ข่าวประชาสัมพันธ์

   …ข้าพระพุทธเจ้า ข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากร สำนักงานอัยการจังหวัดแม่สะเรียง…

วันพ่อแห่งชาติ         

          วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็น “พ่อ” ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณาอย่างหาที่เปรียบมิได้                               

พระราชประวัติ         

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระนามเดิมว่า “ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น (MOUNT AUBURN) ประเทศสหรัฐอเมริกา มีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า “เล็ก”

ด้านการศึกษา         

          เมื่อพระชนมายุได้ 5 พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี จากนั้นทรงเสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซานน์ ในปี พ.ศ. 2478 ได้ทรงเข้าศึกษาต่อที่ CEDE NOUBELLE DE LA SUES ROMANCE CHILLY ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่รับนักเรียนนานาชาติ ในระดับอุดมศึกษาทรงเข้าศึกษาในแผนกวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมืองโลชานน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมเชษฐาธิราช พระบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ

ด้านการครองราชย์         

          พระองค์ได้เสด็จกลับเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อจากพระบรมเชษฐาเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ขณะมีพระชันษา 19 ปี ก่อนครองราชย์ได้ทรงศึกษาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และได้เสด็จกลับไปศึกษาวิชานิติศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ต่ออีกภายหลังที่ได้ครองราชย์แล้ว

ด้านพระบรมราชาภิเษก         

          วันที่ 5 พฤษภาคม 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณขัตติยราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระมหาราชวัง ในการนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสีเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ทั้งสองพระองค์มีพระราชโอรสและพระราชธิดา 4 พระองค์ ดังนี้

1. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

2. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ

3. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลนโสภาคย์

4. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี

ด้านพระราชกรณียกิจ       

          พระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์แก่ชาวไทยตลอด 70 ปี โดยพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ คือ การเสด็จพระราชดำเนินเยือนประชาชนในท้องถิ่นทุรกันดารต่าง ๆ ในประเทศ ซึ่งพระราชกรณียกิจอันโดดเด่น มีดังต่อไปนี้


1. โครงการแกล้งดิน         

          แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจะทำด้วยการขังน้ำไว้ในพื้นที่จนกระทั่งเกิดปฏิกิริยาทางเคมีจนทำให้ดินเปรี้ยวจัด เมื่อถึงที่สุดแล้วจะมีการระบายน้ำออกแล้วปรับสภาพดินด้วยปูนขาว จนกระทั่งสามารถใช้ดินในการเพาะปลูกได้


2. โครงการปลูกหญ้าแฝก         

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้ทรงศึกษาเรื่องการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำจากเอกสารของธนาคารโลก ที่นาย Richard Grimshaw ได้ทูลเกล้าฯ ถวายและพระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝก โดยให้ทรงทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน จนปัจจุบันมีหน่วยงานกว่า 50 หน่วยงานดำเนินงานสนองพระราชดำริการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ส่งผลให้การดำเนินงานก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ


3. โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระราชทานโครงการแพทย์หลวงพระราชทาน เมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยที่มีการจัดเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล เครื่องมือเครื่องใช้เพื่อตรวจรักษาราษฎรในถิ่นทุรกันดารโดยไม่คิดมูลค่า และอบรมหมอหมู่บ้านเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน


4. โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

          โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ได้จัดทำขึ้นตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 โดยจัดขึ้นเป็นรูปเล่มและบางส่วนได้เผยแพร่ออนไลน์ อันรวบรวมเนื้อหาจากหลายสาขาวิชา โดยที่ฉบับปกติมีทั้งหมด 37 เล่ม และฉบับเสริมการเรียนรู้มีทั้งหมด 20 เล่ม


5. ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล ในปี พ.ศ. 2502 เพื่อให้นิสิตนักศึกษาที่มีผลการเรียนดีเด่น ได้มีโอกาสไปศึกษาหาความรู้ชั้นสูงในต่างประเทศและนำองค์ความรู้ที่ได้มาช่วยพัฒนาประเทศต่อไป


6. แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง : เกษตรทฤษฎีใหม่

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยเป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในขั้นต้น โดยการทำเกษตรทฤษฎีใหม่นี้แบ่งออกเป็น 3 ขั้นได้แก่ ขั้นต้น คือ การแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตรา 30-30-30-10 เพื่อขุดเป็นสระกักเก็บน้ำ 30% ปลูกข้าวในฤดูฝน 30% ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผักสมุนไพร 30% และเป็นที่อยู่อาศัยอีก 10% จากนั้นจึงเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่สอง คือการให้เกษตรกรรวมกันในรูปแบบของกลุ่มสหกรณ์ เพื่อดำเนินการในด้านการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา จากนั้นจึงเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม คือการติดต่อประสานงาน จัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อใช้ลงทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไป

7. โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโครงการอันหลากหลายในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ โครงการแบบไม่ใช่ธุรกิจ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรและโครงการกึ่งธุรกิจ อาทิ โรงโคนมสวนจิตรลดา, โรงนมผงสวนดุสิต, น้ำผึ้งสวนจิตรลดา เป็นต้น


8. โครงการฝนหลวง

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริส่วนพระองค์ในเรื่องการจัดทำฝนหลวงเพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตร โดยมีการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนหลวงขึ้น ซึ่งจะใช้สารเคมีโปรยในท้องฟ้าจนกระทั่งไอน้ำอิ่มตัวและกลั่นตัวออกมากลายเป็นเม็ดฝน


9. กังหันน้ำชัยพัฒนา         

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำริให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการวิจัย และพัฒนากังหันน้ำชัยพัฒนาขึ้น เพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ ทำให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี และสามารถประยุกต์ใช้ในการอุปโภคบริโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และเพิ่มออกซิเจนให้บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร

วันที่ 23 เมษายน 2567 เวลา 08.30 น.นางสาวเยาวธิดา นาคเกษม อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุดฯ พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการจังหวัดแม่สะเรียง เข้าร่วมพิธีเปิดงานสัปดาห์วันสถาปนาศาลยุติธรรมประจำปี พ.ศ.2567 และพิธีเจริญพระพุทธมนต์ (พิธีสงฆ์) เนื่องในงานวันสถาปนาศาลยุติธรรม ประจำปี 2567 ณ ศาลจังหวัดแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

วันที่ 1 เมษายน 2567 เวลา 10.29 น. พันตำรวจตรี สุพจน์ บัวดี อัยการจังหวัดแม่สะเรียง พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการจังหวัดแม่สะเรียง เข้าร่วมพิธีทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคลกับหน่วย กำลังพลและครอบครัว พร้อมทั้งอุทิศส่วนกุศลให้แก่กำลังพลที่ล่วงลับไปแล้ว ในงานวันคล้ายวันสถาปนา กรมทหารพรานที่ 36 ครบรอบปีที่ 40 ณ กรมทหารพรานที่ 36 ค่ายเทพสิงห์ ตำบลบ้านกาศ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

วันที่ 23 ตุลาคม 2566 เวลา 8.00 น. นางบุษกร แช่มโสภา รองอัยการจังหวัดแม่สะเรียง พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการจังหวัดแม่สะเรียง เข้าร่วมในพิธีวางพวงมาลา เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ลานหน้าที่ว่าการอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

วันที่ 13 ตุลาคม 2566 เวลา 07.00 น. อัยการจังหวัดแม่สะเรียง นายณัฐวุฒิ คูหะสุวรรณ พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการจังหวัดแม่สะเรียง เข้าร่วมพิธีสวดพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในวันนวมินทรมหาราช ณ หอประชุมอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

วันที่ 28 กันยายน 2566 เวลา 08.00 น. อัยการจังหวัดแม่สะเรียง พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการจังหวัดแม่สะเรียง จัดกิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย เนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย ประจำปี 2566

