ข่าวประชาสัมพันธ์

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า นายอดิศักดิ์ ราชทยานนท์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร
พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากร
สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร

ขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากร สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร

มีนโยบาย งดรับของขวัญและของกำนัลทุกชนิด (No Gift Policy)

“ข้าราชการฝ่ายอัยการและเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร งดรับของขวัญและของกำนัลทุกชนิด ทุกโอกาสและทุกเทศกาล ทั้งก่อน/ขณะ/หลังปฏิบัติหน้าที่ ที่จะส่งผลให้เกิดการทุจริตและประพฤติมิชอบในปัจจุบันและอนาคต” และขอเชิญชวนแสดงความปรารถดีในช่วงเทศกาล ด้วยคำอวยพร บัตรอวยพร หรือการอวยพรผ่านสื่อออนไลน์

สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดให้บริการช่วยเหลือทางกฏหมายแก่ประชาชน

ติดต่อศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานอัยการสูงสุด

ประกาศเจตนารมณ์

ข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากร

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร เป็นหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกคน ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิด ทั้งก่อน/ขณะ/หลังจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy)

หากมีผู้ใดเรียกร้องเงิน/ของขวัญและของกำนัลทุกชนิด ในการดำเนินการของ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร จากท่าน
โปรดแจ้ง
อัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร ทันที
หมายเลขโทรศัพย์/โทรสาร ๐ ๔๒๗๑ ๕๔๗๑-๒

2 พฤษภาคม 2567
พิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาส “วันฉัตรมงคล” ประจำปี 2567

วันพฤหัสบดี ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 10.00 น. นายอดิศักดิ์ ราชทยานนท์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากร สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร ร่วมพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาส “วันฉัตรมงคล” วันที่ 4 พฤษภาคม 2567 ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดสกลนคร(หลังใหม่)

1 พฤษภาคม 2567
กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว Big Cleaning Day

วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 11.00 น. นายอดิศักดิ์ ราชทยานนท์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากร สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 Big Cleaning Day บริเวณศาลากลางจังหวัดสกลนคร

1 พฤษภาคม 2567
ทำบุญตักบาตรสามเณรภาคฤดูร้อน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ

วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เวลา 06.30 น. นายอดิศักดิ์ ราชทยานนท์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากร สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร ร่วมทำบุญตักบาตรสามเณรภาคฤดูร้อน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ บริเวณศาลากลางจังหวัดสกลนคร

29 เมษายน 2567
พิธีเจริญพระพุทธมนต์ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 17.00 น. นายอดิศักดิ์ ราชทยานนท์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากร สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร 29 เมษายน 2567 ณ วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

29 เมษายน 2567
วันคล้ายวันประสูติ ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร

วันจันทร์ ที่ 29 เมษายน 2567 เวลา 07.00 น. นายอดิศักดิ์ ราชทยานนท์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากร สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ลงนามถวายพระพร และทำบุญตักบาตร เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 29 เมษายน 2567 ณ วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

25 เมษายน 2567
ถวายภัตตาหารเช้า/เพล สามเณร โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน

วันพฤหัสบดี ที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 10.00 น. นายอดิศักดิ์ ราชทยานนท์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากร สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร ร่วมเป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารเช้า/ภัตตาหารเพล สามเณร โครงการบรรพชาภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ณ วัดป่าสุทธาวาส(เรือนไทย) ต.ห้วยยาง อ.เมือง จ.สกลนคร

