้ศาลสั่ง
กรณีสั่งฟ้อง
          เมื่อตรวจพิจารณาสั่งสำนวนโดยละเอียดรอบคอบแล้ว พนักงานอัยการต้องทำความเห็นสั่งฟ้อง กรณีต้องเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น  ต้องใช้ความเห็น “เห็นควรสั่งฟ้อง” ในสำนวนการสอบสวนโดยละเอียด  ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการพ.ศ. 2547 ข้อ 32  และก่อนมีคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง หากพิจารณาพยานหลักฐานและพยานหลักฐานยังไม่แน่ชัดก็ต้องสั่งสอบสวนเพิ่มเติมตามรูปคดี ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2547 ข้อ 35

กรณีสั่งไม่ฟ้อง
          เมื่อในกรณีพิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนโดยละเอียดรอบคอบดังกล่าวแล้ว คดีมีพยานหลักฐาน
ไม่พอฟ้อง หรือการฟ้องคดีใดจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของ
ประชาชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงแห่งชาติ หรือผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ 
พนักงานอัยการต้องทำความเห็นสั่งไม่ฟ้อง (กรณีต้องเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ต้องเสนอความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง)
แล้วจึงเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี

          การขออนุญาตฟ้อง และการผัดฟ้องคดีขออัยการสูงสุดอนุญาตฟ้อง ได้แก่ คดีที่ยื่นฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลไม่ทันภายใน
ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2553  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง
ว่าคดีขาดผัดฟ้อง  ซึ่งอาจเป็นกรณีที่ขาดผัดฟ้องมาตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวนหรือในชั้นพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี

การดำเนินคดีในชั้นศาล
          การพิจารณาคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นจำเลย ไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
โดยเคร่งครัดและให้ใช้ถ้อยคำที่จำเลยสามารถเข้าใจได้ง่าย กับต้องให้โอกาสจำเลยรวมทั้งบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคล
ที่จำเลยอาศัยอยู่ หรือบุคคลที่ให้การศึกษา หรือให้ทำการงานหรือมีความเกี่ยวข้องด้วย แถลงข้อเท็จจริง ความรู้สึกและความ
คิดเห็น ตลอดจนระบุและซักถาม พยานได้ไม่ว่าในเวลาใดๆ ในระหว่างที่มีการพิจารณาคดีนั้น (ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนฯ
พ.ศ.2553 มาตรา 114) ศาลที่มีอำนาจรับพิจารณาคดีเด็กหรือเยาวชน การที่จะฟ้องเด็กหรือเยาวชนต่อศาล  ให้ถืออายุเด็กหรือ
เยาวชนในวันที่การกระทำความผิดได้เกิดขึ้น แม้เด็กหรือเยาวชนขณะกระทำความผิดมีอายุไม่เกิน 18 ปี แต่ได้หลบหนีไปจนมี
อายุเกิน 18 ปี เช่น หลบหนีไป 10 ปี จนอายุถึง 28 ปี ก็นำมาฟ้องศาลเยาวชนและครอบครัว (ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนฯ
พ.ศ.2553 มาตรา 5)  โดยให้ศาลเยาวชนและครอบครัวซึ่งมีเขตอำนาจในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติมีอำนาจ
พิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดนั้น  แต่ถ้าเพื่อประโยชน์แก่เด็กหรือเยาวชนให้ศาลแห่งท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด
มีอำนาจรับพิจารณาคดีนี้ได้ (ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนฯ  พ.ศ.2553 มาตรา 95)

ข้อสังเกต

           ในกรณีที่ผู้กระทำผิดอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ กระทำความผิดและเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลธรรมดา ถ้าศาลนั้น
พิจารณาโดยคำนึงถึงร่างกาย สติปัญญา สุขภาพ ภาวะแห่งจิตวิสัย เห็นว่าบุคคลดังกล่าวนั้นมีสภาพเช่นเดียวกับเด็กหรือเยาวชนให้ศาลมีอำนาจโอนคดีไปพิจารณาที่ศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีอำนาจและให้ถือว่าบุคคลนั้นเป็นเด็กหรือเยาวชน (ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนฯ พ.ศ.2553 มาตรา 97)

