กฎหมายมีปัญหาปรึกษาอัยการ สายด่วน 1157 หรือ ระบบเว็บบอร์ดทางกฎหมายออนไลน์ คลิก

ประชาสัมพันธ์มิวสิกวิดีโอ (MV) เพลง “ในอุ่นอ้อมอกมั่นคง” เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สามารถเข้ารับชมได้ตามลิงค์ปรากฎด้านล่างนี้ https://youtu.be/BPoLGRE0088?si=boLPE8gP-jmIeLXv

*—————————————————————————-*

*—————————————————————————-*

ประกาศสำนักงานอัยการสูงสุด เรื่อง กำหนดระยะเวลาการดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรมขององค์กรอัยการ

สามารถดูรายละเอียดเนื้อหาฉบับเต็ม
คลิก https://www.ago.go.th/oag130th/

*—————————————————————————-*

บันทึกข้อตกลงการประสานความร่วมมือด้านการยุติธรรมระหว่างศาลจังหวัดตาก กับ สำนักงานอัยการจังหวัดตาก และสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก

*—————————————————————————-*

*—————————————————————————-*

ช่องทางการติดต่อปรึกษากฎหมายของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก
ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด (COVIC-๑๙) เพื่อเป็นการเว้นระยะห่าง ร่วมกันใส่แมส ล้างมือบ่อยๆๆ

ศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และสถาบันครอบครัว
จังหวัดตาก
โทรศัพท์. ๐-๕๕๕๑-๑๒๒๐ ต่อ ๒๐๘- ๒๑๐
โทรสาร. ๐-๕๕๕๑-๑๒๒๑

แผ่นพับประชาสัมพันธ์ ศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และสถาบันครอบครัวจังหวัดตาก  รูปแบบไฟล์ PDF ดาวน์โหลดได้ที่นี่

ในวันที่ 29 เมษายน 2567 เวลา 17.00 น. สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดตาก โดยนายวีรชัย ปิยะเขต อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดตาก ได้เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าที่ปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ณ ศาลาการเปรียญวัดไผ่ล้อม อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก มอบหมายให้ นายบุญช่วย หอมยามเย็น รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าที่ปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร 29 เมษายน 2567

ในวันที่ 29 เมษายน 2567 เวลา 07.30 น. สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดตาก โดยนายวีรชัย ปิยะเขต อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดตาก ได้เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตร และพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ณ ศาลาการเปรียญวัดไผ่ล้อม อ.เมืองตาก จ.ตาก โดยมีนายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานในพิธีทำบุญตักบาตร และพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอุทิศพระองค์ปฏิบัติพระกรณียกิจนานัปการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงสืบสานพระบรมราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามโครงการจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” เพื่อเป็นแบบอย่างในการพัฒนาสภาพแวดล้อม และความเป็นอยู่ของชุมชนให้ดีขึ้น รวมถึงโครงการตามแนวพระราชดำริต่าง ๆ ทรงรับเป็นองค์ประธานอุปถัมภ์ สโมสรผู้รักสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ยังทรงสนพระทัยในพระพุทธศาสนา และด้านกีฬา เป็นอย่างมากด้วย…//

ในวันที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 10.00 น. นางสาวภาวีณี ลอยฟ้า รองอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดตาก ได้เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ บริเวณหน้าลานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (หน้าลาน ร.5) ศาลากลางจังหวัดตาก ตำบลหนองหลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก โดยมีนายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตากเป็นประธานในพิธี/กิจกรรมดังกล่าว

ในวันที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 09.00 น. นายวีรชัย ปิยะเขต อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดตาก ได้เข้าร่วมรวางพวงมาลาถวายราชสดุดี เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ แห่งองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้ทรงกอบกู้อิสรภาพของชาติไทย ณ อาคารหอประชุมจังหวัดตาก ศาลากลางจังหวัดตาก โดยมีนายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานในพิธีวันคล้ายวันสรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยนำส่วนราชการ ร่วมวางพวงมาลาถวายราชสดุดี เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ แห่งองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้ทรงกอบกู้อิสรภาพของชาติไทย โดยมีนางวรรณฤดี กิจเจริญรุ่งโรจน์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดตาก และประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดตาก นายสุรพล วงศ์สุขพิศาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ศาล ทหาร ตำรวจ และหัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมพิธีโดยพร้อมเพรียงกัน

สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ จัดขึ้นเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระเกียรติคุณของพระองค์ท่าน ผู้ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์นักรบผู้ยิ่งใหญ่และกล้าหาญ ในอดีตพระองค์ได้กอบกู้อิสรภาพของไทย และทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนปกปักรักษาเอกราชของชาติจนทำให้มีประเทศไทยอย่างเช่นทุกวันนี้

