เกี่ยวกับ สคชจ.เพชรบุรี
โครงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ
บทบาท สคชจ.เพชรบุรี ในด้านมิติอื่น ๆ

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติสำนักงาน

สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน เป็นหน่วยงานหนึ่งภายในสำนักงานอัยการสูงสุดโดยเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2525 ประกอบกับได้มีพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 23 (1) บัญญัติให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมาย ตลอดจนการให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน จึงมีภารกิจหลักในการปฏิบัติงานในด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของประชาชนภายใต้กรอบของกฎหมายผ่านทางแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม อันประกอบด้วย

1. การคุ้มครองสิทธิทางศาลตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ
2. การให้คำปรึกษาทางกฎหมายและการช่วยเหลือในการทำนิติกรรมสัญญา
3. การช่วยเหลือทางอรรถคดีโดยการจัดหาทนายความว่าต่างแก้ต่างในชั้นศาล
4. สนับสนุนการประนอมและระงับข้อพิพาทในระดับท้องถิ่น
5. การเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายให้แก่ประชาชนกลุ่มต่างๆ 
6. การฝึกอบรมความรู้ทางกฎหมายให้แก่ประชาชนกลุ่มต่างๆ

   และโครงการอื่นที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะโครงการสนับสนุนและช่วยเหลือตามแนวพระราชดำริ โดยจะดำเนินการออกหน่วยเคลื่อนที่เพื่อให้การคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนตามที่ได้รับการประสานหรือมีหมายกำหนดการจากสำนักราชเลขาธิการหรือหน่วยงานกองงานในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์และดำเนินการพิจารณาแนวทางให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้เดือดร้อนซึ่งได้ถวายฎีกาผ่านสำนักราชเลขาธิการเพื่อขอพระราชทานความช่วยเหลือส่งผลให้ประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนได้รับความเป็นธรรมจำนวนมาก โดยตลอดระยะเวลา 31 ปี  ที่ผ่านมาในการปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนของพนักงานอัยการทั่วประเทศ เป็นที่ยอมรับและได้รับความเชื่อถือจากประชาชนเป็นจำนวนมาก

         นอกจากนี้ พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 23 (4) กำหนดให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่งหรือคดีปกครองแทนรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้ และจะเห็นว่าการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบังคับค่าปรับตามคำพิพากษาในคดีอาญาและการบังคับคดีปกครองของพนักงานอัยการในต่างจังหวัดมีเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดได้จัดตั้งสำนักงานการบังคับคดีในส่วนกลางเพื่อรับผิดชอบงานบังคับคดีตามกฎหมายดังกล่าว ในกรณีการบังคับค่าปรับตามคำพิพากษาและการบังคับคดีในต่างจังหวัดซึ่งจะเป็นที่ตั้งของทรัพย์ของจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาแต่ยังขาดหน่วยงานและพนักงานอัยการผู้รับผิดชอบโดยตรง จึงต้องส่งเรื่องให้สำนักงานการบังคับคดีในส่วนกลาง ซึ่งเป็นการเพิ่มขั้นตอนและระยะเวลารวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการมากกว่าการบังคับคดีในต่างจังหวัด โดยจะเห็นว่าการบังคับค่าปรับและการบังคับคดีนั้นเป็นการรักษาผลประโยชน์ของรัฐและเป็นการบังคับโทษตามกฎหมาย ให้มีผลต่อผู้กระทำความผิดเพื่อเป็นการรักษาความยุติธรรมตามกฎหมายให้แก่ผู้เสียหายและรัฐได้อย่างแท้จริง ทั้งเป็นการดำเนินการเพื่อให้รัฐมีรายได้จากการบังคับค่าปรับและการบังคับคดีซึ่งมีจำนวนค่าปรับและทุนทรัพย์ตามคำพิพากษาจำนวนมาก แต่รัฐไม่สามารถบังคับค่าปรับและบังคับคดีได้อย่างเต็มที่ทำให้รัฐมีเพียงรายได้หรือหนี้ตามคำพิพากษาที่เป็นตัวเลขเท่านั้นมิได้มีการบังคับเป็นจำนวนเงินที่จะส่งแก่รัฐได้อย่างแท้จริง

          สำนักงานอัยการสูงสุดและพนักงานอัยการ จึงมีหน้าที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่รับผิดชอบดังกล่าวให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายอัยการสูงสุดจึงมีนโยบายให้จัดตั้งสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดจำนวน ๗๖ จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนโดยจะมุ่งเน้นการให้บริการแก่ประชาชนอย่างรวดเร็ว ลดขั้นตอนการดำเนินงาน ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างเต็มที่ตลอดจนการรักษาผลประโยชน์ของรัฐในด้านการบังคับคดีได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยมีอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดี เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2557 พร้อมกันทั้ง ๗๖ จังหวัดทั่วประเทศ

         สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบุรี โดยใช้ชื่อย่อว่า สคชจ.เพชรบุรี จึงได้เริ่มเปิดทำการมานับแต่บัดนั้น เป็นต้นไป

รูปกิจกรรมวันเปิดพิธีเปิด สคชจ.เพชรบุรี 
วันอังคารที่ 1 เมษายน 2557 


อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่และบทบาทของพนักงานอัยการในการคุ้มครองสิทธิและให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน

1. การคุ้มครองสิทธิ ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ ซึ่งได้บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของพนักงานอัยการ มีดังนี้ 

