ข่าวประชาสัมพันธ์

วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๗ นายภีศเดช วรกุล อัยการจังหวัดมหาสารคาม พร้อมด้วยข้าราชการในสังกัด ได้ร่วมพิธีถวายราชสักการะเนื่องใน “วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ ณ หอประชุมศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม โดยมีนายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธาน


วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๗ นายภีศเดช วรกุล อัยการจังหวัดมหาสารคาม พร้อมด้วยข้าราชการในสังกัด ได้ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ ๒ เมษายน ๒๕๖๗ ณ หอประชุมศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม โดยมีนายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธาน


วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายสมชาย แสงสว่าง รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค ๔ พร้อมด้วยคณะ ได้ตรวจราชการสำนักงานอัยการในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม เพื่อควบคุม กำชับ และติดตาม พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการดำเนินคดีแพ่ง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗


วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๖ นายดุลย์ปรีดา วงศ์ศรีอาจ อัยการจังหวัดมหาสารคาม พร้อมด้วยข้าราชการในสังกัด ได้ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา โดยมีนายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธาน


วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ นายดุลย์ปรีดา วงศ์ศรีอาจ อัยการจังหวัดมหาสารคาม พร้อมด้วยบุคคลากรในสังกัด ได้ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จกระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ โดยมีนายวิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธาน


วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ น. นายกมลาสน์ สุทธิธารณ์นฤภัย ผู้ตรวจการอัยการ พร้อมคณะ ได้ตรวจราชการสำนักงานอัยการในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม เพื่อรับฟังปัญหา และอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติราชการของผู้บริหารและบุคลากรในสำนักงานผู้รับการตรวจ


เกี่ยวกับสำนักงาน

 ประวัติความเป็นมา

             สำนักงานอัยการจังหวัดมหาสารคาม ตั้งอยู่ที่เลขที่ 1 ถนนสีสวัสดิ์ดำเนิน ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000 เดิมสำนักงานอัยการได้ใช้ศาลากลางจังหวัดมหาสารคามเป็นที่ทำการ สำนักงานอัยการสูงสุดได้จักสรรงบประมาณให้สำนักงานอัยการจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 21,000,000.00 บาท เพื่อก่อสร้างสำนักงานอัยการจังหวัดมหาสารคาม และอุปกรณ์ที่ใช้ในสำนักงาน
              สำหรับการก่อสร้างนั้น ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลยวัสดุก่อสร้างเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง โดยเริ่มสร้าง 500 วัน โดยก่อสร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 2 ชั้น ตามแบบของกรมโยธาธิการในที่ดินราชพัสดุ แปลงหมายเลขทะเบียนที่ 500 ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม มีเนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 85 ตารางวา ซึ่งเดิมที่ดินราชพัสดุแปลงดังกล่าวใช้ในการส่งเสริมการเกษตรบางส่วน ทั้งนี้โดยได้รับ ความยินยอมจากกรมส่งเริมการเกษตร และที่ดินอีกส่วนหนึ่งเป็นที่ราชพัสดุของสำนักงานอัยการจังหวัดมหาสารคาม เดิมใช้ปลูกสร้างบ้านพนักอัยการจังหวัดผู้ช่วย เป็นที่ก่อสร้างสำนักงานอัยการจังหวัดมหาสารคาม สิ้นงบประมาณการก่อสร้าง จำนวน 21,000,000 บาท ทำพิธีเปิดใช้อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดมหาสารคามอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2538 เวลา 10.09 นาฬิกา โดยศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร อัยการสูงสุด
              สำนักงานอัยการจังหวัดมหาสารคาม มีความสง่างามมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วนสมบูรณ์เหมาะแก่การปฎิบัติงานมีห้องทำงานของข้าราชการอัยการและธุรการเป็นสัดส่วน เป็นที่เหมาะสมสำหรับประชาชนผู้มาติดต่อราชการ มีห้องประชุมและห้องสมุดสำหรับให้บริการแก่ประชาชนหน่อยราชการอื่นอันยังผลให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอย่างดียิ่งสมดังเจตนาของสำนักงานอัยการสูงสุด


อำนาจหน้าที่

องค์กรอัยการ
อัยการสูงสุด
พนักงานอัยการ
วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

เขตอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ

พื้นที่เขตอำนาจ
๑. อำเภอเมืองมหาสารคาม
๒. อำเภอโกสุมพิสัย
๓. อำเภอบรบือ
๔. อำเภอกันทรวิชัย
๕. อำเภอเชียงยืน
๖. อำเภอวาปีปทุม
๗. อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
๘. อำเภอนาดูน
๙. อำเภอนาเชือก
๑๐. อำเภอกุดรัง
๑๑. อำเภอยางสีสุราช
๑๒. อำเภอแกดำ
๑๓. อำเภอชื่นชม

สถานีตำรวจภูธรที่อยู่ในเขตอำนาจ
๑. สถานีตำรวจภูธรเมืองมหาสารคาม
๒. สถานีตำรวจภูธรโกสุมพิสัย
๓. สถานีตำรวจภูธรบรบือ
๔. สถานีตำรวจภูธรกันทรวิชัย
๕. สถานีตำรวจภูธรเชียงยืน
๖.สถานีตำรวจภูธรวาปีปทุม
๗. สถานีตำรวจภูธรพยัคฆภูมิพิสสัย
๘. สถานีตำรวจภูธรนาดูน
๙. สถานีตำรวจภูธรนาเชือก
๑๐. สถานีตำรวจภูธรกุดรัง
๑๑. สถานีตำรวจภูธรยางสีสุราช
๑๒. สถานีตำรวจภูธรแกดำ
๑๓. สถานีตำรวจภูธรดอนหว่าน
๑๔. สถานีตำรวจภูธรชื่นชม
๑๕. สถานีตำรวจภูธรเหล่า
๑๖. สถานีตำรวจภูธรราษฎร์เจริญ
๑๗. สถานีตำรวจภูธรปอพาน
๑๘. สถานีตำรวจภูธรท่าตูม
๑๙. สถานีตำรวจภูธรมะค่า
๒๐. สถานีตำรวจภูธรเขวาใหญ่
๒๑. สถานีตำรวจภูธรนาสีนวน
๒๒. สถานีตำรวจภูธรหนองซอน
๒๓. สถานีตำรวจภูธรกู่ทอง
๒๔. สถานีตำรวจภูธรนาข่า
๒๕. สถานีตำรวจภูธรกำพี้