เกี่ยวกับสำนักงาน

ศาลจังหวัดแม่สะเรียงเดิมเป็นศาลแขวงได้จัดตั้งขึ้นโดย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงสำหรับหัวเมือง พ.ศ.2478 มีเขตอำนาจตลอดท้องที่ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน สาเหตุที่จัดตั้งศาลแขวงแม่สะเรียง เพราะอำเภอแม่สะเรียงมีประชากรเกือบเท่าตัวจังหวัด แต่อยู่ห่างไกลจากที่ตั้งของจังหวัด และสภาพภูมิประเทศเป็นขุนเขาหนทางกันดาร ต้องเดินทางด้วยเท้าถึง 8 วัน เป็นที่เดือนร้อนแก่ ผู้มีอรรถคดีเป็นอันมาก ก่อนตั้งศาลแขวงแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนได้จัดส่งรองจ่าศาลมาประจำอยู่ที่อำเภอแม่สะเรียงทำหน้าที่ เป็นพนักงานรับฟ้อง และผู้พิพากษาจังหวัดแม่ฮ่องสอนเดินทางมา ทำการพิจารณาคดีปีละ 2 ครั้ง ทำให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยล่าช้า รัฐบาลจึงได้จัดตั้ง ศาลแขวงแม่สะเรียง โดยเปิดทำการเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2478 มีหลวงสารสิทธิ์ประการ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นผู้รักษาการตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงแม่สะเรียงชั่วคราว สำหรับพนักงานอัยการ กรมอัยการ ในขณะนั้นได้จัดตั้งสำนักงานอัยการประจำศาลแขวงแม่สะเรียง โดยมีนายกิมหลี ศิริวัฒนา เป็นอัยการจังหวัด คนแรก 

          ต่อมาหลวงสารสิทธิ์ประการได้เสนอความเห็น  ในการยกฐานะศาลแขวงแม่สะเรียงเป็นศาลจังหวัดด้วยเหตุผลว่าศาลแขวงแม่สะเรียง ไม่อาจยังประโยชน์แก่ชาวแม่สะเรียงผู้มีอรรถคดีได้อย่างแท้จริง เพราะคดีเกินอำนาจก็จะต้องไปดำเนินการที่ศาลจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งคู่ความและพยานจะต้องเสียเวลาเดินทาง ตลอดจนค่าใช้จ่ายอย่างมาก ทำให้เดือนร้อนไม่สมกับความมุ่งหมายที่จะอำนวยความสะดวก แก่ประชาชนผู้มีอรรถคดีอย่างจริงจัง หลังจากนั้นศาลแขวงแม่สะเรียง จึงได้รับการยกฐานะเป็นศาลจังหวัด ตามพ.ร.บ.ยกฐานะศาลแขวง แม่สะเรียง ศาลแขวงแม่สอด ศาลแขวงตะกั่วป่าและศาลแขวงหลังสวนเป็นศาลจังหวัด พ.ศ.2478 โดยเปิดทำการตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2480ซึ่งมีเขตอำนาจรวมตลอดไปถึงกิ่งอำเภอท่าสองยาง สำนักงานอัยการประจำศาลแขวงแม่สะเรียง จึงได้รับการยกฐานะ เป็นสำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดแม่สะเรียง ครั้นปี พ.ศ.2491 รัฐบาลได้ตราพ.ร.บ.โอนท้องที่กิ่งอำเภอท่าสองยางไปขึ้นกับ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นเหตุให้เขตอำนาจศาลต้องเปลี่ยนแปลง  นับแต่นั้นมาสำนักงานอัยการประจำศาลแขวงแม่สะเรียง จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดแม่สะเรียง ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อสำนักงานอีกครั้งเป็นสำนักงานอัยการจังหวัดแม่สะเรียง มีผู้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดมาแล้วทั้งสิ้น 57 คน ปัจจุบัน คือ นายณัฐวุฒิ คูหะสุวรรณ

1. อำนวยความยุติธรรม ได้แก่ การบริหารงานยุติธรรมในส่วนของฝ่ายบริหารของรัฐ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินโดยพนักงานอัยการจะเป็นผู้พิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนที่พนักงานสอบสวนเสนอมาแล้ววินิจฉัยสั่งคดีตลอดทั้งดำเนินคดีอาญาทางศาล ในฐานะทนายแผ่นดินตามที่ประมวลกฏหมายอื่น ๆซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ

           2. รักษาผลประโยชน์ของรัฐ ได้แก่ พิจารณาและให้คำปรึกษาในด้านกฏหมายแก่สวนราชการและหน่วยงาน ต่าง ๆ ของรัฐ ตรวจร่างสัญญาข้อหารือ ตลอดจนทั้งดำเนินคดีในศาลในฐานะทนายแผ่นดินแทนรัฐบาล หน่วยงาน ของรัฐที่เป็นนิติบุคคลตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฏีกา

           3. คุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือกฏหมายแก่ประชาชน ได้แก่ การคุ้มครองสิทธิและรักษาผลประโยชน์ของประชาชน ที่กฏหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจของพนักงานอัยการ เช่น ในคดีแพ่งให้พนักงานอัยการเข้าไปคุ้มครองสิทธิของบุคคล ไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ คนสาบสูญ การร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก นอกจากนั้นยังดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางอรรถคดีแด่ประชาชนผู้ยากไร้ดดยจัดหาทนายอาสาให้ ตลอดทั้งการเผยแพร่ความรู้ทางกฏหมายแก่ประชาชนทั่วไป จัดการฝึกอบรมความรู้ทางกฎหมาย

