ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ โทร.042-491827

ข่าวประชาสัมพันธ์

  • พนักงานทำความสะอาด 1 ตำแหน่ง
  • พนักงานขับรถยนต์ 1 ตำแหน่ง

                     ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่  15 พย 64

เกี่ยวกับสำนักงาน

สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดบึงกาฬ
สำนักงานอัยการสูงสุด

“อัยการ……
เป็นปากเสียงให้แก่กฎหมาย
เป็นผู้ท้วงติงคำพิพากษา
เป็นที่พักพิงปลอบโยนแก่ผู้อ่อนแอที่ถูกรุกรานกดขี่
เป็นโจท์ที่น่าเกรงขามของเหล่าร้าน
เป็นผู้พิทักษ์ผลประโยชน์สาธารณะ
และ……………………..
เป็นผู้แทนสังคมทั้งมวล”ที่มา : หนังสือที่ระลึกพิธีเปิดอาคารสำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดบึงกาฬ (พ.ศ.2537)

           ประวัติสำนักงานอัยการจังหวัดบึงกาฬ

 สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดบึงกาฬ  เปิดทำการเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม  2537  ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอบึงกาฬ  จังหวัดหนองคาย  พ.ศ. 2534  และพระราชกฤษฎีกา  กำหนดวันเปิดทำการศาลจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2537 
           บริเวณที่ดินของสำนักงานเป็นที่ราชพัสดุ   ตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงฉบับที่ 403/2500 รับขึ้นทะเบียนเป็นแปลงหมายเลขที่ นค. 206  เป็นหลังลำดับที่ 87  มีเนื้อที่สำหรับใช้งานทั้งหมด  17  ไร่  1  งาน  70  ตารางวา  ด้านทิศเหนือติดกับสถานีตำรวจภูธรเมืองบึงกาฬ   ด้านทิศใต้ติดกับถนนทางหลวงแผ่นดิน สายบึงกาฬ-นครพนม  ด้านทิศตะวันออกติดกับสำนักงานขนส่งจังหวัดบึงกาฬ  ด้านทิศตะวันตกติดกับศาลจังหวัดบึงกาฬ
           การก่อสร้างอาคารสำนักงาน  ได้รับจัดสรรเงินงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานอัยการสูงสุด  เพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารสำนักงานเป้นจำนวนเงินมูลค่าทั้งสิ้น  32,258,200.00  บาท  อาคารมีลักษณะเป็นตึกสองชั้น  ขนาดความกว้าง  24  เมตร  ขนาดความยาว  62  เมตร  มีพื้นที่ใช้สอย  2,976  ตารางเมตร  ลักษณะเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก  ก่ออิฐฉาบปูน  พื้นลักษณะหินขัด  หลังคามุงกระเบื้อง 
           อาคารตั้งอยู่ที่  369  หมู่ที่  1  ถนนบึงกาฬ – นครพนม  ตำบลบึงกาฬ   อำเภอเมืองบึงกาฬ   จังหวัดบึงกาฬ   โดยในระยะแรก  นายพิทักษ์  อบสุวรรณ  ได้มาดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดประจำศาลจังหวัดบึงกาฬเป็นคนแรก
           สำนักงานอัยการจังหวัดบึงกาฬ  ได้ดำเนินงานควบคู่กับสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) จังหวัดบึงกาฬ  เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลือในการปรึกษากฎหมายเกี่ยวกับอรรถคดี  มีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเบื้องต้นแก่ประชาชน  และมีโครงการจัดอบรมประนีประนอมข้อพิพาทระดับหมู่บ้าน

พิธีวางศิลาฤกษ์สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดบึงกาฬ

อำนาจหน้าที่

           ข้าราชการฝ่ายอัยการ  แบ่งออกเป็นสองประเภท  คือ
           1  ข้าราชการอัยการ   ได้แก่  ข้าราชการผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพนักงานอัยการตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ
           2  ข้าราชการธุรการ  ได้แก่  ข้าราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด (นอกจาก 1)

อำนาจหน้าที่พนักงานอัยการ
           (ก)  รับผิดชอบการดำเนินคดีทั้งปวงในอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุดภายในเขตท้องที่ของสำนักงานอัยการจังหวัดบึงกาฬ  ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดบึงกาฬ  หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นในศาลจังหวัดแก้วแต่กรณี  ทั้งนี้ตามกฎหมาย  ประกาศ  ระเบียบ  ข้อบังคับ  และคำสั่งว่าด้วยการนั้น
           (ข)  ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง  หรือที่ได้รับมอบหมาย

