ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวสารกิจกรรม

  • สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดมุกดาหาร จัดกิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) ๒๘ กันยายน ๒๕๖๖


ขอเชิญรับชม/เข้าร่วมการเสวนา โครงการ “สิทธิมนุษยชนศึกษา สำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อการปฏิบัติงานและ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน”


เกี่ยวกับสำนักงาน

เนื่องด้วยเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2549 ศาลจังหวัดมุกดาหารครามแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้เปิดทำการตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ( ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2548 ลงวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.2548 มาตรา 7 ให้ดำเนินการเปิดทำการศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด หรือแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัด ให้มีเขตอำนาจครอบคลุมทุกจังหวัดภายในสามปี และตามพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ศาลจังหวัดน่าน ศาลจังหวัดพัทลุง ศาลจังหวัดมุกดาหาร ศาลจังหวัดเลย ศาลจังหวัดสกลนคร ศาลจังหวัดสมุทรสงคราม ศาลจังหวัดหนองคาย ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ ศาลจังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. 2548 ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2548 มาตรา 3 ให้เปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดมุกดาหารในวันดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากเพื่อให้ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน โดยให้เด็กและเยาวชนผู้ถูกดำเนินคดีได้รับประโยชน์จากการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว

สำนักงานอัยการสูงสุดจึงได้จัดตั้งสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดมุกดาหารขึ้น โดยเปิดทำการเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2549 และมีคำสั่งให้พนักงานอัยการปฏิบัติและช่วยราชการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดมุกดาหาร เพื่อเป็นทนายแผ่นดินประจำศาลจังหวัดมุกดาหารแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 โดยสำนักงานตั้งอยู่ที่ ถนนสองนางสถิตย์ ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร 49000

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด

(มาตรา ๒๓) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชาการ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่  ดังต่อไปนี้
   (๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครอง ป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
   (๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
   (๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
   (๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
   (๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
   (๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ
   (๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
   (๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
   (๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด
ใน การตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

(มาตรา ๒๗) ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
   (๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด

   (๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ
   (๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสุดของสำนักงานอัยการสูงสุด  ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้ให้อัยการสูงสุด โอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดมุกดาหาร

1. คดีอาญา

รับผิดชอบดำเนินคดีอาญาทั้งปวงในอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการภายในเขตท้องที่ของสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดมุกดาหารแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ซึ่งหมายถึง คดีอาญาที่กระทำโดยเด็ก (อายุไม่เกิน 14 ปี)หรือเยาวชน(อายุเกินกว่า 14 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี) ในท้องที่เขตจังหวัดมุกดาหาร