บุคลากร

ข้าราชการอัยการ

ข้าราชการธุรการ

ลูกจ้างประจำ

จ้างเหมาในโครงการ

จ้างเหมานอกโครงการ

ข้าราชการตำรวจ

ทำเนียบผู้บริหาร

ลำดับที่                    ชื่่อ – สกุล          ปี พ.ศ.
1นายสมศักดิ์       สุวรรณสัมฤทธิ์2497 – 2498
2นายสวัสดิ์         โสภณวสุ  2497 – 2498
3นายโปร่ง          โกกิลกนิษฐ์ 2498 – 2504
4นายประนต        ผลาทร     2504 – 2507
5นายเชษฐ์         ชีวะธรรม    2507 – 2508
6นายเสวก          จูตะถานนท์    2508 – 2512
7นายไพบูลย์      นิลาสน์ 2512 – 2515
8นายสุทระ         โกมาสสถิตย์2515 – 2517
9นายศิริพงษ์      นามนนท์     2517 – 2518
10ร้อยโทยิ้ม      ยวดยง          2518 – 2520 
11นายแสวง       คู่ฤทธิ์     2520 – 2522
12นายสมเพาะ    บุญสวัสดิ์     2522 – 2523 
13นายบัวพันธ์    หารไชย   2523 – 2526 
14นายคมจักร    แห่งปัจจัยการ  2526 – 2527 
15นายไพบูลย์   ธีระธรรม           2527 – 2527 
16ร้อยเอกสมาน  เฟื่องทอง  2527 – 2528 
17นายปัญญา     สุวรรณวัฒนะ  2528 – 2530 
18  นายอำนวย     ศรีสมาน  2530 – 2532 
 19 นายสมนึก       เนินทราย   2532 – 2534 
 20 นายสวามิภักดิ์    ดิษยบุตร  2534 – 2536 
 21 ม.ล.พงษ์นเรศกฤษ    กฤษตากร2536 – 2537 
 22 นายสุจิต            อ่ำพันธ์   2537 – 2538 
 23 นายศิลป์ชัย      คณาวุฒิ 2538 – 2539 
 24 นายภานุพงศ์     โชติสิน    2539 – 2541 
 25 นายมาณพ         แสนประเสริฐ2541 – 2543 
 26 ร้อยเอกฉัตรชัย  กันนิ่ม2543 – 2544 
 27 นายจักรชัย       อินทรวนิช  2544 – 2545 
 28 นายพรหมมินทร์     วงศ์ประดิษฐ์ 2545 – 2546 
 29 นายเกียรติประวัติ   เงินเกิด   2546 – 2548 
 30 นายวิษณุรักษ์       กล้าหาญ  2548 – 2550 
 31 นายธีระ                 ดีนิสสัย  2550 – 2551 
 32 นายทรงวุฒิ          รัตนากร  2551 – 2552 
 33 นายพิพากษา        ชุมแวงวาปี  2552 – 2553 
 34 นายพิพัฒน์           นิลรัตนโกศล 2553 – 2554 
 35 นายวีรยุทธ           เนติวุฒิพงศ์2554 – 2555 
 36 ร้อยเอกศุภกิจ       นิลพงษ์  2555 – 2558
 37 ว่าที่ร้อยตรีชาญณรงค์  เนื้อนุ่ม  2558 – 2559
38นายปราโมช   โศภิษฐนภา2559 – 2560
39นายวัลลภ   พลัดเมือง2560 – 2561
40นายวีระศักดิ์   สัตยธีรานนท์2561 – 2562
41 นายประสิทธิ์   แรงสู้2562 – 2565
42นายสฤษดิ์ มาตย์สุรีย์2565 – 2566
43นายดุลย์ปรีดา วงศ์ศรีอาจ2566 – ปัจจุบัน

การขอรับบริการประชาชน

ระยะเวลาในการพิจารณามีความเห็นและคำสั่งในสำนวนคดี

ผังกระบวนงานขอประกันตัวผู้ต้องหา

หลักเกณฑ์การขอประกันตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา

การประกันตัวผู้ต้องหา 

หลักฐานที่ใช้ในการประกัน ดังนี้
1.กรณีใช้บุคคลเป็นประกัน เอกสารที่นำมาประกอบ มีดังนี้
   – หนังสือรับรองจากต้นสังกัด
   – สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ , คู่สมรส
   – สำเนาทะเบียนบ้าน
   – ในกรณีที่ผู้ขอประกันมีคู่สมรส จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสด้วย

2.กรณีใช้โฉนดที่ดิน , น . ส .3 ก , หรือ ส . น .3 เงินฝากประจำ เอกสารที่นำมาประกอบ มีดังนี้
   – หนังสือรับรองการประเมินราคาที่ดิน ซึ่งเป็นราคาปัจจุบัน
   – หนังสือรับรองยอดเงินฝากจากธนาคาร
   – สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของหลักประกัน และคู่สมรส
   – สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของหลักทรัพย์
   – ในกรณีที่เจ้าของหลักทรัพย์หย่าจากคู่สมสร ให้นำสำเนาใบสำคัญการหย่ามาด้วย
   – ในกรณีที่คู่สมรสของเจ้าของหลักทรัพย์ถึงแก่ความตาย ให้นำสำเนาใบมรณบัตรมาด้วย
   – ในกรณีที่ชื่อตัวหรือชื่อสกุลเจ้าของหลักทรัพย์ไม่ตรงกัน ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล มาด้วย

3.กรณีใช้หลักทรัพย์อื่น เช่น เงินสด สลากออมสิน แคชเชียรเช็ค พันธบัตรรัฐบาล ใช้เฉพาะบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ

ประเภทคดีราคาประเมิน
ปฏิบัติหน้าที่มิชอบ100,000 บาทขึ้นไป
แจ้งความเท็จ50,000 บาทขึ้นไป
ฟ้องเท็จ80,000 บาทขึ้นไป
เบิกความเท็จ50,000 บาทขึ้นไป
ทำให้เกิดเพลิงไหม้100,000 บาทขึ้นไป
ทำลายเอกสาร ปลอมแปลงเอกสาร100,000 บาทขึ้นไป
ปลอมแปลงเอกสารราชการ100,000 บาทขึ้นไป
ข่มขืนกระทำชำเรา100,000 บาทขึ้นไป
โทรมหญิง , ธุระจัดหาหญิง200,000 บาทขึ้นไป
อนาจาร50,000 บาทขึ้นไป
พรากผู้เยาว์100,000 บาทขึ้นไป
ฆ่าผู้อื่น300,000 บาทขึ้นไป
ฆ่ามีเหตุฉกรรจ์350,000 บาทขึ้นไป
พยายามฆ่า200,000 บาทขึ้นไป
ขับรถประมาท คนตาย100,000 บาทขึ้นไป
ขับรถรับจ้างประมาท คนตาย150,000 บาทขึ้นไป
ทำร้ายร่างการสาหัส , ฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา100,000 บาทขึ้นไป
ลักทรัพย์50,000 บาทขึ้นไป
ลักทรัพย์มีเหตุฉกรรจ์100,000 บาทขึ้นไป
วิ่งราวทรัพย์ , กรรโชกทรัพย์100,000 บาทขึ้นไป
ยักยอกทรัพย์100,000 บาทขึ้นไป
ชิงทรัพย์150,000 บาทขึ้นไป
ฉ้อโกง100,000 บาทขึ้นไป
ปล้นทรัพย์200,000 บาทขึ้นไป
รับของโจร80,000 บาทขึ้นไป
ทำให้เสียทรัพย์ , บุกรุก50,000 บาทขึ้นไป
ซ่องโจรไม่มีของกลาง10,000 บาทขึ้นไป
ซ่องโจรมีของกลาง50,000 บาทขึ้นไป
มีกัญชาไว้ในครอบครอง30,000 บาทขึ้นไป
จำหน่ายกัญชาเล็กน้อย50,000 บาทขึ้นไป
จำหน่ายกัญชามาก100,000 บาทขึ้นไป
มีเฮโรอีนไม่เกิน 10 กรัม100,000 บาทขึ้นไป
จำหน่ายเฮโรอีนไม่เกิน 1 กรัม100,000 บาทขึ้นไป
จำหน่ายเฮโรอีนไม่เกิน 5 กรัม150,000 บาทขึ้นไป
จำหน่ายเฮโรอีน เกิน 5 กรัม400,000 บาทขึ้นไป
พ.ร.บ. ป่าไม้ , ศุลกากร แร่ , โรงงาน100,000 บาทขึ้นไป
พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ , ยา , คนต่างด้าว50,000 บาทขึ้นไป
พ.ร.บ. อาคาร80,000 บาทขึ้นไป
เจ้าสำนัก20,000 บาทขึ้นไป
ค้าประเวณี5,000 บาทขึ้นไป
ขับรถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกิน100,000 บาทขึ้นไป
อาวุธปืนไม่มีทะเบียน30,000 บาทขึ้นไป
อาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่น30,000 บาทขึ้นไป
กระสุนปืนเล็กน้อย30,000 บาทขึ้นไป
พกพาอาวุธปืนไม่มีทะเบียน30,000 บาทขึ้นไป
พกพาอาวุธปืนมีทะเบียน10,000 บาทขึ้นไป
พ.ร.บ. ป่าสงวน วรรคแรก50,000 บาทขึ้นไป
พ.ร.บ. ป่าสงวน วรรคสอง100,000 บาทขึ้นไป
พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจาการใช้เช็คหนึ่งในสาม แต่ไม่เกิน 50,000

การประกันตัวผู้ต้องหาบุคคลหรือตำแหน่งบุคคลเป็นประกัน

หลักเกณฑ์การขอปล่อยชั่วคราวโดยใช้บุคคลหรือตำแหน่งบุคคลเป็นหลักประกัน ดังนี้
1.สำนักงานอัยการจังหวัดมหาสารคามจะพิจารณาให้ปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาตามความหนักเบาของข้อหา และความน่าเชื่อถือของนายประกันมากกว่าวงเงินประกันที่กำหนดไว้
2.วงเงินประกันที่ผู้มีตำแหน่งอาจใช้ประกันผู้ต้องหา มีดังนี้
1.ข้าราชการประจำ
   ระดับ 3 – 5 ประกันได้ไม่เกิน 60,000 บาท
   ระดับ 6 – 8 ประกันได้ไม่เกิน 200,000 บาท
   ระดับ 9 – 10 ประกันได้ไม่เกิน 800,000 บาท
   ระดับ 11 ประกันได้ไม่เกิน 1,000,000 บาท

