ข่าวประชาสัมพันธ์

โครงการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายต่างๆ แก่ประชาชนทั่วไป

โครงการฝึกอบรม หลักสูตรการประนอมข้อพิพาทระดับหมู่บ้าน 20 กรกฎาคม 2566 ณ หอประชุมอำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด NEW

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน มีชื่อย่อว่า สคช.ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๕ ในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด ตามคำสั่งของกรมอัยการที่ ๑๗๔/๒๕๒๕ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๕ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ผลประโยชน์และให้ความช่วยเหลือประชาชน ทางด้านกฎหมาย ต่อมาเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๒๖ คณะรัฐมนตรีได้มีมติโอนโครงการให้ความช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนในชนบทเขตยากจน ซึ่งขณะนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักนโยบายและแผน มหาดไทย มาให้สำนักงานอัยการสูงสุดรับผิดชอบดำเนินงานสิบมา ในวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๒๗ คณะรัฐมนตรีได้มีมติโอนงานช่วยเหลือทางกฎหมายแก่เกษตรกร และผู้ยากจน ซึ่งขณะนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมาให้ สคช.สำนักงานอัยการสูงสุด รับผิดชอบดำเนินการ วิธีดำเนินการ ได้ดำเนินการตามแนวนโยบายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การพิจารณาพื้นที่เป้าหมายดำเนินงาน โดยนำเอาปัญหาที่แท้จริงของคนในท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคและแต่ละพื้นที่เป็นตัวกำหนดพื้นที่ปฏิบัติการ โดยสำนักงานอัยการ สูงสุดได้มีคำสั่งจัดตั้งสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนประจำจังหวัดขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศ เป็นการให้บริการฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายยกเว้นค่าธรรมเนียมในชั้นศาลที่ ต้องเสียตามกฎหมาย
ต่อมาวันที่ 1 เมษายน 2557 สำนักงานอัยการสูงสุด ได้มีการประกาศคณะกรรมการอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด เรื่อง การแบ่งหน่วยงาน และการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2556 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2557 เป็นต้นไป กำหนดให้ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดร้อยเอ็ด มีที่ตั้งอยู่ที่ อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดร้อยเอ็ด ชั้น 1ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด นับแต่นั้น เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน


อำนาจหน้าที่

อำนาจและหน้าที่

ตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓

          กำหนดให้องค์กรอัยการประกอบด้วย ก.อ. อัยการสูงสุด, และพนักงานอัยการอื่น โดยมีสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานธุรการ

          สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นส่วนราชการที่มีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น และนิติบุคคล โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้แทนนิติบุคคล และให้ข้าราชการฝ่ายอัยการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด  มีดังนี้

           ๑. ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน

           ๒. ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ

           ๓. ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร

           ๔. ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้

           ๕. ดำเนินการตามที่รัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ

           ๖.  ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ

           ๗. ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน

           ๘. ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด

           ๙. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด

           ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ

ตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๔ มีดังนี้

           ๑. อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ

           ๒.ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ

           ๓. ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโคตุลาการทั้งปวงกับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ

           ๔. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดีหรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้

           ๕. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นเป็นคู่กรณีและมิใช่กรณีที่พิพาทกับรัฐบาลหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้

           ๖. ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้

           ๗. ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ

           ๘. ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ

           ๙. อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี

           ๑๐. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ

           ๑๑. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่สำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด

           ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตาร ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำโดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมก็ได้

           พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.

