ข่าวประชาสัมพันธ์

25 เมษายน 2567 : กิจกรรมเนื่องเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ประจำปี 2567

วันพฤหัสบดี ที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 07.30 น. นายชาติทนงค์ กอเชื่อคุก อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วยบุคลากรเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เป็นตัวแทนอัยการจังหวัดนราธิวาส เข้าร่วมกิจกรรมพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ประจำปี 2567 เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ณ อาคารหอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส แห่งที่ 1 ต.โคกเคียน อ.เมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

6 เมษายน 2567 : กิจกรรมเนื่องใน“วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์”

วันเสาร์ที่ 6 เมษายน 2567 เวลา 07.30 น. นายเสกสรรค์ จันทรพิทักษ์ รองอัยการจังหวัดนราธิวาส พร้อมด้วยบุคลากรเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เป็นตัวแทนอัยการจังหวัดนราธิวาส เข้าร่วมกิจกรรมพิธีถวายราชสักการะน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส แห่งที่ 1 ต.โคกเคียน อ.เมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

2 และ 5 เมษายน 2567 : กิจกรรมเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

วันอังคาร ที่ 2 เมษายน 2567 เวลา 07.30 น. นายศุภฤกษ์ ทวีอรรถมงคล รองอัยการจังหวัดนราธิวาส พร้อมด้วยบุคลากรเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เป็นตัวแทนอัยการจังหวัดนราธิวาส เข้าร่วมกิจกรรมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคล เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2 เมษายน 2567 และวันอนุรักษ์มรดกไทย และเวลา 09.45 น. นายตฤณ ตุณณการ รองอัยการจังหวัดนราธิวาส เป็นตัวแทนอัยการจังหวัดนราธิวาส เข้าร่วมกิจกรรมพิธีถวายพระพรชัยมงคล และพิธีลงนามถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2 เมษายน 2567 ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส แห่งที่ 1 วันศุกร์ที่ 5 เมษายน 2567 เวลา 08.30 น. นายชาติทนงค์ กอเชื่อคุก อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วยบุคลากรเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เป็นตัวแทนอัยการจังหวัดนราธิวาส เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ และวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส (แห่งที่ 1)

31 มีนาคม 2567 : กิจกรรมเนื่องในวันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า

วันอาทิตย์ ที่ 31 มีนาคม 2567 เวลา 08.30 น. นายชาติทนงค์ กอเชื่อคุก อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วยบุคลากรเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เป็นตัวแทนอัยการจังหวัดนราธิวาส เข้าร่วมกิจกรรมพิธีถวายเครื่องราชสาการะ (พานพุ่มดอกไม้สด) เนื่องในวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส (แห่งที่ 1)

13 มีนาคม 2567 : ผู้ตรวจการอัยการ และคณะลงพื้นที่ตรวจติดตามการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 9 พื้นที่จังหวัดนราธิวาส

วันพุธ ที่ 13 มีนาคม 2567 นายวัฒนา สวัสดิ์ทอง ผู้ตรวจการอัยการ และคณะลงพื้นที่ตรวจติดตามการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 9 พื้นที่จังหวัดนราธิวาส ประกอบด้วย สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนราธิวาส และสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนราธิวาส โดยมี นายศิริศักดิ์ พจนสิทธิ์ อธิบดีอัยการภาค 9 นายชัยวัฒน์ สุวรรณยอด รองอธิบดีอัยการการภาค 9 นายณัฐพงษ์ วงษ์ศุทธิภากร อัยการจังหวัดนราธิวาส สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส และคณะให้การต้อนรับ การลงพื้นที่ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามการปฏิบัติราชการสำนักงานอัยการในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ซึ่งผุ้ตรวจการอัยการขอให้ข้าราชการฝ่ายอัยการ และบุคลากรปฏิบัติราชการโดยยึดมั่น และยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง ด้วยความรวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใส และไม่เลือกปฏิบัติ รวมถึงร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายการบริหารงานของอัยการสูงสุดให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อองค์กร เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน โอกาสนี้ ผู้ตรวจอัยการได้ชื่นชมและให้กำลังใจบุคลากรที่ร่วมกันปฏิบัติงานในการให้บริการประชาชน พร้อมรับฟังปัญหาและข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

2 มีนาคม 2567 : กิจกรรมเนื่องในวันวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ

วันเสาร์ ที่ 2 มีนาคม 2567 เวลา 08.30 น. นายฐานันท์ แก้วเพชร อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วยบุคลากรเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เป็นตัวแทนอัยการจังหวัดนราธิวาส เข้าร่วมกิจกรรมพิธีถวายราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย” เนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ประจำปี 2567 เพื่อเทิดพระเกียรติ น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและเพื่อแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถทางด้านการช่างของพระองค์ ณ ห้องประชุมบางนรา สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 25 นราธิวาส

5 ธันวาคม 2566 : กิจกรรมเนื่องในวันชาติ และ วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2566

เมื่อวันอังคาร ที่ 5 ธันวาคม 2566 เวลา 07.30 น. นายณัฐพงษ์ วงษ์ศุทธิภากร อัยการผู้เชี่ยวชาญสำนักงานอัยการภาค 9 รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดนราธิวาส พร้อมด้วยบุคลากรเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เข้าร่วมกิจกรรมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ทำบุญตักบาตร และพิธีถวายเครื่องราชสักการะ ถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และ วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2566 ณ โรงเรียนนราสิกขาลัย ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

14 พฤศจิกายน 2566 : กิจกรรมเนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง

เมื่อวันอังคาร ที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08.30 น. นายณัฐพงษ์ วงษ์ศุทธิภากร อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค 9 รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดนราธิวาส มอบหมายให้นายตฤณ ตุณณการ รองอัยการจังหวัดนราธิวาส พร้อมด้วยบุคลากรเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เป็นตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สด เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง เพื่อแสดงความจงรักภักดี และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งฝนหลวง” ณ หอประชุมจำลอง ศรีเลขา โรงเรียนนราธิวาส ต.โคกเคียน อ.เมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส

23 ตุลาคม 2566 : กิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “วันปิยมหาราช”

เมื่อวันจันทร์ ที่ 23 ตุลาคม 2566 เวลา 07.30 น. นายณัฐพงษ์ วงษ์ศุทธิภากร อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค 9 รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดนราธิวาส มอบหมายให้นายพิสุทธิ์ บัวแย้ม รองอัยการจังหวัดนราธิวาส พร้อมด้วยบุคลากรเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เป็นตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมพิธีวางพวงมาลา เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “วันปิยมหาราช” ณ ลานหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดนราธิวาส
และเวลา 11.00 น. มอบหมายให้นายศุภฤกษ์ ทวีอรรถมงคล รองอัยการจังหวัดนราธิวาส พร้อมด้วยบุคลากรเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เป็นตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนา ร่วมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำความสะอาด ปรับปรุงภูมิทัศน์ ตัดแต่งกิ่งไม้บริเวณวัดบางนรา ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 “วันปิยมหาราช”

13 ตุลาคม 2566 : กิจกรรมเนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2566

เมื่อวันศุกร์ ที่ 13 ตุลาคม 2566 เวลา 07.30 น. นายณัฐพงษ์ วงษ์ศุทธิภากร อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค 9 รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดนราธิวาส มอบหมายให้นายสุริยัน จันทา รองอัยการจังหวัดนราธิวาส พร้อมด้วยบุคลากรเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เป็นตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมพิธีสวดพระพุทธมนต์ พิธีทำบุญตักบาตร และพิธีวางพวงมาลา เพื่อถวายพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2566 ณ ลานโรงเรียนนราสิกขาลัย
และเวลา 11.00 น. มอบหมายให้นายชาติทนงค์ กอเชื่อคุก อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วยบุคลากรเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เป็นตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ที่มัสยิดประจำจังหวัดนราธิวาส อำเภอเมืองนราธิวาส เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณและถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2566 พร้อมกล่าวสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานโครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ”

28 กันยายน 2566 : กิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day)

เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 28 กันยายน 2566 เวลา 08.00 น. นายณัฐพงษ์ วงษ์ศุทธิภากร อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนราธิวาสรักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดนราธิวาส พร้อมด้วยบุคลากรสำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส จัดกิจกรรมเนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) ร่วมร้องเพลงชาติและประดับธงชาติไทย ณ สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติธงขึ้นใหม่ในปีพุทธศักราช 2460 และประกาศให้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย

16 สิงหาคม 2566 : คณะ ตรวจราชการและนิเทศงานกลุ่มสำนักงานอัยการในจังหวัดนราธิวาส

เมื่อวันพุธ ที่ 16 สิงหาคม 2566 ท่านศิริศักดิ์ พจนสิทธิ์ อธิบดีอัยการภาค 9 ท่านภราดร สืบเอกรัตน์ รองอธิบดีอัยการภาค 9 ท่านตุลธีร์ อุไรรัตน์ อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 2 ภาค 9 และคณะ ได้เข้าตรวจราชการและนิเทศงานกลุ่มสำนักงานอัยการในจังหวัดนราธิวาส เพื่อติดตามการปฏิบัติราชการ เร่งรัดสำนวนคดีอาญาค้าง พร้อมทั้งสร้างขวัญและกำลังใจให้ข้าราชการฝ่ายอัยการ พนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีนายณัฐพงศ์ วงษ์ศุทธิภากร อัยการจังหวัดนราธิวาส นายปริวรรต พุทธสุวรรณ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนราธิวาส นายสรรชัย มุกดา อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนราธิวาส และคณะให้การต้อนรับ

12 สิงหาคม 2566 : กิจกรรมเนื่องในวันโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 91 พรรษา 12 สิงหาคม 2566

เมื่อวันเสาร์ ที่ 12 สิงหาคม 2566 นายณัฐพงษ์ วงษ์ศุทธิภากร อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนราธิวาส รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดนราธิวาส มอบหมายให้นางสาวอริศรา ช่อพยอม อัยการจังหวัดผู้ช่วย พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่สำนักงาน ฯ เป็นตัวแทนเข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตร เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 91 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2566 เวลา 07.00 น. ณ ลานโรงเรียนนราสิกขาลัย และมอบหมายให้นายตฤณ ตุณณการ รองอัยการจังหวัดนราธิวาส พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่สำนักงาน ฯ เข้าร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พร้อมจุดเทียนชัยถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 91 พรรษา 12 สิงหาคม 2566 เวลา 17.30 น. ณ ลานโรงเรียนนราสิกขาลัย

7 สิงหาคม 2566 : กิจกรรมเนื่องในวันระลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย”

เมื่อวันจันทร์ ที่ 7 สิงหาคม 2566 นายณัฐพงษ์ วงษ์ศุทธิภากร อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนราธิวาส รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดนราธิวาส นำคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาเนื่องในวันรพี ประจำปี 2566 ณ หน้าอาคารศาลจังหวัดนราธิวาสเพื่อระลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย”