ในวันที่ 20 เมษายน 2567 เวลา 13.30 น. นายธรรมจักร กุศลรัตน์ อัยการอาวุโส สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดตาก ได้เข้าร่วมจพิธีปลงผมโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ วัดโคกพลู อำเภอเมือง จังหวัดตาก นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก มอบหมายให้นายสุรพล วงศ์สุขพิศาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานในพิธีปลงผม โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมี พระครูสิริสุตวัฒน์ เจ้าคณะอำเภอวังเจ้า เจ้าอาวาสวัดส้มเกลี้ยง นายสวนิต สุริยกุล ณ อยุธยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดตาก ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 310 อัยจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดตาก ปลัดจังหวัดตาก หัวหน้าส่วนราชการ เยาวชน และผู้ปกครองเข้าร่วมพิธี

ทั้งนี้จังหวัดตากได้ดำเนินโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติฯ ระหว่างวันที่ 20 เมษายน ถึงวันที่ 6 พฤษภาคม 2567 ณ วัดโคกพลู อำเภอเมืองตาก เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมถึงเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนในจังหวัดตากได้แสดงความจงรักภักดี ความกตัญญูกตเวที สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และได้รับความรู้ในเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยมีเยาวชนเข้าร่วมโครงการจำนวน 82 คน …//

ในวันนี้ 17 เมษายน 2567 เวลา 08.00 น. นางสาวภาวิณี ลอยฟ้า รองอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดตาก ได้เข้าร่วมพิธีวันคล้ายวันพระราชสมภพ และสรงน้ำสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประจำปี 2567 เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ที่ได้กอบกู้เอกราช รวมถึงฟื้นฟูประเทศชาติในด้านต่างๆ ณ มณฑลพิธีศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก มอบหมายให้ นายบุญช่วย หอมยามเย็น รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานในพิธีวันคล้ายวันพระราชสมภพ และสรงน้ำสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประจำปี 2567 โดยมี ตุลาการ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ผู้นำท้องที่/ท้องถิ่น พ่อค้า ประชาชน และพสกนิกรทุกหมู่เหล่า เข้าร่วมพิธี

ในวันที่ 2 เมษายน 2567 เวลา 07.30 น. นายวีรชัย ปิยะเขต อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดตาก ได้เข้าร่วมกิจกรรมถวายเป็นพระราชกุศลสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน 2567 ณ ที่วัดเกาะตาเถียร อ.เมืองตาก จ.ตาก โดยมีนายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นำพสกนิกรทุกหมู่เหล่าประกอบพิธีทำบุญตักบาตรอาหารคาว – หวาน และพิธีเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน 2567

ในวันที่ 31 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. นายกิตติพงษ์ สินพิทักษ์กุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการ ได้เข้าร่วมพิธีถวายราชสักการะ เนื่องในวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ประจำปี 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2535 กำหนดให้วันที่ 31 มีนาคมของทุกปี เป็น “วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า” หรือ “วันเจษฎา” เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ที่ทรงมีต่อราษฎรและแผ่นดินไทย ที่ทรงทำนุบำรุงและสามารถรักษาความเป็นชาติอธิปไตยไว้ได้ โดยพระองค์ได้โปรดพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ “เงินถุงแดง” ไว้เพื่อประโยชน์แก่แผ่นดิน และเงินจำนวนนี้ สามารถใช้กอบกู้เอกราชในดินแดนบางส่วน และรักษาอำนาจอธิปไตยไว้ได้จนทุกวันนี้…//

วันที่ 6 มีนาคม 2567 เวลา 10.30 น. สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดตาก โดยนายกิตติพงษ์ สินพิทักษ์กุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ได้เข้าร่วมพิธีถวายภัตตาหาร และเครื่องเขียนพระราชทาน แด่พระภิกษุ สามเณร ในการสอบบาลีสนามหลวง ครั้งที 1 ครึ่งหลัง (ครั้งที่ 2) ประจำปี 2567 ณ วัดโคกพลู ตำบลหนองหลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก โดยนายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก มอบหมายให้ นายบุญช่วย หอมยามเย็น รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานในพิธีจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย ประกอบพิธีเปิดกรวยกระทงดอกไม้ ธูปเทียนแพ หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในพิธีถวายภัตตาหาร และสิ่งของพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แด่พระภิกษุ สามเณร ในการสอบบาลีสนามหลวง ครั้งที่ 1 ครึ่งหลัง ประจำปี พ.ศ.2567 ของจังหวัดตา โดยมี พระประสิทธิศีลคุณ เจ้าคณะจังหวัดตาก เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ มี นายสวนิต สุริยกุล ณ อยุธยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดตาก ข้าราชการ ศาล ทหาร ตำรวจ พระภิกษุ สามเณร และภาคเอกชน เข้าร่วมในพิธีฯ

