ข่าวประชาสัมพันธ์

วันฉัตรมงคล ๒๕๖๗

วันศุกร์ที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๓๐ น. นายทรรศวรา แก้วมณี อัยการจังหวัดเพชรบูรณ์ คณะอัยการสำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์ และข้าราชการธุรการร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และลงนามถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันฉัตรมงคล ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ณ สำนักงานอัยการจังหวัดเพชรบูรณ์

พิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตภาวนา เพื่อถวายพระพรแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าธีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ณ วัดมหาธาตุ พระอารามหลวง

วันจันทร์ที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๖.๓๐ น. นายทรรศวรา แก้วมณี อัยการจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตภาวนา เพื่อถวายพระพรแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าธีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ณ วัดมหาธาตุ พระอารามหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

งาน “ย้อนอดีตเมืองโบราณศรีเทพ สู่อนาคตแหล่งมรดกอย่างยั่งยืน”

วันศุกร์ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๗ นายประวีร์ สินสวัสดิ์ อัยการจังหวัดผู้ช่วย ร่วมงาน “ย้อนอดีตเมืองโบราณศรีเทพ สู่อนาคตแหล่งมรดกโลกอย่างยั่งยืน” ณ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ และโบราณสถานเขาคล้งนอก อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

ประวัติสำนักงานอัยการจังหวัดเพชรบูรณ์

เดิมอาศัยอาคารศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นที่ทำงาน  ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2533 ได้มีการวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการหลังใหม่
เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2533 ตรงกับวันศุกร์ แรม 7 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเส็ง โทศก จ.ศ. 1351 อันประกอบด้วย มหัทโน แห่งฤกษ์ เวลา 10.43-10.49

ประธานวางศิลาฤกษ์ : นายปัญจะ เกสรทอง ประธานสภาผู้แทนราษฏร
ผู้อำนวยการก่อสร้าง : ศ. ดรโกเมน ภัทรภิรมย์ อธิบดีกรมอัยการ
ผู้ดำเนินการก่อสร้าง นายวิทยา ปัตตะพงศ์ อัยการพิเศษประจำเขต 6
นายวิเชียร พิจิตรศิริ อัยการจังหวัด
นายเชิดพงศ์ แสงเพ็ญ รองอัยการจังหวัด
นายบัญชา พันธ์บูรณะ รองอัยการจังหวัด
นายภาวิต พยัคฆ์บุตร อัยการจังหวัดผู้ช่วย
นายมนูญ วสันต์ อัยการจังหวัดผู้ช่วย
นายวิพล เทียนเสริมทรัพย์ อัยการจังหวัดผู้ช่วย
งบประมาณก่อสร้าง 12,350,000 บาท

