ข่าวประชาสัมพันธ์

>>ลงนามถวายพระพร<<

>>พระราชกรณียกิจ<<

ท่านจิตติวรรณ เอมมณีรัตน์ อธิบดีอัยการภาค 5 และคณะ ตรวจราชการ

ณ สำนักงานอัยการจังหวัดแพร่ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567

ท่านโชคชัย สินศุภรัตน์ ผู้ตรวจการอัยการ และคณะ ตรวจราชการ

ณ สำนักงานอัยการจังหวัดแพร่ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567

ท่านวิจิตรา อิศโร อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค 5 และคณะ ตรวจราชการ

ณ สำนักงานอัยการจังหวัดแพร่ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567

อัยการจังหวัดแพร่และข้าราชการ ลูกจ้าง สำนักงานอัยการจังหวัดแพร่พร้อมใจร่วมงานประเพณีกิ๋นสลากหลวงเมืองแพร่ ประจำปี 2566 สืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่น

กิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน 2566

ถวายพระพรชัยมงคล >>> click

ภาพพระราชกรณียกิจ >>> click

พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน

ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖

นายแก่นกมล บุญยพิพัฒน์ อัยการจังหวัดแพร่ นำข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากร จัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ปฏิบัติหน้าที่ตามรอยพระยุคลบาทในฐานะข้าของแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนและประเทศชาติสืบไป และลงนามถวายสัตย์ปฏิญาณฯ ณ อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดแพร่ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

ประกาศสำนักงานอัยการจังหวัดแพร่ เรื่อง จำหน่ายกรณีพัสดุชำรุด รายละเอียด >>>> click

เกี่ยวกับสำนักงาน

           สำนักงานอัยการจังหวัดแพร่ ตั้งอยู่ในศาลากลางจังหวัดแพร่ มีอัยการจังหวัดแพร่คนแรกเมื่อปี พ.ศ. 2474 คือ นายสม นันทขว้าง ศาลากลางจังหวัดแพร่ แต่เดิมนั้นเป็นอาคารไม้สักทรงไทยประยุกต์สอง ชั้น เมื่อปี พ.ศ.2501 เคยใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คราวเสด็จเยี่ยมราษฎรจังหวัดแพร่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2509 ได้ทำการรื้อถอนและก่อสร้างขึ้นใหม่เป็นอาคารสองชั้นที่ทำด้วยปูน มีหน้าจั่ว ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย หลังจากนั้นก็มีการปรับปรุงซ่อมแซม รวมทั้งก่อสร้างอาคารเพิ่มเติม ใช้เป็นศูนย์ราชการของจังหวัดแพร่มาจนถึงทุกวันนี้ หน้าอาคารมีอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาล ที่ 5 ด้านหน้าศาลากลางมีน้ำตกจำลองเพื่อใช้เป็นจุดพักผ่อนหย่อนใจของผู้คน

อำนาจและหน้าที่ตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓

          กำหนดให้องค์กรอัยการประกอบด้วย ก.อ. อัยการสูงสุด, และพนักงานอัยการอื่น โดยมีสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานธุรการ

          สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นส่วนราชการที่มีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น และนิติบุคคล โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้แทนนิติบุคคล และให้ข้าราชการฝ่ายอัยการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด  มีดังนี้

           ๑. ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน

           ๒. ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ

           ๓. ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร

           ๔. ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้

           ๕. ดำเนินการตามที่รัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ

           ๖.  ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ

           ๗. ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน

           ๘. ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด

           ๙. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด

           ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๔ มีดังนี้

           ๑. อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ

           ๒.ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ

           ๓. ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโคตุลาการทั้งปวงกับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ

           ๔. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดีหรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้

           ๕. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นเป็นคู่กรณีและมิใช่กรณีที่พิพาทกับรัฐบาลหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้

           ๖. ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้

           ๗. ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ

           ๘. ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ

           ๙. อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี

           ๑๐. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ

           ๑๑. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่สำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด

           ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตาร ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำโดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้

           พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.

