สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยนางสาวคุณิตา อัญชนานันท์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ได้รับมอบหมายจากอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ นำคณะข้าราชการในสำนักงานเข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายราชกุศล และพิธีถวายลงนามถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ในช่วงเช้า ณ หอประชุมศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ และในช่วงเย็น นายวิรัตน์ วรรณวิสูตร อัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์บำเพ็ญกุศล ถวายพระพร แด่พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ ณ วัดกลาง พระอารามหลวง จังหวัดกาฬสินธุ์

วันอังคารที่ 2 เมษายน 2567 สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ นำโดย นายวิรัตน์ วรรณวิสูตร อัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ นำคณะข้าราชการอัยการและธุรการร่วมพิธีทำบุญตักบาตร พิธีถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร ทรงเจริญพระชนมายุ 69 พรรรษา ณ หอประชุมจังหวัดกาฬสินธุ์

สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยนางสาวอุบลรักษ์ ศิริกุล แสบงบาล อัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ นำคณะข้าราชการอัยการ ข้าราชการธุรการ เข้าร่วมพิธีะิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล พิธีวางพานพุ่มดอกไม้และถวายราชสดุดี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เนื่องในวันยุทธหัตถี ณ หอประชุมจังหวัดกาฬสินธุ์ ศูนย์ราชการจังหวัดกาฬสินธุ์

วันที่ 17 มกราคม 2567 สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยนางสาวอุบลรักษ์ ศิริกุล แสบงบาล อัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ นำคณะข้าราชการในสำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมพิธีสวดพระพุทธมนต์และพิธีทำบุญตักบาตพระภิกษุ สามเณร จำนวน 60 รูป และวางพานพุ่มเพื่อถวายพระราชกุศลและถวายราชสดุดีแด่พ่อขุนตามคำแหงมหาราช ณ หอประชุมจังหวัดกาฬสินธุ์ ศูนย์ราชการจังหวัดกาฬสินธุ์

วันอาิทตย์ที่ 14 มกราคม 2567 สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยนางสาวอุบลรักษ์ ศิริกุล แสบงบาล อัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ นายสุนทร เสียงหวาน อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และส่วนงานนิติการ สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมให้คำปรึกษาทางกฎหมายและช่วยดำเนินการไกล่เกลี่ยหนี้ให้แก่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ในกิจกรรม “ตลาดนัดแก้หนี้” จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นการ Kick off ตามข้อสั่งการของ นายกรัฐมนตรี เพื่อเปิดพื้นที่ในการไกล่เกลี่ยหนี้นอกระบบให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์

สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยนางสาวอุบลรักษ์ ศิริกุล แสบงบาล อัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ นำคณะข้าราชการอัยการและข้าราชการธุรการร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีถวายพระพรชัยมงคงเนื่องในวันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ณ หอประชุมจังหวัดกาฬสินธุ์ ศูนย์ราชการจังหวัดกาฬสินธุ์

นางสาวอุบลรักษ์ ศิริกุล แสบงบาล อัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ นำคณะอัยการและข้าราชการในสำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 89 รูป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2566 และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อพสกนิกรชาวไทยและชาวจังหวัดกาฬสินธุ์

เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 6 สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยนางสาวอุบลรักษ์ ศิริกุล แสบงบาล อัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ นำคณะข้าราชการในสังกัด ร่วมพิธีสวดพระพุทธมนต์และพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศลเจริญพุทธมน ณ บริเวณหน้าศาลากลางหลงเก่า จังหวัดกาฬสินธุ์

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2566 คณะข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมพิธีวางพวงมาลา แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า รัชการที่ 5 ณ ลานหน้าศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ (หลังเก่า) เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณทั้งในการปกครองบ้านเมือง และพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า ประชาชนชาวไทยจึงพร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญานามพระองค์ “พระปิยมหาราช” อันมีความหมายว่า “พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน”

