สำนักงานอัยการจังหวัดพล นำโดย ท่านธนสิทธิ์ สีดา อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด (ผู้แทน อัยการจังหวัดพล) และข้าราชการฝ่ายอัยการ

เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องใน “วันปิยะมหาราช” ณ ที่ว่าการ อำเภอพลเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2566

สำนักงานอัยการจังหวัดพล นำโดย ท่านนิรุตต์ เจริญผล อัยการจังหวัดพล และข้าราชการฝ่ายอัยการ
เข้าร่วมกิจกรรม เนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช” ณ ที่ว่าการ อำเภอพล
เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2566
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2566 สำนักงานอัยการจังหวัดพล เข้าร่วมกิจกรรม
เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.10
นำโดย นายนิรุตต์ เจริญผล และคณะข้าราชการฝ่ายอัยการจังหวัดพล สำนักงานอัยการจังหวัดพล ณ ที่ว่าการ อำเภอพล

  •      สำนักงานอัยการสูงสุด แต่เดิมเป็นกรมอัยการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย เครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดจึงเป็นรูปตราราชสีห์ ต่อมาพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 ได้บัญญัติให้สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี จึงได้มี การกำหนดเครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดขึ้นใหม่ สำหรับใช้เป็นเครื่องหมายราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดและเป็นเครื่องหมายแสดงสังกัด ใช้กับเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายอัยการ ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ได้บัญญัติให้นำกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน มาใช้บังคับกับข้าราชการธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุด และกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้บัญญัติให้เครื่องหมายแบบข้าราชการพลเรือน เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน และโดยที่กฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน ได้บัญญัติให้ การกำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัด สำหรับใช้กับเครื่องแบบข้าราชการพลเรือน ต้องออกเป็นกฎสำนักนายกรัฐมนตรี
  •      สำนักนายกรัฐมนตรี จึงออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการกำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 129) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 เล่ม 109 ตอนที่ 40 หน้า 104-105 และออกกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 79 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2535 เล่ม 109 ตอนที่ 51 หน้า 4-5 กำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักอัยการสูงสุด เป็นรูปตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ประดิษฐานเหนือพระแว่น สุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์
