ข่าวประชาสัมพันธ์

ความเคลื่อนไหวในการดำเนินกิจกรรมของสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาฬสินธุ์

อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร รายละเอียดปรากฎ


อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาฬสินธุ์ ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล
และพิธีถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

” เราทำความดี ด้วยหัวใจ”
ทาสี ทางม้าลาย
กิจกรรมการแข่งขันเปตองอัยการกาฬสินธุ์คัพ ครั้งที่ 2 ปี 2564
โครงการตาม แผนส่งเสริมคุณธรรม สำนักงาน ปีงบประมาณ 2565
เดือน มิถุนายน 2564 เรือโทเชาวเลิศ ประสพสันต์ พร้อมด้วยท่านอัยการ ได้ส่งมอบความห่วงใย ให้กับข้าราชการและบุคลากรสำนักงานฯ ประกันชีวิต(โควิด-19)

เกี่ยวกับองค์กร

ประวัติความเป็นมา

       โดยพระราชบัญญัติกฤษฎีกากำหนดเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในจังหวัดกาฬสินธุ์ ฯลฯ พ.ศ.๒๕๔๘  โดยมาตรา  ๓ ให้เปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ฯลฯ ตั้งแต่วันที่  ๙  มกราคม  ๒๕๔๙  เป็นต้นไป  ปัจจุบัน ชื่อ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาฬสินธุ์

       สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาฬสินธุ์เปิดเมื่อวันที่ ๙  มกราคม  ๒๕๔๙

       ปัจจุบันมีเขตพื้นที่รับผิดชอบในการดำเนินคดีในท้องที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 23 สถานี คือ

สถานีตำรวจภูธรเมืองกาฬสินธุ์สถานีตำรวจภูธรนามน
สถานีตำรวจภูธรยางตลาดสถานีตำรวจภูธรสมเด็จ
สถานีตำรวจภูธรกมลาไสยสถานีตำรวจภูธรนาคู
สถานีตำรวจภูธรหนองกุงศรีสถานีตำรวจภูธรสามชัย
สถานีตำรวจภูธรท่าคันโทสถานีตำรวจภูธรฆ้องชัย
สถานีตำรวจภูธรสหัสขันธ์สถานีตำรวจภูธรดอนจาน
สถานีตำรวจภูธรคำม่วงสถานีตำรวจภูธรโนนสูง
แยกออกจากสถานีตำรวจภูธรยางตลาด
สถานีตำรวจภูธรร่องคำสถานีตำรวจภูธรนากุง
แยกออกจากสถานีตำรวจภูธรยางตลาด
สถานีตำรวจภูธรห้วยผึ้งสถานีตำรวจภูธรแซงบาดาล
แยกออกจากสถานีตำรวจภูธรสมเด็จ
สถานีตำรวจภูธรเขาวงสถานีตำรวจภูธรบ้านหนองเม็ก
แยกออกจากสถานีตำรวจภูธรกุฉินารายณ์
สถานีตำรวจภูธรกุฉินารายณ์สถานีตำรวจภูธรลำปาว
แยกออกจากสถานีตำรวจภูธรเมืองกาฬสินธุ์
สถานีตำรวจภูธรห้วยเม็ก

อำนาจหน้าที่

บทบาทของอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวในการอำนวยความยุติธรรมและคุ้มครองสิทธิแก่ประชาชน

                      อัยการ หมายถึง   
                      (๑)    องค์กรอัยการ ซึ่งได้แก่ สำนักงานอัยการสูงสุด และหน่วยงานในสังกัด

                      (๒)    พนักงานอัยการ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๕, พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๕๓ และมีฐานะเป็นข้าราชการอัยการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ.๒๕๕๓ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีอาญาคดีแพ่ง คดีปกครอง และคุ้มครองสิทธิของประชาชนตามที่กฎหมายกำหนด