2. คดีแพ่ง

บังคับคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีดังนี้

  • 2.1 ฟ้องคดีแทนเด็กปฏิเสธความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชาย (ป.พ.พ.มาตรา 1539,1545)
  • 2.2 ร้องขอให้ศาลตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็กในคดี ฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรในกรณีเด็กไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือมีแต่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ (ป.พ.พ.มาตรา1555,1556)
  • 2.3 เป็นโจทก์ฟ้องคดีที่กฎหมายห้ามมิให้ราษฎรฟ้อง เช่น ฟ้องคดีผู้สืบสันดานในการฟ้องบุพการีทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา อันได้แก่ ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร (ป.พ.พ.มาตรา 1526,1565)
  • 2.4 ร้องขอให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครอง (ป.พ.พ.มาตรา 1582)
  • 2.5 ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครอง (ป.พ.พ.มาตรา 1585,1586) และร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครองและมีคำสั่งเกี่ยวกับผู้ปกครองต่อไปตามที่เห็นสมควร เนื่องจากเป็นผู้ต้องห้ามมิให้เป็นผู้ปกครองตาม มาตรา 1587 (ป.พ.พ.มาตรา 1588)
  • 2.6 ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ปกครองหาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์สินหรือแถลงถึงความเป็นอยู่ของทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครอง (ป.พ.พ.มาตรา 1597,1598)
  • 2.7 ร้องขอให้ศาลถอนผู้ปกครอง (ป.พ.พ.มาตรา 1598/8,1598/9)
  • 2.8 ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรม (ป.พ.พ.มาตรา 98/21,1598/22,1598/23) และการเลิกรับบุตรบุญธรรม (ป.พ.พ.มาตรา 1598/31)
  • 2.9 ฟ้องคดีแทนบุตรบุญธรรมเกี่ยวกับการขอเลิกรับบุตรบุญธรรม (ป.พ.พ.มาตรา 1598/35)
  • 2.10 ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครอง,ผู้อนุบาล,หรือผู้พิทักษ์ ในกรณีที่มรดกตกทอดแก่ผู้เยาว์ หรือบุคคลวิกลจริต หรือผู้ไม่สามารถจัดการงานตนเองได้ และบุคคลนั้นยังไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ (ป.พ.พ.มาตรา 1610)
  • 2.11 การร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความu3626 สามารถและเพิกถอนคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ(ป.พ.พ.มาตรา 28,31)2.12 การร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและเพิกถอน คำสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ (ป.พ.พ.มาตรา 28,32,33,36)
  • 2.13 การร้องขอให้ศาลสั่งให้ทำไปพลางก่อนหรือตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ (ป.พ.พ.มาตรา48,49,57)
  • 2.14 การร้องขอให้ศาลสั่งให้ตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจทั่วไปจัดทำบัญชี ทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่นั้น(ป.พ.พ.มาตรา 50)
  • 2.15 กรณีผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการร้องขอ หรือเมื่อศาลเห็นสมควรสั่งให้ผู้จัดการทรัพย์สินหาประกัน แถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์สิน หรือถอดถอนผู้จัดการทรัพย์สิน และตั้งผู้อื่นเป็นผู้จัดการ(ป.พ.พ.มาตรา 56 (60 เดิม)
  • 2.16 กรณีกฎหมายสันนิษฐานว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าเด็กนั้นไม่เป็นบุตร ตามมาตรา 1539
  • 2.17 ผู้มีสิทธิได้รับมรดกร่วมกับเด็ก หรือผู้จะเสียสิทธิรับมรดก เพราะการเกิดของเด็กอาจฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร ในกรณีตามมาตรา 15442.18 บิดา มารดา จำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตร (ป.พ.พ.มาตรา1562,1564)
  • 3. พนักงานอัยการมีหน้าที่ต้องคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน จึงต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรอบคอบรวดเร็ว และโปร่งใสเพื่อให้เป็นที่เชื่อถือและศรัทธาแก่ประชาชน
  • 4. การดำเนินคดีครอบครัว (คุ้มครองสิทธิ) ดังกล่าวในข้อ 2. พนักงานอัยการไม่ต้องยื่นใบแต่งทนายความ เพราะพนักงานอัยการเป็นตัวความเสียเอง ไม่เหมือนการดำเนินคดีแพ่งทั่วไปของพนักงานอัยการที่ต้องยื่นในแต่งทนาย (ตามนัยคำพิพากษาฎีกา 122/2512)
  • 5. เมื่อพนักงานอัยการเป็นตัวความเสียเองในการดำเนินคดีครอบครัว พนักงานอัยการจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทนายความตามประมวลกฎหมายพิธีพิจารณาความแพ่ง (ตามนัยคำพิพากษาฎีกา 2046/2526)
  • 6. การดำเนินคดีครอบครัว จะต้องมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายอื่นระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นอำนาจของพนักงานอัยการ พนักงานอัยการจึงจะมีอำนาจดำเนินคดีนั้นได้ ไม่เหมือนการดำเนินคดีแพ่งทั่วไป พนักงานอัยการมีอำนาจที่จะดำเนินคดี ให้แก่ทุกกระทรวง ทบวง กรม ได้ทุกประเภทไม่มีข้อจำกัด(ตามนัยคำพิพากษาฎีกา 3340/2525)

เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง

**การขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ**

เขตอำนาจศาลยื่นต่อศาลเยาวชนและครอบครัวที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจมีเอกสารที่ใช้ดังนี้

  • 1. สำเนาทะเบียนบ้านผู้ร้อง
  • 2. รายงานแพทย์ยืนยันว่าเป็นผู้วิกลจริตตามกฎหมาย (ในบางกรณีศาลจะให้แพทย์เบิกความยืนยันด้วย)
  • 3. หลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องกับผู้วิกลจริต