วันที่ 5 มีนาคม 2567 เวลา 10.30 น. สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดตาก โดยนายกิตติพงษ์ สินพิทักษ์กุล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ได้เข้าร่วมพิธีถวายภัตตาหาร และเครื่องเขียนพระราชทาน แด่พระภิกษุ สามเณร ในการสอบบาลีสนามหลวง ครั้งที 1 ครึ่งหลัง ประจำปี 2567 ณ วัดโคกพลู ตำบลหนองหลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก โดยนายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก มอบหมายให้ นายบุญช่วย หอมยามเย็น รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานในพิธีจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย ประกอบพิธีเปิดกรวยกระทงดอกไม้ ธูปเทียนแพ หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในพิธีถวายภัตตาหาร และสิ่งของพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แด่พระภิกษุ สามเณร ในการสอบบาลีสนามหลวง ครั้งที่ 1 ครึ่งหลัง ประจำปี พ.ศ.2567 ของจังหวัดตา โดยมี พระประสิทธิศีลคุณ เจ้าคณะจังหวัดตาก เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ มี นายสวนิต สุริยกุล ณ อยุธยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดตาก ข้าราชการ ศาล ทหาร ตำรวจ พระภิกษุ สามเณร และภาคเอกชน เข้าร่วมในพิธีฯ

วันที่ 2 มีนาคม 2567 เวลา 09.30 น. สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดตาก โดยนายธรรมจักร กุศลรัตน์ อัยการอาวุโส ได้เข้าร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” เนื่องในวันมาตรฐานผีมือแรงงานแห่งชาติ ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 43 ตาก อ.เมืองตาก นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานในพิธีถวายเครื่องราชสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” เนื่องในวันมาตรฐานผีมือแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2567 โดยมี นางวรรณฤดี กิจเจริญรุ่งโรจน์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดตาก และประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดตาก นายเด่นดวง ลำเพยพล ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 43 ตาก หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง และประชาชน เข้าร่วมในพิธี

สำหรับพิธีฯ ประกอบด้วย การวางพานพุ่มดอกไม้สด โทนสีเหลือง-ขาว ถวายราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ,กล่าวถวายราชสดุดีเทิดพระเกียรติฯในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” และยืนสงบนิ่งถวายความเคารพเป็นเวลา 89 วินาที

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 15.00 น. สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดตาก โดยนายธรรมจักร กุศลรัตน์ อัยการอาวุโส ได้เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ วัดไผ่ล้อม อ.เมืองตาก จ.ตาก นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก มอบหมายให้ นายสุรพล วงศ์สุขพิศาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย เปิดกรวยกระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ หน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ ถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

โดยมี พระมหากฤตชญา สุภาจาโร เจ้าคณะตำบลแม่ท้อ – หนองบัวใต้ เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ มี นางวรรณฤดี กิจเจริญรุ่งโรจน์ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดตาก และนายกเหล่ากาชาดจังหวัดตาก พร้อมด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดตาก หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ และประชาชน เข้าร่วมในพิธี

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก โดยนางสาวอภิรดี ตะเคียนนุช อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก พร้อมคณะ ได้เข้าร่วมกิจกรรมแสดงความจงรักภักดี แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

✅️ คนตากร้อยใจภักดิ์ 💜 กรมสมเด็จพระเทพฯ ✅️

…แต่งม่วงทั้งเมือง…

ณ ถนนริมน้ำปิง (ฝั่งอาคารกิตติคุณ) อ.เมืองตาก จ.ตาก

ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.00 น. สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก สำนักงานอัยการจังหวัดตาก และสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตาก ได้ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการปฏิบัติงานร่วมกันในการคุ้มครองสิทธิและการให้ช่วยเหลือทางกฎหมายเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว ระหว่าง ศูนย์พึ่งได้ OSCC สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก กับ ศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิเด็ก เยาวชน และสถาบันครอบครัวจังหวัดตาก ณ ห้องประชุมสำนักงานอัยการจังหวัดตาก ชั้น 2

*———————————–*

ในวันที่ 8 มกราคม 2567 เวลา 07.30 น. สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก โดยนางสาวอภิรดี ตะเคียนนุช อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ จังหวัดตาก ได้เข้าร่วมประกอบพิธีทำบุญตักบาตรและเจริญพระพุทธมนต์ กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 8 มกราคม 2567 ณ ศาลาการเปรียญวัดมณีบรรพตวรวิหาร อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก โดยมีนายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในพิธีทำบุญตักบาตรและเจริญพระพุทธมนต์ กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 8 มกราคม 2567 โดยมีพระครูเมธีวรคุณ เจ้าอาวาสวัดมณีบรรพตวรวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นำพระสงฆ์ประกอบพิธีฯ