28 กรกฎาคม 2566 : กิจกรรมเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อวันศุกร์ ที่ 28 กรกฎาคม 2566 นายณัฐพงษ์ วงษ์ศุทธิภากร อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนราธิวาส รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดนราธิวาส มอบหมายให้ นางสาวเสาวลักษณ์ ปิติ อัยการจังหวัดผู้ช่วย และนางสาวชัญญณัส ชูบัว อัยการจังหวัดผู้ช่วย พร้อมคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เป็นตัวแทนเข้าร่วมกิจกรรมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตร ถวายเป็นพระราชกุศล และถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และแสดงออกถึงความจงรักภักดี

26 กรกฎาคม 2566 : กิจกรรมร่วมพิธีถวายสัตย์ปฎิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ประจำปี 2566

เมื่อวันพุธ ที่ 26 กรกฎาคม 2566 นายณัฐพงษ์ วงษ์ศุทธิภากร อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนราธิวาส รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดนราธิวาส นำคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส ร่วมพิธีถวายสัตย์ปฎิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ประจำปี 2566 ณ สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เพื่อให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้แสดงความุม่งมั่นแน่วแน่ที่จะเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดินปฏิบัติหน้าที่ตามรอยพระยุคลบาทในฐานะข้าของแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนและประเทศชาติสืบไป

18 กรกฎาคม 2566 : นายณัฐพงษ์ วงษ์ศุทธิภากร อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนราธิวาส รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดนราธิวาส และคณะฯ เข้าร่วมบันทึกเทปรายการพิเศษ “ถวายพระพร” สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2566 วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องแสดง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดยะลา (ช่วงเช้า)

5 กรกฎาคม 2566 : นายชาติทนงค์ กอเชื่อคุก อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และคณะฯ เป็นตัวแทนอัยการจังหวัดนราธิวาส เข้าร่วมการบันทึกเทปรายการพิเศษ “ถวายพระพรชัยมงคล” สมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัววันที่ 5 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องแสดง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดยะลา (ช่วงเช้า)

26 มิถุนายน 2566 : กิจกรรมเนื่องในงานฉลองพระชนมายุ 8 รอบ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

เมื่อวันจันทร์ ที่ 26 มิถุนายน 2566 นายณัฐพงษ์ วงษ์ศุทธิภากร อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนราธิวาส รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดนราธิวาส มอบหมายให้ นายชาติทนงค์ กอเชื่อคุก อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เป็นตัวแทนสำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เข้าร่วมกิจกรรมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระกุศล เนื่องในงานฉลองพระชนมายุ 8 รอบ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ บริเวณหน้าสวนกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

3 มิถุนายน 2566 : กิจกรรมร่วมทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และถวายเครื่องราชสักการะ วางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสุธิดาพัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

เมื่อวันเสาร์ ที่ 3 มิถุนายน 2566 นายณัฐพงษ์ วงษ์ศุทธิภากร อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนราธิวาส รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดนราธิวาส มอบหมายให้ นายชาติทนงค์ กอเชื่อคุก อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วยคณะหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เป็นตัวแทนสำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เข้าร่วมกิจกรรมทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และถวายเครื่องราชสักการะ วางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสุธิดาพัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในวโรกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2566 ณ โรงเรียนนราสิกขาลัย อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

6 พฤษภาคม 2566 : กิจกรรมร่วมทำบุญตักบาตรและพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ ถวายราชสักการะ เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปีวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

เมื่อวันเสาร์ ที่ 6 พฤษภาคม 2566 นายณัฐพงษ์ วงษ์ศุทธิภากร อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนราธิวาส รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดนราธิวาส มอบหมายให้ นายธนพัต ศรีม่วง อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เป็นตัวแทนสำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เข้าร่วมกิจกรรมทำบุญตักบาตรและพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะ เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปีวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ โรงเรียนนราสิกขาลัย อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

25 เมษายน 2566 : กิจกรรมพิธีวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

เมื่อวันอังคารที่ 25 เมษายน 2566 นายณัฐพงษ์ วงษ์ศุทธิภากร อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนราธิวาส รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดนราธิวาส มอบหมายให้ นายศุภฤกษ์ ทวีอรรถมงคล รองอัยการจังหวัดนราธิวาส พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เป็นตัวแทนสำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ โรงเรียนนราสิกขาลัย อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ผู้ทรงคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ

6 เมษายน 2566 : กิจกรรมพิธีวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน 2566 นายณัฐพงษ์ วงษ์ศุทธิภากร อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนราธิวาส รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดนราธิวาส มอบหมายให้ นายชาติทนงค์ กอเชื่อคุก อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เป็นตัวแทนสำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส ถวายเครื่องราชสักการะ (พานพุ่มดอกไม้สด) เนื่องใน “วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์” ณ โรงเรียนนราสิกขาลัย อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

31 มีนาคม 2566 : กิจกรรมพิธีวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า

เมื่อวันศุกร์ ที่ 31 มีนาคม 2566 นายตะวัน  เพชรรัตน์ อัยการผู้เชี่ยวชาญสำนักงานอัยการภาค 9 รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดนราธิวาส มอบหมายให้ นายชาติทนงค์ กอเชื่อคุก อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ เป็นตัวแทนสำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส ถวายเครื่องราชสักการะ (พานพุ่มดอกไม้สด) เบื้องหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในพิธีวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ณ โรงเรียนนราสิกขาลัย อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

2 มีนาคม 2566 : กิจกรรมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร และเทิดพระเกียรติพระปรีชาสามารถด้านงานช่างในฐานะทรงเป็นพระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย

เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 2 มีนาคม 2566 นายตะวัน  เพชรรัตน์ อัยการผู้เชี่ยวชาญสำนักงานอัยการภาค 9 รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดนราธิวาส มอบหมายให้ นายเอกรัฐ  มิ่งไธสง รองอัยการจังหวัดนราธิวาส พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร และเทิดพระเกียรติพระปรีชาสามารถด้านงานช่างในฐานะทรงเป็นพระบิดาแห่งมาตรฐานการช่างไทย ณ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 25 นราธิวาส อ.เมือง จ.นราธิวาส โดยมีนายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นประธาน

นายชาญชัย ชลานนท์นิวัฒน์ ผู้ตรวจการอัยการ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 9 พื้นที่จังหวัดนราธิวาส

วันพฤหัสบดี ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 นายชาญชัย ชลานนท์นิวัฒน์ รักษาการในตำแหน่ง ผู้ตรวจการอัยการ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 9 พื้นที่จังหวัดนราธิวาส ประกอบด้วย สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนราธิวาส และสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดนราธิวาส โดยมี นายศิริศักดิ์ พจนสิทธิ์ อธิบดีอัยการภาค 9 นายภารดร สืบเอกรัตน์ รองอธิบดีอัยการการภาค 9 นายตะวัน เพชรรัตน์ อัยการจังหวัดนราธิวาส สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส และคณะให้การต้อนรับ การลงพื้นที่ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามการปฏิบัติราชการสำนักงานอัยการในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส โดยได้นำนโยบายการบริหารของสำนักงานอัยการสูงสุด บรรยายแก่ข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากรสำนักงานอัยการสูงสุดที่ปฏิบัติราชการในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส พร้อมชื่นชมบุคลากรที่ได้ร่วมกันปฏิบัติงานในการให้บริการประชาชน และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามนโยบายการบริหารงานของสำนักงานอัยการสูงสุดและการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ พ.ศ.2566

กิจกรรมวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕
วันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ ณ โรงเรียนนราสิกขาลัย อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

พิธีเปิดกิจกรรมจิตอาสาพระราชทาน “วันพ่อแห่งชาติ”
วันเสาร์ที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๕ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ สิริกาญจนทักษิณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

พิธีวางพวงมาลาเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
วันศุกร์ที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส

พิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดเนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง
วันจันทร์ ที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบพระชนมพรรษา ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส

พิธีวางพวงมาลาเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วันเสาร์ที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๕ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา จังหวัดนราธิวาส

กิจกรรมจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ”
เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๕
ในวันพฤหัสบดี ที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๕ ณ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา (สวน ร.๕) จังหวัดนราธิวาส

กิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๕
วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๕ ณ โรงเรียนนราสิกขาลัย อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

โครงการจิตอาสา กิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์บำรุงรักษาอาคารสถานที่ วันที่ 20 มกราคม 2565 ณ สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส

จัดซื้อจัดจ้าง

หากมีเรื่องที่จะร้องเรียน สามารถร้องเรียนได้ตามช่องทาง ดังต่อไปนี้
ทางจดหมาย โดยส่ง สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส ศูนย์ราชการ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ๙๖๐๐๐
ทางอีเมล์ nara@ago.go.th
กล่องรับความคิดเห็น ที่สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส
ทางโทรศัพท์ หมายเลข ๐ ๗๓๕๓ ๒๐๓๒

เกี่ยวกับสำนักงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส เดิมอยู่ที่อาคารศาลากลางจังหวัดนราธิวาส (หลังเดิม) ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนพิชิตบำรุง อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

             สำนักงานอัยการสูงสุดได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ อส (กค.) ๐๐๐๑/๗๗๒๗ ลงวันที่  ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๒ แจ้งว่าได้มอบอำนาจให้อธิบดีอัยการเขต ๙ ดำเนินการก่อสร้างอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส พร้อมบ้านพักและสิ่งก่อสร้างประกอบ โดยสำนักงบประมาณได้พิจารณาอนุมัติให้สำนักงานอัยการสูงสุดเบิกจ่ายเงินภายใต้มาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อเป็นค่าก่อสร้างอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส พร้อมบ้านพักและสิ่งก่อสร้างประกอบเป็นเงิน ๔๕,๕๔๐,๐๐๐ บาท (สี่สิบห้าล้านห้าแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)

รายการก่อสร้างสำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส ประกอบด้วย อาคารสำนักงาน โครงสร้าง คสล. อาคารสูง ๓ ชั้น ๑ หลัง หลังคาทรงไทย สิ่งก่อสร้างประกอบ และบ้านพักข้าราชการ รวม ๙ หลัง ประกอบด้วย บ้านพักระดับ ๑-๒ จำนวน ๑ หลัง บ้านพักระดับ ๗-๘ จำนวน ๖ หลัง บ้านพักระดับ ๙ จำนวน ๒ หลัง

สำนักงานอัยการเขต ๙ ได้ดำเนินการประกวดราคาจ้างก่อสร้างอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาสพร้อมบ้านพักและสิ่งก่อสร้างประกอบแล้ว และเมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๒ สำนักงานอัยการเขต ๙ ได้จัดทำสัญญาจ้าง เลขที่ ๔/๒๕๔๒ ระหว่างสำนักงานอัยการสูงสุด โดย นายศรีทัย มูสิกธรรม อธิบดีอัยการเขต ๙ ผู้รับมอบอำนาจจากสำนักงานอัยการสูงสุด โดยเป็นผู้ว่าจ้าง บริษัท ทรานส์แองโกล เซอร์วิส จำกัด ดำเนินการก่อสร้างอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาสพร้อมบ้านพักและสิ่งก่อสร้างประกอบ

