นายชัยกองพล วงศ์สุเมธ อัยการจังหวัดผู้ช่วย สำนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่น พร้อมคณะ เข้าร่วมงานพิธีรำลึกถึง ฯพณฯ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในวันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม 2566 ณ บริเวณอนุสาวรีย์ ฯพณฯ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ สวนรัชดานุสรณ์

ประกาศสำนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่น

เกี่ยวกับสำนักงาน

  ความหมายของคำว่า อัยการ ตามรูปศัพท์

    คำว่า “อัยการ” ได้ปรากฎพบตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาในกฎมนเฑียรบาล รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถตรา
    ไว้เมื่อวันเสาร์ เดือนห้า ขึ้นหกค่ำ ” จุลศักราช 720( พ.ศ. 1901) ว่า “..จึงต้องพระราชอาญาอัยการ ทหาร พ่อเรือน
    ชายหญิง สมณพรหมณ์จารย์..”ศัพท์ครั้งแรกที่พบเขียนว่า “อัยการ” แต่ต่อมามีการเขียนแตกต่างกันออกไป จนกระทั่ง
    มาคงอยู่ ในรูปศัพท์ “อัยการ”ในปัจจุบัน เช่นคำพระราชปรารภในกฎหมายตราสามดวงและข้อความในลักษณะพระธรรมสาตร
    ใช้คำว่า ” พระไอยการ” ในหนังสืออัยการนิเทศเล่ม 1-2 พ.ศ. 2478 – 2479 ใช้คำว่า “อัยยการนิเทศ”
    ในหนังสือบรรยายประวัติศาสตร์กฎหมายของหลวงสุทธิวาทนฤพุฒิ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2512 มีหลายแห่งใช้คำว่า
    “พระอายการ” เช่น พระอายการลักษณะเบ็ดเสร็จ พิจารณาตามรูปศัพท์ของคำว่า “อัยการ”จะเห็นได้จากปทานุกรมกระทรวง
    ธรรมการ พ.ศ. 2470 ว่า การเขียนในสมัยนั้น ได้ใช้ตัวอักษรว่า “อัยยการ” คือมีตัว อักษร “ย” เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งตัว
    ซึ่งพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ ประพันธ์ ทรงอธิบายว่าการที่เขียน “อัยยการ” ก็เพิ่งเขียนขึ้นเมื่อออกปทานุกรม
    ฉบับนี้เองแต่ก่อนไม่เคยเห็นเขียนเช่นนั้น ครั้นต่อมา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย สถาน พ.ศ. 2493 ได้กลับใช้คำว่า “อัยการ”
    เมื่อยกศัพท์ว่า “อัย” หรือ “อัยย” ซึ่งเป็นคำบาลี แปลว่าผู้เป็นเจ้าผู้เป็นใหญ่นาย”คำว่า”การ”คืองานหรือหน้าที่ฉะนั้นคำว่า
    “อัยการ”ตามความหมายของการแยกศัพท์ก็คืองานของผู้เป็นเจ้านาย หรืองานของผู้เป็นใหญ่แต่ความหมาย
    ในปทานุกรมหรือพจนานุกรมได้ผิดแผกออกไป คือ หมายความว่าชื่อกรมหนึ่งซึ่งมีหน้าที่ฟ้องความแผ่นดิน หรือเจ้าหน้าที่ในกรมนั้น

    คำว่า “อัยการ” ตามรูปกฎหมาย

    การค้นหาที่มาของคำว่า “อัยการ” ตามกฎหมายเก่า เสด็จพระเจ้าวรวงค์ เธอ ซึ่งได้กล่าวพระนามข้างต้นนั้นได้ทรงยก
    พระราชปรารภในประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ 1 และในลักษณะพระธรรมสาตร ขึ้นพิจารณาดังนี้

    ในพระราชปรารภในประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 มีความว่า “แลฝ่ายข้าง อาณาจักร กสัตรผู้จะครองแผ่นดินนั้นอาศัย
    ซึ่งโบราณราชนิติกฎหมาย พระอายการ อันกสัตร แต่ก่อนบัญญัติไว้ให้เป็นบรรทัดฐานจึงพิพากษา ตราสินเนื้อความ
    ราษฎรทั้งปวงได้โดยยุติธรรม และพระราชกำหนดบท พระอายการนั้น ก็ฟั่นเฟือนวิปริตผิดซ้ำต่างกันไปเป็นอันมาก
    จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดข้าทูลอองฯ ที่มีสติปัญญาได้ 11 คน ชำระพระราช กำหนดบทพระอายการอันมีอยู่ใน
    หอหลวง ตั้งแต่พระธรรมสาตรไปให้ถูกถ้วนตามบาลีเนื้อความผิดมิให้ผิดเพี้ยน..”

    ในพระธรรมสาตรมีความว่า “อันสาขาคดีนั้น คือ ลักษณะพระราชกำหนดบทพระอายการ และพระราชบัญญัติซึ่งจัดเป็น
    พระราชสาตรทั้งปวง อันโบราณราชกสัตรทรงพระอุตสาหะพิจารณาคำนึง ตามพระ คำภีร์พระธรรมสาตร แล้วมี
    พระราชบัญญัติดัดแปลงตกแต่งตั้งเป็น พระราชกำหนดบทพระอายการไว้โดยมาตราเป็นอันมากทุก ๆ ลำดับ
    กสัตรมาตราบเท่าทุกวันนี้” พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์นั้นได้ทรงวินิจฉัยว่า ตามที่ปรากฎคำว่า “อายการ” อยู่ในที่ 2 แห่งนี้
    ก็พอจะเห็น ความหมายของคำว่า “อัยการ” ได้แล้ว กล่าวคือ พระราชกำหนดบทพระอายการได้แก่ราชสาตรหรือบทกฎหมายที่กสัตร
    ได้ทรงกำหนดขึ้นตามหลักฎหมายในพระธรรมสาตร คำว่า “พระอายการ” ตามที่ได้ทรงยกขึ้นเป็นตัวอย่างที่ 4 แห่งข้างต้นนั้น
    ตัวพิมพ์ในกฎหมายเก่า 2 เล่มของหมอบลัดเล ใช้คำว่า พระไอยการ และคำว่า พระไอยการ นี้
    ยังมีการเขียนปรากฏอยู่ในกฎหมายเก่าอีกหลายบท เช่น ในกฎมณเฑียรบาลใช้คำว่า ” กำหนดพระราชกฤษฎีกา ไอยการ
    พระราชกุมาร พระราชนัดดา ฝ่ายพระราชกุมารเกิดด้วยพระอัครมเหษี คือ สมเด็จหน่อ พระพุทธเจ้าอันเกิดด้วยแม่หยัวเมือง
    เป็นพระมหาอุปราชเกิดด้วย ลูกหลวงกินเมืองเอก เกิดด้วยหลานกินเมืองโท
    เกิดด้วยพระสนม เป็นพระเยาวราช”เป็นต้น ความหมายแห่งคำว่า ” ไอยการ” ตามความที่ใช้ในกฎมณเฑียรบาลนี้
    หลวงอรรถไกวัลวที อธิบายว่า หมายความถึง ทำเนียบหรือ หน้าที่สำหรับปฏิบัติและถ้าจะได้ศึกษากฎมณเฑียรบาลโดยตลอด
    จะเห็นได้ว่า ในกฎมณเฑียรบาลมีความกล่าวถึงหน้าที่ของพนักงานต่าง ๆ ไว้เป็นอันมาก เช่น “… ห้ามแห่ แลขี่ม้า เข้ามาใน
    สนาม ไอยการขุนดาบห้าม ถ้าขุนดาบ มิได้ห้ามปรามไซร้ โทษขุนดาบสามประการ..” และนอกจากนี้ ตามกฎ มณเฑียรบาล
    ได้กล่าวถึงหน้าที่มหาดไทยความว่า “ไอยการ” ลูกขุน พ่อเรือน หมู่ไพร่พลทหาร โทษอาญา และช้างม้างา เชือก เรือ
    สังกัดกฎหมาย และหญ้า แล งาน ณรงคสงคราม ทั้งนี้ พนักงานมหาดไทย” ซึ่งพอจะเห็นความหมายของคำว่า “ไอยการ”
    ได้ว่า หมายถึง หน้าที่หรือการซึ่งจะต้อง ปฏิบัติหรือระเบียบปฏิบัติ พลตรีพรเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
    ทรงชี้แจงว่าเมื่อเห็น การเขียนสองรูปคือ “อายการ” และ “ไอยการ” แล้วก็เห็นได้ว่ามาจากคำว่า “อาย”
    หรือ ” ไอย” ซึ่งแปลว่า ทางไปหรือทางดำเนิน ทางปฏิบัติ” และตามตัวอย่างที่ปรากฎใน กฎมณเฑียรบาลที่ยกขึ้นกล่าวนั้น
    จะเห็นว่า “อัยการ” แปลว่า ” ทำเนียมปฏิบัติ หรือหน้าที่ปฏิบัติ คือ ไอย ก็ตรงกับคำว่าปฏิบัติ นั้นเอง หรือถ้า
    จะใช้อีกคำหนึ่งให้มีความหมายว่า การไป การดำเนิน เราก็มี คำว่า จารีต ซึ่งเมื่อรวมความหมายของคำว่า
    “อายการ” และ “ไอยการ” ซึ่ง ปรากฏในกฎหมายเก่าเป็นลำดับมานั้นแล้ว “พระราชกำหนดบทพระอายการ” จึงแปลว่า
    “พระราชกำหนดบทราชปฏิบัติหรือบันทัดฐานการปฏิบัติซึ่งกสัตรบัญญัติไว้”
    และในที่สุดคำว่า “อัยการ” จึงได้แก่ “กฎหมายซึ่งกสัตรบัญญัติตาม หลักพระธรรมสาตร และตามขนบธรรมเนียมประเพณี
    ซึ่งปฏิบัติกันมา แต่ยังไม่เป็นบันทัดฐานกสัตรบัญญัติขึ้นให้ เป็นบันทัดฐานสำหรับราษฎร และผู้ตัดสินความจะได้ถือปฏิบัติต่อไป”