  1. การคุ้มครองสิทธิ ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ ซึ่งได้บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของพนักงานอัยการ มีดังนี้
  2. การร้องขอให้ศาล สั่งให้เป็นบุคคลวิกลจริต เป็นคนไร้ความสามารถ และการร้องขอให้ศาล เพิกถอนคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ (ป.พ.พ. มาตรา 28, 31)
  3. การร้องขอให้ศาล สั่งให้บุคคลซึ่งมีจิตฟั่นเฟือน หรือกายพิการฯ และไม่สามารถประกอบการงานของตนเอง เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และการร้องให้ศาล เพิกถอนคำสั่งที่ได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ (ป.พ.พ. มาตรา 32, 36)
  4. การร้องขอให้ศาลสั่งการให้ทำไปพลางก่อนที่จำเป็น เพื่อจัดการทรัพย์สินของบุคคล ที่ไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ หรือตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ (ป.พ.พ. มาตรา48, 49)
  5. การร้องขอให้ศาล สั่งตัวแทนรับมอบอำนาจทั่วไป จัดทำบัญชีทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ (ป.พ.พ. มาตรา หรือขอให้ศาลสั่งให้ ผู้จัดการทรัพย์สินหาประกัน หรือแถลงถึงความเป็นอยู่ แห่งทรัพย์สิน หรือถอดถอน ผู้จัดการและตั้งผู้อื่น ต่อไป เมื่อมีเหตุอันควร (ป.พ.พ. มาตรา หรือขอให้ศาลสั่ง กำหนดบำเหน็จงดลดเพิ่มหรือกลับ ให้บำเหน็จแก่ผู้จัดการทรัพย์สิน เมื่อพฤติการณ์ เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน ได้เปลี่ยนแปลงไป (ป.พ.พ. มาตรา
  6. ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ที่ไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ ฯลฯ เป็นคนสาบสูญ (ป.พ.พ.มาตรา และร้องขอให้ศาลสั่งถอนคำสั่ง แสดงความสาบสูญ (ป.พ.พ. มาตรา
  7. ร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้แทน ของนิติบุคคลชั่วคราว ในกรณีที่ผู้แทนของนิติบุคคล ว่างลงและถ้าทิ้งตำแหน่งว่าง ไว้จะเกิดความเสียหาย (ป.พ.พ. มาตรา
  8. ร้องขอให้ศาล แต่งตั้งผู้แทนเฉพาะการ ในกรณีประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคล ขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนของนิติบุคคลในการอันใด อันเป็นเหตุ ให้ไม่มีผู้แทน ของนิติบุคคลเหลืออยู่ หรือเหลืออยู่มีจำนวนไม่พอ จะเป็นองค์ประชุม หรือไม่พอจะกระทำการ อันนั้นได้ (ป.พ.พ. มาตรา 74, 75)
  9. ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติการประชุมใหญ่ของสมาคม ที่ได้มีการนัดประชุม หรือการลงมติโดยไม่ปฏิบัติตาม หรือฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือกฎหมาย (ป.พ.พ. มาตรา
  10. ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชี ในกรณีที่มีการเลิกสมาคม และไม่มีผู้ชำระบัญชี (ป.พ.พ. มาตรา 106, 1251)
  11. เป็นผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิ ในกรณีผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิถึงแก่ความตาย ก่อนนายทะเบียน รับจดทะเบียน และทายาทหรือผู้จัดการมรดก หรือ ผู้ซึ่งผู้ตาย มอบหมายไม่ดำเนินการ ขอตั้งมูลนิธิต่อไป ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด (ป.พ.พ. มาตรา 117 วรรคแรก)
  12. ร้องขอให้ศาลจัดสรรทรัพย์สิน ให้แก่นิติบุคคลอื่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์ใกล้ชิดที่สุด กับความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรม ในกรณีที่ไม่สามารถจัดตั้งมูลนิธิขึ้นได้ ตามวัตถุประสงค์ ที่ผู้ตายกำหนด (ป.พ.พ. มาตรา 117 วรรค 2, 1679 วรรค
  13. ขอจดทะเบียนมูลนิธิ เมื่อทายาทหรือผู้จัดการมรดก มิได้ขอจดทะเบียน ก่อตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม ภายในเวลาที่ กฎหมายกำหนด (ป.พ.พ. มาตรา 118 วรรค 2, มาตรา
  14. ขอจดทะเบียนมูลนิธิ เมื่อผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนมูลนิธิตามพินัยกรรม ไม่ดำเนินการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ตามคำสั่งของนายทะเบียน ตามมาตรา 115 จนเป็นเหตุให้นายทะเบียน ไม่รับจดทะเบียนมูลนิธิ เพราะเหตุดังกล่าว (ป.พ.พ.มาตรา 118 วรรค
  15. ร้องขอให้ศาล มีคำสั่งถอดถอนกรรมการมูลนิธิบางคน หรือคณะกรรมการของมูลนิธิ ในกรณีที่ดำเนินกิจการของมูลนิธิผิดพลาดเสื่อมเสียต่อมูลนิธิ หรือดำเนินกิจการฝ่าฝืนกฎหมาย หรือข้อบังคับของมูลนิธิ หรือกลายเป็นผู้มีฐานะ หรือความประพฤติ ไม่เหมาะสมในการดำเนินการ ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธ ิ (ป.พ.พ. มาตรา
  16. ร้องขอให้ศาล มีคำสั่งเลิกมูลนิธิ เพราะวัตถุประสงค์ ของมูลนิธิขัดต่อกฎหมาย หรือมูลนิธิกระทำการขัดต่อกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ อาจเป็นภยันตราย ต่อความสงบสุขของประชาชน หรือความมั่นคงของรัฐ หรือมูลนิธิ ไม่สามารถดำเนินกิจการ ต่อไปไม่ว่าเพราะเหตุใดๆ หรือ หยุดดำเนินกิจการ ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป (ป.พ.พ. มาตรา
  17. ร้องขอให้ศาล ตั้งผู้ชำระบัญชีของมูลนิธิ ในกรณีที่มีการเลิกมูลนิธิ เพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย โดยไม่มีผู้ชำระบัญชีตามข้อบังคับของมูลนิธิ (ป.พ.พ.มาตรา 133, มาตรา
  18. ร้องขอให้ศาลจัดสรรทรัพย์สินของมูลนิธ ิ เมื่อได้ชำระบัญชีแล้ว ให้แก่มูลนิธิหรือนิติบุคคลอื่น ที่มีวัตถุประสงค์ใกล้ชิดที่สุด กับวัตถุประสงค์ ของมูลนิธินั้น (ป.พ.พ. มาตรา
  19. ร้องขอให้ศาลตั้งผู้อื่น นอกจากสามีหรือภรรยา เป็นผู้อนุบาล หรือ ผู้พิทักษ์ถ้ามีเหตุสำคัญ (ป.พ.พ. มาตรา
  20. ร้องขอให้ศาลพิพากษาว่า การสมรส เป็นโมฆะ (ป.พ.พ. มาตรา
  21. ฟ้องคดีแทนเด็ก ปฏิเสธความเป็นบุตร โดยชอบด้วยกฎหมาย ของชาย (ป.พ.พ. มาตรา
  22. ร้องขอให้ศาล ตั้งผู้แทนเฉพาะคดี เพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็ก ในคดีฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตร ในกรณีเด็กไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือ มีแต่ผู้แทนโดยชอบธรรม ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ (ป.พ.พ. มาตรา
  23. เป็นโจทก์ฟ้องคดี ที่กฎหมายห้ามมิให้ราษฎรฟ้อง เช่น ฟ้องคดีแทนผู้สืบสันดาน ในการฟ้องบุพการี ทั้งคดีแพ่ง และคดีอาญา อันได้แก่ ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร (ป.พ.พ. มาตรา 1562, 1565)
  24. ร้องขอให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครอง (ป.พ.พ. มาตรา
  25. ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครอง (ป.พ.พ. มาตรา และร้องขอให้ศาล สั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครอง และมีคำสั่งเกี่ยวกับผู้ปกครอง ต่อไปตามที่เห็นสมควร เนื่องจากเป็นผู้ต้องห้าม มิให้เป็นผู้ปกครองตาม มาตรา 1587 (ป.พ.พ. มาตรา
  26. ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ปกครองหาประกันอันสมควร ในการจัดการทรัพย์สิน หรือแถลงถึงความเป็นอยู่ของทรัพย์สิน ของผู้อยู่ในปกครอง (ป.พ.พ. มาตรา
  27. ร้องขอให้ศาลถอนผู้ปกครอง (ป.พ.พ. มาตรา 1598/9)
  28. ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาต ให้มีการรับบุตรบุญธรรม (ป.พ.พ. มาตรา 1598/21, 1598/22, 1598/23) การเลิกรับบุตรบุญธรรม (ป.พ.พ. มาตรา 1598/31)
  29. ฟ้องคดีแทนบุตรบุญธรรม เกี่ยวกับการขอเลิกรับบุตรบุญธรรม (ป.พ.พ. มาตรา 1598/35)
  30. ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ปกครอง, ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ ในกรณีที่มรดก ตกทอดแก่ผู้เยาว์ หรือบุคคลวิกลจริต หรือผู้ไม่สามารถจัดการงานตนเองได้ และบุคคลนั้น ยังไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ (ป.พ.พ. มาตรา
  31. ร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก ในกรณีเจ้าของมรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์ หรือผู้จัดการมรดกหรือทายาท ไม่สามารถหรือไม่เต็มใจ จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก หรือข้อกำหนดพินัยกรรม ตั้งผู้จัดการมรดกไม่มีผลบังคับ (ป.พ.พ. มาตรา

