ข่าวประชาสัมพันธ์

วันพุธที่ 26 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00 นาฬิกา  นายเพิ่มชาติ ทองรุ่ง อัยการจังหวัดร้อยเอ็ด   เป็นประธานในพิธีถวายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิม พระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566

วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม 2566 เวลา 06.30 นาฬิกา  นายเพิ่มชาติ ทองรุ่ง อัยการจังหวัดร้อยเอ็ด  พร้อมข้าราชการฝ่ายอัยการ  ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล ณ หอประชุมจังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

READ MORE

วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม 2566 เวลา 17.30 นาฬิกา  นายยุรนันท์  กิตติวรยศ รองอัยการจังหวัด  พร้อมข้าราชการฝ่ายอัยการ  ร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะ  วางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวาย   พระพรชัยมงคล ณ หอประชุม จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

READ MORE

วันจันทร์ที่  7 สิงหาคม 2566 เวลา 07.00 นาฬิกา  นายเพิ่มชาติ  ทองรุ่ง อัยการจังหวัดร้อยเอ็ด   พร้อมข้าราชการฝ่ายอัยการ  ร่วมพิธีวันรพี ณ บริเวณหน้าศาลจังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

READ MORE

READ MORE

สำนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ด ขอประกาศตน เป็นหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน ไม่รับ ของขวัญและของกำนัลทุกชนิด
จากการปฏิบัติหน้าที่

(No Gift Policy) READ MORE

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

สำนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งอยู่ที่ถนนราชการดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 45000 เดิมสำนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ดได้ใช้ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นที่ทำการสำนักงานอัยการสูงสุดได้จัดสรรงบประมาณให้สำนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 36,000,000.00 บาท เพื่อก่อสร้างสำนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ด และอุปกรณ์ที่ใช้ในสำนักงาน โดยก่อสร้างเสร็จและส่งมอบงานงวดสุดท้าย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 โดยก่อสร้างในที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ รอ.21  มีเนื้อที่ 12 ไร่ 2 งาน 12 ตารางวา

อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่โดยทั่วไปของพนักงานอัยการ

          เมื่อกล่าวถึงอัยการแล้วประชาชนส่วนใหญ่จะไม่ทราบถึงอำนาจหน้าที่ของอัยการอย่างถูกต้องแท้จริงจะทราบแต่เพียงว่าอัยการมีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาในคดีอาญาเท่านั้นโดยมักจะพูดกันว่าอัยการมีมีหน้าที่เอาคนเข้าคุก ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะไม่มีกฎหมายฉบับใดให้อำนาจอัยการเอาคนเข้าคุก ดังนั้น จึงต้องเผยแพร่ให้ประชาชนโดยทั่วไปรู้และเข้าใจถึงอำนาจหน้าที่ของอัยการที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งพอจะสรุปได้ ดังนี้
          ๑. อำนาจหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรม ได้แก่ การบริหารงานยุติธรรมในส่วนฝ่ายบริหารของรัฐเพื่อให้เกิดความสงบ เรียบร้อยและปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สินโดยอัยการจะเป็นผู้พิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนที่พนักงานสอบสวนเสนอมาแล้ววินิจฉัยสั่งคดี ตลอดทั้งดำเนินคดีอาญาทางศาลในฐานะทนายแผ่นดินตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นๆ บัญญัติไว้ว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของอัยการ 
          ๒. อำนาจหน้าที่ในการรักษาผลประโยชน์ของรัฐ ได้แก่ การพิจารณาให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายแก่ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ ตรวจร่างสัญญา ตอบข้อหารือตลอดจนทั้งการดำเนินคดีในศาลในฐานะทนายความของแผ่นดินแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา 
          ๓. อำนาจหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย ได้แก่ การคุ้มครองสิทธิและรักษาผลประโยชน์ของประชาชน ที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของอัยการ เช่น ในคดีแพ่งให้อำนาจอัยการเข้าไปคุ้มครองสิทธิของบุคคลไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนสาบสูญ การร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก การให้ความช่วยเหลือทางอรรถคดี โดยจัดการทนายอาสาให้ตลอดทั้งการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนทั่วไป

อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติอัยการ
อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการตามพระราชบัญญัติอัยการ พ.ศ.๒๔๙๘

          ๑. ดำเนินคดีอาญาตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
          ๒. ในคดีแพ่งมีอำนาจดำเนินคดีแพ่งแทนรัฐบาล
          ๓.แก้ต่างคดีแพ่งหรือคดีอาญาในกรณีที่เจ้าพนักงานถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่หรือราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องเนื่องจากการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงานซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมายหรือเข้าร่วมกับเจ้าพนักงานกระทำการในหน้าที่ราชการ
          ๔. ว่าต่างหรือแก้ต่างคดีแพ่งให้เทศบาลหรือสุขาภิบาล แต่ต้องมิใช่เป็นคดีที่พิพาทกับรัฐบาล
          ๕. ว่าต่างหรือแก้ต่างคดีแพ่งให้นิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาได้ตั้งขึ้น แต่ต้องมิใช่คดีที่พิพาทกับรัฐบาล
          ๖. เป็นโจทก์ในคดีที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดฟ้องเองไม่ได้เพราะมีกฎหมายห้ามไว้ เช่น ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาไม่ได้ แต่เมื่อผู้นั้นร้องขอพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องแทนได้
          ๗. ในคดีที่บุคคลใดถูกลงโทษเนื่องจากการกระทำอันละเมิดต่ออำนาจศาล ถ้าศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้นั้นไป เมื่ออัยการเห็นสมควรจะฎีกาก็ได้
          ๘. ในกรณีที่บุคคลใดผิดสัญญาประกันที่ทำไว้ต่อศาล อัยการมีหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญา
 

อำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

          ๑. ร้องขอให้ศาลสั่งให้คนวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถและร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
          ๒. ร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลซึ่งมีจิตฟั่นเฟือนหรือกายพิการและไม่สามารถประกอบหน้าที่การงานของตนเองเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งที่ได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
          ๓. ร้องขอให้ศาลสั่งการให้ทำไปพลางก่อนตามที่จำเป็นเพื่อจัดการทรัพย์สินของบุคคลที่ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่
          ๔. ร้องขอให้ศาลสั่งตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไปจัดทำบัญชีทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ หรือขอให้ศาลสั่งให้ผู้จัดการหาประกันหรือแจ้งรายทรัพย์สินหรือถอดถอนผู้จัดการหรือตั้งผู้อื่นแทนต่อไปเมื่อมีเหตุอันสมควร
          ๕. ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ที่ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นคนสาบสูญและร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ
          ๖. ร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้จัดการชั่วคราวในกรณีที่ผู้จัดการนิติบุคคลว่างลงและถ้าทิ้งตำแหน่งว่างไว้จะเกิดความเสียหาย
          ๗. ร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้แทนเฉพาะการในกรณีผู้จัดการนิติบุคคลมีประโยชน์ได้เสียหรือเป็นปฏิปักษ์กับนิติบุคคล
          ๘. ดำเนินการในฐานะเป็นผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิต่อไปในกรณีที่ผู้ตั้งมูลนิธิตายเสียก่อนที่นายทะเบียนจะรับจดทะเบียนมูลนิธิ
          ๙. ร้องขอให้ศาลถอนถอนกรรมการหรือคณะกรรมการมูลนิธิและแต่งตั้งคนใหม่แทนในกรณีที่กรรมการหรือคณะกรรมการจัดการผิดพลาดเสื่อมเสีย
          ๑๐. ร้องขอให้ศาลสั่งเลิกมูลนิธิและแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
          ๑๑. ร้องขอให้ศาลสั่งจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิที่สิ้นสุดลงให้แก่นิติบุคคลซึ่งมีวัตถุประสงค์ใกล้ชิดกับวัตถุประสงค์เดิมของมูลนิธินั้น
          ๑๒.ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนบริษัทที่เลิกกันเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลายโดยไม่มีผู้ชำระบัญชีตามข้อสัญญาหรือข้อบังคับของห้างหุ้นส่วนบริษัทนั้น
          ๑๓. ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติของสมาคมที่ลงมติโดยฝ่าฝืนข้อบังคับหรือกฎหมาย
          ๑๔. ขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีกรณีที่มีการเกิดสมาคมและไม่มีผู้ชำระบัญชี
          ๑๕. ร้องขอให้ศาลตั้งผู้อื่นนอกจากสามีหรือภริยาเป็นผู้อภิบาลหรือผู้พิทักษ์กรณีที่มีเหตุสำคัญ
          ๑๖. ร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ
          ๑๗. ให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแทนเด็กเมื่อศาลส่งคำร้องมาให้ในกรณีที่มีการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร
          ๑๘. เด็กอาจร้องขอให้พนักงานอัยการยกคดีขึ้นว่ากล่าวปฏิเสธความเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
          ๑๙. ร้องขอให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครอง
          ๒๐.ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครองและร้องขอให้พิสูจน์ว่าบุคคลที่ศาลตั้งให้เป็นผู้ปกครองเป็นผู้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๘๗ เพื่อให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครองและมีคำสั่งเกี่ยวกับผู้ปกครองต่อไปตามที่เห็น สมควร
          ๒๑. ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ปกครองหาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์สินหรือแถลงถึงความเป็นอยู่ของทรัพย์สินของผู้อยู่ในความปกครอง
          ๒๒. ร้องขอให้ศาลถอนผู้ปกครอง
          ๒๓. ต้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรมและเลิกรับบุตรบุญธรรม
          ๒๔. ฟ้องคดีแทนบุตรบุญธรรมเกี่ยวกับการขอเลิกรับบุตรบุญธรรม
          ๒๕. ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ ในกรณีมีมรดกตกทอดแก่ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต
          ๒๖. ร้องขอให้รัฐบาลให้อำนาจจัดตั้งมูลนิธิเมื่อพินัยกรรมกำหนดไว้
          ๒๗. ร้องขอให้ศาลจัดสรรทรัพย์สินที่กำหนดไว้ในพินัยกรรมให้จัดตั้งมูลนิธิให้แก่นิติบุคคลในเมื่อมูลนิธินั้นจัดตั้งขึ้นไม่ได้ตามวัตถุประสงค์
          ๒๘.ร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีที่เจ้ามรดกตายและทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไปหรืออยู่นอกราชอาณาจักรหรือเป็นผู้เยาว์หรือผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถหรือไม่เต็มใจจะจัดการหรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกหรือในการจัดการหรือในการแบ่งปันทรัพย์มรดกหรือข้อกำหนดพินัยกรรมตั้งผู้จัดการมรดกไม่มีผลบังคับ
          ๒๙. เป็นโจทก์ฟ้องคดีที่กฎหมายห้ามมิให้ราษฎรฟ้อง เช่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๖๒ ห้ามมิให้ฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาแต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทร้องขอ พนักงานอัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้
๓๐.ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้จัดการมรดกหาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์สินของทายาท ตลอดจนการมอบคืนทรัพย์สินนั้น และแถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์สินของทายาท
                

อำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา

          ๑. ร้องขอให้ศาลกำหนดโทษแก่ผู้กระทำความผิดเสียใหม่ในกรณีที่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด
          ๒.ร้องขอต่อศาลให้สั่งยกเลิกวิธีการเพื่อความปลอดภัยหรือกำหนดวิธีการเพื่อความปลอดภัยที่เป็นคุณมากกว่าวิธีการเพื่อความปลอดภัยเดิม เมื่อปรากฎว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่จะสั่งให้มีการบังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยซึ่งเป็นผลไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่ผู้ที่จะต้องถูกบังคับตามวิธีการเพื่อความปลอดภัยหรือนำมาใช้บังคับได้ แต่การใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเป็นคุณกว่า
          ๓.ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนหรืองดการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้ถูกบังคับใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยไว้ชั่วคราว ในกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวกับการใช้บังคับนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
          ๔. ร้องขอให้ศาลเปลี่ยนโทษกักขังเป็นโทษจำคุก
          ๕. ฟ้องขอให้กักกันในกรณีที่ผู้กระทำความผิดได้กระทำความผิดติดนิสัย ทั้งนี้เพื่อควบคุมผู้กระทำความผิดติดนิสัยไว้ในเขตกำหนด เพื่อป้องกันการกระทำความผิด เพื่อดัดนิสัยและฝึกหัดอาชีพ
          ๖.เสนอให้ศาลทำทัณฑ์บนบุคคลซึ่งปรากฏว่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นหรือบุคคลซึ่งถูกฟ้องเป็นคดีแต่ศาลไม่ลงโทษผู้ถูกฟ้องถ้ามีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูกฟ้องน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นเพื่อให้ศาลสั่งให้บุคคลนั้น ทำทัณฑ์บนว่าจะไม่ก่อเหตุดังกล่าว
          ๗. มีคำขอต่อศาลขอให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือเพิกถอนหรือกำหนดเงื่อนไขที่ยังมิได้กำหนดเกี่ยวกับการคุมประพฤติผู้กระทำความผิดซึ่งศาลพิพากษาว่ามีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้หรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้
          ๘. แถลงให้ศาลทราบว่าผู้ที่ได้รับการรอการลงโทษหรือตามคำพิพากษารอการกำหนดโทษไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขคุมความประพฤติดังที่ศาลกำหนดเพื่อศาลจะได้ตักเตือนหรือกำหนดโทษหรือลงโทษที่รอไว้
          ๙. เสนอให้ศาลเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งที่ใช้วิธีการสำหรับเด็กหรือออกคำสั่งใหม่ในกรณีที่เห็นว่าพฤติการณ์ที่เกี่ยวกับคำสั่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป 

อำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

          เป็นอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาซึ่งบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๔๙๘ มาตรา ๑๑(๑) ว่าในคดีอาญามีอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือพนักงานอัยการอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีอาญาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการซึ่งถือได้ว่ามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการก่ออาชญากรรมอย่างหนึ่ง อันได้แก่ การตรวจวินิจฉัยสำนวนการสอบสวนและการดำเนินคดีในศาลซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่ได้รับสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวน โดยสำนวนการสอบสวนดังกล่าวพนักงานสอบสวนจะเป็นผู้ดำเนินการจัดทำขึ้นทั้งหมดโดยอัยการมิได้เข้าไปเกี่ยวข้องเลยเมื่ออัยการได้รับสำนวนการสอบสวนจากพนักงานสอบสวนแล้วอัยการมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบวินิจฉัยสำนวนการสอบสวน และทำความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
          ๑. ถ้าเป็นสำนวนการสอบสวนที่ไม่รู้ตัวผู้กระทำความผิด อัยการมีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนงดการสอบสวนหรือดำเนินการสอบสวนต่อไปก็ได้
          ๒. ถ้าเป็นสำนวนการสอบสวนที่รู้ตัวว่าใครเป็นผู้กระทำความผิดไม่ว่าจะจับตัวผู้ต้องหาได้หรือไม่และพนักงานสอบสวนจะมีความเห็นสั่งฟ้องหรือไม่ก็ตามอัยการมีอำนาจที่จะสั่งสำนวนการสอบสวนได้ดังนี้


          ก. เมื่ออัยการพิจารณาเห็นว่าข้อเท็จจริงในสำนวนการสอบสวนยังไม่ชัดเจนพอก็มีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมหรือให้ส่งพยานมาพบอัยการเพื่อซักถามก็ได้