            ตามสัญญาจ้างอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส ให้เริ่มก่อสร้างในวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๒ และจะแล้วเสร็จในวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๓

สำนักงานอัยการสูงสุดได้มีหนังสือที่ อส (กค.)๐๐๐๑/๑๕๗๙๑ ลงวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๒ แจ้งว่าให้โอนเงินตามโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาสกลับคืนส่วนกลาง รวมเป็นเงิน ๑๑,๒๙๙,๘๑๐ บาท (สิบเอ็ดล้านสองแสนเก้าหมื่นเก้าพันแปดร้อยสิบบาทถ้วน) ซึ่งเป็นเงินเหลือจ่ายเนื่องจากการปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเท่ากับร้อยละ ๐ คงเหลือเงินค่าก่อสร้างเป็นเงิน ๓๔,๒๔๐,๑๙๐ บาท (สามสิบสี่ล้านสองแสนสี่หมื่นหนึ่งร้อยเก้าสิบบาทถ้วน)

สำนักงานอัยการสูงสุด ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ อส ๐๐๐๑/๑๒๘๓๕ ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๓ โดยได้อนุมัติให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนผังบริเวณ และอนุมัติขยายระยะเวลาการก่อสร้างออกไปจำนวน ๔๕ วัน นับตั้งแต่วันสิ้นสุดของสัญญา

อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาสพร้อมบ้านบ้านพักและสิ่งก่อสร้างประกอบ ได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๓

วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๓ ได้ย้ายจากที่ทำการเก่าอาคารศาลากลางจังหวัด (หลังเดิม) มาที่อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส  บริเวณศูนย์ราชการ หมู่ที่ ๙ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองจังหวัดนราธิวาส

อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส มีส่วนราชการเข้าใช้ปฏิบัติงาน  ประกอบด้วย ชั้นที่ ๑ ห้องสมุดกฎหมายสำหรับประชาชนเฉลิมพระเกียรติฯ ชั้นที่ ๒ สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส และสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนจังหวัดนราธิวาส ชั้นที่ ๓ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนราธิวาส

อำนาจและหน้าที่โดยทั่วไป

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการตามกฎหมายต่างๆ มีดังนี้

. อำนวยความยุติธรรม

             พนักงานอัยการพิจารณารวบรวมข้อมูลอรรถคดีและวินิจฉัยสั่งคดีทั้งปวงดำเนินคดีอาญาทางศาล และดำเนินอรรถคดี ตามอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการในฐานะทนายแผ่นดิน จะเข้าร่วมคุ้มครองเด็กและพยานในชั้นสอบสวนคดีอาญา ดังนี้   

              ๑.๑ ในคดีอาญามีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ (พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๑(๑)) เช่น

                     (๑)  ฟ้องคดีอาญาต่อศาลชั้นต้น (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๘) ตลอดจนฟ้องอุทธรณ์ ฟ้องฎีกา และแก้ฟ้องอุทธรณ์ แก้ฟ้องฎีกาด้วย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๓, ๒๐๐, ๒๑๖)

                     (๒)  ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดก่อนคดีเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้ว (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๑)

                     (๓)  ร้องต่อศาลให้สั่งผู้เสียหายกระทำหรือละเว้นกระทำการที่ผู้เสียหายจะกระทำให้คดีของพนักงานอัยการเสียหาย ในกรณีที่เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๒)

                     (๔)  ยื่นฟ้องคดีที่ผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องคดีไว้แล้วได้ถอนฟ้องคดีนั้นเสียเว้นแต่คดีซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัว (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๖ (๓))

                     (๕)  ฟ้องเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายในกรณีที่ผู้เสียหายมีสิทธิจะเรียกร้องทรัพย์สินหรือราคาที่เขาสูญเสียไป เนื่องจากการกระทำความผิดคืน ในคดี ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอก หรือรับของโจร เมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีอาญาโดยจะขอรวมไปกับคดีอาญาหรือจะยื่นคำร้องในระยะใดระหว่างที่คดีอาญากำลังพิจารณาอยู่ในศาลชั้นต้นก็ได้ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๓, ๔๔)
                     (๖)  ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายขังผู้ต้องหาตามความในมาตรา ๘๗ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๗๑ วรรค ๒)

                     (๗)  พิจารณาแถลงเมื่อศาลถามว่าจะคัดค้านประการใดหรือไม่ ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องหาหรือถูกฟ้องในความผิดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสิบปีได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างสอบสวนหรือระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๐๙ ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔)
                     (๘)  ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล เมื่อศาลสั่งบังคับตามสัญญาประกันเป็นประการได้ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๑๙ ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔)ใดแล้ว พนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์

                     (๙)  สั่งให้งดหรือให้ทำการสอบสวนต่อไป ในคดีที่ไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำความผิด (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๐)

                     (๑๐)  ในกรณีที่พนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง และพนักงานอัยการเห็นชอบด้วย ให้ออกคำสั่งไม่ฟ้อง และแจ้งคำสั่งนี้ให้พนักงานสอบสวนทราบแต่ถ้าไม่เห็นชอบด้วยก็ให้สั่งฟ้อง และแจ้งให้พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ต้องหามาเพื่อฟ้องหรือจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้ได้ตัวผู้ต้องหามา ถ้าผู้ต้องหาอยู่ต่างประเทศพนักงานอัยการจะต้องจัดการเพื่อขอให้ส่งตัวข้ามแดน (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๑, ๑๔๓)

                    (๑๑)  ในกรณีที่พนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องและพนักงานอัยการเห็นชอบด้วยให้ออกคำสั่งฟ้อง และฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล แต่ถ้าไม่เห็นชอบด้วย ก็ให้สั่งไม่ฟ้องและปล่อยตัวผู้ต้องหาไป และแจ้งคำสั่งให้พนักงานสอบสวนทราบ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๑, ๑๔๓)

                    (๑๒)  สั่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติม หรือส่งพยานคนใดมาให้ซักถามเพื่อสั่งต่อไป (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๑๔๓ (ก))
                   (๑๓)  สั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบคดีแทนการที่จะส่งตัวผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการในกรณีที่มีคำสั่งฟ้อง แต่ถ้าผู้ต้องหาถูกส่งตัวมาแล้วให้ส่งผู้ต้องหาพร้อมด้วยสำนวนกลับไปยังพนักงานสอบสวนให้พยายามเปรียบเทียบคดี (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๑๔๔)

                   (๑๔)  ในกรณีที่มีคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ถอนฟ้อง ถอนฟ้องอุทธรณ์ ถอนฟ้องฎีกา และคำสั่งนั้นไม่ใช่ของอัยการสูงสุด ถ้าในกรุงเทพมหานครให้รีบส่งสำนวนการสอบสวน พร้อมกับคำสั่งไปเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถ้าในจังหวัดอื่นให้เสนอผู้ว่าราชการจังหวัด (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๕)

                   (๑๕)  แจ้งคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีให้ผู้ต้องหาและผู้ร้องทุกข์ทราบ ถ้าผู้ต้องหาถูกควบคุมหรือขังอยู่ ให้ปล่อยตัวไปหรือขอให้ศาลปล่อยแล้วแต่กรณี (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๖)

                   (๑๖)  ในกรณีที่ความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ให้พนักงานอัยการและพนักงานฝ่ายปกครองตำแหน่งตั้งแต่ระดับปลัดอำเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไปแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่เป็นผู้ชันสูตรพลิกศพ ร่วมกับพนักงานสอบสวนและแพทย์ และเมื่อได้รับสำนวนชันสูตรพลิกศพจากพนักงานสอบสวนแล้วให้ทำคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นแห่งท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ให้ทำการไต่สวนและทำคำสั่งแสดงว่าผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน เมื่อใด และถึงเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย ถ้าตายโดยคนร้ายให้กล่าวว่าใครเป็นผู้ทำร้ายเท่าที่จะทราบได้ และให้แจ้งกำหนดการไต่สวนไปให้สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้อนุบาลคนตายคนใดคนหนึ่งทราบเท่าที่สามารถจะทำได้ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕๐ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๑) พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔)

                    (๑๗)  ยื่นคำร้องต่อศาลขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๖๓)

                    (๑๘)  คดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องเอง และศาลยกฟ้องไป โดยโจทก์ไม่มาตามกำหนดนัด พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีนั้นอีกได้เว้นแต่จะเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๖๖)

                   (๑๙)  ก่อนฟ้องคดีอาญาต่อศาล เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า พยานบุคคลจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ไม่มีถิ่นที่อยู่ อยู่ห่างไกลจากศาลที่พิจารณาคดี หรือมีเหตุอันควรเชื่อว่า จะมีการยุ่งเหยิงกับพยาน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือมีเหตุจำเป็นอื่น อันเป็นการยากแก่การนำพยานนั้นมาสืบในภายหลัง พนักงานอัยการจะร้องขอให้ศาลสืบพยานบุคคลนั้นทันที่ก่อนมีการฟ้องคดีนั้นก็ได้ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๓๗ ทวิ)

                    (๒๐)  ร้องขอให้ศาลกำหนดโทษผู้กระทำความผิดเสียใหม่ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดยังไม่ได้รับโทษ หรือกำลังรับโทษอยู่ และโทษที่กำหนดตามคำพิพากษาหนักกว่าโทษที่กำหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓)         

                    (๒๑)  ร้องขอให้ศาลสั่งระงับการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัย ในกรณีที่กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังได้ยกเลิกวิธีการเพื่อความปลอดภัยนั้น (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓)

                  (๒๒)  ร้องขอให้ศาลสั่งยกเลิกการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยหรือสั่งให้ได้รับผลดีตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ซึ่งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่จะสั่งให้มีการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัย (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๔)

                  (๒๓)  ร้องขอให้ศาลสั่งยกเลิกการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัย หรือสั่งให้รับผลดีตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ซึ่งมีเงื่อนไขอันไม่อาจนำมาใช้บังคับแก่กรณีของผู้นั้นได้หรือตามกฎหมายฉบับหลังเป็นคุณแก่ผู้นั้นยิ่งกว่า (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕)
                  (๒๔)  เสนอให้ศาลทราบถึงความเปลี่ยนแปลงของพฤติการณ์เกี่ยวกับการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัย เพื่อให้ศาลสั่งเพิกถอน หรืองดการใช้บังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัยไว้ชั่วคราว (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๖)

                  (๒๕)  แถลงให้ศาลทราบถึงพฤติการณ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เพื่อให้ศาลพิจารณาเปลี่ยนโทษกักขังเป็นโทษจำคุก (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗)