                     อัยการคดีเยาวชนและครอบครัว
                     หมายถึง สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัว และพนักงานอัยการหรือข้าราชการอัยการ ผู้ซึ่งอัยการสูงสุดในฐานะของผู้บังคับบัญชาขององค์กรอัยการได้แต่งตั้งให้เป็นทนายแผ่นดินประจำศาล เยาวชนและครอบครัวในแต่ละศาล ตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๕๓  ตามมาตรา ๑๑ ประกอบพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว  พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๑๐๑

                   อำนาจหน้าที่ที่สำคัญของอัยการคดีเยาวชนและครอบครัว

         ๑)      ดำเนินคดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดและจะต้องฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัว ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
                       ๏ การควบคุมกำกับการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานสอบสวนตามที่กฎหมายกำหนด
                       ๏ การพิจารณาสั่งคดีอาญา
                       ๏ การเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาเด็กหรือเยาวชนผู้กระทำผิดต่อศาลในนามของแผ่นดินหรือราชอาณาจักรไทย และมีอำนาจดำเนินคดีอาญาในความรับผิดชอบตลอดทั้งในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
                       ๏ การควบคุมกำกับการใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญาของผู้อำนวยการสถานพินิจ

         ๒)      ดำเนินคดีอาญาแก่บุคคลที่กระทำผิดในข้อหาที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดให้อำนาจพิจารณาพิพากษาอยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว เช่น
                       ๏ ความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖
                       ๏ ความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๐ (มาตรา ๘ วรรคสอง) เฉพาะกรณีเป็นความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัว เป็นกรรมเดียวกับความผิดตามกฎหมายอื่นที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัว เช่น ความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัวเป็นกรรมเดียวกับฐานทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๙๑

         ๓)      ดำเนินคดีคุ้มครองสวัสดิภาพแทนผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว
                       ๏ กรณีผู้ถูกกระทำความรุนแรงไม่อยู่ในสภาพหรือวิสัยที่จะร้องขอได้เอง เพื่อขอให้ศาลเยาวชนและครอบครัวออกคำสั่งกำหนดมาตรการ หรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวแก่ผู้ถูกกระทำฯ ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๑๗๒
    ๔)      ยื่นคำร้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ ต่อศาลเยาวชนและครอบครัว

                  ๏ เพื่อมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุมประพฤติบุคคลซึ่งเป็นผู้ปกครองหรือญาติของเด็กกรณีมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าผู้ปกครองหรือญาติของเด็กจะกระทำทารุณกรรมแก่เด็กอีก ไม่ว่าจะได้มีการฟ้องคดีอาญานั้นแล้วหรือไม่ ตามมาตรา ๔๓
                   ๏ เพื่อมีคำสั่งขยายเวลาการสืบเสาะและพินิจเพื่อหาวิธีการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กที่เหมาะสมระหว่างการส่งตัวเด็กไปยังสถานแรกรับ สถานพัฒนาและฟื้นฟู ตามมาตรา ๔๒
      ๕)      ดำเนินคดีแพ่งเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของอัยการ และมีลักษณะเป็นคดีครอบครัว อันอยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ เช่น
                   ๏ การฟ้องคดีแทนเด็กที่ปฏิเสธความเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชาย (ปพพ. มาตรา ๑๕๔๕)
                   ๏ การฟ้องคดีแทนบุตรบุญธรรมเกี่ยวกับการขอเลิกรับบุตรบุญธรรม (ปพพ. มาตรา ๑๕๙๘/๓๕)
                   ๏ การร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้มีการอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรม (ปพพ. มาตรา ๑๕๙๘/๒๑,๑๕๙๘/๒๒, ๑๕๙๘/๒๓)
                   ๏ การร้องขอให้ศาลถอนผู้ปกครอง (ปพพ. มาตรา ๑๕๙๘/๙)
                   ๏ การร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ (ปพพ. มาตรา ๑๔๙๖)
                   ๏ การร้องขอให้ศาลตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็กในคดีฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตร ในกรณีไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือมีแต่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ (ปพพ. มาตรา ๑๕๕๖) ๏ ….ฯลฯ ….

การดำเนินการของพนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวตามมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา ชั้นก่อนฟ้อง 

มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา คืออะไร

          คือ เป็นการแก้ไขเด็กหรือเยาวชนที่กระทำผิด ให้มีโอกาสกลับตนเป็นคนดี โดยไม่ต้องฟ้องต่อศาลโดยพนักงานอัยการใช้อำนาจสั่งไม่ฟ้อง คำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการเป็นที่สุด และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับ 

หลักเกณฑ์คดีมาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา

๑.      คดีที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดอาญา ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูง ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน ๕ ปี ไม่ว่าจะมีโทษปรับด้วยหรือไม่ก็ตาม

๒.      เด็กหรือเยาวชนนั้น ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

๓.      เด็กหรือเยาวชนสำนึกในความผิดก่อนฟ้องคดี

๔.      ผู้อำนวยการสถานพินิจพิจารณาเห็นว่า เด็กหรือเยาวชนนั้น อาจกลับตนเป็นคนดี

การดำเนินการของพนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัว

          เมื่อผู้อำนวยการสถานพินิจเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นอาจกลับตนเป็นคนดีโดยไม่ต้องและเด็กหรือเยาวชนและผู้เสียหายยินยอม ผู้อำนวยการสถานพินิจจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู โดยเชิญฝ่ายเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิด ฝ่ายผู้เสียหายและนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์เข้าร่วมประชุมรวมทั้งพนักงานอัยการด้วยก็ได้ เพื่อจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟู เสนอพนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวเห็นชอบด้วยกับแผนฯ นั้น ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๘๖ – มาตรา ๘๘ โดยเมื่อผู้อำนวยการสถานพินิจรายงานให้พนักงานอัยการทราบ กรณีมีการปฏิบัติการครบถ้วนตามแผนแล้ว หากพนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวเห็นชอบให้มีอำนาจสั่งไม่ฟ้องเด็กหรือเยาวชนนั้น

วิสัยทัศน์ (Vision)

“เป็นองค์กรแห่งความยุติธรรมของสังคมเพื่อความมั่นคงของชาติและความผาสุกของประชาชน”

พันธกิจ (Missions)
  1. อำนวยความยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส พึ่งพิงได้บนพื้นฐานของความเสมอภาค
  2. รักษาผลประโยชน์ของรัฐ เพื่อประโยชน์สาธารณะและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
  3. รับรู้ ดูแล แก้ปัญหาในการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และเป็นที่พึ่งของประชาชนในด้านกฎหมาย
  4. พัฒนาศักยภาพองค์กรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกบนฐานความเชี่ยวชาญ

ค่านิยมร่วม “PUBLIC”

•P : People First      ประชาชนมาที่หนึ่ง
•U : Uprightness      เป็นที่พึ่งความยุติธรรม
•B : Betterment      คิดและทำเพื่อพัฒนา
•L : Lawfulness      รักษากฎหมายด้วยเหตุผล
•I : Integrity      ประพฤติตนซื่อสัตย์และโปร่งใส
•C : Collaboration      ร่วมมือร่วมใจสู่เป้าหมาย

โครงสร้าง (Structure)

