ข่าวประชาสัมพันธ์


ประกาศสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุดรธานี
เรื่อง ประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือก
และสาระสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ
ประจำไตรมาสที่ 4 (เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2564 ถึงเดือน กันยายน พ.ศ.2564 )
คลิกที่นี่ ประกาศสำนักงานอัยการคดีเยาวชนฯ เรื่องประกาศผลผู้ชนะฯ
เอกสารแนบท้ายประกาศ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนฯ
เกี่ยวกับสำนักงาน
ประวัติ
สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุดรธานี
โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ในศาลจังหวัดอุดรธานี พ.ศ.2538 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 112 ตอนที่ 6 หน้า 19 ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 นั้น
สำนักงานอัยการสูงสุดจึงจำเป็นต้องจัดตั้งสำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี (แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว) ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีด้านคุ้มครองเด็กและเยาวชน ดังนั้น สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี (แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว) จึงได้เปิดทำการเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 ซึ่งมีเขตอำนาจตลอดจังหวัดอุดรธานี โดยในการเปิดทำการครั้งแรกบริเวณอาคารด้านล่างของสำนักงานอัยการคดีศาลแขวงอุดรธานี เลขที่ 72/1 ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี
ในปี พ.ศ.2546 ได้มีกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด พ.ศ.2546 ข้อ 39 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่ม 120 ตอน 117 ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2546 เปลี่ยนแปลงชื่อสำนักงานอัยการในภูมิภาคจากเดิมคือ สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี (แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว) เป็นสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุดรธานี
ต่อมาสำนักงานอัยการสูงสุดได้ดำเนินการสร้างอาคารขึ้นใหม่เป็นอาคารสำนักงานอัยการอุดรธานี 2 อาคาร 3 ชั้น ซึ่งสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุดรธานีได้ย้ายที่ทำการใหม่ โดยย้ายที่ทำการมาอยู่บริเวณชั้น 1 อาคารสำนักงานอัยการคดีปกครองอุดรธานี 2 ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2556 จนถึงปัจจุบัน
สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุดรธานีมีอำนาจหน้าที่พิจารณาคดีที่ส่งมาจากสถานีตำรวจภูธรภายในจังหวัดอุดรธานีจำนวน 23 แห่ง
อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ
สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุดรธานี
สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุดรธานี มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีอาญาทั้งปวงที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุดรธานี ซึ่งหมายถึง
1.1 คดีอาญาที่กระทำความผิดโดยเด็ก (บุคคลอายุเกินสิบปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์) หรือเยาวชน (บุคคลอายุเกินสิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์) ในท้องที่เขตจังหวัดอุดรธานี
1.2 คดีอาญาที่ศาลซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้โอนมาตรามาตรา 97 วรรคหนึ่ง
1.3 คดีอาญาที่ผู้กระทำความผิดแม้จะมีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์กระทำผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550
1.4 คดีคุ้มครองสวัสดิภาพหมายความว่า คดีที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทำการใดๆ ในทางศาลเกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กหรือบุคคลในครอบครัว ซึ่งจะต้องบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวหรือกฎหมาย อื่นที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสวัสดิการเด็กหรือบุคคลในครอบครัว
1.5 คดีอื่นที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลเยาวชนและครอบครัวคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว หมายถึงคดีอาญาทุกประเภทที่มีข้อหาเด็กหรือเยาวชนกระทำผิด โดยไม่จำกัดฐานความผิด แม้จะเป็นความผิดเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หรือเครื่องหมายการค้า ซึ่งตามปกติถ้าเป็นคดีที่ผู้ใหญ่กระทำผิดจะต้องฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่าประเทศ นอกจากนี้ยังไม่มีการจำกัดอัตราโทษแต่อย่างใด แม้จะเป็นคดีที่มีอันตราโทษมากน้อยเพียงใด หากเด็กหรือเยาวชนต้องหาว่ากระทำผิดก็อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว ทั้งสิ้น
หลักการดำเนินคดีอาญาในกรณีเด็กและเยาวชน
ปรัชญาในการดำเนินคดี
คุ้มครองเด็กและสวัสดิ์ภาพของเด็กหรือเยาวชนโดยแก้ไขบำบัดและฟื้นฟูยิ่งกว่าการลงโทษ
การแก้ไขบำบัดฟื้นฟู
มาตรการที่กำหนดเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสนับสนุนเด็กหรือเยาวชนให้สามารถอยู่กับครอบครัวและชุมชนได้โดยปกติ เช่น การรับปรึกษา แนะนำ การเข้าร่วมกิจกรรมบำบัด การเข้าร่วมกิจกรรมทางเลือก การศึกษา หรือการฝึกอาชีพหรือวิชาชีพ (พ.ร.บ.ศาลเยาวชน ฯ มาตรา 4)