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดเพชรบูรณ์

  1. หลวงอนุพันธ์ กรณี ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2469 – 2470
  2. หลวงประจิต กรณี ( นายกรานต์ ม่วงอ่ำ) ดำรงตำแหน่งระหว่าง
    ปี พ.ศ. 2470-2474
  3. หลวงอุชุงคดี ( นายทวน บุนนาค) ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2474 – 2480
  4. พระราชเศรษฐี ( นายสุด เศรษฐสุด) ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2480 – 2484
  5. นายบุญญฤทธิ์ เจริญผล ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2484 – 2494
  6. นายลิขิต อิศรางกูล ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2494 – 2504
  7. นายเสงี่ยม เอมเอี่ยม ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2504 – 2507
  8. นายสถิต อมาตยกุล ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2508 – 2509
  9. นายธูป ธรรมกุล ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2509 – 2511
  10. นายสำเริง โชคดารา ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2512 – 2513
  11. นายเฉลียว มัธยมจันทร์ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2514 – 2517
  12. นายสุนทร ดนตรี ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2518 – 2519
  13. นายอภิชัย ไผทพฤกษ์ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2520 – 2521
  14. นายสอาด ดิษฐพาณิชย์ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2521 – 2523
  15. นายนิยม บุญทองคง ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2524 – 2526
  16. ร.ต.ท.เกรียงศักดิ์ เห็นสุข ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2527 – 2528
  17. นายการุณย์ ดวงมาลัย ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2528 – 2529
  18. นายดีน โต๊ะกาเรม ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2530 – 2532
  19. นายวิเชียร พิจิตรศิริ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2532 – 2535
  20. นายสุเมธ เกิดพันธุ์ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2535 – 2536
  21. นายนิยม บุญกล่อม ( ธกท) ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2536 – 2536
  22. นายทรงพล ชูเชิด ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2536 – 2538
  23. นายสุขุม มีนพัฒนสันติ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2538 – 2541
  24. นายกัมพล ชัยรัชนีกร ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2541 – 2542
  25. นายพงศกร จันทรศัพท์ ( ธกท) ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2542 – 2543
  26. นายวัชระ ถิระภัทรพันธ์ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ.2543 – 2544
  27. นายนฤพล มีเชื้อ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ.2544 – 2544
  28. ร.ท.วิญญู วิญญกูล ( ธกท) ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ.2544 – 2545
  29. นายนพรัตน์ นาคประเสริฐ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ.2545 – 2546
  30. นายจรัส มีสิน ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ.2546 – 2547
  31. นายวีระศักดิ์ โชตยาภรณ์ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ.2547 – 2548
  32. นายวิทยา แดงประดับ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ.2548 – 2549
  33. นายพิสิทธิ์ นิมิตพงษ์ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ.2549 – 2550
  34. นายวิทยา หวั่ังประดิษฐ์ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ.2550 – 2551
  35. นายปรีชา สุดสงวน ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ.2551 – 2553
  36. นายประสิทธิ์ บัวรักษ์ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ.2553 – 2554
  37. นายมานะ วีระอาชากุล ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ.2554 – 2555
  38. พ.ต.ต.ชัย กุลกิจกำจร ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ.2555 – 2557
  39. นายอิศเรศ  ทิพย์ชูวงศ์ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ.2557- 2558
  40. นายวิกรม  บุรินทรรัตน์ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ.2558 – 2561
  41. นายอธิวัฒน์  ชิดอรุณธนวัฒน์ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2561 – 2563
  42. นายพิเชษฐ์ ศิรีวาส ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2563 – 2564
  43. นายศุภชัย เศวตกิตติกุล ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2564 – 2565
  44. นายอมเรศ พรหมราช ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2565 – 2566
  45. นายสุวิท ทองชุมนุม ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2566 – 2567
  46. นายทรรศวรา แก้วมณี ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2567 – ปัจจุบัน

วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์

“ด้วยใจภักดี ตระหนักในหน้าที่ พลังสามัคคี มีนิติธรรม”

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”


พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี


โครงสร้าง (Structure)

วัฒนธรรมองค์กร

อำนาจและหน้าที่
ตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓

          กำหนดให้องค์กรอัยการประกอบด้วย ก.อ. อัยการสูงสุด, และพนักงานอัยการอื่น โดยมีสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานธุรการ
          สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นส่วนราชการที่มีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น และนิติบุคคล โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้แทนนิติบุคคล และให้ข้าราชการฝ่ายอัยการสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด  มีดังนี้

           ๑. ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
           ๒. ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
           ๓. ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร 
         ๔. ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
           ๕. ดำเนินการตามที่รัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ 
         ๖.  ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ 
         ๗. ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน 
         ๘. ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด 
         ๙. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด 
         ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ
ตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๔ มีดังนี้

           ๑. อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ 
         ๒.ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ 
         ๓. ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโคตุลาการทั้งปวงกับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ 
         ๔. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดีหรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้ 
         ๕. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นเป็นคู่กรณีและมิใช่กรณีที่พิพาทกับรัฐบาลหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้ 
         ๖. ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้ 
         ๗. ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ 
         ๘. ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ 
         ๙. อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี 
         ๑๐. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ 
         ๑๑. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่สำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด 
         ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตาร ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำโดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมก็ได้ 
         พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.

