รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์
และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์

      สำนักงานอัยการสูงสุด แต่เดิมเป็นกรมอัยการ สังกัดกระทรวงมหาดไทย เครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดจึงเป็นรูปตราราชสีห์ ต่อมาพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 ได้บัญญัติให้สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี จึงได้มี การกำหนดเครื่องหมายราชการและเครื่องหมายแสดงสังกัดขึ้นใหม่ สำหรับใช้เป็นเครื่องหมายราชการของสำนักงานอัยการสูงสุดและเป็นเครื่องหมายแสดงสังกัด ใช้กับเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายอัยการ ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ได้บัญญัติให้นำกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน มาใช้บังคับกับข้าราชการธุรการของสำนักงานอัยการสูงสุด และกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ได้บัญญัติให้เครื่องหมายแบบข้าราชการพลเรือน เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน และโดยที่กฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน ได้บัญญัติให้ การกำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัด สำหรับใช้กับเครื่องแบบข้าราชการพลเรือน ต้องออกเป็นกฎสำนักนายกรัฐมนตรี
     สำนักนายกรัฐมนตรี จึงออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องการกำหนดภาพเครื่องหมายราชการ ตามบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 129) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2535 เล่ม 109 ตอนที่ 40 หน้า 104-105 และออกกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 79 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับลงวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2535 เล่ม 109 ตอนที่ 51 หน้า 4-5 กำหนดเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักอัยการสูงสุด เป็นรูปตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ประดิษฐานเหนือพระแว่น สุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์
      เครื่องหมายราชการ และเครื่องหมายแสดงสังกัดของสำนักงานอัยการสูงสุด จึงเปลี่ยนจากรูปตราราชสีห์เป็น รูปพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานเหนือพระแว่น พระสุริยกานต์ และตราชูรูปพระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์ มีความหมายถึงอำนาจหน้าที่ในการเป็นทนายแผ่นดิน การใช้กฎหมายด้วยความรอบคอบ เป็นธรรม และเด็ดขาด มีชัยชนะเหนืออธรรม

วิสัยทัศน์

“เป็นองค์กรแห่งความยุติธรรมของสังคมเพื่อความมั่นคงของชาติและความผาสุกของประชาชน”

พันธกิจ

  1. อำนวยความยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส พึ่งพิงได้บนพื้นฐานของความเสมอภาค
  2. รักษาผลประโยชน์ของรัฐ เพื่อประโยชน์สาธารณะและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
  3. รับรู้ ดูแล แก้ปัญหาในการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และเป็นที่พึ่งของประชาชนในด้านกฎหมาย
  4. พัฒนาศักยภาพองค์กรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกบนฐานความเชี่ยวชาญ
ค่านิยมร่วม “PUBLIC”
  • P : People First      ประชาชนมาที่หนึ่ง
  • U : Uprightness      เป็นที่พึ่งความยุติธรรม
  • B : Betterment      คิดและทำเพื่อพัฒนา
  • L : Lawfulness      รักษากฎหมายด้วยเหตุผล
  • I : Integrity      ประพฤติตนซื่อสัตย์และโปร่งใส
  • C : Collaboration      ร่วมมือร่วมใจสู่เป้าหมาย
อำนาจและหน้าที่ตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 23

          กำหนดให้สำนักงานอัยการสูงสุดนอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชาการเพื่อสนับสนุน และอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ด้วย

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด

           1. ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
           2. ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
           3. ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
           4. ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
           5. ดำเนินการตามที่รัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
           6.  ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ
           7. ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
           8. ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
           9. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
           ในการตรวจร่างสัญญาตาม (2) และ (3) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้ สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (2) หรือนิติบุคคลตาม (3) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการตาม พ.ร.บ. องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 14 มีดังนี้

           1. อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
           2.ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
           3. ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโคตุลาการทั้งปวงกับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
           4. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดีหรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
           5. ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (3) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นเป็นคู่กรณีและมิใช่กรณีที่พิพาทกับรัฐบาลหรือระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
           6. ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
           7. ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
           8. ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
           9. อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
           10. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
           11. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่สำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
           ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตาร 14 (3) (4) และ (5) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำโดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
           พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.