           พนักงานอัยการผู้รับผิดชอบคดีอาญาทั่วไป
            
อัยการสูงสุด ได้วางระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการไว้โดยจัดสรรอำนาจหน้าที่  ดังนี้
           การออกคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการผู้มีอำนาจดำเนินคดีนั้น  ส่วนการลงนามในคำฟ้อง  เป็นอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าพนักงานอัยการ  เว้นแต่กรณีจำเป็นและเร่งด่วน  ให้พนักงานอัยการผุ้มีอาวุโสถัดลงมามีอำนาจลงนามในคำฟ้อง
           หมายเหตุ  อัยการจังหวัดไม่อาจมอบหมายให้พนักงานอัยการชั้น 4 ปฏิบัติราชการแทนในการสั่งคดี (น.ว.ที่ อส(สฝอส.3)0015/ว256 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2548)


           อัยการชั้น 5 และอัยการชั้น 6  ผู้ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าพนักงานอัยการ
           เมื่อได้รับมอบหมายให้พิจารณาสำนวนคดีใดให้มีอำนาจดำเนินคดีนั้นได้เช่นเดียวกับหัวหน้าพนักงานอัยการ  และเมื่อสั่งคดีแล้วให้เสนอหัวหน้าพนักงานอัยการเพื่อทราบ  กรณีมีคำสั่งฟ้องให้เสนอความเห็นและคำสั่งพร้อมด้วยร่างคำฟ้องสำหรับกรณีมีคำสั่งให้รับแก้ต่างคดีอาญา  หากต้องยื่นคำให้การ  ให้เสนอร่างคำให้การด้วย
           การเสนอเพื่อทราบ  ให้เสนอก่อนยื่นคำฟ้องหรือคำให้การ  เมื่อหัวหน้าพนักงานอัยการมีความเห็นและคำสั่งประการใดให้ปฏิบัติตามนั้น
           กรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน  ไม่อาจเสนอเพื่อทราบก่อนยื่นคำฟ้องหรือคำให้การ  เช่น  คดีจะขาดอายุความฟ้องร้อง  หรือเหตุอื่นที่อาจทำให้เกิดความเสียฟาย  ให้เสนอเพื่อทราบภายหลังยื่นคำฟ้องหรือคำให้การโดยเร็ว

           อัยการชั้น 4  ผู้ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าพนักงานอัยการ
           เมื่อได้รับมอบหมายให้พิจารณาสำนวนคดีใด  ให้ตรวจพิจารณาสำนวนแล้วทำความเห็นเสนอหัวหน้าพนักงานอัยการพิจารณาสั่ง  เว้นแต่คดีนั้นมีอัตราโทษแต่ละฐานความผิดจำคุกอย่างสูงไม่ถึงสิบปี  และ/หรือมีโทษปรับไม่ถึงสองหมื่นบาท  ให้มีอำราจสั่งคดีนั้นได้เช่นเดียวกับหัวหน้าพนักงานอัยการ  แต่ต้องเสนอหัวหน้าพนักงานอัยการเพื่อทราบทันที

           อัยการชั้น 2  อัยการชั้น  3
           เมื่อได้รับมอบหมายให้พิจารณาสำนวนคดีใด  ให้ตรวจพิจารณาสำนวนแล้วทำความเห็นเสนอผู้กลั่นกรองงาน  เพื่อทำความเห็นเสนอหัวหน้าพนักงานอัยการพิจารณาสั่ง

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

ขอบเขตความรับผิดชอบ

อำเภอที่อยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบ

          1.  อำเภอเมืองบึงกาฬ
          2.  อำเภอปากคาด
          3.  อำเภอศรีวิไล
          4.  อำเภอบุ่งคล้า
          5.  อำเภอพรเจริญ
          6.  อำเภอบึงโขงหลง
          7.  อำเภอเซกา
          8.  อำเภอโซ่พิสัย