                  (๒๖)  ฟ้องขอให้กักกันจำเลย โดยจะขอรวมกันไปในฟ้องคดีอันเป็นมูลให้เกิดอำนาจฟ้องหรือจะฟ้องภายหลังก็ได้ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๔๓)

                  (๒๗)  เสนอให้ศาลสั่งเรียกประกันทัณฑ์บนจากผู้ที่จะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๔๖)
                  (๒๘)  ขอให้ศาลแก้ไขเพิ่มเติม เพิกถอน หรือกำหนดเงื่อนไข เพื่อคุมความประพฤติใหม่ เมื่อพฤติการณ์ที่เกี่ยวแก่การควบคุมความประพฤติได้เปลี่ยนแปลงไป (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖)

                  (๒๙)  แถลงให้ศาลทราบถึงการที่ผู้กระทำความผิดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข เพื่อคุมความประพฤติ เพื่อให้ศาลตักเตือนผู้กระทำความผิด หรือกำหนดการลงโทษที่ยังไม่ได้กำหนดหรือลงโทษ ซึ่งรอไว้ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๗)

                  (๓๐)  เสนอให้ศาลทราบถึงความเปลี่ยนแปลงในพฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่ง ซึ่งศาลได้สั่งในกรณีที่เด็กอายุกว่าเจ็ดปีแต่ยังไม่เกินสิบสี่ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เพื่อให้ศาลเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งนั้นหรือมีคำสั่งใหม่ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๔)
                  (๓๑)  ฟ้องขอให้ริบสรรพเรือน้อยใหญ่และสินค้าของลงระวางเรือที่ นายทหาร พลทหาร ราชนาวี จับมาได้จากเชลยศึก (พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทรัพย์เชลยศึก พ.ศ. ๒๔๖๐ มาตรา ๑๔)

                  (๓๒)  ฟ้องผู้จับ ฆ่า ทำร้ายช้างป่า โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า พ.ศ. ๒๔๖๔ (พ.ร.บ.สำหรับรักษาช้างป่า พ.ศ. ๒๔๖๓ มาตรา ๒๓)

                  (๓๓)  ฟ้องผู้ทำ สั่ง ขาย ซ่อม ปลอมแปลง เครื่องชั่ง เครื่องตวง เครื่องวัด โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. ๒๔๖๖ (พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. ๒๔๖๖ มาตรา ๓๙)

                  (๓๔)  ฟ้องผู้ทำการประมงโดยใช้เรือในเขตการประมงไทยโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย พ.ศ. ๒๔๘๒ (พ.ร.บ. ว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย พ.ศ. ๒๔๘๒ มาตรา ๑๓)

                  (๓๕)  ร้องขอให้ศาลสั่งจ่ายสินบนแก่ผู้นำจับการพนัน เฉพาะในกรณีที่มีผู้นำจับผู้กระทำผิด (พ.ร.บ. การพนัน พ.ศ. ๒๔๗๘ มาตรา ๑๕ ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๔๙๐ มาตรา ๓)

                  (๓๖)  ร้องขอให้ศาลสั่งจ่ายสินบนแก่ผู้นำจับผู้นำหรือปล่อยสัตว์พาหนะลงไปในทางน้ำชลประทาน ประเภท ๑ และประเภท ๒ หรือเหยียบย่ำคันคลอง ชานคลอง หรือบริเวณสิ่งก่อสร้างอันเกี่ยวกับการชลประทาน (พ.ร.บ. การชลประทานหลวง พ.ศ. ๒๔๘๕ มาตรา ๓๙ ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๑๒)

                  (๓๗)  ร้องขอให้ศาลสั่งจ่ายสินบนแก่ผู้นำจับและรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งจับกุมผู้กระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคและของอื่น ๆ ในภาวะคับขัน การศุลกากร และการสำรวจและกักกันข้าว (พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ. ๒๔๘๙ มาตรา ๙)

                  (๓๘)   ร้องขอให้ศาลสั่งจ่ายเงินบำเหน็จแก่ผู้นำจับผู้กระทำผิด ตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ (พ.ร.บ.การประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ มาตรา ๗๑)

                  (๓๙)  ร้องขอให้ศาลสั่งจ่ายเงินสินบนแก่ผู้นำจับและเงินรางวัลแก่ผู้จับกุมผู้กระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งสินค้า พ.ศ. ๒๕๒๒  (พ.ร.บ. การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๒๐)

                  (๔๐)  ร้องขอให้ศาลสั่งจ่ายเงินสินบนแก่ผู้นำจับและเงินรางวัลแก่ผู้จับกุมผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓๓ (พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓๓)

                  (๔๑)  ร้องขอให้ศาลสั่งจ่ายเงินสินบนนำจับแก่ผู้นำจับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ (พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ มาตรา ๗๔ จัตวา ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๒๘)

                  (๔๒)  มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ได้ในกรณีที่พนักงานอัยการมิได้เป็นโจทก์ในคดีเดิมซึ่งได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้บุคคลต้องรับโทษอาญา และมีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวนในการรวบรวมพยานหลักฐาน (พ.ร.บ.รื้อฟื้นคดีอาญาขั้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. ๒๕๒๖ มาตรา ๕, ๖, ๗) ถ้าเป็นกรณีที่ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำร้องมีสิทธิฟังการไต่สวนและซักค้านพยานผู้ร้อง ถ้าศาลสั่งรับคำร้อง มีสิทธิยื่นคำคัดค้านและนำพยานเข้าสืบได้ และเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้ว มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาได้ (พ.ร.บ.รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. ๒๕๒๖ มาตรา ๙,๑๑, ๑๕)

                   (๔๓)  ในการฟ้องคดีความผิดเรื่องกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ถ้าผู้ให้กู้ยืมเงินร้องขอ พนักงานอัยการมีอำนาจเรียกต้นเงินคืน และเรียกผลประโยชน์ตอบแทนที่เป็นสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินได้ โดยให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม และเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนผู้ให้กู้ยืมเงิน พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องผู้กู้ยืมเงินเป็นบุคคลล้มละลายได้ โดยถือว่าพนักงานอัยการมีฐานะและสิทธิหน้าที่ เสมือนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์และได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม ธรรมเนียมค่าฤชาธรรมเนียมหรือการต้องวางเงินประกันต่าง ๆ ตามกฎหมายล้มละลาย (พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๙, ๑๐)

                    (๔๔)  ในการฟ้องคดีผู้กระทำความผิดที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับทางหลวง หรือกฎหมายอันเกี่ยวกับรถนั้น ๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่สัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำหรือติดตั้งไว้ ให้พนักงานอัยการเรียกราคาหรือค่าเสียหายสำหรับสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรดังกล่าวด้วย (พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๖๓)

                    (๔๕)  พนักงานอัยการที่ถูกแต่งตั้งประจำศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจสั่งไม่ฟ้องเด็กหรือเยาวชนที่ต้องหาว่ากระทำความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินห้าปี ถ้าเห็นชอบด้วยกับความเห็นของผู้อำนวยการสถานพินิจที่แจ้งมาว่า เด็กหรือเยาวชนอาจกลับตนเป็นคนดีได้โดยไม่ต้องฟ้องและเด็กหรือเยาวชนนั้นยินยอมที่จะอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจ (พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบรัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๖๓)

                     (๔๖)  อัยการสูงสุดหรือผู้ทำการแทนเป็นผู้ชี้ชาดในกรณีที่ไม่แน่ว่าพนักงานสอบสวนคนใดในระหว่างหลายจังหวัดควรเป็นพนักงานสอบวนผู้รับผิดชอบ (ประมวลกฎหายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๑)

                     (๔๗)  อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นผู้ออกคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องในคดีฆาตกรรม ซึ่งผู้ตายถูกเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ฆ่าตาย หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๓)

                     (๔๘)  อัยการสูงสุดเป็นผู้ชี้ขาดความเห็นแย้ง กรณีที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดอื่นแย้งคำสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา ถอนฟ้อง ถอนฟ้องอุทธรณ์และถอนฟ้องฎีกาของพนักงานอัยการท้องที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๔๕ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙ มาตรา ๑๒)

                      (๔๙) อัยการสูงสุดเป็นผู้วินิจฉัยอนุญาตฟ้องหรือไม่อนุญาตฟ้องคดีกรณีพ้นกำหนดเวลาตาม มาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.๒๔๙๙ และมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๓๔ (พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙ มาตรา ๙ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๕๓)

                       (๕๐)  อัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการซึ่งอัยการสูงสุดได้มอบหมายเป็นผู้วินิจฉัยรับรอง หรือไม่รับรองอุทธรณ์ในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๓ ตรี พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. ๒๔๙๙ มาตรา ๒๒ ทวิ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๔๐)

                        (๕๑)  อัยการสูงสุดเป็นผู้วินิจฉัยรับรองหรือไม่รับรองฎีกาในคดีที่ต้องห้ามฎีกา (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๑)

                        (๕๒)  อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบในความผิดที่ได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย และเป็นความผิดที่มีโทษตามกฎหมายไทย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๐)

                         (๕๓)  อัยการสูงสุดหรือผู้ซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมายเป็นผู้ประสานงานกลางผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นกรรมการและข้าราชการอัยการคนหนึ่งตามที่คณะกรรมการแต่งตั้งเป็นเลขานุการตามพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. ๒๕๓๕ (พ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๖, ๘)

                         (๕๔)  อัยการสูงสุดเป็นกรรมการพิจารณาการโอนนักโทษ  (พ.ร.บ.การปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๙)

                         (๕๕)  ดำเนินการขอให้ศาลสั่งให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน เมื่อมีคำร้องขอจากรัฐบาลต่างประเทศ โดยทางทูตของรัฐบาลนั้นมายังรัฐบาลไทย (พ.ร.บ. ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. ๒๔๗๒ มาตรา ๘)

                    ๑.๒  เข้าร่วมถามปากคำเด็กที่เป็นผู้เสียหาย พยาน หรือผู้ต้องหา กับพนักงานสอบสวน นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ และบุคคลที่เด็กร้องขอ ในชั้นสอบสวนคดีอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ ๓ ปี ขึ้นไป หรือในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่ถึง ๓ ปี และผู้เสียหาย พยาน หรือผู้ต้องหา ซึ่งเป็นเด็กร้องขอ หรือในคดีทำร้ายร่างกายเด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปี (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๓ ทวิ, ๑๓๔ ทวิ, ๑๓๔ ตรี)

                    ๑.๓  ในคดีอาญา ซึ่งเจ้าพนักงานถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดีหรือในคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมายหรือเข้าร่วมกับเจ้าพนักงานกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดีเมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างก็ได้ (พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๑(๓))

                    ๑.๔  ในคดีศาลชั้นต้นลงโทษบุคคลใดโดยลำพัง ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ปล่อยผู้นั้น เมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควรจะฎีกาก็ได้ (พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.๒๔๙๘ มาตรา ๑๑ (๗)) เช่น คดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษผู้ละเมิดอำนาจศาล หากศาลอุทธรณ์พิพากษากลับยกฟ้อง พนักงานอัยการมีอำนาจฎีกาได้ เมื่อเห็นสมควร

