ข่าวประชาสัมพันธ์








วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เวลา 08.00 น. นายสมเกียรติ เบ็ญจขันธ์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดร้อยเอ็ด
พร้อมข้าราชการฝ่ายอัยการ ร่วมพิธีถวายราชสักการะวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ณ หอประชุมจังหวัดร้อยเอ็ด














วันที่ 28 กันยายน 2566 เวลา 08.00 น. นายสมเกียรติ เบ็ญจขันธ์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดร้อยเอ็ด
ร่วมกับสำนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ด และสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมข้าราชการฝ่ายอัยการ ร่วมจัดกิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและเป็นการสร้างความภาคภูมิใจในวันพระราชทานธงชาติไทย
ณ บริเวณหน้าเสาธง สำนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ด
เกี่ยวกับสำนักงาน
ประวัติสำนักงาน
<< ศัพท์และความหมายของคำว่า “อัยการ” >> คำว่า “อัยการ” ตามรูปศัพท์
คำว่า “อัยการ” ได้ปรากฎพบตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาในกฎมนเฑียรบาล รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถตราไว้เมื่อวันเสาร์ เดือนห้า ขึ้นหกค่ำ ” จุลศักราช 720(พ.ศ.1901)ว่า “..จึงต้องพระราชอาญาอัยการ ทหาร พ่อเรือน ชายหญิง สมณพรหมณ์จารย์..”
ศัพท์ครั้งแรกที่พบเขียนว่า “อัยการ” แต่ต่อมามีการเขียนแตกต่างกันออกไป จนกระทั่งมาคงอยู่ ในรูปศัพท์ “อัยการ”ในปัจจุบัน เช่น ในคำพระราชปรารภในกฎหมายตราสามดวงและข้อความในลักษณะพระธรรมสาตรใช้คำว่า “พระไอยการ” ในหนังสืออัยการนิเทศเล่ม 1-2 พ.ศ.2478 – 2479 ใช้คำว่า “อัยยการนิเทศ” ในหนังสือบรรยายประวัติศาสตร์กฎหมายของหลวงสุทธิวาทนฤพุฒิ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2512 มีหลายแห่งใช้คำว่า “พระอายการ” เช่น พระอายการลักษณะเบ็ดเสร็จ
พิจารณาตามรูปศัพท์ของคำว่า “อัยการ”จะเห็นได้จากปทานุกรมกระทรวง ธรรมการ พ.ศ.2470 ว่า การเขียนในสมัยนั้นได้ใช้ตัวอักษรว่า “อัยยการ” คือมีตัว อักษร “ย” เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งตัว ซึ่งพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ ประพันธ์ ทรงอธิบายว่าการที่เขียน “อัยยการ” ก็เพิ่งเขียนขึ้นเมื่อออกปทานุกรม ฉบับนี้เองแต่ก่อนไม่เคยเห็นเขียนเช่นนั้น ครั้นต่อมาพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย สถาน พ.ศ.2493 ได้กลับใช้คำว่า “อัยการ” เมื่อยกศัพท์ว่า “อัย” หรือ “อัยย” ซึ่งเป็นคำบาลี แปลว่า “ผู้เป็นเจ้าผู้เป็นใหญ่ นาย” คำว่า “การ” คืองานหรือหน้าที่ ฉะนั้นคำว่า “อัยการ” ตามความหมายของการแยกศัพท์ ก็คืองานของ ผู้เป็นเจ้านาย หรือ งานของผู้เป็นใหญ่ แต่ความหมายในปทานุกรมหรือพจนานุกรมได้ผิดแผกออกไป คือ หมายความว่า ชื่อกรมหนึ่งซึ่งมีหน้าที่ฟ้องความแผ่นดิน หรือเจ้าหน้าที่ในกรมนั้น
คำว่า “อัยการ” ตามรูปกฎหมาย
การค้นหาที่มาของคำว่า “อัยการ” ตามกฎหมายเก่า เสด็จพระเจ้าวรวงค์ เธอ ซึ่งได้กล่าวพระนามข้างต้นนั้นได้ทรงยกพระราชปรารภในประมวลกฎหมาย รัชกาลที่ 1 และในลักษณะพระธรรมสาตร ขึ้นพิจารณาดังนี้
ในพระราชปรารภในประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 มีความว่า “แลฝ่ายข้าง อาณาจักร กสัตรผู้จะครองแผ่นดินนั้นอาศัยซึ่งโบราณราชนิติกฎหมาย พระอายการ อันกสัตร แต่ก่อนบัญญัติไว้ให้เป็นบรรทัดฐานจึงพิพากษา ตราสินเนื้อความราษฎรทั้งปวงได้โดยยุติธรรม และพระราชกำหนดบท พระอายการนั้น ก็ฟั่นเฟือนวิปริตผิดซ้ำต่างกันไปเป็นอันมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จัดข้าทูลอองฯ ที่มีสติปัญญาได้ 11 คน ชำระพระราช กำหนดบทพระอายการอันมีอยู่ในหอหลวง ตั้งแต่พระธรรมสาตรไปให้ถูกถ้วนตามบาลีเนื้อความผิดมิให้ผิดเพี้ยน..”
ในพระธรรมสาตรมีความว่า “อันสาขาคดีนั้น คือ ลักษณะพระราชกำหนดบทพระอายการ และพระราชบัญญัติซึ่งจัดเป็นพระราชสาตรทั้งปวง อันโบราณราชกสัตรทรงพระอุตสาหะพิจารณาคำนึง ตามพระ คำภีร์พระธรรมสาตร แล้วมีพระราชบัญญัติดัดแปลงตกแต่งตั้งเป็น พระราชกำหนดบทพระอายการไว้โดยมาตราเป็นอันมากทุก ๆ ลำดับ กสัตรมาตราบเท่าทุกวันนี้”
ภารกิจหน้าที่
การดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ
การดำเนินคดีอาญาในศาลเยาวชนและครบครัวมีข้อแตกต่างจากการดำเนินคดีในศาลจังหวัดหรือศาลแขวงมากมายหลายประการ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
๑. บุคคลที่ต้องขึ้นศาลเยาวชนและครอบครัว คือ เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดกฎหมายต่างๆ
เด็ก หมายถึง บุคคลที่มีอายุเกิน ๗ ปี แต่ไม่เกิน ๑๔ ปี
เยาวชน หมายถึง บุคคลที่มีอายุ ๑๔ ปี แต่ไม่ถึง ๑๘ ปี
บุคคลใดที่กระทำความผิดต่อเด็กและเยาวชนตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ เช่น กระทำทารุณกรรมเด็กส่งเสริมหรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควร (เที่ยวเตร่กลางคืน, แข่งรถซิ่ง, ร่วมวงดื่มสุรา, ให้เข้าในสถานบริการในยามค่ำคืน) ยินยอมให้เด็กเล่นการพนันหรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน จำหน่ายหรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก หรือยุยงส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาฝ่าฝืนระเบียบของสถานศึกษา ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท
๒. การดำเนินการหลังการจับกุมเด็กหรือเยาวชน พนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการตาม มาตรา ๕๐ กล่าวคือ
๒.๑ ถ้าคดีอาญานั้นเจ้าพนักงานมีอำนาจเปรียบเทียบปรับ ก็สามารถเปรียบเทียบปรับไปได้เลย คดีเป็นอันเสร็จตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
๒.๒ ถ้าคดีอาญานั้นไม่สามารถเปรียบเทียบปรับได้พนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
๒.๒.๑ แจ้งการจับกุมหรือควบคุมไปยังผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจ
๒.๒.๒ แจ้งการจับกุมหรือควบคุมไปยังบิดา มารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจ
๒.๒.๓ พนักงานสอบสวนจะต้องถามปากคำเด็กหรือเยาวชนให้เสร็จภายในเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่เด็กหรือเยาวชนนั้นมาถึงสถานที่ทำการของพนักงานสอบสวน
๒.๒.๔ เมื่อสอบปากคำแล้วพนักงานสอบสวนต้องส่งตัวเด็กหรือเยาวชนนั้นไปยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กหรือเยาวชน
๓. การดำเนินการหลังจากสถานพินิจได้รับตัวเด็กหรือเยาวชนไว้แล้วเป็นหน้าที่ของผู้อำนวยการสถานพินิจที่จะต้อง ดำเนินการเกี่ยวกับตัวเด็กหรือเยาวชน ดังต่อไปนี้
๓.๑ ผู้อำนวยการสถานพินิจมีอำนาจควบคุมเด็กหรือ เยาวชนนั้นไว้ยังสถานพินิจหรือจะปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันหรือไม่มีประกันหรือมีประกันและหลักประกัน ถ้าจะปล่อยชั่วคราวผู้อำนวยการสถานพินิจสั่งได้เลย แต่ถ้าเห็นว่าไม่สมควรปล่อยชั่วคราวให้ส่งคำร้องไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวแล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาสั่งคำสั่งดังกล่าวให้เป็นที่สุด แต่ยื่นคำร้องขอใหม่ได้อีก ผู้อำนวยการสถานพินิจมีอำนาจสั่งงดการสืบเสาะแล้วทำรายงานการสืบเสาะส่งไปยังพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ผู้อำนวยการสถานพินิจมีอำนาจสั่งงดการสืบเสาะข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงจำนวน ไม่เกิน ๓ ปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ พิจารณาอนุญาตให้ผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาซึ่งมีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดต่อศาลเยาวชนและครอบครัว พิจารณาแจ้งความเห็นสั่งไม่ฟ้องเด็กหรือเยาวชนไปยังพนักงานอัยการ ในกรณีที่เห็นว่าเด็กหรือเยาวชนอาจกลับตนเป็นคนดีได้โดยไม่ต้องฟ้อง
๔. กำหนดระยะเวลาฟ้องและระยะเวลาผัดฟ้องผู้ต้องหา
กรณีพนักงานสอบสวนอยู่ในเขตอำนาจศาล มีหลักดังนี้คือ
– โทษอย่างสูงจำคุกไม่เกิน ๖ เดือนหรือโทษปรับ ต้องฟ้องภายใน ๓๐ วันนับแต่วันจับกุม
– โทษอย่างสูงจำคุกเกิน ๖ เดือน แต่ไม่เกิน ๕ ปี ผัดฟ้องได้ไม่เกิน ๒ ครั้ง ๆ ละไม่เกิน ๑๕ วัน
– โทษอย่างสูงจำคุกเกิน ๕ ปีขึ้นไป ผัดฟ้องได้ไม่เกิน ๔ ครั้ง ๆ ละ ไม่เกิน ๑๕ วัน แต่ในการยื่นคำร้อง ผัดฟ้องครั้งที่ ๓ และ ๔ ศาลต้องไต่สวนคำร้องก่อนอนุญาต ถ้าฟ้องไม่ทันภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว กฎหมายห้ามมิให้พนักงานอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด
วิสัยทัศน์ (Vision)
“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”
พันธกิจ (Missions)
1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โครงสร้าง (Structure)

วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร
ทำเนียบผู้บริหาร
ลำดับที่ | รายนาม | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
1 | นายวิชิต อินศร | 7 พฤษภาคม 2538 – 30 มิถุนายน 2538 |
2 | นายเฉลิม ภูมิพิพัฒน์พงษ์ | 1 กรกฎาคม 2538 – 3 ตุลาคม 2539 |
3 | นายวิชาญ ธรรมสุจริต | 4 ตุลาคม 2539 – 30 เมษายน 2541 |
4 | นายสุเทพ รักไตรรงค์ | 1 พฤษภาคม 2541 – 30 เมษายน 2542 |
5 | นายประณม ถวัลย์ลาภา | 3 พฤษภาคม 2542 – 30 เมษายน 2543 |
6 | นายนิรันดร์ วุฒืวัฒน์ | 1 พฤษภาคม 2543 – 30 เมษายน 2544 |
7 | นายชวลิต สุวรรณภูชัย | 1 พฤษภาคม 2544 – 30 เมษายน 2545 |
8 | นายสัญญา ไพเราะ | 7 พฤษภาคม 2545 – 30 เมษายน 2546 |
9 | นายพงษ์ศักดิ์ วิริยะพาณิชย์ | 28 เมษายน 2546 – 3 พฤษภาคม 2547 |
10 | นายธนวรรษ ว่องไวทวีวงศ์ | 4 พฤษภาคม 2547 – 3 เมษายน 2548 |
11 | นายจิรวุฒิ เตชะพันธุ์ | 4 เมษายน 2548 – 30 เมษายน 2549 |
12 | นายอุสิตษา ด้วงปัั้น | 1 พฤษภาคม 2549 – 31 มีนาคม 2550 |
13 | นายเลิศชาย ณ นคร | 2 เมษายน 2550 – 31 มีนาคม 2551 |
14 | นายอนวัช อิศโร | 1 เมษายน 2551 – 31 มีนาคม 2553 |
15 | นายสิทธิผล โพธิ์ชัย | 1 เมษายน 2553 – 31 มีนาคม 2554 |
16 | นายสมพงษ์ ภุชงค์โสภาพันธุ์ | 1 เมษายน 2554 – 31 มีนาคม 2555 |
17 | นางวิชญา หาญนัทธี | 1 เมษายน 2555 – 31 มีนาคม 2556 |
18 | ว่าที่ร้อยตรี ชาญณรงค์ เนื้อนุ่ม | 1 เมษายน 2556 – 31 มีนาคม 2557 |
19 | นายชวนนท์ อิสสระวิทย์ | 1 เมษายน 2557 – 31 มีนาคม 2558 |
20 | นายรัฐกฤษ พูนชัย | 1 เมษายน 2558 – 31 มีนาคม 2559 |
22 | นายวิพุธ บุญประสาท | 1 เมษายน 2559 – 31 มีนาคม 2560 |
23 | พ.ต.ต.พรรษวุฒ สุวานิช | 3 เมษายน 2560 – 31 มีนาคม 2561 |
24 | นายบัญชา ใจสอาด | 2 เมษายน 2561 – 31 มีนาคม 2562 |
25 | นายรุ่งวิทย์ ประนิธิ | 1 เมษายน 2562 – 31 มีนาคม 2563 |
26 | นางสาวนฤมล นาวงษ์ | 1 เมษายน 2563 – 31 มีนาคม 2564 |
27 | นางสาวอาจารี สุนทรพินิจกิจ | 1 เมษายน 2564 – 31 มีนาคม 2565 |
28 | นายธีรพล แก้วไวยุทธ | 1 เมษายน 2565 – 31 มีนาคม 2566 |
29 | นายสมเกียรติ เบ็ญจขันธ์ | 1 เมษายน 2566 – ปัจจุบัน |