2.พนักงานรัฐวิสาหกิจ
   ระดับ 3 – 6 ประกันได้ไม่เกิน 60,000 บาท
   ระดับ 7 – 9 ประกันได้ไม่เกิน 200,000 บาท
   ระดับ 10 -11 ประกันได้ไม่เกิน 800,000 บาท
   ระดับ 12 ประกันได้ไม่เกิน 1,000,000 บาท

3.ข้าราชการการเมือง
     สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประกันได้ไม่เกิน 1,000,000 บาท
     นายกเทศมนตรี , เทศมนตรี ประกันได้ไม่เกิน 200,000 บาท
     สมาชิกสภาจังหวัด , สมาชิกสภาเทศบาล ประกันได้ไม่เกิน 60,000 บาท

4.ข้าราชการทหาร ตำรวจ
      จ . ส . ต ., ด . ต ., หรือตำแหน่งเทียบเท่า ประกันได้ไม่เกิน 30,000 บาท
      ระดับนายร้อย ประกันได้ไม่เกิน 60,000 บาท
      ระดับนายพัน ประกันได้ไม่เกิน 200,000 บาท
      ระดับนายพลตรี , นายพลโท ประกันได้ไม่เกิน 800,000 บาท
      ระดับนายพลเอก ประกันได้ไม่เกิน 1,000,000 บาท
      กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประกันได้ไม่เกิน 30,000 บาท

3.ข้อหาที่ผู้ขอประกันด้วยตำแหน่ง อาจใช้ประกันได้ มีดังนี้
     1.ประกันได้ไม่เกิน 30,000 บาท ประกันได้เฉพาะข้อหาความผิดที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงพิจารณา
        พิพากษา และข้อหามีกัญชาจำนวนเล็กน้อยไว้ในครอบครอง หรือเสพกัญชา
     2.ประกันได้ไม่เกิน 60,000 บาท ประกันได้เฉพาะความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
     3.ประกันได้ไม่เกิน 200,000 บาท ประกันได้เฉพาะความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี
       หากต้องการประกันเกินไปกว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ผู้ขอประกันจะต้อนนำหลักทรัพย์อื่น มาร่วมประกันด้วย จะใช้เฉพาะตำแหน่งเป็นหลักประกันอย่างเดียวไม่ได้

การยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกการดำเนินงานคุ้มครองสิทธิ

           การดำเนินงานคุ้มครองสิทธิจะต้องปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการช่วยทางกฎหมายแก่ประชาชน พ.ศ.2533 อันเป็นการดำเนินคดีคุ้มครองสิทธิตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติให้เป็นอำนาจ หน้าที่ของพนักงานอัยการ เช่น ร้องขอจัดการมรดก สั่งให้เป็นคนสาบสูญ ร้องขอตั้งผู้ปกครอง ฯลฯ ซึ่งการเนินงานคุ้มครองสิทธิ ถือว่าพนักงานอัยการเป็นตัวความเอง จึงไม่ต้องยื่นใบแต่งทนายความโดยมีความแตกต่างจากการดำเนินคดีแพ่ง ว่าต่างแก้ต่างให้ กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งถือว่าเป็นคู่ความที่แท้จริง ฐานะของพนักงานอัยการมีฐานะเช่นเดียวกับทนายความโดยปกติ พนักงานอัยการจะรับดำเนินการด้านคุ้มครองสิทธิให้ทุกเรื่อง หากไม่ดำเนินการต้องเสนออธิบดีอัยการฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมายพิจารณาสั่งและแจ้งให้ผู้ร้องทราบตามระเบียบ หากคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่น สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ต้องส่งเรื่องไปให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนประจำจังหวัด หรือ จังหวัดสาขา ที่มีอำนาจรับดำเนินการให้การดำเนินการคุ้มครองสิทธิ นอกจากยึดหลักให้บริการโดยรวดเร็วและเป็นธรรมแล้วยังต้องยึดหลักที่ไม่คำนึงถึงฐานะราย ได้ของผู้ร้องขอและไม่เป็นการฝ่าฝืน หรือ หลีกเลี่ยงกฎหมาย

การยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก

          เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาท ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายมีทรัพย์สิน จำนวนมากตกทอดแก่ทายาท อาจจะเป็นทายาทโดยธรรม หรือ โดยพินัยกรรม ในกรณีที่เจ้ามรดกมีทรัพย์สินซึ่งมีทะเบียนเป็นโฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3ทะเบียนอาวุธปืน ทะเบียนรถยนต์ ซึ่งทรัพย์เหล่านี้ในการจัดการมรดก เจ้าพนักงานจะไม่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเกี่ยวกับทรัพย์สิน เหล่านั้น หากไม่มีการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการตามกฎหมายเสียก่อนโดยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้ราษฎรจำนวนมาก ได้มายื่นคำร้องขอความช่วยเหลือต่อสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.)  สำนักงานอัยการสูงสุดให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับทรัพย์สินเหล่านั้น 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)

          ป.พ.พ.มาตรา 1713 ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ในกรณีดังต่อไปนี้        
(1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรม หรือ ผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรือ อยู่นอกราชอาณาเขตหรือเป็นผู้เยาว์
 (2) เมื่อผู้จัดการมรดก หรือ ทายาทไม่สามารถ หรือ ไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือ มีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือในการแบ่งปันมรดก
 (3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรม ซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆ  การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรมและถ้าไม่มีข้อกำหนด
พินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึ่งถึงเจตนาของเจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร

 มาตรา 1718 บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้
          (1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
          (2) บุคคลวิกลจริต หรือ บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
          (3) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย

เหตุในการยื่น
          (1) ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือ กฎหมายอื่น
          (2) ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1602 เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความในมาตรา 62 แห่งประมวลกฎหมายนี้มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาทกรณีแรกเป็นกรณีที่เจ้ามรดกได้ถึงแก่ความตายโดยธรรมชาติ คือ หัวใจหยุดเต้นและสมองไม่ทำงาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 15

เขตอำนาจศาล 
          ในการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดมรดกถือเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4 จัตวา (ที่แก้ไขใหม่ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 12 พ.ศ.2534) งบัญญัติว่า “คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ให้เสนอต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตายในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาล   ดังนั้น ตามกฎหมายดังกล่าวในการยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกจึงต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล ในขณะถึงแก่ความตายเท่านั้นแต่ถ้าขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้นเจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาญาจักรการยื่นคำร้องให้ยื่นต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาลนั้น

เอกสารที่ใช้ในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
          1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการของผู้ร้อง 4 ชุด
          2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ร้อง 4 ชุด 
          3. เอกสารที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องกับเจ้ามรดก (ผู้ตาย)  4 ชุด(ทะเบียนสมรส , สูติบัตร ฯ )
          4. สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้ามรดก (ผู้ตาย)  4 ชุด
          5. สำเนาใบมรณะบัตรของเจ้ามรดก (ผู้ตาย)  4 ชุด
          6. บัญชีเครือญาติของเจ้ามรดก  4 ชุด
          7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการ และทะเบียนบ้าน ของทายาทผู้ให้ความยินยอม  4 ชุด
          8.สำเนาใบมรณบัตรของบิดามารดาของผู้ตาย  หรือหนังสือรับรองการตายกรณีบิดามารดาของผู้ตาย (เจ้ามรดก) ถึงแก่ความตาย  4  ชุด
         9. สำเนาเอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก (ผู้ตาย)  4 ชุด(เช่น โฉนดที่ดิน , สมุดเงินฝาก ,ทะเบียนรถยนต์ฯ, ทะเบียนอาวุธปืน) 
         10. หนังสือให้การยินยอมในการร้องขอจัดการมรดกของทายาท  4 ชุด
         11. หลักฐานอื่นๆ ถ้ามี (ใบเปลี่ยนชื่อ , ใบเปลี่ยนนามสกุล)  4  ชุด
       หมายเหตุ เอกสารข้อ  6  และ 10  จัดทำที่ สำนักงานคุ้มของสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนสำนักงานอัยการจังหวัดมหาสารคาม