   สถานีตำรวจภูธรที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบ 

          1.  สถานีตำรวจภธรเมืองบึงกาฬ
          2.  สถานีตำรวจภูธรปากคาด
          3.  สถานีตำรวจภูธรหอคำ
          4.  สถานีตำรวจภูธรบุ่งคล้า
          5.  สถานีตำรวจภูธรศรีวิไล
          6.  สถานีตำรวจภูธรเซกา
          7.  สถานีตำรวจภธรบึงโขงหลง
          8.  สถานีตำรวจภธรพรเจริญ
          9.  สถานีตำรวจภธรโซ่พิสัย
          10.สถานีตำรวจภธรดอนหญ้านาง
          11.สถานีตำรวจภธรโลกก่าม
          12.สถานีตำรวจภูธรป่งไฮ
          13.สถานีตำรวจภูธรเหล่าหลวง

ผังกระบวนงาน

 อำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบดำเนินการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท

           ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานอัยการ พ.ศ. 2555 ข้อ 6 และ ข้อ 7  กำหนดอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบดำเนินการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทดังนี้
           ในต่างจังหวัด การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทคดีอาญาในความผิดต่อส่วนตัว  ให้สำนักงานอัยการจังหวัดในท้องที่ที่พนักงานสอบสวนส่งสำนวนมามีหน้าที่รับผิดชอบ
           สำหรับการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทคดีอาญาในความผิดต่อส่วนตัวที่พนักงานสอบสวนในท้องที่ที่รับผิดชอบส่งสำนวนมาใหสำนักงานอัยการคดีศาลแขวง  หรือสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดที่มีท้องที่ที่เดียวกันกับสำนักงานอัยการจังหวัดตั้งอยู่ ณ ตัวจังหวัด  หรือสำนักงานอัยการจังหวัดที่ตั้งอยู่ ณ ตัวอำเภอใด  ให้สำนักงานอัยการจังหวัดที่ตั้งอยู่ ณ ตัวจังหวัด หรือสำนักงานอัยการจังหวัดที่ตั้งอยู่ ณ ตัวอำเภอนั้น  แล้วแต่กรณี  เป็นผู้รับผิดชอบ (ดูระเบียบฯ ข้อ 7 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง)
           นั่นหมายความว่า  ในสำนักงานอัยการจังหวัดที่มีอัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุดรับผิดชอบงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนประจำจังหวัด (อจ.สคช.) ประจำอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานอัยการจังหวัด ณ ที่ตั้งตัวจังหวัด หรือสำนักงานอัยการจังหวัด ณ ที่ตั้งตัวอำเภอ  ให้เป็นหน้าที่รับผิดชอบของ อจ.สคช. ซึ่ง อจ.สคช. เมื่อได้รับหนังสือแจ้งตามแบบ ปน.1 ท้ายระเบียบฯ  ไม่ว่าจะเป็นคดีอาญาที่พนักงานสอบสวนส่งสำนวนมายังสำนักงานอัยการจังหวัด  หรือสำนักงานอัยการคดีศาลแขวง  หรือสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัด  แล้วแต่กรณี  ลงสารบบประนอมข้อพิพาท  และดำเนินการมอบหมายพนักงานอัยการคนหนึ่ง  หรือหลายคนที่รับผิดชอบงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนเป็นเจ้าของเรื่องรับผิดชอบ  ซึ่ง อจ.สคช. อาจมอบหมายให้ตนเองเป็นผู้รับผิดชอบ  หรือมอบหมายให้ตนเองร่วมกับรองอัยการจังหวัดรับผิดชอบงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนประจำจังหวัด (รอง อจ.สคช.) หรือมอบหมายให้รอง อจ.สคช. เป็นเจ้าของเรื่องรับผิดชอบก็ได้ (ดูระเบียบฯข้อ 10 วรรคหนึ่ง)
           ส่วนกรณีสำนักงานอัยการจังหวัดใดไม่มี อจ.สคช. ประจำอยู่  ให้อัยการจังหวัดนั้นมอบหมายพนักงานอัยการซึ่งมิใช่ผู้รับผิดชอบในการดำเนินคดีอาญาเรื่องนั้น  เป็นพนักงานอัยการเจ้าของเรื่องดำเนินการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท
           การปฏิบัติตนของพนักงานอัยการเจ้าของเรื่องผู้รับผิดชอบดำเนินการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท  ตามระเบียบฯ ข้อ 6 กำหนดว่า “การไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทพนักงานอัยการเจ้าของเรื่องจะต้องกระทำด้วยความเที่ยงธรรมและเป็นกลาง  และต้องไม่กระทำการใดเพื่อเป็นการจูงใจ  ให้คำมั่นสัญญา  ขู่เข็ญ  หลอกลวง  หรือโดยมิชอบประการอื่น  เพื่อให้คู่กรณียินยอมในการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท”
           การไกล่เกลี่ยในคดีอาญาที่มิใช่คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว  หรือในคดีอาญาที่มีทั้งความผิดต่อส่วนตัวและไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัวรวมกัน  ให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานอัยการเจ้าของเรื่องทำนองเดียวกันกับคดีความผิดต่อส่วนตัว (ตามระเบียบฯ ข้อ 25 และข้อ 10 วรรคหนึ่ง)

บทบาทสหวิชาชีพในการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว

           ในปัจจุบันการคุ้มครองเด็กและบุคคลในครอบครัว  ที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงมีพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546  และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550  เป็นกฎหมายหลักที่ใชับังคับ  โดยมีมาตรการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด  และมีมาตรการคุ้มครองเด็กและบุคคลในครอบครัว  เป็นเครื่องมือหรือกลไกที่สำคัญ  และมีบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม  รวมทั้งสหวิชาชีพต่างๆ  เป็นผู้ขังเคลื่อนกลไกดังกล่าว
           ดังนั้น  เพื่อให้การดำเนินงานดานการคุ้มครองเด็กและบุคคลในครอบครัวให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว  บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมและในสหวิชาชีพที่มีบทบาทหน้าที่จะต้องทำงานร่วมกันให้ประสานสัมพันธ์กันและมีความเข้าในร่วมกันในการบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายดังกล่าวไปในแนวทางเดียวกัน  และต้องเข้าใจในบทบาทหน้าที่และแนวทางในการปฏิบัติงานของแต่ละกลไกในการคุ้มครองเด็กและบุคคลในครอบครัวที่ถูกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

            บทบาทพนักงานอัยการ
           นอกจากพนักงานอัยการจะมีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามกฎหมายที่มีโทษทางอาญา  รวมทั้งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 และในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 แล้ว ยังมีบทบาทในการสนับสนุนการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองเด็กและบุคคลในครอบครัวที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวอันเป็นภารกิจของสำนักงานอัยการสูงสุดในด้านการอำนวยความยุติธรรมและด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน  โดยพนักงานอัยการในสำนักงานอัยการต่างๆ  และสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน  ศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิเด็กและสถาบันครอบครัวที่มีอยู่ทั่วประเทศเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ทั้งในกระบวนการยุติธรรมและในกระบวนงานสหวิชาชีพให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของสำนักงานอัยการสูงสุด  ซึ่งบทบาทของพนักงานอัยการในการคุ้มครองเด็กและผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวจำแนกไดเป็นสามประการ  ดังนี้


           1.  บทบาทพนักงานอัยการในการดำเนินคดี
           ในคดีอาญา  พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ  ตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 14 (2)
           ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง  พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล  หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ  ราชการส่วนกลาง  หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล  หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการทั้งปวง  มีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ  ตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 14 (3)
           นอกจากจะมีหน้าที่ดำเนินคดีดังกล่าวมาแล้ว  พนักงานอัยการยังมีหน้าที่รับแก้ต่างในคดีแพ่ง  คดีปกครอง  หรือคดีอาญา  ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่กดี  หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐ  ซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย  หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการ  เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้  ตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 (4)
           ในการดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550  พนักงานอัยการมีอำนาจตรวจพิจารณาาและสั่งการในสำนวนการสอบสวนที่มีการยอมความ  หรือการถอนคำร้องทุกข์  ในความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัวตามมาตรา 4  ให้เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 12 วรรคสอง