เด็กและเยาวชนพิจารณาอย่างไร
กม. (พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 และฉบับที่ 5 พ.ศ.2559)
เด็ก = บุคคลกว่า 10 ปีแต่อายุไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์
เยาวชน = บุคคลกว่า 15 ปีแต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์
ข้อน่ารู้
กรณีเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 73) ระบุไม่ต้องรับโทษ แต่กำหนดให้ส่งตัวเด็กให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก เพื่อดำเนินการคุ้มครองสวัสดิ์ภาพตามกฎหมาย
ต่อมา พ.ร.บ.ศาลเยาวชน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2559 กำหนดให้เด็กกระทำความผิดอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด โดยเป็นความผิดที่อยู่ในอำนาจเปรียบเทียบปรับปรุงพนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าอื่น หากเป็นการกระทำครั้งแรก ให้พนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่พนักงานนั้นเรียก บิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลหรือผู้แทนองค์กรซึ่งเด็กนั้นอยู่ด้วยมาว่ากล่าวตักเตือน ถ้าเด็กสำนึกในการกระทำผิดและบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลหรือองค์กรซึ่งเด็กนั้นอาศัยอยู่ด้วย สามารถดูแลเด็กได้ก็ให้งดการสอบสวนและปล่อยตัวไป
เช่นเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี บริบูรณ์ขับรถไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ไม่สวมหมวกนิรภัย (หมวกกันน็อก) ถ้าเด็กกระทำความผิดครั้งแรกและสำนึกในการกระทำก็ให้เรียกบิดามารดา ผู้ปกครองมาว่ากล่าวตักเตือนเด็กแล้วก็ปล่อยตัวเด็กไป และพนักงานสอบสวนงดการสอบสวนได้
มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา
(พ.ร.บ.ศาลเยาวชน ฯ มาตรา 86)
สาระสำคัญ
1. เด็กหรือเยาวชนต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงตามกฎหมายกำหนดให้จำคุกไม่เกินห้าปี
2. ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำความโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
3. เด็กหรือเยาวชนสำนึกในการกระทำก่อนฟ้องคดี
4. หากผู้อำนวยการสถานพินิจพิจารณาเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนอาจกลับตนเป็นคนดีได้โดยไม่ต้องโทษให้จัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูให้เด็กหรือเยาวชนและอาจกำหนดให้บิดามารดาผู้ปกครองบุคคลหรือผู้แทนองค์กรซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วยปฏิบัติด้วยก็ได้
5. การจำกัดแผน ฯ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายและเด็กเยาวชน
6. เสนอความคิดเห็นประกอบแผน ฯ ต่อพนักงานอัยการเพื่อพิจารณา
7. หากพนักงานอัยการว่าแผนนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กหรือเยาวชนเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็จะเห็นชอบและมีการปฏิบัติตามแผน ฯ
8. หากพนักงานอัยการไม่เห็นชอบกับแผนฯ ก็สั่งให้ดำเนินคดีต่อไปและให้ผู้อำนวยการสถานพินิจแจ้งคำสั่งของพนักงานอัยการให้พนักงานสอบสวนและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
9. เมื่อมีการปฏิบัติตามแผน ฯ ครบถ้วนให้ผู้อำนวยการสถานพินิจรายงานอัยการทราบ หากพนักงานอัยการเห็นชอบมีอำนาจไม่ฟ้อง คำสั่งไม่ฟ้องเป็นที่สุดและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายดำเนินคดีส่วนแพ่งให้ผู้อำนวยการสถานพินิจรายงานคำสั่งไม่ฟ้องให้ศาลทราบ
ชื่อ | เบอร์โทรศัพท์ | แฟกซ์ |
ตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี | 042-222825 | 042-222825 |
สถานีตำรวจภูธรเมืองอุดรธานี | 042-328515-9 | 042-328514 |
สถานีตำรวจภูธรกุมภวาปี | 042-334366 | 042-334371 |
สถานีตำรวจภูธรหนองหาน | 042-261265 | 042-261265 |
สถานีตำรวจภูธรบ้านผือ | 042-282237 | 042-282177 |
สถานีตำรวจภูธรเพ็ญ | 042-279115 | 042-279115 |
สถานีตำรวจภูธรบ้านดุง | 042-271509 | 042-271509 |
สถานีตำรวจภูธรศรีธาตุ | 042-382482 | 042-382482 |
สถานีตำรวจภูธรน้ำโสม | 042-289181 | 042-289181 |
สถานีตำรวจภูธรหนองวัวซอ | 042-298443 | 042-298292 |
สถานีตำรวจภูธรกุดจับ | 042-291191 | 042-291220 |
สถานีตำรวจภูธรโนนสะอาด | 042-392577 | 042-392577 |
สถานีตำรวจภูธรสร้างคอม | 042-276226 | 42276226 |
สถานีตำรวจภูธรวังสามหมอ | 042-387566 | 042-287566 |
สถานีตำรวจภูธรทุ่งฝน | 042-269056 | 042-269056 |
สถานีตำรวจภูธรไชยวาน | 042-265412 | 042-265412 |
สถานีตำรวจภูธรหนองแสง | 042-396277 | 042-396277 |
สถานีตำรวจภูธรพิบูลย์รักษ์ | 042-258150-1 | 042-258150-1 |
สถานีตำรวจภูธรนายูง | 042-257114 | 042-132514 |
สถานีตำรวจภูธรกู่แก้ว | 042-256138 | 042-256137 |
สถานีตำรวจภูธรประจักษ์ศิลปาคม | 042-335028 | 042-335030 |
สถานีตำรวจภูธรกลางใหญ่ | 042-921507 | 042-921507 |
สถานีตำรวจภูธรบ้านเทื่อม | 042-150615 | 042-150615 |
สถานีตำรวจภูธรดงเย็น | 042-136091 | 042-612546 |
วิสัยทัศน์ (Vision)
“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”
พันธกิจ (Missions)
1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โครงสร้าง (Structure)

