วันสถาปนาองค์กรอัยการ ครบรอบ ๑๓๐ ปี ๑ เมษายน ๒๕๖๖

วันอังคาร ที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ ข้าราชการอัยการ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทัปังกรรัศมีโชติ มห่วชิโรตตมางกูร สิริวิบูลราชกุมาร เนื่องในโอกาสวันคล้ายวัยประสูติ ๒๙ เมษายน ณ. ที่วัดชนาธิปเฉลิม พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

๒๕ เมษายน ๒๕๖๗ ข้าราชการอัยการ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล เข้าร่วมพิธีวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประจำปี ๒๕๖๗ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ศาลากลางจังหวัดสตูล

๐๖ เมษายน ๒๕๖๗ ข้าราชกาอัยการ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล เข้าร่วมพิธีวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ ประจำปี ๒๕๖๗ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ศาลากลางจังหวัดสตูล

วันอังคาร ที่ 2 เมษายน พ.ศ.2567 ข้าราชการอัยการ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และลงนามถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน ณ. ที่วัดชนาธิปเฉลิม พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

๓๑ มีนาคม ๒๕๖๗ อัยการและข้าราชการธุรการอัยการ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล เข้าร่วมพิธีวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ประจำปี ๒๕๖๗ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ศาลากลางจังหวัดสตูล

20 กุมภาพันธ์ 2567 อัยการและข้าราชการธุรการอัยการ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล ร่วมรวมพลังแสดงความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ศาลากลางจังหวัดสตูล

วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้ตรวจการอัยการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติราชการในพื้นที่สำนักงานอัยการภาค 9 (จังหวัดสตูล) ประกอบด้วย สำนักงานอัยการจังหวัดสตูล สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล และสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดสตูล โดยมี อธิบดีอัยการภาค 9 อัยการจังหวัดสตูล และคณะให้การต้อนรับ ณ สำนักงานอัยการจังหวัดสตูล อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

วันจันทร์ ที่ 8 มกราคม พ.ศ.2567 ข้าราชการอัยการ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และลงนามถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวรรณวรี นารีรัตนราชกัญญา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 8 มกราคม ณ. ที่วัดชนาธิปเฉลิม พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

วันอังคาร ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2566 ข้าราชการอัยการ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล เข้าร่วมพิธีวันที่ระลึกพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประจำปี 2566 เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 19 ธันวาคม ที่ บริเวณศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ตำบลตำมะลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

วันพฤหัสบดี ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2566 ข้าราชการอัยการ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล เข้าร่วมพิธีสวดเริญพระพุทธมนต์และลงนามถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 7 ธันวาคม ณ. ที่วัดชนาธิปเฉลิม พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

วันอังคาร ที่ 05 ธันวาคม 2566 อัยการและข้าราชการธุรการอัยการสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2566 โดยร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล ณ เทศบาลเมืองสตูล และ พิธีวางพานพุ่มดอกไม้และพิธีถวายบังคม ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

วันศุกร์ที่ 01 ธันวาคม พ.ศ.2566 ข้าราชการอัยการ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล เข้าร่วมพิธีสวดพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ 5 ธันวาคม ณ. ที่วัดชนาธิปเฉลิม พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 ข้าราชการอัยการ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตร ถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องใน วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทย วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2566 ณ. ที่วัดชนาธิปเฉลิม พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

14 พฤศจิกายน 2566 อัยการและข้าราชการธุรการอัยการ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องใน “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง” ประจำปี 2566 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ศาลากลางจังหวัดสตูล

วันที่ 23 ตุลาคม 2566 ข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล เข้าร่วมกิจกรรมน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีต่อปวงชนชาวไทย ณ ค่ายสมันตรัฐบุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

วันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2566 ข้าราชการอัยการและข้าราชการธุรการอัยการ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตร ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต 13 ตุลาคม 2566 และวันนวมินทรมหาราช และร่วมพิธีวางพวงมาลา เนื่องในวันนวมินทรมหาราช เพื่อร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ศาลากลางจังหวัดสตูล

วันพฤหัสบดี ที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๖ เวลา ๐๘.๐๐ น. อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการธุรการ และเจ้าหน้าที่ ร่วมกันจัดกิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย ณ หน้าเสาธง อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดสตูล เนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติและเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย

วันที่ 7 สิงหาคม 2566 เวลา 07.30 น. ข้าราชการอัยการและข้าราชการธุรการอัยการ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในวันรพี ประจำปี 2566 โดยมีการประกอบพิธีสงฆ์ และพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย“ ณ ศาลจังหวัดสตูล

๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖ ข้าราชการธุรการอัยการ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล เข้าร่วมพิธีวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ประจำปี ๒๕๖๖ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ศาลากลางจังหวัดสตูล

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2565 โดยร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล ณ เทศบาลเมืองสตูล และ พิธีวางพานพุ่มดอกไม้และพิธีถวายบังคม ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

         เดิมสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล เปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในสำนักงานอัยการจังหวัดสตูล เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๓ โดยใช้ชื่อ สำนักงานอัยการจังหวัดสตูล(แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว)

         ต่อมาเมื่อปี ๒๕๔๗ ได้ตั้งและเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล ซึ่งตั้งอยู่ภายในพื้นที่อาคารศาลากลางจังหวัดสตูลหลังเก่า ชั้น ๑ ถนนสตูลธานี ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

         ต่อมาสำนักงานอัยการจังหวัดสตูล ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างสำนักงานโดยได้รับจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างเป็นเงิน จำนวน ๘๔,๖๐๐,๐๐๐ บาท มาทำการก่อสร้างอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดสตูล พร้อมบ้านพักและสิ่งก่อสร้างประกอบ ซึ่งเมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ได้ย้ายที่ทำการจากศาลากลางจังหวัดสตูลหลังเก่า มาอยู่ที่ เลขที่ ๒ อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดสตูล ชั้น ๒ ถนนสถิตยุติธรรม ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล จนปัจจุบัน

อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด มีดังนี้

          มาตรา ๒๓ สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชาการ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
          (๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครอง ป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
          (๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
          (๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
          (๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
          (๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
          (๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้ารการฝ่ายอัยการ
          (๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
          (๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
          (๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด
          ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ

          มาตรา ๒๗  ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

          (๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
          (๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ
          (๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสุดของสำนักงานอัยการสูงสุด
          ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้
          ให้อัยการสูงสุดโอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด 

          มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำจานและหน้าที่ ดังต่อไปนี้

          (๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
          (๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด หรือพนักงานอัยการ
          (๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของ สำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
          (๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนี่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้ กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
          (๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
          (๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
          (๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึด ทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาก ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
          (๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
          (๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
          (๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
          (๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
          ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
          พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไป ตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.