.  รักษาผลประโยชน์ของรัฐ            

                  สำนักงานอัยการสูงสุด พิจารณาและให้คำปรึกษาในด้านกฎหมายแก่ส่วนราชการ หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ ดำเนินอรรถคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐและนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาในฐานะทนายแผ่นดิน ดังนี้

                  ๒.๑ ในคดีแพ่ง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ (พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๑(๒)) เช่น

                         (๑)  ว่าต่างหรือแก้ต่างแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างทนายความ ส่วนราชการเจ้าของคดีเป็นผู้ส่งเรื่องมาขอให้ว่าต่างแก้ต่างให้ ถ้าคดีมีทางผ่อนผันหรือตกลงประการใด ก็จะแจ้งให้ส่วนราชการเจ้าของคดีพิจารณาข้อผ่อนผันหรือข้อตกลงนั้น แล้วจะดำเนินการให้ต่อไป

                         (๒)  ร้องขอให้ศาลสั่งขายทอดตลาดเรือไทยที่จดทะเบียนแล้วแต่ตกเป็นของบุคคลผู้ไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะถือกรรมสิทธิ์เรือไทยได้หรือในกรณีที่เจ้าของเรือชาดคุณสมบัติที่จะเป็นเจ้าของและไม่จัดการแก้ไขให้ถูกต้อง และร้องขอให้ศาลสั่งขายทอดตลาดหุ้นในบริษัทจำกัดซึ่งเป็นเจ้าของเรือไทยซึ่งจำนวนหุ้นบกพร่อง จนทำให้บริษัทนั้นขาดลักษณะที่จะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เรือไทยได้ (พ.ร.บ. เรือไทย พ.ศ. ๒๔๘๑ มาตรา ๓๑,๓๔)

                         (๓)  ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใดมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติให้ประธานกรรมการส่งเอกสารทั้งหมดพร้อมทั้งรายงานการตรวจสอบไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อให้ทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกตินั้นตกเป็นของแผ่นดิน(พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓๘)

                       (๔)  ร้องขอให้ศาลสั่งถอนสัญชาติไทยของบุคคลซึ่งได้มาโดยการเกิดในราชอาณาจักร แต่บิดาเป็นคนต่างด้าว และได้กระทำการใด ๆ อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงหรือขัดต่อประโยชน์ของรัฐ หรือเป็นการเหยียดหยามประเทศชาติ หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ มาตรา ๑๗)

                          (๕)  มีสิทธิโต้แย้งคัดค้านการขอพิสูจน์สัญชาติของผู้ที่อ้างว่าเป็นคนมีสัญชาติไทย (พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๗)

                          (๖)  ว่าความในศาลพลเรือนชั้นยึดทรัพย์ของคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารแทนอัยการทหารต่อไปจนกว่าจะถึงที่สุด (พ.ร.บ. ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๕๒)

                          (๗)  รับดำเนินคดีตามสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับเรืออันเกิดจากความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของบุคคลใด ๆ ที่มีสาเหตุมาจากเรือหรือการดำเนินงานของเรือแทนเจ้าหนี้เมื่อเห็นสมควรและมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้กักเรือแทนเจ้าหนี้และได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมกักเรือตามพระราชบัญญัติการกักเรือ พ.ศ. ๒๕๓๔ (พ.ร.บ.การกักเรือ พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๓๐)

                       ๒.๒  ในคดีแพ่ง ซึ่งเจ้าพนักงานถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมกับเจ้าพนักงานกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างก็ได้ (พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๑ (๓))

                       ๒.๓  ในคดีแพ่งที่เทศบาลหรือสุขาภิบาลเป็นโจทก์หรือเป็นจำเลย ซึ่งมิใช่เป็นคดีที่พิพาทกับรัฐบาล เมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควรจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างก็ได้ (พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๑ (๔))

                       ๒.๔  ในคดีแพ่งที่นิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นเป็นโจทก์หรือเป็นจำเลย และมิใช่เป็นคดีที่พิพาทกับรัฐบาล เมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควรจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างก็ได้ (พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๑ (๕))

                       ๒.๕  ในกรณีที่ผิดสัญญาประกันจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น และในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ (พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๑(๘)) ความมุ่งหมายในข้อนี้ หมายถึงการผิดสัญญาประกันในชั้นศาล ไม่ใช่ผิดสัญญาประกันในชั้นพนักงานสอบสวน หรือชั้นพนักงานอัยการ

                        ๒.๖  เป็นที่ปรึกษากฎหมายของรัฐโดยให้คำปรึกษาหรือความเห็นทางกฎหมายหรือตรวจร่างสัญญาต่าง ๆ ก่อนลงนาม เช่น

                              (๑)  ตรวจร่างสัญญาที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ (เว้นแต่การให้สัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมและการให้ประทานบัตรตามกฎหมายว่าด้วยแร่) โดยเฉพาะในโครงการที่มีการลงทุนหรือมีทรัพย์สินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป (พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓, ๕, ๒๐)

                              (๒)  ตรวจร่างสัญญาที่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจส่งมา (มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 1 กันยายน ๒๕๓๕ ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร. ๐๒๐๕/ว ๑๓๘ ลงวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๓๕)

                              (๓)  ตรวจร่างเอกสารประกวดราคาและร่างสัญญา ที่หัวหน้าส่วนราชการส่งมา (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖, ๔๔, ๑๓๒)

                                (๔)  ตรวจร่างสัญญาที่หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นส่งมา (ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๒๕)

                                (๕)  ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นกรรมการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๓๕ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๑๓)

                                (๖)  ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๑๑)

.  คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

                        สำนักงานอัยการสูงสุดให้การคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ดังนี้

                         ๓.๑  ดำเนินการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น           

                                (๑)  ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายปล่อยผู้ต้องหา เมื่อเห็นว่าไม่จำเป็นต้องขังไว้ระหว่างสอบสวน (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๗๒ (๒))

                                (๒)  ยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อยบุคคลที่ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือถูกจำคุกผิดจากคำพิพากษาของศาล (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๒๔๐ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๙๐)

                                (๓)  เป็นผู้แทนผู้ไร้ความสามารถที่ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้แทนโดยชอบธรรมทำหน้าที่ไม่ได้ ตามคำสั่งศาลเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๕๖)

                                (๔)  เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค ตามที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแต่งตั้ง เพื่อให้มีหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่ผู้กระทำการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค (พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๙)

                                (๕)  ในคดีที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้ (พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๑๑ (๖) เช่น ฟ้องคดีแทนผู้สืบสันดานในการฟ้องบุพการีทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา อันได้แก่ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๖๒, ๑๕๖๕)

                                (๖)  ร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถ และถ้าเหตุที่ทำให้เป็นคนไร้ความสามารถได้สิ้นสุดไปแล้ว ก็ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอน คำสั่งที่ให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้น (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๘,๓๑)

                                 (๗)  ร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลซึ่งมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมา หรือมีเหตุอื่นใดทำนองเดียวกันนั้น จนไม่สามารถจะจัดทำการงานโดยตนเองได้หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว ให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและถ้าเหตุที่ศาลได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถได้สิ้นสุดไปแล้ว ก็ร้องขอให้ศาลสั่ง เพิกถอนคำสั่งที่ให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๒,๓๖)

                                 (๘)  ในคดีที่มีการร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนไร้ความสามารถเพราะวิกลจริต ถ้าทางพิจารณาได้ความว่าบุคคลนั้นไม่วิกลจริต แต่มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบก็ร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถได้ หรือในคดีที่มีการร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถเพราะมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ถ้าทางพิจารณาได้ความว่าบุคคลนั้นวิกลจริต ก็ร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนไร้ความสามารถได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๓)

                                 (๙)  ร้องขอให้ศาลสั่งให้ทำการไปพลางก่อนตามที่จำเป็นเพื่อจัดการทรัพย์สินของบุคคลผู้ไม่อยู่ ซึ่งไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยมิได้ตั้งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปไว้ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๘ วรรคแรก) และถ้าเวลาได้ล่วงเลยไปหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ไม่อยู่นั้นไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และไม่มีผู้ใดได้รับข่าวเกี่ยวกับบุคคลนั้น หรือนับแต่วันมีผู้ได้พบเห็นหรือได้ทราบข่าวมาเป็นครั้งหลังสุด ก็ร้องขอให้ศาลสั่งตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๘ วรรคสอง)

                                 (๑๐)  ในกรณีที่ผู้ไม่อยู่ได้ตั้งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปไว้ และสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไป หรือปรากฏว่าตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปจัดการทรัพย์สินในลักษณะที่อาจเสียหายแก่ผู้ไม่อยู่ ก็ร้องขอให้ศาล สั่งได้เช่นเดียวกับข้อ (๙) (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๙)

                                 (๑๑)  ร้องขอให้ศาลสั่งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปจัดทำบัญชีทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๐) หรือขอให้ศาลสั่งให้ผู้จัดการทรัพย์สินหาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ตลอดจนการมอบคืนทรัพย์สินนั้น หรือแถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ หรือถอดถอนผู้จัดการทรัพย์สิน และตั้งผู้อื่นให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินแทนต่อไป (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๖) หรือขอให้ศาลสั่งกำหนดบำเหน็จ งด ลด เพิ่มหรือกลับให้บำเหน็จ แก่ผู้จัดการทรัพย์สินเมื่อพฤติการณ์เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินได้เปลี่ยนแปลงไป (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๗)

                                 (๑๒)  ร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลเป็นคนสาบสูญกรณีที่บุคคลนั้นได้ไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลาห้าปี หรือกรณีที่บุคคลนั้นได้ไปอยู่และหายไปในการรบหรือสงคราม หรือได้เดินทางไปกับยานพาหนะที่อับปาง ถูกทำลาย หรือสูญหายไป หรือตกอยู่ในเหตุอื่นที่เป็นอันตรายแก่ชีวิตตลอดระยะเวลาสองปี โดยนับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง หรือนับแต่วันที่ยานพาหนะอับปางถูกทำลาย หรือสูญหายไป หรือนับแต่วันที่เหตุอื่นนั้นได้ผ่านพ้นไป แล้วแต่กรณี (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๑)

                                 (๑๓)  ร้องขอให้ศาลสั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญเมื่อพิสูจน์ได้ว่าบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นยังคงมีชีวิตอยู่ หรือว่าตายในเวลาอื่นผิดไปจากเวลาดังกล่าวในข้อ (๑๒) (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๓)

                                 (๑๔)  ร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้แทนของนิติบุคคลชั่วคราว ในกรณีที่มีตำแหน่งว่างลงในจำนวนผู้แทนของนิติบุคคลและถ้าปล่อยตำแหน่งว่างไว้จะเกิดความเสียหาย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๓)