2. การช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน

           นอกเหนือจากการคุ้มครองสิทธิ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ ตามที่ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ บัญญัติไว้แล้ว ตามพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 29 กันยายน 2549 ข้อ 15 (24) ยังได้กำหนดให้ สำนักงานอัยการสูงสุด มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการ ดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และผลประโยชน์ ของประชาชน และการให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมายแก่ประชาชน ดังนั้น การคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมาย แก่ประชาชน ของสำนักงานอัยการสูงสุด จึงไม่จำกัดอยู่แต่เพียงกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น แต่ยังมีงานด้านการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ในกรณีอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งทางรัฐบาลได้มอบหมาย ให้สำนักงานอัยการสูงสุดเข้าไปมีส่วนร่วม ในการดำเนินการช่วยเหลือ ประชาชนตามนโยบาย ของรัฐบาลต่างๆ โดย สำนักงานอัยการสูงสุด จะรับนโยบายของรัฐบาลมา และมีคำสั่งของ สำนักงานอัยการสูงสุด ให้พนักงานอัยการ ถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ในการให้ความช่วยเหลือ ประชาชนต่อไป ตัวอย่างเช่น การให้ความช่วยเหลือ เกษตรกรและผู้ยากจน การสนับสนุนการดำเนินงาน กองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น และถ้าเป็นกรณีที่จะต้องมีการให้ความช่วยเหลือทางอรรถคดี แก่ประชาชน ซึ่งอยู่นอกเหนือ อำนาจหน้าที่ ของพนักงาน อัยการ ตามที่กฎหมาย ได้บัญญัติไว้ สำนักงานอัยการสูงสุด ก็จะมีทนายความอาสาที่จะช่วยเหลือ ดำเนินคดีให้ประชาชน ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนต่อไป การให้บริการดังกล่าว เป็นการให้บริการ โดยไม่คิดค่าตอบแทน หรือค่าธรรมเนียมใด ๆ