           2.  บทบาทพนักงานอัยการในการสนับสนุนการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองเด็กและบุคคลในครอบครัว
           พนักงานอัยการในฐานะสหวิชาชีพมีบทบาทหน้าที่ในการสนับสนุนการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองเด็กและบุคคลในครอบครัวที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว  ให้การสนับสนุนการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวชั่วคราวระหว่างการสอบสวน  หรือระหว่างการพิจารณาคดี  ตามมาตรา 10 และมาตรา 11  โดยพนักงานอัยการอาจประสานงานกันกับพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่กำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวในระหว่างการสอบสวนตามมาตรา 10 หรือ อาจช่วยทำคำต้องขอหรือช่วยยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราว  ในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีตามมาตรา 11 หากปรากฏข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่าผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวจะถูกผู้กระทำด้วยความรุนแรงซ้ำอีก  ให้การสนันสนุนในการไกล่เกลี่ยประนีประนอมให้คู่กรณีในการกระทำความรุนแรงในครอบครัวได้ยอมความกันโดยมุ่งถึงความสงบสุขและการอยู่รวมกันในครอบครัวเป็นสำคัญ  โดยยึดหลักการและวิธีการตามมาตรา 12 และมาตรา 15

 ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553  มาตรา 172  ได้กำหนดให้เป็นบทบาทของพนักงานอัยการในการร้องทุกข์ขอคุ้มครองสวัสดิภาพต่อศาลเยาวชนและครอบครัวแทนผูถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวที่ไม่อยู่ในสภาพหรือวิสัยที่จะร้องขอต่อศาลได้เอง
           ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546  มาตรา 42  เป็นบทบาทของพนักงานอัยการในการยื่นคำร้องขอต่อศาลเยาวชนและครอบครัวขยายระยะเวลาคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก  ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเด็กไปสถานแรกรับ  สถานพัฒนาและฟื้นฟู  หรือสถานที่อื่นระหว่างการสืบเสาะและพินิจเพื่อหาวิธีคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่เหมาะสม จาก  7  วัน  เป็น  30  วัน
          พนักงานอัยการมีบทบาทในการยื่นคำร้องขอให้ศาลที่พิจารณาคดีออกคำสั่งคุ้มครองเด็กที่ถูกผู้ปกครองหรือญาติของเด็กกระทำทารุณกรรมระหว่างการดำเนินคดีกับผู้ปกครองหรือญาตินั้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546  มาตรา 43  วรรคหนึ่ง  หากปรากฏข้อเท็จจริงอันควรเชื่อว่าจำเลยจะกระทำทารุณกรรมแก่เด็กซ้ำอีก  แต่ในระหว่างที่ยังไม่มีการฟ้องคดีอาญา  หรือมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาแล้ว  มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าจะมีการกระทำทารุณกรรมแก่เด็กซ้ำอีก  ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ตามมาตรา 43 วรรคสอง  กำหนดให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ออกคำสั่งมิให้มีการกระทำดังกล่าวและกำหนดมาตรการคุมความประพฤติและเรียกประกันด้วยก็ได้  โดยหากมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเพื่อคุ้มครองเด็กมิให้ถูกระทำทารุณกรรมซ้ำอีก  พนักงานอัยการอาจยื่นคำร้องขอต่อศาลสั่งให้ตำรวจจับกุมผู้กระทำทารุณกรรมเด็กมากักขังไว้มีกำหนดครั้งละไม่เกินสามสิบวัน  ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546  มาตรา 43 วรรคสาม
          

           3.  บทบาทของพนักงานอัยการในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและการช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน
           ตามภารกิจของสำนักงานอัยการสูงสุด  พนักงานอัยการมีบทบาทและหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน  โดยสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน  และศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิเดกและสถาบันครอบครัว  สามารถดำเนินการช่วยเหลือคุ้มครองเด็กและผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว  ได้หลายประการ  เช่น
           –  ให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวและบุคคลในครอบครัว
           –  ให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่พนักงานเจ้าหน้าที่และสหวิชาชีพ  หน่วงานของรัฐและองค์กรเอกชน  ที่มีบทบาทหน้าที่ในการคุ้มครองเด็กและบุคคลในครอบครัวที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว  โดยอาจให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์  หรือเข้าร่วมประชุมกลุ่มสหวิชาชีพเพื่อปรึกษากำหนดแนวทางในการคุ้มครองสวัสดิการเด็กและครอบครัว
           –  ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเบื้องต้น  หรือให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอม  ในคดีฐานะกระทำความรุนแรงในครอบครัวที่ยอมความได้
           –  ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอคุ้มครองสิทธิของบุคคลในครอบครัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ  เช่น  การขอตั้งผู้ปกครอง  การขอถอนอำนาจผู้ปกครอง  การขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม  เป็นต้น
           –  เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน  ให้เข้าใจสาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกำระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550  และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
           –  จัดอบรมหรือเป็นวิทยากรอบรมความรู้ทางกฎหมายใหแก่กลุ่มบุคคลทั่วไป  นักเรียน  นักศึกษา  เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ  มูลนิธิภาคเอกชน  เครือข่ายชุมชน  สหวิชาชีพที่มีบทบาทหน้าที่ในการคุ้มครองเด็กและบุคคลในครอบครัวที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว

บุคลากร

ข้าราชการอัยการ

นางอุมาพร วังคำแหง
อัยการจังหวัดบึงกาฬ
นายภราดร สุวรรณชวลิต
อัยการจังหวัดประจำ
สำนักงานอัยการสูงสุด
ผู้กลั้นกรองงาน
ร.ต.อ.อมตะ ชนะพงษ์
อัยการจังหวัดประจำ
สำนักงานอัยการสูงสุด
ผู้กลั่นกรองงาน
นางสาวมินตา ศัลยพงษ์
อัยการจังหวัดประจำ
สำนักงานอัยการสูงสุด
ผู้กลั่นกรองงาน

นายสิรภพ จูฑะประชากุล
อัยการประจำกอง

น.ส.ศุภศิรินทร์ นิลกำแหง
อัยการประจำกอง
นางสาวรดา โอภาสพงศ์
อัยการประจำกอง

นายภูตะวัน ตรีเนตร
อัยการประจำกอง
นายชยากร แจ้งพันธุ์
อัยการประจำกอง
นายเจตจิรัสย์ รัตนติกุล
อัยการประจำกอง

ข้าราชการธุรการ

นางกัลยากร คำพิพากษ์ 
  นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
รักษาการผู้อำนวยการ

นายสุชาติ วงค์ถามาตร 
 เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน 

นายพงศ์ภัค บุญกองแก้ว
นิติกรชำนาญการ
นางสาวนริสา พันธ์กาฬสินธุ์
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
    นางสาวนภัสนันทร์ สินชนะ
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ  
นางสาวเพียงขวัญ แก้วทอง
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
น.ส.ยุวธิดา จั้นเขว้า 
 นักวิชาการเงินและบัญชี
ปฏิบัติการ
น.ส.กัญญาภัค เกษมสานต์
นักวิชาการเงินและบัญชี
ปฏิบัติการ  

นางสาวทอฝัน จิตธรรม
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวยุพิน  อ่ำนาเพียง  
นักวิชาการพัสดุปฎิบัติการ 
นางสาวชลพิชา สาสนาม
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
นายชาญวิทย์ บุตรสีทัด 
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
นายภากร ศรีราช
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
นายกฤติธี ทองดี
นิติกรปฏิบัติการ
น.ส.พาณิชย์ ชำนิยันต์
นิติกรปฏิบัติกสน

จ้างเหมาบริการ

นายวัชระ บุญเรืองจักร 
พนักงานขับรถยนต์  
นายบุญเลิศ  เครือสุวรรณ
คนสวน   
นางประพิณ  เครือสุวรรณ
แม่บ้าน
นายประสงค์ กิ่งพุทธพงษ์
อัยการศาลสูงจังหวัดบึงกาฬ
นางจิราพร ยางธิสาร
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
น.ส.สุนิตา ราคาลัม
นิติกรปฏิบัติการ

ทำเนียบผู้บริหาร

1.   นายไชยยงค์    เปรื่องเวทย์   ดำรงตำแหน่ง   15  มีนาคม  2537    ถึง    1  พฤษภาคม  2537

2.   นายพิทักษ์    อบสุวรรณ       ดำรงตำแหน่ง    2  พฤษภาคม  2537    ถึง   30  กันยายน  2538

3.   นายภานุพงษ์  โชติสิน     ดำรงตำแหน่ง    1  ตุลาคม  2538   ถึง   30 กันยายน  2539

4.   ร้อยเอกศานิตย์    ธรรมอาภา    ดำรงตำแหน่ง    1  ตุลาคม  2539   ถึง   30  เมษายน  2541

5.   นายสมชาย    ยุววิทยาพานิช    ดำรงตำแหน่ง   1  พฤษภาคม  2541    ถึง    3  พฤษภาคม  2542

6.   นายจารุพงศ์    วรรณโกวิท    ดำรงตำแหน่ง   4  พฤษภาคม  2542    ถึง   30  เมษายน  2543

7.   นายบัญชา    ลามศรีจันทร์     ดำรงตำแหน่ง    1  พฤษภาคม  2543    ถึง   30  เมษายน  2544

