ข่าวประชาสัมพันธ์

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 นางสาวนิจิตา มุสิกะศิริ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง
ร่วมพิธีลงนามถวายพระพรสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดี
กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ขอให้ทรงหายจากพระอาการประชวร และมีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์โดยเร็ววัน
ณ หอประชุมจังหวัดพัทลุง
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2565 นางสาวนิจิตา มุสิกะศิริ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และพิธีขอพรตามหลักศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ในกิจกรรมบำเพ็ญกุศล
เพื่อถวายแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

ขอให้ทรงหายจากพระอาการประชวร และมีพระพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์โดยเร็ววัน
ณ หอประชุมจังหวัดพัทลุง

เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2565 สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง ได้เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรวันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ณ โรงเรียนพัทลุง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

ติดต่อราชการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ
มีปัญหาไม่ได้รับความสะดวกในการติดต่อราชการ หรือ พบการทุจริตหรือประพฤติมิชอบของพนักงานอัยการ
หรือเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง
แจ้ง สำนักงานคณะกรรมการอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด อาคาราชบุรีดิเรกฤทธิ์
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๑๐
โทร. ๑ ๒๑๔๒ ๑๘๓๐ และ ๐ ๒๑๔๒ ๑๘๓๑
E-Mail :
 cmiss@ago.go.th

ติดต่อ สอบถามผลการดำเนินคดี                   

       ติดต่อผลการดำเนินคดีได้ที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง

               เอกสารประกอบคำร้องขอทราบผลการดำเนินคดี

  •                        – คำร้องขอทราบผลคดี
  •                        – สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ร้อง)
  •                        – รายละเอียดของผู้ต้องหา (ชื่อ – สกุล)
  •                        – สถานีตำรวจที่ส่งสำนวน
  •                        – เลขคดี
  •                        – วัน เดือน ปี ที่ส่งสำนวน

วันที่ 29 เมษายน 2567 เวลา 07.00 น. ที่วัดคูหาสวรรค์พระอารามหลวง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง นายธวัชชัย มาศทอง อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง และคณะ เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัตมีโชติมหาวชิโรตตมางกูรสิริวิบูลยราชกุมาร เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ 29 เมษายน 2567 โดยมีนางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง เป็นประธานพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศล และลงนามถวายพระพร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร 29 เมษายน 2567

วันที่ 25 เมษายน 2567 เวลา 09.00 น. ที่หอประชุมจังหวัดพัทลุง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง นายธวัชชัย มาศทอง อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง ประกอบพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ จุดธูปเทียน เครื่องทองน้อย และกล่าวถวายราชสดุดี เบื้องหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต ประจำปี 2567

วันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2567 อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุงและคณะเข้าพบพูดคุยกับหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง

วันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2567 สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง จัดกิจกรรมสรงน้ำพระและรดน้ำขอพรอัยการ เนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2567 ณ ชั้น 2 อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดพัทลุง

วันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2567 สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง เข้าร่วมพิธีถวายราชสักการะเนื่องในวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ ประจำปี 2567 ณ หอประชุมจังหวัดพัทลุง

วันที่ 4 เมษายน พ.ศ.2567 นายธวัชชัย มาศทอง อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุงพร้อมคณะ เข้าร่วมโครงการ “131 ปี องค์กรอัยการ ที่พึ่งด้านกฎหมายของรัฐและประชาชน” ณ สำนักงานอัยการภาค 9 จังหวัดสงขลา

วันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2567 นายธวัชชัย มาศทอง อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง และบุคลากร เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ พิธีทำบุญตักบาตร และพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล ณ วัดคูหาสวรรค์ พระอารามหลวง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง และพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักสาระ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดพัทลุง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2566 สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง ร่วมพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาพัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ณ อาคารชั้น 1 สำนักงานอัยการจังหวัดพัทลุง

เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2566 สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง ร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะ เฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ อาคารหอประชุมจังหวัดพัทลุง

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2566 สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และลงนามถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ณ วัดคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2566 สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง ร่วมพิธีถวายราชสักการะวางพานพุ่ม เนื่องในวัน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ ณ หอประชุมจังหวัดพัทลุง
เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2566 สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ณ ศาลาการเปรียญวัดบ้านสวน ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง ร่วมพิธีถวายราชสักการะเนื่องในวันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาเจ้า
ณ หอประชุมจังหวัดพัทลุง

เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง ร่วมพิธีถวายราชสักการะวางพานพุ่ม เนื่องในวัน “พระบิดาแห่งฝนหลวง” ณ ห้องประชุมจังหวัดพัทลุง

เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2565 สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง ได้เข้าร่วมกิจกรรมน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ หอประชุมจังหวัดพัทลุง

เมื่อใน วันพฤหัสบดี ที่ 13 ตุลาคม 2565 สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุงได้เข้าพิธีบำเพ็ญและพิธีน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เมื่อใน วันพุธ ที่ 28 กันยายน 2565 สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง ได้เข้าร่วมกิจกรรมธงชาติไทย 28 กันยายน (Thai National Flag Day )
เมื่อใน วันอังคาร ที่ 30 สิงหาคม 2565 สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุงได้เข้าร่วมบริจาคสิ่งของตามโครงการอัยการอาสา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพัทลุง ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2565 สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง ได้เข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565

วันที่ 6 เมษายน 2565 นายฤทธิชัย นุ่นเกลี้ยง รองอัยการจังหวัด เข้าร่วมพิธีถวายราชสักการะเนื่องในวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ ณ หอประชุมจังหวัดพัทลุง


วันที่ 25 เมษายน 2565 นายเลอศักดิ์ ดุกสุขแก้ว อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด เข้าร่วมพิธีถวายราชสักการะเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ หอประชุมโรงเรียนพัทลุง

เกี่ยวกับสำนักงาน

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง เป็นหน่วยงานสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด

         เนื่องด้วยเมื่อวันที่๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ศาลจังหวัดพัทลุงแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้เปิดทำการตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ( ฉบับที่ ๓ ) พ.ศ.๒๕๔๘ ลงวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ มาตรา ๗ ให้ดำเนินการเปิดทำการศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดหรือแผนก คดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัด ให้มีเขตอำนาจครอบคลุมทุกจังหวัดภายในสามปี และตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดวันเปิดทำการแผนก  คดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดกาฬสินธุ์   ศาลจังหวัดน่าน   ศาลจังหวัดพัทลุง ศาลจังหวัดมุกดาหาร    ศาลจังหวัดเลย    ศาลจังหวัดสกลนคร    ศาลจังหวัดสมุทรสงคราม   ศาลจังหวัดหนองคาย ศาลจังหวัดอุตรดิตถ์  ศาลจังหวัดอุทัยธานี  พ.ศ. ๒๕๔๘  ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘  มาตรา ๓ ให้เปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุงในวันดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากเพื่อให้ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน  โดยให้เด็กและเยาวชนผู้ถูกดำเนินคดีได้รับประโยชน์จากการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว สำนักงานอัยการสูงสุดจึงได้จัดตั้งสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุงขึ้น โดยเปิดทำการเมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และมีคำสั่งให้พนักงานอัยการปฏิบัติและช่วยราชการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง เพื่อเป็นทนายแผ่นดินประจำศาลจังหวัดพัทลุงแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว   ตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ  พ.ศ. ๒๔๙๘  โดยสำนักงานตั้งอยู่ที่สำนักงานอัยการจังหวัดพัทลุง ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ๙๓๐๐๐

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด

         มีดังนี้

(มาตรา ๒๓) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชาการ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

          (๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
          (๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
          (๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
          (๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
          (๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
          (๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ
          (๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
          (๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
          (๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด
          ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

 อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด

          มีดังนี้

          (มาตรา ๒๗)  ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย    แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
          (๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ
          (๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด
          ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้
          ให้อัยการสูงสุดโดยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด

อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ

          มีดังนี้

           มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
          (๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่น ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
          (๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
          (๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
          (๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
          (๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
          (๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษา ในการนี้    มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
          (๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา        มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
          (๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
          (๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
          (๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
          ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
          พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.
                             :: กฎหมายองค์กรอัยการตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

สถานีตำรวจที่รับผิดชอบ

  • สภ.เมืองพัทลุง
  • สภ.เขาชัยสน
  • สภ.ควนขนุน
  • สภ.ปากพะยูน
  • สภ.ตะโหมด
  • สภ.ป่าบอน
  • สภ.บางแก้ว
  • สภ.ศรีบรรพต
  • สภ.ป่าพะยอม
  • สภ.กงหรา
  • สภ.ศรีนครินทร์
  • สภ.นาขยาด
  • สภ.ทะเลน้อย
  • สภ.โคกชะงาย
  • สภ.ลำปำ
  • สภ.เกาะนางคำ

