เกี่ยวกับสำนักงาน
ประวัติสำนักงาน
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 276 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 8 ได้บัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ซึ่งได้แก่คดีพิพาทระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันเอง โดยพิพาทกันในเรื่องที่เกี่ยวกับการกล่าวหาว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย การละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือการปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร การกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครอง และคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
ศาลปกครองแบ่งออกเป็น 2 ชั้น
1. ศาลปกครองสูงสุด ปัจจุบันมีที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ณ อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ เลขที่ 195 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10250 โทร.0-2141-1111 สายด่วน 1355 เริ่มเปิดทำการเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2544
2. ศาลปกครองชั้นต้น ได้แก่
2.1 ศาลปกครองกลาง ปัจจุบันมีที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร อาคารเดียวกันกับที่ตั้งศาลปกครองสูงสุด ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2546 ศาลปกครองกลาง มีเขตอำนาจตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร รวมทั้งจังหวัดที่มิได้อยู่ในเขตอำนาจของ ศาลปกครองในภูมิภาค คือ จังหวัดนครนายก จังหวัดลพบุรี และจังหวัดสระบุรี ทั้งยังอาจรับพิจารณาพิพากษาคดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองในภูมิภาคต่าง ๆ ที่มายื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางได้ด้วย
2.2 ศาลปกครองในส่วนภูมิภาค ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 94 ซึ่งกำหนด ไว้จำนวน 16 แห่ง ปัจจุบันเปิดทำการแล้ว จำนวน 14 แห่ง คือ
1. ศาลปกครองเชียงใหม่ 10. ศาลปกครองเพชรบุรี
2. ศาลปกครองสงขลา 11. ศาลปกครองนครสวรรค์
3. ศาลปกครองนครราชสีมา 12. ศาลปกครองสุพรรณบุรี
4. ศาลปกครองขอนแก่น 13. ศาลปกครองภูเก็ต
5. ศาลปกครองพิษณุโลก 14. ศาลปกครองยะลา
6. ศาลปกครองระยอง
7. ศาลปกครองนครศรีธรรมราช
8. ศาลปกครองอุดรธานี
9. ศาลปกครองอุบลราชธานี
ศาลปกครองขอนแก่น ตั้งอยู่ในจังหวัดขอนแก่น เลขที่ 177/48 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000 มีเขตอำนาจหน้าที่ตลอด ท้องที่จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดมุกดาหาร ส่วนจังหวัดอุดรธานี จังหวัดเลย จังหวัดนครพนม จังหวัดสกลนคร จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดหนองคาย ได้แยกเขตอำนาจไปยังศาลปกครองอุดรธานี ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2553 ซึ่งเป็นวันเปิดทำการของศาลปกครองอุดรธานี
การจัดตั้งสำนักงานคดีปกครองในสำนักงานอัยการสูงสุด โดยระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยองค์คณะ การจ่ายสำนวน การโอนคดี การปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการในคดีปกครอง ฯลฯ และการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีปกครองแทน พ.ศ. 2544 ข้อ 20 วรรคสอง กำหนดว่า คู่กรณี ซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมอบอำนาจให้พนักงานอัยการฟ้องคดีหรือดำเนินคดีปกครองแทนได้ ดังนั้น สำนักงานอัยการสูงสุดจึงออกคำสั่งที่ 214/2544 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2544 และคำสั่งที่ 329/2544 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2544 แบ่งส่วนราชการให้มีสำนักงานคดีปกครองในส่วนกลางและในส่วนภูมิภาคขึ้น ซึ่งขณะนี้มีสำนักงานคดีปกครอง รวมทั้งสิ้น 14 สำนักงาน ได้แก่
1. สำนักงานคดีปกครองเชียงใหม่ 10. สำนักงานคดีปกครองเพชรบุรี
2. สำนักงานคดีปกครองสงขลา 11. สำนักงานคดีปกครองนครสวรรค์
3. สำนักงานคดีปกครองนครราชสีมา 12. สำนักงานคดีปกครองสุพรรณบุรี
4. สำนักงานคดีปกครองขอนแก่น 13. สำนักงานคดีปกครองภูเก็ต
5. สำนักงานคดีปกครองพิษณุโลก 14. สำนักงานคดีปกครองยะลา
6. สำนักงานคดีปกครองระยอง
7. สำนักงานคดีปกครองนครศรีธรรมราช
8. สำนักงานคดีปกครองอุดรธานี
9. สำนักงานคดีปกครองอุบลราชธานี
สำนักงานคดีปกครองขอนแก่น สำนักงานอัยการสูงสุด เปิดทำการเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2545 ปัจจุบันมีเขตพื้นที่ตลอดท้องที่จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดมุกดาหาร รวม 4 จังหวัด ดังนั้น คดีปกครองซึ่งผู้ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาหรือมูลคดีเกิดขึ้นภายใน 4 จังหวัด ดังกล่าว จะต้องดำเนินการฟ้องคดี หรือแก้คำฟ้อง ต่อศาลปกครองขอนแก่น
อำนาจหน้าที่
พนักงานอัยการมีหน้าที่รับว่าต่าง แก้ต่างคดีปกครองให้แก่หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองขอนแก่น ซึ่งเป็นคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาล กับเอกชน หรือระหว่างหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชา หรือในกำกับดูแลของรัฐบาลด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้ ตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 บัญญัติไว้ กล่าวคือ
1. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดเนื่องจากการกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริตหรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นหรือสร้างภาระให้เกิดกับประชาชนเกินสมควร หรือเป็นการใช้ดุลยพินิจ
2. คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
3. คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ คำสั่งทางปกครองหรือคำสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
4. คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง
5. คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด
6. คดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง
วิสัยทัศน์ (Vision)
“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”
พันธกิจ (Missions)
1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โครงสร้าง (Structure)

วัฒนธรรมองค์กร

เยี่ยมชมหน่วยงาน

บุคลากร
ข้าราชการอัยการ

อธิบดีอัยการ
สำนักงานคดีปกครองขอนแก่น

รองอธิบดีอัยการ
สำนักงานคดีปกครองขอนแก่น

อัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองขอนแก่น 1

อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ

อัยการอาวุโส

อัยการอาวุโส

อัยการอาวุโส

อัยการอาวุโส

อัยการอาวุโส

อัยการอาวุโส
ข้าราชการธุรการ

ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

นิติกรชำนาญการพิเศษ

เจ้าพนักงานคดีชำนาญการพิเศษ

นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นิติกรชำนาญการ (หัวหน้างานสารบบคดี)

นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

เจ้าพนักงานคดีชำนาญการ

นิติกรชำนาญการ

เจ้าพนักงานคดีปฏิบัติการ

นิติกรปฏิบัติการ

นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ

เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
สถิติคดี
เอกสารดาวน์โหลด
ติดต่อหน่วยงาน
สำนักงานคดีปกครองขอนแก่น
อาคารสำนักงานอัยการภาค 4 ชั้น 3
ถ.กลางเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
โทรศัพท์/โทรสาร 043 235563
E-mail : kkad235563@gmail.com