8.   นายศิริพงษ์    เพชรอุบล   ดำรงตำแหน่ง   1  พฤษภาคม  2544   ถึง   7  พฤษภาคม  2545

9.   นายยืนยง    ศรีวิเศษ    ตำรงตำแหน่ง   8  พฤษภาคม  2545    ถึง   27  เมษายน  2546

10. นายเจริญเดช    ศัลยพงษ์    ดำรงตำแหน่ง    28  เมษายน  2546   ถึง   2  พฤษภาคม  2547

11. นายวิษณุรักษ์    กล้าหาญ    ดำรงตำแหน่ง    3  พฤษภาคม  2547   ถึง    3  เมษายน  2548

12. นายปริญเดช    ศิริพานิช    ดำรงตำแหน่ง    4  เมษายน  2548    ถึง   30  เมษายน  2549

13. นายทินกร  วิเศษสุข    ดำรงตำแหน่ง   1  พฤษภาคม  2549  ถึง    1  เมษายน  2550

14. นายดิเรก    อิ้งจะนิล   ดำรงตำแหน่ง    2  เมษายน  2550    ถึง   30  มีนาคม  2551

15. นายประสาน    ผาณิตมาส    ดำรงตำแหน่ง    1  เมษายน  2551    ถึง   30  มีนาคม  2552

16. นายกมลาสน์    สุทธิธารณ์นฤภัย   ดำรงตำแหน่ง    1  เมษายน  2552    ถึง   30  มีนาคม  2553

17. นายพินิจ    เกิดผล    ดำรงตำแหน่ง    1  เมษายน  2553    ถึง   31  มีนาคม  2554

18. นายไชยโย  วรยศอำไพ   ดำรงตำแหน่ง    1  เมษายน  2554    ถึง   31  มีนาคม  2555

19. นายนรชัย  วรนุช   ดำรงตำแหน่ง    2  เมษายน  2555    ถึง   31 มีนาคม 2559

20. นายวีระพงษ์  ศิริ  ดำรงตำแหน่ง 1 เมษายน 2559

21. นายนรชัย วรนุช

22.นายวีระพงษ์ อุมุ

23.ร.ต.อ.ชาญ เทียบทองวัฒนา

24. ร.ต.อ.มนตรี ทุมนัส

25. น.ส.วรรณภา วรโรจน์พลาธิป 2 เม.ย.64-30 มีนาคม 66

26. นางอุมาพร วังคำแหง 1 เมย 66-ปัจจุบัน

สถิติคดี

ประเภทคดีปี  พ.ศ.2565ปี  พ.ศ.2566
ข้อมูล ณ วันที่ 18 ธันวาคม 2566
 
 หมายเหตุ
ส.11,7331478 
ส.4 วาจา 39321815  
ส.2125 162 
ส.2 ก.107 
ส.39121 
ส.5 
ส.5ก 
ทรมาน1011 
     

เอกสารเผยแพร่

ติดต่อหน่วยงาน

           ช่องทางติดต่อด้วยตนเอง หรือส่งเอกสารไปรษณีย์

           สำนักงานอัยการจังหวัดบึงกาฬ
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัดบึงกาฬ
ที่อยู่  369  หมู่ที่  1  ถนนบึงกาฬ – นครพนม  ตำบลบึงกาฬ 
อำเภอเมืองบึงกาฬ  จังหวัดบึงกาฬ 
รหัสไปรษณีย์  38000 

           ช่องทางติดต่อทางโทรศัพท์

           สำนักงานอัยการจังหวัดบึงกาฬ  สถานที่ตั้งสำนักงาน (ชั้น 2)
           สำนักอำนวยการ (ติดต่อสอบถาม)  0-4249-1827  ต่อ  10
           ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ  0-4249-1827  ต่อ  11
           ห้องเจ้าหน้าที่การเงิน  0-4249-1827  ต่อ  13
           ห้องเจ้าหน้าที่พัสดุ  0-4249-1827  ต่อ  14
           ห้องเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล  0-4249-1827  ต่อ 12
           โทรสาร  042491828

  ช่องทางติดต่อทางอิเล็กทรอนิกส์

เว็บไซต์ : www.bk.ago.go.th
e-mail  :  bk@ago.go.th

แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานอัยการจังหวัดบึงกาฬพอสังเขป