*———————————–*

ประวัติความเป็นมา

            เนื่องจากสภาพปัญหามากมายหลายสาเหตุด้วยกัน ที่มีส่วนทำให้เกิดความเดือนร้อนแก่ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่มีฐานะยากจน หรือที่อยู่ในชนบทห่างไกล อาทิเช่น การถูกเอารัดเอาเปรียบในด้านเศรษฐกิจ ปัญหาการแย่งที่ดินทำกิน การกระทบกระทั่งกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับราษฎรในการใช้อำนาจรัฐอันไม่เป็นธรรม ฯลฯ สาเหตุต่าง ๆเหล่านี้ เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนที่ถูกกระทำ ต้องสูญเสียสิทธิเสรีภาพและทรัพย์สินไป ซึ่งผลที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือการแก้แค้น ประทุษร้ายต่อร่างกาย และชีวิตซึ่งกันและกัน การก่ออาชญากรรม ที่ทำให้สังคมอยู่กันอย่างหวาดผวา ไม่มีความผาสุก และเมื่อเกิดขึ้นมาก ๆ ก็จะมีผลกระทบ ต่อความมั่นคงของประเทศได้ ซึ่งภาวการณ์ดังกล่าว จากการศึกษาวิจัยก็ได้พบว่า มูลเหตุสำคัญประการหนึ่งก็คือ ความไม่รู้กฎหมาย ที่ทำให้คนส่วนหนึ่งมีการกระทำที่ละเมิด ต่อกฎเกณฑ์ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ในขณะที่คนอีกส่วนหนึ่งก็ไม่มีความรู้ ที่จะใช้กฎหมาย ในการปกป้องและพิทักษ์สิทธิหรือผลประโยชน์ของตน เมื่อเกิดกรณีพิพาทขึ้น ก็ทำให้รัฐต้องทุ่มเทงบประมาณจำนวนไม่น้อย ในแต่ละปีเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็ว
            อย่างไรก็ตาม การใช้มาตรการแก้ไขปัญหาสังคม โดยวิธีการปราบปรามแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ใช่วิถีทางที่ได้ผลอย่างแท้จริง วิธีการที่ดีที่ควรทำควบคู่กันไปก็คือ การส่งเสริมประชาชนให้มีความรู ้ ในสิทธิและหน้าที่ของตนตามกฎหมาย จะทำให้เกิดความสัมฤทธิ์ผล ในการลดปัญหาพิพาทขัดแย้งได้ในปริมาณที่มากกว่า ดังนั้น จากแนวความคิดดังกล่าว ได้นำมาสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง ในยุครัฐบาลของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งได้มีการจัดตั้งโครงการให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายแก่ประชาชน ชนบทในเขตยากจนขึ้น อันเป็นโครงการหนึ่ง ในแผนงานบริการขั้นพื้นฐาน ของแผนพัฒนาชนบทยากจน แล้วบรรจุโครงการนี้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) โดยในชั้นแรกได้มอบหมาย ให้สำนักนโยบายและแผนมหาดไทย กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ปฏิบัติ
             สำนักนโยบายและแผนมหาดไทย ได้ดำเนินงานไปได้ระยะหนึ่ง ก็มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2526 เห็นชอบ ตามความเห็นของคณะกรรมการปฏิรูป ระบบราชการ และระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ให้โอนโครงการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ชนบทในเขตยากจน ให้สำนักงานอัยการสูงสุด (กรมอัยการในขณะนั้น) เป็นผู้ดำเนินการสืบต่อมา ก่อนหน้าที่จะได้รับโอนงานมานั้น กรมอัยการได้มีการดำเนินงานด้านการคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพ และ ผลประโยชน์ของประชาชนตามที่กฎหมาย กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของพนักงานอัยการอยู่แล้วโดย กรมอัยการได้มีคำสั่งที่ 174/2525 ลงวันที่ 15 กันยายน 2525 จัดตั้งสำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชน (สคช.) ขึ้น โดยจัดตั้งเป็นหน่วยงานภายใน ซึ่งเมื่อสำนักนโยบายและแผนมหาดไทย ได้ส่งมอบงานตามโครงการให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายแก่ ประชาชนให้กรมอัยการทั้งหมด ในวันที่ 1 มิถุนายน 2527 กรมอัยการก็ได้มอบหมายงานตามโครงการฯ ให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนดำเนินงานมาตั้งแต่บัดนั้น เป็นต้นมา
             สำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และผลประโยชน์ของประชาชน ดำเนินงานให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายแก่ประชาชนชนบทในเขตยากจน ปรากฏว่าเกิดผลดีมาเป็นลำดับ ดังนั้นเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2527 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้โอนงานช่วยเหลือทางกฎหมายแก่เกษตรกรและ ผู้ยากจน ที่สำนักงานปลัดสำนัก นายกรัฐมนตรีดำเนินการอยู่ มาให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนดำเนินงาน ต่อไปด้วย ดังนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ . 2527 เป็นต้นมา สำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และผลประโยชน์ของประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด (กรมอัยการในขณะนั้น) จึงเป็นหน่วยงานเดียวของรัฐ ที่ปฏิบัติงานทางด้านคุ้มครองสิทธิ และ ช่วยเหลือทางกฎหมาย แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่องมาตราบจนปัจจุบัน   ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2531 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 105 ตอนที่ 122 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2531 แบ่งส่วนราชการในกรมอัยการเพิ่มขึ้น คือ กองคดีเด็กและเยาวชน กองคดีภาษีอากร กองคดีศาลแขวง กองคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร และ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ได้กำหนดให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนราชการระดับกอง ตามกฎหมายของกรมอัยการ และเปลี่ยนชื่อเป็น “สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน” ตามคำสั่งกรมอัยการที่ 199/2531 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2531
            สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และผลประโยชน์ของประชาชน ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือเมื่อมีกรณีอันสมควร เข้าคุ้มครองป้องกันสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ ของประชาชนในประการอื่น ที่กฎหมายให้มีอำนาจดำเนินการได้ ตลอดจนดำเนินงาน  ให้บริการช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย แก่ประชาชนผู้ยากไร้ และประชาชนในชนบท รวมทั้งดำเนินการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย ให้แก่ประชาชนทั่วไป ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 3 กอง คือ”
1) กองคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
2) กองช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน
3) กองแผนและติดตามประเมินผล
            ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2531 เป็นต้นไป
ปัจจุบันนี้ ตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 29 กันยายน 2549
ข้อ 15 (24) กำหนดให้สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือ ทางกฎหมายแก่ประชาชน มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และผลประโยชน์ของประชาชน การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย การเผยแพร่ความรู้ทางด้านสิทธิมนุษยชน และความรู้ทางกฎหมาย แก่ประชาชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ การดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอรรถคดี การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย และการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ประชาชน ศึกษาวิจัย และพัฒนาระบบ รูปแบบ วิธีการ และแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการดังกล่าว

