ภาพกิจกรรม

28 เม.ย.67 วันอาทิตย์ เวลา 15.30 น. ท่านนวชล วรานุภาพกุล อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดแพร่ เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ พระอุโบสถวัดพระธาตุช่อแฮ่ พระอารามหลวง ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

26 เม.ย.67 ท่านนวชล วรานุภาพกุล อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดแพร่ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมพิธีการสระเกล้าดำหัวอธิบดีอัยการภาค 5 ณ สำนักงานอัยการภาค 5 จังหวัดเชียงใหม่

25 เม.ย.67 เวลา 08.00 น. ท่านนวชล วรานุภาพกุล อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดแพร่ พร้อมเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมรัฐพิธีวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ ศูนย์ประชุมและแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก และกลุ่มประเทศ GMS ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

17 เม.ย.67 เวลา 09.30 น. ท่านนวชล วรานุภาพกุล อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดแพร่ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมพิธีถวายน้ำอบน้ำหอมและรับพรจากพระมหาเถระ พิธีขอขมาคารวะเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ และรดน้ำดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ณ ศาลาพุทธสถานวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ศาลากลางจังหวัดแพร่ และจวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่

4 เม.ย.67 ท่านกาญจนพิฬดา ศักดิ์ศิริญดากุล รองอัยการจังหวัด สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดแพร่ เป็นวิทยากรโครงการอบรมให้ความรู้ทางกฎหมายและบทบาทหน้าที่ของศูนย์ยุติธรรมชุมชนเทศบาลตำบลแม่จั๊วะ ตำบลแม่จั๊วะ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลตำบลแม่จั๊วะ

4 เม.ย.67 สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดแพร่ ส่งบุคลากร เข้าร่วมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ในเขตพื้นที่ตำบลแม่จั๊วะ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ โดยดำเนินการให้ความรู้แก่ประชาชนและตอบข้อซักถามปัญหากฎหมาย

2 เม.ย. 2567 เวลา 07.00 น. ท่านนวชล วรานุภาพกุล อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดแพร่ สังกัด สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดแพร่ พร้อมด้วยบุคลากร เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และทำบุญตักบาตรเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามยรมราชกุมารี ในวันอังคารที่ 2 เมษายน 2567 ณ พระอุโบสถ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

( 13 มี.ค.67) ท่านพรพรรณ สุริยะวิภาดา อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ มอบหมายให้นิติกรปฏิบัติการ เข้าตรวจเยี่ยมและให้ความช่วยเหลือประชาชนอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ที่เข้ามารับการบริการจัดการมรดกแต่มีทายาทที่ไม่สามารถเข้ามาเซ็นต์ยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดแพร่ ได้ จึงลงพื้นที่เพื่อให้ความช่วยเหลือเพื่อความรวดเร็วและสะดวกแก่ประชาชน

13 มี.ค.67 สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดแพร่ ส่งบุคลากร เข้าร่วมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ในเขตพื้นที่ตำบลนาจักร อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยดำเนินการให้ความรู้แก่ประชาชนและตอบข้อซักถามปัญหากฎหมาย

2 มี.ค. 2567 เวลา 08.20 น. ท่านรุ่งนภา ด่านฤทธิไกร เจริญธุระกิจ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สังกัด สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดแพร่ พร้อมด้วยบุคลากร เข้าร่วมพิธีถวายราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” ณ ห้องประชุมตรีเทพ สถาบันนวัตกรรมด้านป่าไม้ จังหวัดแพร่

(28 กพ.67) 08.00 น. ท่านรุ่งนภา ด่านฤทธิไกร เจริญธุระกิจ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สังกัด สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิฯจังหวัดแพร่ พร้อมด้วยบุคลากรนิติกร ออกตรวจเยี่ยมศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิฯ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลต้าผามอก อำเภอลอง จังหวัดแพร่ และ 13.00 น. เยี่ยมศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิฯ ณ เทศบาลตำบลเวียงต้า อำเภอลอง จังหวัดแพร่เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่ ให้ความช่วยเหลือปัญหาด้านกฎหมายแก่ประชาชน เช่น การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก, การตั้งเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์, การร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญหรือ ให้บุคคลใดเป็นไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ปัญหาหนี้นอกระบบ กฎหมายที่ดิน ฯลฯ เป็นต้น

อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดแพร่ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดแพร่ เข้าร่วมกิจกรรม “ตลาดนัดแก้หนี้” ในวันพฤหัสบดี ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.00 น. ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

