ข่าวประชาสัมพันธ์

ประกาศสำนักงานคดีปกครองเชียงใหม่

ร่วมพิธีวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ประจำปี 2567

ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ และวันอนุรักษ์มรดกไทย

ร่วมพิธีถวายราชสักการะเนื่องในวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ประจำปี 2567 และการจัดงานวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2567

ร่วมพิธีสวดพระพุทธมนต์และพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศลเนื่องในวันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า 25 พฤศจิกายน 2566

ร่วมพิธีวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 23 ตุลาคม 2566

กิจกรรมจิตอาสา “รู้รักสามัคคี รักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาคุณภาพชีวิต” นำโดย นายคมวิทย์ แดงไชยวัฒน์ อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีปกครองเชียงใหม่ ณ อาคารสำนักงาคดีปกครองเชียงใหม่

มาตรการเบื้องต้นในการปฏิบัติงานของข้าราชการฝ่ายอัยการ บุคลากร และลูกจ้าง ที่ทำการสำนักงานคดีปกครองเชียงใหม่สำนักงานอัยการสูงสุด ในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติของสำนักงาน

          สำนักงานคดีปกครองเชียงใหม่ เป็นส่วนราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินคดีว่าต่างและแก้ต่างคดีปกครองให้แก่ส่วนราชการทุกแห่งรวมถึงองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจใน ๘ จังหวัด  ได้แก่  จังหวัดเชียงใหม่  จังหวัดลำพูน  จังหวัดลำปาง  จังหวัดเชียงราย  จังหวัดพะเยา  จังหวัดน่าน  จังหวัดแพร่  จังหวัดแม่ฮ่องสอน  ซึ่งเปิดทำการเมื่อวันที่  ๑๒  กันยายน  ๒๕๔๔  เป็นต้นมา  โดยมีประวัติความเป็นมา  ดังนี้

          ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๒๗๖ และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้บัญญัติให้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้น เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีปกครองที่มีขึ้นระหว่างหน่วยงานทางปกครอง  หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับหน่วยงานทางปกครอง  ปัจจุบันศาลปกครองได้เปิดทำการแล้ว ปรากฏว่ามีคดีปกครองจำนวนมากที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานทางปกครอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐมอบอำนาจให้พนักงานอัยการฟ้องคดีหรือดำเนินคดีปกครองแทน กอปรกับระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วย องค์คณะ การจ่ายสำนวน การโอนคดี การปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการในคดีปกครอง การคัดค้านตุลาการศาลปกครองการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานคดีปกครอง และการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีปกครองแทน พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๐ กำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมอบอำนาจให้พนักงานอัยการฟ้องคดีหรือดำเนินคดีปกครองแทนได้ ดังนั้น สำนักงานอัยการสูงสุด จึงได้จัดให้มีพนักงานอัยการไว้ปฏิบัติราชการดำเนินคดีแทนหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวเป็นการเฉพาะ โดยได้มีคำสั่งที่ ๒๑๔/๒๕๔๔  แก้ไขเพิ่มเติมการจัดระเบียบบริหารราชการภายในสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อจัดตั้งสำนักงานคดีปกครองให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองขึ้น

          โดยมีการจัดตั้งศาลปกครองชั้นต้นในกรุงเทพมหานคร และในภูมิภาคตามความในมาตรา ๗ และมาตรา ๙๔ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบกับได้มีประกาศประธานศาลปกครองสูงสุด เรื่อง สถานที่ตั้งและวันเปิดทำการของศาลปกครองเชียงใหม่  มีเขตอำนาจรับผิดชอบ ๕ จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน เปิดทำการตั้งแต่วันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๔๔ ต่อมาได้มีประกาศที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด เรื่อง ให้ศาลปกครองเชียงใหม่มีเขตอำนาจเพิ่มเติมในจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ และจังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๔

          ดังนั้นเพื่อจัดให้มีพนักงานอัยการไว้ปฏิบัติราชการดำเนินคดีแทนหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐในภูมิภาคเป็นการเฉพาะ จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมการจัดระเบียบบริหารราชการและแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานอัยการสูงสุดจัดตั้งสำนักงานคดีปกครองในภูมิภาคให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองภูมิภาคขึ้น

          อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕  แห่งพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๔๙๘ และมาตรา ๓๑ วรรคสาม  มาตรา ๓๗ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ จึงจัดระเบียบบริหารราชการและแบ่งส่วนราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดเพิ่มเติมขึ้นไว้ตามคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุดที่ ๓๒๙/๒๕๔๔ เรื่อง การจัดระเบียบราชการ และการแบ่งส่วนราชการ (ฉบับที่ ๖)  โดยจัดตั้งสำนักงานคดีปกครองเชียงใหม่  เมื่อวันที่ ๗  สิงหาคม ๒๕๔๔  และให้สำนักงานคดีปกครองเชียงใหม่มีหน่วยงานสังกัด และรับผิดชอบ  คือ

  • ๑. ฝ่ายกิจการทั่วไป
  •  ๒. สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองเชียงใหม่ ๑ -๒

          เบื้องต้นให้เปิดทำการเฉพาะสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองเชียงใหม่ ๑  และสำนักงานคดีปกครองเชียงใหม่ ได้เปิดทำการเมื่อวันที่  ๑๒  กันยายน  ๒๕๔๔   โดยมีอธิบดีอัยการฝ่ายคดีปกครองเชียงใหม่เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด

            ต่อมาเนื่องจากปริมาณคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคดีปกครองเชียงใหม่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองเชียงใหม่ ๑ ไม่สามารถที่จะรองรับกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นได้   สำนักงานอัยการสูงสุดจึงมีคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ ๕๒๑/๒๕๕๐  ลงวันที่   ๒๖  กันยายน พ.ศ.๒๕๕๐ ให้เปิดสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองเชียงใหม่ ๒ ขึ้นภายในสำนักงานคดีปกครองเชียงใหม่   นับตั้งแต่วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๒  เป็นต้นไป

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ

 1. อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการในการดำเนินคดีปกครองเป็นไปตาม พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๑๔       ซึ่งบัญญัติว่า “พนักงานอัยการ” มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

 ​(1) อำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีปกครองแทนหน่วยงานของรัฐ 

        ​ตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการฯ มาตรา ๑๔ (๓) บัญญัติว่า “ในคดีแพ่งหรือคดีปกครองมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ในศาลหรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ”

       ​ ดังนั้น พนักงานอัยการจึงมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีแทนเฉพาะรัฐบาล หน่วยงานของรัฐทั้งที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค (จังหวัด,อำเภอ) รวมถึงราชการบริหารส่วนกลางที่ส่งเจ้าหน้าที่ ของตนไปปฏิบัติหน้าที่ประจำในจังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการของหน่วยงานมิให้กำหนดให้เป็นราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัด โดยรับดำเนินการว่าต่างฟ้องคดีแทนรัฐบาลหน่วยงานของรัฐและการรับแก้ต่างคดีที่หน่วยงานของรัฐถูกฟ้องคดีแทนหน่วยงานดังกล่าว

     ​ นอกจากนี้ พนักงานอัยการยังมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการด้วย เช่น การร้องขอศาลสั่งเพิกถอนสัญชาติไทยกับผู้มีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าว เมื่อปรากฏหลักฐานว่าใช้สัญชาติของบิดาหรือสัญชาติอื่น หรือฝักใฝ่อยู่ในสัญชาติของบิดาหรือสัญชาติอื่นหรือการถอนสัญชาติไทยกรณีปรากฏว่ากระทำการใดๆ อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่งคงหรือขัดต่อประโยชน์ของรัฐหรือเป็นการเหยียดหยามประเทศชาติตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 17 เป็นต้น

(2) อำนาจหน้าที่ดำเนินคดีแก้ต่างให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ

​      ​ ตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการฯ มาตรา ๑๔ (๔) บัญญัติว่า “ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือ คดีอาญาซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่ง หรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมายหรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดีเมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้”

     ​ พนักงานอัยการจึงมีอำนาจหน้าที่ในการรับแก้ต่างแทนเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ถูกฟ้องคดีปกครองในการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ด้วยโดยการขอให้แก้ต่างแทนเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องส่งเรื่องผ่านหน่วยงานต้นสังกัดไปยังสำนักงานคดีปกครอง สำนักงานอัยการสูงสุด แต่ไม่สามารถแก้ต่างให้ราษฎรในคดีปกครองได้  