ผลการปฏิบัติงาน
            สคช. ได้รับการคัดเลือกและยกย่องให้เป็นหน่วยงานดีเด่นระดับชาติ สาขาพัฒนาสังคม พ.ศ. 2529 จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ในส่วนที่เกี่ยวกับประชาชนทั้งในกรุงเทพฯและในต่างจังหวัด ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2535 อนุมัติให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีกติกา ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (พ.ศ. 2509) และจากเหตุผลดังกล่าวได้มี การจัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนระดับชาติขึ้น โดนมีนายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธาน        ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้กำหนดให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นแกน กลางในการจัดตั้งองค์กรทางด้านสิทธิมนุษยชน

โครงสร้างของ สคช.
            สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิและให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายแก่ประชาชนสังกัดอยู่ ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ดังนี้

ส่วนกลาง ประกอบด้วย
สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (ส่วนกลาง)
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายแผนช่วยเหลือทางกฎหมาย
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิ
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 1 (รัชดาภิเษก)
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 2 (หลักเมือง)
สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย 3 (ธนบุรี)
สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย 4 (มีนบุรี)

ส่วนภูมิภาค
            เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ได้รับการบริการทางกฎหมาย จากพนักงานอัยการโดยเสมอภาค และทั่วถึงกัน สำนักงานอัยการสูงสุดจึงมีคำสั่ง ให้จัดตั้งสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคดี จังหวัด (สคชจ.) ขึ้น โดยมีหน้าที่สำคัญคือ เผยแพร่และฝึกอบรมความรู้ทางกฎหมาย และให้คำปรึกษาปัญหากฎหมายแก่ประชาชน จัดหาทนายความช่วยเหลือในทางอรรถคดี แก่ประชาชนผู้ยากจนและไม่ได้รับความเป็นธรรม ตลอดจนงานการประนอมข้อพิพาท งานคุ้มครองสิทธิทางศาลตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ เช่น การร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก ฯลฯ

สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ในส่วนภูมิภาคประกอบด้วย

–  สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย ภาค 1- 9 จำนวน 9 แห่ง
–  สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด (สคชจ.) ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานอัยการจังหวัด จำนวน 76 แห่ง
–  สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัด ประจำจังหวัดสาขา (สคชจ. สาขา) ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานอัยการจังหวัดประจำอำเภอ จำนวน 34 แห่ง

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”


พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี


โครงสร้าง (Structure)


วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

นายคมกฤช สุวัตถี
ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๗ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘

เรือโทพลัฎฐ์ ทัพพ์พัฒนะ
ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๘ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙

นายจิระเดช ทัพพจิระเดช
ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๙ – ๒ เมษายน ๒๕๖๐

นายจิรวิชย์ ไวเวหา
ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก
ตั้งแต่วันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๐ – ๑ เมษายน ๒๕๖๑

นายพิทักษ์ คำวชิรพิทักษ์
ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก
ตั้งแต่วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๑ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๒

นายเกียรติศักดิ์ ศรีเจริญ
ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๒ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓

นางสาวนิติกาญจน์ วงค์ครองศักดิ์
ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๓ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔

นายประภาส บุญเสรฐ
ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕

นายอภิรักษ์ เตชะวงค์
ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๕ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖

นางสาวอภิรดี ตะเคียนนุช
ดำรงตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก
ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๖ – ปัจจุบัน

ข้าราชการอัยการ

(นายวีรชัย ปิยะเขต)
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
สำนักงานอัยการจังหวัดกาญจนบุรี
รักษาการในตำแหน่ง อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและ
ช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก

(นายกิตติพงษ์ สินพิทักษ์กุล)
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือ
ทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก

(นางสาวภาวิณี ลอยฟ้า)
รองอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือ
ทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก

นายธรรมจักร กุศลรัตน์
อัยการอาวุโส
สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือ
ทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก

ข้าราชการธุรการ

นางสาวศิริพร สารจุม
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ รกน.ผอ.อก.สคชจ.ตาก
นางสาวสรชา สติปัญญวัตร
นิติกรชำนาญการ
นางสาวดวงตา หมัดล่า
เจ้าพนักงานคดีชำนาญการ

นางสาวปวีณา บัวคลี่
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นางสาววิชชุลดา คำอ้าย
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
ผู้ดูแลเว็๋บไซต์
ว่าที่ร้อยตรีธนกฤต สิงห์สุนทรี
นิติกรปฏิบัติการ

จ้างเหมาบริการ

นายทัตสึยะ กัณฑาบุญ
นิติกร

นายณัฐพงศ์ คงเมือง
พนักงานขับรถยนต์

นายอภิเชษฐ์ ภู่รุ่งเรือง
ทนายความอาสา

ปริมาณสถิติงานคดีของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย

และการบังคับคดีจังหวัดตาก ประจำปี พ.ศ. 2566

ปริมาณสถิติงานคดีของสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย

และการบังคับคดีจังหวัดตาก ประจำปี พ.ศ. 2565

กิจกรรม
หน่วยนับม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค.รวม
1. การให้บริการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน 
1.1 คุ้มครองสิทธิทางศาลแก่ประชาชนตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการราย
9
8
7
9
11
23
8
15
4
6
17
13
130
1.2 ช่วยเหลือทางอรรถคดีโดยจัดหาทนายว่าต่างแก้ต่างแก่ประชาชนราย2114
1.3 ให้ความช่วยเหลือในการทำนิติกรรมต่างๆราย
1.4 ให้คำปรึกษาปัญหากฎหมายราย322627233024232286132100114639
1.5 ช่วยเหลือประนอมข้อพิพาทแก่ประชาชนราย322133894540
1.6 งานบังคับคดี (อาญา)ราย2111128
1.7 งานบังคับคดี (แพ่ง)ราย131121615
1.8 งานบังคับคดี (ยาเสพติด)ราย534214
2. การให้บริการความรู้ทางกฎหมาย
2.1 สนับสนุนการประนอมข้อพิพาทและการระงับข้อพิพาททางแพ่ง  ราย
2.2 เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายต่าง ๆ แก่ประชาชน ราย
2.3 ฝึกอบรมความรู้ทางกฎหมายแก่บุคคลต่าง ๆ ราย151151
3. ฝึกอบรมบุคคลที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทในระดับท้องถิ่น (ตามโครงการเผยแพร่ความรู้)ราย













รวม
ราย49353734485235441021541222891,001

เอกสารเผยแพร่ทางกฎหมาย

เอกสารที่ต้องนำมายื่นในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวข้าราชการ ของผู้ร้องขอ
2. ทะเบียนบ้าน ของผู้ร้องขอ
3. ทะเบียนบ้าน ของผู้ตาย (เจ้ามรดก)
4. ใบมรณบัตรบิดา มารดา ของผู้ตาย (เจ้ามรดก) กรณีบิดา มารดา ถึงแก่ความตายก่อนแล้ว
5. หนังสือรับรองการตาย กรณี ไม่มีมรณบัตรของบิดา มารดา ของผู้ตาย (เอกสารตาม ข้อ 4.)
6. ทะเบียนสมรส และ/หรือ ทะเบียนหย่า ของผู้ตาย (เจ้ามรดก)
7. ข้อมูลทะเบียนครอบครัวของผู้ตาย (เจ้ามรดก) กรณี ผู้ตายไม่ได้จดทะเบียนสมรส โดยขอคัดได้ที่ว่าการอำเภอในพื้นที่ (แจ้งขอคัดข้อมูลทางการสมรส/ การรับรองบุตร/ การรับบุตรบุญธรรม)
8. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวข้าราชการ และทะเบียนบ้าน ของทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดก
9. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล ของผู้ตาย และ/หรือ ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดก) ถ้ามี
10. สูติบัตรของบุตรผู้ตาย กรณีบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือไม่สามารถให้ความยินยอมได้
11. ใบมรณบัตรของผู้ตาย (เจ้ามรดก) หรือหนังสือรับรองการตายกรณีไม่มีมรณบัตร
12. พินัยกรรมของผู้ตาย (ถ้ามี)
13. บัญชีเครือญาติ (ทางส่วนราชการดำเนินการจัดทำให้ในวันที่มายื่นคำร้อง)
14. เอกสารที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย เช่น โฉนดที่ดิน, สัญญาจำนอง, หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3), ทะเบียนรถจักรยานยนต์, ทะเบียนรถยนต์, สัญญาเช่าซื้อ, ทะเบียนอาวุธปืน, สมุดบัญชี
เงินฝากธนาคาร, ใบหุ้น และอื่นๆ เป็นต้น
15. หนังสือให้ความยินยอมของทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดก (การให้ความยินยอมของทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดก สามารถลงนามต่อหน้าบุคคลดังต่อไปนี้ (1) ต่อหน้ากำนัน/ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ภูมิลำเนาของ
ตนเอง พร้อมทั้งแนบบัตรประชาชน/บัตรข้าราชการกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน และรับรองสำเนาถูกต้องด้วย (2) ต่อหน้าพนักงานอัยการสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับ
คดีจังหวัดตาก) โดยแบบฟอร์มหนังสือให้ความยินยอมของทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกสามารถรับได้ที่สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตากในวันที่มายื่น
คำร้อง
16. ค่าธรรมเนียมศาล จำนวน 255 บาท (สองร้อยห้าสิบห้าบาทถ้วน)