3. การเผยแพร่ความรู้ ทางด้านสิทธิมนุษยชน และความรู้ทางกฎหมาย แก่ประชาชน 

            ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการ สำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 29 กันยายน 2549 ข้อ 15 (24) กำหนดให้ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน มีอำนาจหน้าที่ ในการเผยแพร่ความรู้ ทางด้านสิทธิมนุษยชน และความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน เนื่องจากในปัจจุบัน มีประชาชนจำนวนไม่น้อย ที่ยังไม่ทราบถึงสิทธิและหน้าที่ของตนที่มีอยู่ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงมักจะถูกละเมิดสิทธิ ถูกเอารัดเอาเปรียบ จากผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมายดีกว่า หรือมีสถานะทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งกว่า และยังมีประชาชนอีกจำนวนไม่น้อย ที่ได้กระทำผิดกฎหมาย โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้นการให้ความรู้พื้นฐานทางกฎหมายแก่ประชาชน เป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยให้ประชาชน ได้รับทราบถึงสิทธิและหน้าที่ของตน และใช้สิทธิต่างๆ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

4. การคุ้มครองเด็ก และเยาวชน 

            สำนักงานอัยการสูงสุด มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีทั้งปวง ตามที่กฎหมายกำหนด ให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาและพิพากษา ของศาลเยาวชนและครอบครัว และมีอำนาจหน้าที่ คุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และผลประโยชน์ของเด็กและเยาวชน ซึ่งรวมถึงการศึกษาวิจัย และพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง กับการคุ้มครองเด็กและเยาวชน

5. การคุ้มครองผู้บริโภค 

ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 39 คณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค ได้แต่งตั้งให้พนักงานอัยการ โดยความเห็นชอบของอัยการสูงสุด เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญา แก่ผู้กระทำละเมิดสิทธิของผู้บริโภค และตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 29 กันยายน 2549 ข้อ 15 (24) กำหนดให้ สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับ การคุ้มครองผู้บริโภค ด้านอรรถคดี การให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมาย และการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมาย เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ประชาชน และปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้องกับ การคุ้มครองผู้บริโภค

6. การคุ้มครองสิทธิ ประชาชนระหว่างประเทศ 

           สำนักงานอัยการสูงสุด ได้มีคำสั่งที่ 251/2548 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2548 ให้จัดตั้ง ศูนย์อัยการคุ้มครองสิทธิ ประชาชนระหว่างประเทศ (ศอสป.) ขึ้นให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ งานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย รวมทั้ง การเผยแพร่ ความรู้ด้านกฎหมายแก่คนไทยในต่างประเทศ และชาวต่างประเทศในประเทศไทย และรับผิดชอบงานด้านการพัฒนาส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ ตามพันธกรณีที่ประเทศไทย มีอยู่ตามกฎหมาย ระหว่างประเทศ ต่อมาได้มีกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการ สำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 ข้อ 15 (24) (ง) ลงวันที่ 29 กันยายน 2549 จัดตั้งสำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคุ้มครองสิทธิ ประชาชนระหว่างประเทศ (สฝคป.) ขึ้นในสังกัดสำนักงานคุ้มครองสิทธิ และช่วยเหลือทางกฎหมาย แก่ประชาชน และให้โอนงานทั้งปวงที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ศอสป. ไปยัง สฝคป. ตามคำสั่ง สำนักงานอัยการสูงสุด ที่ 521/2549

ตราสัญลักษณ์

โลโก้สำนักงาน

รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์
และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์

     สำนักงานอัยการสูงสุด แต่เดิมเป็นกรมอัยการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย เครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดจึงเป็นรูปตราราชสีห์ ต่อมาพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 ได้บัญญัติให้สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี จึงได้มี การกำหนดเครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดขึ้นใหม่ สำหรับใช้เป็นเครื่องหมายราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดและเป็นเครื่องหมายแสดงสังกัด ใช้กับเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายอัยการ ประกอบกับกฎหมายว่าด้วย
ระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ได้บัญญัติให้นำกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน มาใช้บังคับกับข้าราชการธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุด และกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้บัญญัติให้เครื่องหมายแบบข้าราชการพลเรือน เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน และโดยที่กฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน ได้บัญญัติให้ การกำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัด สำหรับใช้กับเครื่องแบบข้าราชการพลเรือน ต้องออกเป็นกฎสำนักนายกรัฐมนตรี

     สำนักนายกรัฐมนตรี จึงออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการกำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 129) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 เล่ม 109 ตอนที่ 40 หน้า 104-105 และออกกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 79 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2535 เล่ม 109 ตอนที่ 51 หน้า 4-5 กำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักอัยการสูงสุด เป็นรูปตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ประดิษฐานเหนือพระแว่น สุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์

     เครื่องหมายราชการ และเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักงานอัยการสูงสุด จึงเปลี่ยนจากรูปตราราชสีห์เป็น รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ มีความหมายถึงอำนาจหน้าที่ในการเป็นทนายแผ่นดิน การใช้กฎหมายด้วยความรอบคอบ เป็นธรรม และเด็ดขาด มีชัยชนะเหนืออธรรม

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

ผังกระบวนงาน

บุคลากร

ข้าราชการอัยการ

นายสัญเพ็ชญ์ โพธิ์หล้า
อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบุรี
นายกุลชาติ โชติชูตระกูล
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
 นายธนธรรม เจริญเลิศ
รองอัยการจังหวัด สคชจ.เพชรบุรี

ข้าราชการธุรการ

นายชัชพิสิฐ สิทธิเดช
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
รักษาการในตำแหน่ง
ผอ.อก.สคชจ.เพชรบุรี
นายอิทธิมนต์ สุขทองแท้
นิติกรชำนาญการ
นางจำเรียง เกตุรัตน์
เจ้าพนักงานธุรการ
ชำนาญงาน
นายรัฐธรรมนูญ ศิริมงคล
นิติกรปฏิบัติการ