25 เมษายน 2567
วันที่ระลึกคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

วันพฤหัสบดี ที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 06.30 น. นายอดิศักดิ์ ราชทยานนท์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากร สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร ร่วมพิธีสวดพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล ณ วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร และเวลา 07.30 น. ร่วมพิธีวางพวงมาลาและถวายราชสดุดี เบื้องหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ หอประชุมคุรุสดุดี สหกรณ์ออมทรัพย์ครูสกลนคร จำกัด อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร โดยมี นายณัฐวัสส์ วิริยานภาภรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เป็นประธานในพิธี นำคณะผู้บริหารจังหวัดสกลนคร ทหาร ตำรวจ สมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัดสกลนคร สมาชิกแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสกลนคร หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานภาคเอกชน และประชาชน ในจังหวัดสกลนคร ร่วมกิจกรรมโดยพร้อมเพรียงกัน

23 เมษายน 2567
เจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันอังคารที่ 23 เมษายน 2567 เวลา 17:30 น. นายอดิศักดิ์ ราชทยานนท์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากร สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร ร่วมเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม พรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 เนื่องในโอกาส วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริบูลยราชกุมาร 29 เมษายน 2567 และทำวัตรสวดมนต์เย็น เวียนเทียน รอบองค์พระธาตุเชิงชุม เนื่องในวันพระขึ้น 15 ค่ำ ที่บริเวณ ลานวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

19 เมษายน 2567
วันสถาปนาศาลเยาวชน ประจำปี 2567

วันที่ 19 เมษายน 2567 เวลา 07.00 น. นายอดิศักดิ์ ราชทยานนท์ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากร สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร เข้าร่วมโครงการ “กิจกรรมวันสถาปนาศาลยุติธรรม” ประจำปี 2567 เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาตรสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ที่มีต่อศาลยุติธรรม ซึ่งในปี พ.ศ.2567 จะครบรอบ 142 ปี ศาลยุติธรรม

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติสำนักงาน

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร ได้เปิดทำการเมื่อวันจันทร์ที่ ๔ มกราคม ๒๕๔๙ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ๗)๒๕๔๘ และพระราชกฤษฎีกา กำหนดวันเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ในศาลจังหวัดกาฬสิน! ศาลจังหวัดน่าน ศาลจังหวัดพัทลุง ศาลจังหวัดมุกดาหาร ศาลจังหวัดเลย ศาลจังหวัดสกลนคร ศาลจังหวัดสมุทรสงคราม ศาลจังหวัดหนองคาย ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์ และศาลจังหวัดอุทัยธานี พ.ศ.๒๕๔๔ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒ ตอน ๑๐๑ ก. ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๘ โดยตั้งอยู่บริเวณชั้น ๑ ของสำนักงานอัยจังหวัดสกลนคร

บทบาทและหน้าที่ตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓

กำหนดให้องค์กรอัยการประกอบด้วย ก.อ., อัยการสูงสุด, และพนักงานอัยการอื่น โดยมีสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานธุรการ

สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นส่วนราชการที่มีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น และเป็นนิติบุคคล โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้แทนนิติบุคคล และให้ข้าราชการฝ่ายอัยการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด มีดังนี้

  • (๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
  • (๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
  • (๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
  • (๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
  • (๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
  • (๖ ) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ
  • (๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
  • (๔) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
  • (๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด

ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๔ มีดังนี้

  • (๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
  • (๒) ในคตีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
  • (๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือ ในกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
  • (๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
  • (๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (“) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นเป็นคู่กรณีและมิใช่กรณีที่พิพาทกับรัฐบาลหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
  • (๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
  • (๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกด่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
  • (๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังดับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
  • (๙)อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ.ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
  • (๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
  • (๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด

ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำโดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้

พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร

  • (๑) พิจารณารับผิดชอบการดำเนินคดีอาญาทั้งปวงเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน(อายุต่ำกว่า๑๘ปี) ที่กระทำความผิดทางอาญาหรือความผิดที่มีโทษทางอาญา ในอำนาจหน้าที่ของพนักงาน อัยการ ภายในเขตท้องที่ของสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร.
  • (๒) พิจารณารับผิดชอบการดำเนินคดีอาญากับบุคคลอายุเกิน๑๘ ปีเฉพาะที่อยู่ในอำนาจการ พิจารณาของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนครเช่นความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครอง เด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.๒๕๕๒ เป็นต้น.
  • (๓) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับ มอบหมาย