:: กฎหมายองค์กรอัยการตามรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550


อำนาจหน้าที่สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัว

» รับผิดชอบการดำเนินคดีทั้งปวงตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัว

» รับผิดชอบงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ของเด็กและเยาวชน รวมทั้งศึกษา วิจัย และพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้อง

» ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

พื้นที่รับผิดชอบ

  • สถานีตำรวจภูธรเมืองสตูล
  • สถานีตำรวจภูธรทุ่งหว้า
  • สถานีตำรวจภูธรควนโดน
  • สถานีตำรวจภูธรฉลุง
  • สถานีตำรวจภูธรควนกาหลง
  • สถานีตำรวจภูธรละงู
  • สถานีตำรวจภูธรมะนัง    
  • สถานีตำรวจภูธรเขาขาว
  • สถานีตำรวจภูธรท่าแพ
  • สถานีตำรวจภูธรเกาะหลีเป๊ะ

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

บุคลากร

ข้าราชการอัยการ
ข้าราชการธุรการ

จ้างเหมาบริการนอกโครงการ

ทำเนียบผู้บริหาร

๑. นายสมภพ รัตนกุล              ๗ เมษายน ๒๕๔๓ – ๓๐ เมษายน ๒๕๔๔

๒. นายมงคล ไชยเจริญ            ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๔ – ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๕

๓. นายวิโรจน์ เอี่ยมโอภาส        ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๕ – ๒๘ เมษายน ๒๕๔๖

๔. นายวีรศักดิ์ ดาราพัฒน์         ๒๙ เมษายน ๒๕๔๖ – ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๗

๕. นายประสงค์ พรประสิทธิ์       ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗ – ๑ เมษายน ๒๕๔๘

๖. นายวีรศักดิ์ จีระรัตน์            ๔ เมษายน ๒๕๔๘ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๙

๗. นายเอก โอฬารนุกูล           ๑ เมษายน ๒๕๔๙ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๐

๘. นายสันติ นภาสวัสดิ์           ๑ เมษายน ๒๕๕๐ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๑

๙. นายประวิทย์ ชูกำเหนิด        ๑ เมษายน ๒๕๕๑ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔

๑๐. นายวสันต์ รจนากิจ           ๑ เมษายน ๒๕๕๔ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕

๑๑. นายนพอนันต์ อิทธิวัฒน์ปิติ  ๒ เมษายน ๒๕๕๕ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗

๑๒.นายสมชัย บัวคีรี                ๑ เมษายน ๒๕๕๗ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘

๑๓.นายปัญณวัณ์ วสุพลเศรษฐ์   ๑ เมษายน ๒๕๕๘ – ๒ เมษายน ๒๕๖๐

๑๔.นายตะวัน สุขยิรัญ             ๓ เมษายน ๒๕๖๐ – ๒ เมษายน ๒๕๖๑

๑๕.นายพงษ์พันธ์ นิชพันธ์        ๓ เมษายน ๒๕๖๑ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓

๑๖.นายบาซอรี มานะกล้า         ๑ เมษายน ๒๕๖๓ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔

๑๗.นางสุปรีญา นิชพันธ์          ๑ เมษายน ๒๕๖๔ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕

๑๘.นางสาวภัทรทิรา ภูมิสุทธาผล ๑ เมษายน ๒๕๖๕ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖

๑๙.นางสาวอุมาพร ศิริพงศ์ ๑ เมษายน ๒๕๖๖ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๗

๒๐.นางสาวนิจิตา มุสิกะศิริ ๑ เมษายน ๒๕๖๗ – ปัจจุบัน

สถิติคดี

ของสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล

ปี พ.ศ.ส.1คร.ส.1 ฟื้นฟูส.2ส.2 กส.๓ส.4(ฟ้องอาญา)ส.4 (ฟ้องวาจา)ความรุนแรงส.5ส.5กส.6ส.7ส.12ส.12กอื่นๆ (ม.86)รวม (เรื่อง)หมายเหตุ
254360257119
2544142101326290
2545127812971272
254610461195111228
2547121421108213260
25481331323112361291
2549145133094611591641278
25501742518130814261271692
25512656524105120811251631ไต่สวนคืนของกลาง 1 เรื่อง
2552259441198421362921548สืบพยานไว้ก่อน 1 เรื่อง
2553316712256630132751311ไต่สวนคืนของกลาง 1 เรื่อง
255433465128603374243141653ไต่สวนคืนของกลาง 2 เรื่อง
2555315641154030229871258ไต่สวนคืนของกลาง 3 เรื่อง
25563122076639297113111477
2557392139432338411041257มาตรการริบทรัพย์ 1 เรื่อง
2558415481113404092102235
2559400451614396131876
25602823348972714381529ไต่สวนคืนของกลาง 1 เรื่อง
2561206735374171174904
256218610333371711118820คุ้มครองสวัสดิภาพ 3 เรื่อง
256316669229211267708คุ้มครองสวัสดิภาพ 7 เรื่อง
25641346122069849550คุ้มครองสวัสดิภาพ 4 เรื่อง , ความรุนแรง 2 เรื่อง
25651395141895580473คุ้มครองสวัสดิภาพ 3 เรื่อง , อุทรณ์ 1 เรื่อง
25669255775121206จำเลยอุทธณ์ 1 เรื่อง

ระเบียบและกระบวนงาน

ระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินคดีเด็ก

หลักการดำเนินคดีอาญา
การดำเนินคดีอาญาเด็กหรือเยาวชนนั้น พนักงานอัยการต้องคำนึงถึง การคุ้มครองเด็ก สวัสดิภาพของเด็กหรือเยาวชน โดยการแก้ไข บำบัด และฟื้นฟู ยิ่งกว่าการลงโทษ ตามนัยระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ ข้อ 111

ระเบียบและคำสั่งที่ใช้ในการดำเนินคดีอาญา
ระเบียบและคำสั่งที่ใช้ในการดำเนินคดี อาญาเด็กหรือเยาวชน เป็นไปตามระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2528 ข้อ 112 และตามคำสั่งหรือหนังสือเวียนสำนักงานอัยการสูงสุดที่ออกเป็นคราว ๆ

ผู้ต้องหาเป็นเด็กหรือเยาวชน
“เด็ก” หมายความว่า บุคคลอายุเกิน 7 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์
“เยาวชน” หมายความว่า บุคคลอายุเกิน 14 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ (พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนฯ มาตรา4)
ข้อสังเกต
1. กรณีเด็กอายุไม่เกิน 7 ปีกระทำความผิดอาญา ไม่ต้องรับโทษ
2. กรณีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ไม่ถือว่าเป็นเยาวชน

การนับอายุของเด็กหรือเยาวชน
การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วัน เกิด ในกรณีที่รู้ว่าเกิดเดือนใด แต่ไม่รู้วันเกิดให้นับวันที่ 1 แห่งเดือนนั้น เป็นวันเกิด แต่ถ้าพ้นวิสัยที่จะหยั่งรู้เดือนและวันเกิดของบุคคลใดให้นับอายุบุคคลนั้น ตั้งแต่วันต้นปีปฏิทิน (วันที่ 1 มกราคม) ซึ่งเป็นปีที่บุคคลนั้นเกิด (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 16)

การสอบสวนเด็กหรือเยาวชน
การสอบสวนในคดีที่ผู้ต้องหาเป็นเด็ก หรือเยาวชนให้ถืออายุไม่เกิน 18 ปี ในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา (ไม่ใช่เจ้าพนักงานจับกุมแจ้งข้อหา) ส่วนการที่เด็กหรือเยาวชนกระทำผิดขณะอายุไม่เกิน 18 ปี แต่วันที่แจ้งข้อหาเด็กมีอายุเกิน 18 ปี การสอบสวนก็ไม่ต้องดำเนินการตามมาตรา 133 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การสอบสวนจะต้องดำเนินการตามมาตรา 133 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งจะต้องมีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำนั้นด้วย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 ทวิ)

พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
ต้องเป็นพนักงานสอบสวนต้องมีเขตอำนาจการสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18-21

การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย
การสอบสวนในกรณีที่ต้องมีนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ พนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 12 ทวิ, 133 ทวิ

ในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาผู้ต้องหาที่ มีอายุไม่เกินสิบแปดปี พนักงานสอบสวนต้องถามผู้ต้องหาว่ามีทนาย (ที่ปรึกษากฎหมาย) หรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 ทวิ
การถามปากคำ (คำให้การ) ผู้ต้องหาที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปี พนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการโดยแยกกระทำเป็นสัดส่วนในสภาพที่เหมาะสม และมีพนักงานอัยการ ทนายความ
(ที่ปรึกษากฎหมาย) แต่หากเป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่สามปีขึ้นไป หรือในคดีที่มีอัตราโทษ
จำคุกอย่างสูงไม่ถึงสามปี และถ้าผู้ต้องหาร้องขอ ต้องมีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่ผู้ต้องหาร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำด้วยเสมอ (ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 ตรี และนำมาตรา 133 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม)

ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่สาม ปีขึ้นไป หรือในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่ถึงสามปี และผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็กร้องขอหรือในคดีทำร้ายร่างกายเด็กอายุไม่ เกินสิบแปดปี พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการ โดยแยกกระทำเป็นสัดส่วนในสถานที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และมีพนักงานอัยการ นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอร่วมถามปากคำด้วย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133 ทวิ)

ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่ง ซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำพร้อมกันได้ พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133 ทวิ วรรคท้าย

ในคดีที่พนักงานสอบสวนมีความจำเป็นต้องจัด ให้เด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ในฐานะผู้เสียหายหรือพยาน ชี้ตัวผู้ต้องหาพนักงานสอบสวนต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา 133 ตรี และนำมาตรา 133 ทวิ วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ทั้งนี้ การดำเนินการของพนักงานสอบสวนดังกล่าว พนักงานอัยการจะต้องปฏิบัติตามระเบียบอัยการสูงสุดว่าด้วยการคุ้มครองเด็กใน คดีอาญา พ.ศ.2543 ข้อ 11-15

การดำเนินคดีของพนักงานอัยการ
การพิจารณาและสั่งคดี

การพิจารณาสั่งคดีในคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นผู้ต้องหานั้น จะต้องตรวจพิจารณาสั่งสำนวนโดยละเอียดรอบคอบ
จะต้องพิจารณาสั่งคดีให้ทันภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 หากเป็นคดีความผิดอันยอมความได้ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายในสามเดือนตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
จะต้องนำรายงานการสืบเสาะของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มาประกอบการพิจารณาด้วย
จะต้องคำนึงถึงการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนยิ่งกว่าการลงโทษ
ต้องพิจารณาของกลาง และขอให้ผู้ต้องหาคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 พิจารณาประวัติการเคยกระทำความผิดและเคยต้องโทษของผู้ต้องหาว่ามีหรือไม่ ถ้ามีก็ให้มีคำสั่งและขอให้ศาลสั่ง
กรณีสั่งฟ้อง
เมื่อตรวจพิจารณาสั่งสำนวนโดยละเอียดรอบคอบแล้ว พนักงานอัยการต้องทำความเห็นสั่งฟ้อง กรณีต้องเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ต้องใช้ความเห็น “เห็นควรสั่งฟ้อง” ในสำนวนการสอบสวนโดยละเอียดตามระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของ พนักงานอัยการ พ.ศ.2528 ข้อ 32 และก่อนมีคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง หากพิจารณาพยานหลักฐานและพยานหลักฐานยังไม่แน่ชัด ก็ต้องสั่งสอบสวนเพิ่มเติมตามรูปคดีตามระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดี อาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2528 ข้อ 35

กรณีสั่งไม่ฟ้อง
เมื่อในกรณีพิจารณาพยานหลักฐานในสำนวน การสอบสวนโดยละเอียดรอบคอบดังกล่าวแล้ว คดีมีพยานหลักฐานไม่พอฟ้อง หรือการฟ้องคดีใดจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงแห่งชาติ หรือผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ (ระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2528 ข้อ 51) พนักงานอัยการต้องทำความเห็นสั่งไม่ฟ้อง (กรณีต้องเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ต้องเสนอความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง) แล้วจึงเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณี

การขออนุญาตฟ้อง และการผัดฟ้อง
คดีขออัยการสูงสุดอนุญาตฟ้อง ได้แก่ คดีที่ยื่นฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลไม่ทันภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ. 2534 หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคดีว่าขาดผัดฟ้อง ซึ่งอาจเป็นกรณีที่ขาดผัดฟ้องมาตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวน หรือในชั้นพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี

การดำเนินคดีในชั้นศาล
การพิจารณาคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชน เป็นจำเลย ไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาโดยเคร่งครัด และให้ใช้ถ้อยคำที่จำเลยสามารถเข้าใจได้ง่าย กับต้องให้โอกาสจำเลยรวมทั้งบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่จำเลยอาศัยอยู่ หรือบุคคลที่ให้การศึกษา หรือให้ทำการงาน หรือมีความเกี่ยวข้องด้วย แถลงข้อเท็จจริง ความรู้สึก และความคิดเห็น ตลอดจนระบุและซักถามพยานได้ไม่ว่าในเวลาใดๆ ในระหว่างที่มีการพิจารณาคดีนั้น (ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว ฯ พ.ศ.2534 มาตรา 77)

ศาลที่มีอำนาจรับพิจารณาคดีเด็กหรือเยาวชน
การที่จะฟ้องเด็กหรือเยาวชนต่อศาลให้ ถืออายุเด็กหรือเยาวชนในวันที่การกระทำความผิดได้เกิดขึ้น แม้เด็กหรือเยาวชนขณะกระทำความผิดมีอายุไม่เกิน 18 ปี แต่ได้หลบหนีไปจนมีอายุเกิน 18 ปี เช่น หลบหนีไป 10 ปี จนอายุถึง 28 ปี ก็นำมาฟ้องศาลเยาวชนและครอบครัว (ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว ฯ พ.ศ.2534 มาตรา 5)

จะต้องเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวมีเขตอำนาจ พิจารณาคดีในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติเท่านั้น (ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2534
มาตรา 58)

ในกรณีที่ท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่ อยู่ปกติ ไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว แต่มีศาลเยาวชนและครอบครัวในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ศาลเยาวชนและครอบครัวที่ความผิดได้เกิดขึ้นในเขตมีอำนาจพิจารณาคดี สำหรับกรณีมีศาลเยาวชนและครอบครัวทั้งในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่ อยู่ปกติ และในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด เพื่อประโยชน์แก่เด็กหรือเยาวชน ศาลแห่งท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดมีอำนาจรับพิจารณาคดีนั้นได้ ด้วย

ถิ่นที่อยู่ปกติของเด็กหรือเยาวชน ไม่ใช่ถือตามท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน แต่ถือตามท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีที่พักอาศัยเป็นปกติ (ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1382/2523)

ข้อสังเกต

1. กรณีไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติ และในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา (ศาลจังหวัด ศาลแขวง) มีอำนาจพิจารณาคดีนั้น (พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2534 มาตรา 58 (4))

2. ในกรณีที่ผู้กระทำผิดอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ กระทำผิดและอยู่ในอำนาจของศาลธรรมดา ถ้าศาลนั้นพิจารณาโดยคำนึงถึงร่างกาย สติปัญญา สุขภาพ ภาวะแห่งจิตวิสัย เห็นว่าบุคคลดังกล่าวนั้นมีสภาพเช่นเดียวกับเด็กหรือเยาวชน ให้ศาลมีอำนาจโอนคดีไปพิจารณาที่ศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีอำนาจและให้ถืว ่าบุคคลนั้นเป็นเด็กหรือเยาวชน (ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว ฯ พ.ศ.2534 มาตรา 61)

