ข่าวประชาสัมพันธ์

อัยการจังหวัดแพร่และข้าราชการ ลูกจ้าง สำนักงานอัยการจังหวัดแพร่พร้อมใจร่วมงานประเพณีกิ๋นสลากหลวงเมืองแพร่ ประจำปี 2566 สืบสานวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่น




กิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน 2566



ถวายพระพรชัยมงคล >>> click
ภาพพระราชกรณียกิจ >>> click
พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖
นายแก่นกมล บุญยพิพัฒน์ อัยการจังหวัดแพร่ นำข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากร จัดพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ปฏิบัติหน้าที่ตามรอยพระยุคลบาทในฐานะข้าของแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนและประเทศชาติสืบไป และลงนามถวายสัตย์ปฏิญาณฯ ณ อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดแพร่ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่




ประกาศสำนักงานอัยการจังหวัดแพร่ เรื่อง จำหน่ายกรณีพัสดุชำรุด รายละเอียด >>>> click
เกี่ยวกับสำนักงาน
สำนักงานอัยการจังหวัดแพร่ ตั้งอยู่ในศาลากลางจังหวัดแพร่ มีอัยการจังหวัดแพร่คนแรกเมื่อปี พ.ศ. 2474 คือ นายสม นันทขว้าง ศาลากลางจังหวัดแพร่ แต่เดิมนั้นเป็นอาคารไม้สักทรงไทยประยุกต์สอง ชั้น เมื่อปี พ.ศ.2501 เคยใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ คราวเสด็จเยี่ยมราษฎรจังหวัดแพร่ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2509 ได้ทำการรื้อถอนและก่อสร้างขึ้นใหม่เป็นอาคารสองชั้นที่ทำด้วยปูน มีหน้าจั่ว ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย หลังจากนั้นก็มีการปรับปรุงซ่อมแซม รวมทั้งก่อสร้างอาคารเพิ่มเติม ใช้เป็นศูนย์ราชการของจังหวัดแพร่มาจนถึงทุกวันนี้ หน้าอาคารมีอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาล ที่ 5 ด้านหน้าศาลากลางมีน้ำตกจำลองเพื่อใช้เป็นจุดพักผ่อนหย่อนใจของผู้คน
อำนาจและหน้าที่ตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓
กำหนดให้องค์กรอัยการประกอบด้วย ก.อ. อัยการสูงสุด, และพนักงานอัยการอื่น โดยมีสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานธุรการ
สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นส่วนราชการที่มีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น และนิติบุคคล โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้แทนนิติบุคคล และให้ข้าราชการฝ่ายอัยการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด
อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด มีดังนี้
๑. ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
๒. ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
๓. ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
๔. ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
๕. ดำเนินการตามที่รัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
๖. ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ
๗. ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
๘. ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
๙. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๔ มีดังนี้
๑. อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
๒.ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
๓. ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโคตุลาการทั้งปวงกับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
๔. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดีหรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
๕. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นเป็นคู่กรณีและมิใช่กรณีที่พิพาทกับรัฐบาลหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
๖. ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
๗. ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
๘. ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
๙. อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
๑๐. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
๑๑. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่สำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตาร ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำโดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.
อำนาจหน้าที่และเขตอำนาจของสำนักงานอัยการจังหวัดแพร่ มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายวางไว้ ซึ่งพอสรุป ได้ดังนี้
- อำนวยความยุติธรรม ได้แก่ การบริหารงานยุติธรรมในส่วนของฝ่ายบริหารของรัฐเพื่อให้เกิดความสงบเรียบ ร้อยและปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน โดยอัยการจะเป็นผู้พิจารณาหลักฐานในสำนวนการสอบสวนที่พนักงานสอบสวนเสนอมา แล้ววินิจฉัยสั่งคดี ตลอดทั้งดำเนินคดีอาญาในศาลในฐานะทนายแผ่นดินตามที่ประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นๆ ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ
- รักษาผลประโยชน์ของรัฐ ได้แก่ การพิจารณาและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่ส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ ตรวจร่างสัญญาตอบข้อหารือ ตลอดจนทั้งดำเนินคดี ในศาลในฐานะทนายความแผ่นดินแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา
เขตอำนาจของสำนักงานอัยการจังหวัดแพร่
การดำเนินคดีอาญา สำนักงานอัยการจังหวัดแพร่มีอำนาจดำเนินคดีอาญาทั้งปวงที่มีอัตราโทษจำ คุกเกิน 3 ปี และปรับเกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำคุกและปรับ
วิสัยทัศน์ (Vision)
“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”
พันธกิจ (Missions)
1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โครงสร้าง (Structure)

สำนักงานอัยการจังหวัดแพร่
สถิติคดี
เอกสารเผยแพร่
สำนักงานอัยการจังหวัดแพร่
เลขที่ 1/5-7 ถ.เหมืองหิต ต.ในเวียง อ.เมือง จ.แพร่ 54000
โทร.054-511127 ,054-522103 โทรสาร 054-522820
E-mail : phrae@ago.go.th