บุคคลที่เกี่ยวข้องในคดี
           • ผู้พิพากษามี 2 ประเภท คือ ผู้พิพากษา และผู้พิพากษาสมทบ ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวฯ 
พ.ศ.2553 มาตรา 15
           • พนักงานอัยการ ซึ่งอัยการสูงสุดแต่งตั้งให้มีหน้าที่ดำเนินคดีที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดและ
ต้องฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2553 มาตรา 101
           • จำเลย กรณีถ้าไม่รับการประกันตัวจะถูกควบคุมอยู่ที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน หรือสถานที่อื่่นที่จัดตั้งขึ้น
ตามกฎหมายและตามที่ศาลเห็นสมควร
           • ที่ปรึกษากฎหมาย จำเลยที่เป็นเด็กหรือเยาวชนจะมีทนายความแก้คดีแทนไม่ได้ แต่ให้มีที่ปรึกษากฎหมายเพื่อปฏิบัติ
หน้าที่ทำนองเดียวกันกับทนายความได้  ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2553 มาตรา 120

การสืบพยานในคดีที่เด็กหรือเยาวชนกระทำผิด

          ในคดีที่พยานเป็นผู้ใหญ่ การสืบพยานจะเป็นแบบคดีปกติธรรมดาพนักงานอัยการจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และมาตรา 172ถึง 181 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 112 และระเบียบ
สำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2547
           การสืบพยานในคดีที่พยานเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปี ตามปกติห้องที่พิจารณาจะต้องไม่ใช่ห้องพิจารณา
คดีธรรมดา  แต่ถ้าไม่อยู่ในวิสัยที่จะกระทำได้ ก็ให้ใช้ห้องพิจารณาคดีธรรมดา แต่ต้องไม่ปะปนกับการพิจารณาคดีธรรมดา 
ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2553 มาตรา 107 และพนักงานอัยการจะต้องปฏิบัติตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 ตรี และก่อนเบิกความพยานต้องสาบานตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณีแห่งชาติของตน หรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริงเสียก่อน ยกเว้นบุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบสี่ปี่  (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 112 (1) และระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการคุ้มครองเด็กในคดีอาญา  พ.ศ.2543 ข้อ 26-29)

การพิจารณาลับ

           การพิจารณาคดีที่ศาลให้กระทำเป็นการลับ พนักงานอัยการจะต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2528 และเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีตามที่พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและ
ครอบครัวฯ พ.ศ.2553 มาตรา 108 (1)-(7)  กำหนดเท่านั้น จึงจะมีสิทธิเข้าฟังการพิจารณาคดีได้และการพิจารณาจะต้องกระทำ
ต่อหน้าที่ปรึกษากฎหมายของจำเลยเท่านั้น  ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ. 2553  ม. 127

ข้าราชการอัยการ

นายธีรวิทย์ มณีอินทร์
อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี

นางสุภาพร เขียวต่าย
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
นางสาวตุลธิดา  ลิ้มสุวัฒน์
รองอัยการจังหวัด
นางสาวสุชีลา ศิริมงคลภาวงศ์
อัยการอาวุโส
ข้าราชการธุรการ

นางสาวภัทรา กองเพิ่มพูล
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน  
รักษาการในตำแหน่ง

ผู้อำนวยการ  สำนักอำนวยการ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี

นางสาวนราวดี ชัยตุ้ย
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวแม้นมาศ แสงประเสริฐ
นิติกรปฏิบัติการ