                                 (๑๕)  ร้องขอให้ศาลแต่งตั้งผู้แทนเฉพาะการในกรณีประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนของนิติบุคคลในการอันใดเป็นเหตุให้ไม่มีผู้แทนของนิติบุคคลเหลืออยู่ ไม่พอจะเป็นองค์ประชุม หรือไม่พอจะกระทำการอันนั้นได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๗๕)

                                 (๑๖)  ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติการประชุมใหญ่ของสมาคมที่ได้มีการนัดประชุมหรือการลงมติโดยไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบังคับหรือกฎหมาย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๐๐)

                                 (๑๗)  ร้องขอให้ศาลตั้งชำระบัญชีในกรณีที่มีการเลิกสมาคม และไม่มีผู้ชำระบัญชี (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๐๖, ๑๒๕๑)

                                 (๑๘)  เป็นผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิในกรณีผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิถึงแก่ความตายก่อนนายทะเบียนรับจดทะเบียนและทายาทหรือผู้จัดการมรดก หรือผู้ซึ่งผู้ตายมอบหมายไม่ดำเนินการขอตั้งมูลนิธิต่อไปภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๗ วรรคแรก)

                                 (๑๙)  ร้องขอให้ศาลจัดสรรทรัพย์สินให้แก่นิติบุคคลอื่นซึ่งมีวัตถุประสงค์ใกล้ชิดที่สุดกับความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรม ในกรณีที่ไม่สามารถจัดตั้งมูลนิธิขึ้นได้ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ตายกำหนด (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๗ วรรคสอง, ๑๖๗๙ วรรคสอง)

                                 (๒๐)  ขอจดทะเบียนมูลนิธิเมื่อทายาทหรือผู้จัดการมรดกมิได้ขอจดทะเบียนก่อตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรมภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๘ วรรคสอง, ๑๖๗๗)

                                 (๒๑)  ขอจดทะเบียนมูลนิธิเมื่อผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนมูลนิธิตามพินัยกรรมไม่ดำเนินการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๑๑๕ จนเป็นเหตุให้นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนมูลนิธิเพราะเหตุดังกล่าว (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๑๘ วรรคสาม)

                                  (๒๒)  ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนถอนกรรมการมูลนิธิบางคนหรือคณะกรรมการของมูลนิธิในกรณีที่ดำเนินกิจการของมูลนิธิผิดพลาดเสื่อมเสียต่อมูลนิธิหรือดำเนินกิจการฝ่าฝืนกฎหมายหรือข้อบังคับของมูลนิธิ หรือกลายเป็นผู้มีฐานะหรือความประพฤติไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๙)

                                  (๒๓)  ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเลิกมูลนิธิเพราะวัตถุประสงค์ของมูลนิธิขัดต่อกฎหมายหรือมูลนิธิกระทำการขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ หรือมูลนิธิไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ หรือหยุดดำเนินกิจการตั้งแต่สองปีขึ้นไป (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๑)

                                  (๒๔)  ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีของมูลนิธิกรณีเลิกมูลนิธิเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย โดยไม่มีผู้ชำระบัญชีตามข้อบังคับของมูลนิธิ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓, ๑๒๕๑)

                                  (๒๕)  ร้องขอให้ศาลจัดสรรทรัพย์สินของมูลนิธิเมื่อได้ชำระบัญชีแล้วให้แก่มูลนิธิหรือนิติบุคคลอื่นที่มีวัตถุประสงค์ใกล้ชิดที่สุดกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้น (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๔)

                                  (๒๖)  ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ชำระบัญชีที่ห้างหุ้นส่วนบริษัทที่เลิกกันเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย โดยไม่มีผู้ชำระบัญชีตามข้อสัญญาหรือข้อบังคับของห้างหุ้นส่วนบริษัทนั้น (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๒๕๑)

                                  (๒๗)  ร้องขอให้ศาลตั้งผู้อื่นนอกจากภริยาหรือสามีเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ ถ้ามีเหตุสำคัญ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๖๓)

                                  (๒๘)  ร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ ตามที่ผู้มีส่วนได้เสีย ได้ร้องขอมายังพนักงานอัยการ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๙๖)

                                  (๒๙)  พิจารณาสำเนาคำร้องที่ศาลส่งมาเพื่อให้ดำเนินคดีแทนเด็กซึ่งไม่มีชีวิตอยู่แล้ว ในกรณีที่ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีของมารดาเด็กนั้นได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้แสดงว่าเด็กนั้นไม่ได้เป็นบุตรของตน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๓๙)

                                  (๓๐)  ฟ้องคดีแทนเด็กปฏิเสธความเป็นบุตรโดยขอบด้วยกฎหมายของชาย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๔๕)

                                  (๓๑)  ร้องขอให้ศาลตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็กในคดีฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรในกรณีเด็กไม่มีผู้แทนโดยขอบธรรม หรือมีแต่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๕๖)

                                  (๓๒)  ร้องขอให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครองจากคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือสั่งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดทำบัญชีทรัพย์สินและลงชื่อบุตรของคู่สมรสนั้น เป็นเจ้าของรวมในเอกสารสำคัญแทนโดยให้คู่สมรสนั้นเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ในกรณีที่คู่สมรสนั้นได้ทำการสมรสใหม่โดยมิได้จัดการทรัพย์สินของบุตรให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดก่อน หรือในกรณีที่คู่สมรสนั้นไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลที่ให้คู่สมรสนั้นปฏิบัติการแบ่งแยกทรัพย์สินและทำบัญชีทรัพย์สินของบุตรภายในเวลาที่กำหนดภายหลังการสมรสใหม่ตามที่ ศาลได้อนุญาต (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๗๙)

                                  (๓๓)  ร้องขอให้ศาลสั่งถอนอำนาจปกครองหรืออำนาจจัดการทรัพย์สินในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือใช้อำนาจปกครองโดยมิชอบ หรือประพฤติชั่วร้าย หรือเป็นบุคคลล้มละลาย หรือจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ในทางที่ผิดจนอาจเป็นภัยแก่ทรัพย์สิน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๘๒)

                                  (๓๔)  ร้องขอให้ศาลสั่งตั้งผู้ปกครองในกรณีที่บุคคลยังไม่บรรลุนิติภาวะและไม่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๘๕, ๑๕๘๖) และร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครองและมีคำสั่งเกี่ยวกับผู้ปกครองต่อไปตามที่เห็นสมควร เนื่องจากเป็นผู้ต้องห้ามมิให้เป็นผู้ปกครองตาม มาตรา ๑๕๘๗ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๘๘)

                                  (๓๕)  ร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ปกครองหาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครองตลอดจนการมอบคืนทรัพย์สินนั้น หรือแถลงถึงความ เป็นอยู่แห่งทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครอง (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๙๗)

                                  (๓๖)  ร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้ปกครองในกรณีที่ละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่ หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในหน้าที่ หรือใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือประพฤติมิชอบซึ่งไม่สมควรแก่หน้าที่ หรือหย่อนความสามารถในหน้าที่จนน่าจะเป็นอันตรายแก่ประโยชน์ของผู้อยู่ในปกครอง หรือมีกรณีดังบัญญัติไว้ใน มาตรา ๑๕๘๗ (๓) (๔) หรือ (๕) (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๙๘/๘, ๑๕๙๘/๙)

                                  (๓๗)  ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรม (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๙๘/๒๑, ๑๕๙๘/๒๒, ๑๕๙๘/๒๓) การเลิกรับบุตรบุญธรรม (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๙๘/๓๑)

                                  (๓๘)  ฟ้องคดีแทนบุตรบุญธรรมเกี่ยวกับการขอเลิกรับบุตรบุญธรรม (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๙๘/๓๕)

                                  (๓๙)  ร้องขอให้ศาลสั่งตั้งผู้ปกครอง ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ ในกรณีที่มรดกตกทอดแก่ผู้เยาว์ หรือบุคคลวิกลจริต หรือบุคคลผู้ไม่สามารถจะจัดการงานของตนเองได้ และบุคคลนั้นยังไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๑๐)

                                   (๔๐)  ร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก ในกรณีที่เจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์หรือผู้จัดการมรดก หรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือในการแบ่งปันมรดกหรือข้อกำหนดพินัยกรรมตั้งผู้จัดการมรดกไม่มีผลบังคับ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๗๑๓)

                             ๓.๒  ให้บริการช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน เช่น การให้คำปรึกษาหารือทางกฎหมาย การจัดทำนิติกรรมและสัญญา การประนอมข้อพิพาท และการให้ความช่วยเหลือในทางอรรถคดี

                             ๓.๓  เผยแพร่ความรู้ทางด้านสิทธิมนุษยชนและความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนทั่วไป ทั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศโดยผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ รวมทั้งการออกไปพลประชาชนในท้องถิ่น

.  หน้าที่อื่น ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น

     (๑)  อัยการสูงสุดเป็นผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้บุคคล หรือพรรคการเมืองใดเลิกหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๖๓)

     (๒)  อัยการสูงสุด มีอำนาจฟ้องคดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ หลังจากพ้นตำแหน่งหรือตายต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำนางตำแหน่งทางการเมือง (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๒๙๔, ๓๐๕ วรรคห้า)

     (๓)  อัยการสูงสุด มีอำนาจฟ้องคดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือผู้ดำรงตำแหน่งตาม มาตรา ๓๓๐ ซึ่งมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมหรือ ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๓๐๓, ๓๐๕ วรรคห้า)

     (๔)  อัยการสูงสุดเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๔)

     (๕)  อัยการสูงสุดเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๑๙ มาตรา ๕)

     (๖)  อัยการสูงสุดเป็นกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด (พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๕)

     (๗)  อัยการสูงสุดเป็นกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๑๕)

     (๘)  อัยการสูงสุดหรือผู้แทนเป็นกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ (พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๙)

     (๙)  อัยการสูงสุดหรือผู้แทนเป็นกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๗)

     (๑๐)  อัยการสูงสุดเป็นกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองและอัยการสูงสุด หรือผู้แทนเป็นกรรมการเปรียบเทียบ (พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๖, ๘๔)

     (๑๑)  อัยการสูงสุดเป็นกรรมการพิจารณาคนเข้าเมืองและอัยการสูงสุด หรือผู้แทนเป็นกรรมการเปรียบเทียบ (พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๖, ๘๔)

     (๑๒)  อัยการสูงสุดเป็นกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นกรรมการจัดรูปที่ดินกรุงเทนมหานคร และอัยการจังหวัดเป็นกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัด (พ.ร.บ.จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๗ มาตรา ๖, ๗, ๘)

     (๑๓)  ในกรุงเทพมหานคร ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด หรือในจังหวัดอื่นอัยการจังหวัด หรือผู้แทนเป็นกรรมการพิจารณาอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรที่อำเภอไม่มีหน้าที่ประเมิน (ประมวลรัษฎากร มาตรา ๓๐ ซึ่งแก้ไขโดย (ฉบับที่ ๑๖) พ.ศ. ๒๕๐๒ มาตรา ๙)

