ข่าวประชาสัมพันธ์

สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี นำโดย นางสาวชญาฎา รัตนกิจรุ่งเรือง อัยการผู้ช่วย พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติมหา- วชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 29 เมษายน ณ ศาลาบุญสิงห์ วัดมัชฌิมาวาส พระอารามหลวง

สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี นำโดย นายนฤทชัย ผลจันทร์ อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธีถวายราชสักการะ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประจำปีพุทธศักราช 2567 ณ หอประชุมทองใหญ่ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี

สืบสานประเพณีสงกรานต์ อัยการอุดรธานี ในวันที่ 10 เมษายน 2567

สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี นำโดย นายอัมรินทร์ ศุภกิจจารักษ์ อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธีวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ ประจำปีพุทธศักราช 2567 ในวันเสาร์ที่ 6 เมษายน 2567 ณ หอประชุมทองใหญ่ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี

สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี นำโดย นายประยูร เหง้าพรหมมินทร์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธีราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน ณ วิหารเฉลิมพระเกียรติ วัดโนนสว่าง ตำบลหมากหญ้า อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี

วันพฤหัสบดี ที่ 18 มกราคม 2567 พิธีถวายสักการะ พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ณ อนุสาวรีย์พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี นำโดย พันตรี นพดล ไตลังคะ อัยการจังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ
เข้าร่วมพิธีถวายสักการะ พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม วันพฤหัสบดี ที่ 18 มกราคม 2567
ณ อนุสาวรีย์พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

วันพฤหัสบดี ที่ 18 มกราคม 2567 พิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 131 รูป
ณ บริเวณถนนทหาร หน้ามหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี

สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี นำโดย พันตรี นพดล ไตลังคะ อัยการจังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 131 รูป วันพฤหัสบดี ที่ 18 มกราคม 2567 ณ บริเวณถนนทหาร หน้ามหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี

วันพุธ ที่ 17 มกราคม 2567 พิธีอันเชิญ “ศาสตราวุธ พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม”
ณ อนุสาวรีย์พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี นำโดย พันตรี นพดล ไตลังคะ อัยการจังหวัดอุดรธานี เข้าร่วมพิธีอันเชิญ “ศาสตราวุธ พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม” วันพุธ ที่ 17 มกราคม 2567 ณ บริเวณพิธี อนุสาวรีย์พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

กิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย วันที่ 28 กันยายน 2566
(Thai National Flag Day) ประจำปี 2566

สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี, สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงอุดรธานี และสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฏหมายและการบังคับคดีจังหวัดอุดรธานี นำโดย พันตรี นพดล ไตลังคะ อัยการจังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมกิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติ เวลา 08.00 นาฬิกา ณ บริเวณหน้าเสาธง อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี เนื่องในวัน
พระราชทานธงชาติไทย วันที่ 28 กันยายน 2566 (Thai National Flag Day) ประจำปี 2566 เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติและเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย

พิธีถวายราชสักการะเนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ

ท่านชัยกองพล วงศ์สุเมธ อัยการผู้ช่วย พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธีถวายราชสักการะเนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” ในวันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม 2566 ณ หอประชุมทองใหญ่ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี

กิจกรรมจิตอาสาในโอกาสวันสำคัญของชาติไทย

ท่านชัยกองพล วงศ์สุเมธ อัยการผู้ช่วย เข้าร่วมกิจกรรมอาสาพัฒนาในโอกาสวันสำคัญของชาติไทย วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 24 กุมภาพันธ์ 2566 กิจกรรมทำความสะอาดศาลาปรับภูมิทัศน์ ล้างห้องน้ำ เก็บกวาดขยะ ทาสีกำแพง ณ วัดพระสมาคม บ้านดอนกลอยศรีวิไล หมู่ 7 ต.ดอนกลอย อ.พิบูลรักษ์ จ.อุดรธานี

พิธีวันที่ระลึก “พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย” ประจำปีพุทธศักราช 2566

ท่านเนติพล ภูเมฆ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธีวันที่ระลึก “พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย” ประจำปีพุทธศักราช 2566 ในวันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 07.00 น. ณ หอประชุมทองใหญ่ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี อ.เมือง จ.อุดรธานี

พิธีถวายภัตตาหารพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แด่พระภิกษุ สามเณรในการสอบบาลีสนามหลวง ครั้งที่ 1 ครั้งหลัง ปี พ.ศ.2566

ท่านวุฒิชัย วุฒิศาสตร์กุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เข้าร่วมพิธีถวายภัตตาหารพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แด่พระภิกษุสามเณรในการสอบบาลีสนามหลวง ครั้งที่ 1 ครั้งหลัง ปี พ.ศ.2566 ในระหว่างวันที่ 15-17 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09.30 น. ณ สนามสอบวัดมัชฌิมาวาส พระอารามหลวง ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี

พิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตตภาวนาถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

ท่านจักริน สุวรรณมัย อัยการผู้ช่วย เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในวันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 16.00 น. ณ วัดมัชฌิมาวาส ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี

พิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตตภาวนาถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

ท่านณัฐพล รัตนทัศนีย์ อัยการผู้ช่วย เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในวันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 16.00 น. ณ วัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี

พิธีวางพวงมาลาเนื่องในวันทหารผ่านศึก ประจำปี 2566

ท่านประยูร พรหมมินทร์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาเนื่องในวันทหารผ่านศึก ประจำปี 2566 ณ อนุสาวรีย์ พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม มณฑลทหารบกที่ 24 ค่ายประจักษ์ศิลปาคม ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ในวันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566

อัยการสูงสุด ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติราชการในพื้นที่สำนักงานอัยการภาค 4

นางสาวนารี  ตัณฑเสถียร อัยการสูงสุด ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติราชการในพื้นที่สำนักงานอัยการภาค 4 (จังหวัดอุดรธานี)  ณ ห้องประชุมยกกระบัตรมณฑลอุดร ในวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566

พิธีถวายราชสักการะ เนื่องใน “วันยุทธหัตถี ประจำปี 2566”

ท่านสุรชัย รัตนวรรณี อัยการจังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมงานพิธีถวายราชสักการะ เนื่องใน “วันยุทธหัตถี ประจำปี 2566” เพื่อน้อมรำลึกใน พระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ได้ทรงประกอบพระวีรกรรมกอบกู้เอกราชของชาติ ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะราชศัตรู ทรงมีคุณูปการต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง ในวันพุธที่ 18 มกราคม 2566 เวลา 13.30 น. ณ หอประชุมทองใหญ่ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี

พิธี “วันที่ระลึกการตั้งเมืองอุดรธานี ปีที่ 130”

ท่านสุรชัย รัตนวรรณี อัยการจังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธี ทำบุญตักบาตร และพิธีถวายสักการะพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ณ อนุสาวรีย์พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ในวันพุธที่ 18 มกราคม 2566 เวลา 06.00 น.

พิธีถวายราชสักการะ เนื่องใน “วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประจำปี 2566”

ท่านสุรชัย รัตนวรรณี พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธีถวายราชสักการะ เนื่องใน “วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประจำปี 2566” ในวันอังคารที่ 17 มกราคม 2566 เวลา 08.00 น. ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดอุดรธานี ตำบลปะโค อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี

พิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตตภาวนาถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

ท่านนฤทชัย ผลจันทร์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในวันจันทร์ที่ 16 มกราคม 2566 เวลา 16.00 น. ณ มัชฌิมาวาส ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี

พิธีบวงสรวงเทวา-พุทธาภิเษกเหรียญที่ระลึกการก่อตั้งเมืองอุดรธานี 130 ป

ท่านอมฤต วะสมบัติ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เข้าร่วมพิธีบวงสรวงเทวา-พุทธาภิเษกเหรียญที่ระลึกการก่อตั้งเมืองอุดรธานี 130 ปี ในวันจันทร์ที่ 17 มกราคม 2566 เวลา 16.00 น. ณ พระอนุสาวรีย์พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

พิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตตภาวนาถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

ท่านอัมรินทร์ ศุภกิจจารักษ์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในวันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2566 เวลา 16.00 น. ณ วัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี

โครงการบรรพชาอุปสมบท ๙๙ รูป ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า พัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

ท่านสุรชัย รัตนวรรณี อัยการจังหวัดอุดรธานี เข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบท ๙๙ รูป ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เพื่อถวายพระพรชัยมงคลให้ทรงหายจากพระอาการประชวรและทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรงโดยเร็ววัน และเพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระกรุณาธิคุณ ในวันวันพุธที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๓๐ น. ณ วัดมัชฌิมาวาส (พระอารามหลวง) อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

พิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตตภาวนาถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

ท่านเนติพล ภูเมฆ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในวันจันทร์ที่ 9 มกราคม 2566 เวลา 16.00 น. ณ วัดมัชฌิมาวาส ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี

พิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตตภาวนาถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

ท่านประยูร เหง้าพรหมมินทร์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในวันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม 2566 เวลา 16.00 น. ณ วัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี

พิธีเจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตตภาวนาถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

ท่านอมฤต วะสมบัติ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรน ทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในวันอังคารที่ 3 มกราคม 2566 เวลา 16.00 น. ณ วัดมัชฌิมาวาส ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี

พิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในงานประเพณีวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ.2566

สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี นำโดย ท่านชลิตา ลือสากลวาณิชกุล รองอัยการจังหวัด พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในงานประเพณีวันขึ้นปีใหม่ พ.ศ.2566 ณ ศาลาพิธีทุ่งศรีเมือง สนามทุ่งศรีเมืองอุดรธานี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ในวันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม 2566 เวลา 06.00 น.