นโยบายของผู้บริหาร

นโยบายและแผนการบริหารองค์กร

แผนการบริหารทรัพยากรบุคคลประจำปี 2564

  • หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561

1. การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2553
หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการสอบแข่งขันการขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้และรายละเอียดเกี่ยวกับการสอบแข่งขัน

2. การบรรจุและแต่งตั้งบุคลากร

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2553
แนวทางการบริหารงานบุคคลของข้าราชการอัยการ เดือนเมษายน 2564
การคัดเลือกจากบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในตำแหน่งหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้ได้รับคัดเลือกในตำแหน่งอื่นของสำนักงานอัยการสูงสุด

 3. การพัฒนาบุคลากร

ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากรของสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2563

 4. การประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินของลูกจ้างประจำและพนักงานราชการ
ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการอัยการ พ.ศ. 2560

 5. การให้คุณให้โทษและการสร้างขวัญและกำลังใจ 

ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ. 2554
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2563
หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการธุรการสำนักงานอัยการสูงสุด
ข้อกําหนดคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการจัดลําดับอาวุโสของข้าราชการอัยการ พ.ศ. 2554
ข้อกําหนดคณะกรรมการอัยการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการจัดลําดับอาวุโสของข้าราชการอัยการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

เขตอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ


๑. อำเภอเกษตรวิสัย จำนวน ๑๓ ตำบล
๒. อำเภอเชียงขวัญ จำนวน ๖ ตำบล
๓. อำเภอเมยวดี จำนวน ๔ ตำบล
๔. อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จำนวน ๑๕ ตำบล
๕. อำเภอเมืองสรวง จำนวน ๕ ตำบล
๖. อำเภอเสลภูมิ จำนวน ๑๘ ตำบล
๗. อำเภอโพธิ์ชัย จำนวน ๙ ตำบล
๘. อำเภอโพนทราย จำนวน ๕ ตำบล
๙. อำเภอโพนทอง จำนวน ๑๔ ตำบล
๑๐.อำเภอจตุรพักตรพิมาน จำนวน ๑๒ ตำบล
๑๑.อำเภอจังหาร จำนวน ๘ ตำบล
๑๒.อำเภอทุ่งเขาหลวง จำนวน ๕ ตำบล
๑๓.อำเภอธวัชบุรี จำนวน ๑๒ ตำบล
๑๔.อำเภอปทุมรัตต์ จำนวน ๘ ตำบล
๑๕.อำเภอพนมไพร จำนวน ๑๓ ตำบล
๑๖.อำเภอศรีสมเด็จ จำนวน ๘ ตำบล
๑๗.อำเภอสุวรรณภูมิ จำนวน ๑๕ ตำบล
๑๘.อำเภอหนองพอก จำนวน ๙ ตำบล
๑๙.อำเภอหนองฮี จำนวน ๔ ตำบล
๒๐.อำเภออาสามารถ จำนวน ๑๐ ตำบล


บุคลากร

ทำเนียบผู้บริหาร

ลำดับที่ ชื่อ – สกุล ปีที่ดำรงตำแหน่ง
๑.นายรัฐกฤษ พูนชัย เมษายน ๒๕๕๗ – มีนาคม ๒๕๕๘
๒.นายตะวัน วัฒนกูล เมษายน ๒๕๕๘ – มีนาคม ๒๕๕๙
๓.นายไพรวัลย์ จันทรสิทธิผล เมษายน ๒๕๕๙ – มีนาคม ๒๕๖๐
๔.นายถาวร โมครัตน์ เมษายน ๒๕๖๐ – มีนาคม ๒๕๖๑
๕.นายรุ่งวิทย์ ประนิธิ เมษายน ๒๕๖๑ – มีนาคม ๒๕๖๒
๖.นายเดชชัย ผานะวงค์ เมษายน ๒๕๖๒ – มีนาคม ๒๕๖๓
๗.นางสาวอาจารี  สุนทรพินิจกิจ  เมษายน ๒๕๖๓ – มีนาคม ๒๕๖๔
๘.นายกิติพงษ์   มณีวงศ์ เมษายน ๒๕๖๔ – มีนาคม ๒๕๖๕
๙.นายปกรณ์ เทศทำนุเมษายน ๒๕๖๕ – มีนาคม ๒๕๖๖
๑๐.นางสาวศรุดา เข็มเจริญเมษายน ๒๕๖๖ – มีนาคม ๒๕๖๗
๑๑.พันตำรวจโท บุณถิ่น วันภักดีเมษายน ๒๕๖๗ – มีนาคม ๒๕๖๘