หลักการดำเนินคดีอาญา

            การดำเนินคดีอาญาเด็กหรือเยาวชนนั้น พนักงานอัยการต้องคำนึงถึงการคุ้มครองเด็ก สวัสดิภาพของเด็กหรือเยาวชนโดยการแก้ไขบำบัด และฟื้นฟูยิ่งกว่าการลงโทษตามนัยระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๔๗

ระเบียบและคำสั่งที่ใช้ในการดำเนินคดีอาญา

            ระเบียบและคำสั่งที่ใช้ในการดำเนินคดีอาญาเด็กหรือเยาวชนเป็นไปตามระเบียบ สำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๔๗ และตามคำสั่งหรือหนังสือเวียนสำนักงานอัยการสูงสุด  ที่ออกเป็นคราวๆ

ผู้ต้องหาเป็นเด็กหรือเยาวชน

            “เด็ก” หมายความว่า บุคคลอายุยังไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์

            “เยาวชน” หมายความว่า บุคคลอายุเกินสิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ (พระราชบัญญัติศาลเยาวชนฯ พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๔)

ข้อสังเกต

๑.      กรณีเด็กอายุไม่เกิน ๑๐ ปี กระทำความผิดอาญาไม่ต้องรับโทษ

๒.      กรณีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ไม่ถือว่าเป็นเยาวชน

 การนับอายุของเด็กหรือเยาวชน

            การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิดในกรณีที่รู้ว่าเกิดเดือนใด แต่ไม่รู้วันเกิดให้นับวันที่ ๑ แห่งเดือนนั้นเป็นวันเกิด แต่ถ้าพ้นวิสัยที่จะหยั่งรู้เดือนและวันเกิดของบุคคลใดให้นับอายุบุคคลนั้น ตั้งแต่วันต้นปีปฏิทิน (วันที่ ๑ มกราคม) ซึ่งเป็นปีที่บุคคลนั้นเกิด (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖)

การสอบสวนเด็กหรือเยาวชน

            การสอบสวนในคดีที่ผู้ต้องหาเป็นเด็กหรือเยาวชนให้มีที่ปรึกษากฎหมายอยู่ด้วย ทุกครั้ง ส่วนการที่เด็กหรือเยาวชนกระทำผิดขณะอายุไม่เกิน ๑๘ ปี แต่วันที่แจ้งข้อหาเด็กมีอายุเกิน ๑๘ ปี การสอบสวนก็ไม่ต้องดำเนินการตามมาตรา ๑๓๓ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การสอบสวนจะต้องดำเนินการตามมาตรา ๑๓๓ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งจะต้องมีนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำนั้นด้วย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา มาตรา ๑๓๓ ทวิ

พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ

            ต้องเป็นพนักงานสอบสวนต้องมีเขตอำนาจการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา ๑๘ – ๒๑ การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย การสอบสวนในกรณีที่ต้องมีนักจิตวิทยาหรือ นักสังคมสงเคราะห์ พนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๒ ทวิ, ๑๓๓ ทวิ ในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาผู้ต้องหาที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปี พนักงานสอบสวนต้องถามผู้ต้องหาว่ามีทนาย (ที่ปรึกษากฎหมาย) หรือไม่  ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๔/๑ การถามปากคำ (คำให้การ) ผู้ต้องหาที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปีพนักงานสอบสวนจะต้องกระทำในสถานที่ที่ เหมาะสม  โดยไม่เลือกปฏิบัติและไม่ปะปนกับผู้ต้องหาอื่น และมีที่ปรึกษากฎหมาย  แต่หากเป็นคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา ๑๓๓ ทวิ  จะต้องมีนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่ผู้ต้องหาร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำด้วยเสมอ (ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา  ๑๓๔/๒  โดยนำมาตรา ๑๓๓ ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม)

            ในคดีที่พนักงานสอบสวนมีความจำเป็นต้องจัดให้ผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็ก อายุไม่เกินสิบแปดปี  ชี้ตัวผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๓ ตรี โดยพนักงานสอบสวนต้องจัดให้มีการชี้ตัวในสถานที่ที่เหมาะสมและ สามารถป้องกันมิให้บุคคลซึ่งจะถูกชี้ตัวเห็นตัวเด็ก  โดยให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ  และพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วย  เว้นแต่มีเหตุจำเป็นไม่อาจหาหรือรอและเด็กไม่ประสงค์จะให้มีหรือรอบุคคลดัง กล่าว ทั้งนี้การดำเนินการของพนักงานสอบสวนดังกล่าวพนักงานอัยการจะต้องปฏิบัติตาม ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการคุ้มครองเด็กในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๓ ข้อ ๑๑ – ๑๕