ท่านสุรชัย รัตนวรรณี อัยการจังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธีถวายราชสักการะ เนื่องในวันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประจำปีพุทธศักราช 2565

ในวันพุธที่ 28 ธันวาคม 2565 เวลา 07.20 น. ณ หอประชุมทองใหญ่ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี

ท่านสุรชัย รัตนวรรณี อัยการจังหวัดอุดรธานี เข้าร่วมพิธีลงนามถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชรมหาวัชรราชธิดา

ในวันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2565 ณ หอประชุมทองใหญ่ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี กิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2565

ท่านสุรชัย รัตนวรรณี อัยการจังหวัดอุดรธานี เข้าร่วมพิธีพระพุทธมนต์ เจริญจิตตภาวนา ถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม 2565 ณ ศาลาบุญสิงห์ วัดมัชฌิมาวาส พระอารามหลวง ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ท่านสุรชัย รัตนวรรณี อัยการจังหวัดอุดรธานี
พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ

ร่วมงานวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2565 ณ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี

งานพิธีวางพวงมาลา เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 23 ตุลาคม 2565

ท่านวัชรชาติ ศิริกานต์นนท์ อัยการประจำกอง
พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลา เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม 2565 เวลา 08.30 น. ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์รัชการที่ 5 ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี

เอกสารที่ต้องเตรียมในการประกันตัวผู้ต้องหา

เกี่ยวกับสำนักงาน

                      สถาบันอัยการเป็นสถาบันทางกฎหมายที่สำคัญสถาบันหนึ่งในกระบวนการยุติธรรมนานาอารยประเทศ  เริ่มตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถ  ได้ปรากฏหลักฐานการแต่ง    ตั้งเจ้าพนักงานมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบข้อราชการทางกฎหมายของบ้านเมือง ทั้งในด้านคดีความและในการถวายความเห็นทางกฎหมายแก่พระมหากษัตริย์ เรียกตำแหน่งว่า “เจ้าพนักงานรักษาพระอัยการ” ส่วนในบรรดาหัวเมืองต่างๆ นั้นมีตำแหน่ง  “ยกกระบัตร”  ทำหน้าที่   ตรวจราชการต่างพระเนตรพระกรรณ  ทั้งยังทำหน้าที่พิจารณาคดีร่วมกับเจ้าเมือง  และหากยกกระบัตรไม่เห็นพ้องกับคำตัดสินของ  ตระลาการ  ก็มีอำนาจส่งให้ตระลาการพิจารณาตัดสินใหม่ได้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ก็ทรงเคยดำรงตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรีก่อนที่จะดำรงพระยศ  เป็นสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก  แล้วปราบดาภิเษกเสด็จขึ้นครองราชย์ปฐมบรมราชวงศ์จักรี  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๕  ในสมัยกรุงรัตนโนสินทร์ตอนต้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีรัฐฐาภิบาลนโยบายในการรวบรวมผู้คนพลเมืองไว้โดยตั้งคนในท้องถิ่นเป็นเจ้าเมืองให้ เที่ยวเกลี้ยกล่อมพาผู้คน ที่หลบหนีภัยสงครามมาเป็นพลเมืองจัดตั้งเป็นเมืองขึ้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงมีตราตั้งให้เป็นเจ้าเมืองแล้วจะโปรดเกล้าฯแต่งตั้งยกกระบัตรไปพร้อมด้วยเสมอ  จังหวัดอุดรธานี  เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ตั้งอยู่ตอนบนของภาคเดิมเป็นที่ตั้งกองบัญชาการของมณฑลอุดรซึ่งพระบาทสมเด็จ พระจุลจอเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงปรารภว่าควรที่จะจัดข้าหลวงที่ทรงคุณวุฒิปรีชาสามารถออกไปประจำรักษา พระราชอาณาเขตซึ่งติดต่อกับหัวเมืองต่างประเทศ  โดยหวังจะมุ่งป้องกันพระราชอาณาจักรให้พ้นจากการคุกคามภายนอกและเป็นการจัด ระเบียบการปกครองหัวเมืองใหม่  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เสนาบดีกระทรวงวัง ซึ่งสำเร็จวิชากฎหมายจากขุนหลวงไกรสี(หนู)  เป็นข้าหลวงใหญ่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์  ปกครอง    หัวเมืองพระราชอาณาเขตต่างพระเนตรพระกรรณมณฑลลาวพวนต่อมาเปลี่ยนเป็นลาวฝ่าย เหนือ  และเป็นมณฑลอุดรในที่สุด  บังคับบัญชาหัวเมือง ๑๓ เมืองขึ้น ๓๖ มีเมืองหนองคาย เชียงขวาง  บริคัณหนิค  โพนพิสัย  นครพนม    ท่าอุเทน   ไชยบุรี  สกลนคร  มุกดาหาร  ขอนแก่น หล่มศักดิ์  ตั้งกองบัญชาการ  อยู่ที่เมืองหนองคาย  ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๖  ซึ่งมีการตั้ง  “กรมอัยการ” ขึ้นสังกัดกระทรวงยุติธรรม  ประเทศไทย  เกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส และกงสุลเยเนอรัล  ผู้มีอำนาจเต็มยื่นคำขอให้ไทยยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส และรื้อถอนกองกำลัง ป้อมค่ายทหารออกจากฝั่งแม่น้ำโขง ๒๕  กิโลเมตร  พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมจึงได้ออกเดินทางจากเมืองหนองคายใน วันที่ ๑๖  มกราคม พ.ศ.๒๔๓๖ เดินทางมาตามถนนรัชฏาภิเษก  ถึงบ้านเดื่อหมากแข้ง  พักกองบัญชาการมณฑลที่บริเวณ    ต้นโพธิ์ข้างวัดมัชฌิมาวาสในปัจจุบัน  เมื่อวันที่  ๑๘  มกราคม ๒๔๓๖ (ชาวจังหวัดอุดรธานี  ถือเอาวันนี้เป็นวันตั้งเมืองอุดรธานี)