        << อัยการไทยในปัจจุบัน >>

        ยุคสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานอิสระ

    การที่กรมอัยการได้สังกัดอยู่ในกระทรวงมหาดไทยมาตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2465 ได้ก่อให้เกิดปัญหาข้อขัดข้องหลายประการ
    นอกจากนั้น องค์กรอัยการในหลายประเทศได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เช่นเดียวกับ
    องค์กรตุลาการ ในเอเซีย เช่น พม่า อินเดีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ( จีนแดง) ในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา เช่น เมกซิโก
    เวเนซูเอลา เปรู ปานามา เอลซัลวาดอร์ โคลัมเบีย อิเวคดอร์ โดมินิกัน คิวบา ฯลฯ กลุ่มประเทศสังคมนิยม เช่น สหภาพโซเวียต
    (ก่อนแยกเป็นรัฐอิสระในปัจจุบัน) และประเทศกลุ่มบริวาร ของรัสเซีย ( เดิม) ยุโรป เช่น สวีเดน เป็นต้น ฯลฯ

    ดังนั้นคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ จึงได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 47
    และฉบับที่ 49 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2534 แยกกรมอัยการออกจากกระทรวงมหาดไทย ไปเป็นหน่วยงานราชการอิสระ
    ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีกระทรวงหรือทบวงใด อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ของนายกรัฐมนตรีโดยตรง โดยเปลี่ยนชื่อ
    จาก “ กรมอัยการ ” เป็น “ สำนักงานอัยการสูงสุด ” และเปลี่ยนชื่อตำแหน่ง “ อธิบดีกรมอัยการ ” และ “ รองอธิบดี”
    กรมอัยการ ” เป็น “ อัยการสูงสุด ” และ “ รองอัยการสูงสุด ” ตามลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุง
    ระบบการบริหารงานยุติธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับงานอัยการให้มีความเป็นอิสระเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ยิ่งขึ้น
    และเพื่อมิให้อิทธิพลทางการเมืองก้าวก่ายการดำเนินคดี ซึ่งจะทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชนโดยส่วนรวมยิ่งขึ้น