          ข. ถ้าอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนไม่หนักแน่นเพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าผู้ต้องหาเป็นผู้กระทำความผิดหรือการกระทำของผู้ต้องหาไม่เป็นความผิดต่อกฎหมาย อัยการมีอำนาจที่จะสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ถ้ากรณีที่คดีขาด อายุความหรือผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ในคดีอาญาที่เป็นความผิดอันยอมความได้ อัยการมีอำนาจสั่งยุติการดำเนินคดีได้


          ค. ถ้าอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนรับฟังได้ว่าผู้ต้องหาเป็นผู้กระทำความผิดจริงอัยการมี อำนาจสั่งฟ้องผู้ต้องหา โดยทำคำฟ้องยื่นฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลซึ่งภายหลังจากถูกฟ้องต่อศาลแล้วผู้ต้องหาจะถูกเรียกว่าจำเลย ในกรณี ที่จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดหรือจำเลยให้การรับสารภาพแต่คดีดังกล่าวมีอัตราโทษตามกฎหมายให้จำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป อัยการมีหน้าที่จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยต่อไป เมื่อศาลพิจารณาและมีคำพิพากษาในคดีนั้นอย่างใดแล้ว อัยการไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาดังกล่าวก็มีอำนาจที่จะอุทธรณ์ หรือฎีกาได้ เว้นแต่จะเข้ากรณีกฎหมายห้ามอุทธรณ์หรือฎีกา
          ง. ถ้าอัยการพิจารณาสำนวนการสอบสวนแล้วเห็นว่า คดีนั้นเป็นความผิดซึ่งสามารถทำการเปรียบเทียบปรับได้ เช่น ความผิดลหุโทษ อัยการมีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบปรับคดีนั้นหรือจะสั่งให้พนักงานสอบสวนอื่นที่มีอำนาจดำเนินการเปรียบเทียบให้ได้ 

อำนาจหน้าที่อย่างอื่นของอัยการในการดำเนินคดีอาญา


          – ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับผู้เสียหายในคดีใดๆก่อนคดีเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาที่ไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว
          – ยื่นฟ้องคดีที่ผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องคดีไว้แล้วแต่ถอนฟ้องคดีนั้นเสีย เว้นแต่เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว
          – ฟ้องเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายในคดีอาญาที่ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียไปเนื่องจาก การกระทำความผิดอาญาในฐานต่างๆอันได้แก่ ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชกทรัพย์ ฉ้อโกงทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ หรือรับของโจร โดยเมื่ออัยการยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลจะมีคำขอรวมไปกับคำฟ้องหรือจะยื่นคำร้องขอในระยะเวลาใดๆ ระหว่างคดีอยู่ในการพิจารณาของศาลชั้นต้น
          – ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายขังผู้ต้องหา
          – ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ปล่อยคนที่ถูกควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมายหรือถูกจำคุกผิดจากคำพิพากษาของศาล
          – คัดค้านการให้ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ต้องหาหรือถูกฟ้องในความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน ๑๐ ปี
          – แจ้งคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีให้ผู้ต้องหาและผู้ร้องทุกข์ทราบ ถ้าผู้ต้องหาถูกควบคุมหรือขังอยู่ให้ปล่อยตัวไปหรือขอให้ศาลปล่อยไปแล้วแต่กรณี
          – เข้าร่วมการชันสูตรพลิกศพกับพนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และแพทย์ในกรณีที่มีการตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