                      อนึ่ง  ในขณะนั้นยังไม่มีการปกครองแบบเทศาภิบาลมณฑล  การจัดการบริหารการปกครองของมณฑลยังไม่มีระบบแบบแผน  ยังไม่มีการตั้งตำแหน่งประจำมณฑล  พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม  ซึ่งเป็นข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลอุดร  จึงต้องบริหารจัดการโดยลำพังและเนื่องจากสำเร็จวิชากฎหมาย  จึงต้องเป็นพระอาจารย์สอนวิชากฎหมายที่ไม่ได้มีการออกพระราชบัญญัติต่างๆ ให้กับข้าหลวงหัวเมืองในบังคับบัญชาด้วย  เมื่อเกิดกรณีพิพาทระหว่างท้าวดวงดีคนในบังคับของฝรั่งเศสกับเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี(เจิม แสงชูโต)พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม  จึงโปรดให้จ่าช่วงไปทำการสืบพยานโยธาที่บึงกาฬร่วมกับ ม.ปาวี  ซึ่งถือได้ว่าเป็นการมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับผู้มีตำแหน่ง ยกกระบัตรในขณะนั้น(อำนาจสอบสวน)

                      สำหรับคดีพิพาทระหว่างคนไทยด้วยกัน  เสด็จในกรมก็จะทำการสืบจับและรวบรวมพยานหลักฐานและนำคดีไปไต่สวนฟ้องร้องที่ โคราชที่มีกรมหลวงพิชิตปรีชากร  บัญชาการทำลงหน้าที่ไต่ส่วนพิพากษาอรรถคดี  แต่หลังจากที่กรมหลวงพิชิตปรีชาการไม่ได้บัญชาการที่โคราชแล้ว  และปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับชายพระราชอาณาเขตได้คลี่คลายลง  พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม  ทรงเป็นผู้พิจารณาคดีด้วยพระองค์เอง ทั้งคดีที่เป็นความระหว่างคนไทยด้วยกันเอง    และคนไทยในบังคับต่างชาติ  พระองค์ทรงวินิจฉัยคดีตามกฎหมายไทยเพื่อแสดงถึงความเป็นอิสระของไทยและเพื่อ ป้องกันคนไทยในบังคับต่างชาติเข้ามาก่อเหตุวุ่นวายในประเทศ

                       ต่อมาภายหลังสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย  ได้จัดตั้งมณฑลต่างๆทั่วราชอาณาจักรแล้วได้ทรงตราข้อบังคับลักษณะการปกครอง ท้องที่ ร.ศ.๑๑๗  ขึ้น  โดยกำหนดตำแหน่งข้าราชการเมือง  ให้มีผู้ว่าราชการเมืองกรมการเมือง ๓  แผนก  คือแผนกมหาดไทย  แผนกสรรพากร  และแผนกอัยการ โดยแผนกอัยการมียกกระบัตรเป็นผู้รักษาพระอัยการประจำเมือง  คือ  ไต่สวน  สืบจับโจรผู้ร้าย  การฟ้อง  และว่าความแผ่นดิน  และทำหน้าที่เป็นผู้ว่าราชการเมืองในกรณีที่ผู้ว่าราชการเมืองไม่อยู่  หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้