นายสิรวิทย์ มีพานิช
พนักงานเครื่องคอมพิวเตอร์

จ้างเหมาบริการ
นายพิษณุ  สอนพฤกษา
เจ้าพนักงานขับรถยนต์
ลำดับที่ชื่อ – นามสกุลดำรงตำแหน่ง
1นางสาวเนื้อทิพย์         โกมลมาลย์พ.ศ.2532 – 2533
2นายอดุลย์                   ตระกูลดิษฐ์พ.ศ.2533 – 2533
3นายดำเกิง                  บูรณกนิษฐพ.ศ.2533 – 2534
4นายนพดล                  เวชประสิทธิ์พ.ศ.2534 – 2535
5นางสมศรี                   วัฒนไพศาลพ.ศ.2535 – 2536
6นางสาวสุดา                เศรษฐบุตรพ.ศ.2536 – 2537
7นางทรงรัตน์                เย็นอุราพ.ศ.2537 – 2538
8นายกัมพล                  ชัยรัชนีกรพ.ศ.2538 – 2539
9นายพิสิทธิ์                  วาจานนท์พ.ศ.2539 – 2541
10เรือโท วิโรจน์              รัตนประเสริฐพ.ศ.2541 – 2542
11นายชาตรี                    สุวรรณินพ.ศ.2542 – 2543
12นางพฤฒิพร                เนติโพธิ์พ.ศ.2543 – 2544
13นายณัฐวุฒิ                 สกุลพาณิชพ.ศ.2544 – 2545
14นางสาวปราณี             รัตนชัยวงศ์พ.ศ.2545 – 2546
15นายภาวิต                   พยัคฆบุตรพ.ศ.2546 – 2547
16นายพันธุ์โชติ              บุญศิริพ.ศ.2547 – 2548
17นายกุศล                    แย้มสอาดพ.ศ.2548 – 2549
18นายวัฒนา                  สวัสดิ์ทองพ.ศ.2549 – 2551
19นายเพิ่มสิน                วิชิตนาคพ.ศ.2551 – 2552
20ร.ต.อ.โชคชัย             สิทธิผลกุลพ.ศ.2552 – 2553
21นางเกวลี                   จินดาสมบัติเจริญพ.ศ.2553 – 2554
22นายประเสริฐ              กาญจนอุทัยพ.ศ.2554 – 2555
23นายประธาน               จุฬาโรจน์มนตรีพ.ศ.2555 – 2557
24นายธานินทร์              ยะคะเสมพ.ศ.2557 – 2558
25นายสุขุม                    หิรัญวงษ์พ.ศ.2558 – 2559
26นายปรัชญา                ทัพทองพ.ศ.2559 – 2560
27นายพงศ์พฤกษ์           ภู่พฤกษาพ.ศ.2560 – 2561
28นายไพรวัลย์               จันทรสิทธิผลพ.ศ.2561 – 2562
29นางเกษรินทร์              รักษาพ.ศ.2562 – 2563
30นายสุทธิชัย                สุขวัฒน์นิจกูลพ.ศ.2563 – 2564
31นางสาวสุภาภรณ์        ไชยปุรณะพ.ศ.2564 – 2565
32นายณรงค์ ตันยาภิรมย์พ.ศ.2565 – 2566
33นายธีรวิทย์ มณีอินทร์พ.ศ.2566 – ปัจจุบัน

กระบวนงานขั้นตอนการดำเนินคดี

ข้อมูลสถิติคดี  ปี พ.ศ.2565

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี
ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลบางกระสอ เมืองนนทบุรี นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 02 580 2113 โทรสาร: 02 580 2113 อีเมล: nont-ju@ago.go.th

สถานีตำรวจในความรับผิดชอบสำนวนการสอบสวน
ของสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี

ลำดับที่  ชื่อสถานีตำรวจเบอร์โทรศัพท์
1สถานีตำรวจภูธรเมืองนนทบุรี         02  526  9988
2สถานีตำรวจภูธรบางศรีเมือง02  595  4557
3สถานีตำรวจภูธรบางบัวทอง02  194  1055
4สถานีตำรวจภูธรปากเกร็ด02  583  8812-3
5สถานีตำรวจภูธรชัยพฤกษ์(คลองข่อย)02  195  2839
6สถานีตำรวจภูธรบางกรวย02  459  4552
7สถานีตำรวจภูธรปลายบาง02  903  9494
8สถานีตำรวจภูธรบางใหญ่02  595  0598
9สถานีตำรวจภูธรบางแม่นาง02  983  6613-15     
10สถานีตำรวจภูธรไทรน้อย02  597  1411-2