ข่าวประชาสัมพันธ์

ประมวลภาพกิจกรรมต่างๆ สำนักงานอัยการจังหวัดสว่างแดนดิน

 ติดต่อศูนย์ดำรงธรรมเพื่อร้องเรียนร้องทุกข์ ได้ 5 ช่องทาง
  • 1. ยื่นร้องเรียนร้องทุกข์ด้วยตนเอง ณ ศาลากลางจังหวัดสกลนคร
  • และศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอ
  • 2. ยื่นเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ผ่านช่องทางไปรษณีย์ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสกลนคร ศาลากลางจังหวัดสกลนคร 
  • ถนนศูนย์ราชการ ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 หรือศูนย์ดำรงธรรมอำเภอทุกอำเภอ
  • 3. แจ้งเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ผ่านทางโทรศัพท์สายด่วน 1567 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
  • 4. แจ้งเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ได้ที่ https://www.facebook.com/damrongthamSKK/

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมาสำนักงานอัยการจังหวัดสว่างแดนดิน

แต่เดิมปีพุทธศักราช 2537 นั้น ศาลจังหวัดสกลนครมีอำนาจในการพิจารณาอรรถคดีทั่วทั้ง 18 อำเภอ ในจังหวัดสกลนคร แต่ด้วยระยะทาง สภาพภูมิประเทศ ประกอบกับปัญหาในเรื่องเส้นทาง การคมนาคม ในปีพุทธศักราช 2537 จึงได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร พ.ศ.2537 และมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการศาลจังหวัดสว่างแดนดิน พ.ศ.2537 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2537 สำนักงานอัยการจังหวัดสว่างแดนดินจึงได้เปิดทำการตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ นิคมน้ำอูน (เดิมมีฐานะเป็นกิ่งอำเภอ), อำเภอคำตากล้า, อำเภอเจริญศิลป์ (เดิมมีฐานะเป็นกิ่งอำเภอ), อำเภอบ้านม่วง, อำเภอวานรนิวาส, อำเภอวาริชภูมิ, อำเภอสว่างแดนดิน, อำเภอส่องดาว โดยมีนายพิทักษ์ ฉันทประยูร เป็นอัยการจังหวัดสว่างแดนดินคนแรก อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดสว่างแดนดิน (หลังเดิม) เป็นอาคาร 2 ชั้น ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 10 ไร่ 2 งาน นอกจากอาคารสำนักงานแล้ว ยังมีบ้านพักสำหรับข้าราชการอัยการและเจ้าหน้าที่ธุรการ รวม จำนวน 4 หลัง ต่อมาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2549  ศาลจังหวัดสกลนคร แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้เปิดทำการขึ้น จึงได้มีการโอนสำนักงานคดีบางส่วนที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ ศาลดังกล่าวไปให้สำนักงานอัยการจังหวัดสกลนครเป็นผู้พิจารณา

          ต่อมาในช่วงต้นปีงบประมาณ 2552 ภายหลังจากที่อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดสว่างแดนดิน (หลังเดิม) ได้เปิดทำการมาเป็นเวลานานกว่า 15 ปี สภาพอาคารก็ทรุดโทรม ประกอบกับปริมาณงานคดีและบุคลากรที่มาปฏิบัติราชการที่สำนักงานแห่งนี้มีจำนวนมากขึ้น สภาพอาคารหลังเดิมจึงไม่เหมาะสมที่จะใช้ในการปฏิบัติราชการต่อไป ท่านจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด จึงได้อนุมัติงบประมาณให้ก่อสร้างอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดสว่างแดนดินหลังปัจจุบัน เป็นอาคาร 2 ชั้น ตั้งอยู่บนพื้นที่เดียวกันกับอาคารสำนักงานหลังเดิม และมีบ้านพักอัยการจังหวัด จำนวน 1 หลัง  อาคารชุดที่พัก 16 ยูนิต จำนวน 1 หลัง และได้ย้ายเข้าทำการที่อาคารสำนักงานหลังใหม่อย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555