นโยบายการบริหารของอัยการสูงสุด

เกี่ยวกับสำนักงาน

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนราธิวาส ได้เปิดที่ทำการเมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๓๘ มี  นายวรวิทย์ อารีวิทยาเลิศ รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดประจำศาลจังหวัดนราธิวาส (แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว)คนแรก ซึ่งอยู่ด้วยกันกับสำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส ในบริเวณศาลากลางจังหวัดนราธิวาส  ต่อมาได้เช่าตึกอาคารพาณิชย์ ๓ ชั้น ๑ คูหา ตั้งอยู่ ณ บริเวณถนน  ระแงะมรรคา ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๓ ได้ย้ายที่ทำการมาประจำอยู่ในตึกสำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส ตั้งอยู่ ชั้น ๓ ศูนย์ราชการ หมู่ที่ ๙ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ของสำนักงานอัยการดังกล่าว จนถึงปัจจุบัน
สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนราธิวาส เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด  เดิมชื่อ  สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดนราธิวาส (แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนราธิวาส  จนถึงปัจจุบัน

ทำเนียบอัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนราธิวาส

ลำดับที่   รายนามตั้งแต่ถึง
นายมนัส  ปทุมพิทักษ์๑ พฤษภาคม ๒๕๓๙๓๐ กันยายน ๒๕๓๙
นายราฆพ  โกสิยานันท์๑ ตุลาคม ๒๕๓๙๓๐ เมษายน ๒๕๕๑
นายชาติชาย  ทองอ่อน๑ พฤษภาคม ๒๕๔๑๒ เมษายน ๒๕๔๒
นายมีชัย  เหลืองกำจร๓ พฤษภาคม ๒๕๔๒๓๐ เมษายน ๒๕๔๓
นายอายุธ  สมานเดชา๑ พฤษภาคม ๒๕๔๓๓๐ เมษายน ๒๕๔๔
นายนภดล  บุญศร๑ พฤษภาคม ๒๕๔๔๓ พฤษภาคม ๒๕๔๕
ว่าที่ ร.ต.สมชาย  อำนวยสมบัติ         ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๕   ๒๕ เมษายน ๒๕๔๖
นายสุรพล  เติมประทีป๒๘ เมษายน ๒๕๔๖๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗
นายกฤตย์  เอกกาญจนกร๓ พฤษภาคม ๒๕๔๗๓ เมษายน ๒๕๔๘
๑๐นายวันชัย  ชาญสตบุตร๔ เมษายน ๒๕๔๘๓๐ เมษายน ๒๕๔๙
๑๑ร้อยตำรวจเอกเฉลิม  นพเก้า๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙๑ เมษายน ๒๕๕๐
๑๒นายพิสุทธิ์  จรูญโสภณศักดิ๋๒ เมษายน ๒๕๕๐๓๑ มีนาคม ๒๕๕๑
๑๓นายพงษ์ชาญ  แสงมณี๑ เมษายน ๒๕๕๑๓๑ มีนาคม ๒๕๕๒
๑๔นายปรัชญา  ศรีอัมพรแสง๑ เมษายน ๒๕๕๒๓๑ มีนาคม ๒๕๕๓
๑๕นายโสภณ  ชนะรัตน์๑ เมษายน ๒๕๕๓๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔
๑๖นายเวก  อ้นรัตน์๑ เมษายน ๒๕๕๔๑ เมษายน ๒๕๕๕
๑๗นายจักรวาล  แสงแข๒ เมษายน ๒๕๕๕๓๑ มีนาคม ๒๕๕๖
๑๘นายณรงค์  กู้เกียรตินันท์๑ เมษายน ๒๕๕๖๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
๑๙ นายวาทิต  สุวรรณยิ่ง ๑ เมษายน ๒๕๕๗ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘ 
 ๒๐ นายอารยะ  กระโหมวงศ์๑ เมษายน ๒๕๕๘ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ 
 ๒๑ นายอำนวย  ยกสมบัติ ๑ เมษายน ๒๕๕๙๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐ 
๒๒ นายภูษิต  ตีระวนิชพงศ์๓ เมษายน ๒๕๖๐๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑
๒๓ว่าที่ร้อยตรี มานพ  วรรัตนพิศุทธิ์ ๒  เมษายน ๒๕๖๑๓๑ มีนาคม ๒๕๖๒
๒๔นายศรัณยพงษ์ รังสีบัวคลี่๑ เมษายน ๒๕๖๒๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓
๒๕นายธีรนันทน์ พานิชการ๑ เมษายน ๒๕๖๓๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔
๒๖นายศุภชัย ดลพิทักษ์๑ เมษายน ๒๕๖๔๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕
๒๗นายณัฐพงษ์  วงษ์ศุทธิภากร๑ เมษายน ๒๕๖๕๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖
๒๘นายปริวรรต พุทธสุวรรณ๑ เมษายน ๒๕๖๖๓๑ มีนาคม ๒๕๖๗
๒๙นายสรรชัย มุกดา๑ เมษายน ๒๕๖๗ถึงปัจจุบัน
นายสรรชัย มุกดา
อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนราธิวาส
นายทวี เรืองฤทธิ์เดช
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฏิบัติหน้าที่ผู้กลั่นกรองงาน
นายจิตรกร งามอภิวัฒนกิจ
รองอัยการจังหวัด
นางเบญจวรรณ อนุรักษ์
เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส รักษาการในตำแหน่ง
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

