ข่าวประชาสัมพันธ์

“มอบนโยบายให้กับ ผกก.รอง ผกก.หัวหน้างานสอบสวน และประสานความร่วมมือในการส่งสำนวนการสอบสวนคดีอาญาระหว่าง สอย.ขอนแก่นและ พงส.ทุก สภ.ในเขตพื้นที่ จ.ขอนแก่น”

ณ ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจภูธร จ.ขอนแก่น ๒๙ เมย.๖๗ เวลา ๑๔.oo-๑๕.oo น.

กิจกรรม”วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๗ วันพระนเรศวร

กิจกรรม”วันจักรี วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๗

กิจกรรม”วันสถาปนาองค์กรอัยการ ครบรอบ ๑๓๑ ปี วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๗

ณ สำนักงานอัยการภาค ๔ ในวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๗

กิจกรรม”ทำบุญตักบาตร วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๗

เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า

กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เกี่ยวกับสำนักงาน

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น ได้เปิดทำการเมื่อวันจันทร์ที่ ๙ มกราคม ๒๕๔๙ ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ๓)๒๕๔๘ และพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ในศาลจังหวัดกาฬสิน ศาลจังหวัดน่าน ศาลจังหวัดพัทลุง ศาลจังหวัดมุกดาหาร ศาลจังหวัดเลย ศาลจังหวัดสกลนคร ศาลจังหวัดสมุทรสงคราม ศาลจังหวัดหนองคาย ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ และศาลจังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. ๒๕๔๘ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒ ตอน ๑๐๑ ก. ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ โดยตั้งอยู่บริเวณชั้น ๑ ของสำนักงานอัยการภาค ๔

บทบาทและหน้าที่ตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓

กำหนดให้องค์กรอัยการประกอบด้วย ก.อ., อัยการสูงสุด, และพนักงานอัยการอื่น โดยมีสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานธุรการ

สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นส่วนราชการที่มีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น และเป็นนิติบุคคล โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้แทนนิติบุคคล และให้ข้าราชการฝ่ายอัยการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด มีดังนี้

  • (๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
  • (๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
  • (๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
  • (๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
  • (๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
  • (๖ ) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ
  • (๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
  • (๔) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
  • (๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด

ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๔ มีดังนี้

  • (๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
  • (๒) ในคตีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
  • (๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือ ในกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
  • (๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
  • (๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (“) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นเป็นคู่กรณีและมิใช่กรณีที่พิพาทกับรัฐบาลหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
  • (๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
  • (๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกด่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
  • (๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังดับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
  • (๙)อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ.ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
  • (๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
  • (๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด

ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำโดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้

พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.

บทบาทและหน้าที่พนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น

  • (๑) พิจารณารับผิดชอบการดำเนินคดีอาญาทั้งปวงเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนซึ่งอายุยังไม่ถึง ๑๘ ปีบริบูรณ์ ที่กระทำความผิดทางอาญาหรือความผิดที่มีโทษทางอาญาในอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ ภายในเขตท้องที่ของสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่นปัจจุบันมีทั้งสิ้น ๒๖ อำเภอ
  • (2) พิจารณารับผิดชอบการดำเนินคดีอาญากับบุคคลอายุเกิน ๑๔ ปี เฉพาะที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น เช่น ความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔’ , พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวพ.ศ. ๒๕๕๐
  • (๓) รับผิดชอบงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของเด็กและเยาวชน รวมทั้ง วิจัยและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น เป็นคณะกรรมการคุ้มครองเด็ก ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กพ.ศ. ๒๕๔๖
  • (๔) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวซ้อง หรือ ที่ได้รับมอบหมาย
ชื่อเบอร์โทรศัพท์แฟกซ์
สภ.กระนวน0-4325-13460-4325-1491
สภ.ชนบท0-4328-61570-4328-6157
สภ.ชุมแพ0-4331-11110-4331-1002
สภ.ซำสูง0-4321-90800-4321-9080
สภ.น้ำพอง0-4343-4443-40-4343-4443
สภ.บ้านฝาง0-4326-92000-4326-9200
สภ.บ้านแฮด0-4321-8197-80-4321-8197
สภ.บ้านไผ่0-4327-2713, 0-4327-2331, 0-430-4327-2351
สภ.พระยืน0-4326-60250-4326-6025
สภ.พล0-4341-40710-4341-4071
สภ.ภูผาม่าน0-4339-60810-4339-6081
สภ.ภูเวียง0-4329-1232-30-4329-1111
สภ.มัญจาคีรี0-4328-91360-4328-9540
สภ.สีชมพู0-4339-9080, 0-4339-90780-4339-9080
สภ.หนองนาคำ0-4321-61590-4321-6159
สภ.หนองสองห้อง0-4349-11290-4349-1129
สภ.หนองเรือ0-4329-41110-4329-4111
สภ.อุบลรัตน์0-4344-61250-4344-6125
สภ.เขาสวนกวาง0-4344-91070-4344-9107
สภ.เปือยน้อย0-4349-40400-4349-4040
สภ.เมืองขอนแก่น0-4322-1162, 0-4322-6557, 0-430-4322-7288
สภ.แวงน้อย0-4349-90550-4349-6125
สภ.แวงใหญ่0-4349-60430-4349-6318
สภ.โนนศิลา0-4328-11360-4328-1136
สภ.โคกโพธิ์ไชย0-4321-61590-4321-6159
สภ.เวียงเก่า0-4343-84520-4343-8452
วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

