ข่าวประชาสัมพันธ์

ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก
เพื่อแต่งตั้งเป็นทนายความอาสาและทนายความอาสาอาวุโส

กิจกรรม ปี 2566

วันที่ 25 เมษายน 2566 นายพลภัทร สีแดง รักษาการในตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดลำพูน
นำคณะเจ้าหน้าที่เข้าร่วมพิธีถวายราชสักการะและวางพวงมาลาเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประจำปี 2566
ในวันอังคารที่ 25 เมษายน 2566 ณ ศาลากลางจังหวัดลำพูน

วันที่ 18 เม.ย.2566 สคชจ.ลำพูน นำโดยนายพลภัทร สีแดง อจ.คช.ลำพูน นายณัฐพล มัตติทานนท์ รอง อจ.คช.ลำพูน พร้อมด้วยคณะ ได้เดินทางเข้าตรวจเยี่ยมศูนย์คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย รวม 5 ศูนย์ 2 อำเภอ ได้แก่ เทศบาลตำบลป่าไผ่ เทศบาลตำบลวังดิน เทศบาลตำบลก้อ อบต.นาทราย อำเภอลี้ และ อบต.บ้านปวง อำเภอทุ่งหัวช้าง ซึ่งในรอบนี้ทาง สคชจ.ลำพูน ได้วางแนวนโยบายเชิงรุก สอบถามอุปสรรคปัญหา ประชาสัมพันธ์ช่องทางติดต่อที่มากขึ้น
เน้นทำงานบูรณาการร่วมกันระหว่างบุคลากรของทุกหน่วยงานในการคุ้มครองสิทธิชาวบ้านในเชิงกฎหมายเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่

วันที่ 6 เมษายน 2566 นายพลภัทร สีแดง รักษาการในตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดลำพูน นำคณะเจ้าหน้าที่เข้าร่วมพิธีถวายราชสักการะเนื่องในวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงค์ ในวันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน 2566 ณ ศาลากลางจังหวัดลำพูน

วันที่ 3 เมษายน 2566 นายพลภัทร สีแดง รักษาการในตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดลำพูน เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง ได้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิประจำจังหวัดลำพูนเพื่อเป็นการขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิและเสริมความเป็นศิริมงคลแก่บุคลากรของสำนักงาน และประชุมบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางในการปฏิบัติราชการต่อไป

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา

     วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2534 กรมอัยการแยกออกจากกระทรวงมหาดไทย ไปเป็นหน่วยงานราชการอิสระไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีกระทรวงหรือทบวงใด อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ของนายกรัฐมนตรีโดยตรง โดยเปลี่ยนชื่อจาก “กรมอัยการ” เป็น “สำนักงานอัยการสูงสุด” และเปลี่ยนชื่อตำแหน่ง “อธิบดีกรมอัยการ” และ “รองอธิบดี” กรมอัยการ” เป็น “อัยการสูงสุด” และ “รองอัยการสูงสุด” ตามลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงระบบการบริหารงานยุติธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับงานอัยการให้มีความเป็นอิสระเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ยิ่งขึ้น และเพื่อมิให้อิทธิพลทางการเมืองก้าวก่ายการดำเนินคดี ซึ่งจะทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชนโดยส่วนรวมยิ่งขึ้น

ตราสัญลักษณ์

โลโก้สำนักงาน

รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์
และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์

     สำนักงานอัยการสูงสุด แต่เดิมเป็นกรมอัยการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย เครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดจึงเป็นรูปตราราชสีห์ ต่อมาพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 ได้บัญญัติให้สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี จึงได้มี การกำหนดเครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดขึ้นใหม่ สำหรับใช้เป็นเครื่องหมายราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดและเป็นเครื่องหมายแสดงสังกัด ใช้กับเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายอัยการ ประกอบกับกฎหมายว่าด้วย
ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ได้บัญญัติให้นำกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน มาใช้บังคับกับข้าราชการธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุด และกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้บัญญัติให้เครื่องหมายแบบข้าราชการพลเรือน เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน และโดยที่กฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน ได้บัญญัติให้ การกำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัด สำหรับใช้กับเครื่องแบบข้าราชการพลเรือน ต้องออกเป็นกฎสำนักนายกรัฐมนตรี