พนักงานจ้างเหมาบริการ

นางสาวจิดาภา ทองแก้วยวน
นิติกร
 นายประสิทธิ์ เกตุรัตน์
พนักงานขับรถยนต์

ทำเนียบผู้บริหาร

 ลำดับที่     ชื่อ – นามสกุล       รับตำแหน่งเมื่อ  พ้นจากตำแหน่ง
     ๑.นายสุทธิ สุขยิ่ง ๑ เม.ย. ๒๕๕๗ ๓๐ มี.ค. ๒๕๕๘
     ๒.นายทนง ตะภา๑ เม.ย. ๒๕๕๘๓๐ มี.ค. ๒๕๖๐
     ๓.นายมนต์ศักดิ์ ลาภยิ่ง๑ เม.ย. ๒๕๖๐๓๐ มี.ค. ๒๕๖๑
     ๔.นายสุรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ๒ เม.ย.๒๕๖๑๒๙ มี.ค.๒๕๖๒
     ๕.นายคมสัน  เพ็งบุญชู๑ เม.ย. ๒๕๖๒๓๑ มี.ค. ๒๕๖๓
     ๖.นางกรวิพา จันทโรทัย๑ เม.ย. ๒๕๖๓๓๑ มี.ค. ๒๕๖๔
     ๗.นายพิศิษฏ์ มหารัศมี๑ เม.ย. ๒๕๖๔๓๑ มี.ค.๒๕๖๕
๘.นายสุภชัย อยู่พะเนียด๑ เม.ย. ๒๕๖๕๓๑ มี.ค.๒๕๖๖
๙.นายสัญเพ็ชญ์ โพธิ์หล้า๑ เม.ย. ๒๕๖๖

สถิติคดี

งานบริการประชาชน

ผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกต้องเป็นทายาทของผู้ตาย ซึ่งผู้ตายนั้นมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดเพชรบุรี เป็นทายาทผู้สิทธิได้รับมรดกของผุ้ตาย  กรณีมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ตาม ประปมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย กล่าวคือ บรรลุนิติภาวะแล้ว ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือเป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718

การตั้งผู้จัดการมรดก ทำได้ 2 กรณี คือ 

1. ตั้งผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม กล่าวคือเมื่อเจ้ามรดกตายลงก่อนตาย อาจทำพินัยกรรม ตั้งให้ใครก็ได้เป็นผู้จัดการมรดกหรืออาจระบุไว้ในพินัยกรรมว่าให้ใครที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม เป็นผู้ตั้งผู้จัดการมรดก 
ตัวอย่าง เช่น สรพงษ์ได้ทำพินัยกรรมไว้ว่า หากตนเองตายลงให้จินตราเป็นผู้จัดการมรดก ของตน วิชิตได้ทำพินัยกรรมไว้ว่า หากตนตายลง ให้สิทธิ์ชัยตั้งใครก็ได้เป็นผู้จัดการมรดกของตน 
ข้อสังเกตในการตั้งผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมนี้ พินัยกรรมต้องสมบูรณ์ใช้ได้ตามกฎหมาย ซึ่งในชั้นนี้จะไม่ขอกล่าวถึงเรื่องความสมบูรณ์ของพินัยกรรม 
ตัวอย่างตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2340/2519 ข้อความในพินัยกรรมมีว่าขอมอบพินัยกรรม ให้ ม. และขอตั้ง ม. ให้เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม เป็นการชัดเจนอยู่ในตัวว่าตั้ง ม. เป็นผู้ จัดการมรดกโดยไม่จำกัดว่าเป็นทรัพย์มรดกสิ่งใดบ้าง 
ผู้ที่ถูกตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม อาจไม่ยินยอมเป็นผู้จัดการมรดกก็ได้เพราะ 
เป็นสิทธิเฉพาะตัวจะไปบังคับเขาไม่ได้และการที่เจ้ามรดกตั้งใครเป็นผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม 
ก็หาบังคับให้ศาลตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกได้ไม่

2. ตั้งผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาล ในเรื่องประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 
บัญญัติไว้ว่า ทายาท หรือผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก ก็ได้ในกรณีดังต่อไปนี้ 
1. เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรม หรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอก ราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์ 
2. เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการ จัดการหรือในการแบ่งปันมรดก 
3. เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับไว้ ด้วยประการใด ๆ การตั้งผู้จัดการมรดกนั้นถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรมและ ถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึง ถึงเจตนาของเจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร

มีข้อพิจารณา ดังนี้ 
ผู้มีอำนาจร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกมี 3 ประเภท คือ 
1. ทายาท หมายถึง ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดก ไม่ว่าจะเป็นทายาทโดยธรรม หรือทายาทโดยพินัยกรรม ในชั้นนี้จะไม่ขอกล่าวถึง 
ตัวอย่าง ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1491/2523 ทายาทที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดก ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 หมายความถึงทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก เท่านั้น ไม่หมายความถึงผู้ที่อยู่ในลำดับทายาททุกลำดับ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1629 
2. ผู้มีส่วนได้เสีย หมายถึง ผู้มีผลเกี่ยวข้องในกองมรดก โดยไม่จำเป็นต้องเป็นทายาท ส่วนได้เสียในที่นี้ต้องเป็นส่วนได้เสียตามกฎหมาย ถ้าไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายก็ไม่มีสิทธิร้องขอ แต่ศาลได้ตั้งผู้จัดการมรดก เช่น 
– ลูกเลี้ยงของผู้ตาย ซึ่งผู้ตายไม่ได้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย ไม่ใช่ผู้มีส่วน ได้เสีย 
– ญาติผู้ดูแลทรัพย์มรดก แต่ไม่ใช่ทายาท ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสีย 
ตัวอย่าง ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น 
– สามีตาย ภรรยาที่ไม่ขอบด้วยกฎหมายไม่ได้จดทะเบียนสมรส ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ รวมในทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งปัน เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ผู้มีส่วนได้เสียที่จะขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นทายาท 
ส่วนเจ้าหนี้ของกองมรดก (เจ้าหนี้ผู้ตาย) ไม่ถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ศาลตั้ง ผู้จัดการมรดกได้ เว้นแต่กองมรดกที่ผู้ตายไม่มีทายาท เจ้าหนี้ไม่อาจบังคับชำระหนี้ จนกว่าจะ ได้ตั้งผู้จัดการมรดกขึ้น ในกรณีเช่นนี้ถือว่าเจ้าหนี้เป็นผู้มีส่วนได้เสีย มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกได้ 
3. พนักงานอัยการ พนักงานอัยการจะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ในกรณีที่ มรดกตกทอดแก่ผู้เยาว์ที่ไม่มีญาติและผู้ปกครอง บุคคลทั้งสามประเภทที่กล่าวมานี้ มีสิทธิ์ รับรองให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกได้ หรืออาจร้องขอให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกเอง หรือตั้งให้ บุคคลอื่นเป็นผู้จัดการมรดก โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นทายาท เช่น ทายาทยื่นคำร้องขอให้นายมดเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อนายมดมีคุณสมบัติตามกฎหมายศาล ก็ต้องให้นายมดเป็นผู้จัดการมรดกได้ แม้นายมดไม่ได้เป็นทายาท เมื่อได้ทราบถึงประเภทของบุคคลที่จะร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว ข้อพิจารณาตาม กฎหมายต่อไป คือ เหตุที่จะให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก 
1. กรณีทายาทโดยธรรม หรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขตหรือ เป็นผู้เยาว์ 
กรณีนี้เป็นกรณีที่ไม่สามมารถพบตัวทายาทให้มารับมรดกได้ และเป็นกรณีที่ทายาทยังเป็น ผู้เยาว์ยังไม่มีความสามารถตามกฎหมายที่จะจัดการมรดกได้ จึงเป็นเหตุขัดข้องจำเป็นที่ต้องมี ผู้จัดการมรดกมาดูแลทรัพย์มรดก 
2. กรณีผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการหรือมีเหตุขัดข้องใน การจัดการหรือในการแบ่งปันมรดก 
ตัวอย่าง ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 641/2515 พินัยกรรมของผู้ตายกำหนดให้บุตรห้าคนเป็น ผู้จัดการมรดก แต่บุตรสองคนยังไม่บรรลุนิติวาระไม่สามารถจัดการมรดกได้ และบุตรอีกคนหนึ่ง ไม่เต็มใจที่จะจัดการมรดกร่วมด้วย ดังนี้บุตรอีกสองคนย่อมร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ หรือไม่สามารถจัดการมรดกได้ เช่น เป็นคนไร้ความสามารถ วิกลจริต หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง ไม่เต็มใจจัดการมรดก ถือเป็นเหตุให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกคนอื่นได้ เพราะการจะจัดการมรดก 
เป็นเรื่องของความสมัครใจจะบังคับทายาทไม่ได้ เช่น ทายาทต่างทะเลาะ โต้เถียง ไม่สามารถจัดการมรดกได้โดยเรียบร้อย หรือมีเหตุขัดข้อง ทางเจ้าหน้าที่โดยไปขอรับโอนมรดก แต่เจ้าพนักงานที่ดินหรือเจ้าหน้าที่ธนาคารไม่ดำเนินการ ให้ ต้องให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกเสียก่อนดังนี้ เป็นต้น 
3. เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรม ซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆ เช่น พินัยกรรมเป็นโมฆะไม่สามารถใช้พินัยกรรมตามกฎหมายได้ ถ้ามีพินัยกรรมตั้งผู้จัดการมรดกไว้ก็ให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมให้ตรงกับเจตนา ของเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรม เว้นแต่มีพฤติการณ์ที่ไม่สมควรตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ศาลก็อาจตั้งผู้อื่นเป็นผู้จัดการมรดกได้ ผู้จัดการมรดกจะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ หากมีผู้จัดการมรดกหลายคน ในการจัดการมรดกจะจัดการมรดกกันอย่างไร พิจารณาดังนี้ 
ก. ถ้ามีพินัยกรรมตั้งผู้จัดการมรดกหลายคณะ และพินัยกรรมได้กำหนดให้จัดการอย่างไร ให้เป็นไปตามพินัยกรรม เช่น พินัยกรรมตั้ง ก. ข. ค. เป็นผู้จัดการมรดก และกำหนดให้ 2 ใน 3 มีอำนาจตัดสินใจ ในการจัดการมรดก ดังนี้คนใดคนหนึ่งจะทำคนเดียวไม่ได้ แต่ผู้จัดการมรดก 2 คน สามารถ จัดการร่วมกันได้ 
ข. ถ้ามีพินัยกรรมตั้งผู้จัดการมรดกหลายคนโดยไม่ได้กำหนดอำนาจจัดการ ถ้าผู้จัดการ มรดกบางคนไม่สามารถหรือไม่เต็มใจจะจัดการ ผู้จัดการมรดกที่เหลืออยู่จะร่วมกันจัดการ มรดกต่อไปได้ ถ้าเหลือคนเดียวผู้จัดการมรดกที่เหลืออยู่คนเดียวนั้น จัดการต่อไปได้ 
ค. ถ้าเป็นผู้จัดการมรดกหลายคนที่ศาลตั้ง จะจัดการแยกกันไม่ได้ต้องร่วมกันจัดการด้วย กันทุกคน ถ้าผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้งไว้หลายคน บางคนไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ ผู้จัดการมรดกที่เหลือจะจัดการอะไรไม่ได้เลย ต้องมาขออำนาจศาลให้ศาลตั้งผู้นั้นเพียงผู้เดียว เป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อน 

หลักฐานที่ใช้ประกอบในการยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก

1. เอกสารหลักฐานที่ต้องเตรียมให้พร้อม คลิก
2. แบบฟอร์มบัญชีเครือญาติ คลิก
3. แบบฟอร์มหนังสือยินยอมในการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกของทายาท คลิก