หมายเหตุ : จัดเตรียมสำเนาเอกสารตามข้อ 1-16 จำนวนอย่างละ 2 ชุด โดยเอกสารที่เกี่ยวข้องของผู้ตาย (เจ้ามรดก) ให้ผู้ร้องขอเป็นผู้รับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ และในส่วนของผู้ให้ความยินยอมให้เจ้าตัวรับรองสำเนาถูกต้องด้วยตนเองทุกฉบับ

ดาวน์โหลดเอกสารต่างๆ ได้ที่นี่
1. เอกสารที่ต้องนำมายื่นในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
2. บัญชีเครือญาติ
3. หนังสือให้ความยินยอม (กรณีให้ความยินยอมต่อหน้าพนักงานอัยการ)
4. หนังสือให้ความยินยอม (กรณีให้ความยินยอมต่อหน้าผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน)

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องขอตั้งผู้ปกครอง
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวข้าราชการ ของผู้ร้องขอ 2. ทะเบียนบ้าน ของผู้ร้องขอ 3. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ – ชื่อสกุล ของผู้ร้องขอ (ถ้ามี) 4. ใบสำคัญการสมรส ของผู้ร้องขอ 5. บัตรประจำตัวประชาชน ของผู้เยาว์ 6. ทะเบียนบ้าน ของผู้เยาว์ 7. สูติบัตร ของผู้เยาว์ (ถ้ามี) 8. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ – ชื่อสกุล ของผู้ร้องขอ (ถ้ามี)
9. ใบสำคัญการสมรสบิดา – มารดา ของผู้เยาว์ (ถ้ามี)
10. ทะเบียนบ้านบิดา – มารดา ของผู้เยาว์ที่ได้ระบุไว้ในสูติบัตร (ถ้ามี)
11. ใบมรณบัตร ของบิดา – มารดา ของผู้เยาว์ (กรณีบิดาหรือมารดาเสียชีวิต) หากมรณบัตรสูญหายสามารถไปขอคัดหนังสือรับรองการตายได้ที่ว่าการอำเภอในพื้นที่
12. หลักฐานการขอคัดที่อยู่บิดา – มารดา ของผู้เยาว์จากเขต/ อำเภอ/ หรือทะเบียนกลาง
13. หลักฐานใบแจ้งความ (กรณีผู้เยาว์ถูกทอดทิ้ง)
14. หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร (กรณีบิดาไม่มาจดทะเบียนรับรองบุตร)
15. หนังสือให้ความยินยอมของสามี/ ภริยาที่จะเป็นผู้ปกครอง (กรณีเป็นสามี – ภรรยา โดยชอบด้วยกฎหมาย)
16. ค่าธรรมเนียมศาล จำนวน 255 บาท (สองร้อยห้าสิบห้าบาทถ้วน)

หมายเหตุ : จัดเตรียมสำเนาเอกสารตามข้อ 1-15 จำนวนอย่างละ 3 ชุด พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องด้วย

ดาวน์โหลดเอกสารต่างๆ ได้ที่นี่
1. เอกสารที่ต้องนำมายื่นในการร้องขอเป็นผู้ปกครอง
2. หนังสือให้ความยินยอม – การตั้งผู้ปกครอง

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องขอเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ ของผู้ร้อง
2. ทะเบียนบ้าน ของผู้ร้อง
3. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ – สกุล ของผู้ร้อง
4. บัตรประจำตัวคนพิการ ของคนไร้ความสามารถ
5. ทะเบียนบ้าน ของคนไร้ความสามารถ 6. ใบสำคัญการสมรส ของผู้ร้อง
7. ใบรับรองแพทย์ระบุชัดเจนว่าเป็นโรคอะไร และขณะนี้มีสภาพเป็นอย่างไร
8. สรุปผลการวินิจฉัยของแพทย์ 9. รูปถ่ายผู้ป่วย (ติดกระดาษ A4 หรือจะทำเป็นไฟล์ใน word (เวิร์ด) แล้วปริ้นต์ออกมาก็ได้) 10. ค่าธรรมเนียมทางศาล จำนวน 255 บาท (สองร้อยห้าสิบห้าบาทถ้วน)

หมายเหตุ : จัดเตรียมสำเนาเอกสารตามข้อ 1-9 จำนวนอย่างละ 3 ชุด พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องด้วย