บทบาทและหน้าที่

ตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓

     กำหนดให้องค์กรอัยการประกอบด้วย ก.อ. อัยการสูงสุด, และพนักงานอัยการอื่น โดยมีสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานธุรการ

       สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นส่วนราชการที่มีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น และนิติบุคคล โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้แทนนิติบุคคล และให้ข้าราชการฝ่ายอัยการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด  มีดังนี้

           ๑.ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิ

และเสรีภาพของประชาชนและการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน

           ๒. ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ

           ๓. ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่

หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร

           ๔. ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐซึ่ง

พนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้

           ๕. ดำเนินการตามที่รัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัด

ต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ

           ๖.  ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ

           ๗. ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐ

และประชาชน

           ๘. ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่

ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด

           ๙. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงาน

อัยการสูงสุด

          ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้

สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญา

ให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ

ตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๔ มีดังนี้

           ๑. อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ

           ๒.ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตาม

กฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ

           ๓. ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตาม

รัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโคตุลาการทั้งปวง

กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงาน

อัยการ

           ๔. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี

หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้

สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็น

สมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้

           ๕. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการที่หน่วยงานของรัฐซึ่ง

มิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นเป็น

คู่กรณีและมิใช่กรณีที่พิพาทกับรัฐบาลหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับ

ว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้

           ๖. ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้

           ๗. ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตาม

คำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ

           ๘. ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา

ความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจาก

พนักงานอัยการ

           ๙. อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะ

รัฐมนตรี

           ๑๐. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ

           ๑๑. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่สำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจาก

อัยการสูงสุด

           ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตาร ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียก

บุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำโดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมก็ได้

           พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงาน

อัยการสูงสุดกำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.

บทบาทและหน้าที่

สำนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่น

โครงสร้างสำนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่นแบ่งออกเป็น

           ๑. ฝ่ายอัยการ

           ๒. ฝ่ายสำนักอำนวยการ

ฝ่ายอัยการ

พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีทั้งปวงในอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด ภายในเขตท้องที่ของสำนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดขอนแก่น ทั้งนี้ ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งว่าด้วยการนั้น

คดีอาญา

๑. รับผิดชอบการดำเนินคดีอาญา ที่มีอัตราโทษจำคุกเกิน ๓ ปี หรือปรับเกิน ๖๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

๒. เป็นทนายแก้ต่างให้เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือคดีที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการ

คดีแพ่ง 

๑. รับผิดชอบการดำเนินคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป

๒. คดีไม่มีทุนทรัพย์ เช่น คดีฟ้องขับไล่ เป็นต้น        

๓. รับว่าต่างแก้ต่างการดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการทั้งปวง

๔. รักษาสิทธิและผลประโยชน์ของรัฐ

ฝ่ายสำนักอำนวยการ

            มีหน้าที่รับผิดชอบงานสนับสนุนการดำเนินคดีและงานด้านบริหารงานทั่วไป

๑. งานธุรการ

๒. งานตรวจรับสำนวนคดี

๓. งานสารบบคดี

๔. งานการเงินและบัญชี

๕. งานพัสดุ

๖. งานแจ้งคำสั่ง

๗. งานแจ้งผลคดี

การปฏิบัติตัวเมื่อจะไปเป็นพยานศาล

            พยานศาลหรือพยานหมาย  คือ ผู้ที่ พนักงานอัยการโจทก์ จำเลย ขอให้ศาลมีหมายเรียกให้ไปศาลเพื่อเป็นพยาน โจทก์ หรือ พยานจำเลย และเบิกความในเรื่องที่ได้รู้ได้เห็น และเป็นข้อเท็จจริงในคดี

