ข่าวประชาสัมพันธ์

เกี่ยวกับสำนักงาน
ประวัติความเป็นมา

          สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน มีชื่อย่อว่า สคช.ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๕ ในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด ตามคำสั่งของกรมอัยการ ที่ ๑๗๔/๒๕๒๕ ลงวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๕

          วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ผลประโยชน์และให้ความช่วยเหลือประชาชน ทางด้านกฎหมาย ต่อมาเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๒๖ คณะรัฐมนตรีได้มีมติโอนโครงการให้ความช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนในชนบทเขตยากจน ซึ่งขณะนั้น อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักนโยบายและแผนมหาดไทย มาให้สำนักงานอัยการสูงสุดรับผิดชอบดำเนินงานสิบมา ในวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๒๗ คณะรัฐมนตรีได้มีมติโอนงานช่วยเหลือทางกฎหมายแก่เกษตรกร และผู้ยากจน ซึ่งขณะนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมาให้ สคช.สำนักงานอัยการสูงสุด รับผิดชอบดำเนินการวิธีดำเนินการ ได้ดำเนินการตามแนวนโยบายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การพิจารณาพื้นที่เป้าหมายดำเนินงาน โดยนำเอาปัญหาที่แท้จริงของคนในท้องถิ่นที่แตกต่างกันไปในแต่ ละภูมิภาคและแต่ละพื้นที่เป็นตัวกำหนดพื้นที่ปฏิบัติการ โดยสำนักงานอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งจัดตั้งสำนัก งานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนประจำจังหวัดขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศ เป็นการ ให้บริการฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายยกเว้นค่าธรรมเนียมในชั้นศาลที่ต้องเสียตามกฎหมาย

          ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๙  ธันวาคม ๒๕๕๖  ได้มีประกาศคณะกรรมการอัยการ เรื่องการแบ่งหน่วยงานและการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของหน่วยงานภายในของสำนักงานอัยการสูงสุด (ฉบับที่ ๑๐ )พ.ศ.๒๕๕๖ ให้จัดตั้งสำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดขึ้นทั้ง ๗๖ จังหวัดทั่วประเทศ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๗ เป็นต้นมา ประกาศฉบับดังกล่าวได้กำหนดอำนาจและหน้าที่เพิ่มเติมจากที่สคช.รับผิดชอบอยู่ในส่วนของงานการบังคับคดีและในส่วนการบริหารงานกำหนดให้มีอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการปฎิบัติราชการแยกเป็นเอกเทศ ไม่ขึ้นกับสำนักงานอัยการจังหวัด เช่นเดิม 

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)

บุคลากร

ชื่อ-สกุล ดำรงตำแหน่ง
นางวีณา อินทับ1 เมษายน 2557 – 31 มีนาคม 2558
นายวิเชียร ชูสุวรรณ์1 เมษายน 2558 – 31 มีนาคม 2559
นางรัตนาภรณ์ โพธิ์ทอง จันทร์อินทร์1 เมษายน 2559 – 31 มีนาคม 2560
นางสาวชลธิชา ศุภรัตน์วนิชย์1 เมษายน 2560 – 31 มีนาคม 2561
นายสมควร เรืองวุฒิ1 เมษายน 2561 – 31 มีนาคม 2562
นายกิตติพงศ์ ชัยสถิตย์1 เมษายน 2562 – 31 มีนาคม 2563
นายพงษ์เททพ ทิพย์จำนงค์1 เมษายน 2563 – 31 มีนาคม 2564
นางปราศัย ศรีสุข1 เมษายน 2564 – 31 มีนาคม 2565
นายสุชาติ วรรณเมืองเก่า1 เมษายน 2565 – 31 มีนาคม 2566
นางสาวเบญจรัตน์ เนติโพธิ์1 เมษายน 2566
ให้การช่วยเหลือประชาชนในด้านต่าง ๆ ดังนี้
  1. ให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่ประชาชน ผู้เดือดร้อน
  2. ช่วยทำนิติกรรมสัญญาแก่ประชาชน
  3. ช่วยเหลือทางคดีแพ่ง และคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา ทั้งในฐานะผู้ฟ้อง และผู้ถูกฟ้องให้แก่ประชาชนที่เดือดร้อน ยากจน ไม่ได้รับความเป็นธรรม
  4. ประนอมข้อพิพาททางแพ่งและอาญาอันยอมความได้
  5. บังคับคดีให้กับหน่วยงานของภาครัฐตามคำพิพากษาของศาล
เอกสารที่ต้องใช้ในการติดต่อ