     (๑๔)  ในกรุงเทพมหานคร ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุดหรือในจังหวัดอื่น อัยการจังหวัดเป็นกรรมการ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด (พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด (พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๒๔ มาตรา ๗)

     (๑๕)  ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นกรรมการพิจารณาการทำงานของคนต่างด้าว (พ.ร.บ. การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๒๔)

     (๑๖)  ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (พ.ร.บ. การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๙)

     (๑๗)  อัยการจังหวัดเป็นกรรมการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น (พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๕๓)

     (๑๘)  อัยการจังหวัดเป็นกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด (พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๗)

     (๑๙)  อัยการจังหวัดเป็นกรรมการควบคุมสินค้าตามชายแดน (พ.ร.ก. ควบคุมสินค้าตามชายแดน พ.ศ. ๒๕๒๔ มาตรา ๙)

     (๒๐)  อัยการจังหวัดหรือผู้แทนเป็นอนุกรรมการข้าราชการตำรวจประจำจังหวัด (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. ๒๕๒๑ มาตรา ๓๙ ทวิ ซึ่งแก้ไขโดยข้อ ๙ แห่งประกาศคณะ รสช. ฉบับที่ ๓๘)

     (๒๑)  อัยการจังหวัดเป็นผู้แทนเป็นกรรมการคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ ประจำจังหวัด (พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๑๖)

     (๒๒)  เป็นกรรมการเรือนจำเพื่อตรวจพิจารณากิจการเรือนจำ และให้คำแนะนำแก่เจ้าพนักงานเรือนจำ (พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. ๒๔๗๙ มาตรา ๔๔)

      (๒๓)  เป็นอัยการทหารตามคำสั่งของผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการตามความในมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ (พ.ร.บ. ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๓๗)

      (๒๔)  ให้คำแนะนำปรึกษาในการสอบสวนคดีเกี่ยวกับป่าไม้หรือทรัพยากรธรรมชาติ กรณีที่
ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอใช้อำนาจเข้าควบคุมการสอบสวน (หนังสือที่ มท ๑๒๐๑/ว ๖๘๖ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๒๗ และหนังสือที่ มท ๑๒๐๑/ว ๔๗๒ ลงวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๘)

      (๒๕)  ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำผิดฐานฟอกเงินตกเป็นของแผ่นดิน (พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔๙)

      (๒๖)  ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำผิดฐานฟอกเงินไว้ชั่วคราว หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าอาจมีการโอนจำหน่าย หรือยักย้ายไปเสียซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำผิด (พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๕๕)

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

ทำเนียบผู้บริหาร
สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส

 รายนามตั้งแต่ถึง
 รองอำมาตย์โท หลวงคีรีรัฐพิศาล     ๒๔๖๐ –
 นายพิณ เจริญส่ง  –  –
 นายเริ่ม ผ่องแผ้ว  –  –
 นายวิทูร จิวาลักษณ์  –  –
 นายเชื่อม ลอยโพยม      –  –
 นายสุธรรม เมธากุล  –  –
 นายธรรมนูญ สมบัติทอง –   –
 นายศรีทัย มุสิกธรรม –   –
 นายพ้อง บุญภินนท์  –  –
 นายวิชาญ ราชรักษา  –  –
 นายโกวิท เกิดศิริรักษ์  –  –
 นายสุธี ณ พัทลุง  –  –
 นายวรุจจ์พร นิมิตกุล  –  –
 นายสัมพันธ์ สารธน  –  –
 นายสวามิภักดิ์ ดิษยบุตร  –  –
 นายนิพนธ์ ภิญโญ  –  –
 นายวรวิทย์ อารีวิทยาเลิศ  –  –
 นายสุภพ บุญยิ่งยง    –  –
 นายวิเชฏฐ์ มุสิกรังษี๑ พฤษภาคม ๒๕๔๑๓๐ เมษายน ๒๕๔๔
 นายอายุธ สมานเดชา๑ พฤษภาคม ๒๕๔๔๓ พฤษภาคม ๒๕๔๕
 นายสมพิศ แสะอะหมัด   ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๕๒๕ เมษายน ๒๕๔๖
 นายเกรียง โพธิ์แก้ว๒๘ เมษายน ๒๕๔๖ ๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗
 นายจิโรจน์ เอี่ยมโอภาส ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๗  ๓ เมษายน ๒๕๔๘
 นายวิชัย พรดุษฎีกุล๔ เมษายน ๒๕๔๘๓๐ เมษายน ๒๕๔๙
 นายวีระศักดิ์ จีวะรัตน์ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙๑ เมษายน ๒๕๕๐
 นายโสภณ ทิพย์บำรุง ๒ เมษายน ๒๕๕๐๓๐ มีนาคม ๒๕๕๑
 นายมงคล ไชยสิงห์๑ เมษายน ๒๕๕๑๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒
 นายโสภณ ทิพย์บำรุง๑ เมษายน ๒๕๕๒๓๐ กันยายน ๒๕๕๖
 นายธณิต  นกหนู๗ ตุลาคม ๒๕๕๖ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ 
 นายอารยะ  กระโหมวงศ์๑ เมษายน ๒๕๕๙๑ เมษายน ๒๕๖๑
 นายชลิต บัวเกตุ๒ เมษายน ๒๕๖๑ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓ 
 นายภูษิต  ตีระวนิชพงษ์๑ เมษายน ๒๕๖๓๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔
 นายตะวัน  เพชรรัตน์๑ เมษายน ๒๕๖๔๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖
นายณัฐพงษ์ วงษ์ศุทธิภากร๑ เมษายน ๒๕๖๖ถึงปัจจุบัน

อัยการศาลสูงจังหวัดนราธิวาส

นายตะวัน เพชรรัตน์
อัยการศาลสูงจังหวัดนราธิวาส

ส่วนสนับสนุนงานอัยการศาลสูงจังหวัดนราธิวาส

นางกรองแก้ว วรพันธ์
นิติกรชำนาญการ

นายสัณหณัฐ เทพลักษณ์
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวนาวาตี ดอรอแต
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวนริศา ตีเตะ
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

ข้าราชการอัยการ

นายณัฐพงษ์ วงษ์ศุทธิภากร
อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค 9

รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดนราธิวาส

นายชาติทนงค์ กอเชื่อคุก
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฎิบัติหน้าที่ผู้กลั่นกรองงาน

นางสาวมนต์ทิพย์ ชลนาคเกษม
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฎิบัติหน้าที่ผู้กลั่นกรองงาน

นายสินทวิชญ์ มโนภาส
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฎิบัติหน้าที่ผู้กลั่นกรองงาน

นายปราการ สังขอินทรี
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฎิบัติหน้าที่ผู้กลั่นกรองงาน

นายสุริยัน จันทา
รองอัยการจังหวัดนราธิวาส

นายศุภฤกษ์ ทวีอรรถมงคล
รองอัยการจังหวัดนราธิวาส

นายตฤณ ตุณณการ
รองอัยการจังหวัดนราธิวาส

นายเสกสรรค์ จันทรพิทักษ์
รองอัยการจังหวัดนราธิวาส

นายพิสุทธิ์  บัวแย้ม
รองอัยการจังหวัดนราธิวาส

นางสาวเสาวลักษณ์  ปิติ
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นายสุรศักดิ์ ประภายสาธก
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นางสาวอริศรา ช่อพยอม
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นายภูมิกิจ กวีพันธ์
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นางสาวชัญญณัส ชูบัว
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

ข้าราชการธุรการ

สำนักอำนวยการ

นางนันทิญา วัฒนโสภิน
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

ฝ่ายบริหารทั่วไป

นางสาวมายานี แดมะยุ
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางไซน๊ะ หะยีอับดุลรอแม
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวสุทธิษา เทพพรหม
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวสายใจ ดำสกุล
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

ฝ่ายการคลังและพัสดุ

นายอนันต์ อิษฏ์มรรษ
นักวิชาการพัสดุชำนาญการ

นายอภิเชษฐ์ วิบูลศรีสกุล
นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ

นางสาวศิริพร จันทร์สกุล
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ

ฝ่ายบริหารงานคดี

นางสาวภัควลัญชญ์ บุศย์ศิริน
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นางสาวนงรัตน์ แดงพะเนิน
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นางสาวแวอามาลีนา แวอูเซ็ง
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นางสาวศรัญญา ดำมินเสส
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

นางสาวมารีเยาะ นะดือรานิง
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน

ฝ่ายนิติการ


นิติกรชำนาญการพิเศษ

นายสุรินทร์ อารง
นิติกรชำนาญการ

นางสาววิบูลย์ แซ่หว่อง
นิติกรชำนาญการ

นายณัฐวัชร นิยมยาตรา
นิติกรปฏิบัติการ

นายศิริวัฒน์  เขียวขำ
นิติกรปฏิบัติการ

นายก้องสกุล  สุขกระจ่าง
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวเสาวภา สาเม๊าะ
นักส่งเสริมความเป็นธรรม

จ้างเหมาบริการ

นางสาววิรัชติยา บริราช
เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

นายแวอัสมี แวยูนุ
ล่ามภาษายาวี

นายมะตอลา ดอเลาะ
พนักงานขับรถยนต์

นายอับดุลฟาตะห์ หะยีแวสะมะแอ
พนักงานขับรถยนต์

นายมานะ อาแวจิ
พนักงานดูแลและบำรุงรักษาสวน

นางสะอิด๊ะ ดอแม
พนักงานทำความสะอาด

นางนีรอนี สนิ
พนักงานทำความสะอาด

นางสาวนิดา นิยอ
พนักงานทำความสะอาด

เอกสารเผยแพร่

 ลำดับที่ชื่อสถานีตำรวจภูธรหมายเลขโทรศัพท์
1.สภ.เมืองนราธิวาส073-514278, 073-513105
2.สภ.สุไหงโก-ลก073-611070, 073-611544
3.สภ.รือเสาะ073-571001, 073-571112
4.สภ.แว้ง073-659005, 073-659663-4
5.สภ.สุไหงปาดี073-651163, 073-651157
6.สภ.บาเจาะ073-599286, 073-599695
7.สภ.ระแงะ073-671046, 073-671967
8.สภ.ตากใบ073-581222, 073-581194
9.สภ.ยี่งอ073-591098, 073-591127
10.สภ.จะแนะ073-543553, 073-543508
11.สภ.สุคิริน073-656042, 073-656049
12.สภ.เจาะไอร้อง073-544055, 073-544053
13.สภ.ศรีสาคร073-561069
14.สภ.ตันหยง073-535063, 073-535064
15.สภ.โคกเคียน073-565100
16.สภ.บูเก๊ะตา (โล๊ะจูด)073-584066
17.สภ.สากอ073-653570
18.สภ.ปะลุกาสาเมาะ073-563287
19.สภ.มูโนะ073-621028

สิทธิพิเศษสำหรับผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้

 ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ การประกันชีวิต รับพระราชทานเหรียญชายแดน สิทธิลาพักผ่อน สำหรับวันลาพักผ่อน เมื่อทำงานประจำต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า ๓ เดือน มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีในปีหนึ่งได้เพิ่มขึ้นอีก ๑๐ วันทำการ อ่านเพิ่มเติมในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยบำเหน็จความชอบสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๐
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยบำเหน็จความชอบสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๐

 ได้รับเงินรางวัลพิเศษ ตามระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕
ระเบียบคณะกรรมการอัยการว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๕

สำหรับพนักงานราชการและลูกจ้าง
ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยเงินรางวัลตอบแทนพิเศษเพื่อมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานอัยการในพื้นที่พิเศษชายแดนภาคใต้สำหรับพนักงานราชการและลูกจ้าง พ.ศ. ๒๕๕๖

ชื่อตำแหน่ง ชื่อย่อตำแหน่ง
อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษอชชพ.
อัยการผู้เชี่ยวชาญอชช.
อัยการจังหวัดอจ.
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุดอจ.อส.
อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุดอ.อส.
รองอัยการจังหวัดรอจ.
อัยการประจำกองอ.กอง
อัยการจังหวัดผู้ช่วยอจช.
อัยการผู้ช่วยอช.
อัยการอาวุโสอวส.