การดำเนินคดีของพนักงานอัยการ

การพิจารณาและสั่งคดี

·          การพิจารณาสั่งคดีในคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นผู้ต้องหานั้นจะต้องตรวจพิจารณาสั่งสำนวน โดยละเอียดรอบคอบ

·         จะต้องพิจารณาสั่งคดีให้ทันภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๕ หากเป็นคดีความอันยอมความได้ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายในสามเดือนตามประมวล กฎหมายอาญา     มาตรา ๙๖

·          จะต้องนำรายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเด็ก/เยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมาประกอบการพิจารณาด้วย

·         จะต้องคำนึงถึงการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนยิ่งกว่าการลงโทษ

·          ต้องพิจารณาของกลาง และขอให้ผู้ต้องหาคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๓

·          พิจารณาประวัติการเคยกระทำความผิดและเคยต้องโทษของผู้ต้องหาว่ามีหรือไม่ ถ้ามีก็ให้มีคำสั่งและขอให้ศาลสั่ง

 กรณีสั่งฟ้อง

            เมื่อตรวจพิจารณาสั่งสำนวนโดยละเอียดรอบคอบแล้ว พนักงานอัยการต้องทำความเห็นสั่งฟ้อง กรณีต้องเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นต้องใช้ความเห็น “เห็นควรสั่งฟ้อง” ในสำนวนการสอบสวนโดยละเอียดตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนิน คดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๔๗  ข้อ ๓๒  และก่อนมีคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง หากพิจารณาพยานหลักฐานและพยานหลักฐานยังไม่แน่ชัดก็ต้องสั่งสอบสวนเพิ่มเติม ตามรูปคดีตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงาน อัยการ พ.ศ.๒๕๔๗ ข้อ ๓๕

กรณีไม่สั่งฟ้อง

            เมื่อในกรณีพิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนโดยละเอียดรอบคอบดังกล่าว แล้วคดีมีพยานหลักฐานไม่พอฟ้องหรือการฟ้องคดีใดจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนหรือ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงแห่งชาติ หรือผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ (ระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๒๘ ข้อ ๕๑) พนักงานอัยการต้องทำความเห็นสั่งไม่ฟ้อง (กรณีต้องเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ต้องเสนอความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง) แล้วจึงเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี

การขออนุญาตฟ้อง และการผัดฟ้อง

            คดีขออัยการสูงสุดอนุญาตฟ้อง ได้แก่ คดีที่ยื่นฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลไม่ทันภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.๒๕๕๓  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าคดีขาดผัดฟ้อง ซึ่งอาจเป็นกรณีที่ขาดผัดฟ้องมาตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวนหรือในชั้นพนักงาน อัยการแล้วแต่กรณี

การดำเนินคดีในชั้นศาล

            การพิจารณาคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นจำเลย ไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาโดยเคร่งครัดและให้ใช้ ถ้อยคำที่จำเลยสามารถเข้าใจได้ง่าย กับต้องให้โอกาสจำเลยรวมทั้งบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่จำเลยอาศัยอยู่ หรือบุคคลที่ให้การศึกษา หรือให้ทำการงานหรือมีความเกี่ยวข้องด้วย แถลงข้อเท็จจริง ความรู้สึกและความคิดเห็น ตลอดจนระบุและซักถาม พยานได้ไม่ว่าในเวลาใดๆ ในระหว่างที่มีการพิจารณาคดีนั้น(ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนฯ พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๑๔๔) ศาลที่มีอำนาจรับพิจารณาคดีเด็กหรือเยาวชน การที่จะฟ้องเด็กหรือเยาวชนต่อศาลให้ถืออายุเด็กหรือเยาวชนในวันที่การกระทำ ความผิดได้เกิดขึ้น แม้เด็กหรือเยาวชนขณะกระทำความผิดมีอายุไม่เกิน ๑๘ ปี แต่ได้หลบหนีไปจนมีอายุเกิน ๑๘ ปี เช่น หลบหนีไป ๑๐ ปี จนอายุถึง ๒๘ ปี ก็นำมาฟ้องศาลเยาวชนและครอบครัว (ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนฯ พ.ศ.๒๕๕๓  มาตรา ๕) โดยให้ศาลเยาวชนและครอบครัวซึ่งมีเขตอำนาจในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่น ที่อยู่ปกติมีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดนั้น แต่ถ้าเพื่อประโยชน์แก่เด็กหรือเยาวชนให้ศาลแห่งท้องที่ที่เด็กหรือ เยาวชนกระทำความผิดมีอำนาจรับพิจารณาคดีนี้ได้ (ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนฯ พ.ศ.๒๕๕๓  มาตรา ๙๕)