ดาวน์โหลดเอกสารต่างๆ ได้ที่นี่
1. เอกสารที่ต้องนำมายื่นคำร้องคนไร้ความสามารถฯ
2. หนังสือให้ความยินยอม-ผู้ไร้ความสามารถ

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องขอรับบุตรบุญธรรม
1. สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้จะรับบุตรบุญธรรม    
2. สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม
3. สำเนาทะเบียนบ้าน ของบิดามารดาของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม    
4. สำเนาทะเบียนบ้าน ของสามีหรือภริยาผู้จะรับบุตรบุญธรรม  
5. สำเนาใบสำคัญการสมรส ของผู้จะรับบุตรบุญธรรม    
6. สำเนาใบสำคัญการสมรส ของบิดา มารดาบุตรบุญธรรม
7. สำเนาสูติบัตรผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม  
8. หนังสือให้ความยินยอม ของบิดาผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม
9. หนังสือให้ความยินยอม ของคู่สมรสของผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม
10. ค่าธรรมเนียมศาล จำนวน 255 บาท (สองร้อยห้าสิบห้าบาทถ้วน)

หมายเหตุ : จัดเตรียมสำเนาเอกสารตามข้อ 1-9 จำนวนอย่างละ 3 ชุด พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องด้วย

ดาวน์โหลดเอกสารต่างๆ ได้ที่นี่
1. เอกสารที่ต้องนำมายื่นในการร้องขอรับบุตรบุญธรรม
2. หนังสือให้ความยินยอม – การขอรับบุตรบุญธรรม

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องในการร้องขอใหเป็นคนสาบสูญ
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ บัตรประจำตัวข้าราชการ ของผู้ร้องขอความช่วยเหลือ
2. ทะเบียนบ้าน ของผู้ร้องขอความช่วยเหลือ
3. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ – ชื่อสกุล ของผู้ร้องขอความช่วยเหลือ (ถ้ามี)
4. แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรของผู้ที่จะขอให้ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ
5. บันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าบุคคลนั้นได้หายไปจากภูมิลำเนาโดยไม่ทราบว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร
6. บัญชีรายชื่อผู้สูญหายจากธรณีพิบัติที่กระทรวงยุติกรรมประกาศในราชกิจจานุเบกษา
7. เอกสารหลักฐานที่แสดงถึงความเกี่ยวพันระหว่างผู้ร้องขอความช่วยเหลือ (ทายาท) กับผู้ที่จะขอให้ศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ เช่น ทะเบียนสมรส , สูติบัตร
8. ค่าธรรมเนียมศาล จำนวน 255 บาท (สองร้อยห้าสิบห้าบาทถ้วน)

หมายเหตุ : จัดเตรียมสำเนาเอกสารตามข้อ 1-6 จำนวนอย่างละ 3 ชุด พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องด้วย

ดาวน์โหลดเอกสารต่างๆ ได้ที่นี่
1. เอกสารที่ต้องนำมายื่นในการร้องขอให้เป็นคนสาบสูญ

ปีงบประมาณ 2567

  • ประกาศประกวดราคาจ้างโครงการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านพักอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯจังหวัดตาก ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)

ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖
– ประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกและสาระสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ ประจำไตรมาสที่ ๔ (เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖)
– ประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกและสาระสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ ประจำไตรมาสที่ ๓ (เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖
– ประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกและสาระสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ ประจำไตรมาสที่ ๒ (เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
– ประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกและสาระสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ ประจำไตรมาสที่ ๑ (เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕

ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕
– ประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกและสาระสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ ประจำไตรมาสที่ ๔ (เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕)
– ประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกและสาระสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ ประจำไตรมาสที่ ๓ (เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕ ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕
– ประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกและสาระสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ ประจำไตรมาสที่ ๒ (เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
– ประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกและสาระสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ ประจำไตรมาสที่ ๑ (เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔

ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔
ประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกและสาระสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ ประจำไตรมาสที่ ๔ (เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔)
ประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกและสาระสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ ประจำไตรมาสที่ ๓ (เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔
ประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกและสาระสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ ประจำไตรมาสที่ ๒ (เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
ประกาศผลผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างหรือผู้ได้รับการคัดเลือกและสาระสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ ประจำไตรมาสที่ ๑ (เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓

ติดต่อหน่วยงาน

ติดต่อสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตาก
ตั้งอยู่ชั้น ๒ อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดตาก เลขที่ ๕๘๘ หมู่ ๙ ถนนจรดวิถีถ่อง
ตำบลน้ำรึม อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก ๖๓๐๐๐
โทรศัพท์ : ๐-๕๕๕๑-๑๒๒๐ ติดต่อปรึกษากฎหมาย กด ๒๐๙ และ ๒๑๑, ติดต่องานธุรการทั่วไป กด ๒๐๘, ติดต่องานพัสดุ กด ๒๑๐
โทรสาร. ๐-๕๕๕๑-๑๒๒๑
ID LINE : @008hkhwy
E-mail : tak-lawaid@ago.go.th