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)

วัฒนธรรมองค์กร

  • ๑. สถานีตำรวจภูธรเมืองสกลนคร
  • ๒. สถานีตำรวจภูธรตาดโตน
  • ๓. สถานีตำรวจภูธรขมิ้น
  • ๔. สถานีตำรวจภูธรดงมะไฟ
  • ๕. สถานีตำรวจภูธรโคกศรีสุพรรณ
  • ๖. สถานีตำรวจภูธรกุสุมาลย์
  • ๗. สถานีตำรวจภูธรเต่างอย
  • ๘. สถานีตำรวจภูธรพรรณานิคม
  • ๙. สถานีตำรวจภูธรนาใน
  • ๑๐. สถานีตำรวจภูธรสว่าง
  • ๑๑. สถานีตำรวจภูธรอากาศอำนวย
  • ๑๒. สถานีตำรวจภูธรโพนงาม
  • ๑๓. สถานีตำรวจภูธรโพนแพง
  • ๑๔. สถานีตำรวจภูธรพังโคน
  • ๑๕. สถานีตำรวจภูธรวานรนิวาส
  • ๑๖. สถานีตำรวจภูธรศรีวิชัย
  • ๑๗. สถานีตำรวจภูธรหนองสนม
  • ๑๘. สถานีตำรวจภูธรคำตากล้า
  • ๑๙. สถานีตำรวจภูธรบ้านม่วง
  • ๒๐. สถานีตำรวจภูธรวาริชภูมิ
  • ๒๑. สถานีตำรวจภูธรคำบ่อ
  • ๒๒. สถานีตำรวจภูธรนิคมน้ำอูน
  • ๒๓. สถานีตำรวจภูธรกุดบาก
  • ๒๔. สถานีตำรวจภูธรภูพาน
  • ๒๕. สถานีตำรวจภูธรสร้างค้อ
  • ๒๖. สถานีตำรวจภูธรสว่างแดนดิน
  • ๒๗. สถานีตำรวจภูธรแวง
  • ๒๘. สถานีตำรวจภูธรโคกสี
  • ๒๙. สถานีตำรวจภูธรส่องดาว
  • ๓๐. สถานีตำรวจภูธรเจริญศิลป์
  • ๓๑. สถานีตำรวจภูธรโพนนาแก้ว

บุคลากร

ทำเนียบรายชื่ออัยการจังหวัด

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร

๑. นายอนันต์ ธรรมรัตน์ ๑ เมษายน ๒๕๔๙ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๐
๒. นายเชาว์ บุญฤทธิ์ ๑ เมษายน ๒๕๕๐ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๑
๓. นายพิพัฒน์ นิลรัตนโกศล ๑ เมษายน ๒๕๕๑ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๓
๔. นายศรัณย์รักษ์ ภัทรพงษ์ ๑ เมษายน ๒๕๕๓ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔
๕. นายเลิศพงษ์ กลัดอ่ำ ๑ เมษายน ๒๕๕๔ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕
๖. นายยงยุทธ สงเคราะห์ธรรม ๑ เมษายน ๒๕๕๕ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๖
๗. นายวุฒิชัย เศาขกุล ๑ เมษายน ๒๕๕๖ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
๘. ร.ต.อ.อภิวัฒน์ คำโมง ๑ เมษายน ๒๕๕๗ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
๙. นายนพฎล พรไชยา ๑ เมษายน ๒๕๕๘ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙
๑๐. นายประพนธ์ แก้วคำพล ๑ เมษายน ๒๕๕๙ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
๑๑. ร.ต.อ.ชาญ เทียบทองวัฒนา ๔ มกราคม ๒๕๖๐ – ๒ เมษายน ๒๕๖๐
๑๒. นางสาวมัลลิกา เพ็งคำ ๓ เมษายน ๒๕๖๐ – ๑ เมษายน ๒๕๖๑
๑๓. นางนารีรัตน์ ไพศาลธนวัฒน์ ๒ เมษายน ๒๕๖๑ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๒
๑๔. นายวรเทพ สกุลพิชัยรัตน์ ๑ เมษายน ๒๕๖๒ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓
๑๕. นายฦๅชา วัฒนเนติกุล ๑ เมษายน ๒๕๖๓ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔
๑๖. พันตรี นพดล ไตลังคะ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕
๑๗. นางสาวบงกช ประทีปเสถียรกุล ๑ เมษายน ๒๕๖๕ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖
๑๘. นายชุมพร เสรีนนท์ชัย ๑ เมษายน ๒๕๖๖ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๗
๑๙. นายอดิศักดิ์ ราชทยานนท์ ๑ เมษายน ๒๕๖๗ – ปัจจุบัน