วัฒนธรรมองค์กร

แผนผังกระบวนงาน

นโยบายของอัยการสูงสุด

บุคลากร

ทำเนียบผู้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาฬสินธุ์

ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2549

ลำดับที่ชื่อ-นามสกุลระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่…ถึง… (วัน เดือน ปี)
1นายพงษ์ศักด์  วิริยะพาณิชย์9 มกราคม 2549 – 30  เมษายน 2549
2นายรมย์  บุญมี1 พฤษภาคม 2549 – 30 มีนาคม 2550
3นายนพเดช  ตระกูลดิษฐ์2 เมษายน  2550 – 31 มีนาคม 2551
4นางกุสุมา  เมฆเมฆา1 เมษายน 2551 – 31 มีนาคม 2553
5นางประภา  พัทนาอารยา1 เมษายน 2553 – 31 มีนาคม 2554
6นางสาวปัทมา  ตันติวงศ์วัฒน์1 เมษายน 2554 – 31 มีนาคม 2555
7นายนิพนธ์  ทิพย์ไกรศร2 เมษายน 2555 – 29 มีนาคม 2556
8นายสายัน  จันทะรัง1 เมษายน 2556 – 30 มีนาคม 2558
9นายเจษฎา  เขียวชัย1 เมษายน 2558 – 31 มีนาคม 2559
10ร้อยตำรวจเอก อิทธิศักดิ์  วชิระพิภัทร์กุล1 เมษายน 2559 – 31 มีนาคม  2561
11นางสาวนฤมล  วิเชียรแสน2 เมษายน 2561 – 31 มีนาคม 2562
12นางวันเพ็ญ  ขุนทอง1 เมษายน 2562 – 31 มีนาคม 2563
13นายวรวิทย์  รัตนากร1 เมษายน 2563 – 31 มีนาคม 2564
14เรือโท เชาวเลิศ  ประสพสันต์1 เมษายน 2564 – 31 มีนาคม 2565
15นายพงศ์ธร  คุณชะ1 เมษายน 2565 – 31 มีนาคม 2566
16นางสาววรวรรณ  วงศ์ปัญญา1 เมษายน 2566 – 31 มีนาคม 2567
17นางสาวจิรภัทร  ปานเกษม1 เมษายน 2567 – ปัจจุบัน

สถิติคดี

ประเภท 2549255025512552255325542555255625572558
ส.๑528455518502435375377380386341
ส.๑ ฟ9168020417423845246027989
ส.๒28393218322221201816
ส.๒ ก1009121684036156778377371371
ส.๕ ก711101171235
ส.๖5464553543
ส.๗2112310
รวม5771534186415801015121093612451064820
ตั้งแต่ เปิดสำนักงานฯ 9 มกราคม 2549

ประเภท2559256025612562256325642565256625672568
ส.๑ 317 313 315371 352 256 196 164  
ส.๑ คร21 – 1 1 1 – 7  
ส.๑ ฟ29 44 31 31 44 42 4 –  
ส.๒ 12 13 219 13 7 10 10  
ส.๒ ก 570 254 264 106 333 422 43(8) –  
ส.๕ ก – – – – – – – –  
ส.๖ 4 32 2 2 1 – 3(คร.2)=5  
ส.๗ 1 1 1 – – – 1 –  
ส.4วาจา3 3 6 1 – – –  
 ส.๒ คร – 1 – 2 – 2 – –  
รวม933631637 528750731254186
ส.มาตรการพิเศษ 225746 22 50 54  
คส. –3 1 – 2 –  
รวมทุกประเภท933631 659588 793 753 560 240  
ณ 11/01/2567
ข้อมูล การรับสำนวนประจำปี 2567 ของสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาฬสินธุ์
ป/ดม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ครวม
ส.1+(คร.)10+311160000000
ส.21130000000
ส.2ก.0000000000
ส.1 ฟ.0000000000
มพ.3500000000
คส.0000000000
ส.4 วาจา (คด.)0000000000
ส.60000000000
ส.70000000000
รวม/เรื่อง171719
ข้อมูลการรับสำนวนปี 2567 รายเดือน สรุป ณ วันที่ 01/04/2567
ประเภท
สำนวนปรากฎผู้ต้องหาที่ส่งตัวมาส.๑
สำนวนคดีฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดส.๑ ฟ
สำนวนปรากฎผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา (เว้นแต่คดีเปรียบเทียบ)ส.๒
สำนวนปรากฎผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา (เฉพาะคดีเปรียบเทียบ)ส.๒ ก
สำนสวนคดีอาญาที่แก้ต่างส.๕ ก
สารบบอุทธรณ์ส.๖
สารบบฎีกาส.๗
ความรุนแรงในครอบครัวคร.
คุ้มครองเด็กคด
สารบบคดีมาตรการพิเศษมพ.
คุ้มครองสวัสดิภาพคส.