ข้าราชการอัยการ

ข้าราชการธุรการ

จ้างเหมาบริการ

พนักงานรักษาความปลอดภัย

ทำเนียบผู้บริหาร

ลำดับที่ชื่อ – นามสกุลรับตำแหน่งย้าย
1ร้อยเอกภิรมย์  รักชาตพ.ศ.2522พ.ศ.2523
2นายสมัย  ศรีตะวันพ.ศ.2523พ.ศ.2524
3นายบัวพันธ์  หารไชยพ.ศ.2524พ.ศ.2525
4นายนิยม  คีรีวงค์พ.ศ.2525พ.ศ.2527 
5นายอรุณ  แสงทองพ.ศ.2527พ.ศ.2529 
6นายเสนอ  บุญประสาทพ.ศ.2529พ.ศ.2530 
7นายสมบูรย์  บริสุทธิ์พ.ศ.2530พ.ศ.2531 
8นายสุรพงศ์  ศรีกุลธนากิจพ.ศ.2531พ.ศ.2534 
9ว่าที่ร้อยตรีสุทิน  สุขสุเดชพ.ศ.2534พ.ศ.2537 
10นายวิชิต  อินศรพ.ศ.2537พ.ศ.2539 
11นายศิลป์ชัย  คณาวุฒิพ.ศ.2539 พ.ศ.2541
12นายสุรินทร์  พันธ์ทวีพ.ศ.2541พ.ศ.2543 
13นายสมเกียรติ  แพทย์คุณพ.ศ.2543พ.ศ.2544 
14นายกิตินันท์  เจริญสุขพ.ศ.2544 พ.ศ.2545 
15นายศิริพงษ์  เพชรอุบลพ.ศ.2545 พ.ศ.2547 
16นายสมชาย  บุญฤทธิ์พ.ศ.2547 พ.ศ.2549 
17นายพิทยา  ธรรมนิจกุลพ.ศ.2549 พ.ศ.2550 
18นายปริญเดช  ศิริพานิช พ.ศ.2550 พ.ศ.2551 
19นายสรวิชิต  ทองบัวบาน พ.ศ.2551 พ.ศ.2554 
20นายอินตา  บุระคำ พ.ศ.2554 30  ก.ย. 2554
21นายพิพากษา  ชุมแวงวาปี1  ต.ค. 2554 31  มี.ค. 2555
22นายสุรเชษฐ์  งามวงศ์1  เม.ย. 255531  มี.ค. 2556
23นายนิพนธ์  ทิพยไกรศร1  เม.ย. 255631  มี.ค. 2557
24นายสันไชย  ฉายวิเชียร 1  เม.ย. 255731  มี.ค. 2558
25ร้อยตำรวจเอกอภิวัฒน์  คำโมง1  เม.ย. 25582 เม.ย. 2560
26นายรัฐกฤษ  พูนชัย1  เม.ย. 2560 30 ก.ย. 2560
27พันตำรวจตรีพรรษวุฒ  สุวานิช1 ต.ค. 256031 มี.ค. 2561
28นายชัย  จันเฮียงมิ่ง1  เม.ย. 2561 31 มี.ค. 2562
29นายศักดา คล้ายร่มไทร1 เม.ย. 256231 มี.ค.2563
30นายสำเร็จ หงษ์พันธ์1 เม.ย. 256331 มี.ค.2564
31นายมีชัย  ปัฐพี1 เม.ย. 256431 มี.ค.2565
32นายจิตติวัฒน์  คิดวันนา1 เม.ย.256531 มี.ค.2566
33นายเพิ่มชาติ ทองรุ่ง1 เม.ย.256631 มี.ค.2567
34นายธีรพล แก้วไวยุทธ1 เม.ย.2567ถึงปัจจุบัน

สถิติคดี

สำนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ด


ปรเภทสำนวน (คดี)ปี พ.ศ.2563ปี พ.ศ.2564ปี พ.ศ.2565ปี พ.ศ.2566
ส. 13,6564,0663,5703,752
ส. 1 ฟื้นฟู2,1153,3625613
ส. 2337320312466
ส. 2 ก6,5375,0915,0392,906
ส. 3102765672
ส. 4 ฟ้องความอาญา3,4823,7283,4393,732
ส.4 ฟ้องความวาจา1,3931,6227,0675,732
ส. 5274
ส. 5 ก360159128105
ส. 124751
ส. 12 ก245204180132
คดีมาตรการ (ริบทรัพย์)8311917
สำนวนบังคับโทษปรับคดียาเสพติด (บ.ป.)7120
คดีความรุนแรงในครอบครัว16712

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ด
ถนนราชการดำเนิน  ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 45000
อีเมลย์ : roiet@ago.go.th โทรศัพท์ 043-511140, 065-3301539
โทรสาร  043-511140