ขั้นตอนการดำเนินการ

          เมื่อมีผู้มาร้องขอให้คุ้มครองสิทธิ หรือ ช่วยเหลือทางกฎหมายที่สำนักงาน นิติกร หรือ ทนายความอาสาจะสอบถามผู้ร้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานบันทึกข้อเท็จจริงให้สมบูรณ์ที่จะดำเนินการตามแบบบันทึกข้อเท็จจริงรวบรวมเอกสารเข้าสำนวนเมื่อพนักงานอัยการรับเรื่องจะตรวจว่าเอกสารครบถ้วนหรือไม่ที่จะดำเนินการถ้าไม่ครบจะแจ้งให้ผู้ร้องขอส่งมาเป็นสำเนาเอกสาร…เมื่อหลักฐานครบถ้วนพอดำเนินการได้…..พนักงานอัยการจะยื่นคำร้องต่อศาล ชำระค่าฤชาธรรมเนียม ค่าประกาศหนังสือพิมพ์และกำหนดวันนัดไต่สวน แจ้งวันนัดให้ผู้ร้องทราบนำผู้ร้องและต้นฉบับเอกสาร พยานหลักฐาน เข้าไต่สวนตามวันนัด จนศาลมีคำสั่งและส่งคำสั่งศาลให้ผู้ร้องทราบและขอคัดคำสั่งศาล หากศาลมีคำสั่งตามคำร้องขอแล้ว พนักงานอัยการก็เสนอขอยุติการช่วยเหลือต่ออัยการจังหวัดมหาสารคามพิจารณาสั่งต่อไป หากศาลไม่ได้มีคำสั่งตามคำร้องขอ ก็อาจเสนอพิจารณาอุทธรณ์ฎีกาต่อไป

สถิติคดี

สถิติปริมาณสำนวน จากปี 2561-2564

ประเภทรายการปี พ.ศ.2564 ปี พ.ศ.2563 ปี พ.ศ.2562 ปี พ.ศ.2561
ส.1สำนวนที่ปรากฎผู้ต้องหาที่ส่งตัวมา3,1902,8632,6853,042
ส.1ฟสำนวนคดีฟื้นฟูยาเสพติด1,477990817717
ส.2สำนวนปรากฎผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา247200220275
ส.2กกสำนวนคดีเปรียบเทียบปรับ19,55720,79914,80318,351
ส.3สำนวนไม่ปรากฎตัวผู้กระทำความผิด43476251
ส.4สำนวนคดีฟ้องความอาญา3,0752,7992,5922,965
ส.4 วาจาสำนวนคดีฟ้องความอาญาด้วยวาจา1,2929661,7091,927
ส.5สำนวนแก้ต่างคดีอาญา13
ส.5 กสำนวนคดีแพ่ง131807659
ส. 12สำนวนคดีชันสูตรพลิกศพ(ไต่สวนการตาย)811125
ส. 12 กสำนวนคดีชันสูตรพลิกศพ(ตายผิดธรรมชาติ)12287165118
รวม 29,14328,842 23,141 27,513

  +++หมายเหตุ  ** ข้อมูล ณ วันที่  31  ธันวาคม 2564  

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดมหาสารคาม
เลขที่ ๑ ถนนศรีสวัสดิ์ดำเนิน  ตำบลตลาด
อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม  ๔๔๐๐๐
โทรศัพท์  ๐-๔๓๗๑-๑๑๗๒ โทรสาร  ๐-๔๓๗๒-๓๗๒๓
สำนักงานอัยการจังหวัดมหาสารคาม  E-Mail  : srk@ago.go.th

หมายเลข 1 สถานีตำรวจหมายเลข 9   ศาลจังหวัดมหาสารคาม
หมายเลข 2 โรงเรียนผดุงนารีหมายเลข 10 สาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
หมายเลข 3 ตลาดสดเทศบาลเมืองหมายเลข 11 บ้านพักอัยการ
หมายเลข 4 ไปรษณีย์หมายเลข 12 จวนผู้ว่าราชการจังหวัด
หมายเลข 5 หอนาฬิกาหมายเลข 13 สวนสุขภาพ
หมายเลข 6 ที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคามหมายเลข 14 โรงเรียนสารคามพิทยาคม
หมายเลข 7 ศาลเยาวชนและครอบครัวหมายเลข 15 สำนักงานอัยการจังหวัดมหาสารคาม
หมายเลข 8 อุทยานการเรียนรู้ (Mk Park)