ชื่อตำแหน่งภาษาอังกฤษของพนักงานอัยการ

อัยการสูงสุดAttorney General
รองอัยการสูงสุดDeputy Attorney General
ผู้ตรวจการอัยการInspector General
อธิบดีอัยการDirector General
อธิบดีอัยการภาคDirector General for Regional Public Prosecution
รองอธิบดีอัยการDeputy Director General
รองอธิบดีอัยการภาคDeputy Director General for Regional Public Prosecution
อัยการพิเศษฝ่ายExecutive Director
อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษSenior Expert Public Prosecutor
อัยการผู้เชี่ยวชาญExpert Public Prosecutor
อัยการจังหวัดProvincial Chief Public Prosecutor
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุดProvincial Chief Public Prosecutor attached to the Office of the Attorney General
อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุดPublic Prosecutor attached to the Office of the Attorney General
รองอัยการจังหวัดDeputy Provincial Chief Public Prosecutor
อัยการประจำกองDivisional Public Prosecutor
อัยการจังหวัดผู้ช่วยAssistant Provincial Public Prosecutor
อัยการผู้ช่วยAssistant Public Prosecutor
อัยการอาวุโสSenior Public Prosecutor
เลขานุการอัยการสูงสุดSecretary to the Attorney General
รองเลขานุการอัยการสูงสุดDeputy Secretary to the Attorney General
ผู้ช่วยเลขานุการอัยการสูงสุดAssistant Secretary to the Attorney General
เลขานุการรองอัยการสูงสุดSecretary to the Deputy Attorney General
ผู้ช่วยเลขานุการรองอัยการสูงสุดAssistant Secretary to the Deputy Attorney General
เลขานุการผู้ตรวจการอัยการSecretary to the Inspector General
ผู้ช่วยเลขานุการผู้ตรวจการอัยการAssistant Secretary to the Inspector General
เลขานุการสำนักงานSecretary of the Department
ผู้อำนวยการDirector

การขอตั้งผู้จัดการมรดก

แบบฟอร์มที่ใช้ในการขอตั้งผู้จัดการมรดก

มีแบบขอรับคำปรึกษาและแนะนำทางกฎหมาย, บัญชีเครือญาติ และหนังสือให้ความยินยอม ซึ่งสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ หัวข้อดาวน์โหลดค่ะ

เอกสารที่ต้องนำมายื่นร้องขอในการจัดการมรดก

  • ๑.    ทะเบียนบ้านของผู้ตาย
  • ๒.    ทะเบียนบ้านของผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก
  • ๓.    ใบมรณบัตรของผู้ตาย
  • ๔.    ใบมรณบัตรของบิดามารดา กรณีบิดามารดาของผู้ตาย (เจ้ามรดก)   ถึงแก่ความตายก่อนแล้ว
  • ๕.     ทะเบียนสมรสของสามี หรือ ภรรยาของผู้ตาย
  •        (ถ้าเป็นใบทะเบียนสมรสของอิสลามต้องมีคำแปลและหนังสือรับรองการสมรส)
  • ๖.     ทะเบียนการหย่าของสามี/ภรรยาของผู้ตาย
  • ๗.     ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล   ของทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
  • ๘.     สูติบัตรของบุตรของผู้ตาย กรณีบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือ   ไม่สามารถให้ความยินยอมได้
  • ๙.     บัตรประจำตัวข้าราชการ บัตรประจำตัวประชาชน   ของผู้ร้องขอฯ
  • ๑๐.    พินัยกรรมของผู้ตาย (ถ้ามี)
  • ๑๑. หนังสือให้ความยินยอมในการร้องขอจัดการมรดก
  • ๑๒.   บัญชีเครือญาติ
  • ๑๓.   เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย เช่น   โฉนดที่ดินและสัญญาจำนองทะเบียนรถจักรยานยนต์ ทะเบียนรถยนต์        อาวุธปืน   สมุดเงินฝากธนาคาร  ใบหุ้น และ อื่น ๆ เป็นต้น
  • ๑๔. บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ บัตรประจำตัวประชาชน   และทะเบียนบ้านของผู้ให้ความยินยอมทุกคน
  • ๑๕.  ทะเบียนสมรสของบิดาหรือมารดาของผู้ตาย
            (ถ้าเป็นใบทะเบียนสมรสของอิสลามต้องมีคำแปลและหนังสือรับรองการสมรส)

หมายเหตุ      จัดเตรียมสำเนาเอกสารทุกรายการพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องจำนวน     ๒  ชุด

หลักทรัพย์ที่ใช้ในการประกันตัวผู้ต้องหา

โฉนดที่ดิน, นส. ๓ ก หรือ นส.๓

พันธบัตรรัฐบาล, สลากออมสิน

สมุดเงินฝากประจำ

ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย

เช็คที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย

หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย

บุคคลค้ำประกัน

ใช้หลักทรัพย์ประกัน ต้องมีเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้

    กรณีใช้  โฉนดที่ดิน, นส. ๓ ก หรือ นส.๓          หนังสือรับรองการประเมินราคาที่ดิน

    กรณีใช้สมุดเงินฝากธนาคารประเภทประจำ  หนังสือรับรองยอดสมุดฝากคงเหลือ

    กรณีใช้เงินสด, พันธบัตรรัฐบาล,  สลากออมสิน, ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้จ่าย,  ตั๋วแลกเงินธนาคารเป็นผู้ออกตั๋ว, เช็คธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย  หรือรับรอง และไม่ใช่เช็คลงวันที่ล่วงหน้า, หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย

    ใช้บุคคลเป็นประกันต้องมีเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
หนังสือรับรองจากต้นสังกัดแสดงสถานะ ตำแหน่งระดับอัตราเงินเดือน

การใช้หลักประกันเดิม
๑. มีการวางเงินสดหรือหลักประกันอื่นเป็นประกันต่อพนักงานสอบสวน  และยังไม่ได้รับหลักประกันคืน
๒. พนักงานอัยการเห็นสมควร ถือว่าทรัพย์สินนั้นเป็นหลักประกันชั้นพนักงานอัยการ

หน่วยงานของรัฐขอปล่อยตัวชั่วคราว

๑. เป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ
๒. ตกเป็นผู้ต้องหาเนื่องมาจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่
๓. หน่วยงานของรัฐหรือผู้รับมอบอำนาจขอใช้บุคคลแทนการนำเงินสดหรือหลักทรัพย์มาวางประกัน

หลักฐานในการยื่นขอประกันตัว
  ๑. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ  พนักงานรัฐวิสาหกิจ
  หรือใบอนุญาตขับรถของเจ้าของหลักทรัพย์
  ๒. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ  พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือใบอนุญาตขับรถของผู้ต้องหาหรือจำเลย
  ๓. ทะเบียนบ้านของเจ้าของหลักทรัพย์
  ๔. ทะเบียนบ้านของผู้ต้องหาหรือจำเลย

หลักฐานการประกันต้องนำไปแสดงเพิ่มเติมเฉพาะกรณี
  กรณีมีคู่สมรส  (กรณีเจ้าของหลักทรัพย์มีคู่สมรส)
๑. หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรส
๒. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรข้าราชการ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือสำเนาใบอนุญาตขับรถของคู่สมรส

กรณีเจ้าของหลักทรัพย์หย่าจากคู่สมรสแล้ว
  
สำเนาใบสำคัญการหย่า

กรณีคู่สมรสเจ้าของหลักทรัพย์ถึงแก่กรรมแล้ว
  
๑. สำเนามรณบัตร  หรือ
  ๒. ทะเบียนบ้าน ประทับคำว่า “ตาย” หน้าชื่อคู่สมรสพร้อมสำเนาอีก  ๑ ชุด

กรณี  ชื่อตัวหรือชื่อสกุลเจ้าของหลักทรัพย์ตามบัตรของทางราชการไม่ตรงกับที่ปรากฏในหลักทรัพย์
  หนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลเดียวกัน ออก ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่เจ้าของหลักทรัพย์มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

กรณีชื่อตัวหรือชื่อสกุลเจ้าของหลักทรัพย์ตามบัตรของทางราชการไม่ตรงกับที่ปรากฏในหลักทรัพย์
    เนื่องจากการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุล
  
สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว  – ชื่อสกุล
กรณีชื่อสกุลเจ้าของหลักทรัพย์ตามบัตรของทางราชการไม่ตรงกับที่ปรากฏ
ในหลักทรัพย์เนื่องจากการเปลี่ยนชื่อสกุลเพราะทำการสมรสแล้ว
สำเนาใบสำคัญการสมรส

กรณีมอบอำนาจ  กรณีเจ้าของหลักทรัพย์ต้องการมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการประกันแทน
๑. ทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ  พร้อมสำเนาอีก ๑ ชุด
๒. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ  พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือใบอนุญาตขับรถของผู้มอบอำนาจพร้อมสำเนา
๓. หนังสือมอบอำนาจ โดยผู้มอบและผู้รับมอบต้องมาทำที่สำนักงานอัยการด้วยตนเอง  ลงชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่
๔. หรือหนังสือมอบอำนาจโดยผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจไปทำที่อำเภอ
ลงชื่อต่อหน้าและให้นายอำนาจ หรือผู้ทำการแทน หรือพนักงานฝ่ายปกครองลงลายมือชื่อรับรอง  และประทับตราประจำตำแหน่งเป็นสำคัญ

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส
ศูนย์ราชการ ตำบลโคกเคียน
อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ๙๖๐๐๐
โทรศัพท์
ชั้นที่ ๑     ๐ ๗๓๕๓ ๒๐๓๖
ชั้นที่ ๒   ห้องธุรการ
๐ ๗๓๕๓ ๒๐๓๒
๐ ๗๓๕๓ ๒๐๓๗
โทรสาร  ๐ ๗๓๕๓ ๒๐๓๒