          ต่อมาในวันที่ 2 กรกฎาคม 2556 สำนักงานอัยการจังหวัดสว่างแดนดิน ได้เปิดอาคารสำนักงานอย่างเป็นทางการ โดยมีท่านจุลสิงห์ วสันตสิงห์ เป็นประธานในพิธีเปิดอาคารสำนักงานหลังปัจจุบัน อาคารแห่งนี้จักเป็นที่ปฏิบัติงานของข้าราชการอัยการ และเจ้าหน้าที่ธุรการในสังกัดสำนักงานอัยการจังหวัดสว่างแดนดิน เพื่ออำนวยความยุติธรรมและให้ความช่วยเหลือและปรึกษาทางด้านกฎหมายแก่ประชาชนผู้มีอรรถคดีในเขตพื้นที่ 8 อำเภอ ตลอดไป

พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 กำหนดให้สำนักงานอัยการสูงสุด อัยการสูงสุด และพนักงานอัยการ มีหน้าที่ดังนี้

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด

               มาตรา 23 สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชากร เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

               (1) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
               (2) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
               (3) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
               (4) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
               (5) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
               (6) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้ารการฝ่ายอัยการ
               (7) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
               (8) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
               (9) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด
              ในการตรวจร่างสัญญาตาม (2) และ (3) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (2) หรือนิติบุคคลตาม (3) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด มีดังนี้

              มาตรา 27 อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
               (1) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
               (2) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ
               (3) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสุดของสำนักงานอัยการสูงสุด
              ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้ ให้อัยการสูงสุดโอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ มีดังนี้

              มาตรา 14 พนักงานอัยการมีอำจานและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
               (1) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
               (2) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
               (3) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
               (4) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนี่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
               (5) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
               (6) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
               (7) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาก ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
               (8) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
               (9) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
               (10) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
               (11) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด

               ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา 14 (3) (4) และ (5) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
               พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560  หมวด 13

ได้บัญญัติให้มีองค์กรอัยการ  ไว้ในรัฐธรรมนูญ ดังนี้

              มาตรา 248 องค์กรอัยการมีหน้าที่และอํานาจตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมาย

              พนักงานอัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยรวดเร็ว เที่ยงธรรมและปราศจากอคติทั้งปวง และไม่ให้ถือว่าเป็นคําสั่งทางปกครอง

              การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ และการดําเนินการอื่นขององค์กรอัยการให้มีความเป็นอิสระโดยให้มีระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนเป็นการเฉพาะตามความเหมาะสมและการบริหารงานบุคคลเกี่ยวกับพนักงานอัยการต้องดําเนินการโดยคณะกรรมการอัยการ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยประธานกรรมการซึ่งต้องไม่เป็นพนักงานอัยการ และผู้ทรงคุณวุฒิบรรดาที่ได้รับเลือกจากพนักงานอัยการ ผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีบุคคลซึ่งไม่เป็นหรือเคยเป็นพนักงานอัยการมาก่อนสองคน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
               กฎหมายตามวรรคสาม ต้องมีมาตรการป้องกันมิให้พนักงานอัยการกระทําการหรือดํารงตําแหน่งใดอันอาจมีผลให้การสั่งคดีหรือการปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นไปตามวรรคสอง หรืออาจทําให้มีการขัดกันแห่งผลประโยชน์ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวต้องกําหนดให้ชัดแจ้งและใช้เป็นการทั่วไป โดยจะมอบอํานาจให้มีการพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไปมิได้

  • 1. สถานีตำรวจภูธรสว่างแดนดิน
  • 2. สถานีตำรวจภูธรส่องดาว
  • 3. สถานีตำรวจภูธรวาริชภูมิ
  • 4. สถานีตำรวจภูธรบ้านม่วง
  • 5. สถานีตำรวจภูธรเจริญศิลป์
  • 6. สถานีตำรวจภูธรคำตากล้า
  • 7. สถานีตำรวจภูธรนิคมน้ำอูน
  • 8. สถานีตำรวจภูธรวานรนิวาส
  • 9. สถานีตำรวจภูธรแวง
  • 10. สถานีตำรวจภูธรศรีวิชัย
  • 11. สถานีตำรวจภูธรคำบ่อ
  • 12. สถานีตำรวจภูธรหนองสนม
  • 13. สถานีตำรวจภูธรโคกสี   
วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