                           ปี พ.ศ.๒๔๕๐  มีการรวบรวมเมืองกมุทาไสย  เมืองหนองหาน  อำเภอบ้านหมากแข้ง  ตั้งเป็นเมืองอุดร  ต่อมามีศาลเปิดทำการ  และมีตำแหน่งยกกระบัตรมณฑล  และยกกระบัตรเมืองนับแต่ปี พ.ศ.๒๔๕๖  โดยมี อำมาตย์ตรีหลวงสมันตกิจโกศล(มล.วารินทร  อิศรางกูร ณ กรุงเทพ)  เป็นยกกระบัตรมณฑล ต่อมาตำแหน่งยกกระบัตรมณฑลอุดร  และยกกระบัตรเมืองได้ถูกยกเลิกเปลี่ยนมาเรียกชื่อ  “อัยการ”  เพื่อให้สอดคล้องกันทั้งหมด  เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๕๖ โดย  พระบรมราชโองการประกาศรวมพนักงานอัยการ  ฉบับลงวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๔๕๘ มณฑลอุดรจึงได้เปลี่ยนยกกระบัตรมณฑลอุดร  เป็นอัยการมณฑลอุดร มีอำมาตย์ตรีหลวงสมันตกิจโกศล (มล.วารินทร  อิศรางกูร ณ กรุงเทพ) มีหลวงประคองคดีกิจ  เป็นอัยการจังหวัด  และมีการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมต่อเนื่องมาโดยลำดับต่อมาเมื่อมีการ ปฏิรูปการปกครองมณฑลอุดรได้เปลี่ยนแปลงการปกครองแบบมณฑลหัวเมืองเป็นรูปแบบ มณฑลเทศาภิบาลและได้ยกเลิกตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ผู้สำเร็จราชการมณฑล  (ตำแหน่งนี้มีเฉพาะมณฑลอุดร เท่านั้น ในขณะที่หัวเมืองอื่นเรียกตำแหน่งข้าหลวงผู้ปกครองมณฑลว่า  ข้าหลวงต่างพระองค์  อาจเป็นเพราะอุดรเป็นหัวเมืองที่ปกครองโดยพระบรมวงศานุวงศ์หัวเมืองเดียว เท่านั้น)โดยจัดการปกครองในรูปแบบมณฑลเทศาภิบาล  มีสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลเป็นผู้บังคับบัญชาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๓ และได้ใช้ข้อบังคับลักษณะปกครอง  ท้องที่ ร.ศ.๑๑๗  บริหารจัดการการปกครองเมืองมาโดยลำดับ

                         ปัจจุบันห้องประชุมฉัตรไพฑูรย์ซึ่งเป็นห้องประชุมของสำนักงานอัยการอุดรธานี ได้ประดิษฐานพระบรมฉายาทิสลักษณ์  “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช”ซึ่งทรงเป็นพระมหากษัตริย์บรรพ อัยการและพระฉายาสาทิสลักษณ์  พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม  ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเมืองอุดรธานี  ไว้เพื่อเป็นสิริมงคลและเคารพสักการะของ ข้าราชการฝ่ายอัยการจังหวัดอุดรธานี 

                           และนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ในปี พ.ศ.๒๕๕๑ นี้  พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิตติยาภาได้เสด็จมาประทับที่ จังหวัดอุดรธานี  เพื่อทรงงานปฏิบัติพระกรณียกิจในตำแหน่งรองอัยการจังหวัดสำนักงานอัยการ จังหวัดอุดรธานี  เพื่อทรงงานปฏิบัติพระกรณียกิจในตำแหน่งรองอัยการจังหวัดสำนักงานอัยการ จังหวัดอุดรธานี  ตามพระยุคลบาทแห่งปฐมบรมราชจักรีวงศ์  อันเป็นนิมิตมิ่งมงคลของชาวอัยการ  และเหล่าราษฎรอุดรธานียิ่งนัก

 สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี

ข้อมูลสำนักงาน  สำนักงานอัยการอุดรธานี  มีอาคารสำนักงาน  ๒ หลัง

อาคาร หน้า  ชั้น  ๑  เป็นที่ทำการของ  สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี,สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย แก่ประชาชน (สคช) จังหวัดอุดรธานี
ชั้น ๒  เป็นที่ทำการของ  สำนักงานคดีแรงงานเขต ๔(อุดรธานี),สำนักงานคดีศาลสูงอุดรธานี,ห้องประชุม,ห้องสมุด,ห้องสอบสวนเด็ก