นโยบายที่ 1

“สังคม ประชาชน เชื่อมั่น”

นโยบายที่ 2

“บริหารทันสมัย”

นโยบายที่ 3

“บุคลากรมีคุณธรรม”

บุคลากร

ลำดับที่ชื่อ – สกุลระหว่างเดือน/ปี
  นางสมสุข   มีวุฒิสมม.ค.๒๕๓๕ – พ.ค.๒๕๓๕
  นางพวงเพชร  ดำรงค์มงคลกุลพ.ค ๒๕๓๕ – พ.ค.๒๕๓๖
  นายวิชัย  โกญจนาวรรณพ.ค.๒๕๓๖ – พ.ค.๒๕๓๗
  นายสุทธิ  ภู่เอี่ยมพ.ค.๒๕๓๗ – พ.ย.๒๕๓๗
  นายณัฐจักร  ปัทมสังห์ ณ อยุธยาพ.ย.๒๕๓๗ – พ.ค.๒๕๓๘
  นายศิริศักดิ์  อัครปรีดีพ.ค.๒๕๓๘ – พ.ย.๒๕๓๘
  ร.ต.สุทิน  สุขสุเดช (รักษาการแทน)พ.ย ๒๕๓๘ – พ.ค.๒๕๓๙
  นายกฤษฎา  สืบพงษ์พ.ค.๒๕๓๙ – ก.พ.๒๕๔๑
  นายกิตติ  แก้วทับทิม  (รักษาการแทน)ก.พ.๒๕๔๑ – เม.ย.๒๕๔๑
๑๐  นายวีระวัฒน์  เกรียงเกษมพ.ค.๒๕๔๑ – เม.ย.๒๕๔๒
๑๑  นายจักรชัย  อินทรวนิชพ.ค.๒๕๔๒ – เม.ย.๒๕๔๓
๑๒  นายฐาปนา  ใจกลมพ.ค.๒๕๔๓ – เม.ย.๒๕๔๔
๑๓  นายพยูง  เณรพลายพ.ค.๒๕๔๔ – เม.ย.๒๕๔๕
๑๔  นายสุหัส  ช.สรพงษ์พ.ค.๒๕๔๕ – เม.ย.๒๕๔๖
๑๕  นายสุพร  วัฒนวงศ์วรรณเม.ย.๒๕๔๖ – พ.ค.๒๕๔๗
๑๖  นายธำรงศักดิ์  หงษ์ขุนทดพ.ค.๒๕๔๗ – เม.ย.๒๕๔๘
๑๗  นายศิริพงษ์  เหลืองวงศ์ไพศาลเม.ย.๒๕๔๘ – เม.ย.๒๕๔๙
๑๘  นางกฤตยา  เหลืองวงศ์ไพศาลพ.ค.๒๕๔๙ – มี.ค.๒๕๕๐
๑๙  นายเถกิงเกียรติ  บุญมาศเม.ย.๒๕๕๐ – มี.ค.๒๕๕๑
๒๐  นางยุพาภรณ์  เอกวัฒน์โชตกรูเม.ย.๒๕๕๑ – มี.ค.๒๕๕๒
๒๑  นายอรรถพร  นาคเรืองเม.ย.๒๕๕๒ – มี.ค.๒๕๕๔
๒๒  นายสมชัย  จันทรมัสการเม.ย.๒๕๕๔ – มี.ค.๒๕๕๕
๒๓  นางสาวอรุณวรรณ  แก้วจินดาเม.ย.๒๕๕๕ – มี.ค.๒๕๕๖
๒๔  ว่าที่ร้อยตรี  อมร  โฉมงามเม.ย.๒๕๕๖ – มี.ค.๒๕๕๗
๒๕  นายปราโมช  โศภิษฐนภาเม.ย.๒๕๕๗ – มี.ค.๒๕๕๘
๒๖  นายวิเชตร   แสนคำเม.ย.๒๕๕๘ – มี.ค.๒๕๕๙
๒๗  นายวีระศักดิ์  มณีเนตรเม.ย.๒๕๕๙ – มี.ค. ๒๕๖๐
๒๘  นายสุขสันต์  จันทรโรจน์เม.ย.๒๕๖๐ – มี.ค. ๒๕๖๑
๒๙  นางปัญจพัฒน์  วรรณไพบูลย์เม.ย.๒๕๖๑ – มี.ค. ๒๕๖๒
๓๐  นายสมพจน์  เหล่าเลิศฤทธิกุลเม.ย.๒๔๖๒ – มี.ค. ๒๕๖๓
๓๑ นายรัชพล  คงศรียาตราเม.ย.๒๔๖๓ – มี.ค. ๒๕๖๔
๓๒ นายราชันย์  เติมผลเม.ย.๒๔๖๔ – มี.ค. ๒๕๖๕
๓๓ นายสุวิท ทองชุมนุมเม.ย.๒๔๖๕ – มี.ค. ๒๕๖๖
๓๔ นางอุษณีย์ สิงห์ภูกันเม.ย.๒๔๖๖ – มี.ค.๒๕๖๗
๓๕นางสาววรวรรณ วงศ์ปัญญาเม.ย.๒๕๖๗ – ปัจจุบัน