     ​ ​อนึ่ง การรับแก้ต่างของพนักงานอัยการให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ แตกต่างจากกรณีหน่วยงานของรัฐ โดยเป็นดุลยพินิจของพนักงานอัยการในการพิจารณาว่าจะรับแก้ต่างหรือไม่ก็ได้เนื่องจากบทบัญญัติในพระราชบัญญัติองค์กรอัยการฯ มาตรา ๑๔(๔)ใช้คำว่า “เมื่อเห็นสมควร”ซึ่งแตกต่างจากกรณีการดำเนินคดีแทนหน่วยงานของรัฐตามบทบัญญัติในมาตรา ๑๔ (๓)

​      ​ สำหรับการกระทำของข้าราชการการเมืองนั้นโดยที่การกระทำของข้าราชการการเมืองมีทั้งที่เป็นการกระทำทางปกครองและการกระทำของรัฐบาล กล่าวคือ หากกระทำโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญถือว่ากระทำการในฐานะที่เป็นรัฐบาลและผลของการใช้อำนาจ ในกรณีนี้ไม่ใช่การกระทำทางปกครอง แต่เป็นการกระทำของรัฐบาล ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบของศาลปกครอง (ตามแนวคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๑๗๘/๒๕๕๐)

​      ​ ดังนั้นเฉพาะที่เป็นการใช้อำนาจทางปกครองจึงเป็นการกระทำที่อยู่ในคดีปกครองเช่นการใช้อำนาจปกครองของรัฐมนตรีในการบริหารกิจการของกระทรวงหรือตามบทบัญญัติของกฎหมายที่เป็นอำนาจสั่งการของรัฐมนตรี เป็นต้น

 ​(๓) ว่าต่างหรือแก้ต่างแก่รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการฯ มาตรา ๑๔(๕) บัญญัติว่า “ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นเป็นคู่กรณีและมิใช่กรณีที่เป็นข้อพิพาทกับรัฐบาลหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควร พนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้”

     ​ หน่วยงานของรัฐที่ไม่ได้กล่าวในมาตรา ๑๔ (๓) ที่พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ในการรับดำเนินคดีปกครองแทนได้ตาม มาตรา ๑๔ (๕) ได้แก่ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หน่วยงานอื่นของรัฐหรือหน่วยงานอื่นใดที่ดำเนินกิจการของรัฐอันเป็นนิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น

       ​ อนึ่ง ตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการฯ มาตรา ๑๔(๕) ใช้คำว่า  “เมื่อเห็นสมควร”ดังนั้น พนักงานอัยการจึงสามารถใช้ดุลพินิจที่จะพิจารณารับว่าต่างหรือแก้ต่างให้หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓)หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นได้เช่น หากเป็นกรณีที่เป็นข้อพิพาทกับรัฐบาลหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองในทางปฏิบัติพนักงานอัยการจะไม่รับว่าต่างหรือแก้ต่างแทนโดยจะโอนเรื่องไปยังสำนักงานยุติข้อพิพาททางแพ่งระหว่างหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ดำเนินการพิจารณาและส่งให้คณะกรรมการยุติข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐมีมติต่อไป

 (๔) การเรียกบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำ

          ตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการฯ มาตรา ๑๔ วรรคสองบัญญัติว่า “ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓)(๔)และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำโดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้”

     ​ เมื่อปรากฏว่าข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ตัวความส่งมาให้พนักงานอัยการพิจารณาบางเรื่องนั้น พนักงานอัยการเห็นว่า คำชี้แจงข้อเท็จจริงของตัวความไม่ชัดแจ้ง หรือไม่ครบถ้วนในประเด็นสำคัญของคดี อันเป็นอุปสรรค ในการพิจารณาดำเนินคดีหรือเป็นคดีสำคัญที่พนักงานอัยการจำเป็นต้องใช้ความรอบคอบในการพิจารณาเป็นพิเศษ บทบัญญัติดังกล่าวก็ได้บัญญัติให้พนักงานอัยการสามารถมีคำสั่งเรียกบุคคลอื่น เช่น เจ้าหน้าที่หรือผู้เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำและบันทึกถ้อยคำไว้เป็นหลักฐานประกอบการดำเนินคดีปกครองของพนักงานอัยการก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานครบถ้วนสมบูรณ์เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ

     ​ แต่บทบัญญัติดังกล่าวนั้น มีข้อจำกัดไว้ว่าในกรณีการพิจารณาเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำจะต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะต้องยินยอมมาให้ถ้อยคำแต่จะมีคำสั่งให้มาดังเช่นเจ้าหน้าที่หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ได้

​๒. อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการในคดีปกครอง

​2.1 การดำเนินคดีปกครองในฐานะผู้รับมอบอำนาจแทน

            ​ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔๕ วรรคห้า บัญญัติว่า “ในการดำเนินกระบวนพิจารณาคู่กรณีจะดำเนินการทั้งปวง ด้วยตนเองหรือจะมอบอำนาจให้ทนายความหรือบุคคลอื่น ซึ่งมีคุณสมบัติตามระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดกำหนดเพื่อฟ้องคดีหรือดำเนินการแทนได้”

​​      ต่อมาที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดจึงได้ออกระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยองค์คณะการจ่ายสำนวน การโอนคดี การปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการในคดีปกครอง การคัดค้านตุลาการศาลปกครอง การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานคดีปกครองและการมอบอำนาจในการดำเนินคดีปกครองแทน พ.ศ. ๒๕๔๔ หมวด ๖ การมอบอำนาจให้ดำเนินคดีปกครองแทน ความว่า

     ​ “ข้อ ๒๐ คู่กรณีในคดีปกครองอาจมอบอำนาจให้ทนายความหรือบุคคลอื่นซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและมีความรู้ความสามารถที่อาจดำเนินการแทนผู้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีหรือดำเนินคดีปกครองแทนคู่กรณีได้

​      ​ คู่กรณีซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ อาจมอบอำนาจให้ข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างแล้วแต่กรณีของหน่วยงานทางปกครองนั้นหรือของหน่วยงานทางปกครองที่เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นสังกัดอยู่ หรือพนักงานอัยการฟ้องคดีหรือดำเนินคดีปกครองแทนได้”

​      ​ โดยระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดฯ ข้อ ๒๐ ดังกล่าวข้างต้น พนักงานอัยการมีอำนาจเข้าดำเนินคดีปกครองโดยเป็นผู้รับมอบอำนาจเข้าดำเนินคดีปกครองแทนคู่ความ ซึ่งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๔ ที่ได้กำหนดอำนาจหน้าที่พนักงานอัยการในการดำเนินคดีปกครอง โดยระเบียบของที่ประชุมใหญ่ฯ ดังกล่าว เป็นการขยายความให้ชัดเจนขึ้นว่า มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีปกครองในฐานะผู้รับมอบอำนาจแทนหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ

 ​2.2 การแจ้งฐานะคดี

​ตามมติคณะรัฐมนตรี ที่ นร. 0503/ว.139 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2554     ได้กำหนดแนวทางในการแจ้งฐานะคดี ดังนี้

​      ​ “ข้อ ๕ กรณีหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐส่งเรื่องให้พนักงานอัยการดำเนินคดีแทนในฐานะผู้รับมอบอำนาจ ถ้าพนักงานอัยการมีความเห็นว่า หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวอยู่ในฐานะเสียเปรียบ ไม่สามารถชนะคดีได้หรือการดำเนินคดีไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ไม่ควรที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะดำเนินคดีในเรื่องนั้น ให้พนักงานอัยการแจ้งฐานะคดีและดำเนินการต่อไป เพื่อให้อัยการสูงสุดวินิจฉัยชี้ขาดและนำเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาชี้ขาดการยุติในการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง”

​      ​ นอกจากนี้ ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินแพ่ง ของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 ข้อ 25 กำหนดว่า “คดีว่าต่างที่พนักงานอัยการเจาของสำนวนพิจารณาเห็นว่ารูปคดีเสียเปรียบอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น คดีขาดอายุความคดีขาดพยานหลักฐานอันเป็นสาระสำคัญ หรือกรณีที่คูกรณีอีกฝ่ายหนึ่งไมตองรับผิด ให้พนักงานอัยการเจาของสำนวนเสนอความเห็นควรแจ้งฐานะคดีตามลำดับชั้นถึงอธิบดี เมื่ออธิบดีเห็นพ้องด้วยก็ให้แจ้งฐานะคดีไปยังตัวความก่อนยื่นฟ้องคดี