ภารกิจหน้าที่และผังกระบวนงาน

1. ภารกิจด้านอำนวยความยุติธรรมในการดำเนินคดีในฐานะผู้แทนรัฐตามรัฐธรรมนูญประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา      และกฎหมายอื่น
2. ภารกิจด้านการรักษาผลประโยชน์ของรัฐ พิจารณาและให้คำปรึกษาในด้านกฎหมายแ่ส่วนราชการ หน่วยงานต่างๆ ของรัฐ  ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐ ในฐานะทนายแผ่นดิน
3. ภารกิจด้านคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ช่วยเหลือทางกฎหมาย เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน และ  ภารกิจหน้าที่อื่นๆตามที่กฎหมายบัญญัติไว้

สถิติคดี










การประกันตัวผู้ต้องหา

การประกันตัวผู้ต้องหาในชั้นอัยการ สำนักงานอัยการจังหวัดเพชรบูรณ์

การประกันตัว คือ การขอให้ปล่อยผู้ต้องหาในระหว่างพิจารณาสำนวนของพนักงานอัยการ 
การประกันตัว หรือ การปล่อยชั่วคราว 
มีอยู่ ๒ กรณี คือ             
          ๑. บันทึกทราบนัด 
        ๒. การใช้หลักทรัพย์ในการประกัน

๑. การบันทึกทราบนัด         
        เป็นกรณีที่ผู้ต้องหาเข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบ ข้อกล่าวหาอาจเป็นการเข้าพบตามหมายเรียก หรือเข้าพบโดยพนักงานสอบสวนแจ้งให้มาพบตามวันเวลาที่กำหนด โดยไม่ได้มีการจับกุมหรือควบคุมตัว ในกรณีดังกล่าวนี้เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจส่งสำนวนการสอบสวน พร้อมตัว ผู้ต้องหามายังสำนักงานอัยการ เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานอัยการจะให้  ผู้ต้องหามารายงานตัวต่อ สำนักงานอัยการตามกำหนดที่นัดไว้ ซึ่งในกรณีนี้ผู้ต้องหาไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ในการยื่นประกันตัว
แต่อย่างใด

๒. การใช้หลักทรัพย์ประกัน 
       เป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมตัวผู้ต้องหา หรือผู้กระทำผิด และได้มีการควบคุมตัว ผู้ต้องหาไว้ในระหว่างสอบสวน ในกรณีดังกล่าว หากผู้ต้องหาต้องการประกันตัวและเจ้าหน้าที่ ตำรวจอนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาชั่วคราวโดยมีประกันแล้ว ผู้ต้องหาต้องจัดหาหลักทรัพย์ บุคคล หรือเอกสารใดๆ ที่ได้กำหนดไว้เพื่อใช้ในการประกันตัว

ผู้มีสิทธิ์ยื่นขอประกันตัว คือ 
        ๑. ผู้ต้องหา 
        ๒. ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เช่น ญาติ พี่น้อง นายจ้าง ผู้บังคับบัญชา เป็นต้น 
            ซึ่งมักเรียกกันว่า “นายประกัน”

หลักทรัพย์ที่ใช้ในการประกันตัวผู้ต้องหา 
        ๑. โฉนดที่ดิน, น.ส.๓ หรือ น.ส.๓ก. 
        ๒. พันธบัตรรัฐบาล
        ๓. สมุดเงินฝากธนาคาร (ทำหนังสือรับรองยอดบัญชีเงินฝากด้วย) 
        ๔. บุคคลโดยแสดงหลักทรัพย์ ตำแหน่ง หรืออาชีพการงานที่กำหนด (หนังสือรับรอง
เงินเดือน,สำเนาทะเบียนบ้าน,สำเนาบัตรประชาชน และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องมาด้วย) 
        ในส่วนของสำนักงานอัยการจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ส่งสำนวนการสอบสวน พร้อมตัวผู้ต้องหามายังสำนักงานอัยการจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานอัยการได้ตรวจ สำนวนเบื้องต้นแล้ว จะให้ผู้ต้องหาทำการประกันตัวเพื่อขอปล่อยตัวชั่วคราว ระหว่างพนักงานอัยการ พิจารณาทำความเห็น หรือคำสั่งในสำนวนดังกล่าว โดยการประกันนั้นจะใช้บุคคลหรือหลักทรัพย์ต่างๆ
ตามที่ได้กำหนดไว้ ดังนี้