ข้อสังเกต

            ในกรณีที่ผู้กระทำผิดอายุไม่เกิน ๒๐ ปีบริบูรณ์ กระทำความผิดและเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลธรรมดา ถ้าศาลนั้นพิจารณาโดยคำนึงถึงร่างกาย สติปัญญา สุขภาพ ภาวะแห่งจิตวิสัย เห็นว่าบุคคลดังกล่าวนั้นมีสภาพเช่นเดียวกับเด็กหรือเยาวชน ให้ศาลมีอำนาจโอนคดีไปพิจารณาที่ศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีอำนาจและให้ถือ ว่าบุคคลนั้นเป็นเด็กหรือเยาวชน (ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนฯ พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๙๗)

บุคคลที่เกี่ยวข้องในคดี

·         ผู้พิพากษามี ๒ ประเภท คือ ผู้พิพากษา และผู้พิพากษาสมทบ ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๑๕

·        พนักงานอัยการ ซึ่งอัยการสูงสุดแต่งตั้งให้มีหน้าที่ดำเนินคดีที่มีข้อหาว่าเด็กหรือ เยาวชนกระทำความผิดและต้องฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวตามพระราชบัญญัติศาล เยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.๒๕๕๓มาตรา ๑๐๑

·         จำเลย กรณีถ้าไม่รับการประกันตัวจะถูกควบคุมอยู่ที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและ เยาวชน หรือสถานที่อื่นที่จัดตั้งตามกฎหมายและตามที่ศาลเห็นสมควร

·       ที่ปรึกษากฎหมาย จำเลยที่เป็นเด็กหรือเยาวชนจะมีทนายความแก้คดีแทนไม่ได้ แต่ให้มีที่ปรึกษากฎหมายเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทำนองเดียวกันกับทนายความได้ ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๑๒๐

การสืบพยานในคดีที่เด็กหรือเยาวชนกระทำผิด

            ในคดีที่พยานเป็นผู้ใหญ่ การสืบพยานจะเป็นแบบคดีปกติธรรมดาพนักงานอัยการจะต้องปฏิบัติตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๗๒ ถึง ๑๘๑ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๑๒ และระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๔๗  การสืบพยานในคดีที่พยานเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีตามปกติห้องที่พิจารณาจะต้องไม่ใช่ห้องพิจารณาคดีธรรมดา แต่ถ้าไม่อยู่ในวิสัยที่จะกระทำได้ก็ให้ใช้ห้องพิจารณาคดีธรรมดา แต่ต้องไม่ปะปนกับการพิจารณาคดีธรรมดา ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๑๐๗ และพนักงานอัยการจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๗๒ ตรี และก่อนเบิกความพยานต้องสาบานตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณีแห่งชาติของตน หรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริงเสียก่อน ยกเว้นบุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบสี่ปี (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๑๒ (๑) และระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการคุ้มครองเด็กในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๓  ข้อ ๒๖-๒๙)

การพิจารณาลับ

            การพิจารณาคดีที่ศาลให้กระทำเป็นการลับ  พนักงานอัยการจะต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนิน คดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๒๘ และเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีตามที่พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๑๐๘ (๑) – (๗) กำหนดเท่านั้น จึงจะมีสิทธิเข้าฟังการพิจารณาคดีได้และการพิจารณาจะต้องกระทำต่อหน้าที่ ปรึกษากฎหมายของจำเลยเท่านั้น   ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.๒๕๕๓ ม.๑๒๗

บุคลากร


นายธวัชชัย มาศทอง
อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง
นายสิทธิโชค เอียดทวี
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด (ผู้กลั่นกรองงาน)

นายฤทธิชัย นุ่นเกลี้ยง
รองอัยการจังหวัด
นางสาวพรปวีณ์ ขุนฤทธิ์แก้ว
เจ้าพนักงานธุรการอาวุโส
รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ
นายนเรศว์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
นิติกรชำนาญการ
นางนันท์นภัส เทียนแขก
นักจัดการงานทั่วปปฏิบัติการ
นายอนุวัตร สุวรรณโชติ
พนักงานขับรถยนต์

สถิติคดี

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดพัทลุง
เลขที่  56  ถนนกุมารศึกษา  ตำบลคูหาสวรรค์  อำเภอเมืองพัทลุง  จังหวัดพัทลุง  93000
หมายเลขโทรศัพท์ 0 7461 6172   โทรสาร. 0 7461 6172 E-mail : ptl-ju@ago.go.th
ติดต่อผู้ดูแลระบบ cookkai193@gmail.com