     ​ คดีระหว่างส่วนราชการกับเอกชน หรือรัฐวิสาหกิจกับเอกชน หากพนักงานอัยการเห็นว่าไม่ควรรับดำเนินคดีให้แจ้งฐานะคดีพร้อมด้วยเหตุผลที่จะไมรับดำเนินคดีให้ตัวความทราบหากตัวความยังขอให้ดำเนินคดีต่อไปและอธิบดีอัยการไมเห็นด้วยกับตัวความให้ส่งสำนวนไปยังสำนักงานการยุติการดำเนินคดีแพง และอนุญาโตตุลาการของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาและเสนออัยการสูงสุดชี้ขาด

     ​ คดีใดจะขาดอายุความฟ้องร้องให้รีบแจ้งฐานะคดีพรอมแจ้งตัวความให้ส่งเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีโดยเร็วและให้ดำเนินการฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความโดยไมตองรอผลการพิจารณาการแจ้งฐานะคดีของตัวความ”

       ​ ดังนั้นในการดำเนินคดีปกครองแทนหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐถ้าพนักงานอัยการมีความเห็นว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐดังกล่าวอยู่ในฐานะเสียเปรียบไม่สามารถชนะคดีได้หรือการดำเนินคดีไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ไม่ควรที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะดำเนินคดีในเรื่องนั้น เช่น คดีขาดอายุความ มีมาตรการทางปกครองที่สามารถใช้บังคับได้เหมาะสมกว่า การดำเนินคดีทางศาล พนักงานอัยการก็อาจแจ้งฐานะคดีให้แก่หน่วยงานของรัฐพิจารณาได้ หากหน่วยงานของรัฐไม่เห็นพ้องกับความเห็นของพนักงานอัยการ ก็ให้ดำเนินการส่งให้อัยการสูงสุดวินิจฉัยชี้ขาด และนำเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา  ชี้ขาดการยุติในการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการพิจารณาเป็นที่สุด

 ​2.3 การสอบสวนเพิ่มเติมและการคืนเรื่อง

​      ​ การดำเนินคดีปกครองของพนักงานอัยการจำเป็นต้องมีพยานหลักฐาน อันเป็นมูลคดีและประเด็นแห่งคดีที่ครบถ้วนและถูกต้อง ดังนั้น ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีแพ่งของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 ข้อ 15 กำหนดว่า “พยานหลักฐานที่จะต้องรวบรวม

ระเบียบสํานักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการกำหนดอำนาจหน้าที่ของอัยการอาวุโส พ.ศ.2551

 ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีปกครองของพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๖๐ 

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีสำนักงานคดีปกครองเชียงใหม่

  • 1. นายสถาพร   อำนวยพานิชย์        16 กันยายน 2544 – 17 ธันวาคม 2544
  • 2. นายธีรศักดิ์  วรรธนวินิจ             18 ธันวาคม 2544 – 8 พฤศจิกายน 2544
  • 3. นายกอบเดช  แบบประเสริฐ         11 พฤศจิกายน 2545 – 30 กันยายน 2546
  • 4. นายวิชัย  วรัตพงศ์                   1 ธันวาคม 2546 – 30 ตุลาคม 2548
  • 5. นายไพศิษฐ์ พันธุ์วุฒิ                 1 ธันวาคม 2547 – 30 ตุลาคม 2548
  • 6. นายวิฑิต เองไพบูลย์              1 พฤศจิกายน 2548 – 15 ตุลาคม 2549
  • 7. ร้อยโทอรรถชัย อาสิงสมานันท์      16 ตุลาคม 2549 – 31 ตุลาคม 2550
  • 8. นายกิตติ  บุศยพลากร               1 พฤศจิกายน 2550 – 30 กันยายน 2552
  • 9. นายศุภวัฒน์  วิเชียรศรี              1 ตุลาคม 2552 – 30 กันยายน 2554
  • 10. นายสุรศักดิ์ ตรีรัตน์ตระกูล 1 ตุลาคม 2554 – 1 เมษายน 2555
  • 11. นายพิชิต เจริญเกียรติกุล         2 เมษายน 2555 – 13 ตุลาคม 2556
  • 12.นายยงยุทธ เกียรติศักดิ์โสภณ      14 ตุลาคม 2556 – 30 กันยายน 2558
  • 13. นายพิศิษฐ์ รัตนโกสุม             1 ตุลาคม 2558 – 30 กันยายน 2559
  • 14. นายเนตร นาคสุข                3 ตุลาคม 2559 – 30 กันยายน 2560
  • 15. นายประสพโชค วสิกชาติ       2 ตุลาคม 2560 – 30 กันยายน 2561
  • 16. นายทยา พาหุสัจจะลักษณ์      1 ตุลาคม 2561 – 30 กันยายน 2562
  • 17. นายมานพ ศักดาพร            1 ตุลาคม 2562 – 30 กันยายน 2563
  • 18. นายเจน สันติวาสะ             1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2564
  • 19. นายคมวิทย์ แดงไชยวัฒน์      1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565
  • 20. นายพรชัย บุญถนอม 1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566
  • 21 นายปราโมทย์ อ่อนละออ 1 ตุลาคม 2566