วันที่ 13 ตุลาคม 2566 นางสาวอุบลรักษ์ ศิริกุล แสบงบาล อัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ นำคณะข้าราชการสำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีวางพวงมาลา ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต 13 ตุลาคม 2566 เพื่อน้อมรำลึกถึง พระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชา อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ จัดกิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย โดยมีนางสาวอุบลรักษ์ ศิริกุล แสบงบาล เป็นประธานการจัดกิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย และแสดงออกถึงความภาคภูมิในของความเป็นไทย

นางสาวอุบลรักษ์ ศิริกุล แสบงบาล อัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ จัดให้มีพิธีทำบุญตักบาตรสำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ (ครั้งที่ 2) โดยนำคณะข้าราชการอัยการ ข้าราชการธุรการ และบุคคลากรในสำนักงาน ทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 25 รูป ถวายปัจจัยร่วมสร้างทานบารมี และร่วมทำบุญแด่ “พระโพธิญาณมุนี” หรือหลวงพ่อเมือง พลวฑฺโฒ  เจ้าอาวาสวัดป่ามัชฌิมวาส บ.ดงเมือง ต.ลำพาน อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ ทั้งนี้เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุคคลากรตามแนวทางตามหลักพุทธธรรมที่เหมาะสม

จังหวัดกาฬสินธุ์ จัดโครงการทำบุญวันพระ เข้าวัดปฏิบัติธรรมโดยจัดต่อเนื่องในทุกวันพระของเดือน โดยสำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ได้สนับสนุนและร่วมมือการจัดกิจกรรมดังกล่าวเป็นอย่างดี โดยนางสาวอุบลรักษ์ ศิริกุล แสบงบาล อัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการ พุทธศาสนิกชน ร่วมกันทำบุญตามโครงการเข้าวัดวันธรรมสวนะ “ครอบครัวหิ้วตะกร้า ศรัทธาอิ่มบุญ อุดหนุนชุมชน” ประจำปี 2566

นางสาวอุบลรักษ์ ศิริกุล แสบงบาล อัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมพิธีสงฆ์และวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระรูปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซึ่งวันที่ 7 สิงหาคมของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ผู้ทรงได้รับการยกย่องให้เป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นนักนิติศาสตร์ และทรงวางระบบแบบแผน ศาลยุติธรรม รวมถึงทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยอันเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งแก่ประเทศชาติ 

เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์บดินทรเทพยวรางกูร วันที่ 28 กรกฎาคม 2566 นางสาวอุบลรักษ์ ศิริกุล แสบงบาล อัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ นำคณะอัยการและข้าราชการสำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมพิธีตักบาตร วางพานพุ่มหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดี ความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อันนำไปสู่ความตั้งมั่นแน่วแน่ในการปฏิบัติตนเป็นข้าราชการที่ดี และธำรงตนเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน สร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่แผ่นดิน และดำเนินชีวิตโดยยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนแห่งศาสนา ตามแนวทางในพระบรมราโชวาทตลอดไป

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติสำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์

                           สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๘   โดยมีหลวงประจวบคดี เป็นอัยการจังหวัดคนแรกเดิมสำนักงานตั้งอยู่ในอาคารศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ มีห้องทำงานอยู่ ๒ ห้อง ต่อมาปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๓๙   สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ได้รับเงินงบประมาณก่อสร้างอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์พร้อมบ้านพักข้าราชการระดับ ๗ – ๘ จำนวน ๓ หลัง (ทดแทนหลังเดิม) และสิ่งก่อสร้างประกอบเป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น ๒๒,๘๖๓,๐๐๐๐ บาท  โดยปลูกสร้างบนที่ดินราชพัสดุ  แปลงหมายเลขทะเบียน กส ๕๙๕ ที่ตั้ง (เดิม)  ถนนภิรมย์ (ปัจจุบัน)  เลขที่ ๒๘/๒  ถนนสุรินทร์  ตำบลกาฬสินธุ์  อำเภอเมืองกาฬสินธุ์  จังหวัดกาฬสินธุ์  รหัสไปรษรณีย์ ๔๖๐๐๐  เนื้อที่ ๓ ไร่  ๑ งาน  ๗๔ ตารางวา  อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์  เป็นอาคาร ๒ ชั้น ขนาด ๑,๓๖๘ ลูกบาศก์เมตร เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ฝาก่ออิฐฉาบปูน พื้นหินขัด บน ล่าง หลังคาทรงไทย มุงกระเบื้องลอนคู่ ก่อสร้างเสร็จ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐ และในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๐ ได้เปิดทำการที่อาคารหลังใหม่ ปัจจุบันมีข้าราชการฝ่ายอัยการ และบุคลากร ปฏิบัติงานประจำอยู่ ๔ สำนักงาน คือ สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาฬสินธุ์  สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดกาฬสินธุ์ และสำนักงานคดีศาลสูงจังหวัดกาฬสินธุ์

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด มีดังนี้

          (มาตรา ๒๓) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชากร เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

  •           (๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
  •           (๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
  •           (๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
  •           (๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
  •           (๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
  •           (๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้ารการฝ่ายอัยการ
  •           (๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
  •           (๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
  •           (๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด

          ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด มีดังนี้

          (มาตรา ๒๗)  ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

  •           (๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
  •           (๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ
  •           (๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสุดของสำนักงานอัยการสูงสุด
  •           ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้

          ให้อัยการสูงสุดโอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ มีดังนี้

          มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำจานและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

  •           (๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
  •           (๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
  •           (๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
  •           (๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนี่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
  •           (๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
  •           (๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
  •           (๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาก ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
  •           (๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
  •           (๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
  •           (๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
  •           (๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด

          ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้

          พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.

:: กฎหมายองค์กรอัยการตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

สถานีตำรวจท้องที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของสำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ มีอยู่  ๒๓ ที่

  •   ๑.  สถานีตำรวจภูธรเมืองกาฬสินธุ์
  •   ๒.  สถานีตำรวจภูธรยางตลาด
  •   ๓.  สถานีตำรวจภูธรนากุง
  •   ๔.  สถานีตำรวจภูธรโนนสูง
  •   ๕.  สถานีตำรวจภูธรห้วยเม็ก
  •   ๖.  สถานีตำรวจภูธรหนองกุงศรี
  •   ๗.  สถานีตำรวจภูธรท่าคันโท
  •   ๘.  สถานีตำรวจภูธรสหัสขันธ์
  •   ๙.  สถานีตำรวจภูธรลำปาว
  •  ๑๐.  สถานีตำรวจภูธรนามน
  •  ๑๑.  สถานีตำรวจภูธรสมเด็จ
  •  ๑๒.  สถานีตำรวจภูธรแซงบาดาล
  •  ๑๓.  สถานีตำรวจภูธรห้วยผึ้ง
  •  ๑๔.  สถานีตำรวจภูธรนาคู
  •  ๑๕.  สถานีตำรวจภูธรเขาวง
  •  ๑๖.  สถานีตำรวจภูธรกุฉินารายณ์
  •  ๑๗.  สถานีตำรวจภูธรบ้านหนองเม็ก
  •  ๑๘.  สถานีตำรวจภูธรดอนจาน
  •  ๑๙.  สถานีตำรวจภูธรร่องคำ
  •  ๒๐.  สถานีตำรวจภูธรกมลาไสย
  •  ๒๑.  สถานีตำรวจภูธรฆ้องชัย
  •  ๒๒.  สถานีตำรวจภูธรคำม่วง
  •  ๒๓.  สถานีตำรวจภูธรสามชัย