เอกสารเผยแพร่

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาฬสินธุ์
ตั้งอยู่ในอาคาร สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์
ชั้น 1 ด้านซ้ายมือ เลขที่ 28/2 ถนนสุรินทร์ ตำบลกาฬสินธุ์
อำเภอเมืองกาฬสินธุ์   จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000
โทรศัพท์ 4381 5119 โทรสาร : 0 4381 5101 IP Phone : –
E-mail: kalasin-ju@ago.go.th

สแกน คิวอาร์โค้ด
แผนที่ตั้ง สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์

1. การดำเนินคดีผู้ต้องหากับมาตรการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด อส.0007(พก)/ว 441 ลว. 27 ธันวาคม 2562
2. การตรวจสำนวนคดี (พนักงานอัยการ หัวหน้างานธุรการตรวจเอกสารก่อนยื่นคำฟ้อง) ที่ มท 1203/ ว 103 ลว 18 ธันวาคม 2527
3. การลงชื่อในหนังสือราชการ ที่ มท 1001/ว.13 ลว 15 มีนาคม 2520
4. ให้สำนักงานเปิดทำการในวันหยุดงานหรือนอกเวลาทำการปกติในวันท่มีการเปิดทำการศาลและการเบิกจ่ายค่าตอบแทนพิเศษการปฏิบัติงงาน ที่ อส 000(คก)/465 ลว 7 ธันวาคม 2550
5. ซักซ้อมการเบิกจ่ายแนวทางปฏิบัติและการเบิกจ่ายค่าตอบแทนเกี่ยวกับการซันสูตรพลิกศพและการคุ้มครองเด็กในคีดศาลอาญานอกเวลาราชการ ที่ อส0006(งป)/ว 158 ลว. 10 เมษายน 2563
6. การเบิกจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ที่ อส 0063(กค)/ว.433 ลว. 17 พฤศจิกายน 2563
7. แนวทางปฏิบัติและการเบิกจ่ายค่าตอบแทนเกี่ยวกับการชันสูตรพลิกศพและคุ้มครองเด็กในคดีอาญาฯ ตามระเบียบที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2563 ที่ อส 0034/ว.475 ลว 24 ธันวาคม 2563
8. ข้อหารือเวรชันสูตร ลว. 24 เมษายน 2564
9. แนวทางปฏิบัติในการเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้างประจำ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน เงินค่าตอบแทนอื่น และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ 0063(กค)/ ว.482 ลว 25 ธันวาคม 2563
10. ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ ที่ อส 0004(กจท)/ว 237 ลว 22 สิงหาคม 2554

ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด
ว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2555
ว่าด้วยพนักงานราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564
ว่าด้วยการให้ข่าวและบริการข่าวสาร พ.ศ. 2564
ว่าด้วยสารบบคดีอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2561
ว่าด้วยค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2554
ว่าด้วยค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563
ว่าด้วยค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564
ว่าด้วยค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564
อื่นๆ
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ .2565 มีผลบังคับใช้ 1 มิถุนายน 2565
การเก็บเอกสารราชการและทำลายหนังสือราชการ ตามหนังสือ อส0001.1/ว112 ลว 14 มีนาคม 2526

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาฬสินธฺุ์ (ตั้งอยู่ชั้นล่างปีกซ้ายของตัวอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ )
28/2 ถนนสุรินทร์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46000 โทร/โทรสาร. 0-4381-5101
E-mail :  kalasin-ju@ago.go.th