การส่งหมายเรียกพยาน

– คู่ความฝ่ายที่อ้างท่านเป็นพยานนำไปส่ง

– เจ้าพนักงานศาลนำไปส่ง

– เจ้าหน้าที่ตำรวจนำไปส่ง

เมื่อท่านได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล ควรปฏิบัติอย่างไร

            – ควรตรวจรายละเอียดในหมายเรียกเพื่อให้ทราบว่าศาลไหนเรียกให้ท่านไปเป็นพยานและท่านต้องไปเป็น

พยานโจทก์หรือพยานจำเลย ใน วัน เดือน ปี เวลา ใด

– หากมีข้อสงสัย ควรโทรสอบถามตามหมายเลขโทรศัพท์ของศาลที่ปรากฏอยู่ในหมายเรียก

– ควรเก็บหมายเรียกไว้ และนำไปศาล ในวันที่ศาลนัดสืบพยาน

การเตรียมตัวไปเป็นพยานศาล

           – ควรทบทวนเหตุการณ์ที่ท่านได้รู้ได้เห็นเกี่ยวกับคดีเพื่อจัดลำดับเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจเมื่อ

ไปเบิกความต่อศาลและหากเป็นคดีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเอกสารท่านควรติดต่อไปยังพนักงานอัยการโจทก์

การปฏิบัติตัวเมื่อไปเป็นพยานศาลในวันนัดสืบพยาน

           – นำหมายเรียกไปด้วย เพราะในหมายเรียกจะปรากฎหมายเลขคดี ชื่อโจทก์ ชื่อจำเลย ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูล

ในการติดต่อราชการกับศาลได้เป็นอย่างดี

           – ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ไม่ควรสวมรองเท้าแตะ ไม่ควรใส่กางเกงขาสั้น

           – ควรไปศาลก่อนเวลานัดสืบพยานไม่น้อยกว่า ๑ ชั่วโมง ในวันนัดสืบพยานจะทำให้ท่านมีเวลาพอที่จะติดต่อกับ

เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ศาลเพื่อสอบถามว่าคดีที่ท่านจะไปเป็นพยานตามหมายเรียกจะมีการสืบพยานที่ห้องพิจารณาคดีใด

หรืออาจตรวจหาห้องพิจารณาจากป้ายประกาศนัดความของศาลด้วยตนเองก็ได้

           – เมื่อทราบห้องพิจารณาแล้วกรุณาแจ้งกับเจ้าหน้าที่งานหน้าบัลลังก์ประจำห้องพิจารณานั้น ๆ ว่าท่านมาถึงศาลแล้ว

และนั่งรอในที่พักพยานที่ศาลจัดไว้

           – หากต้องรอเพื่อเบิกความเป็นเวลานานเกินไป กรุณาสอบถามเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ประจำห้องพิจารณาคดีนั้น

การปฏิบัติตัวเมื่ออยู่ในห้องพิจารณาในฐานะพยานศาล

           – เจ้าหน้าที่งานหน้าบัลลังก์ประจำห้องพิจารณาจะเรียกพยานเข้าห้องพิจารณาเมื่อฝ่ายโจทก์ฝ่ายจำเลยและพยานมา

พร้อมกันแล้วและเมื่อผู้พิพากษาปรากฏตัวบนบัลลังก์ขอให้ทุกคนในห้องพิจารณายืนขึ้นเพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อศาล

           – ก่อนที่จะเบิกความ เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์จะนำท่านเข้าประจำที่ที่เรียกว่าคอกพยาน จากนั้น ท่านจะต้องสาบานตน

ตามลัทธิศาสนาของท่านว่า จะให้การด้วยความสัตย์จริง โดยเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์จะเป็นผู้นำสาบานและท่านต้องกล่าวตาม

           – เมื่อสาบานตนเรียบร้อยแล้วขอให้ท่านนั่งลง และตอบคำถามที่ ผู้พิพากษา พนักงานอัยการโจทก์ หรือทนายจำเลย