     สำนักนายกรัฐมนตรี จึงออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการกำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 129) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 เล่ม 109 ตอนที่ 40 หน้า 104-105 และออกกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 79 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2535 เล่ม 109 ตอนที่ 51 หน้า 4-5 กำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักอัยการสูงสุด เป็นรูปตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ประดิษฐานเหนือพระแว่น สุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์

     เครื่องหมายราชการ และเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักงานอัยการสูงสุด จึงเปลี่ยนจากรูปตราราชสีห์เป็น รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ มีความหมายถึงอำนาจหน้าที่ในการเป็นทนายแผ่นดิน การใช้กฎหมายด้วยความรอบคอบ เป็นธรรม และเด็ดขาด มีชัยชนะเหนืออธรรม

อำนาจหน้าที่
องค์กรอัยการ
อัยการสูงสุด
พนักงานอัยการ

นโยบายอัยการสูงสุด

นโยบาย
วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

บุคลากร

ข้าราชการอัยการ

นายพลภัทร สีแดง
อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย
และการบังคับคดีจังหวัดลำพูน
นายยศวัฒน์ เลิศปิยะภูมิชัย
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
นางวาสินี นันทขว้าง ชาวเหนือ
รองอัยการจังหวัด

ข้าราชการธุรการ


นางสาวพรเพ็ญ ศรีสุข
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ
สำนักอำนวยการ
ว่าที่ ร.ต.หญิง ธนาภรณ์ กุลศิร
เจ้าพนักงานคดีปฏิบัติการ
นางสาวนรี เวียงนาค
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
นางสาวทศพร ทองบำเรอ
นิติกรปฏิบัติการ
 นางสาวเศรษฐพร วงษ์เมตตา
 นิติกรปฏิบัติการ
นางสาวอรจิรา กระตือ
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
นางสาวสุปราณี ศึกษาภักดี
 นิติกร (ป.ป.ส.คช)
นายวีรศักดิ์ สนัดใจ
พนักงานขับรถยนต์ 

ทนายความอาสา

นายมนตรี สามารถ
ทนายความอาสา

นายสุรวัตร จีสันติ
ทนายความอาสา

รายนามอัยการจังหวัด
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดลำพูน

1. นายสุริยน ประภาสะวัติ

2. นางสาวเรณู อาจรยวัตรกุล

3. นายกฤติ พฤกษ์อัครกูล

4. นายครรชิต หุตะกมล

5. นางกรวิพา จันทโรทัย

6. นางสาวมนต์พิศ สาทรสัมฤทธิ์ผล

7. นางสาวศรีสมวงศ์ ธรรมศิริ

8. นางสาววัฒณีย์ จรูญพันธ์นิธิ

9. นายพลภัทร สีแดง

1 เมษายน 2557 – 31 มีนาคม 2558

1 เมษายน 2558 – 31 มีนาคม 2560

1 เมษายน 2560 – 31 มีนาคม 2561

1 เมษายน 2561 – 31 มีนาคม 2562

1 เมษายน 2562 – 31 มีนาคม 2563

1 เมษายน 2563 – 31 มีนาคม 2564

1 เมษายน 2564 – 31 มีนาคม 2565

1 เมษายน 2565 – 31 มีนาคม 2566

1 เมษายน 2566 – ปัจจุบัน

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดลำพูน
อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดลำพูน ชั้น 1
ตั้งอยู่ที่ ศูนย์ราชการตำบลเวียงยอง  อำเภอเมือง  จังหวัดลำพูน
หมายเลขโทรศัพท์ 0-5356-0752-53 ต่อ 110
โทรสาร 0-5356-0752-53 ต่อ 109
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ : lamphun-lawaid@ago.go.th