 สำนักงานอัยการจังหวัดแม่สะเรียง มีเขตอำนาจครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ คือ อำเภอแม่สะเรียง อำเภอ   แม่ลาน้อย และอำเภอสบเมย  มีสถานีตำรวจ จำนวน 7 สถานี ประกอบด้วย

  • 1.       สถานีตำรวจภูธรแม่สะเรียง
  • 2.       สถานีตำรวจภูธรท่าตาฝั่ง
  • 3.       สถานีตำรวจภูธรเสาหิน
  • 4.       สถานีตำรวจภูธรแม่ลาน้อย
  • 5.       สถานีตำรวจภูธรแม่ลาหลวง
  • 6.       สถานีตำรวจภูธรสบเมย
  • 7.       สถานีตำรวจภูธรกองก๋อย
วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

ลำดับชื่อ – สกุลระยะเวลา
1นายกิมหลี  ศิริวัฒนา4 ตุลาคม 2480 – 1 เมษายน 2483
2นายชัย  เสือวรรณศรี2 พฤษภาคม 2483 – 5 กุมภาพันธ์ 2486
3นายบันลือ  ราชวลัยการ13 กุมภาพันธ์ 2486 – 1 กันยายน 2489
4นายอำนาจ  สูตะบุตร20 พฤศจิกายน 2489 – 8 กรกฎาคม 2494
5นายพจน์  บุณยประสพ9 กรกฎาคม 2494 – 11 เมษายน 2496
6นายพัฒน์  สุขะรมย์12 เมษายน 2497 – 29 พฤษภาคม 2499
7นายประนต  ผลาทร30 พฤษภาคม 2499 – 30 มีนาคม 2501
8นายสาย  วุฑฒิเดช31 มีนาคม 2501 – 14 มิถุนายน 2503
9นายแสวง  สุวรรณสุข15 มิถุนายน 2503 – 11 พฤษภาคม 2506
10นายประสิทธิ์  บุณยินทุ22 พฤษภาคม 2506 – 20 พฤษภาคม 2508
11นายชนะ  อินทรานนท์21 พฤษภาคม 2508 – 14 ธันวาคม 2510
12นายประสิทธิ์  นิติโรจน์18 ธันวาคม 2510 – 2 ธันวาคม 2513
13นายพิสูจน์  มีกุน8 ธันวาคม 2513 – 7 ธันวาคม 2516
14นายบุญส่ง  นพรัตน์14 มกราคม 2517 – 22 พฤศจิกายน 2518
15นายเฉลิม  อินทร์จัน29 ธันวาคม 2518 – 8 เมษายน 2520
16นายสมศักดิ์  ชาญด้วยกิจ9 เมษายน 2520 – 22 เมษายน 2521
17นายจรัส  นาเลื่อน23 เมษายน 2521 – 2 เมษายน 2522
18นายเชื้อ  ศุขอารีย์9 เมษายน 2522 – 3 พฤษภาคม 2523
19นายสิรินทร์  เฉลิมวัฒน์4 พฤษภาคม 2523 – 10 เมษายน 2524
20นายสิทธิศักดิ์  สุวรรณประกร15 เมษายน 2524 – 1 เมษายน 2525
21นายรัตน์  สังข์สุวรรณ12 เมษายน 2525 – 30 เมษายน 2526
22นายสิทธา  สลักคำ12 พฤษภาคม 2526 – 12 เมษายน 2527
23นายมนัส  สุขสวัสดิ์16 เมษายน 2527 – 12 เมษายน 2528
24นายกายสิทธิ์  พิศวงปราการ15 เมษายน 2528 – 18 เมษายน 2529
25นายพิชัย  คำแฝง21 เมษายน 2529 – 30พ.ย. 2529
26ร.ท.อรรถชัย  อาสิงสมานันท์8 ธันวาคม 2529 – 6 พฤษภาคม 2531
27นายสมบูรณ์  วิจักขณาพันธุ์7 พฤษภาคม 2531 – 9 พฤษภาคม 2532
28นายกิตติ  บุศยพลากร10 พฤษภาคม 2532 – 4 พฤษภาคม 2533
29นายปรีชา  ไพทีกุล5 พฤษภาคม 2533 – 10 พฤษภาคม 2534
30นายปรีชา  ฉิมพรัตน์13 พฤษภาคม 2534 – 1 พฤษภาคม 2535
31นายกิตติ  พรหมารัตน์4 พฤษภาคม 2535 – 30 เมษายน 2536