เอกสารยื่นคำร้อง

การยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก

การดำเนินงานคุ้มครองสิทธิ

การดำเนินงานคุ้มครองสิทธิจะต้องปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการช่วยทางกฎหมายแก่ประชาชน พ.ศ.2533 อันเป็นการดำเนินคดีคุ้มครองสิทธิตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ เช่น ร้องขอจัดการมรดก สั่งให้เป็นคนสาบสูญ ร้องขอตั้งผู้ปกครอง ฯลฯ ซึ่งการเนินงานคุ้มครองสิทธิ ถือว่าพนักงานอัยการเป็นตัวความเอง จึงไม่ต้องยื่นใบแต่งทนายความโดยมีความแตกต่างจากการดำเนินคดีแพ่ง ว่าต่างแก้ต่างให้ กระทรวง ทบวง กรม ซึ่งถือว่าเป็นคู่ความที่แท้จริง ฐานะของพนักงานอัยการมีฐานะเช่นเดียวกับทนายความโดยปกติ พนักงานอัยการจะรับดำเนินการด้านคุ้มครองสิทธิให้ทุกเรื่อง หากไม่ดำเนินการต้องเสนออธิบดีอัยการฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมายพิจารณาสั่งและแจ้งให้ผู้ร้องทราบตามระเบียบ หากคดีอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่น สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ต้องส่งเรื่องไปให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนประจำจังหวัด หรือ จังหวัดสาขา ที่มีอำนาจรับดำเนินการให้การดำเนินการคุ้มครองสิทธิ นอกจากยึดหลักให้บริการโดยรวดเร็วและเป็นธรรมแล้วยังต้องยึดหลักที่ไม่คำนึงถึงฐานะราย ได้ของผู้ร้องขอและไม่เป็นการฝ่าฝืน หรือ หลีกเลี่ยงกฎหมาย

การยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก

เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นย่อมตกทอดแก่ทายาท ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตายมีทรัพย์สิน จำนวนมากตกทอดแก่ทายาท อาจจะเป็นทายาทโดยธรรม หรือ โดยพินัยกรรม ในกรณีที่เจ้ามรดกมีทรัพย์สินซึ่งมีทะเบียนเป็นโฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3ทะเบียนอาวุธปืน ทะเบียนรถยนต์ ซึ่งทรัพย์เหล่านี้ในการจัดการมรดก เจ้าพนักงานจะไม่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเกี่ยวกับทรัพย์สิน เหล่านั้น หากไม่มีการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการตามกฎหมายเสียก่อนโดยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้ราษฎรจำนวนมาก ได้มายื่นคำร้องขอความช่วยเหลือต่อสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) สำนักงานอัยการสูงสุดให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับทรัพย์สินเหล่านั้น

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.)
ป.พ.พ.มาตรา 1713 ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรม หรือ ผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรือ อยู่นอกราชอาณาเขต
หรือเป็นผู้เยาว์
(2) เมื่อผู้จัดการมรดก หรือ ทายาทไม่สามารถ หรือ ไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือ มีเหตุขัดข้องในการจัดการ
หรือในการแบ่งปันมรดก
(3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรม ซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใดๆ
การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรมและถ้าไม่มีข้อกำหนด
พินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึ่งถึงเจตนาของเจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะ
เห็นสมควร

มาตรา 1718 บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้
(1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
(2) บุคคลวิกลจริต หรือ บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
(3) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย
เหตุในการยื่น
(1) ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท ทายาทอาจเสียไปซึ่ง
สิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือ กฎหมายอื่น
(2) ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1602 เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความในมาตรา 62 แห่งประมวล
กฎหมายนี้มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาทกรณีแรกเป็นกรณีที่เจ้ามรดกได้ถึงแก่ความตายโดยธรรมชาติคือ
หัวใจหยุดเต้นและสมองไม่ทำงาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 15