ข้าราชการอัยการ

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร

นายอดิศักดิ์ ราชทยานนท์
อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร
นายวสันต์ ขจรสุขกำจาย
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด (ผู้กลั่นกรองงาน)
นางสาวบูรตา วงษ์อุไร
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

ข้าราชการธุรการ

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร

นางภัสนี อินต๊ะแสน
หัวหน้าสำนักอำนวยการ
สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร
นายอานนท์ เบญมาตย์
นิติกรชำนาญการ
สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร
นางกัญญณัท มาโฮนี่
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร

พนักงานจ้างเหมาบริการ

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร

นางสาวศุรภาพิชญ์ คำมุงคุณ
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
นางชุมพร มั่งมี
เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

สถิติคดี

ประเภทคดีพ.ศ.๒๕๕๓พ.ศ.๒๕๕๔พ.ศ.๒๕๕๕พ.ศ.๒๕๕๖พ.ศ.๒๕๕๗พ.ศ.๒๕๕๘พ.ศ.๒๕๕๙พ.ศ.๒๕๖๐
ส.๑๕๗๘๔๒๔๓๒๙๒๐๑๔๕๘๓๙๙๔๙๗๓๗๐
ส.๑ ฟ.๒๐๖๑๕๑๔๖๓๑๗๔๔๑๔๑๑๒๒๖๑๕
ส.๒๒๗๑๒๒๗๑๓๒๖๒๑๑๓
ส.๒ ก.๘๐๑๕๙๙๑๐๑๔๑๕๘๒๓๓๑๑๑๓๘๖๒
ส.๔    ๔๓๗๔๐๐๔๘๗๓๓๕
ส.๕ ก.๑๐     
ส.๖     
บ.๘       

เอกสารเผยแพร่

การปฏิบัติตัวเมื่อจะไปเป็นพยานศาล

การส่งหมายเรียกพยาน
  • (๑) คู่ความฝ่ายที่อ้างท่านเป็นพยานนำไปส่ง
  • (๒) เจ้าพนักงานศาลนำไปส่ง
  • (๓) เจ้าหน้าที่ตำรวจนำไปส่ง
เมื่อท่านได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล ควรทำอย่างไร
  • (๑) ควรตรวจรายละเอียดในหมายเรียกเพื่อให้ทราบว่าศาลไหนเรียกให้ท่านไปเป็นพยานและท่านต้องไปเป็นพยานโจทก์หรือพยานจำเลย ใน วัน เวลา ใด
  • (๒) หากมีข้อสงสัย กรุณาโทรสอบถามตามหมายเลขโทรศัพท์ของศาลที่ปรากฏอยู่ในหมายเรียก
  • (๓) ควรเก็บหมายเรียกไว้ และนำไปศาล ในวันที่ศาลนัดสืบพยาน
การเตรียมตัวไปเป็นพยานศาล