วัฒนธรรมองค์กร


บุคลากร
รายนามผู้ดำรงตำแหน่ง
อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุดรธานี
1. นายอนุพนธ์ เกตุสมบูรณ์ 1 พ.ค. 2539 – 3 ต.ค. 2539
2. นายกัมปนาท นาคะเกศ 4 ต.ค. 2539 – 30 เม.ย. 2541
3. นายสมเกียรติ แพทย์คุณ 1 พ.ค. 2541 – 30 เม.ย. 2542
4. นายสุทธิ ผ่องอ่อน 3 พ.ค. 2542 – 30 เม.ย. 2543
5. นายไช้พงษ์ อัศวบุญญาเลิศ 1 พ.ค. 2543 – 30 เม.ย. 2544
6. นายนฤมิต เอกทอง 1 พ.ค. 2544 – 3 พ.ค. 2545
7. นายเชาวลิต วงศานรเศรษฐ์ 7 พ.ค. 2545 – 25 เม.ย. 2546
8. นายวิษณุรักษ์ กล้าหาญ 28 เม.ย. 2546–30 เม.ย. 2547
9. นายชาลี เสริมสัย 3 พ.ค. 2547 – 1 เม.ย. 2548
10. นางสาวบุศยา ณ ระนอง 4 เม.ย. 2548 – 30 เม.ย. 2549
11. นายสุขุม โกมาสถิตย์ 1 พ.ค. 2549 – 30 มี.ค. 2550
12. นายสุรศักดิ์ บุญเพิ่ม 2 เม.ย. 2550 – 31 มี.ค. 2551
13. นางสาวอภิพร จันทพันธ์ 1 เม.ย. 2551 – 31 มี.ค. 2553
14. นายสุรศักดิ์ ศรีสอาด 1 เม.ย. 2553 – 31 มี.ค. 2554
15. นางสาวอาภาภรณ์ บูรณะกนิษฐ 1 เม.ย. 2554 – 30 มี.ค. 2555
16. นายนิรันดิ์ ยั่งยืน 2 เม.ย. 2555 – 29 มี.ค. 2556
17. นางอรทัย หวังวิวัฒนา 1 เม.ย. 2556 – 31 มี.ค.2558
18. นายเธียรไท วานิชชยุตพงศ์ 1 เม.ย.2558 – 31 มี.ค.2559
19. นายพรชัย กำริสุ 1 เม.ย.2559 – 31 มี.ค. 2560
20. นายยศวัจน์ ผาติธีรวิทย์ 3 เม.ย.2560 – 30 มี.ค. 2561
21. นายณัฐวุฒิ เนืองทอง 2 เม.ย. 2561 – 31 มี.ค. 2563
22. นางสาวกรรณิกา จงสมจิตร 1 เม.ย. 2563 – 31 มี.ค. 2564
23. นายสัญชัย สถิตย์ชัยวัฒนา 1 เม.ย. 2564 – 31 มี.ค.2565
24. นายประกาศิต ภาภิรมย์ 1 เม.ย. 2565 – 31 มี.ค.2566
25. นางสาวนิภา น้อยมล 1 เม.ย. 2566 – ปัจจุบัน

นางสาวนิภา น้อยมล
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
สำนักงานอัยการจังหวัดระยอง รักษาการในตำแหน่ง อัยการจังหวัดคดีเยาชนและครอบครัวจังหวัดอุดรธานี

อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฏิบัติหน้าที่ผู้กลั่นกรองงาน

อัยการจังหวัดผู้ช่วย

อัยการผู้ช่วย

นักจัดการงานทั่วไป
ชำนาญการพิเศษ
รักษาการในตำแหน่ง
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นิติกรชำนาญการ

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
สถิติงานคดีประจำปีต่างๆ

ติดต่อหน่วยงาน
สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดอุดรธานี
89 ถนนศรีสุข ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี
จังหวัดอุดรธานี 41000
โทร. 042-245212 โทรสาร. 042-245284
E-mail : udon-ju.ago.go.th
แผนที่เดินทางhttps://www.google.com/maps/@17.4072428,102.7807243,14z

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