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๔/๑

            ในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ถ้า ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกเอา ค่าสินไหมทดแทนเพราะเหตุได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือ ได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพ ในร่างกาย ชื่อเสียง หรือ ได้รับความเสียหาย ในทางทรัพย์สิน อันเนื่องมาจาก การกระทำความผิด ของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาล ที่พิจารณาคดีอาญา ขอให้บังคับจำเลย ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แก่ตน ก็ได้
            การยื่นคำร้องตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหายต้องยื่นคำร้อง ก่อนเริ่มสืบพยาน ในกรณีที่ไม่มีการสืบพยาน ให้ยื่นคำร้องก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี และ ให้ถือว่า คำร้องดังกล่าว เป็นคำฟ้อง ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และ ผู้เสียหาย อยู่ในฐานะโจทก์ ในคดีส่วนแพ่งนั้น ทั้งนี้ คำร้องดังกล่าว ต้องแสดงรายละเอียดตามสมควร เกี่ยวกับความเสียหาย และ จำนวนค่าสินไหมทดแทน ที่เรียกร้อง หากศาลเห็นว่า คำร้องนั้น ยังขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ร้อง แก้ไขคำร้อง ให้ชัดเจน ก็ได้

            คำร้องตามวรรคหนึ่ง จะมีคำขอประการอื่น ที่ไม่ใช่คำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อันเนื่องมาจาก การกระทำความผิดของจำเลย ในคดีอาญา มิได้ และ ต้องไม่ขัดหรือแย้ง กับคำฟ้อง ในคดีอาญา ที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ และ ในกรณีที่ พนักงานอัยการได้ดำเนินการ ตามความใน มาตรา ๔๓แล้ว ผู้เสียหาย จะยื่นคำร้อง ตามวรรคหนึ่ง เพื่อเรียกทรัพย์สิน หรือ ราคาทรัพย์สินอีก ไม่ได้

ซึ่งการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นเหตุทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายดังต่อไปนี้
(๑)  ค่ารักษาพยาบาล นาย/นาง/นางสาว……………………..เป็นเงิน………..บาท
(๒) ค่าปลงศพผู้ตาย นาย/นาง/นางสาว………………………..เป็นเงิน………..บาท
(๓)  ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบอาชีพการงาน
เป็นจำนวน………….วัน วันละ………….บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น………………บาท
(๔) ค่าขาดไร้อุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมาย
   (๔.๑) สำหรับ…………………บิดาของ…………………..เป็นเงิน…………….บาท
   (๔.๒) สำหรับ…………………มารดาของ………………..เป็นเงิน…………….บาท
(๕) ค่าสินไหมทดแทนอื่นๆ อันมิใช่ตัวเงินสำหรับ………………………….ที่เป็นเหตุให้ต้องได้รับความเจ็บปวด ทนทุกข์ ทรมานขอคิดค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน………………..บาท
(๖) ทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย ……………………จำนวนเงิน…………….บาท
รวมเป็นเงินที่ได้รับความเสียหายทั้งสิ้น………………บาท (……………………)

หลักฐานที่ใช้ประกอบในการยื่นคำร้องเรียกค่าเสียหาย

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ร้อง หรือผู้แทนโดยชอบธรรมฯ
2. สำเนาทะเบียนบ้านผู้ร้อง หรือผู้แทนโดยชอบธรรมฯ
3. สำเนาเอกสารค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล (หากมี)

๑. หลักการและเหตุผล

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สำนักราชเลขาธิการดำเนินการโครงการพระราชทานความช่วยเหลือเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน เนื่องจากการเสด็จ ฯ ไปเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ต่าง ๆ ในปัจจุบันไม่สามารถทำได้เหมือนในอดีต โครงการนี้จะทำให้ราษฎรได้รับรู้ถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศ์ที่ยังทรงมีพระเมตตาต่อพสกนิกรทั่วประเทศ ทำให้ความรู้สึกห่างเหินระหว่างราษฎรกับสถาบันพระมหากษัตริย์ลดน้อยลง จึงจัดให้มีโครงการพระราชทานความช่วยเหลือ โดยพิจารณาจากฎีกาที่ราษฎรทูลเกล้า ฯ ถวาย และสำนักราชเลขาธิการทำการตรวจสอบข้อมูลนำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระมหากรุณาแก่ราษฎรนั้น ๆ  ในโอกาสเดียวกัน จะมอบถุงยังชีพพระราชทานให้กับราษฎรในพื้นที่จำนวนไม่น้อยกว่า ๕๐๐ ราย รวมทั้ง การนำพระมหากรุณาไปมอบแก่หน่วยงานราชการ และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นด้วย ทั้งนี้ จะมีการตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่และให้ราษฎรในพื้นที่ได้รับรู้ถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อราษฎรมาเป็นเวลานาน 

    ในการจัดโครงการพระราชทานความช่วยเหลือจะได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ องคมนตรีเป็นประธานในพิธี โดยมีรูปแบบการจัดพิธีที่เรียบง่ายแต่สมพระเกียรติ และมีหน่วยงานที่มอบความช่วยเหลือถวายพระราชกุศล ได้แก่ หน่วยแพทย์เคลื่อนที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้บริการตรวจสุขภาพและทันตกรรม สำนักงานอัยการสูงสุดจัดเจ้าหน้าที่เผยแพร่ความรู้และให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่ราษฎร และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินให้บริการเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับผู้ตรวจการแผ่นดินและเผยแพร่พระมหากรุณา

    ในการจัดพิธีมอบความช่วยเหลือพระราชทานทุกครั้ง สำนักราชเลขาธิการจะจัดทำรายงานเพื่อทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงทราบ

๒. วัตถุประสงค์

    ๒.๑. เพื่อให้ราษฎรเกิดความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ และรับรู้ว่ายังทรงห่วงใยความทุกข์ร้อนของพสกนิกรอยู่ตลอดเวลา
    ๒.๒. เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
    ๒.๓. เพื่อเผยแพร่พระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกร
    ๒.๔. เพื่อให้วิสัยทัศน์และพันธกิจของสำนักราชเลขาธิการเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

๓. แนวทางการดำเนินงาน

    ๓.๑. เมื่อราษฎรทูลเกล้า ฯ ถวายฎีกา สำนักราชเลขาธิการจะกลั่นกรองตรวจสอบข้อมูล และนำความกราบบังคมทูล ขอพระราชทานพระมหากรุณา เมื่อมีพระราชกระแสประการใด จะติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สนองพระราชกระแสโดยเร็ว และจะจัดโครงการพระราชทานความช่วยเหลือในพื้นที่ต่อไป

    ๓.๒. ในการจัดพิธีพระราชทานความช่วยเหลือในพื้นที่ จะมีการติดตามตรวจเยี่ยมการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) กรมชลประทาน จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำความกราบบังคมทูล

    ๓.๓ สำนักราชเลขาธิการจะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบก่อนกำหนด เพื่อให้ราษฎรมีโอกาสเตรียมตัวและเข้าถึงการบริการของหน่วยงานต่าง ๆ  นอกจากนี้ จะประสานงานกับสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่พระมหากรุณาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

**อ้างอิงจากเว็บไซต์ สำนักงานราชเลขาธิการ  http://www.ohm.go.th/th/monarch/assistance-programs 

               ซึ่งทางสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบุรี (สคชจ.เพชรบุรี) ได้ให้ความช่วยเหลือตามที่ได้รับมอบหมายจากทางสำนักราชเลขาธิการ ให้ความช่วยเหลือ ตรวจสอบข้อเท็้จจริง ปัญหา ของประชาชนผู้มาร้องทุกข์ และได้รับความร่วมมือจากองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง เป็นอย่างดี

รูปภาพตัวอย่าง กรณีขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ

สำนักงานอัยการสูงสุด ได้กำหนดยุทธศาสตร์และแผนงานให้ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบุรี ได้จัดกิจกรรมการสนับสนุนการประนอมและระงับข้อพิพาทระดับท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีความรู้ความสามารถในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในท้องถิ่น โดยยึดหลักกฎหมาย จารีตประเพณีท้องถิ่น และสังคมจิตวิทยาพื้นบ้านของสังคมไทย มาเป็นปัจจัยในการช่วยการประนอมและระงับข้อพิพาทในชุมชน ลดความขัดแย้ง ลดข้อพิพาท และลดการนำคดีขึ้นสู่ศาลลง อันเป็นการสร้างความสามัคคีธรรมแก่สังคมส่วนรวม และประหยัดงบประมาณในด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และสามารถนำเงินงบประมาณของรัฐในด้านนี้ไปพัฒนาสร้างสรรค์ความเจริญในด้านอื่นได้ ดังนั้น สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบุรี จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรม “การประนอมข้อพิพาทระดับชุมชน” นี้ขึ้น เพื่อให้ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำกลุ่มต่างๆในท้องถิ่น นำความรู้ ทักษะจากการเข้ารับการฝึกอบรมไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นการระงับข้อพิพาทอย่างสัมฤทธิ์ผล

ตัวอย่างรายละเอียดโครงการ

โครงการฝึกอบรมบทบาทของผู้นำชุมชนในการประนอมและระงับข้อพิพาทในระดับท้องถิ่นที่มีต่อชุมชน เพื่อชุมชน คลิก 

รูปตัวอย่างกิจกรรมการจัดโครงการ 
โครงการฝึกอบรมบทบาทของผู้นำชุมชนในการประนอมและระงับข้อพิพาท ในระดับท้องถิ่นที่มีต่อชุมชน เพื่อชุมชน ณ อำเภอที่ว่าการชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

        สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบุรี (สคชจ.เพชรบุรี) ได้รับเชิญจากหน่วยงานต่างๆ ภายในจังหวัดเพชรบุรี ให้ร่วมเป็นวิทยากรรับเชิญ อบรมกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มความรู้ ทักษะ ความเข้าใจกฎหมาย สามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง โดยมีพนักงานอัยการ(สคชจ.เพชรบุรี) และนิติกรชำนาญการ ได้สลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกเผยแพร่ เป็นวิยากรให้ความรู้ทางกฎหมาย

        และทาง สคชจ.เพชรบุรี ได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2558 ได้ออกเผยแพร่เป็ยวิทยากรทางวิทยุกระจายเสียง ให้กับสถานีวิทยุกระจายเสียง FM 96.5 MHZ ชมเรดิโอ และสถานีขนส่งจังหวัดเพชรบุรี เดือนละ 2 ครั้ง โดยได้นำหัวข้อทางกฎหมายต่างๆ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สิน – ภาระจำยอม , กฎหมายที่ดิน, กฎหมายมรดก – ครอบครัว และ กฎหมายการรับรองบุตร เป็นต้น

รูปตัวอย่างกิจกรรมการเป็นวิทยากรรับเชิญทางสถานีขนส่งจังหวัดเพชรบุรี

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบุรี
(สคชจ.เพชรบุรี) มีหน้าที่ให้คำปรึกษากฎหมายแก่ประชาชน ฟรี
   โดยจะเปิดให้บริการประชาชนผู้มารับบริการทุกวันทำการ ซึ่งจะมีพนักงานอัยการ นิติกรชำนาญการ และเจ้าหน้าที่ สคชจ.เพชรบุรี คอยให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย

แบบฟอร์มคำร้องขอปรึกษาปัญหากฎหมาย  คลิก 

รูปตัวอย่างกิจกรรมการให้บริการประชาชน

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเพชรบุรี (สคชจ.เพชรบุรี)
สำนักงานอัยการจังหวัดเพชรบุรี ชั้น 3
290 ถนนราชวิถี ต.คลองกระแชง
อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี
โทรศัพท์ 0 3240 1571 โทรสาร 0 3240 1572