นายสมเกียรติ เบ็ญจขันธ์
อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดร้อยเอ็ด

นายกำรัฐ ศรีโชติ
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ผู้กลั่นกรองงาน

นายธีระศักดิ์ ธรรมขันธ์
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นางสาววิจิตรา ฤทธิ์มนตรี
เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส
รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการ

นางสาวปราณี พลแพงพา
นิติกรชำนาญการ

นางสาวสุเปรมศรี สร้อยชื่น
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นายจุลเทพ ศิลปชัย
พนักงานขับรถ
สถิติคดี
สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดร้อยเอ็ด
ปี พ.ศ. สำนวน | 2563 | 2564 | 2565 |
ส.1 | 245 | 171 | 148 |
ส.1 ฟ | 67 | 48 | 6 |
ส.2 | 6 | 4 | 12 |
ส.2 ก | 19 | 16 | 19 |
ส.4 อาญา | 226 | 147 | 113 |
ส.มาตรการพิเศษ | 37 | 33 | 25 |
ส.คุ้มครองสวัสดิภาพ | 1 | 2 | 3 |
ส.มาตรการริบทรัพย์ | – | – | – |
ส.3 | – | – | – |
ส.4 วาจา (ค.ด.) | – | – | 1 |
ส.6 | 4 | 3 | 4 |
ส.7 ฎีกา | 1 | – | 1 |
รวม | 606 | 424 | 332 |
เอกสารเผยแพร่
ติดต่อหน่วยงาน
สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดร้อยเอ็ด
ถนนราชการดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 45000
โทร. 0 4351 8206 โทรสาร 0 4351 8206