15 ก.พ.67 สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดแพร่ ส่งบุคลากร เข้าร่วมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ในเขตพื้นที่ตำบลพระหลวง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ โดยดำเนินการให้ความรู้แก่ประชาชนและตอบข้อซักถามปัญหากฎหมาย

(31 ม.ค.67) 10.00 น. ท่านกาญจนพิฬดา ศักดิ์ศิริญดากุล รองอัยการจังหวัด สังกัด สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิฯจังหวัดแพร่ พร้อมด้วยบุคลากรนิติกร ออกตรวจเยี่ยมศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิฯ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยางร้อง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่ ให้ความช่วยเหลือปัญหาด้านกฎหมายแก่ประชาชน เช่น การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก, การตั้งเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์, การร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญหรือ ให้บุคคลใดเป็นไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ปัญหาหนี้นอกระบบ กฎหมายที่ดิน ฯลฯ เป็นต้น

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดแพร่ จัดโครงการฝึกอบรมการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทให้แก่ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่นและคณะกรรมการหมู่บ้าน เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนทั่วไป ระยะเวลา 1 วัน ในวันพุธที่ 24 มกราคม 2567 ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

18 ม.ค. 2567 เวลา 07.15 น. ท่านพรพรรณ สุริยะวิภาดา อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดแพร่ พร้อมด้วยบุคลากร เข้าร่วมพิธีวันยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ณ ศูนย์ประชุมและแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออกและกลุ่มประเทศ GMS ตำบบทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

17 ม.ค. 2567 เวลา 07.00 น. ท่านกาญจนพิฬดา ศักดิ์ศิริญดากุล รองอัยการจังหวัด สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดแพร่ พร้อมด้วยบุคลากร เข้าร่วมพิธีวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ณ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดแพร่ ตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

14 ม.ค. 2567 อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดแพร่ ได้มอบหมายให้บุคลากรสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดแพร่ เข้าร่วมกิจกรรม “ตลาดนัดแก้หนี้” ในวันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม 2567 เวลา 09.00 น. ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

9 ม.ค.67 สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดแพร่ ส่งบุคลากร เข้าร่วมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ หน่วยบำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ในเขตพื้นที่ตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ โดยดำเนินการให้ความรู้แก่ประชาชนและตอบข้อซักถามปัญหากฎหมาย

(28 ธ.ค.66) เวลา 07.30 น. ท่านพรพรรณ สุริยะวิภาดา อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดแพร่ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่บ เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในวันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในวันพฤหัสบดีที่ 28 ธันวาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก และกลุ่มประเทศ GMS ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่


เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมาของ สคช.

สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน มีชื่อย่อว่า สคช. ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๕ ในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด ตามคำสั่งของกรมอัยการที่ ๑๗๔/๒๕๒๕      ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๕

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ผลประโยชน์และให้ความช่วยเหลือประชาชน ทางด้านกฎหมาย ต่อมาเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๒๖ คณะรัฐมนตรีได้มีมติโอนโครงการให้ความช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนในชนบทเขตยากจน ซึ่งขณะนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักนโยบายและแผน มหาดไทย มาให้สำนักงานอัยการสูงสุดรับผิดชอบดำเนินงานสิบมา ในวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๒๗ คณะรัฐมนตรีได้มีมติโอนงานช่วยเหลือทางกฎหมายแก่เกษตรกร และผู้ยากจน ซึ่งขณะนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมาให้ สคช. สำนัก งานอัยการสูงสุด รับผิดชอบดำเนินการิธีดำเนินการ ได้ดำเนินการตามแนวนโยบายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การพิจารณาพื้นที่เป้าหมายดำเนินงาน โดยนำเอาปัญหาที่แท้จริงของคนในท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคและ   แต่ละพื้นที่เป็นตัวกำหนดพื้นที่ปฏิบัติการ โดยสำนักงานอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งจัดตั้งสำนัก งานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนประจำจังหวัดขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศ เป็นการ ให้บริการฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายยกเว้นค่าธรรมเนียมในชั้นศาลที่ต้องเสียตามกฎหมาย

 โครงสร้างของ สคช.
สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิและให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายแก่ประชาชนสังกัดอยู่ ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ดังนี้

