|

อัยการพบประชาชน ประเด็น การรู้ รับ ปรับตัว วิถีชีวิตในพื้นที่ป่าบนความถูกต้อง สู่การลดภัยฝุ่น PM ๒.๕ ณ อำเภอกัลยานิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่

ด้วยโครงการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในการรู้ รับ ปรับตัว (RESILIENCE) จากภัยฝุ่นละอองขนาดเล็ก ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคเหนือ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดการประชุม “โครงการประชุมวิชาการและเวทียุทธศาสตร์อัยการพบประชาชน ประเด็น การรู้ รับ ปรับตัว วิถีชีวิตในพื้นที่ป่าบนความถูกต้อง สู่การลดภัยฝุ่น PM ๒.๕” โดย ดร.สนธยา เครือเวทย์ อัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายภาค ๕ นางอภิชยา เตชะหงษา อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ และนายพงศ์จักร สร้อยสุวรรณ รองอัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ เป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ บรรยายอบรมสัมมนาความรู้ทางกฎหมาย และเวทียุทธศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตการเป็นอยู่ในพื้นที่ป่าแก่ประชาชน ส่งเสริมให้เกิดความตระหนักในการใช้พื้นที่ป่า นำมาซึ่งการลดการเผาป่าเพื่อไม่ให้เกิดแหล่งกำเนิดของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอกัลยานิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่

  • ประเด็นหัวข้อการบรรยายด้านกฎหมาย
    • กฎหมายทั่วไป
    • กฎหมายเกี่ยวกับการใช้ที่ดิน
    • กฎหมายเกี่ยวกับการบุกรุกป่า
    • กฎหมายเกี่ยวกับการเผาในที่โล่ง หรือ เขตป่า
    • มาตรการป้องกันไฟป่าและหมอกควัน
    • แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง และมลพิษหมอกควัน

ความสำคัญของโครงการ

อำเภอกัลยาณิวัฒนามีลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ส่วนใหญ่มีพื้นที่เป็นป่า ส่งผลต่อการดำรงชีวิตหรือวิถีชีวิตของประชาชนในอำเภอกัลยาณิวัฒนามีความเกี่ยวข้องกับป่าเกือบจะทั้งหมด ทั้งการหาเลี้ยงชีพ การทำการเกษตรพื้นที่สูง ที่อยู่อาศัย เป็นต้น ทุกอย่างล้วนอาศัยการพึ่งพาป่า อย่างไรก็ตามบนพื้นฐานการใช้ชีวิตต้องอยู่บนหลักเกณฑ์ความถูกต้องหรือการดำรงชีวิตให้ถูกกฎหมาย เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนกับตนเองที่อาศัยร่วมกับป่า อีกทั้งยังเป็นการรักษาและอยู่กับป่าของชุมชนได้อย่างยั่งยืน โดยไม่ทำลายป่าด้วยวิธีต่างๆ เช่น การเผาป่าเพื่อหาของป่า การสร้างแหล่งกำเนิดไฟป่าโดยไม่จำเป็น เป็นต้น นำมาซึ่งการเกิดปัญหาไฟป่าที่เกิดขึ้นทุกปี รวมไปถึงปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕) ทั้งในพื้นที่ตนเองหรือส่งผลกระทบต่อพื้นที่บริเวณข้างเคียง
การจัดเวทีวิชาการและเวทียุทธศาสตร์ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่สามารถดำเนินการเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการนำองค์ความรู้ในการอยู่ร่วมกับผืนป่าอย่างถูกต้องให้กับประชาชน รวมไปถึงการวางแผนในเรื่องของการใช้ประดยชน์ที่ดิน และยังสร้างความตระหนักรู้ในการลดแหล่งกำเนิด ซึ่งเป็นที่มาของปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕) อันจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการป้องกันและบรรเทาผลประทบต่อประชาชนกลุ่มเปราะบางและประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีค่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕) เกินมาตรฐาน พร้อมทั้งสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนในการวางแผนของมาตรการในการลดความเสี่ยงและการจัดการปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕) เกินมาตรฐานทั้งในทางด้านกายภาพ สังคม เศรษฐกิจ และนโยบายควบคุมในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

Similar Posts