บุคลากร

  • 1. หลวงประจวบคดี พ.ศ.2458 – 2476
  • 2. หลวงสิน ปุราภา พ.ศ.2477 – 2481
  • 3. นายสวงค์ บุณยโยธิน พ.ศ.2481 – 2485
  • 4. นายทวี พฤกษะวัน พ.ศ.2485 – 2488
  • 5. นายสุวรรณ สุริยภูมิ พ.ศ.2488 – 2491
  • 6. นายสรรค์ อินทรงสุด พ.ศ.2491 – 2492
  • 7. นายเลิศ จุฬารัตน์ พ.ศ.2492 – 2500
  • 8. นายจุ้ย ประเสริฐวณิช พ.ศ.2500 – 2501
  • 9. นายเสริม มังกรดิน พ.ศ.2501 – 2512
  • 10. นายประภัสร์ กฤษณะพันธ์ พ.ศ.2512 – 2518
  • 11. นายประคอง รังศาสตร์ พ.ศ.2518 – 2520
  • 12. นายไสว จงกล พ.ศ.2520 – 2521
  • 13. นายธนะวุฒิ เกียรติสารพิภพ พ.ศ.2521 – 2523
  • 14. นายอุดมสุข เจนวิริยะ พ.ศ.2523 – 2524
  • 15. นายสมบูรณ์ ศุภอักษร พ.ศ.2521 – 2525
  • 16. นายประพนธ์ นัยโกวิท พ.ศ.2525 – 2526
  • 17. นายสุธน แสงสายันห์ พ.ศ.2526 –2528
  • 18. นายปฏิภาณ จินารัตน์ พ.ศ.2528- 2529
  • 19. ร้อยโทวาสิฎฐ์ บุษยรัตน์ พ.ศ.2529 – 2531
  • 20. นายพรชัย ดีเสมอ พ.ศ.2531 – 2533
  • 21. นายชุษณะ อำพันแสง พ.ศ.2533 – 2536
  • 22. นายวิชิต อินศร พ.ศ.2536 – 2537
  • 23. นายสิทธิศักดิ์ กุลวิทิต พ.ศ.2537 – 2538
  • 24. นายมีชัย โชติตระกูล พ.ศ.2538 – 2538
  • 25. นายสุทธิ รังสรรค์อนันต์ พ.ศ.2538 – 2539
  • 26. นายภาณุรัตน์ โง่นคำ พ.ศ.2539 – 2541
  • 27. นายอนันต์ นัดวิไล พ.ศ.2541 – 2542
  • 28. นายสุพงษ์ หาญชนะ พ.ศ.2542 – 2542
  • 29. นายบัญชา สามศรีจันทร์ พ.ศ.2542- 2543
  • 30. นายอนันต์ ฟ้ารุ่งสาง พ.ศ.2543 – 2544
  • 31. นายสุทธิ ผ่องอ่อน พ.ศ.2544 – 2545
  • 32. นายวาทิน ศรีตระกูล พ.ศ.2545 – 2546
  • 33. นายยืนยง ศรีวิเศษ พ.ศ.2546 – 2547
  • 34. นายสัญญา ไพเราะ พ.ศ.2547 – 2548
  • 35. นายพงษ์ศักดิ์ วิริยะพาณิชย์ พ.ศ.2548 – 2550
  • 36. นายศิริพงษ์ เหลืองวงศ์ไพศาล พ.ศ.2550 – 2551
  • 37. นางกฤตยา เหลืองวงศ์ไพศาล พ.ศ.2551 – 2552
  • 38. นายทรงวุฒิ รัตนากร พ.ศ.2552 –2553
  • 39. นายเถลิงเกียรติ บุญมาศ พ.ศ.2553 –2553
  • 40. นายประวุฒิ แพร่ชินวงศ์ พ.ศ.2554 – 2554
  • 41. นายวิษณุ หาญนัทธี พ.ศ.2555 –2556
  • 42. นายเถลิงศักดิ์ แสบงบาล พ.ศ.2556 –2559
  • 43. นายรัชดา จุฬารี พ.ศ.2559 – 2561
  • 44. ร.ต.อ.อิทธิศักดิ์ วชิระพิภัทร์กุล พ.ศ.2561 – 2562
  • 45. นางสาวนฤมล วิเชียรแสน พ.ศ.2562–2563
  • 46. นายพิทักษ์ คำวชิรพิทักษ์ พ.ศ.2563-2564
  • 47. นายฦาชา วัฒนเนติกุล พ.ศ.2564 – 2565
  • 48. นายราชันย์ เติมผล พ.ศ.2565 – 2566
  • 48 นางสาวอุบลรักษ์ ศิริกุล แสบงบาล พ.ศ. 2566 – 2567
  • 49 นายวิรัตน์ วรรณวิสูตร พ.ศ.2567 – ปัจจุบัน

สถิติงานคดีสำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์
28/2  ถนนสุรินทร์  ตำบลกาฬสินธุ์
อำเภอเมืองกาฬสินธุ์  จังหวัดกาฬสินธุ์
รหัสไปรษณีย์  46000
โทร.043-811571 โทรสาร. 043-815559
Email : kalasin@ago.go.th