ส่วนกลาง ประกอบด้วย

  • สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (ส่วนกลาง)
  • สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายแผนช่วยเหลือทางกฎหมาย
  • สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิ
  • สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ
  • สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค
  • สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 1 (รัชดาภิเษก)
  • สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 2 (หลักเมือง)
  • สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 3 (ธนบุรี)
  • สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย 4 (มีนบุรี)

ส่วนภูมิภาค

เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ได้รับการบริการทางกฎหมาย จากพนักงานอัยการโดยเสมอภาค และทั่วถึงกัน สำนักงานอัยการสูงสุดจึงมีคำสั่ง ให้จัดตั้งสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคดี จังหวัด (สคชจ.) ขึ้น โดยมีหน้าที่สำคัญคือ เผยแพร่และฝึกอบรมความรู้ทางกฎหมาย และให้คำปรึกษาปัญหากฎหมายแก่ประชาชน จัดหาทนายความช่วยเหลือในทางอรรถคดี แก่ประชาชนผู้ยากจนและไม่ได้รับความเป็นธรรม ตลอดจนงานการประนอมข้อพิพาท งานคุ้มครองสิทธิทางศาลตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ เช่น การร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก ฯลฯ

สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ในส่วนภูมิภาคประกอบด้วย

  • สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย ภาค 1- 9 จำนวน 9 แห่ง
  • สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด (สคชจ.) ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานอัยการจังหวัด จำนวน 76 แห่ง
  • สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด ประจำจังหวัดสาขา (สคชจ. สาขา) ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานอัยการจังหวัดประจำอำเภอ จำนวน 34 แห่ง

ภารกิจหน้าที่รับผิดชอบ

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด มีอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ มีอำนาจและหน้าที่

  1. รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย การเผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้นๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
  2. รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิลการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายด้านอรรถคดีแก่ประชาชนในเขตท้องที่จังหวัดนั้นๆ รวมถึงการดำเนินคดีทั้งปวงในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัด ศาลจังหวัดสาขา หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นในศาลจังหวัด แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งว่าด้วยการนั้น
  3. รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอรรถคดี การให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย การเผยแพร่ความรู้ทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ประชาชนภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้นๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
  4. รับผิดชอบงานศูนย์กลางระบบฐานข้อมูลลูกหนี้ตามคำพิพากษาของหน่วยงานของรัฐและจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา งานสำรวจตรวจสอบข้อมูลทรัพย์สินและสถานะของลูกหนี้ตามคำพิพากษาของหน่วยงานของรัฐและจำเลยที่ถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา และงานการบังคับคดีแพ่ง คดีปกครอง และคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้นๆ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
  5. รับผิดชอบการดำเนินคดีทั้งปวงอันเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง คดีปกครอง และคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดภายในเขตท้องที่จังหวัดนั้นๆตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
  6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย 

เอกสารเผยแพร่

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการจัดการมรดก (เอกสารทุกอย่างพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องจำนวน ๔ ชุด)

  1. ทะเบียนบ้านของผู้ตาย
  2. ทะเบียนของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
  3. ใบมรณบัตรของผู้ตาย
  4. ใบมรณบัตรของบิดามารดา กรณีบิดามารดาของผู้ตาย (เจ้ามรดก) ถึงแก่ความตายก่อนแล้ว
  5. ทะเบียนสมรสของสามี หรือ ภรรยาของผู้ตาย
  6. ทะเบียนสมรส และ / หรือ ทะเบียนการหย่าของสามีภรรยาของผู้ตาย
  7. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล ของทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
  8. สูติบัตรของบุตรของผู้ตาย กรณีบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือ ไม่สามารถให้ความยินยอมได้
  9. บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ บัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ร้องขอฯ
  10. พินัยกรรมของผู้ตาย (ถ้ามี)
  11. หนังสือให้ความยืนยอมในการร้องขอจัดการมรดก (มาทำที่สำนักงานอัยการ)
  12. บัญชีเครือญาติ
  13. เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย เช่น โฉนดที่ดินและสัญญาจำนอง ทะเบียนรถยนต์ ทะเบียนรถจักรยานยนต์ อาวุธปืน สมุดบัญชีธนาคาร ใบหุ้น และอื่นๆ เป็นต้น
  14. บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ให้ความยินยอมทุกคน

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการตั้งผู้ปกครอง (เอกสารทุกอย่างพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องจำนวน ๔ ชุด)