ทำเนียบอัยการจังหวัดสว่างแดนดิน

นายพิทักษ์ ฉันทประยูร

25 พ.ค.2534 – 3 พ.ค.2535

นายวิษณุ บุญยสถิต

4 พ.ค.2535 – 2 พ.ค.2536

นายประวิทย์ เอื้อนิรันดร์

3 พ.ค.2536 – 1 พ.ค.2537

ร.ท.มาโนชญ์ นวลแสง

2 พ.ค.2537 – 30 เม.ย.2538

นายอัษฎางค์ เชี่ยวธาดา

1 พ.ค.2538 – 30 ก.ย.2538

นายมานพ แสนประเสริฐ

1 ต.ค.2538 – 3 ต.ค.2539

นายอนันต์ นัดวิไล

4 ต.ค.2539 – 3 พ.ค.2541

นายพีรยุทธ ประดิษฐ์กุล

4 พ.ค.2541 – 3 พ.ค.2542

ร.ท.ไชยา เปรมประเสริฐ

4 พ.ค.2542 – 1 พ.ค.2543

นายสุทธิพงศ์ นิธิชวาล

2 พ.ค.2543 – 1 พ.ค.2544

นายจรัส มีสิน

2 พ.ค.2544 – 8 พ.ค.2545

นายสมชาย บุญฤทธิ์

9 พ.ค.2545 – 28 เม.ย.2546

นายรัตน์ จันทร์ธีรนันท์

29 เม.ย.2546 – 2 พ.ค.2547

นายพงษ์ศักดิ์ วิริยะพาณิชย์

3 พ.ค.2547 – 3 เม.ย.2548

นายภักค์พงศ์ สุนทรโชติภัทร์

4 เม.ย.2548 – 30 เม.ย.2549

นายศิริพงษ์ เหลืองวงศ์ไพศาล

1 พ.ค.2549 – 31 มี.ค.2550

นายพิพากษา ชุมแวงวาปี

2 เม.ย.2550 – 31 มี.ค.2551

นายกิจจา ศิริติกุล

1 เม.ย.2551 – 31 มี.ค.2552

นายธนา อุชาดี

1 เม.ย.2552-31 มี.ค.2554

นายวรวิทย์ เหนี่ยวพึ่ง

1 เม.ย.2554 – 31 มี.ค.2555

นายสุเมธ สิงคารวานิช

1 เม.ย.2555 – 31 มี.ค.2557

นายวุฒิชัย เศาจกุล

1 เม.ย.2557 – 31 มี.ค.2558

นายสุนทร ธรรมเสมอ

1 เม.ย.2558 – 3 ม.ค.2560

นายประพนธ์ แก้วกำพล

4 ม.ค.2560-31 มี.ค.2561

นายธีระศักดิ์ พลอยเพชร

1 เม.ย.2561-31 มี.ค. 2563

นายณัฐวุฒิ เนืองทอง

1 เม.ย. 2563 – 31 มี.ค.2564

นายธนิตศักดิ์ พิศาลกุลพัฒน์

1 เม.ย.2564-31 มีนาคม 2565

นายองอาจ เธียรโชติ

1 เม.ย.2565-31 มี.ค.2566

พันตำรวจตรี วัฒนา บุญเหิน

1 เม.ย.2566 -ปัจจุบัน

ข้าราชการอัยการ

นายธนันชัย สุรพัฒน์
อัยการจังหวัดสว่างแดนดิน
นายเชิดศักดิ์ พรหมอารักษ์
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฎิบัติหน้าที่ ผู้กลั่นกรองงาน
นายสุนทร เสียงหวาน
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฏิบัติหน้าที่ ผู้กลั่นกรองงาน
นายปฐมพงศ์ ทิพยดารา
รองอัยการจังหวัด
นางสาวนราวดี ศรีใส
รองอัยการจังหวัด
นายปฐกร พลเนตร
รองอัยการจังหวัด
นายภูมิสิทธิ์ อุดมพานิชย์
รองอัยการจังหวัด

นายจารุกิตต์ โพธิ์ชัย
รองอัยการจังหวัด

ว่าที่ร้อยตรีทินกฤต สาตรรอด
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