หลักทรัพย์ในการประกันตัวผู้ต้องหา

 ข้อหา วงเงินประกัน (บาท)
 ลักทรัพย์ รับของโจร   ยักยอก วิ่งราว ๕๐,๐๐๐ – ๒๐๐,๐๐๐
 กรรโชกทรัพย์รีดเอาทรัพย์ ๙๐,๐๐๐ – ๒๐๐,๐๐๐
 ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ๑๕๐,๐๐๐ – ๕๐๐,๐๐๐
 ข่มขืน พรากผู้เยาว์ ๒๐๐,๐๐๐ – ๕๐๐,๐๐๐
 อนาจาร ๒๐๐,๐๐๐ – ๕๐๐,๐๐๐
 ข้อหา วงเงินประกัน (บาท)
 ทำร้ายร่างกาย ๔๐,๐๐๐ – ๒๐๐,๐๐๐
 ทำให้คนตายโดยประมาท ๑๒๐,๐๐๐ – ๒๕๐,๐๐๐
 พยายามฆ่า ๒๕๐,๐๐๐  บาทขึ้นไป
 ฆ่าผู้อื่น ๔๐๐,๐๐๐  บาทขึ้นไป
 ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ๔๐๐,๐๐๐  บาทขึ้นไป
 ฉ้อโกง ทำให้เสียทรัพย์ บุกรุก ๕๐,๐๐๐ – ๒๐๐,๐๐๐
  ปลอมเอกสาร ๗๐,๐๐๐ – ๒๐๐,๐๐๐
  เช็ค ไม่เกินหนึ่งในสามของจำนวนเงินในเช็คแต่ไม่เกิน๒๐๐,๐๐๐ บาท
 อาวุธปืน ป่าไม้ ป่าสงวนฯ วัตถุออกฤทธิ์ฯ ยาเสพติด อื่นๆ ๕๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป

การตีราคาหลักประกันในกรณีที่ใช้ตำแหน่งบุคคลค้ำประกัน  

 ข้าราชการการเมือง  วงเงินประกัน
 ข้าราชการการเมืองท้องถิ่น เช่น – ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด – หรือนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด            – รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด  – สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด,  
  ตำบล 
 ๖๐,๐๐๐บาท ถึง ๕๐๐,๐๐๐ บาท
 กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน  ๖๐,๐๐๐ บาท
 ข้าราชการพลเรือนพนักงานรัฐวิสาหกิจ  วงเงินประกัน
 ข้าราชการหรือพนักงานต่ำกว่าระดับ ๓   เงินเดือนระดับ ๓  ๖๐,๐๐๐ บาท
 ระดับ ๓-๕ ๖๐,๐๐๐   บาท
 ระดับ ๖-๘ ๒๐๐,๐๐๐ บาท 
 ระดับ ๙-๑๐ ๕๐๐,๐๐๐ บาท 
 ระดับ ๑๑  ๘๐๐,๐๐๐ บาท
 ข้าราชการทหารและตำรวจ  วงเงินประกัน
 ข้าราชการชั้นประทวนอาจเทียบเงินเดือนชั้นสัญญาบัตร  ๖๐,๐๐๐ บาท
 ร้อยตรี เรือตรี   เรืออากาศตรี ถึงพันตรี นาวาตรี   นาวาอากาศตรี  ๖๐,๐๐๐ บาท
 พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ถึงพันเอก นาวาเอก   นาวาอากาศเอก  ๒๐๐,๐๐๐ บาท
 พลตรี พลเรือตรี   พลอากาศตรี ถึงพลโท พลเรือโท   พลอากาศโท  ๕๐๐,๐๐๐ บาท
 พลเอก พลเรือเอก   พลอากาศเอก  ๘๐๐,๐๐๐ บาท
 ทนายความ (จำนวนปีที่ว่าความ)  วงเงินประกัน
 ไม่ถึง ๒ ปี (เฉพาะตนเอง)  ๖๐,๐๐๐   บาท
 ๒ ปี ไม่ถึง ๕ ปี  ๖๐,๐๐๐   บาท
 ๕ ปี ไม่ถึง ๑๕ ปี  ๒๐๐,๐๐๐  บาท
 ๑๕ ปีขึ้นไป  ๕๐๐,๐๐๐   บาท

