เกี่ยวกับสำนักงาน
ประวัติสำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์
สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๘ โดยมีหลวงประจวบคดี เป็นอัยการจังหวัดคนแรกเดิมสำนักงานตั้งอยู่ในอาคารศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ มีห้องทำงานอยู่ ๒ ห้อง ต่อมาปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๓๙ สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ได้รับเงินงบประมาณก่อสร้างอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์พร้อมบ้านพักข้าราชการระดับ ๗ – ๘ จำนวน ๓ หลัง (ทดแทนหลังเดิม) และสิ่งก่อสร้างประกอบเป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น ๒๒,๘๖๓,๐๐๐๐ บาท โดยปลูกสร้างบนที่ดินราชพัสดุ แปลงหมายเลขทะเบียน กส ๕๙๕ ที่ตั้ง (เดิม) ถนนภิรมย์ (ปัจจุบัน) เลขที่ ๒๘/๒ ถนนสุรินทร์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ รหัสไปรษรณีย์ ๔๖๐๐๐ เนื้อที่ ๓ ไร่ ๑ งาน ๗๔ ตารางวา อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นอาคาร ๒ ชั้น ขนาด ๑,๓๖๘ ลูกบาศก์เมตร เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ฝาก่ออิฐฉาบปูน พื้นหินขัด บน ล่าง หลังคาทรงไทย มุงกระเบื้องลอนคู่ ก่อสร้างเสร็จ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐ และในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๐ ได้เปิดทำการที่อาคารหลังใหม่ ปัจจุบันมีข้าราชการฝ่ายอัยการ และบุคลากร ปฏิบัติงานประจำอยู่ ๔ สำนักงาน คือ สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดกาฬสินธุ์ และสำนักงานคดีศาลสูงจังหวัดกาฬสินธุ์

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด มีดังนี้
(มาตรา ๒๓) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชากร เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
- (๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
- (๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
- (๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
- (๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
- (๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
- (๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้ารการฝ่ายอัยการ
- (๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
- (๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
- (๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด
ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด มีดังนี้
(มาตรา ๒๗) ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
- (๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
- (๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ
- (๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสุดของสำนักงานอัยการสูงสุด
- ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้
ให้อัยการสูงสุดโอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด
อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ มีดังนี้
มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำจานและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
- (๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
- (๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
- (๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
- (๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนี่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
- (๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
- (๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
- (๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาก ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
- (๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
- (๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
- (๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
- (๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.
:: กฎหมายองค์กรอัยการตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550
วิสัยทัศน์ (Vision)
“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”
พันธกิจ (Missions)
1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โครงสร้าง (Structure)