ข้าราชการธุรการ

นางธัญญานุช ทิพย์อักษร
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการพิเศษ
ปฏิบัติราชการ ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ
สำนักงานอัยการจังหวัดสว่างแดนดิน
นางสาวธัญพร คูธนพิทักษ์กุล
นิติกรชำนาญการพิเศษ
นายนเรศ ชานันโท
นิติกรชำนาญการ
นางสาวสุภัทรินทร์ อามาตย์
นิติกรชำนาญการ
นางสาวนวปพรพรรณ ผาสุข
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
นางสาวพิกุล ดลสว่าง
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
นางสาวบังอร จันทะเสน
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
นายคมกฤษ ยุบลแมน
นิติกรปฏิบัติการ
นางสาวสุนารี งามจันอัด
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
นางสาวประเทียน คุณช่วย
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
นายชยพล พิมพา
นิติกรปฏิบัติการ
นางพัชรี แก้วคำแสน
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
นางสาวสรินญา พรมภารักษ์
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
นางสาวจำปี ม่อมพะเนาว์
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

จ้างเหมาบริการ

นายพงษ์ศักดิ์ ศิลาลักษณ์
พนักงานรักษาความปลอดภัย
นายประโรม กาญจนะกัณโห
พนักงานรักษาความปลอดภัย
นายประยัติ สุพันทนา
พนักงานรักษาความปลอดภัย
นางคำปุน ค้อไผ่
พนักงานทำความสะอาด
นายสิทธิกร รัตน์โชติ
คนสวน
นางประภารัตน์ นุ่มสวัสดิ์
พนักงานทำความสะอาด

สถิติคดีหรือผลงาน

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 30 ธันวาคม 2567

ปี พ.ศ.2567ส.1  ส.1 ฟื้นฟูส.2ส.2 ก ส.3      ส.4
(วาจา)
 ส.4
(อาญา)
 ส.5(อาญา) ว่าต่าง/
แก้ต่าง
 ส.5 ก (แพ่ง)ส.6  ส.7  ส.12(ตายระหว่างควบคุม)ส.12 ก (ตายผิดธรรมชาติ)ส.13ส.13กปราบปรามการทรมาน
มกราคม11139242103111366
กุมภาพนธ์129 3212108381
มีนาคม 
เมษายน 
พฤษภาคม
มิถุนายน  
กรกฎาคม 
สิงหาคม 
กันยายน 
ตุลาคม
พฤศจิกายน
ธันวาคม
ปี พ.ศ.ส.1  ส.1 ฟื้นฟู.2     ส.2 ก ส.3      ส.4
(วาจา)
 ส.4
(อาญา)
 ส.5(อาญา) ว่าต่าง/
แก้ต่าง
 ส.5 ก (แพ่ง)ส.6  ส.7  ส.12(ตายระหว่างควบคุม)ส.12 ก (ตายผิดธรรมชาติ)ส.13ส.13กปราบปรามการทรมาน
25517367544624,952471,668707 12326112
2552 751121 139 19,649 78 1,454 736 – – 131 22210
2553 843173 124 29,960 41 1,279 780 – – 126 2712
 2554 914264 112 20,070 57 536 805 222 128 2016 – 
2555 916754 135 13,115 70 414 864 –28 117 23110
 2556 1,160787 175 1,649 100 745 1,099 1 4 107 1574 – 
 2557 1,151883 274 17,076 89 673 1,098 1 8 154 19280 – 
 2558 1,228344179  8,615 115 719 1,194 212 100 26377
 2559 1,453125 380 6,553 70 535 1,362 5 22 89 16287 – 
 25601,464911473,969505621,51511390 131141
 2561 1,566124 138 9,941 29 992 1,535 –8 94 261123
 2562 1,579141 167 120 43 904 1,571 –23 126 147114
25631,920306 80 81 14 4501,89513514321476
25642,081886113131188211,979361039142
25651,81013913371213,1191,772227527123217
25661,457734692,9041,4021919815972,429

เอกสารเผยแพร่

ผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมตัวในชั้นสอบสวนมีสิทธิอย่างไร
  • ให้การต่อพนักงานสอบสวน เมื่อถูกสอบสวน หรือปฏิเสธไม่ยอมให้การหรือขอไปให้การในชั้นศาลก็ได้
  • พบและปรึกษาผู้ที่จะเป็นทนายได้โดยลำพัง
  • ได้รับการเยี่ยมตามสมควร
  • ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย
สิทธิของผู้ต้องหาเมื่อมีคำร้องต่อศาลขอฝากขัง
  • แถลงคัดค้านคำร้องของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการที่ขอฝากขัง
  • ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาล ในกรณีที่ศาลอนุญาตให้ฝากขังตามที่พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอฝากขังหรือพนักงานอัยการขอ ในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหามาศาลทุกครั้งตามวันเวลาที่ศาลนัด
การต่อสู้คดีของจำเลยและการหาทนายความฝ่ายจำเลย