32นายยงยุทธ  เกียรติศักดิ์โสภณ3 พฤษภาคม 2536 – 30 เมษายน 2537
33นางสาวจามจุรี  สิทธิวรรณรักษ์2 พฤษภาคม 2537 – 1 พฤศจิกายน2537
34นายสุรพงษ์  วัฒนพานิช2 พฤศจิกายน 2537 – 30 กันยายน 2538
35นายสรศักดิ์  สิริวัฒนาวงศ์1 ตุลาคม 2538 – 30 เมษายน 2539
36นายธีรยุทธ  อมฤทธิ์1 พฤษภาคม 2539 – 3 ตุลาคม 2539
37นายไพบูลย์  ประสารพันธุ์4 ตุลาคม 2539 – 30 เมษายน 2541
38นายวิโรจน์  อรุณโรจน์1 พฤษภาคม 2541 – 30 เมษายน 2542
39นายสุเทพ  รักไตรรงค์1 พฤษภาคม 2542 -30 เมษายน 2543
40ร.อ.ประทีป  จันทรยุคล1 พฤษภาคม 2543 – 30 เมษายน 2544
41นายไพบูลย์  เธียรธัญญกิจ1 พฤษภาคม 2544 – 6 พฤษภาคม 2545
42นายชุมวิทย์  เกษมจิต7 พฤษภาคม 2545 – 27 เมษายน 2546
43นายพัฒน์พงษ์  พงษ์นิกร28 เมษายน 2546 – 3 เมษายน 2548
44นายพงศ์อนันต์  การุณยวนิช4 เมษายน 2548 – 30 เมษายน 2549
45นายสุรจิต  พัฒนสาร1 พฤษภาคม 2549 – 6 สิงหาคม 2549
46นายโกวิท  ศรีไพโรจน์7 สิงหาคม 2549 – 2 เมษายน 2550
47นายชวรัตน์  วงศ์ธนะบูรณ์3 เมษายน 2550 – 31 มีนาคม 2553
48นายศราวุธ  นากะพันธ์1 เมษายน 2553 – 31 มีนาคม 2554
49ว่าที่ร้อยตรีไพฑูรย์ ลิมปติยากร1 เมษายน 2554 – 31 มีนาคม 2555
50นายจรัสพงศ์  ขจัดสารพัดภัย1 เมษายน 2555 – 1 เมษายน 2557
51นายปัญญา  กี่สุขพันธ์2 เมษายน 2557 – 31 มีนาคม 2558
52นายมนตรี  นามขาน1 เมษายน 2558 – 31 มีนาคม 2560
53ร.ต.อ.คณิต  อินทกรณ์1 เมษายน 2560 – 1 เมษายน 2561
54พันตรีสุเทพ  ดาวรัตน์2 เมษายน 2561 – 31 มีนาคม 2563
55นายสมชัย  บรรจง1 เมษายน 2563 – 31 มีนาคม 2564
56เรือเอกวีระชาติ  ทุมนัส1 เมษายน 2564 – 31 มีนาคม 2566
57นายณัฐวุฒิ คูหะสุวรรณ1 เมษายน 2566 – 31 มีนาคม 2567
58พันตำรวจตรี สุพจน์ บัวดี1 เมษายน 2567 – ปัจจุบัน
ข้าราชการอัยการ
ข้าราชการธุรการ
จ้างเหมาบริการ

สถิติงาน

เอกสารเผยแพร่

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดแม่สะเรียง 
150/1 ถ.เวียงใหม่ ต.แม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน 58110
โทร(โทรสาร) 053-681386 , 053-683167
E-mail : msr@ago.go.th
Facebook สำนักงานอัยการจังหวัดแม่สะเรียง
………………………………………………………………………………………

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดแม่ฮ่องสอน (สาขาแม่สะเรียง) 
150/1 ถ.เวียงใหม่ ต.แม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน 58110
โทร(โทรสาร) 053-681386 , 053-683167
E-mail : msr-lawaid@ago.go.th
……………………………………………………………………………………….
Admin : aurupong_pi@hotmail.com