บุคคลที่เกี่ยวข้องในคดี

ผู้พิพากษา มี 2 ประเภท คือ ผู้พิพากษา และผู้พิพากษาสมทบ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2534 มาตรา 16
พนักงานอัยการ ซึ่งอัยการสูงสุดแต่งตั้งให้มีหน้าที่ดำเนินคดีที่มีข้อหาว่าเด็กหรือ เยาวชนกระทำความผิด และต้องฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและ ครอบครัวฯ พ.ศ.2534 มาตรา 66
จำเลย กรณีถ้าไม่รับการประกันตัวจะถูกควบคุมอยู่ที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
ที่ปรึกษากฎหมาย จำเลยที่เป็นเด็กหรือเยาวชนจะมีทนายความแก้คดีแทนไม่ได้ แต่ให้มีที่ปรึกษากฎหมายเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทำนองเดียวกันกับทนายความได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2534 มาตรา 83
การสืบพยานในคดีที่เด็กหรือเยาวชนกระทำผิด
ในคดีที่พยานเป็นผู้ใหญ่ การสืบพยานจะเป็นแบบคดีปกติธรรมดา พนักงานอัยการจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และมาตรา 172-181 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 112 และระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2528 ข้อ 73-88

การสืบพยานในคดีที่พยานเป็นเด็กอายุยังไม่ เกินสิบแปดปี ตามปกติห้องที่พิจารณาจะต้องไม่ใช่ห้องพิจารณาคดีธรรมดา แต่ถ้าไม่อยู่ในวิสัยที่จะกระทำได้ ก็ให้ใช้ห้องพิจารณาคดีธรรมดา แต่ต้องไม่ปะปนกับการพิจารณาคดีธรรมดา ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.2534 มาตรา 72 และพนักงานอัยการจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 ตรี และก่อนเบิกความพยานต้องสาบานตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณีแห่งชาติของตน หรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริงเสียก่อน ยกเว้นบุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบสี่ปี (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 112 (1) และระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการคุ้มครองเด็กในคดีอาญา พ.ศ.2543 ข้อ 26-29)

การพิจารณาลับ
การพิจารณาคดีที่ศาลให้กระทำเป็นการลับ พนักงาน อัยการจะต้องปฏิบัติตามระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงาน อัยการ พ.ศ.2528 ข้อ 73 และเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและ ครอบครัวฯ พ.ศ.2534 มาตรา 73 (1)-(7) กำหนดเท่านั้น จึงจะมีสิทธิเข้าฟังการพิจารณาคดีได้และการพิจารณาจะต้องกระทำต่อหน้าที่ ปรึกษากฎหมายของจำเลยเท่านั้น ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ. 2534 มาตรา 90

ระเบียบว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก
ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการคุ้มครองเด็กในคดีอาญา พ.ศ. 2543

โดยเหตุที่ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2542 ได้บทบัญญัติเพิ่มบทบาทของพนักงานอัยการในการคุ้มครองเด็กอายุไม่เกินสิบแปด ปี ทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นศาลหลายประการ กล่าวคือในชั้นสอบสวนได้กำหนดให้พนักงานอัยการเข้าร่วมในการจดบันทึกคำร้อง ทุกข์ในกรณีที่เด็กเป็นผู้เสียหาย การถามปากคำเด็กในฐานะผู้เสียหายหรือพยาน การที่ผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็กชี้ตัวผู้ต้องหาและการสอบสวนผู้ต้องหา ซึ่งเป็นเด็ก ส่วนในชั้นศาลได้มีการกำหนดกระบวนการถามปากคำและสืบพยานในการไต่สวนการตาย การไต่สวนมูลฟ้องและการพิจารณาคดีสำหรับเด็กเป็นพิเศษ นอกจากนั้นยังได้มีการปรับปรุงขยายเหตุและวิธีการเกี่ยวกับการสืบพยานไว้ ก่อนการฟ้องคดีต่อศาลอย่างกว้างขวาง รวมทั้งให้นำวิธีสืบพยานสำหรับเด็กในชั้นศาลไปใช้กับการสืบพยานไว้ก่อนการ ฟ้องคดีต่อศาลอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้การคุ้มครองเด็กในคดีอาญาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวด เร็วสอดคล้องกับมาตรฐาน ข้อ 12 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก พ.ศ. 2532 (ค.ศ.1989) และบทบัญญัติในมาตรา 4 และมาตรา 53 วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 กรณีจึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดองค์กร เพื่อรองรับภารกิจและบทบาทดังกล่าวและสมควรกำหนดหลักปฏิบัติราชการในการ ดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 อัยการสูงสุด จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้

หมวด 1
บททั่วไป

ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการคุ้มครองเด็กในคดีอาญา พ.ศ. 2543”
ข้อ 2. ให้ยกเลิกระเบียบ ข้อบังคับและคำสั่งอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้และให้ใช้ระเบียบนี้แทน
การปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้คำนึงถึงข้อบังคับและระเบียบของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อให้การอำนวยความยุติธรรมเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กในคดีอาญาเป็น ไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความยุติธรรมตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง พ.ศ. 2509 (ค.ศ.1966) และตามบทบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ข้อ 3. ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป
ข้อ 4. ในระเบียบนี้
“ศูนย์อำนวยการ” หมายความถึง ศูนย์อำนวยการคุ้มครองเด็กในคดีอาญา
“ผู้อำนวยการศูนย์” หมายความถึง อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา หรืออัยการจังหวัดผู้ปฏิบัติหน้าที่ประจำ ณ สำนักงานอัยการจังหวัดนั้น หรืออัยการจังหวัดประจำศาลจังหวัดแล้วแต่กรณี
“รองผู้อำนวยการศูนย์” หมายความถึง รองอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา หรือพนักงานอัยการที่อัยการจังหวัดมอบหมาย
“เลขานุการศูนย์” หมายความถึง
(1) ในกรุงเทพมหานคร อัยการพิเศษฝ่ายที่ได้รับมอบหมาย
(2) ในต่างจังหวัด พนักงานอัยการที่อัยการจังหวัดมอบหมาย
“หัวหน้าพนักงานอัยการ” หมายความถึง อัยการพิเศษฝ่ายหรืออัยการจังหวัดที่รับผิดชอบในการดำเนินคดี
“พนักงานอัยการ” หมายความถึง
(1) ในกรุงเทพมหานคร อัยการพิเศษฝ่ายที่ได้รับมอบหมาย
(2) ในต่างจังหวัดพนักงานอัยการประจำสำนักงานอัยการต่าง ๆ
“เด็ก” หมายความถึง เด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี
“การคุ้มครองเด็ก” หมายความถึง การเข้าร่วมในการจดบันทึกคำร้องทุกข์ในกรณีที่เด็กเป็นผู้เสียหาย การถามปากคำเด็กในฐานะผู้เสียหายหรือพยาน การชี้ตัวผู้ต้องหา การสอบสวนผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กในชั้นสอบสวน และ การถามปากคำหรือสืบพยานในการไต่สวนการตาย การไต่สวนมูลฟ้องและการพิจารณาคดีสำหรับเด็กเป็นพิเศษในชั้นศาล
ข้อ 5. พนักงานอัยการมีหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรม และพึงให้ความคุ้มครองสิทธิเด็กจากการใช้ความรุนแรง การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรมต่อเด็ก โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