เขตอำนาจศาล

ในการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดมรดกถือเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4 จัตวา (ที่แก้ไขใหม่ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12 พ.ศ.2534) งบัญญัติว่า “คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ให้เสนอต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ใน เขตศาลในขณะถึงแก่ความตายในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลที่ทรัพย์มรดก อยู่ในเขตศาล ดังนั้น ตามกฎหมายดังกล่าวในการยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกจึงต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่ เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล ในขณะถึงแก่ความตายเท่านั้นแต่ถ้าขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาญาจักรการยื่นคำร้องให้ยื่นต่อศาลที่ทรัพย์มรดกอยู่ในเขตศาลนั้น

เอกสารที่ใช้ในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก

1. บัตรประจำตัวประชาชนผู้มายื่นคำร้องเป็นผู้จัดการมรดก
2. ทะเบียนบ้านของผู้มายื่นคำร้องเป็นผู้จัดการมรดก
3. ใบสำคัญการสมรสของผู้มายื่นคำร้องเป็นผู้จัดการมรดก
4. ใบมรณบัตรของเจ้าของมรดก(ผู้ตาย)
5. ทะเบียนบ้านที่มีชี่อของเจ้ามรดก (ผู้ตาย)
6. ใบสำคัญการสมรสของเจ้าของมรดก
7. หลักฐานทางทรัพย์มรดก
8. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของทายาททุกคน พร้อมรับรองสำเนา
9. หนังสือให้ความยินยอมในการร้องขอจัดการมรดก
10. ใบมรณบัตรของบิดามารดาของเจ้าของมรดก(ผู้ตาย) กรกณีถึงแก่ความตายไปแล้ว
11. หลักฐานอื่นๆ ถ้ามี (ใบเปลี่ยนชื่อ , ใบเปลี่ยนนามสกุล) จำนวน 3 ชุด

หมายเหตุ
– ลำดับที่ 1 ถึง 7 และ 9 ให้ถ่ายเอกสารและให้ผู้ร้องรับรองสำเนาถูกต้องมา จำนวน 3 ชุด
– ลำดับที่ 4, 5, 6 และ 10 ถ้าไม่มีให้นายทะเบียนอำเภอรับรองให้
– ลำดับที่ 8 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของทายาทคนใดให้บุคคลนั้นรับรองสำเนาถูกต้องมาด้วย จำนวน 3 ชุด
– ลำดับที่ 9 หนังสือให้ความยินยอมในการร้องขอจัดการมรดก ให้ทายาททุกคนต้องมาลงลายมือชื่อต่อหน้าพนักงานอัยการ เว้นแต่กรณีเหตุขัดข้าง เช่น เจ็บป่วย ชราภาพมาก ไม่สะดวกในการเดินทางหรืออยู่ห่างไกลมาก ก็ให้ขอให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายแพทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล รับรองลายมือชื่อของทายาทผู้ให้ความยินยอมหรืออาจให้เจ้าหน้าที่ของ สคชจ. ที่อยู่ใกล้เคียงภูมิลำเนาของทายาทนั้น ให้การรับรอง(หากทายาทหายสาบสูญ ต้องมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ)