นางเรณู หนูสี
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
นางสาวอารี หวังนุรักษ์
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
นางกชพร จุลเอียด
นิติกรชำนาญการ
นางสาวสุไฮลา ดือเล๊ะ
นักบัญชี
นายลุกมันห์ อับดุลลาเตะ
พนักงานขับรถยนต์

สถิติสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนราธิวาส

ตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส073-530475
สถานีตำรวจภูธรเมืองนราธิวาส073-514278, 073-513105
สถานีตำรวจภูธรสุไหงโก-ลก073-611070, 073-611544
สถานีตำรวจภูธรตากใบ073-581222, 073-581194
สถานีตำรวจภูธรสุไหงปาดี073-651163, 073-651157
สถานีตำรวจภูธรระแงะ073-671046, 073-671967
สถานีตำรวจภูธรรือเสาะ073-571001, 073-571112
สถานีตำรวจศรีสาคร073-561069
สถานีตำรวจภูธรบาเจาะ073-599286, 073-599695
สถานีตำรวจภูธรยี่งอ073-591098, 073-591127
สถานีตำรวจภูธรแว้ง073-659005, 073-659663-4
สถานีตำรวจภูรสุคิริน073-656042, 073-656049
สถานีตำรวจภูธรจะแนะ073-543553, 073-543508
สถานีตำรวจภูธรเจาะไอร้อง073-544055, 073-544053
สถานีตำรวจภูธรตันหยง073-535063, 073-535064
สถานีตำรวจภูธรโคกเคียน073-565100
สถานีตำรวจภูธรมูโนะ073-621028
สถานีตำรวจภูธรบูเก๊ะตา073-584066
สถานีตำรวจภูธรปะลุกาสาเมาะ073-563287
สถานีตำรวจภูธรสากอ073-653570

ติดต่อหน่วยงาน

ชั้น ๓ อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดนราธิวาส ศูนย์ราชการ ถนนทางหลวงชนบท ทช ๔ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ๙๖๐๐๐
โทรศัพท์ /โทรสาร ๐-๗๓๕๓-๒๐๓๔ 
IP PHONE : ๗๓๑๙๓๒ 
E-mail : nara-ju@ago.go.th