อาคารหลัง   ชั้นที่ ๑ เป็นที่ทำการของสำนักงานคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุดรธานี
ชั้น ๒  เป็นที่ทำการของสำนักงานคดีศาลแขวงอุดรธานี

ภารกิจสำนักงานอัยการ
แต่เดิมมา  ไม่มีกฎหมายกำหนดอำนาจหน้าที่ของกรมอัยการไวด้อย่างแจ้งชัด  คงมีกฎหมายต่างๆ  กำหนดไว้ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการปัจจุบันนี้ได้มีมาตรา  ๓๙  แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง  ทบวง  กรม  พ.ศ.๒๕๓๔  บัญญัติให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา ทั้งปวง  ดำเนินคดีแพ่งและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ  และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

เขตอำนาจ  สถานีตำรวจอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี  จำนวน  ๒๐  อำเภอ    ดังนี้
  • สภ.อ.เมืองอุดรธานี
  • สภ.อ.กุมภวาปี
  • สภ.อ.หนองหาน
  • สภ.อ.บ้านผือ
  • สภ.อ.เพ็ญ
  • สภ.อ.บ้านดุง
  • สภ.อ.น้ำโสม
  • สภ.อ.หนองวัวซอ
  • สภ.อ.ศรีธาตุ
  • สภ.อ.กุดจับ
  • สภ.อ.โนนสะอาด
  • สภ.อ.วังสามหมอ
  • สภ.อ.ไชยวาน
  • สภ.อ.สร้างคอม
  • สภ.อ.หนองแสง
  • สภ.อ.ทุ่งฝน
  • สภ.อ.นายูง
  • สภ.อ.พิบูลย์รักษ์
  • สภ.อ.ประจักษ์ศิลปาคม
  • สภ.อ.กู่แก้ว
  • สภ.อ.ดงเย็น
  • สภ.อ.บ้านเทื่อม
  • สภ.อ.กลางใหญ่

สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี  มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายวางไว้  ซึ่งพอสรุป  ได้ดังนี้

– อำนวยความยุติธรรม  ได้แก่  การบริหารงานยุติธรรมในส่วนของฝ่ายบริหารของรัฐเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย
                       และปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน  โดยอัยการจะเป็นผู้พิจารณาหลักฐานในสำนวนการสอบสวนที่พนักงานสอบสวน
                       เสนอมา  แล้ววินิจฉัยสั่งคดี    ตลอดทั้งดำเนินคดีอาญาในศาลในฐานะทนายแผ่นดินตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
                       และกฎหมายอื่นๆ ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ    

– รักษาผลประโยชน์ของรัฐ  ได้แก่ การพิจารณาและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่ส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ  
                          ตรวจร่างสัญญาตอบข้อหารือ  ตลอดจนทั้งดำเนินคดีในศาลในฐานะทนายความแผ่นดินแทนรัฐบาล  หน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล
                       ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

แผนผังแสดงกระบวนงานและระยะเวลาในการให้บริการประชาชน

เจ้าหน้าที่ตำรวจส่งสำนวนคดีอัยการจังหวัดตรวจและมอบหมายพนักงานอัยการเพื่อพิจารณาสำนวน

อัยการเจ้าของสำนวนตรวจสำนวนทำความเห็นโดยใช้ระยะเวลาตามความยากง่ายของสำนวน ดังนี้

  • 1. สำนวนมีตัวผู้ต้องหา ซึ่งผู้ต้องหารับสารภาพและคดีไม่ยุ่งยากจะใช้เวลาในการสั่งสำนวน ให้แล้วเสร็จภาย ในเวลา 3 วันทำการ
  • 2. สำนวนมีตัวผู้ต้องหา ซึ่งผู้ต้องหาให้การปฏิเสธและคดีไม่ยุ่งยากจะใช้เวลาในการสั่งสำนวนให้แล้วเสร็จภายในเวลา 3 วันทำการ
  • 3. สำนวนมีตัวผู้ต้องหา ซึ่งผู้ต้องหาให้การปฏิเสธและคดีมีข้อยุ่งยากจะใช้เวลาในการสั่งสำนวนให้แล้วเสร็จภายในเวลา 5 วันทำการ
  • 4. สำนวนไม่มีตัวผู้ต้องหา และคดีไม่มีข้อยุ่งยากจะใช้เวลาในการสั่งสำนวนให้แล้วเสร็จภายในเวลา 3 วันทำการ
  • 5. สำนวนไม่มีตัวผู้ต้องหา และคดีมีข้อยุ่งยากจะใช้เวลาในการสั่งสำนวนให้แล้วเสร็จภายในเวลา 5 วันทำการ

อัยการจังหวัดพิจารณาและออกคำสั่งจะใช้ระยะเวลาไม่เกิน 2 วันทำการนับแต่วันที่รับสำนวนจากอัยการเจ้าของเรื่อง