ควรทบทวนเหตุการณ์ที่ท่านได้รู้ได้เห็นเกี่ยวกับคดีเพื่อจัดลำดับเรื่องราวต่างๆจะได้เกิดความมั่นใจเมื่อไปเบิกความต่อศาลและหากเป็นคดีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเอกสารท่านควรติดต่อไปยังพนักงานอัยการโจทก์

การปฏิบัติตัวเมื่อไปศาลในวันนัดสืบพยาน
  • (๑) นำหมายเรียกไปด้วย เพราะในหมายเรียกจะปรากฏหมายเลขคดี ชื่อโจทก์ ชื่อจำเลย ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลในการติดต่อราชการศาลได้เป็นอย่างดี
  • (๒) กรุณาแต่งกายสุภาพ ไม่ควรสวมรองเท้าแตะ  ไม่ใส่กางเกงขาสั้น
  • (๓) ไปศาลก่อนเวลานัดสืบพยานจะทำให้ท่านมีเวลาพอที่จะติดต่อกับเจ้าหน้าที่งานประชาสัมพันธ์เพื่อสอบถามว่าคดีตามหมายเรียกของท่านจะมีการสืบพยานที่ห้องพิจารณาคดีใดหรืออาจตรวจหาห้องพิจารณาจากป้ายประกาศนัดความของศาลเองก็ได้
  • (๔) เมื่อทราบห้องพิจารณาแล้วกรุณาแจ้งกับเจ้าหน้าที่งานหน้าบัลลังก์ประจำห้องพิจารณานั้นๆว่าท่านมาถึงศาลแล้ว และนั่งรอในที่พักพยานที่ศาลจัดไว้
  • (๕) หากต้องรอเพื่อเบิกความเป็นเวลานานเกินไป กรุณาสอบถามเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ประจำห้องพิจารณาคดีนั้น
การปฏิบัติตัวเมื่อเข้าห้องพิจารณาในฐานะพยานศาล
  • (๑) เจ้าหน้าที่งานหน้าบัลลังก์ประจำห้องพิจารณาจะเรียกเข้าห้องพิจารณาเมื่อฝ่ายโจทก์ฝ่ายจำเลยและพยานมาพร้อมกันแล้วและเมื่อผู้พิพากษาปรากฏตัวบนบัลลังก์ขอให้ทุกคนในห้องพิจารณายืนขึ้นเพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อศาล
  • (๒) ก่อนที่จะเบิกความ เจ้าหน้าที่ฯจะนำท่านเข้าประจำที่ที่เรียกว่า คอกพยาน จากนั้น ท่านจะต้องสาบานตนตามลัทธิศาสนาของท่านว่า จะให้การด้วยความสัตย์จริง โดยเจ้าหน้าที่ฯ จะเป็นผู้นำสาบานและท่านต้องกล่าวตาม
  • (๓) เมื่อสาบานตนเรียบร้อยแล้วขอให้ท่านนั่งลง และตอบคำถามที่ ผู้พิพากษา พนักงานอัยการโจทก์ หรือทนายจำเลย ถามท่านด้วยความสัตย์จริงและใช้วาจาสุภาพ ควรใช้สรรพนามแทนตัวเองว่า กระผม หรือ ผม หรือดิฉัน  หรือ ฉัน  หากกล่าวถึงผู้พิพากษา  ให้ใช้สรรพนามแทนผู้พิพากษาว่า  ศาล  หรือ  ท่าน
  • (๔) ขอให้ท่านเบิกความเฉพาะเรื่องที่ท่าน ได้รู้ ได้เห็นด้วยตัวท่านเอง อย่าเบิกความในเรื่องที่ได้รับการบอกเล่า จากผู้อื่น เว้นแต่ศาลจะสั่ง
  • (๕) ขอให้เบิกความด้วยวาจา อย่าใช้วิธีการอ่านข้อความตามที่เขียนมา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษา หากไม่แน่ใจหรือจำไม่ได้ ให้ตอบไปตรงๆ ว่าไม่แน่ใจ หรือ จำไม่ได้
  • (๖) อย่าเบิกความโดยการคาดคะเนหรือวิพากษ์วิจารณ์ เพราะท่านอาจมีความผิดในข้อหาเบิกความเท็จ
  • (๗) หากฟังคำถามไม่ชัดเจนท่านสามารถขอให้มีการทวนคำถามซ้ำอีกครั้งได้
  • (๘) เมื่อเบิกความเสร็จศาลจะอ่านคำเบิกความของท่านหากเห็นว่าคำเบิกความไม่ถูกต้องตรงกับที่ท่านเบิกความไว้หรือไม่ครบถ้วน ขอให้แจ้งศาลให้ทราบทันที เพื่อที่จะได้แก้ไขให้ถูกต้องก่อนที่ท่านจะลงชื่อในคำเบิกความ
จะทำอย่างไรเมื่อมีการเลื่อนนัดสืบพยาน