นางสาววรวรรณ วงศ์ปัญญา
อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค ๔
รักษาการในตำแหน่ง อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น

นางสาวณิชาภา อุทะพันธ์
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

นางยลลดา ปิ่นเพชร
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นายสายัน  จันทะรัง
อัยการอาวุโส

นางสาวนริศรา หาญเชิงชัย
ผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการ

นายปฐพี คำควร
นิติกรชำนาญการ

นางสาวลักษณ์ทิศา โภคินวัฒนบูลย์
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นายจักรพงษ์ จุลจันทนโพธิ์
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

จ้างเหมาบริการ

นายอดิศักดิ์ คมขำ
พนักงานขับรถยนต์

สถิติคดี

ประเภทคดี  ปี  พ.ศ. 2564 ปี  พ.ศ. 2565 ปี  พ.ศ. 2566
ส.1444326272
ส.1 ฟื้นฟู225616
ส.292040
ส.2 ก.1788
ส.3
ส.4411324232
ส.4 ฟ้องวาจา4
ส.5
ส.5 ก.
ส.614
ส.7
ส.12
ส.12 ก.
ส.คดีมาตราการพิเศษการดำเนินคดีอาญา697430
ส.คุ้มครองสวัสดิภาพ172932
ส.คดีความรุนแรงในครอบครัว71211
รวม

เอกสารเผยแพร่

พยานศาลหรือพยานหมาย  คือ  ผู้ที่พนักงานอัยการโจทก์ หรือ จำเลย  ขอให้ศาลมีหมายเรียกให้ไปศาล  เพื่อเป็พยาน โจทก์ หรือ พยานจำเลย และเบิกความในเรื่องที่ได้รู้ได้เห็น และเป็นข้อเท็จจริงในคดี

การส่งหมายเรียกพยาน

  • –  คู่ความฝ่ายที่อ้างท่านเป็นพยานนำไปส่ง
  • –  เจ้าพนักงานศาลนำไปส่ง
  • –  เจ้าหน้าที่ตำรวจนำไปส่ง