ยื่นฟ้องต่อศาลหรือเสนอสำนวนต่อผู้ว่าราชการจังหวัด กรณีมีคำสั่งไม่ฟ้อง

หมายเหตุ : ยกเว้นคดีที่พนักงานอัยการมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติม

การดำเนินการทุกขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นประชาชนผู้มาติดต่อไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือทรัพย์สินใด ๆ ทั้งสิ้น

1.อำมาตย์ตรี  หลวงสมันตกิจโกศล (ม.ล.วารินทร  อิศรางกูร ณ กรุงเทพฯ)    พ.ศ.2456 – 2458
อัยการมณฑลอุดร
2.อำมาตย์โท หลวงสมันตกิจโกศล(ม.ล.วารินทร อิศรางกูร ณ กรุงเทพฯ)    พ.ศ.2458 – 2461
3.อำมาตย์ตรี หลวงสุนทรบริรักษ์ (ประวงษ์  อมาตยกุล)                                 พ.ศ.2461  – 2467
4.อำมาตย์ตรี พระสวัสดิ์เวียงชัย (สุวรรณ สมิตสุวรรณ)                                   พ.ศ.2467  – 2469
5.อำมาตย์โท  พระประจำคดี (บัวรศ จันทะพิมพ์)                                        พ.ศ.2469  – 2474
6.อำมาตย์โท  หลวงอรรถสฤษดิ์สุรนาท (โชติ สุวัตถี)                                    พ.ศ.2474  – 2477        
รายนามอัยการจังหวัดอุดรธานี
1.รองอำมาตย์โท  หลวงประคองคดีกิจ                                                  พ.ศ.2459-2460
2.รองอำมาตย์โท  ขุนประดิษฐคดี                                                       พ.ศ.2460 – 2464
3.รองอำมาตย์โท ขุนประสมคดี                                                          พ.ศ.2464 -2466
4.รองอำมาตย์ หลวงราชมาตรี(สุด  อหะหมัดจุฬา)                                      ส.ค.2466 – ต.ค. 2466
5.รองอำมาตย์โท ขุนอนุสรกรณี(ทะ  พรหมประกาย)                                   พ.ศ.2466 – 2468
6.รองอำมาตย์โท หลวงประดิษฐ์กรณี(ทองอิน  สนิทรักษา)                            พ.ศ.2468 – 2470
7.รองอำมาตย์เอก ขุนมินรักษ์เรืองเดช(ชิต กงสกุล)                                    พ.ศ.2470 – 2472
8.รองอำมาตย์โท หลวงประมาณคดี(เล็ก จันทรสารทูล)                                 พ.ศ.2472 – 2474
9.รองอำมาตโทโชติ สุวรรณโพศรี                                                       พ.ศ.2474 – 2486
10.นายสนอง ปรัชญนันท์                                                                พ.ศ.2486 – 2494
11.นายอศิระ  หงส์เทศ                                                                  พ.ศ.2494 – 2497
12.นายสิงห์  ศารทูลทัต                                                                พ.ศ.2497 – 2501
13.นายสวัสดิ์  เศาณานนท์                                                              พ.ศ.2501 – 2503
14.นายเสงี่ยม  ยินดีพิธ                                                                 พ.ศ.2503 – 2505
15.นายปรีชา  พัววิไลย์                                                                 พ.ศ.2505 – 2507
16.นายแสวง  สุวรรณสุข                                                               พ.ศ.2507 – 2511
17.นายธูป  ธรรมกุลพ.ศ.2511 – 2512
18.นายคูณ  บุญเกศ                                                                    พ.ศ.2512 – 2520
19.นายอำนวย  ดิษฐานันท์                                                             พ.ศ.2520 – 2521
20.นายประทีป  ภูมินทร์ทอง                                                          พ.ศ.2521 – 2524
21.นายธนะวุฒิ  เกียรติสารภิภพ                                                       พ.ศ.2524 – 2526
22.นายคมจักร  แห่งปัจจัยการ                                                         พ.ศ.2526 – 2527
23.นายลิขิต  เพชรสว่าง                                                              พ.ศ.2527 – 2528
24.นายสมเกียรติ  เหล่าพูนสุข                                                        พ.ศ.2528 – 2529
25.นายสมัย  ศรีตะวัน                                                                 พ.ศ.2537 – 2540
26.นายวรพล  วุทธิสิทธ์                                                               พ.ศ.2529 – 2530
27.นายไชยยงค์  เปรื่องเวทย์                                                        พ.ศ.2530 – 2533
28.นายวรวิทย์  กังศศิเทียม                                                           พ.ศ.2533 – 2536
29.นายดำริห์  เศรษฐสวัสดิ์                                                           พ.ศ.2536 – 2537
30.นายศิริศักดิ์  พันธ์พยัคฆ์                                                          พ.ศ.2537 – 2540
31.นายวิชิต  คำภักดี                                                       พ.ศ.2540 – 2541
32.นายสมชาย  ยุววิทยาพาณิชย์                                                     พ.ศ.2541 – 2543
33.นายเริงฤทธิ์ สิทธิไตรย์                                                            พ.ศ.2543 – 2544
34.นายไช้พงษ์  อัศวบุญญาเลิส                                                     พ.ศ.2544 – 2545
35.นายชวลิต  สุวรรณภูชัย                                                           พ.ศ.2545 – 2546
36.นายเชาวลิต  วงศานรเศรษฐ์                                                      พ.ศ.2546 – 2547
37.นางสาวดลพร  ธิติยุกต์                                                            พ.ศ.2547 – 2549
38.นายภิรัตน์  ควรสนธิ                                                               พ.ศ.2549 – 2550
39.นายประพัฒพงศ์ สุคนธ์                                                           พ.ศ.2550 – 2551
40.นายวัชรากร  เปรมประเสริฐ                                                        พ.ศ.2551 – 2552
41.นายสิริชัย  สุธีวีระขจร                                                              พ.ศ.2552 – 2553
42.นายทวี  วรรณสุทธิ์                                                                 พ.ศ.2553 – 2554
43.นายอรรถพร  นาคเรือง                                                             พ.ศ.2554 – 2555
44.นางสาวอาภาภรณ์  บูรณะกนิษฐ                                                    พ.ศ.2556 – 2558
45.นายนิพนธ์  ทิพยไกรศรพ.ศ.2558 – 2559
46.ว่าที่ร้อยตรี อมร โฉมงามพ.ศ.2559 – 2560
47.นายเธียรไท วานิชชยุตพงศ์พ.ศ.2560 – 2561
48.นายพีระพงษ์ พานิชสุขพ.ศ.2561 – 2562
49.นายยศวัจน์ ผาติธีรวิทย์พ.ศ.2562 – 2563
50.นายเจริญ  ขาวสะอาดพ.ศ.2563 – 2564
51. นายธานินทร์  ประดิษฐ