การต่อสู้คดีของจำเลยเมื่อศาลประทับรับฟ้องแล้วจำเลยประสงค์จะต่อสู้คดีควรปฏิบัติดังนี้

  • ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว
  • ยื่นคำให้การต่อศาล
  • หาทนายความเพื่อช่วยเหลือตนในการดำเนินคดีต่อไป
การหาทนายความฝ่ายจำเลย
  • ตามปกติจำเลยจะต้องหาทนายความเองและเสียค่าใช้จ่ายของตนเองซึ่งจำเลยจะมีโอกาสเลือกหาทนายความตามความประสงค์ของตนเอง อย่างไรก็ตามในคดีที่มีอัตราโทษถึงประหารชีวิต ก่อนเริ่มพิจารณาศาลจะสอบถามจำเลยเรื่องทนายความ หากจำเลยไม่มีทนายความ ศาลจะหาทนายความให้แก่จำเลยทุกคดีและคดีที่อัตราโทษจำคุกทุกคดี หรือคดีที่จำเลยอายุไม่เกิน 18 ปี
  • ถ้าจำเลยไม่มีทนายความและจำเลยต้องการทนายความจำเลยสามารถแถลงขอให้ศาลหาทนายความให้ได้
  • ในกรณีที่ศาลต้องหาทนายความให้จำเลยดังกล่าว ศาลจะมีหนังสือขอแรงทนายความไปตามลำดับบัญชีรายชื่อทนายความ และศาลจะสั่งจ่ายเงินงบประมาณเป็นค่าทนายความที่ศาลเห็นสมควรเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ทั้งนี้ จำเลยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทนายความแต่อย่างใด
  1. เตรียมหลักประกันให้พร้อม ศึกษาว่าจะใช้อะไรเป็นหลักประกันได้บ้าง
  2. หากหลักประกันนั้นไม่ใช่ของผู้ประกัน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจที่เชื่อถือได้ เช่น ทำหนังสือมอบอำนาจที่ว่าการอำเภอต่อหน้าเจ้าพนักงาน
  3. หากไม่ได้รับอนุญาตให้ประกัน ให้ขอพบอัยการจังหวัดหรืออัยการพิเศษฝ่าย
  4. เมื่อได้รับอนุญาตให้ประกันจะต้องลงชื่อในสัญญาประกัน และทางสำนักงานอัยการจะออกใบรับหลักประกัน และวันเวลานัดให้ท่าน
  5. เมื่อท่านต้องถูกส่งตัวไปฟ้อง ให้ทำเรื่องราวขอรับหลักประกันคืนไว้ก่อน โปรดทราบด้วยว่าสัญญาประกันระหว่างผู้ประกันกับสำนักงานอัยการจะสิ้นสุดลง เมื่อศาลรับฟ้อง
  6. หากนายประกันไม่มาหรือไม่มีญาติมาด้วยในวันที่พนักงานอัยการส่งฟ้องศาลให้แจ้งเรื่องหลักประกันให้เจ้าหน้าที่ที่ทำเรื่องประกันหรือหัวหน้าธุรการทราบ เพื่อมีหนังสือแจ้งไปยังศาลว่าหลักประกันอยู่ที่่สำนักงานอัยการ แต่สำนักงานอัยการจะรับรองให้เฉพาะหลักประกัน ไม่เกี่ยวกับตัวผู้ประกัน
  1. กรณีใช้บุคคลเป็นประกัน เอกสารที่นำมาประกอบ มีดังนี้
    • หนังสือรับรองจากต้นสังกัด
    • สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ , คู่สมรส
    • สำเนาทะเบียนบ้าน
    • ในกรณีที่ผู้ขอประกันมีคู่สมรส จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสด้วย
  2. กรณีใช้โฉนดที่ดิน , น . ส .3 ก , หรือ ส . น .3 เงินฝากประจำ เอกสารที่นำมาประกอบ มีดังนี้ กรณีใช้หลักทรัพย์อื่น เช่น เงินสด สลากออมสิน แคชเชียรเช็ค พันธบัตรรัฐบาล ใช้เฉพาะบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ
    • หนังสือรับรองการประเมินราคาที่ดิน ซึ่งเป็นราคาปัจจุบัน
    • หนังสือรับรองยอดเงินฝากจากธนาคาร
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของหลักประกัน และคู่สมรส
    • สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของหลักทรัพย์
    • ในกรณีที่เจ้าของหลักทรัพย์หย่าจากคู่สมสร ให้นำสำเนาใบสำคัญการหย่ามาด้วย
    • ในกรณีที่คู่สมรสของเจ้าของหลักทรัพย์ถึงแก่ความตาย ให้นำสำเนาใบมรณบัตรมาด้วย
    • ในกรณีที่ชื่อตัวหรือชื่อสกุลเจ้าของหลักทรัพย์ไม่ตรงกัน ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล มาด้วย
  3. กรณีใช้หลักทรัพย์อื่น เช่น เงินสด สลากออมสิน แคชเชียรเช็ค พันธบัตรรัฐบาล ใช้เฉพาะบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ

            ผู้เสียหายในคดีอาญามีสิทธิ ดังนี้

            1. ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน  หรือต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ  ทั้งนี้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 123,124  โดยมีวัตถุประสงค์หรือมีเจตนาให้ผู้กระทำความผิดต้องได้รับโทษ

            2. เป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาด้วยตนเอง  หรือขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา

            3. ถอนฟ้องในคดีที่ได้เป็นโจทก์ฟ้องต่อศาล   หรือยอมความหรือถอนคำร้องทุกข์ ในคดีความผิดต่อส่วนตัวได้ก่อนคดีถึงที่สุด  คดีที่ยอมความได้ เช่น ยักยอก  ฉ้อโกง  เป็นต้น

           4. ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยในคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องต่อศาล  ทั้งนี้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1     

           5. ยื่นอุทธรณ์ ฎีกา คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล   ในคดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์ หรือคดีที่ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ

           6. มีสิทธิขอรับค่าตอบแทนผู้เสียหายจากรัฐ    โดยขอรับจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรี ภาพ กระทรวงยุติธรรม  ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำ เลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544  ค่าตอบแทน  เช่น  ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ ค่าตอบแทนในกรณีที่ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย   ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้  เป็นต้น

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดสว่างแดนดิน ตั้งอยู่เลขที่ 24 หมู่ที่ 11 ถนนอุดมธรรมภักดี ตำบลสว่างแดนดิน อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร 47110
โทร. 042-722055 , 042-721595 โทรสาร 042-721595

ติดต่อสำนักอำนวยการ
นางธัญญานุช ทิพย์อักษร ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ โทร. 042-721595

ติดต่อฝ่ายคดีอาญา
– นางสาวสุนารี งามจันอัด (ส.1) โทร 042-722055
– นางพัชรี แก้วคำแสน (ส.2, ส.3) โทร 042-722055
– นางสาวประเทียน คุณช่วย (ส.4 อาญา) โทร 042-722055
– นางสาวพิกุล ดลสว่าง (ส.4 วาจา, ส.1 ฟ.) โทร 042-722055

งานส่งสำนวน/ประกันตัวผู้ต้องหา
นางสาวสุภัทรินทร์ อามาตย์ โทร. 042-722055


ติดต่อฝ่ายคดีแพ่ง
– นางสาวธัญพร คูธนพิทักษ์กุล โทร. 042-721595

ติดต่อฝ่ายการเงิน
– นางสาวบังอร จันทะเสน โทร. 042-721595

ติดต่อพัสดุ
– นางสาวนวปพรพรรณ ผาสุข โทร. 042-721595

ฝ่ายคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.)

ติดต่อธุรการ (สคช.) โทร.042-721990, โทรสาร 042-721990
(รับ-ส่ง Fax ได้เฉพาะภายในจังหวัดสกลนครเท่านั้น)

นางสาวพิกุล ดลสว่าง
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
นางสาวสรินญา พรมภารักษ์
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน