ข่าวประชาสัมพันธ์

วันที่ 10 เมษายน 2567 ท่านชัยโรจน์ ศรีภักดี อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง และท่านกีรบดี อัครปรีดี อัยการจังหวัดผู้ช่วย เข้าพบท่านทรงกลด สว่างวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ณ ศาลากลางจังหวัดตรัง

/ วันที่ 10 เมษายน 2567 สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ สรงน้ำพระ และรดน้ำขอพรท่านผู้ใหญ่ (อจ.ตรัง, อจ.แขวง, อจ.เยาวชนฯ และ อจ.คช.) เพื่อเป็นสิริมงคล เนื่องในเทศกาลวันปีใหม่ไทย

วันที่ 9 เมษายน 2567 ท่านชัยโรจน์​ ศรีภักดี​ อัยการ​จังหวัด​คดี​เยาวชน​และ​ครอบครัว​จังหวัด​ตรัง​ พร้อมคณะ เข้าเยี่ยมเยียน พบปะพูดคุย กับท่านทัดเทพ จุทอง ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่
และเพื่อประสานความร่วมมือในการปฏิบัติราชการ ณ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง

วันที่ 4 เมษายน 2567 ท่านชัยโรจน์​ ศรีภักดี​ อัยการ​จังหวัด​คดี​เยาวชน​และ​ครอบครัว​จังหวัด​ตรัง​ และท่านกีรบดี อัครปรีดี อัยการจังหวัดผู้ช่วย ร่วมงาน “131 ปี องค์กรอัยการ ที่พึ่งด้านกฎหมายของรัฐและประชาชน” และเข้าพบท่านศิริศักดิ์ พจนสิทธิ์
อธิบดีอัยการภาค 9 และคณะผู้บริหาร ณ สำนักงานอัยการภาค 9 อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

วันที่ 2 เมษายน 2567 ท่านชัยโรจน์​ ศรีภักดี​ อัยการ​จังหวัด​คดี​เยาวชน​และ​ครอบครัว​จังหวัด​ตรัง​ และคณะ​ ร่วม​กิจกรรม​จิต​อาสา​พัฒนา​ เนื่อง​ใน​โอกาส​วันคล้าย​วันพระราชสมภพ​ สมเด็จ​พระกนิษฐาธิราชเจ้า​ กรมสมเด็จ​พระเทพรัตนราชสุดา​ฯ​ สยามบรมราชกุมารี​ ณ​ โรงเรียน​ตำรวจ​ตระเวน​ชายแดน​บ้านหินจอก ตำบล​ลิพัง อำเภอ​ปะเหลียน​ จังหวัด​ตรัง

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567ท่านนิกร​ณ์​ วัง​วิเศษ​กุศล​ อัยการ​จังหวัด​ประจำ​สำนักงาน​อัยการ​สูงสุด​ สำนักงาน​อัยการ
​คดี​เยาวชน​และ​ครอบครัว​จังหวัด​ตรัง​ ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติถวายพระพร​ชัย​มงคล​แด่พระ​บาท​สมเด็จ​พระเจ้าอยู่หัว​ เนื่องโอกาส​วัน​เฉลิมพระชนมพรรษา​ 6​ รอบ​ 28​ กรกฎาคม​ 2567 ณ วัดนิโครธาราม อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567 ท่านกอทิพย์ กลิ่นทอง อธิบดี​อัยการ สำนักงานคดีแรงงาน​ภาค​ 9​ และคณะ​ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามผลการปฏิบัติราชการสำนักงานอัยการในจังหวัดตรัง โดยมีท่านสุเจนทร์​ สินไชย อัยการจังหวัดตรัง ท่านอนุรัญ​ โมรารัตน์ อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงตรัง ท่านสถาพร​ ทองคลิ้ง อัยการจังหวัดคดีเยาวชนฯ และท่านปิยศิษฏ์​ เจ้ยแก้ว อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ พร้อมทั้งข้าราชการฝ่ายอัยการทั้ง 4 สำนักงาน ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม ชั้น 6 อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

วันที่ 26 มกราคม 2567 ท่านวัฒนา​ สวัสดิ์ทอง ผู้ตรวจการอัยการ ท่านศิริศักดิ์​ พจนสิทธิ์​ อธิบดี​อัยการ​ภาค​ 9​ และคณะ​ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามผลการปฏิบัติราชการสำนักงานอัยการในจังหวัดตรัง โดยมีท่านสุเจนทร์​ สินไชย อัยการจังหวัดตรัง ท่านอนุรัญ​ โมรารัตน์ อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงตรัง ท่านสถาพร​ ทองคลิ้ง อัยการจังหวัดคดีเยาวชนฯ และท่านปิยศิษฏ์​ เจ้ยแก้ว อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ พร้อมทั้งข้าราชการฝ่ายอัยการทั้ง 4 สำนักงาน ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม ชั้น 6 อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

สอย.ตรัง ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา เนื่องในวันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

/////วันที่ 28 ธันวาคม 2566 ท่านนิกรณ์ วังวิเศษกุศล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และคณะ ร่วมร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา เนื่องในวันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ ท่าเทียบเรือทุ่งคลองสน ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง

สอย.ตรัง ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดีกรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ

/////วันที่ 7 ธันวาคม 2566 ท่านธนิศา นิลยกานนท์ อัยการจังหวัดผู้ช่วย ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ ณ พระอุโบสถวัดกะพังสุรินทร์ พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

สอย.ตรัง ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สด ถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง

/////วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 ท่านสถาพร ทองคลิ้ง อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง และคณะ ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สด ถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ณ หอประชุม โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง

สอย.ตรัง ให้การต้อนรับท่านสมพร ศรีกฤษณ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง และคณะ ในโอกาสนำนักเรียนเข้าศึกษาดูงาน

/////วันที่ 19 ตุลาคม 2566 ท่านสถาพร ทองคลิ้ง อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง ท่านสุเจนทร์ สินไชย อัยการจังหวัดตรัง ท่านปิยศิษฐ์ เจ้ยแก้ว อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตรัง พร้อมด้วยท่านอัยการและเจ้าหน้าที่ ร่วมต้อนรับ ท่านสมพร ศรีกฤษณ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง และคณะ ได้นำนักเรียนเข้าศึกษาดูงาน เรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินคดี และอำนาจ หน้าที่ของพนักงานอัยการ ตลอดจนร่วมฟังแนวทางการศึกษาทางด้านกฎหมาย และสร้างแรงบันดาลใจแก่นักเรียน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจศึกษาต่อ ณ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง (ห้องประชุมสำนักงานอัยการจังหวัดตรัง ชั้น 6)

สอย.ตรัง ร่วมกิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทยพร้อมกัน เนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน ของทุกปี

 /////วันพฤหัสบดี ที่ 28 กันยายน 2566 เวลา 8.00 น. นางสาวธนิศา นิลยกานนท์ อัยการจังหวัดผู้ช่วย สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง และคณะ ร่วมกิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทยพร้อมกัน เนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน ของทุกปี ณ หน้าอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดตรัง

สอย.ตรัง ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เนื่องในวันรพี

/////วันที่ 7 สิงหาคม 2566 นายสถาพร  ทองคลิ้ง อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง และคณะ ร่วมพิธีวางพวงมาลาและถวายสักการะ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เนื่องในวันรพี ประจำปี 2566 เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” ณ หน้าอาคารศาลจังหวัดตรัง

สอย.ตรังร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน

/////วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 นายสถาพร ทองคลิ้ง อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง พร้อมด้วยคณะข้าราชการฝ่ายอัยการเข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ณ ห้องประชุมสำนักงานอัยการจังหวัดตรัง (ชั้น 6)

สอย.ตรัง ร่วมให้การต้อนรับ ท่านศิริศักดิ์ พจนสิทธิ์ อธิบดีอัยการภาค 9 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและตรวจราชการสำนักงานอัยการในจังหวัดตรัง

/////วันที่ 20​ มิถุนายน 2566 ท่านศิริศักดิ์​ พจนสิทธิ์ อธิบดีอัยการภาค​ 9 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและตรวจราชการสำนักงานอัยการในจังหวัดตรัง โดยมีท่านสุเจนทร์​ สินไชย อัยการจังหวัดตรัง ท่านอนุรัญ โมรารัตน์ อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงตรัง ท่านสถาพร​ ทองคลิ้ง อัยการจังหวัดคดีเยาวชนฯ และท่านปิยศิษฎ์​ เจ้ยแก้ว อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิฯ พร้อมทั้งข้าราชการฝ่ายอัยการทั้ง 4 สำนักงาน ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม ชั้น 6 อาคารสำนักงานอัยการจังหวัดตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

สอย.ตรัง ร่วมพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาส​วันเฉลิมพระชนมพรรษา​สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา​ พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี​ (3 มิถุนายน​ 2566)

/////วันที่ 2 มิถุนายน 2566 ท่านสถาพร​ ทองคลิ้ง อัยการจังหวัดคดีเยาวชน​และ​ครอบครัว​จังหวัด​ตรัง​ พร้อมด้วยคณะ​ข้าราชการฝ่ายอัยการ​ เข้าร่วมพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาส​วันเฉลิมพระชนมพรรษา​สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา​ พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี​ (3 มิถุนายน​ 2566) ณ ห้องประชุมสำนักงานอัยการจังหวัดตรัง (ชั้น​ 6)

สอย.ตรัง ร่วมกิจกรรมแข่งขันกีฬาสร้างเสริมสุขภาพและสัมพันธภาพ เนื่องในโอกาสวันสถาปนาศาลยุติธรรม ครบรอบ 141 ป

/////วันที่ 25 เมษายน 2566 บุคลากรสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง นำโดยนายสถาพร ทองคลิ้ง อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง ร่วมกิจกรรมแข่งขันกีฬาสร้างเสริมสุขภาพและสัมพันธภาพ เนื่องในโอกาสวันสถาปนาศาลยุติธรรม ครบรอบ 141 ปี ณ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

สอย.ตรัง ร่วมกิจกรรมทางศาสนา เนื่องในโอกาสวันสถาปนาศาลยุติธรรม ครบรอบ 141 ปี

/////วันที่ 21 เมษายน 2566 นายสถาพร ทองคลิ้ง อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง นายนิกรณ์ วังวิเศษกุศล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด และนางสาวธนิศา นิลยกานนท์ อัยการจังหวัดผู้ช่วย ร่วมพิธีทางศาสนา เนื่องในโอกาสวันสถาปนาศาลยุติธรรม ครบรอบ 141 ปี ณ ศาลจังหวัดตรัง

สอย.ตรัง ร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ สรงน้ำพระ และรดน้ำขอพรท่านผู้ใหญ่ เพื่อเป็นสิริมงคล เนื่องในเทศกาลวันปีใหม่ไทย

/////วันที่ 12 เมษายน 2566 สำนักงานอัยการคดีเยาวชนจังหวัดตรังร่วมสืบสานประเพณีสงกรานต์ สรงน้ำพระ และรดน้ำขอพรท่านผู้ใหญ่ (อัยการจังหวัดตรัง, อัยการจังหวัดคดีศาลแขวงตรัง, อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง และอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดตรัง) เพื่อเป็นสิริมงคล เนื่องในเทศกาลวันปีใหม่ไทย ประจำปี 2566 ณ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง ชั้น 5 อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรังเข้าเยี่ยมคารวะและหารือข้อราชการกับผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง

/////วันที่ 4 เมษายน 2566 เวลา 10.00 น. นายสถาพร ทองคลิ้ง อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง พร้อมคณะ ได้เข้าพบนายสมพร ศรีกฤษณ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง เพื่อพบปะหารือข้อราชการในโอกาสย้ายมาดำรงตำแหน่งใหม่ ณ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง

สอย.ตรัง ให้การต้อนรับ อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง และคณะ เนื่องในโอกาสย้ายมาดำรงตำแหน่ง ณ สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง

/////วันที่ 3 เมษายน 2566 เวลา 08.30 น. บุคลากรสำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง ร่วมให้การต้อนรับนายสถาพร ทองคลิ้ง อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง นายนิกรณ์ วังวิเศษกุศล อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด (ผู้กลั่นกรองงาน) และนางสาวธนิศา นิลยกานนท์ อัยการจังหวัดผู้ช่วย ในโอกาสเดินทางมาปฏิบัติราชการที่สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง ตามวาระโยกย้ายข้าราชการอัยการรอบ 1 เมษายน 2566

  • ประมวลภาพกิจกรรม สอย.ตรัง ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. 65 – 31 มี.ค. 66 click

เกี่ยวกับสำนักงาน

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดทำการเมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ทั้งนี้ เนื่องจากพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในสำนักงานอัยการจังหวัดตรัง พ.ศ. 2538 และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ในศาลจังหวัดตรัง พ.ศ. 2538 กำหนดให้เปิดทำการ ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2538 สำนักงานอัยการสูงสุดจึงได้เปิดทำการสำนักงานอัยการจังหวัดตรัง (แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว) ต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง” จนถึงปัจจุบัน

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง มีอำนาจหน้าที่

                1. รับผิดชอบดำเนินคดีอาญาทั้งปวงในอำนาจหน้าที่ของ
พนักงานอัยการ ภายในเขตท้องที่ของสำนักงานอัยการคดีเยาวชน
และครอบครัวจังหวัดตรัง ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของ
ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง
              2. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของ
หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

ฝ่ายกิจการทั่วไป มีอำนาจหน้าที่    

           1. รับผิดชอบงานธุรการ งานสารบบคดี ด้านบริหารงานบุคคล
งานเลขานุการนักบริหาร งานงบประมาณ งานการเงินและบัญชี
และงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ พัสดุ และยานพาหนะของสำนักงาน
อัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัด           2. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของ
หน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง

ปัจจุบันมีเขตอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีอาญาในท้องที่จังหวัดตรัง 

                1.  อำเภอเมืองตรัง
                2.  อำเภอห้วยยอด
                3.  อำเภอย่านตาขาว
                4.  อำเภอสิเกา
                5.  อำเภอปะเหลียน
                6.  อำเภอนาโยง
                7.  อำเภอรัษฎา
                8.  อำเภอวังวิเศษ
                9.  อำเภอกันตัง
              10.  อำเภอหาดสำราญ

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

หลักการดำเนินคดีอาญา

            การดำเนินคดีอาญาเด็กหรือเยาวชนนั้น พนักงานอัยการต้องคำนึงถึงการคุ้มครองเด็ก สวัสดิภาพของเด็กหรือเยาวชนโดยการแก้ไขบำบัด และฟื้นฟูยิ่งกว่าการลงโทษตามนัยระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๔๗

ระเบียบและคำสั่งที่ใช้ในการดำเนินคดีอาญา

            ระเบียบและคำสั่งที่ใช้ในการดำเนินคดีอาญาเด็กหรือเยาวชนเป็นไปตามระเบียบ สำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๔๗ และตามคำสั่งหรือหนังสือเวียนสำนักงานอัยการสูงสุด  ที่ออกเป็นคราวๆ

ผู้ต้องหาเป็นเด็กหรือเยาวชน

            “เด็ก” หมายความว่า บุคคลอายุยังไม่เกินสิบห้าปีบริบูรณ์

            “เยาวชน” หมายความว่า บุคคลอายุเกินสิบห้าปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ (พระราชบัญญัติศาลเยาวชนฯ พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๔)

ข้อสังเกต

๑.      กรณีเด็กอายุไม่เกิน ๑๒ ปี กระทำความผิดอาญาไม่ต้องรับโทษ

๒.      กรณีอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ไม่ถือว่าเป็นเยาวชน

 การนับอายุของเด็กหรือเยาวชน

            การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิดในกรณีที่รู้ว่าเกิดเดือนใด แต่ไม่รู้วันเกิดให้นับวันที่ ๑ แห่งเดือนนั้นเป็นวันเกิด แต่ถ้าพ้นวิสัยที่จะหยั่งรู้เดือนและวันเกิดของบุคคลใดให้นับอายุบุคคลนั้น ตั้งแต่วันต้นปีปฏิทิน (วันที่ ๑ มกราคม) ซึ่งเป็นปีที่บุคคลนั้นเกิด (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖)

การสอบสวนเด็กหรือเยาวชน

            การสอบสวนในคดีที่ผู้ต้องหาเป็นเด็กหรือเยาวชนให้มีที่ปรึกษากฎหมายอยู่ด้วย ทุกครั้ง ส่วนการที่เด็กหรือเยาวชนกระทำผิดขณะอายุไม่เกิน ๑๘ ปี แต่วันที่แจ้งข้อหาเด็กมีอายุเกิน ๑๘ ปี การสอบสวนก็ไม่ต้องดำเนินการตามมาตรา ๑๓๓ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การสอบสวนจะต้องดำเนินการตามมาตรา ๑๓๓ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งจะต้องมีนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำนั้นด้วย (ประมวลกฎหมายวิธีพิจาณาความอาญา มาตรา ๑๓๓ ทวิ

พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ

            ต้องเป็นพนักงานสอบสวนต้องมีเขตอำนาจการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา ๑๘ – ๒๑ การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย การสอบสวนในกรณีที่ต้องมีนักจิตวิทยาหรือ นักสังคมสงเคราะห์ พนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๒ ทวิ, ๑๓๓ ทวิ ในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาผู้ต้องหาที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปี พนักงานสอบสวนต้องถามผู้ต้องหาว่ามีทนาย (ที่ปรึกษากฎหมาย) หรือไม่  ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๔/๑ การถามปากคำ (คำให้การ) ผู้ต้องหาที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปีพนักงานสอบสวนจะต้องกระทำในสถานที่ที่ เหมาะสม  โดยไม่เลือกปฏิบัติและไม่ปะปนกับผู้ต้องหาอื่น และมีที่ปรึกษากฎหมาย  แต่หากเป็นคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา ๑๓๓ ทวิ  จะต้องมีนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่ผู้ต้องหาร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำด้วยเสมอ (ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา  ๑๓๔/๒  โดยนำมาตรา ๑๓๓ ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม)

            ในคดีที่พนักงานสอบสวนมีความจำเป็นต้องจัดให้ผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็ก อายุไม่เกินสิบแปดปี  ชี้ตัวผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๓ ตรี โดยพนักงานสอบสวนต้องจัดให้มีการชี้ตัวในสถานที่ที่เหมาะสมและ สามารถป้องกันมิให้บุคคลซึ่งจะถูกชี้ตัวเห็นตัวเด็ก  โดยให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ  และพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วย  เว้นแต่มีเหตุจำเป็นไม่อาจหาหรือรอและเด็กไม่ประสงค์จะให้มีหรือรอบุคคลดัง กล่าว ทั้งนี้การดำเนินการของพนักงานสอบสวนดังกล่าวพนักงานอัยการจะต้องปฏิบัติตาม ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการคุ้มครองเด็กในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๓ ข้อ ๑๑ – ๑๕

การดำเนินคดีของพนักงานอัยการ

การพิจารณาและสั่งคดี

·          การพิจารณาสั่งคดีในคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นผู้ต้องหานั้นจะต้องตรวจพิจารณาสั่งสำนวน โดยละเอียดรอบคอบ

·         จะต้องพิจารณาสั่งคดีให้ทันภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๕ หากเป็นคดีความอันยอมความได้ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายในสามเดือนตามประมวล กฎหมายอาญา     มาตรา ๙๖

·          จะต้องนำรายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเด็ก/เยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมาประกอบการพิจารณาด้วย

·         จะต้องคำนึงถึงการคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนยิ่งกว่าการลงโทษ

·          ต้องพิจารณาของกลาง และขอให้ผู้ต้องหาคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๔๓

·          พิจารณาประวัติการเคยกระทำความผิดและเคยต้องโทษของผู้ต้องหาว่ามีหรือไม่ ถ้ามีก็ให้มีคำสั่งและขอให้ศาลสั่ง

 กรณีสั่งฟ้อง

            เมื่อตรวจพิจารณาสั่งสำนวนโดยละเอียดรอบคอบแล้ว พนักงานอัยการต้องทำความเห็นสั่งฟ้อง กรณีต้องเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นต้องใช้ความเห็น “เห็นควรสั่งฟ้อง” ในสำนวนการสอบสวนโดยละเอียดตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนิน คดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๔๗  ข้อ ๓๒  และก่อนมีคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง หากพิจารณาพยานหลักฐานและพยานหลักฐานยังไม่แน่ชัดก็ต้องสั่งสอบสวนเพิ่มเติม ตามรูปคดีตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงาน อัยการ พ.ศ.๒๕๔๗ ข้อ ๓๕

กรณีไม่สั่งฟ้อง

            เมื่อในกรณีพิจารณาพยานหลักฐานในสำนวนการสอบสวนโดยละเอียดรอบคอบดังกล่าว แล้วคดีมีพยานหลักฐานไม่พอฟ้องหรือการฟ้องคดีใดจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนหรือ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงแห่งชาติ หรือผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ (ระเบียบกรมอัยการว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๒๘ ข้อ ๕๑) พนักงานอัยการต้องทำความเห็นสั่งไม่ฟ้อง (กรณีต้องเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ต้องเสนอความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง) แล้วจึงเสนอผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค แล้วแต่กรณี

การขออนุญาตฟ้อง และการผัดฟ้อง

            คดีขออัยการสูงสุดอนุญาตฟ้อง ได้แก่ คดีที่ยื่นฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลไม่ทันภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.๒๕๕๓  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าคดีขาดผัดฟ้อง ซึ่งอาจเป็นกรณีที่ขาดผัดฟ้องมาตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวนหรือในชั้นพนักงาน อัยการแล้วแต่กรณี

การดำเนินคดีในชั้นศาล

            การพิจารณาคดีอาญาที่เด็กหรือเยาวชนเป็นจำเลย ไม่ต้องดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาโดยเคร่งครัดและให้ใช้ ถ้อยคำที่จำเลยสามารถเข้าใจได้ง่าย กับต้องให้โอกาสจำเลยรวมทั้งบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลที่จำเลยอาศัยอยู่ หรือบุคคลที่ให้การศึกษา หรือให้ทำการงานหรือมีความเกี่ยวข้องด้วย แถลงข้อเท็จจริง ความรู้สึกและความคิดเห็น ตลอดจนระบุและซักถาม พยานได้ไม่ว่าในเวลาใดๆ ในระหว่างที่มีการพิจารณาคดีนั้น(ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนฯ พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๑๔๔) ศาลที่มีอำนาจรับพิจารณาคดีเด็กหรือเยาวชน การที่จะฟ้องเด็กหรือเยาวชนต่อศาลให้ถืออายุเด็กหรือเยาวชนในวันที่การกระทำ ความผิดได้เกิดขึ้น แม้เด็กหรือเยาวชนขณะกระทำความผิดมีอายุไม่เกิน ๑๘ ปี แต่ได้หลบหนีไปจนมีอายุเกิน ๑๘ ปี เช่น หลบหนีไป ๑๐ ปี จนอายุถึง ๒๘ ปี ก็นำมาฟ้องศาลเยาวชนและครอบครัว (ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนฯ พ.ศ.๒๕๕๓  มาตรา ๕) โดยให้ศาลเยาวชนและครอบครัวซึ่งมีเขตอำนาจในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่น ที่อยู่ปกติมีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดนั้น แต่ถ้าเพื่อประโยชน์แก่เด็กหรือเยาวชนให้ศาลแห่งท้องที่ที่เด็กหรือ เยาวชนกระทำความผิดมีอำนาจรับพิจารณาคดีนี้ได้ (ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนฯ พ.ศ.๒๕๕๓  มาตรา ๙๕)

ข้อสังเกต

            ในกรณีที่ผู้กระทำผิดอายุไม่เกิน ๒๐ ปีบริบูรณ์ กระทำความผิดและเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลธรรมดา ถ้าศาลนั้นพิจารณาโดยคำนึงถึงร่างกาย สติปัญญา สุขภาพ ภาวะแห่งจิตวิสัย เห็นว่าบุคคลดังกล่าวนั้นมีสภาพเช่นเดียวกับเด็กหรือเยาวชน ให้ศาลมีอำนาจโอนคดีไปพิจารณาที่ศาลเยาวชนและครอบครัวที่มีอำนาจและให้ถือ ว่าบุคคลนั้นเป็นเด็กหรือเยาวชน (ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนฯ พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๙๗)

บุคคลที่เกี่ยวข้องในคดี

·         ผู้พิพากษามี ๒ ประเภท คือ ผู้พิพากษา และผู้พิพากษาสมทบ ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๑๕

·        พนักงานอัยการ ซึ่งอัยการสูงสุดแต่งตั้งให้มีหน้าที่ดำเนินคดีที่มีข้อหาว่าเด็กหรือ เยาวชนกระทำความผิดและต้องฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวตามพระราชบัญญัติศาล เยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.๒๕๕๓มาตรา ๑๐๑

·         จำเลย กรณีถ้าไม่รับการประกันตัวจะถูกควบคุมอยู่ที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและ เยาวชน หรือสถานที่อื่นที่จัดตั้งตามกฎหมายและตามที่ศาลเห็นสมควร

·       ที่ปรึกษากฎหมาย จำเลยที่เป็นเด็กหรือเยาวชนจะมีทนายความแก้คดีแทนไม่ได้ แต่ให้มีที่ปรึกษากฎหมายเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทำนองเดียวกันกับทนายความได้ ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๑๒๐

การสืบพยานในคดีที่เด็กหรือเยาวชนกระทำผิด

            ในคดีที่พยานเป็นผู้ใหญ่ การสืบพยานจะเป็นแบบคดีปกติธรรมดาพนักงานอัยการจะต้องปฏิบัติตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๕ และมาตรา ๑๗๒ ถึง ๑๘๑ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๑๑๒ และระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๔๗  การสืบพยานในคดีที่พยานเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบแปดปีตามปกติห้องที่พิจารณาจะต้องไม่ใช่ห้องพิจารณาคดีธรรมดา แต่ถ้าไม่อยู่ในวิสัยที่จะกระทำได้ก็ให้ใช้ห้องพิจารณาคดีธรรมดา แต่ต้องไม่ปะปนกับการพิจารณาคดีธรรมดา ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๑๐๗ และพนักงานอัยการจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๗๒ ตรี และก่อนเบิกความพยานต้องสาบานตามลัทธิศาสนาหรือจารีตประเพณีแห่งชาติของตน หรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริงเสียก่อน ยกเว้นบุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบสี่ปี (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๑๒ (๑) และระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการคุ้มครองเด็กในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๔๓  ข้อ ๒๖-๒๙)

การพิจารณาลับ

            การพิจารณาคดีที่ศาลให้กระทำเป็นการลับ  พนักงานอัยการจะต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนิน คดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.๒๕๒๘ และเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีตามที่พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.๒๕๕๓ มาตรา ๑๐๘ (๑) – (๗) กำหนดเท่านั้น จึงจะมีสิทธิเข้าฟังการพิจารณาคดีได้และการพิจารณาจะต้องกระทำต่อหน้าที่ ปรึกษากฎหมายของจำเลยเท่านั้น   ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ.๒๕๕๓ ม.๑๒๗

บุคลากร

ทำเนียบอัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง

๑. นายชูสิทธิ์ ทุมโฆสิตดำรงตำแหน่ง ๑ พ.ค. ๒๕๓๙ – ๓๐ เม.ย. ๒๕๔๐
๒. นายพิเชษฐ์ ถิรรัถยาดำรงตำแหน่ง ๑ พ.ค. ๒๕๔๐ – ๓๐ เม.ย. ๒๕๔๑
๓.นายสุพิศาล สุธรรมชัยดำรงตำแหน่ง ๑ พ.ค. ๒๕๔๑ – ๓๐ เม.ย. ๒๕๔๒
๔. นายอิสระ พานิชวัฒนาดำรงตำแหน่ง ๑ พ.ค. ๒๕๔๒ – ๓๐ เม.ย.๒๕๔๓
๕. นายพัฒนา อิสรางกูร ณ อยุธยาดำรงตำแหน่ง ๑ พ.ค. ๒๕๔๓ – ๓๐ เม.ย. ๒๕๕๔
๖. นายธีรเดช อินใหญ่ดำรงตำแหน่ง ๑ พ.ค. ๒๕๔๔ – ๓๐ เม.ย. ๒๕๔๕
๗. นายดิเรก วงษ์ปราชญ์ดำรงตำแหน่ง ๑ พ.ค. ๒๕๔๕ – ๓๐ เม.ย. ๒๕๔๖
๘. นายพรชัย วิภาภรณ์พรรณดำรงตำแหน่ง ๑ พ.ค. ๒๕๔๖ – ๓๐ เม.ย. ๒๕๔๗
๙. นายเสริมศักดิ์ โพธิโมกข์ดำรงตำแหน่ง ๑ พ.ค. ๒๕๔๗ – ๓๐ เม.ย. ๒๕๔๘
๑๐. นายก้องเกียรติ เกราะแก้วดำรงตำแหน่ง ๑ พ.ค. ๒๕๔๗ – ๓๐ เม.ย. ๒๕๔๙
๑๑. นายบุษย์ สิทธิพันธ์ดำรงตำแหน่ง ๑ พ.ค. ๒๕๔๙ – ๓๐ เม.ย. ๒๕๕๐
๑๒. นายสุนทร แสงคุณะคุปต์ดำรงตำแหน่ง ๑ พ.ค. ๒๕๕๐ – ๓๐ เม.ย. ๒๕๕๑
๑๓. นายวัฒนา ชั้นบุญดำรงตำแหน่ง ๑ พ.ค. ๒๕๕๑ – ๓๑ มี.ค. ๒๕๕๒
๑๔. นายอภิชัย ยอครุฑดำรงตำแหน่ง ๑ พ.ค. ๒๕๕๒ – ๓๑ มี.ค. ๒๕๕๓
๑๕. นายวิรัตน์ วจนกิจไพบูลย์ดำรงตำแหน่ง ๑ เม.ย. ๒๕๕๓ – ๓๑ มี.ค. ๒๕๕๔
๑๖. นายประดิษฐ์ ผดุงเกียรติวงศ์ดำรงตำแหน่ง ๑ เม.ย. ๒๕๕๔ – ๓๐ มี.ค. ๒๕๕๕
๑๗. นายไพบูลย์ อาชวานันทกุลดำรงตำแหน่ง ๒ เม.ย. ๒๕๕๕ – ๒๙ มี.ค. ๒๕๕๖
๑๘. นายธนัท อุไรฤกษ์กุลดำรงตำแหน่ง ๑ เม.ย. ๒๕๕๖ – ๒๘ มี.ค ๒๕๕๖
๑๙. นายบุญเลิศ ฮายุกต์ดำรงตำแหน่ง ๑ เม.ย ๒๕๕๖ – ๓๑ มี.ค. ๒๕๕๙
๒๐. นายธีรพงศ์ ศานติมารคดำรงตำแหน่ง ๑ เม.ย. ๒๕๕๙  – ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๐
๒๑. นางสาวสงวนศรี ทองแก้วดำรงตำแหน่ง ๑ เม.ย. ๒๕๖๐  – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑
๒๒. นายวรวัตร สีหะดำรงตำแหน่ง ๑ เม.ย. ๒๕๖๑  – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓
๒๓. นายสมพิศ ดาวเรืองดำรงตำแหน่ง ๑ เม.ย. ๒๕๖๓ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔
๒๔. นายโกวิท จงจิตดำรงตำแหน่ง ๑ เม.ย. ๒๕๖๔ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕
๒๕. นายสันติ เกตุรัตน์ดำรงตำแหน่ง ๑ เม.ย. ๒๕๖๕ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๖
๒๖. นายสถาพร ทองคลิ้งดำรงตำแหน่ง ๑ เม.ย. ๒๕๖ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๗
. นายชัยโรจน์ ศรีภักดี ดำรงตำแหน่ง ๑ เม.ย. ๒๕๖ ปัจจุบัน

นายชัยโรจน์ ศรีภักดี
อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรัง

นายนิกรณ์ วังวิเศษกุศล
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
(ผู้กลั่นกรองงาน)

นายกีรบดี อัครปรีดี
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นางดาริกา ลิ้มฉุ้น
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
รักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

นางสาวณัชชา ก้องเจริญกิจ
นิติกรปฏิบัติการ

นายสุทธาวัฒน์ พรสุขนิมิตกุล
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

นางสาวสุกัญญา อัมวงษ์
พนักงานพิมพ์

นางฉวีวรรณ จันทร์โหนง
พนักงานทำความสะอาด

นายสุธรรม ศรทอง
พนักงานขับรถ

สถิติคดี

/////////////////ประเภทคดีพ.ศ. 2556
(เรื่อง)
พ.ศ. 2557
(เรื่อง)
พ.ศ. 2558
(เรื่อง)
พ.ศ. 2559
(เรื่อง)
พ.ศ. 2560
(เรื่อง)
พ.ศ. 2561
(เรื่อง)
พ.ศ. 2562
(เรื่อง)
พ.ศ. 2563
(เรื่อง)
พ.ศ. 2564
(เรื่อง)
พ.ศ. 2565
(เรื่อง)
พ.ศ. 2566
(เรื่อง)
ส.1 สารบบรับความอาญา ปรากฏผู้ต้องหาที่ส่งตัวมา3884362823163362102041691127888
ส.2 สารบบรับความอาญา ปรากฏผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา161915121313115855
ส.2 ก. สารบบรับความอาญา ปรากฏผู้ต้องหาที่ไม่ได้ส่งตัวมา (เฉพาะคดีเปรียบเทียบปรับ)9
(9 ราย)
17
(27 ราย)
20
(39 ราย)
13
ส.4 สารบบฟ้องคดีอาญาด้วยวาจา22
ส.4 สารบบฟ้องความอาญา3704162872963451861821501037572
ส.5 ก. สารบบคดีแพ่ง61
ส.6 สารบบอุทธรณ์10108614
ส.7 สารบบฎีกา211
ส. ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด1361295463145107
ส. มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา527191871212
ส.1 คุ้มครองเด็ก1
ส.1 ความรุนแรงในครอบครัว112333
ส. คุ้มครองสวัสดิภาพ1
ส.14 สารบบคดีความผิดทางพินัย1
////////////////////รวม9281013647637705441420258260204196

เอกสารเผยแพร่

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เอกสารเผยแพร่ข่าวสารและความรู้ด้านกระบวนการยุติธรรม : สถาบันนิติวัชร์

/////ที่มา : สถาบันนิติวัชร์

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัว จังหวัดตรัง
สถานที่ติดต่อ 19/2 ชั้น 5 ถนนวิเศษกุล ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง 92000
โทรศัพท์ 075-211481,075-211282
โทรสาร. 075-211282
E-mail: trang-ju@ago.go.th
Facebook: สนง.อัยการคดีเยาวชนและครอบครัว จังหวัดตรัง