เมื่อท่านได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล ควรทำอย่างไร

  • –  ควรตรวจรายละเอียดในหมายเรียกเพื่อให้ทราบว่าศาลไหนเรียกให้ท่านไปเป็นพยานและท่านต้องไปเป็นพยานโจทก์หรือพยานจำเลย ใน วัน เวลา ใด
  • –  หากมีข้อสงสัย กรุณาโทรสอบถามตามหมายเลขโทรศัพท์ของศาลที่ปรากฏอยู่ในหมายเรียก
  • –  ควรเก็บหมายเรียกไว้ และนำไปศาล ในวันที่ศาลนัดสืบพยาน

การเตรียมตัวไปเป็นพยานศาล

– ควรทบทวนเหตุการณ์ที่ท่านได้รู้ได้เห็นเกี่ยวกับคดีเพื่อจัดลำดับเรื่องราวต่างๆจะได้เกิดความมั่นใจเมื่อไปเบิกความต่อศาลและหากเป็นคดีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเอกสารท่านควรติดต่อไปยังพนักงานอัยการโจทก์

การปฏิบัติตัวเมื่อไปศาลในวันนัดสืบพยาน

  • –  นำหมายเรียกไปด้วย เพราะในหมายเรียกจะปรากฏหมายเลขคดี ชื่อโจทก์ ชื่อจำเลย ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลในการติดต่อราชการศาลได้เป็นอย่างดี
  • –  กรุณาแต่งกายสุภาพ ไม่ควรสวมรองเท้าแตะ  ไม่ใส่กางเกงขาสั้น
  • -ไปศาลก่อนเวลานัดสืบพยานจะทำให้ท่านมีเวลาพอที่จะติดต่อกับเจ้าหน้าที่งานประชาสัมพันธ์เพื่อสอบถามว่าคดีตามหมายเรียกของท่านจะมีการสืบพยานที่ห้องพิจารณาคดีใดหรืออาจตรวจหาห้องพิจารณาจากป้ายประกาศนัดความของศาลเองก็ได้
  • -เมื่อทราบห้องพิจารณาแล้วกรุณาแจ้งกับเจ้าหน้าที่งานหน้าบัลลังก์ประจำห้องพิจารณานั้นๆว่าท่านมาถึงศาลแล้ว และนั่งรอในที่พักพยานที่ศาลจัดไว้
  • –  หากต้องรอเพื่อเบิกความเป็นเวลานานเกินไป กรุณาสอบถามเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ประจำห้องพิจารณาคดีนั้น

การปฏิบัติตัวเมื่อเข้าห้องพิจารณาในฐานะพยานศาล

  • – เจ้าหน้าที่งานหน้าบัลลังก์ประจำห้องพิจารณาจะเรียกเข้าห้องพิจารณาเมื่อฝ่ายโจทก์ฝ่ายจำเลยและพยานมาพร้อมกันแล้วและเมื่อผู้พิพากษาปรากฏตัวบนบัลลังก์ขอให้ทุกคนในห้องพิจารณายืนขึ้นเพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อศาล
  • –  ก่อนที่จะเบิกความ เจ้าหน้าที่ฯจะนำท่านเข้าประจำที่ที่เรียกว่า คอกพยาน จากนั้น ท่านจะต้องสาบานตนตามลัทธิศาสนาของท่านว่า จะให้การด้วยความสัตย์จริง โดยเจ้าหน้าที่ฯ จะเป็นผู้นำสาบานและท่านต้องกล่าวตาม
  • – เมื่อสาบานตนเรียบร้อยแล้วขอให้ท่านนั่งลง และตอบคำถามที่ ผู้พิพากษา พนักงานอัยการโจทก์ หรือทนายจำเลย ถามท่านด้วยความสัตย์จริงและใช้วาจาสุภาพ ควรใช้สรรพนามแทนตัวเองว่า กระผม หรือ ผม หรือดิฉัน  หรือ ฉัน  หากกล่าวถึงผู้พิพากษา  ให้ใช้สรรพนามแทนผู้พิพากษาว่า  ศาล  หรือ  ท่าน
  • –  ขอให้ท่านเบิกความเฉพาะเรื่องที่ท่าน ได้รู้ ได้เห็นด้วยตัวท่านเอง อย่าเบิกความในเรื่องที่ได้รับการบอกเล่า จากผู้อื่น เว้นแต่ศาลจะสั่ง
  • –  ขอให้เบิกความด้วยวาจา อย่าใช้วิธีการอ่านข้อความตามที่เขียนมา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษา หากไม่แน่ใจหรือจำไม่ได้ ให้ตอบไปตรงๆ ว่าไม่แน่ใจ หรือ จำไม่ได้
  • –  อย่าเบิกความโดยการคาดคะเนหรือวิพากษ์วิจารณ์ เพราะท่านอาจมีความผิดในข้อหาเบิกความเท็จ
  • –  หากฟังคำถามไม่ชัดเจนท่านสามารถขอให้มีการทวนคำถามซ้ำอีกครั้งได้
  • – เมื่อเบิกความเสร็จศาลจะอ่านคำเบิกความของท่านหากเห็นว่าคำเบิกความไม่ถูกต้องตรงกับที่ท่านเบิกความไว้หรือไม่ครบถ้วน ขอให้แจ้งศาลให้ทราบทันที เพื่อที่จะได้แก้ไขให้ถูกต้องก่อนที่ท่านจะลงชื่อในคำเบิกความ