  1. สำเนาทะเบียนบ้านผู้จะเป็นผู้ปกครอง
  2. สำเนาทะเบียนบ้านผู้เยาว์ (ถ้ามี)
  3. สูติบัตรผู้เยาว์ (ถ้ามี)
  4. ทะเบียนสมรสของบิดามารดาผู้เยาว์ (ถ้ามี)
  5. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล (ถ้ามี)
  6. ใบมรณบัตรของบิดามารดาผู้เยาว์ (กรณีบิดาหรือมารดาเสียชีวิต)
  7. หลักฐานใบแจ้งความ (กรณีผู้เยาว์ถูกทอดทิ้ง)
  8. หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร (กรณีบิดาไม่มาจดทะเบียน)
  9. สำเนาทะเบียนบ้านของบิดามารดาผู้เยาว์ที่ระบุไว้ในสูติบัตร (ถ้ามี)
  10. คัดที่อยู่บิดามารดาผู้เยาว์จากสำนักงานเขต หรืออำเภอ หรือสำนักทะเบียนกลาง (กรณีที่บิดามารดาทอดทิ้ง) และส่งหนังสือติดต่อประสาน เพื่อสอบถามเรื่องความยินยอมทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ
  11. ใบทะเบียนสมรถผู้ร้อง (ถ้ามี)
  12. หนังสือยินยอมของสามี/ภริยาที่จะเป็นผู้ปกครอง (กรณีเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย)

การร้องเป็นคนไร้ความสามารถ/คนเสมือนไร้ความสามารถ

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำร้องเป็นคนไร้ฯ/คนเสมือนไร้ความสามารถ

  1. ทะเบียนบ้านของผู้ร้อง
  2. ทะเบียนบ้านของผู้จะขอให้ศาลสั่งเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ/เสมือนไร้ความสามารถ
  3. ทะเบียนสมรส (กรณีผู้ร้องกับผู้ป่วยเป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย)
  4. ใบสูติบัตร (กรณีผู้จะขอให้เป็นคนไร้ความสามารถ/เสมือนไร้ความสามารถเป็นบุตร)
  5. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี )
  6. รายงานความเห็นของแพทย์ระบุชัดเจนว่าเป็นโรคอะไร ขณะนี้มีสภาพเป็นอย่างไรโดยละเอียด
  7. รูปถ่ายผู้ป่วย
  8. หนังสือให้ความยินยอมในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ/เสมือนไร้ความสามารถและตั้งผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ (มาทำที่สำนักงานอัยการ)

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำร้องคนสาบสูญ

  1. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอความช่วยเหลือและผู้ที่จะขอให้ศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ (เขตอำนาจศาล)
  2. บันทึกประจำตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ได้รับแจ้งว่า บุคคลนั้นได้หายไปจากภูมิลำเนาโดยไม่ทราบว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร
  3. บัญชีรายชื่อผู้สูญหายจากกรณีธรณีพิบัติที่กระทรวงยุติธรรมประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  4. เอกสารหลักฐานที่แสดงความเกี่ยวพันระหว่างผู้ร้องขอความช่วยเหลือกับผู้ที่จะของให้ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ เช่น ทะเบียนสมรส สูติบัตร เป็นต้น
  5. หนังสือให้ความยินยอมในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ (มาทำที่สำนักงานอัยการ)

เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำร้องขอรับบุตรบุญธรรม (เอกสารทุกอย่างสำเนา 4  ชุด)

1. สำเนาทะเบียนบ้านของบุตรบุญธรรม (ถ้ามี)
2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับบุตรบุญธรรม
3. สูติบัตรของบุตรบุญธรรม
4. ใบทะเบียนสมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม (ถ้ามี)
5. หนังสือแสดงความยินยอมของคู่สมรสที่ให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรม (กรณีชอบด้วยกฎหมาย)
6. ใบมรณบัตรของบิดามารดาของบุตรบุญธรรม (กรณีถึงแก่กรรม)
7. หลักฐานใบแจ้งความกรณีบุตรบุญธรรมไม่มีหลักฐาน (ถูกทอดทิ้ง)
8. หลักฐานทางทะเบียนบ้านของบิดามารดาของบุตรบุญธรรม คัดที่อยู่บิดามารดาผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม
จากสำนักงานเขตทะเบียนกลาง
9. เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (เฉพาะที่เป็นประโยชน์กับคดี)
10. ใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล (ถ้ามี)

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดแพร่
ศาลากลางจังหวัดแพร่ ชั้น 1 ถนนไชยบูรณ์ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ 54000
โทรศัพท์/โทรสาร 054-511-984
Email : phrae-lawaid@ago.go.th