หมายเหตุ

            ๑. ข้าราชการฝ่ายอื่นให้เทียบตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด
          ๒. ทนายความประกันได้เฉพาะญาติสนิทตาม ปพพ.ม.๑๖๒๙ และคู่สมรส 
   ๓.ในกรณีใช้สมุดฝากเงินของธนาคาร จะต้องนำหนังสือรับรองยอดเงินคงเหลือปัจจุบันของธนาคารมาแสดงด้วย 
            ๔. ในกรณีใช้โฉนดที่ดิน น.ส. ๓ หรือ น.ส.๓ก. ต้องมีหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินของเจ้าพนักงานที่ดินหรือนายอำเภอท้องที่มาแสดงด้วย 
            ๕. ในกรณีที่ผู้เป็นเจ้าของหลักทรัพย์ ต้องการมอบอำนาจให้ผู้อื่นนำหลักทรัพย์มาประกันแทนตน ใบมอบอำนาจจะต้องทำ ณ ที่ว่าการ
อำเภอซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ โดยมีนายอำเภอหรือพนักงานฝ่ายปกครองลงลายมือชื่อรับรองและประทับตราเป็นสำคัญด้วย

หลักฐานที่ต้องใช้ในการประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย 
   ๑. บัตรประจำตัวของผู้ต้องหาหรือจำเลย 
   ๒. บัตรประจำตัว สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกันและคู่สมรส (ถ้ามี) 
   ๓. ในกรณีผู้ประกันมีคู่สมรส จะต้องมีหนังสือยินยอมของคู่สมรสด้วย ถ้าคู่สมรสเสียชีวิตหรือหย่ากันแล้ว จะต้องมีใบมรณบัตรหรือใบหย่ามาแสดงด้วย

ต้องดำเนินการอย่างไร เสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง 
               ผู้ขอประกันสามารถยื่นหลักทรัพย์ที่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานอัยการจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งโดยปกติมีเจ้าหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ในการเขียนประกัน โดยผู้ขอประกันไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ

การจัดซื้อจัดจ้าง

ประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกและสาระสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ
ประจำไตรมาสที่ 2 ( 1 มกราคม 2567 – 31 มีนาคม 2567 )

 ประกาศสำนักงานอัยการสูงสุด
เรื่อง ประกวดราคาจ้างก่อสร้างการปรับปรุงอาคาร
สำนักงานและบ้านพักข้าราชการ สำนักงานอัยการจังหวัดวิเชียรบุรี
ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) 

 ดาวน์โหลดเอกสาร

–  สัญญาจ้าง แบบสัญญาจ้างทั่วไป
–  ใบเสนอราคาจ้างก่อสร้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
–  สรุปผลรายการประเมินราคา
–  แบบหนังสือค้ำประกัน หลักประกันซองการจ้าง
–  แบบหนังสือค้ำประกัน หลักประกันสัญญาจ้าง
–  แบบหนังสือค้ำประกัน หลักประกันการรับเงินค่าพัสดุล่วงหน้า
–  แบบหนังสือค้ำประกัน หลักประกันการรับเงินประกันผลงาน
–  แบบ
– บัญชีเอกสารส่วนที่ 1 
– บัญชีเอกสารส่วนที่ 2
– บทนิยาม “ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน”
 บทนิยาม “การขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม”
– หนังสือการพิจารณาช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้าง และเงื่อนไขการจ้าง
– ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้สนใจเสนอราคา    

                         

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดเพชรบูรณ์
เลขที่ 425   ถนนสระบุรี-หล่มสัก  ตำบลในเมือง
  อำเภอเมือง  จังหวัดเพชรบูรณ์  67000
เบอร์โทรศัพท์ : 056-711470
เบอร์โทรสาร : 056-722175
Website : www1.ago.go.th/region6/phetchabun
 E-mail  :  pchabun@ago.go.th