อำนาจหน้าที่และเขตอำนาจของสำนักงานอัยการจังหวัดแพร่ มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายวางไว้ ซึ่งพอสรุป ได้ดังนี้

  • อำนวยความยุติธรรม ได้แก่ การบริหารงานยุติธรรมในส่วนของฝ่ายบริหารของรัฐเพื่อให้เกิดความสงบเรียบ ร้อยและปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน โดยอัยการจะเป็นผู้พิจารณาหลักฐานในสำนวนการสอบสวนที่พนักงานสอบสวนเสนอมา แล้ววินิจฉัยสั่งคดี ตลอดทั้งดำเนินคดีอาญาในศาลในฐานะทนายแผ่นดินตามที่ประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นๆ ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ
  • รักษาผลประโยชน์ของรัฐ ได้แก่ การพิจารณาและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่ส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ ตรวจร่างสัญญาตอบข้อหารือ ตลอดจนทั้งดำเนินคดี ในศาลในฐานะทนายความแผ่นดินแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา

เขตอำนาจของสำนักงานอัยการจังหวัดแพร่
           การดำเนินคดีอาญา สำนักงานอัยการจังหวัดแพร่มีอำนาจดำเนินคดีอาญาทั้งปวงที่มีอัตราโทษจำ คุกเกิน 3 ปี และปรับเกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำคุกและปรับ

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)

สำนักงานอัยการจังหวัดแพร่
นายชัยณรงค์ สุวรรณโน
อัยการจังหวัดแพร่
นายพัฒน์พงษ์ พงษ์นิกร
อัยการศาลสูง

นายวสันต์ ประเทือง
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

นายเจริญ จองแก
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

นางสาวกรรณิการ์ สุทธวงค์
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด

นางสาวจารุณี หมดทุกข์
รองอัยการจังหวัด

พ.ต.ท.วิรัตน์ สงวนศักดิ์
รองอัยการจังหวัด

ร.ต.ท.ดุษฎี จตุพรพิมล
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นางสาวปานรดา สุทธิทองแท้
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นายนรวีย์ ผุดผ่อง
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

พ.ต.ท.อภิชาติ แรงสิงห์
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

ว่าที่ ร.ต.อ.หญิงวรัญญา ธิเขียว
อัยการประจำกอง
นางสาวพรพิมล อินทรวิพันธุ์
 ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ
นางสาวดวงธิดา สันโดด
นิติกรชำนาญการพิเศษ
นางสาวเขมจิรา เสนาธรรม
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
นางสาวไพจิตรี  สุริยะ
นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ

นางสาวชลรักษ์ พานิช
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นางปิยะนันท์  บรรเลง
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
นายปริต ธรรมจารีย์
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
นางขวัญดาว ยะปะนันท์
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
นางสาวจริยา หมื่นจินะ
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
นางสาวอรอนงค์ บริบูรณ์
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
นางสาวณัฐพร ไชยวงค์
นิติกรปฏิบัติการ
นางสาวอภิสรา ไชยสลี
 นิติกรปฏิบัติการ
นางสาวเสาวภา โนราช
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
นางสาวกานต์ธีรา บุตรวาปี
นิติกรปฏิบัติการ
นางศิวิมล ถิ่นจันทร์
พนักงานพิมพ์ดีด ชั้น 3
นายโยธิน โลหะเวช
พนักงานขับรถยนต์ ส 2
นายจิรพันธ์ กาธาตุ
พนักงานขับรถยนต์
นายรุ่ง จินากูล
พนักงานอาคารสถานที่
นางสาวขนิษฐา จันทอน
พนักงานรักษาความสะอาด
รายนามอัยการจังหวัดแพร่ ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน
1. นายสม นันทขว้างพ.ศ. 2474-2486
2. นายสม ชุตินันท์พ.ศ. 2486-2489
3. นายบรรภา ราชวรัยยการพ.ศ. 2489-2494
4. นายเกียรติ  ชีวะเกตุพ.ศ. 2494-2501
5. นายจุ้ย  ประเสริฐวณิชพ.ศ. 2501-2503
6. นายศิริ  เข็มเพ๊ชรพ.ศ. 2503-2508
7. นายดำรง  ไกรฤทธิ์พ.ศ. 2508-2512
8. นายเชาวน์  จารุจินดาพ.ศ. 2512-2520
9. นายบรรเจิด  มีทองคำพ.ศ. 2520-2521
10. นายสมบัติ  ศรีอนุพันธุ์พ.ศ. 2521-2522
11. นายสรวง ฉายากุลพ.ศ. 2522-2524
12. นายประวิทย์  พิพัฒน์กุลสวัสดิ์พ.ศ. 2524-2525
13. นายเฉลียว  รอดเดชพ.ศ. 2525-2527
14. นายสวัสดิ์  เฟื่องปรางค์พ.ศ. 2527-2528
15. นายกฤตกา  เตลผลพ.ศ. 2528-2529
16. นายศิโรตม์  สวัสดิพงษ์พ.ศ. 2529-2531
17. นายบัญญัติ  เอี่ยมละมัยพ.ศ. 2531-2535
18. นายบุญเอื้อ  บัวสรวงพ.ศ. 2535-2536
19. นายศุภวัฒน์  วิเชียรศรีพ.ศ. 2536-2537
20. นายพิชิต  เจริญเกียรติกุลพ.ศ. 2537-2538
21. นายสุรพงษ์  วัฒนพานิชพ.ศ. 2538-2539
22. นายปริญญา จิตรการนทีกิจพ.ศ. 2539-2541
23. นายสัญชัย รัตนเลขาพ.ศ. 2541-2542
24. ร้อยเอก ธีรยุทธ  อุลิศ พ.ศ. 2542-2544
25. นายประณม  ถวัลย์ลาภาพ.ศ. 2544-2545
26. นายไพบูลย์  เธียรธัญญกิจพ.ศ. 2545-2546
27. นายเจน  สันติวาสะพ.ศ. 2546-2548
28. นายสมศักดิ์  ศักดิ์พิบูลย์จิตต์พ.ศ. 2548-2549
29. นายพัฒน์พงษ์  พงษ์นิกรพ.ศ. 2549-2550
30. นายดินทอง  มงคลเดชคุณพ.ศ. 2550-2552
31. นายทวีศักดิ์  ตันรัตนกุลพ.ศ. 2552-2554
32. นายอนวัช  อิศโรพ.ศ. 2554-2555
33. นายปริญญา  พันธุ์พานิชพ.ศ. 2555-2556
34. นายเสียงชัย  สุมิตรวสันต์พ.ศ. 2556-2557
35. นายจรัสพงศ์  ขจัดสารพัดภัยพ.ศ. 2557-2558
36. นายไพฑูรย์  ภู่กาญจนพร้อยพ.ศ. 2558-2559
37. นายปัญญา  กี่สุขพันธ์พ.ศ. 2559-2560
38. นายรัตนะ  เครือรัตน์พ.ศ. 2560-2562 
39. นายสุริยา สุยะนาพ.ศ. 2562-2563
40. นายพันศักดิ์ อภิสิทธิ์ศักดิ์พ.ศ. 2563-2564
41. นายประโลม ทองเป้าพ.ศ. 2564-2565
42. นายพูนศิล อินทะไชยพ.ศ. 2565-2566
43. นายแก่นกมล บุณยพิพัฒน์พ.ศ. 2566-2567

สถิติคดี

เอกสารเผยแพร่
สำนักงานอัยการจังหวัดแพร่

เลขที่ 1/5-7 ถ.เหมืองหิต ต.ในเวียง อ.เมือง จ.แพร่ 54000
โทร.054-511127 ,054-522103 โทรสาร 054-522820
E-mail : phrae@ago.go.th