วัฒนธรรมองค์กร


สถานีตำรวจท้องที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของสำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ มีอยู่ ๒๓ ที่
- ๑. สถานีตำรวจภูธรเมืองกาฬสินธุ์
- ๒. สถานีตำรวจภูธรยางตลาด
- ๓. สถานีตำรวจภูธรนากุง
- ๔. สถานีตำรวจภูธรโนนสูง
- ๕. สถานีตำรวจภูธรห้วยเม็ก
- ๖. สถานีตำรวจภูธรหนองกุงศรี
- ๗. สถานีตำรวจภูธรท่าคันโท
- ๘. สถานีตำรวจภูธรสหัสขันธ์
- ๙. สถานีตำรวจภูธรลำปาว
- ๑๐. สถานีตำรวจภูธรนามน
- ๑๑. สถานีตำรวจภูธรสมเด็จ
- ๑๒. สถานีตำรวจภูธรแซงบาดาล
- ๑๓. สถานีตำรวจภูธรห้วยผึ้ง
- ๑๔. สถานีตำรวจภูธรนาคู
- ๑๕. สถานีตำรวจภูธรเขาวง
- ๑๖. สถานีตำรวจภูธรกุฉินารายณ์
- ๑๗. สถานีตำรวจภูธรบ้านหนองเม็ก
- ๑๘. สถานีตำรวจภูธรดอนจาน
- ๑๙. สถานีตำรวจภูธรร่องคำ
- ๒๐. สถานีตำรวจภูธรกมลาไสย
- ๒๑. สถานีตำรวจภูธรฆ้องชัย
- ๒๒. สถานีตำรวจภูธรคำม่วง
- ๒๓. สถานีตำรวจภูธรสามชัย
บุคลากร
- 1. หลวงประจวบคดี พ.ศ.2458 – 2476
- 2. หลวงสิน ปุราภา พ.ศ.2477 – 2481
- 3. นายสวงค์ บุณยโยธิน พ.ศ.2481 – 2485
- 4. นายทวี พฤกษะวัน พ.ศ.2485 – 2488
- 5. นายสุวรรณ สุริยภูมิ พ.ศ.2488 – 2491
- 6. นายสรรค์ อินทรงสุด พ.ศ.2491 – 2492
- 7. นายเลิศ จุฬารัตน์ พ.ศ.2492 – 2500
- 8. นายจุ้ย ประเสริฐวณิช พ.ศ.2500 – 2501
- 9. นายเสริม มังกรดิน พ.ศ.2501 – 2512
- 10. นายประภัสร์ กฤษณะพันธ์ พ.ศ.2512 – 2518
- 11. นายประคอง รังศาสตร์ พ.ศ.2518 – 2520
- 12. นายไสว จงกล พ.ศ.2520 – 2521
- 13. นายธนะวุฒิ เกียรติสารพิภพ พ.ศ.2521 – 2523
- 14. นายอุดมสุข เจนวิริยะ พ.ศ.2523 – 2524
- 15. นายสมบูรณ์ ศุภอักษร พ.ศ.2521 – 2525
- 16. นายประพนธ์ นัยโกวิท พ.ศ.2525 – 2526
- 17. นายสุธน แสงสายันห์ พ.ศ.2526 –2528
- 18. นายปฏิภาณ จินารัตน์ พ.ศ.2528- 2529
- 19. ร้อยโทวาสิฎฐ์ บุษยรัตน์ พ.ศ.2529 – 2531
- 20. นายพรชัย ดีเสมอ พ.ศ.2531 – 2533
- 21. นายชุษณะ อำพันแสง พ.ศ.2533 – 2536
- 22. นายวิชิต อินศร พ.ศ.2536 – 2537
- 23. นายสิทธิศักดิ์ กุลวิทิต พ.ศ.2537 – 2538
- 24. นายมีชัย โชติตระกูล พ.ศ.2538 – 2538
- 25. นายสุทธิ รังสรรค์อนันต์ พ.ศ.2538 – 2539
- 26. นายภาณุรัตน์ โง่นคำ พ.ศ.2539 – 2541
- 27. นายอนันต์ นัดวิไล พ.ศ.2541 – 2542
- 28. นายสุพงษ์ หาญชนะ พ.ศ.2542 – 2542
- 29. นายบัญชา สามศรีจันทร์ พ.ศ.2542- 2543
- 30. นายอนันต์ ฟ้ารุ่งสาง พ.ศ.2543 – 2544
- 31. นายสุทธิ ผ่องอ่อน พ.ศ.2544 – 2545
- 32. นายวาทิน ศรีตระกูล พ.ศ.2545 – 2546
- 33. นายยืนยง ศรีวิเศษ พ.ศ.2546 – 2547
- 34. นายสัญญา ไพเราะ พ.ศ.2547 – 2548
- 35. นายพงษ์ศักดิ์ วิริยะพาณิชย์ พ.ศ.2548 – 2550
- 36. นายศิริพงษ์ เหลืองวงศ์ไพศาล พ.ศ.2550 – 2551
- 37. นางกฤตยา เหลืองวงศ์ไพศาล พ.ศ.2551 – 2552
- 38. นายทรงวุฒิ รัตนากร พ.ศ.2552 –2553
- 39. นายเถลิงเกียรติ บุญมาศ พ.ศ.2553 –2553
- 40. นายประวุฒิ แพร่ชินวงศ์ พ.ศ.2554 – 2554
- 41. นายวิษณุ หาญนัทธี พ.ศ.2555 –2556
- 42. นายเถลิงศักดิ์ แสบงบาล พ.ศ.2556 –2559
- 43. นายรัชดา จุฬารี พ.ศ.2559 – 2561
- 44. ร.ต.อ.อิทธิศักดิ์ วชิระพิภัทร์กุล พ.ศ.2561 – 2562
- 45. นางสาวนฤมล วิเชียรแสน พ.ศ.2562–2563
- 46. นายพิทักษ์ คำวชิรพิทักษ์ พ.ศ.2563-2564
- 47. นายฦาชา วัฒนเนติกุล พ.ศ.2564 – 2565
- 48. นายราชันย์ เติมผล พ.ศ.2565 – ปัจจุบัน










สถิติงานคดีสำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์

ติดต่อหน่วยงาน
สำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์
28/2 ถนนสุรินทร์ ตำบลกาฬสินธุ์
อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
รหัสไปรษณีย์ 46000
โทร.043-811571 โทรสาร. 043-815559
Email : kalasin@ago.go.th