ถามท่านด้วยความสัตย์จริงและใช้วาจาสุภาพ ควรใช้สรรพนามแทนตัวเองว่ากระผม หรือ ผม หรือดิฉัน หรือ ฉัน หากกล่าว

ถึงผู้พิพากษา ให้ใช้สรรพนามแทนผู้พิพากษาว่า ศาล หรือท่าน

           – ขอให้ท่านเบิกความเฉพาะเรื่องที่ท่านได้รู้ได้เห็นด้วยตัวของท่านเอง อย่าเบิกความในเรื่องที่ได้รับการบอกเล่าจาก

บุคคลอื่น เว้นแต่ศาลจะสั่ง

           – ขอให้เบิกความด้วยวาจา อย่าใช้วิธีการอ่านข้อความตามที่เขียนมา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษา หากไม่แน่ใจ

หรือจำไม่ได้ให้ตอบไปตรง ๆ ว่าไม่แน่ใจ หรือ จำไม่ได้

             – หากฟังคำถามไม่ชัดเจนท่านสามารถขอให้มีการทวนคำถามซ้ำอีกครั้งได้

            – เมื่อเบิกความเสร็จศาลจะอ่านทบทวนคำเบิกของท่านหากเห็นว่าคำเบิกความไม่ถูกต้องตรงกับที่ท่านเบิกความไว้

หรือไม่ครบถ้วน ขอให้แจ้งศาลให้ทราบทันที เพื่อที่จะได้แก้ไขให้ถูกต้องก่อนที่ท่านจะลงชื่อในคำเบิกความ

จะทำอย่างไรเมื่อมีการเลื่อนนัดสืบพยาน

        – หากศาลไม่สามารถสืบพยานในวันนัดตามหมายเรียกได้เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ประจำห้องพิจารณาจะให้ท่านลงชื่อ

รับทราบ วัน เวลานัดครั้งต่อไป โดยจะไม่มีการส่งหมายเรียกไปอีก ขอให้ท่านจำวันเวลา นัดดังกล่าว และกรุณาไปตามนัดด้วย

สิทธิในการรับค่ายานพาหนะและค่าป่วยการพยาน

           – ถ้าพยานไปศาลตามหมายเรียก หรือตามนัดของเจ้าหน้าที่ศาล พยานมีสิทธิได้รับค่ายานพาหนะและค่าป่วยการพยานตามระเบียบที่กำหนด

จะทำอย่างไรหากพยานไม่สามารถไปเป็นพยานศาลได้

           – หากเจ็บป่วยหรือมีเหตุขัดข้องจำเป็นไม่สามารถไปเป็นพยานศาลในวันนัดสืบพยานได้ ขอให้ท่านทำหนังสือแจ้ง

พนักงานอัยการโจทก์ หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เพื่อชี้แจงถึงเหตุผลความจำเป็น โดยทำเป็นหนังสือไปยื่นที่ศาลด้วยตัวเอง

หรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นนำไปยื่นแทนก็ได้แต่ต้องยื่นก่อนวันที่ศาลนัดสืบพยาน

           – ในระหว่างเดินทางไปศาล หากมีอุบัติเหตุหรือเหตุขัดข้องเกิดขึ้น ขอให้ท่านโทรศัพท์แจ้งศาลตามที่ปรากฎอยู่ใน

หมายเรียก

จะเกิดอะไรขึ้นหากพยานไม่ไปศาลตามหมายเรียก

           – เมื่อพยานได้รับหมายเรียกแล้วไม่ยอมไปศาลตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจออกหมายจับและกักขัง

ท่านไว้จนกว่าจะเบิกความเสร็จ และท่านอาจถูกฟ้องให้ต้องรับโทษทางอาญาจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือ ปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

สถิติคดี

เอกสารเผยแพร่

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่น
อาคารสำนักงานอัยการภาค ๔ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000
โทร 043-244972
043-234392 (กลุ่มงาน ส.1)
เบอร์โทรแจ้งชันสูตรพลิกศพ : 094-6480614
โทรสาร 043-234392
E-mail : kk@ago.go.th