หมวด 2
ศูนย์อำนวยการ

ข้อ 6. ให้จัดตั้งศูนย์อำนวยการคุ้มครองเด็กในคดีอาญาขึ้นในกรุงเทพมหานครและต่าง จังหวัด มีหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการติดต่อประสานงานรวมทั้งปฏิบัติการตามที่ได้ รับมอบหมาย กรณีพนักงานอัยการต้องเข้าคุ้มครองเด็ก โดยให้ศูนย์อำนวยการคุ้มครองเด็กในคดีอาญากรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางพัฒนา ระบบการคุ้มครองเด็ก และจัดระบบการสำรวจ การเก็บ การใช้ประโยชน์ข้อมูลการคุ้มครองเด็กทั่วราชอาณาจักร การศึกษาวิจัยเชิงประเมินผล โดยพัฒนารูปแบบ วิธีการและแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการคุ้มครองเด็กของสำนักงานอัยการสูงสุด
ให้ผู้อำนวยการศูนย์ เป็นผู้รับผิดชอบอำนวยการให้การคุ้มครองเด็กในการเข้าร่วมจดบันทึกคำร้อง ทุกข์ การถามปากคำเด็กในฐานะผู้เสียหายหรือพยาน การชี้ตัวผู้ต้องหา การสอบสวนผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กการไต่สวนการตาย การไต่สวนมูลฟ้อง หรือการสืบพยานในคดีที่พยานเป็นเด็ก และการสืบพยานไว้ก่อนในคดีที่พยานนั้นเป็นเด็ก หรือคดีนั้นเด็กเป็นผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยให้รองผู้อำนวยการศูนย์มีหน้าที่ช่วยเหลือผู้อำนวยการศูนย์ และให้เลขานุการศูนย์ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ
ข้อ 7. ศูนย์อำนวยการ มีหน้าที่ดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) จัดทำบัญชีรายชื่อพนักงานอัยการผู้มีหน้าที่เข้าร่วมในการคุ้มครองเด็กใน ชั้นสอบสวน โดยในกรุงเทพมหานครให้เสนออัยการสูงสุด หรือผู้ที่อัยการสูงสุดมอบหมายเพื่อออกคำสั่ง ในต่างจังหวัดให้ผู้อำนวยการศูนย์เป็นผู้ออกคำสั่ง แล้วแจ้งให้พนักงานอัยการทราบล่วงหน้า
(2) จัดให้มีพนักงานอัยการปฏิบัติหน้าที่แทน กรณีพนักงานอัยการผู้มีรายชื่อตาม (1) ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
(3) จัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์อำนวยการไว้คอยรับแจ้งจากพนักงานสอบสวน กรณีขอให้พนักงานอัยการเข้าร่วมในการจดบันทึกคำร้องทุกข์ การถามปากคำเด็กในฐานะผู้เสียหายหรือพยาน การชี้ตัวผู้ต้องหา การสอบสวนผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กในชั้นสอบสวน
(4) รับและพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการสืบพยานไว้ก่อน
(5) จัดทำสารบบการเข้าร่วมในการคุ้มครองเด็กในชั้นสอบสวนตามแบบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด
(6) จัดสถานที่สำหรับการซักถามปากคำเด็กเพื่อสั่ง โดยให้มีการบันทึกภาพและเสียงซึ่งสามารถนำออกถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่องไว้ เป็นพยาน
(7) จัดระบบการสำรวจ การเก็บ การใช้ประโยชน์ข้อมูล การคุ้มครองเด็ก
(8) ประสานงานกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(9) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
ข้อ 8. การมอบหมายพนักงานอัยการที่เข้าร่วมในการจดบันทึกคำร้องทุกข์ การถามปากคำเด็กในฐานะผู้เสียหายหรือพยาน การชี้ตัวผู้ต้องหา การสอบสวนผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กในชั้นสอบสวนตามระเบียบนี้ ให้พิจารณาคุณสมบัติ ความสามารถ ความประพฤติของพนักงานอัยการ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมในด้านอายุและเพศของผู้เสียหาย พยาน หรือผู้ต้องหา และข้อกล่าวหาเป็นองค์ประกอบสำคัญด้วย
ข้อ 9. เมื่อได้รับแจ้งจากพนักงานสอบสวนขอให้พนักงานอัยการเข้าร่วมในการจดบันทึกคำ ร้องทุกข์ การถามปากคำเด็กในฐานะผู้เสียหายหรือพยาน การชี้ตัวผู้ต้องหา การสอบสวนผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กในชั้นสอบสวน ให้เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์อำนวยการบันทึกถ้อยคำของพนักงานสอบสวนไว้ในแบบรับ แจ้งการเข้าคุ้มครองเด็กในชั้นสอบสวนท้ายระเบียบนี้ และให้พนักงานสอบสวนลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน ในกรณีจำเป็นให้แจ้งทางโทรสารได้
ให้เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์อำนวยการเสนอบันทึกการรับแจ้งดังกล่าวต่อผู้อำนวย การศูนย์ และแจ้งพนักงานอัยการผู้มีหน้าที่พิจารณาดำเนินการต่อไป
ข้อ 10. พนักงานอัยการและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการเข้าคุ้มครองเด็ก ในชั้นสอบสวนมีสิทธิได้รับค่าตอบแทน ค่าป่วยการ ค่าพาหนะเดินทาง และค่าเช่าที่พักตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุดกำหนด

หมวด 3
การคุ้มครองเด็กในชั้นสอบสวน

ข้อ 11. การเข้าร่วมในการจดบันทึกคำร้องทุกข์ การถามปากคำเด็กในฐานะผู้เสียหายหรือพยาน การชี้ตัวผู้ต้องหา การสอบสวนผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กในชั้นสอบสวน ให้พนักงานอัยการใช้กริยาและภาษาที่เหมาะสม โดยให้คำนึงถึงสภาพร่างกายและจิตใจของเด็ก โดยไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อจิตใจของเด็กและส่งผลให้ข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนไป จากความเป็นจริง อีกทั้งต้องไม่ตอกย้ำจิตใจเด็กซึ่งบอบช้ำให้เลวร้ายยิ่งขึ้น
กรณีจำเป็นโดยมีเหตุอันควร พนักงานอัยการอาจถามปากคำเด็กผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ก็ได้
ข้อ 12. ให้พนักงานอัยการผู้ได้รับมอบหมายเข้าร่วมในการจดบันทึกคำร้องทุกข์ การถามปากคำเด็กในฐานะผู้เสียหายหรือพยาน การชี้ตัวผู้ต้องหาหรือการสอบสวนผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กในชั้นสอบสวน ยังสถานที่และวันเวลาตามที่ได้รับแจ้งจากพนักงานสอบสวน
ก่อนดำเนินการคุ้มครองเด็กในชั้นสอบสวนตามวรรคแรก ให้พิจารณาดังนี้
(1) สถานที่ที่ทำการสอบสวนได้แยกกระทำเป็นส่วนสัด และมีความเหมาะสมสำหรับเด็ก รวมทั้งจัดให้มีการบันทึกภาพและเสียงการสอบปากคำ ซึ่งสามารถนำออกถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่องไว้เป็นพยานแล้วหรือไม่
(2) สถานที่ที่จัดให้มีการชี้ตัวผู้ต้องหานั้น มีความเหมาะสมและ สามารถจะป้องกันมิให้ผู้ต้องหาเห็นตัวผู้เสียหายหรือพยานได้หรือไม่
(3) มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอแล้วหรือไม่
ถ้าพนักงานสอบสวนยังไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตาม (1) หรือ (2) ให้แจ้งพนักงานสอบสวนดำเนินการให้ถูกต้อง หากพนักงานสอบสวนเพิกเฉย ให้ทำบันทึกคัดค้านแจ้งพนักงานสอบสวนทราบและงดการเข้าร่วมคุ้มครองเด็กใน ชั้นสอบสวน แล้วรายงานพร้อมสำเนาบันทึกคัดค้านเสนอผู้อำนวยการศูนย์รวม
ในกรณีไม่มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอตาม (3) ให้พิจารณาว่าเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอ บุคคลดังกล่าวหรือไม่ ถ้ามีหลักฐานว่าเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งโดยมีเหตุอันควรก็ให้ดำเนิน การเข้าคุ้มครองเด็กต่อไป หากไม่เป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งโดยไม่มีเหตุอันควรให้ดำเนินการตาม วรรคก่อน
ข้อ 13. กรณีที่พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนไปก่อนโดยไม่รอพนักงานอัยการ ให้พนักงานอัยการพิจารณาว่ามีเหตุจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งซึ่งมีเหตุอันควร หรือไม่ หากเห็นว่าไม่เป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งโดยไม่มีเหตุอันควร ให้ทำบันทึกคัดค้านแจ้งให้พนักงานสอบสวนทราบ แล้วรายงานพร้อมสำเนาบันทึกคัดค้านเสนอผู้อำนวยการศูนย์ทราบ
ข้อ 14. ให้พนักงานอัยการทำบันทึกรายงานการเข้าร่วมคุ้มครองเด็กในชั้นสอบสวนตามแบบ รายงานที่กำหนด ให้ได้ความเพียงพอที่จะทราบว่า ได้ดำเนินการดังกล่าวในวันใด ครั้งใด ร่วมกับผู้ใด และดำเนินการไปอย่างไร ถ้าเหตุที่ได้จัดการไปนั้นสมควรจะให้ปรากฏถึงเจตนาเพื่อผลใด ๆ ก็ให้บันทึกเหตุนั้นให้ปรากฏไว้ด้วย แล้วเสนอผู้อำนวยการศูนย์ทราบ
ในคดีสำคัญตามนัยแห่งระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงาน อัยการ พ.ศ. 2528 ให้ศูนย์อำนวยการรายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงอัยการสูงสุด
ให้ศูนย์อำนวยการเก็บรักษาแบบรายงานการเข้าร่วมคุ้มครองเด็กในชั้นสอบสวน เพื่อส่งให้พนักงานอัยการผู้รับผิดชอบรวมเข้าไว้ในสำนวนคดีอาญาต่อไป
ข้อ 15. การเข้าร่วมในการคุ้มครองเด็กในชั้นสอบสวน หากพนักงานอัยการไม่ได้รับความร่วมมือจากพนักงานสอบสวนหรือพบข้อบกพร่องของ พนักงานสอบสวนอันอาจทำให้คดีเสียหายได้ ให้พนักงานอัยการแจ้งพนักงานสอบสวนให้ดำเนินการ ถ้าพนักงานสอบสวนเพิกเฉยให้บันทึกไว้ในแบบรายงานตามข้อ 14 แล้วรายงานต่อผู้อำนวยการศูนย์ เพื่อแจ้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ว่าราชการจังหวัดแล้วแต่กรณี

หมวด 4
การคุ้มครองเด็กในชั้นพนักงานอัยการ

ข้อ 16. เมื่อพนักงานอัยการได้รับสำนวนการสอบสวนแล้ว ให้พิจารณาในเบื้องต้นว่าเป็นคดีที่ต้องคุ้มครองเด็กตามกฎหมายหรือไม่ หากเป็นคดีที่ต้องคุ้มครองเด็กแต่พนักงานสอบสวนไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตาม กฎหมาย ให้สั่งไม่รับสำนวนการสอบสวนและส่งคืนพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการให้ถูก ต้อง
กรณีเป็นสำนวนการสอบสวนที่พนักงานอัยการเข้าคุ้มครองเด็กตามหมวด 3 ให้พนักงานอัยการเจ้าของสำนวนขอรับแบบรายงานตามข้อ 14 วรรคสามมารวมเข้าไว้ในสำนวนการสอบสวนดังกล่าว เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
ข้อ 17. ในกรณีจำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ที่จะต้องนำผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็น เด็กมาซักถามเพื่อสั่ง จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีอัยการแล้ว
ในการซักถามเพื่อสั่งดังกล่าว ให้หัวหน้าพนักงานอัยการแจ้งพนักงานสอบสวนส่งผู้เสียหายหรือพยาน ซึ่งเป็นเด็กพร้อมนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์บุคคลที่เด็กร้องขอมา และให้นำความในหมวด 3 ของระเบียบนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม

หมวด 5
การสืบพยานไว้ก่อนเพื่อการคุ้มครองเด็ก

ข้อ 18. เมื่อมีเหตุจะดำเนินการสืบพยานไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ ดี พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธี พิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ก็ดี พระราชบัญญัติมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ. 2540 ก็ดี หรือตามกฎหมายอื่น ให้พนักงานอัยการดำเนินการไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นและระเบียบสำนักงาน อัยการสูงสุดที่ว่าด้วยการสืบพยานไว้ก่อนในเรื่องนั้น ๆ เว้นแต่กรณีที่ระเบียบนี้กำหนดไว้เป็นพิเศษ ให้นำความในระเบียบดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีมีเหตุจะต้องดำเนินการสืบพยานไว้ก่อนตามวรรคแรกและมีพยานซึ่งเป็นเด็ก จะสืบไว้ก่อนหรือเด็กเป็นผู้เสียหายหรือผู้ต้องหา ให้พนักงานอัยการดำเนินการเข้าคุ้มครองเด็กตามระเบียบในสามข้อต่อไปนี้
ข้อ 19. เมื่อศูนย์อำนวยการได้รับการร้องขอจากผู้เสียหายให้สืบพยานไว้ก่อน ให้ตรวจสอบในเบื้องต้นว่าเป็นเรื่องอยู่ระหว่างการสอบสวนหรือไม่ หากปรากฏว่าพนักงานสอบสวนยังไม่ได้รับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษ ให้สอบปากคำบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์และ เหตุอันควรที่จะดำเนินการสืบพยานไว้ก่อนตามข้อ 18 และรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) เมื่อเห็นว่ามีมูลเหตุอันควรเข้าคุ้มครองเด็ก ให้ส่งเรื่องไปยังสำนักงานคดีหรือสำนักงานอัยการที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ การดำเนินคดีนั้นแล้วแต่กรณีโดยเร็ว เพื่อพิจารณาดำเนินการให้มีการสืบพยานไว้ก่อนหรือศูนย์อำนวยการอาจดำเนินการ เองก็ได้
เมื่อสำนักงานคดีหรือสำนักงานอัยการได้รับเรื่องตามวรรคแรก ให้พนักงานอัยการผู้รับผิดชอบตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานว่ามีเหตุที่ จะสืบพยานไว้ก่อนตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ หากเห็นว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอและมีเหตุอันสมควรก็ให้ดำเนินการสืบพยานไว้ ก่อน แต่หากเห็นว่าไม่มีเหตุอันควรดำเนินการให้หัวหน้าพนักงานอัยการเสนอเรื่อง ต่ออธิบดีอัยการเพื่อพิจารณาสั่ง
ในกรณีที่ศูนย์อำนวยการเห็นว่าไม่มีมูลเหตุอันควรดำเนินการ ให้สั่งยุติการดำเนินการ เว้นแต่ในต่างจังหวัดให้ศูนย์อำนวยการเสนอเรื่องต่ออธิบดีอัยการเขตเพื่อ พิจารณาสั่ง
คำสั่งของอธิบดีอัยการให้ถือเป็นที่สุด แล้วให้ศูนย์อำนวยการแจ้งคำสั่งให้ผู้ร้องขอทราบตามแบบที่กำหนด
ข้อ 20. ในกรณีที่ศูนย์อำนวยการตรวจสอบในเบื้องต้นตามข้อ 19 วรรคแรกและปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้รับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษไว้แล้ว แต่ยังไม่ได้ส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ ให้ศูนย์อำนวยการส่งเรื่องไปยังสำนักงานคดีหรือสำนักงานอัยการที่มีอำนาจ หน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีเรื่องนั้นแล้วแต่กรณีเพื่อพิจารณาดำเนินการ
เมื่อได้รับเรื่องจากศูนย์อำนวยการตามวรรคแรก ให้นำความในข้อ 19 วรรคสองและวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ก่อนที่พนักงานสอบสวนจะส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการพนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการผู้เข้าร่วมคุ้มครองเด็กในชั้นสอบสวนในคดีนั้นอาจร้องขอ ให้ศูนย์อำนวยการดำเนินการสืบพยานไว้ก่อน และให้นำความในสองวรรคก่อนมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 21. ในกรณีที่ศูนย์อำนวยการตรวจสอบในเบื้องต้นตามข้อ 19 วรรคแรกและปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้รับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษและได้ส่ง สำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการไว้แล้ว ให้ศูนย์อำนวยการส่งเรื่องไปยังสำนักงานคดีหรือสำนักงานอัยการที่ได้รับ สำนวนการสอบสวนเพื่อพิจารณาดำเนินการ
เมื่อได้รับเรื่องจากศูนย์อำนวยการตามวรรคแรก ให้พนักงานอัยการตรวจพิจารณาสำนวนโดยละเอียดรอบคอบและให้นำความในข้อ 19 วรรคสองและวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่พนักงานสอบสวนได้ส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการไว้แล้ว หากพนักงานอัยการเจ้าของสำนวนโดยตนเองหรือพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบหรือผู้ เสียหาย ร้องขอให้ดำเนินการสืบพยานไว้ก่อนต่อสำนักงานคดีหรือสำนักงานอัยการที่ได้ รับสำนวนการสอบสวนโดยตรง ให้นำความในวรรคก่อนมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 22. การพิจารณาทำความเห็นและสั่งดำเนินการสืบพยานไว้ก่อนเพื่อการคุ้มครองเด็ก ตามข้อ 19 ข้อ 20 และข้อ 21 หรือกรณีเป็นคดีสำคัญ ให้นำความในข้อ 13 และข้อ 32 แห่งระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2528 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 23. เมื่อได้รับแจ้งจากศาลในกรณีที่อนุญาตให้ผู้ต้องหาสืบพยานไว้ก่อน หากพนักงานอัยการยังไม่ได้รับสำนวนการสอบสวน ให้ประสานงานไปยังพนักงานสอบสวนเพื่อขอทราบข้อเท็จจริงอันเป็นมูลคดีและ พฤติการณ์แห่งคดีเท่าที่จำเป็น หรือในกรณีที่พนักงานอัยการได้รับสำนวนการสอบสวนแล้ว อาจแจ้งพนักงานสอบสวนเพื่อขอทราบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมก็ได้
ข้อ 24. ก่อนเริ่มสืบพยานไว้ก่อน ถ้าเป็นกรณีที่ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญา ซึ่งหากการฟ้องคดีจะเป็นคดีซึ่งศาลจะต้องตั้งทนายความให้หรือจำเลยมีสิทธิ ร้องขอให้ศาลตั้งทนายความ ให้พนักงานอัยการตรวจสอบว่าได้มีการตั้งทนายความแล้วหรือไม่ หากยังไม่มีให้แถลงศาลทราบ
ให้พนักงานอัยการเข้าดำเนินการซักค้านพยานและต้องทำบันทึกการดำเนินการทุก เรื่องในรายงานการคดี (แบบ อ.ก.13) ให้ละเอียดเพียงพอที่จะทราบว่าได้ดำเนินการดังกล่าวในวันใด ครั้งใด พนักงานอัยการคนใด ได้จัดการไปอย่างไร ถ้าเหตุที่ได้จัดการไปนั้นสมควรจะให้ปรากฏถึงเจตนาเพื่อผลใดๆ ก็ให้บันทึกเหตุนั้นให้ปรากฏไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินคดีต่อไป และให้รายงานหัวหน้าพนักงานอัยการเพื่อทราบด้วย
ข้อ 25. กรณีสืบพยานไว้ก่อนตามข้อ 19 และข้อ 20 เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วให้ส่งสำเนาบันทึกการดำเนินการดังกล่าวไปยังศูนย์ อำนวยการเพื่อเก็บรักษา
กรณีสืบพยานไว้ก่อนตามข้อ 21 ให้หัวหน้าพนักงานอัยการรายงานผลการดำเนินการให้ศูนย์ทราบเพื่อเป็นข้อมูลทางวิชาการต่อไป

หมวด 6
การคุ้มครองเด็กในชั้นศาล

ข้อ 26. ในการฟ้องคดีของพนักงานอัยการ หากปรากฏว่ากระบวนการในการดำเนินคดีเรื่องนั้น จะส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจเด็กและเป็นการซ้ำซากที่จะตอกย้ำจิตใจเด็กซึ่งบอบ ช้ำให้เลวร้ายยิ่งขึ้น อันจำเป็นต้องมีการคุ้มครองเด็ก ให้พนักงานอัยการระบุไว้ในคำฟ้องเพื่อขอให้ศาลใช้กระบวนการถามปากคำและการ สืบพยานสำหรับเด็กเป็นการเฉพาะด้วย
การนำเด็กเข้าสืบในชั้นพิจารณาคดีของศาลนั้น ให้พนักงานอัยการเจ้าของสำนวนระบุไว้ในบัญชีพยานว่าพยานนั้นเป็นเด็ก และในการขอหมายเรียกพยานเด็กดังกล่าว ให้ระบุไว้ในคำร้องด้วยว่าพยานที่จะนำเข้าสืบเป็นเด็ก
ข้อ 27. ก่อนการสืบพยานเด็กหากปรากฏเหตุตามความในข้อ 26 วรรคแรกหรือมีเหตุอันควร ให้พนักงานอัยการเจ้าของสำนวนแถลงต่อศาลขอให้จัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียง คำให้การพยานที่ได้บันทึกไว้ในชั้นสอบสวน หรือชั้นไต่สวนมูลฟ้องต่อหน้าคู่ความก่อน และหากจำเป็นต้องถามพยานเด็กเพิ่มเติม หรือมีการซักค้านหรือถามติง ให้นำความในข้อ 11. แห่งระเบียบนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 28. กรณีที่ไม่ได้ตัวเด็กซึ่งเป็นพยานมาเบิกความในชั้นพิจารณาของศาลเพราะมีเหตุ จำเป็นอย่างยิ่ง ให้พนักงานอัยการดำเนินการให้ศาลรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การพยานนั้นใน ชั้นสอบสวน ทั้งนี้เพื่อให้ศาลรับฟังประกอบพยานอื่นในการพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป
ข้อ 29. ในการไต่สวนการตาย เมื่อปรากฏว่าพยานที่นำเข้าไต่สวนเป็นเด็ก ให้นำความในหมวดนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ประกาศ ณ วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2543