  •      เครื่องหมายราชการ และเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักงานอัยการสูงสุด จึงเปลี่ยนจากรูปตราราชสีห์เป็น รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ มีความหมายถึงอำนาจหน้าที่ในการเป็นทนายแผ่นดิน การใช้กฎหมายด้วยความรอบคอบ เป็นธรรม และเด็ดขาด มีชัยชนะเหนืออธรรม
  • คำว่า “อัยการ” ตามรูปศัพท์
  •      คำว่า “อัยการ” ได้ปรากฎพบตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาในกฎมนเฑียรบาล รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถตราไว้เมื่อวันเสาร์ เดือนห้า ขึ้นหกค่ำ ” จุลศักราช 720(พ.ศ.1901)ว่า “..จึงต้องพระราชอาญาอัยการ ทหาร พ่อเรือน ชายหญิง สมณพรหมณ์จารย์..”
  •      ศัพท์ครั้งแรกที่พบเขียนว่า “อัยการ” แต่ต่อมามีการเขียนแตกต่างกันออกไป จนกระทั่งมาคงอยู่ ในรูปศัพท์ “อัยการ”ในปัจจุบัน เช่น ในคำพระราชปรารภในกฎหมายตราสามดวงและข้อความในลักษณะพระธรรมสาตรใช้คำว่า “พระไอยการ” ในหนังสืออัยการนิเทศเล่ม 1-2 พ.ศ.2478 – 2479 ใช้คำว่า “อัยยการนิเทศ” ในหนังสือบรรยายประวัติศาสตร์กฎหมายของหลวงสุทธิวาทนฤพุฒิ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2512 มีหลายแห่งใช้คำว่า “พระอายการ” เช่น พระอายการลักษณะเบ็ดเสร็จ
  •      พิจารณาตามรูปศัพท์ของคำว่า “อัยการ”จะเห็นได้จากปทานุกรมกระทรวง ธรรมการ พ.ศ.2470 ว่า การเขียนในสมัยนั้นได้ใช้ตัวอักษรว่า “อัยยการ” คือมีตัว อักษร “ย” เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งตัว ซึ่งพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ ประพันธ์ ทรงอธิบายว่าการที่เขียน “อัยยการ” ก็เพิ่งเขียนขึ้นเมื่อออกปทานุกรม ฉบับนี้เองแต่ก่อนไม่เคยเห็นเขียนเช่นนั้น ครั้นต่อมาพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย สถาน พ.ศ.2493 ได้กลับใช้คำว่า “อัยการ” เมื่อยกศัพท์ว่า “อัย” หรือ “อัยย” ซึ่งเป็นคำบาลี แปลว่า “ผู้เป็นเจ้าผู้เป็นใหญ่ นาย” คำว่า “การ” คืองานหรือหน้าที่ ฉะนั้นคำว่า “อัยการ” ตามความหมายของการแยกศัพท์ ก็คืองานของ ผู้เป็นเจ้านาย หรือ งานของผู้เป็นใหญ่ แต่ความหมายในปทานุกรมหรือพจนานุกรมได้ผิดแผกออกไป คือ หมายความว่า ชื่อกรมหนึ่งซึ่งมีหน้าที่ฟ้องความแผ่นดิน หรือเจ้าหน้าที่ในกรมนั้น
  • คำว่า “อัยการ” ตามรูปกฎหมาย การค้นหาที่มาของคำว่า “อัยการ” ตามกฎหมายเก่า เสด็จพระเจ้าวรวงค์ เธอ ซึ่งได้กล่าวพระนามข้างต้นนั้นได้ทรงยกพระราชปรารภในประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ 1 และในลักษณะพระธรรมสาตร ขึ้นพิจารณาดังนี้ในพระราชปรารภในประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 มีความว่า “แลฝ่ายข้าง อาณาจักร กสัตรผู้จะครองแผ่นดินนั้นอาศัยซึ่งโบราณราชนิติกฎหมาย พระอายการ อันกสัตร แต่ก่อนบัญญัติไว้ให้เป็นบรรทัดฐานจึงพิพากษา ตราสินเนื้อความราษฎรทั้งปวงได้โดยยุติธรรม และพระราชกำหนดบท พระอายการนั้น ก็ฟั่นเฟือนวิปริตผิดซ้ำต่างกันไปเป็นอันมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดข้าทูลอองฯ ที่มีสติปัญญาได้ 11 คน ชำระพระราชกำหนดบทพระอายการอันมีอยู่ในหอหลวง ตั้งแต่พระธรรมสาตรไปให้ถูกถ้วนตามบาลีเนื้อความผิดมิให้ผิดเพี้ยน..” ในพระธรรมสาตรมีความว่า “อันสาขาคดีนั้น คือ ลักษณะพระราชกำหนดบทพระอายการ และพระราชบัญญัติซึ่งจัดเป็นพระราชสาตรทั้งปวง อันโบราณราชกสัตรทรงพระอุตสาหะพิจารณาคำนึง ตามพระ คำภีร์พระธรรมสาตร แล้วมีพระราชบัญญัติดัดแปลงตกแต่งตั้งเป็น พระราชกำหนดบทพระอายการไว้โดยมาตราเป็นอันมากทุก ๆ ลำดับ กสัตรมาตราบเท่าทุกวันนี้”พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์นั้นได้ทรงวินิจฉัยว่า ตามที่ปรากฎคำว่า “อายการ” อยู่ในที่ 2 แห่งนี้ ก็พอจะเห็นความหมายของคำว่า “อัยการ” ได้แล้ว กล่าวคือ พระราชกำหนดบทพระอายการได้แก่ราชสาตรหรือบทกฎหมายที่กสัตร ได้ทรงกำหนดขึ้นตามหลักฎหมายในพระธรรมสาตร
  • คำว่า “พระอายการ” ตามที่ได้ทรงยกขึ้นเป็นตัวอย่างที่ 4 แห่งข้างต้นนั้น ตัวพิมพ์ในกฎหมายเก่า 2 เล่มของหมอบลัดเล ใช้คำว่า พระไอยการ และคำว่า พระไอยการ นี้ ยังมีการเขียนปรากฏอยู่ในกฎหมายเก่าอีกหลายบท เช่น ในกฎมณเฑียรบาลใช้คำว่า “กำหนดพระราชกฤษฎีกา ไอยการ พระราชกุมาร พระราชนัดดา ฝ่ายพระราชกุมารเกิดด้วยพระอัครมเหษี คือ สมเด็จหน่อ พระพุทธเจ้าอันเกิดด้วยแม่หยัวเมือง เป็นพระมหาอุปราชเกิดด้วย ลูกหลวงกินเมืองเอก เกิดด้วยหลานกินเมืองโท เกิดด้วยพระสนม เป็นพระเยาวราช”เป็นต้น ความหมายแห่งคำว่า “ไอยการ” ตามความที่ใช้ในกฎมณเฑียรบาลนี้ หลวงอรรถไกวัลวที อธิบายว่า หมายความถึง ทำเนียบหรือ หน้าที่สำหรับปฏิบัติและถ้าจะได้ศึกษากฎมณเฑียรบาลโดยตลอด จะเห็นได้ว่า ในกฎมณเฑียรบาลมีความกล่าวถึงหน้าที่ของพนักงานต่าง ๆ ไว้เป็นอันมาก เช่น “…ห้ามแห่ แลขี่ม้า เข้ามาในสนาม ไอยการขุนดาบห้าม ถ้าขุนดาบ มิได้ห้ามปรามไซร้ โทษขุนดาบสามประการ..” และนอกจากนี้ ตามกฎ มณเฑียรบาลได้กล่าวถึงหน้าที่มหาดไทยความว่า “ไอยการ” ลูกขุน พ่อเรือน หมู่ไพร่พลทหาร โทษอาญา และช้างม้างา เชือก เรือ สังกัดกฎหมาย และหญ้า แล งาน ณรงคสงคราม ทั้งนี้ พนักงานมหาดไทย” ซึ่งพอจะเห็นความหมายของคำว่า “ไอยการ” ได้ว่า หมายถึง หน้าที่หรือการซึ่งจะต้อง ปฏิบัติหรือระเบียบปฏิบัติ พลตรีพรเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงชี้แจงว่าเมื่อเห็น การเขียนสองรูปคือ “อายการ” และ “ไอยการ” แล้วก็เห็นได้ว่ามาจากคำว่า “อาย” หรือ ” ไอย” ซึ่งแปลว่า ทางไปหรือทางดำเนิน ทางปฏิบัติ” และตามตัวอย่างที่ปรากฎในกฎมณเฑียรบาลที่ยกขึ้นกล่าวนั้น จะเห็นว่า “อัยการ” แปลว่า “ทำเนียมปฏิบัติ หรือหน้าที่ปฏิบัติ คือ ไอย ก็ตรงกับคำว่าปฏิบัติ นั้นเอง หรือถ้าจะใช้อีกคำหนึ่งให้มีความหมายว่า การไป การดำเนิน เราก็มี คำว่า จารีต ซึ่งเมื่อรวมความหมายของคำว่า “อายการ” และ “ไอยการ” ซึ่ง ปรากฏในกฎหมายเก่าเป็นลำดับมานั้นแล้ว “พระราชกำหนดบทพระอายการ” จึงแปลว่า “พระราชกำหนดบทราชปฏิบัติหรือบันทัดฐานการปฏิบัติซึ่งกสัตรบัญญัติไว้ และในที่สุดคำว่า “อัยการ” จึงได้แก่ “กฎหมายซึ่งกสัตรบัญญัติตาม หลักพระธรรมสาตร และตามขนบธรรมเนียมประเพณีซึ่งปฏิบัติกันมา แต่ยังไม่เป็นบันทัดฐานกสัตรบัญญัติขึ้นให้ เป็นบันทัดฐานสำหรับราษฎร และผู้ตัดสินความจะได้ถือปฏิบัติต่อไป”
  • คำว่า “อัยการ” หมายถึงผู้รักษา