จะทำอย่างไรเมื่อมีการเลื่อนนัดสืบพยาน

–  หากศาลไม่สามารถสืบพยานในวันนัดได้ เจ้าหน้าที่งานหน้าบัลลังก์ประจำห้องพิจารณาจะให้ท่านลงชื่อรับทราบ  วัน  เวลานัดครั้งต่อไป โดยจะไม่มีการส่งหมายเรียกไปอีก  ขอให้ท่านจำวัน  เวลา  นัดดังกล่าว  และกรุณาไปตามนัดด้วย

สิทธิในการรับค่ายานพาหนะและค่าป่วยการพยาน

  • –  หากเป็นพยานในคดีแพ่ง ท่านจะได้รับค่าพาหนะและค่าป่วยการตามที่ศาลกำหนด โดยฝ่ายโจทก์ หรือจำเลยที่อ้างท่านเป็นพยาน  ต้องเป็นผู้จ่าย
  • –  หากเป็นพยานโจทก์ ในคดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ท่านจะได้รับค่าพาหนะเท่าที่จ่ายไปจริงตามสมควรโดยโจทก์ ต้องเป็นผู้จ่าย
  • – หากเป็นพยานของพนักงานอัยการโจทก์ในคดีอาญาท่านจะได้รับค่ายานพาหนะเหมาจ่าย  200 บาท หากภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดจะได้รับค่ายานพาหนะเหมาจ่าย  500  บาท

จะทำอย่างไรหากไม่สามารถมาเป็นพยานศาลได้

  • –  หากเจ็บป่วยหรือมีเหตุขัดข้องจำเป็นไม่สามารถไปเป็นพยานศาลในวันนัดสืบพยานได้ ขอให้ท่านทำหนังสือแจ้งพนักงานอัยการโจทก์ อธิบดีผู้พิพากษา หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เพื่อชี้แจงถึงเหตุผลความจำเป็น โดยที่ท่านอาจนำหนังสือไปยื่นที่ศาลด้วยตัวเอง หรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นนำไปยื่นแทนท่านก็ได้แต่ต้องยื่นก่อนวันที่ศาลนัดสืบพยาน
  • –  ในระหว่างเดินทางไปศาล  หากมีอุบัติเหตุหรือเหตุขัดข้องเกิดขึ้น  ขอให้ท่านโทรศัพท์แจ้งศาลตามที่ปรากฎอยู่ในหมายเรียก

จะเกิดอะไรขึ้น  หากไม่ไปศาลตามหมายเรียก

–  เมื่อพยานได้รับหมายเรียกแล้วไม่ยอมไปศาลตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจออกหมายจับและกักขังท่านไว้จนกว่าจะเบิกความเสร็จ และท่านอาจถูกฟ้องให้ต้องรับโทษทางอาญาจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดขอนแก่น
ที่ตั้ง : อาคารสำนักงานอัยการภาค 4 (ชั้น 1) ถนนกลางเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
โทร.043-331168