ข่าวประชาสัมพันธ์

วันที่ 29 เมษายน 2567 เวลา 08.00 น. นายธวัชชัย ว่องพรรณงาม อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ เข้าร่วมกิจกรรมปลูกต้อไม้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ บริเวณอ่างเก็บน้ำหนองเขียว ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 25 เมษายน 2567 นายธวัชชัย ว่องพรรณงาม อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ เข้าร่วมพิธีวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประจำปี 2567 ณ พระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์ ตำบลเมืองงาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 6 เมษายน 2567 นายธวัชชัย ว่องพรรณงาม อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมคณะเข้าร่วมพิธีวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ ประจำปี 2567 ณ ห้องราชพฤกษ์ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 2 เมษายน 2567 นายธวัชชัย ว่องพรรณงาม อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมคณะเข้าร่วมพิธีกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ พิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม) เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ และวันอนุรักษ์มรดกไทย ณ ห้องราชพฤกษ์ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา อำเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๗ นางสาวเพ็ญนิภา คุ้มได้อยู่ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังเชียงใหม่ พร้อมคณะ เข้าร่วม การประกอบพิธีวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๗ ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ จัดกิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน ประจำปี 2566 โดยนางสาวเพ็ญนิภา คุ้มได้อยู่ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ นำข้าราชการฝ่ายอัยการร่วมจัดกิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย เวลา 08.00 น. ณ บริเวณหน้าเสาธงอาคารสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่

  • เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๖ นางสาวเพ็ญนิภา คุ้มได้อยู่ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ นำคณะเจ้าหน้าที่ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีทางศาสนามหามงคล ๕ ศาสนา และ พิธีถวายเครื่องราชสักการะและ วางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ๑๒ สิงหาคม๒๕๖๖ ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ นางนัธพรรณ หว่านพืช อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ได้รับมอบหมายจากอัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ นำคณะเจ้าหน้าที่ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์และสามเณร จำนวน ๗๒ รูป และร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณการเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดินและพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในช่วงเช้า และเข้าร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล ในช่วงค่ำ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

นางสาวศรีสมวงศ์ ธรรมศิริ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ และข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา วันที่ ๒๓ ธันวามคม ๒๕๖๕ ณ บริเวณชั้น ๑ อาคารศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต ๗ จังหวัดเชียงใหม่  จัดโครงการบูรณาการการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชน ในวันที่ ๒๔ - ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๕ เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้เข้ารับการอบรม  ป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ  และการถูกกระทำซ้ำ  รวมถึงเป็นการสร้างอาชีพให้แก่เด็กและเยาวชน  โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ณ ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต ๗ จังหวัดเชียงใหม่
วันที่ 23 มิถุนายน 2565 เวลา 11.00 น. นางสาวศรีสมวงศ์ ธรรมศิริ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานการประชุมกรอบการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดประชุมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 โดยมีพนักงานอัยการและข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วม ณ ห้องประชุมสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่

           ตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2513 ประกอบกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 ได้มีผลบังคับใช้ กรมอัยการ (หรือ สำนักงานอัยการสูงสุด -ปัจจุบัน) ในขณะนั้น ได้มีการจัดตั้งสำนักงานอัยการประจำศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ โดยเปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2513 เป็นต้นไป มีอำนาจในการดำเนินคดีอาญา เฉพาะเด็กหรือเยาวชนที่กระทำผิดตลอดท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด พ.ศ.2534 ยกเลิกพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ฯ ยกเลิกพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนฯ และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนฯ โดยผลของกฎหมายฉบับนี้ ศาลเยาวชนและครอบครัวที่จัดตั้งขึ้นแทนศาลคดีเด็กและเยาวชน มีอำนาจพิจารณาคดีครอบครัวด้วย ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีของสำนักงานอัยการประจำศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีอำนาจในการดำเนินคดีครอบครัวด้วยเช่นกัน จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานอัยการประจำศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้มีคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบกับร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2546 จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อสำนักงานเป็น สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่

             ในปัจจุบันสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ มีเขตอำนาจในการดำเนินคดีตลอดท้องที่จังหวัดเชียงใหม่ เว้นแต่คดีที่เกิดขึ้นในเขตท้องที่อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และอำเภอไชยปราการ ซึ่งสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่(ฝาง) ซึ่งตั้งอยู่ในสำนักงานอัยการจังหวัดฝาง ที่มีอำนาจในการดำเนินคดี

ตราสัญลักษณ์

โลโก้สำนักงาน

รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์
และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์

     สำนักงานอัยการสูงสุด แต่เดิมเป็นกรมอัยการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย เครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดจึงเป็นรูปตราราชสีห์ ต่อมาพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 ได้บัญญัติให้สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี จึงได้มี การกำหนดเครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดขึ้นใหม่ สำหรับใช้เป็นเครื่องหมายราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดและเป็นเครื่องหมายแสดงสังกัด ใช้กับเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายอัยการ ประกอบกับกฎหมายว่าด้วย
ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ได้บัญญัติให้นำกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน มาใช้บังคับกับข้าราชการธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุด และกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้บัญญัติให้เครื่องหมายแบบข้าราชการพลเรือน เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน และโดยที่กฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน ได้บัญญัติให้ การกำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัด สำหรับใช้กับเครื่องแบบข้าราชการพลเรือน ต้องออกเป็นกฎสำนักนายกรัฐมนตรี

     สำนักนายกรัฐมนตรี จึงออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการกำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 129) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 เล่ม 109 ตอนที่ 40 หน้า 104-105 และออกกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 79 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2535 เล่ม 109 ตอนที่ 51 หน้า 4-5 กำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักอัยการสูงสุด เป็นรูปตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ประดิษฐานเหนือพระแว่น สุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์

     เครื่องหมายราชการ และเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักงานอัยการสูงสุด จึงเปลี่ยนจากรูปตราราชสีห์เป็น รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ มีความหมายถึงอำนาจหน้าที่ในการเป็นทนายแผ่นดิน การใช้กฎหมายด้วยความรอบคอบ เป็นธรรม และเด็ดขาด มีชัยชนะเหนืออธรรม

อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ มีดังนี้

          มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำจานและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
          (๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือพนักงานอัยการ
          (๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของ สำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
          (๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนี่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้ กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
          (๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
          (๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
          (๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึด ทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาก ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
          (๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
          (๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
          (๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
          (๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
          ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
          พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไป ตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

ข้าราชการอัยการ

นายธวัชชัย ว่องพรรณงาม
อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่
นางสาวอรวรรณ พงษ์สุขเวชกุล
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
นางสาวพัฐศรา พอจิต
รองอัยการจังหวัด

ข้าราชการธุรการ

นายประชา ประดิษฐกุล
นิติกรชำนาญการ
รักษาการในตำแหน่ง
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ
นายอภิชัย เตรียมรังษี
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวพรพิมล นวภานันท์
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
นางสาวรักษณีย์ บุตรตา
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
นายพงษ์พัฒน์ หล้าทา
พนักงานขับรถยนต์ 
นายสุรินทร์ แสนเกียง
คนสวน
นางชินีนาถ นิลเนตร
นักการภารโรง

ทำเนียบผู้บริหาร

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่
ถนนเชียงใหม่-ลำปาง ตำบลวัดเกต อำเภอเมืองเมืองเชียงใหม่
จังหวัดเชียงใหม่ 50000
โทร/โทรสาร  053-246905 , 053-240867
E-mail. cm-ju@ago.go.th