ขั้นตอนการดำเนินการ

เมื่อมีผู้มาร้องขอให้คุ้มครองสิทธิ หรือ ช่วยเหลือทางกฎหมายที่สำนักงาน นิติกร หรือ ทนายความอาสา จะสอบถามผู้ร้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานบันทึกข้อเท็จจริงให้สมบูรณ์ที่จะดำเนินการตามแบบบันทึกข้อเท็จจริงรวบรวมเอกสารเข้าสำนวนเมื่อพนักงานอัยการรับเรื่องจะตรวจว่าเอกสารครบถ้วนหรือไม่ที่จะดำเนินการถ้าไม่ครบจะแจ้งให้ผู้ร้องขอส่งมาเป็นสำเนาเอกสาร…เมื่อหลักฐานครบถ้วนพอดำเนินการได้…..พนักงานอัยการจะยื่นคำร้อง ต่อศาล ชำระค่าฤชาธรรมเนียม ค่าประกาศหนังสือพิมพ์และกำหนดวันนัดไต่สวน แจ้งวันนัดให้ผู้ร้องทราบนำผู้ร้องและต้นฉบับเอกสาร พยานหลักฐาน เข้าไต่สวนตามวันนัด จนศาลมีคำสั่งและส่งคำสั่งศาลให้ผู้ร้องทราบและขอคัดคำสั่งศาล หากศาลมีคำสั่งตามคำร้องขอแล้ว พนักงานอัยการก็เสนอขอยุติการช่วยเหลือต่ออัยการจังหวัดร้อยเอ็ดพิจารณาสั่งต่อไป หากศาลไม่ได้มีคำสั่งตามคำร้องขอ ก็อาจเสนอพิจารณาอุทธรณ์ฎีกาต่อไป

เอกสารที่ใช้ในการขอตั้งผู้ปกครอง

1. สำเนาทะเบียนบ้านของเด็ก ถ่ายเอกสาร 3 ชุด
2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ปกครอง ถ่ายเอกสาร 3 ชุด
3. สำเนาสูติบัตรของเด็ก ถ่ายเอกสาร 3 ชุด
4. สำเนามรณบัตรของมารดาเด็ก ถ่ายเอกสาร 3 ชุด
5. สำเนามรณบัตรของบิดาเด็ก ถ่ายเอกสารคนละ 3 ชุด
6. สำเนาหลักฐานการสมรสทางศาสนาของบิดามารดาเด็ก ถ่ายเอกสาร 3 ชุด
7. เงินค่าธรรมเนียม

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนคนไร้ความสามารถ

1. สำเนาทะเบียนบ้านผู้ร้อง (บิดา) ถ่ายเอกสาร 3 ชุด
2. สำเนาทะเบียนบ้านของคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ถ่ายเอกสาร 3 ชุด
3. สำเนาสูติบัตรของคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ถ่ายเอกสารคนละ 3 ชุด
4. สำเนาทะเบียนทะเบียนสมรสของผู้ร้อง (บิดา) ถ่ายเอกสารคนละ 3 ชุด
5. ใบรับรองแพทย์ ถ่ายเอกสารคนละ 3 ชุด
6. บัตรประจำคนผู้พิการ ถ่ายเอกสารคนละ 3 ชุด
7. สำเนาทะเบียนบ้านของมารดา ถ่ายเอกสารคนละ 3 ชุด
8. หนังสือให้ความยินยอมจากทายาท
9. เงินค่าธรรมเนียม

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องขอรับบุตรบุญธรรม

1. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้จะรับบุตรบุญธรรม
2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม
3. สำเนาทะเบียนบ้านของบิดามารดาของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม
4. สำเนาทะเบียนบ้านของสามีหรือภริยาผู้จะรับบุตรบุญธรรม
5. สำเนาใบสำคัญการสมรสของผู้จะรับบุตรบุญธรรม
6. สำเนาใบสำคัญการสมรสของบิดามารดาบุตรบุญธรรม
7. สำเนาสูติบัตรผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม
8. หนังสือให้ความยินยอมของบิดาผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม
9. หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรสของผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม
10. เงินค่าธรรมเนียม

***เอกสารทั้งหมดถ่ายมา 3 ชุด***

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดร้อยเอ็ด
ถนนราชการดำเนิน  ตำบลในเมือง
อำเภอเมืองร้อยเอ็ด  จังหวัดร้อยเอ็ด ๔๕๐๐๐
โทรศัพท์  ๐-๔๓๕๑-๔๙๓๔  โทรสาร  ๐-๔๓๕๑-๙๓๔
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดร้อยเอ็ด
  E-Mail  : roiet-lawaid@ago.go.th