(นายสุชาติ ไตรประสิทธิ์)
อัยการสูงสุด

ข้อปฏิบัติในการประกันตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา
  1. ให้ทุกสำนักงานที่ดำเนินคดีอาญาทั่วราชอาณาจักร จัดทำประกาศหลักเกณฑ์การขอประกันตัวผู้ต้องหา
    ในคดีอาญาและผังกระบวนงานขอประกันตัวผู้ต้องหาปิดหน้าสำนักงานโดยเปิดเผยให้เห็นโดยทั่วไป และเผยแพร่
    ทางเว็บไซด์ของสำนักงาน (ถ้ามี) ให้ประชาชนทราบเกี่ยวกับการขอประกันตัวผู้ต้องหาในชั้นพนักงานอัยการและกระบวนงานขอประกันตัวผู้ต้องหาสำหรับในต่างจังหวัด ให้มีหนังสือขอความร่วมมือจากจังหวัดให้ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ประกาศและผังกระบวนงานดังกล่าวให้ประชาชนทราบ
  2. ให้ทุกสำนักงานที่ดำเนินคดีอาญาทั่วราชอาณาจักร จัดทำป้ายติดที่โต๊ะเจ้าหน้าที่แสดงขัดแจ้งว่าเป็น
    ผู้ทำหน้าที่งานประกันตัวผู้ต้องหาพร้อมชื่อ นามสกุล ตำแหน่งของเจ้าที่ดังกล่าว และจัดตัวอย่างการเขียนหรือพิมพ์
    คำร้องขอประกันและสัญญาประกัน ปิดหน้าสำนักงานโดยเปิดเผยให้เป็นตัวอย่าง
  3. ให้พิจารณาเรื่องการประกันตัวผู้ต้องหาเป็นงานแรกเมื่อรับสำนวนการสอบสวนและจะต้องพิจารณา
    เรื่องขอประกันตัวก่อนการลงสารบบ
  4. กรณีผู้ขอประกันตัวไม่อาจเขียนหรือพิมพ์คำร้องขอประกัน และสัญญาประกันให้จัดเจ้าหน้าที่เขียนหรือ
    พิมพ์คำร้องขอประกันและสัญญาประกันให้โดยพลัน โดยมิให้เรียกเงินหรือทรัพย์สินใดตอบแทนการเขียนหรือพิมพ์อย่างเด็ดขาด และมิให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมคำร้องขอประกันและสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาจากผู้ยื่นคำขอ
  5. เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้คำร้องขอได้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานถูกต้อง ให้ลงเวลารับไว้ที่หัวกระดาษคำร้อง
    แล้วรีบนำคำร้องขอประกันพร้อมสัญญาประกันพร้อมสัญญาประกัน เสนอหัวหน้าพนักงานอัยการหรือพนักงานอัยการ
    ผู้ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณาสั่งการ
  6. ให้ดำเนินการพิจารณาสั่งคำร้องขอประกันให้แล้วเสร็จภายใน ๒๐ นาที นับแต่รับคำร้อง เว้นแต่ในกรณี
    มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจดำเนินการได้ตามระยะเวลาดังกล่าวให้ขยายระยะเวลาเป็นไม่เกิน ๓๐ นาที นับแต่รับคำร้อง
    โดยแจ้งเหตุดังกล่าวให้ผู้ขอประกันตัวทราบด้วยและมิให้เรียกเงินหรือทรัพย์สินใดตอบแทน
  7. กรณีเจ้าหน้าที่ผู้รับคำร้อง ผู้พิมพ์คำร้อง ผู้ตรวจคำร้อง และผู้พิจารณาสั่งคำร้องไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่ว่ากรณีใด ให้มอบหมายผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนทันที ห้ามมิให้ยกเหตุขัดข้องดังกล่าวขึ้นอ้างต่อประชาชนผู้รับบริการ

แผนผังกระบวนงานของขอประกันตัวผู้ต้องหา

           กระบวนงานดังกล่าว ตั้งแต่เจ้าหน้าที่รับคำร้อง/ตรวจสอบหลักฐานจนกระทั่งแจ้งผลการพิจารณาและทำสัญญาประกันแล้วเสร็จ ใช้ระยะเวลาไม่เกิน ๒๐ นาที เว้นแต่ในกรณีมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจดำเนินการได้ภายในระยะเวลาดังกล่าวให้ขยายระยะเวลาเป็นไม่เกิน ๓๐ นาที นับแต่รับคำร้อง โดยพนักงานอัยการหรือเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอประกันตัวทราบเหตุดังกล่าว

หลักเกณฑ์การขอประกันตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา

  1. ผู้มีสิทธิยื่นขอประกันตัวผู้ต้องหา ได้แก่ ตัวผู้ต้องหาหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง
  2. กรณีการใช้บุคคลเป็นหลักประกัน ในการปล่อยตัวชั่วคราว ไม่จำกัดเฉพาะข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจ และข้าราชการเมือง เพียงเท่านั้น บุคคลอื่น ๆ ที่มีความน่าเชื่อถือ สามารถใช้สิทธินี้ได้เช่นกัน
  3. การร้องขอประกันตัว ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นค่าคำร้อง ค่าสัญญาประกันค่าเขียนหรือพิมพ์คำร้อง เขียนสัญญาหรือพิมพ์สัญญาประกัน รวมทั้งการพิจารณาการสั่งอนุญาตให้ประกันตัว
  4. การเขียนหรือพิมพ์คำร้องขอประกันตัว และสัญญาประกันตัวให้เขียนหรือพิมพ์ตามตัวอย่างที่สำนักงานได้จัดทำไว้เป็นตัวอย่างให้ดู (ให้ทุกสำนักงานจัดทำตัวอย่างปิดคู่กับประกาศนี้) หากผู้ขอประกันเขียนหรือพิมพ์ไม่ได้ สำนักงานได้จัดให้มีผู้เขียนหรือพิมพ์ให้และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเขียนหรือพิมพ์แต่อย่างใด
  5. เมื่อรับคำร้องขอประกันตัวแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้รับคำร้องจะตรวจสอบความถูกต้องของคำร้องสัญญาประกัน และหลักประกัน พร้อมกับลงเวลาการรับคำร้องไว้ที่บนหัวกระดาษคำร้อง กรณีผู้ร้องขอประกันมากรายจะจัดบัตรคิวและให้บริการตามลำดับ
  6. การพิจารณาคำขอประกันตัวปกติพนักงานอัยการจะอนุญาตให้ประกันตัวตามขอ ฉะนั้นอย่างหลงเชื่อ
    คำแอบอ้างหรือการเรียกเงินเพื่อตอบแทนการอนุญาตให้ประกันตัวดังกล่าว
  7. พนักงานอัยการพิจารณาสั่งคำร้องขอประกันตัวภายในระยะเวลา ๒๐ นาที นับแต่รับคำร้องเว้นแต่ในบางกรณีที่มีเหตุสมควรที่ไม่อาจดำเนินการได้แล้วเสร็จตามเวลาดังกล่าวให้ขยายระยะเวลาเป็นไม่เกิน ๓๐ นาที นับแต่รับ
    คำร้อง โดยพนักงานอัยการหรือเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอประกันตัวทราบเหตุดังกล่าว
  8. จะไม่มีข้ออ้างจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าผู้รับคำร้องไม่อยู่ ไม่มีเจ้าหน้าที่เขียนหรือพิมพ์คำร้อง
    รวมทั้งพนักงานอัยการผู้สั่งอนุญาตคำร้องไม่อยู่ เพราะเป็นหน้าที่ของสำนักงานที่จะต้องจัดเจ้าหน้าที่ทดแทน
    ไว้บริการประชาชนเสมอ

ขั้นตอนการสอบถามผลคดี และขอคืนของกลาง

แผนผังการปฏิบัติงานคดีอาญา

แผนผังการปฏิบัติงานคดีแพ่ง

การตั้งผู้ปกครอง , รับบุตรบุญธรรม

ขั้นตอนการติดต่อราชการ

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดสตูล
ตั้งอยู่ที่
อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดสตูล
เลขที่ ๒ ชั้น ๒ ถนนสถิตยุติธรรม ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
โทรศัพท์ ๐ ๗๔๗๒ ๔๓๓๔ โทรสาร ๐ ๗๔ ๗๒ ๒๑๗๓
Email: satun-ju@ago.go.th