  • ความหมายของคำว่า “อัยการ” ตามประวัติที่มาของกฎหมายดังกล่าว ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่ามีความหมายตรงตามรูปศัพท์ที่ว่า เป็นงานของผู้เป็นใหญ่ หรือเป็นบทกฎหมาย ซึ่งกสัตรบัญญัติขึ้น ส่วนคำที่เรียกขานว่า “อัยการ” อันมี ความหมายถึง เจ้าพนักงานผู้รักษากฎหมายในกาลต่อมา ชั้นเดิมทีเดียวน่าจะ เรียกกันในหมู่ผู้รักษากฎมณเฑียรบาลว่า “ผู้ถืออัยการ” โดยจะพึงเห็นได้ จาก กฎมณเฑียรบาล ซึ่งตราขึ้นเมื่อจุลศักราช 720 ตอนหนึ่งมีความว่า “อนึ่ง ผู้ถืออัยการและอาญาทั้งปวง มีผู้ทำผิดอัยการซึ่งมิชอบ และ ผู้ถืออัยการมิได้ว่าตามอัยการที่ชอบไซร้ อันจะลงโทษแก่ผู้กระทำผิดอัยการนั้น ฉันใดให้ลงโทษแก่ผู้ถืออัยการ อันมิได้ว่ากล่าวนั้นด้วย” ความเป็นมา ของผู้เป็นทนายแผ่นดินในกาลต่อมา เพิ่งจะปรากฏชัดเจนในถ้อยคำ ต่อเมื่อ ได้มีประกาศกฎกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยคนอนาถายากจนฟ้องความลงวันที่ 29 มีนาคม ร.ศ.111 ข้อ 12. ความว่า “เจ้าพนักงานกรมอัยการอาจขอให้ ศาลสั่งห้ามมิให้โจทก์ว่าความอย่างคนอนาถาได้ ถ้าปรากฎว่าโจทก์มิได้ เป็นคนอนาถาจริง” และความในบทบัญญัติข้อ 12.แห่งพระราชบัญญัติ จัดการในสนามสถิตยุติธรรม ร.ศ.111 ซึ่งบัญญัติถึงเจ้าพนักงานกรมอัยการฟ้อง ความไม่ต้องสาบาลตัว ก็ได้ใช้ถ้อยคำเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ เพราะแต่เดิมมามิได้ มีอัยการเป็นผู้ฟ้องความอาญาแผ่นดิน ราษฎรผู้มีคดีความในโรงศาล หรือมี เรื่องราวจะฟ้องกล่าวโทษ ถวายฎีกาก็ไปให้ “เจ้าพนักงานกรมล้อมพระราชวังเรียงความและเขียนเรื่องราวให้” (ดูประกาศรัชกาลที่ 4 ประกาศว่าด้วยผู้ซึ่ง ถวายเรื่องราวและฎีกา) หรือมิฉะนั้น ก็ไปร้องต่อจ่าศาลด้วยตนเองว่าประสงค์ จะฟ้องความเช่นนั้นฯ จ่าศาลก็จดถ้อยคำเป็นหนังสือมอบให้พนักงานประทับ รับฟ้อง (ดูลักษณะธรรมสาตรในกฎหมายตราสามดวง) และจ่าศาลบังคับให้ โจทก์สาบาลก่อนฟ้องว่าเป็นความจริง (ดูพระราชบัญญัติว่าด้วยบังคับโจทก์ ให้สาบานก่อนฟ้องความอาญา ร.ศ.111) หรือถ้าเห็นว่าการที่ตนจะฟ้องความ เองจะเป็นการเสียเปรียบก็แต่งทนายไว้ความให้ไปว่าต่างได้ (ดูพระราชบัญญัติว่าความศาลต่างประเทศ จ.ศ.1243)
  • เรื่องประวัติของอัยการนี้ พลตรี สุข เปรุนาวิน เนติบัณฑิต อดีตอัยการ และหลวงอรรถไกวัลวที อดีตรองอธิบดีกรมอัยการ ได้เรียบเรียง “ระบอบอัยการ” ลงพิมพ์ในหนังสือบทบัณฑิตย์กล่าวความถึงประวัติของอัยการในประเทศไทย ว่า “อัยการในปัจจุบันนี้ แต่เดิมมาถือว่าเป็นองค์การส่วนหนึ่งของกิจการ ยุติธรรมแต่โบราณกาลมิได้เรียกว่า อัยการ คำว่าอัยการเพิ่งมาเรียกใช้ สำหรับผู้มีหน้าที่ดำเนินคดีอาญาในศาลเมื่อตั้งกระทรวงยุติธรรมแล้ว
  • คำว่า “อัยการ” ได้ถูกเรียกขานในพระราชบัญญัติบ้าง ในกฎกระทรวงบ้างว่า เจ้าพนักงานกรมอัยการ หรือเจ้าพนักงานผู้รักษากฎหมายมาตั้งแต่ ร.ศ. 111 ตลอดมาจน ร.ศ.114 เมื่อได้มีกฎหมายพระธรรมนูญศาลหัวเมืองบัญญัติ ถึงการแต่งตั้งอัยการในหัวเมือง จึงได้มีการเรียกอัยการว่า พนักงานอัยการ

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดพล
125 ถนนเจริญสุข ตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น 40120
โทรศัพท์ 0-4341-4642
โทรสาร 0 – 4341 – 4642 ต่อ 24 IP Phone : 432412

สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น
สาขาพล
โทรศัพท์ 0-4341-4114