52. นายสุรชัย รัตนวรรณี

53. พันตรีนพดล ไตลังคะ

54. นายแก่นกมล บุณยพิพัฒน์

พ.ศ. 2564 – 2565

พ.ศ.2565 – 2566

พ.ศ. 2566 – 2567

พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน

ฝ่ายอำนวยการ

สถิติคดี

สถิติคดีอาญาสำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี

ประเภทสำนวน2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560
1.ความอาญาปรากฎตัวผู้ต้องหาที่ส่งตัวมา (ส.1)2,6353,7083,7341,782 3,000 4,131 4,426
2.ความอาญาไม่ปรากฎตัวผู้ต้องหา (ส.2)21841620765    194    216177
3.ความอาญาไม่ปรากฎตัวผู้กระทำผิด (ส.3)1663014851    283    206 172
4.ฟ้องความอาญา(ส.4)– – –  –  3,414 3,800 4,258
5.ความอาญาที่แก้ต่าง162      57         228
6.ชันสูตรพลิกศพ– – – – – – 
   (ส.12)ตายระหว่างควบคุม– – – –       32      31      35
   (ส.12 ก)ตายผิดธรรมชาติ            2       2      2
7.คดีฟื้นฟู ส.1477479555227    314134  127
                           
                     รวม 3,497 4,639 4,644  2136 2,127 8,542 9,205
ประเภทสำนวน2561 2562 2563 2564 2565 2566 2567
1.ความอาญาปรากฎตัวผู้ต้องหาที่ส่งตัวมา (ส.1)4,1374,4055,257
2.ความอาญาไม่ปรากฎตัวผู้ต้องหา (ส.2)132135107
3.ความอาญาไม่ปรากฎตัวผู้กระทำผิด (ส.3)13916143
4.ฟ้องความอาญา(ส.4)3,9784,2725,187
5.ความอาญาที่แก้ต่าง(ส.5)26
6.สำนวนคดีแพ่ง (ส.5 ก)393327
7. (ส.12)ตายระหว่างควบคุม265
8. (ส.12 ก)ตายผิดธรรมชาติ12 18 27 – 
9.คดีฟื้นฟู ส.1179212314
10.คดีมาตรการ(ริบทรัพย์)213019– – – – 
11.คดีบังคับโทษปรับ4431,048368
12.คดีความรุนแรงในครอบครัว    
                     รวม9,08410,32611,354

เอกสารเผยแพร่

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี
เลขที่่ 72  ถนนศรีสุข  ตำบลหมากแข้ง  อำเภอเมืองอุดรธานี  จังหวัดอุดรธานี  41000
โทรศัพท์  0-42222-540, โทรสาร 0-4222-4242
E-mail : udon@ago.go.th