**การขอให้ศาลสั่งให้ถอนอำนาจปกครองและตั้งผู้ปกครอง**

เขตอำนาจศาล ยื่นต่อศาลเยาวชนและครอบครัวที่ผู้เยาว์หรือผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขต

อำนาจมีเอกสารที่ใช้ดังนี้

  • 1. สำเนาทะเบียนบ้านผู้เยาว์หรือของผู้จะเป็นผู้ปกครอง
  • 2. ใบสำคัญการสมรสของบิดามารดาผู้เยาว์
  • 3. สูติบัตรผู้เยาว์ 

**การขอให้ศาลอนุญาตในการขอรับบุตรบุญธรรม**

เขตอำนาจศาล ยื่นต่อศาลเยาวชนและครอบครัวที่ผู้เยาว์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตมีเอกสารที่ใช้ดังนี้

  • 1. สำเนาทะเบียนบ้านผู้เยาว์และผู้รับบุตรบุญธรรม
  • 2. สูติบัตรผู้เยาว์
  • 3. ใบสำคัญการสมรสของบิดามารผู้เยาว์ (ถ้ามี)
  • 4. หนังสือของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมที่ให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรม
  • 5. มรณบัตรของบิดามารดาผู้เยาว์ (ถ้ามี)
วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

สถิติคดี

เอกสารเผยแพร่

สิทธิของผู้ต้องหาและจำเลย

สิทธิของผู้ต้องหา

  1. สิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าไม่มีความผิด และก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดจะแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำผิดมิได้ (รัฐธรรมนูฯ ม.33)
  2. สิทธิที่จำได้รับการสอบสวนหรือพิจารณาด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่องและเป็นธรรม (รัฐธรรมนูญฯ ม.241 วรรคแรกป.วิอาญา ม.130,179)
  3. สิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐด้วยการจัดหาทนายความให้ (รัฐธรรมนูญฯ ม.142, และ ป.วิอาญา ม.134,134/1,134/2,134/3,134/4,173)
  4. สิทธิที่จะไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฎิปักษ์ต่อตนเองอันอาจทำให้ตนเองถูกฟ้องคดี (รัฐธรรมนูญ ม.243 วรรคแรก)
  5. สิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวในกรณีที่ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (รัฐธรรมนูญฯ ม.240, และ ป.วิอาญาม.90)
  6. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคำขอประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาอย่างรวดเร็ว และจะเรียกหลักประกันจนเกินควรมิได้ การไม่ให้ประกันต้องอาศัยเหตุตามกฎหมายและต้องแจ้งเหตุให้ทราบโดยเร็ว (รัฐธรรมนูญฯ 239วรรคแรก และ ป.วิอาญา ม.106 ถึง 114)
  7. สิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านการไม่ให้ประกันตัว (รัฐธรรมนูญฯ ม.239 วรรคสอง, ป.วิอาญา ม.119 ทวิ)
  8. สิทธิที่จะมีล่ามหรือล่ามภาษามือ กรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทยหรือไม่ สามารถพูดหรือได้ยินหรือสื่อความหมายได้ (ป.วิอาญา ม.13 วรรคสี่ ,ม.13 ทวิ วรรคแรก)
  9. สิทธิที่จะได้รับหลักประกันในเเรื่องความสามารถในการต่อสู้คดี ในกรณีที่เชื่อว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดี ได้ (ป.วิอาญา ม.14)