นายปราโมทย์ อ่อนละออ
อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีปกครองเชียงใหม่

นายศราวุธ นากะพันธ์
รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีปกครองเชียงใหม่

นางสาวนวรัตน์ เสนะวัต
รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีปกครองเชียงใหม่

นางผุสดี สุวรรณมงคล
อัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองเชียงใหม่ 1

นายพัฒน์ นทกุล
อัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองเชียงใหม่ 2

นางสาวเบญจพัฒน์ เตชวีรพงศ์
อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ

นายทวีศักดิ์ งามดี
อัยการผู้เชี่ยวชาญ

นายทยา พาหุสัจจะลักษณ์
อัยการอาวุโส

นางพัชรี เชื้อชอบธรรม
อัยการอาวุโส

นางอัจฉราพร เศรษฐบุตร
อัยการอาวุโส

นายยุทธนา โพธิ์ทองสุนันท์
อัยการอาวุโส

นายกิตติคุณ จันทรสถาพร
อัยการอาวุโส

นายวรการ ตระกูลทอง
อัยการอาวุโส

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ นายวันฉลอง-หนองคูน้อย.jpg

นายวันฉลอง หนองคูน้อย
เจ้าพนักงานคดีชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทน
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ นางสาวบุษกร-กันดี.jpg

นางสาวบุษกร กันดี
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นายธนกฤต สารศิริ
เจ้าพนักงานคดีชำนาญการ

นางสาวอรจิรา สิขัณฑกนาค
เจ้าพนักงานคดีชำนาญการ

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ นางสาวสุพัตรา-ชัยมงคล.jpg

นางสาวสุพัตรา ชัยมงคล
นักจัดการงานทั่วไปปฎิบัติการ

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ นางสาวรัตติยากร-ศิริราช.jpg

นางสาวรัตติยากร ศิริราช
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ นายวีรกุล-อินตามา.jpg

นายวีรกุล อินตามา
นิติกรปฏิบัติการ

นายสรสิทธิ์ เสมอเชื้อ
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวแพรภคภร วิศิษฎ์เวคิน
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวเมธาวินี มิตรศิริ
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวราตรี กิณเรศ
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นายสมชาย พลหาญ
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นางไพลิน สิทธิชนะ
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นางสาวไพรินทร์ ล้ำจุมจัง
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นายทัศนเทพ ใจยะสาร
พนักงานขับรถยนต์

นายสันติพงษ์ อินยา
พนักงานขับรถยนต์

นายศุภาพนธ์ ตาจิโน
คนสวน

สถิติคดี

สรุป ข้อมูลคดีและสถิติคดี ของสำนักงานคดีปกครองเชียงใหม่

 เรื่อง ปี.พ.ศ.2563 (ม.ค.-ธ.ค)  ปี พ.ศ.2564 (ม.ค.-ธ.ค) ปี พ.ศ.2565 (ม.ค.-ก.ย)
สำนวนรับใหม่616439255
สำนวนเสร็จ   
สำนวนค้าง   

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานคดีปกครองเชียงใหม่ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๓๐๐
เบอร์โทรศัพท์ ๐๕๓๑๑๒๘๖๗ เบอร์โทรสาร ๐๕๓๑๑๒๘๖๘ E-mail : cm-admin@ago.go.th

ผู้รับผิดชอบเว็ปไซด์
นางสาวราตรี กิณเรศ E-Mail : nicky4453@hotmail.com