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก

  1. สำเนาทะเบียนบ้านเจ้ามรดก (ผู้ตาย)
  2. มรณบัตรของเจ้ามรดก
  3. ทะเบียนสมรสของเจ้ามรดกและของบิดา-มารดาของเจ้ามรดก
  4. หากบิดา-มารดา ของเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปก่อนแล้วต้องแสดงมรณบัตร หรือหนังสือรับรองการตาย (ขอได้จากอำเภอที่บุคคลนั้นถึงแก่ความตาย)
  5. เอกสารหลักฐานเกี่ยวกับทรัยพ์สินของผู้ตาย เช่น โฉนดที่ดิน น.ส.3, น.ส.3ก, สค.1 , ทะเบียนอาวุธปืน, ทะเบียนรถยนต์, ทะเบียนรถจักรยานยนต์, สมุดเงินฝากธนาคาร
  6. หนังสือให้ความยินยอมของทายาทโดยธรรม (ลงนามต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดสงขลา)
  7. ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของทายาททุกคน
  8. เอกสารอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น ใบเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล เป็นต้น
  9. เงินค่าธรรมเนียมศาล
    หมายเหตุเอกสารตามข้อ 1- 8 ผู้ร้องต้องถ่ายสำเนาหลักฐานทั้งหมดมาอย่างละ 3 ชุด พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง เพื่อความสะดวกในการยื่นคำร้อง)

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องขอตั้งผู้ปกครอง

  1. สำเนาทะเบียนบ้านของเด็ก
  2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ปกครอง
  3. สำเนาสูติบัตรของเด็ก
  4. สำเนามรณะบัตรของมารดาเด็ก
  5. สำเนามรณะบัตรของบิดาเด็ก
  6. สำเนาหลักฐานการสมรสทางศาสนาของบิดามารดาเด็ก
  7. เงินค่าธรรมเนียม
    หมายเหตุเอกสารตามข้อ 1- 6 ถ่ายสำเนารายการละ 4 ชุด (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องขอรับบุตรบุญธรรม

  1. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้จะรับบุตรบุญธรรม
  2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม
  3. สำเนาทะเบียนบ้านของบิดามารดาของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม
  4. สำเนาทะเบียนบ้านของสามีหรือภริยาผู้จะรับบุตรบุญธรรม
  5. สำเนาใบสำคัญการสมรสของผู้จะรับบุตรบุญธรรม
  6. สำเนาใบสำคัญการสมรสของบิดามารดาบุตรบุญธรรม
  7. สำเนาสูติบัตรผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม
  8. หนังสือให้ความยินยอมของบิดาผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม
  9. หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรสของผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม
  10. เงินค่าธรรมเนียม
    หมายเหตุเอกสารตามข้อ 1- 9 ถ่ายสำเนารายการละ 4 ชุด (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องขอเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ

  1. สำเนาทะเบียนบ้านผู้ร้อง (บิดา)
  2. สำเนาทะเบียนบ้านของคนเสมือนไร้ความสามารถ
  3. สำเนาสูติบัตรของคนไร้ความสามารถ
  4. สำเนาทะเบียนทะเบียนสมรสของผู้ร้อง (บิดา)
  5. ใบรับรองแพทย์
    6.บัตรประจำคนผู้พิการ
  6. สำเนาทะเบียนบ้านของมารดา
  7. หนังสือให้ความยินยอมจากทายาท
  8. เงินค่าธรรมเนียม
    หมายเหตุเอกสารตามข้อ 1- 8 ถ่ายสำเนารายการละ 3 ชุด (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นคำร้องตั้งรับรองบุตร

  1. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ที่จะรับ
  2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เยาว์
  3. หนังสือการสมรสของผู้ที่จะรับ
  4. สูติบัตรของเด็ก
  5. สำเนาทะเบียนบ้านของมารดาเด็ก
  6. หนังสือให้ความยินยอมของมารดาเด็ก
  7. เงินค่าธรรมเนียม
    หมายเหตุเอกสารตามข้อ 1- 5 ถ่ายสำเนารายการละ 4 ชุด (พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง)
สถิติการให้คำปรึกษาทางกฎหมาย

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดสงขลา
ถนนแหลมสนอ่อน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 90000
โทรศัพท์ 074-307236 โทรสาร 074-307236
E-mail : sk_lawaid@ago.go.th