สิทธิของจำเลย

  1. สิทธิที่จะได้รับหลักประกันในการที่ต้องมีผู้พิพากษานั่งพิจารณาครบองค์คณะ และผู้พิพากษาที่ไม่ได้นั่งพิจารณาคดีใด จะทำคำพิพากษาน้นมิได้ เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ (รัฐธรรมนูญฯ ม.236)
  2. สิทธิที่จะตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตน เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีแล้ว (รัฐธรรมนูญฯ ม.241 วรรคสาม)
  3. สิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามสมควรเพราะเหตุที่ตกเป็นจำเลยในคดีอาญาและถูกคุมขังระหว่างพิจารณาคดีและมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามิได้เป็นผู้กระทำผิดหรือการการะทำของจำเลยไม่เป็นความผิด (รัฐธรรมนูญฯ ม.246)
  4. ได้รับการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่องเป็นธรรม แต่งทนายแก้ต่างในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ปรึกษาทนายความหรือผู้ที่จะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัวตรวจดูสิ่งที่ยื่นเป็นพยานหลักฐาน และคัดสำเนา ถ่ายรูปสิ่งนั้น ตรวจดูสำนวนการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาและคัดสำเนาหรือขอรับสำเนาที่รับรองว่าถูกต้องโดยเสียค่าธรรมเนียม ตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตน และทนายความของจำเลยมีสิทธิเช่นเดียวกัน (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
    มาตรา 8)
  5. มีสิทธิที่จะขอโอนคดีหรือคัดค้านการขอโอนคดีของโจทก์ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 23)
  6. มีสิทธิที่จะรับเกียจผู้พิพากาษา (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 27)
  7. สิทธิที่จะไม่ถูกดำเนินคดีซ้ำ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36(4))
  8. สิทธิที่จะไม่ยอมไปพบเจ้าพนักงานหรือศาล ถ้าไม่มีหมายเรียก (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 52)
  9. มีสิทธิที่จะคัดค้านการถอนฟ้องของโจทก์ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35)
  10. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาของศาลโดยเปิดเผยและต่อหน้าจำเลย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความาอาญามาตรา 172 วรรคแรก เว้นแต่จะพิจารณาลับหลังจำเลย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 ทวิ)
  11. สิทธิที่จะได้รับทราบคำฟ้องและคำอธิบายจากศาล (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 วรรคสอง)
  12. สิทธิที่จะแถลงเปิดคดีเมื่อสืบพยานโจทก์แล้ว , นำพยานหลักฐานมาสืบ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 174 วรรคสอง วรรคสาม)
  13. สิทธิที่จะอยู่ในห้องพิจารณา แม้ศาลจะพิจารณาเป็นการลับ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา178 (2) และมีสิทธิอยู่ในห้องพิจารณาฟังพยานอื่นเบิกความโดยศาลไม่มีอำนาจสั่งให้ออกไปอยู่นอกห้องพิจารณา(ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 236)
  14. สิทธิที่จะอุทธรณ์ ฎีกา คัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่ง (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 230)
  15. สิทธิที่จะขอไปฟังการเดินเผชิญสือพยานหรือส่งประเด็นไปศาลอื่น (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 230)
  16. สิทธิที่จะอ้างตนเองเป็นพยานได้ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 233) สิทธิที่จะไม่ยอมให้โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยาน (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 232)
  17. สิทธิที่จะได้รับฟ้องการอ่านคำเบิกความพยานของศาลไม่ว่าในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 237)
  18. สิทธิที่จะอ่านหรือตรวจดู หรือขอสำเนาซึ่งพยานเอกสาร หรือตรวจดูพยานวัตถุ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 240 และมาตรา 242)
  19. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณากลั่นกรองจากศาลอุทธรณ์กรณีที่จำเลยไม่ติดใจอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง)
  20. สิทธิที่จะได้รับการทุเลาการบังคับโทษจำคุกโทษประหารชีวิต (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา246,247,248)
  21. สิทธิที่จะทูลเกล้าขอรับพระราชทานอภัยโทษ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 259 ถึงมาตรา 267)