 หากศาลไม่สามารถสืบพยานในวันนัดได้ เจ้าหน้าที่งานหน้าบัลลังก์ประจำห้องพิจารณาจะให้ท่านลงชื่อรับทราบ  วัน  เวลานัดครั้งต่อไป โดยจะไม่มีการส่งหมายเรียกไปอีก  ขอให้ท่านจำวัน  เวลา  นัดดังกล่าว  และกรุณาไปตามนัดด้วย

สิทธิในการรับค่ายานพาหนะและค่าป่วยการพยาน
  • (๑) หากเป็นพยานในคดีแพ่ง ท่านจะได้รับค่าพาหนะและค่าป่วยการตามที่ศาลกำหนด โดยฝ่ายโจทก์ หรือจำเลยที่อ้างท่านเป็นพยาน  ต้องเป็นผู้จ่าย
  • (๒) หากเป็นพยานโจทก์ ในคดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ท่านจะได้รับค่าพาหนะเท่าที่จ่ายไปจริงตามสมควรโดยโจทก์ ต้องเป็นผู้จ่าย
  • (๓) หากเป็นพยานของพนักงานอัยการโจทก์ในคดีอาญาท่านจะได้รับค่ายานพาหนะเหมาจ่าย  200 บาท หากภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดจะได้รับค่ายานพาหนะเหมาจ่าย  500  บาท
จะทำอย่างไรหากไม่สามารถมาเป็นพยานศาลได้
  • (๑) หากเจ็บป่วยหรือมีเหตุขัดข้องจำเป็นไม่สามารถไปเป็นพยานศาลในวันนัดสืบพยานได้ ขอให้ท่านทำหนังสือแจ้งพนักงานอัยการโจทก์ อธิบดีผู้พิพากษา หรือผู้พิพากษาหัวหน้าศาล เพื่อชี้แจงถึงเหตุผลความจำเป็น โดยที่ท่านอาจนำหนังสือไปยื่นที่ศาลด้วยตัวเอง หรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นนำไปยื่นแทนท่านก็ได้แต่ต้องยื่นก่อนวันที่ศาลนัดสืบพยาน
  • (๒) ในระหว่างเดินทางไปศาล  หากมีอุบัติเหตุหรือเหตุขัดข้องเกิดขึ้น  ขอให้ท่านโทรศัพท์แจ้งศาลตามที่ปรากฎอยู่ในหมายเรียก
จะเกิดอะไรขึ้น หากไม่ไปศาลตามหมายเรียก

เมื่อพยานได้รับหมายเรียกแล้วไม่ยอมไปศาลตามหมายเรียกโดยไม่มีเหตุอันสมควร ศาลอาจออกหมายจับและกักขังท่านไว้จนกว่าจะเบิกความเสร็จ และท่านอาจถูกฟ้องให้ต้องรับโทษทางอาญาจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสกลนคร
ที่ตั้ง : บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดสกลนคร ถนนสุขสวัสดิ์ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ๔๗๐๐๐
โทรศัพท์ ๐-๔๒๗๑-๕๔๗๑