การปฏิบัติต่อเด็กหรือเยาวชนในชั้นสอบสวน

  • 1.ต้องให้เด็กหรือเยาวชนั้นอยู่ในที่ที่เหมาะสม ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่ปะปนกับผู้ใหญ่ ไม่มีบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องอยู่ด้วย
  • 2.ใช้ภาษาหรือถ้อยคำที่เข้าใจง่าย
  • 3.การแจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคำต้องมีที่ปรึกษากฎหมายร่วมอยู่ด้วยทุกคร้ง บิดา มารดา หรือผู้ปกครองจะเข้าร่วมรับฟังการสอบสวนก็ได้
  • 4.พนักงานสอบสวนต้องแจ้งว่าเด็กหรือเยาวชนมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ และถ้อยคำที่ให้การอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดี
  • 5.ต้องสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่องและเป็นธรรม
  • 6.ให้โอกาสผู้ต้องหาแก้ข้อกล่าวหา และแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตนได้
  1. ที่กค 0422.3/ว 116 ลว 28 มีนาคม 2551 เรื่อง การกำหนดแบบการเบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับบุตร
  2. ที่กค 0409.6/ว 42 ลว 26 กรกฎาคม 2550 เรื่อง หลักเกณฑ์การเบิกค่าพาหนะรับจ้างข้ามเขตจังหวัด เงินชดเชย และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการ
  3. ทีกค 0422.3/ว 226 ลว 30 มิถุนายน 2552 เรื่อง การเบิกเงิสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร
  4. ที่กค 0417/ว 171 ลว 3 มิถุนายน 2546 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจกรณีสิทธิเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามสิทธิต่างๆ
  5. ที่กค 0417/ว 422 ลง 4 ธันวาคม 2550 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจหลักเกฎฑ์การเบิกจ่ายตรงเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลกรณีสิทธิซ้ำซ้อน
  6. ที่ กค 0409.6/ว 436 ลว 18 ธันวาคม 2550 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจวิธีปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจา่ยเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550
  7. ที่ กค 0409.6/ว 399 ลว 15 พฤศจิกายน 2550 เรื่อง ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าเช่าที่พักในการฝึกอบรมในประเทศและเบี้ยเลี้ยงเดินทางในการประชุมระหว่างประเทศ
  8. ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2550
  9. ที่กค 0422.3/ว 149 ลว 26 เมษายน 2553 เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกค่าการศึกษาของบุตรกรณีเรียกเก็บค่าการศึกษาครั้งเดียวตลอดปี
  10. ที่กค 0422.3/ว 390 ลว 30 ตุลาคม 2552 เรื่อง ประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียน
  11. ที่กค 0422.3/ว 271 ลว 7 สิงหาคม 2551 เรื่อง ประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียนในหลักสูตรระดับปริญญาตรี
  12. ประเภทและอัตราค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคแนบท้ายประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 15 กุุมภาพันธ์ 2548
  13. ที่กค 0422.3/ว 161 ลว 13 พฤษภาคม 2552 เรื่อง ประเภทและอัตราเงินำรุงการศึกษาในสถานศึกษาของทางราชการและค่าเล่าเรียนในสถานศึกษาของเอกชน
  14. พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. 2523
  15. พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547
  16. พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
  17. พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2553
  18. พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 (แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 7 พ.ศ. 2548)
  19. พระราชกษฏฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553
  20. ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550
  21. ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2553
  22. ที่ กค 0409.6/ว 95 ลว 2 ตุลาคม 2549 เรื่อง ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2549
  23. ที่ กค 0422.3/ว 145 ลว 21 เมษายน 2553 เรื่อง ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
  24. ที่ กค 0406.4/ว 485 ลว 25 ธันวาคม 2552 เรื่อง ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2552
  25. ที่กค 0422.3/ว 101 ลว 17 มีนาคม 2551 เรื่อง ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. 2551
  26. ที่กค 0406.4/ว. 96 ลว 16 กันยายน 2553 เรื่อง รายการค่าใช้สอยตามข้อ 12 ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของส่วนราชการ พ.ศ. 2553
  27. ที่ กค 0409.5/ว. 2 ลว 29 มกราคม 2550 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการ พ.ศ. 2550
  28. ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2549
  29. ที่ กค 0417/ว 177 ลว 24 พฤศจิกายน 2549 เรื่อง อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาลของทางราชการ
  30. ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการเงิน พ.ศ. 2554
  31. หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเบี้ยประชุมและค่าตอบแทนตามข้อ 9(1) และรายการค่าใช้สอยตามข้อ 12 ของระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ.2555
  32. ที่ กค 0422.7/ว 257 เรื่อง ประเภทและอัตราเงินบำรุงการศึกษาและค่าเล่าเรียน ลว. 28 มิถุนายน 2559

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดมุกดาหาร
ที่ตั้ง สำนักงานอัยการจังหวัดชั้น 3
ถนนสองนางสถิตย์ ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร   49000

Telephone&Fax  :  042-612315
E- mail: mukdahan-ju@ago.go.th

ชื่อผู้ดูแลเว็บไซต์  นางสาวพิศมัย  ประบุญเรือง
โทรศัพท์  089-5778118 & E-MaiL:   Pis2523@hotmail.com