ข่าวประชาสัมพันธ์

ประกาศเจตนารมณ์ เรื่อง ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy)
ของสำนักงานอัยการสูงสุด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ขอเชิญร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล
เนื่องในโอกาสวันฉัตรมงคล วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๗


29 เมษายน 2567 ท่านรวีวัฒน์ ชวมณีนันท์ อัยการจังหวัดพะเยา พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ ณ ศาลาประชาคมจังหวัดพะเยา


25 เมษายน 2567 ท่านรวีวัฒน์ ชวมณีนันท์ อัยการจังหวัดพะเยา ร่วมพิธีรับพระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ณ ศาลาประชาคมจังหวัดพะเยา


25 เมษายน 2567 ท่านรวีวัฒน์ ชวมณีนันท์ อัยการจังหวัดพะเยา พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยพะเยา


6 เมษายน 2567 ท่านรวีวัฒน์ ชวมณีนันท์ อัยการจังหวัดพะเยา พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมพิธีวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์
ณ ศาลาประชาคมจังหวัดพะเยา


2 เมษายน 2567 ท่านรวีวัฒน์ ชวมณีนันท์ อัยการจังหวัดพะเยา พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ 2 เมษายน 2567 ณ ศาลาประชาคมจังหวัดพะเยา


31 มีนาคม 2567 ท่านมาลินี ฐิติผลพันธ์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้กลั่นกรองงาน พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมถวายพานพุ่มดอกไม้สด
เนื่องในวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2567 ณ ศาลาประชาคมจังหวัดพะเยา


18 มีนาคม 2567 ท่านไพรัช ตั้งศรีไพโรจน์ อัยการจังหวัดพะเยา พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายราชสักการะ เนื่องในวันท้องถิ่นไทย 2567


5 มีนาคม 2567 ท่านไพรัช ตั้งศรีไพโรจน์ อัยการจังหวัดพะเยา พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมถวายพานพุ่มดอกไม้สด งานประเพณีบวงสรวงพ่อขุนงำเมือง ประจำปี 2567
ณ ลานอุนสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง ตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา


2 มีนาคม 2567 ท่านเยี่ยมยุทธ์ ปินใจ อัยการจังหวัดผู้ช่วย พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมพิธีวางพานพุ่ม เนื่องในวันมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ 2567 ณ ศาลาประชาคมจังหวัดพะเยา


24 กุมภาพันธ์ 2567 ท่านเจษฎากร เทพพรม อัยการจังหวัดผู้ช่วย พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมกิจกรรมทำบุญตักบาตตรข้าวสารอาหารแห้ง เนื่องในวันมาฆบูชา
ณ ลานอเนกประสงค์หลังเทศบาลจังหวัดพะเยา


22 กุมภาพันธ์ 2567 ท่านไพรัช ตั้งศรีไพโรจน์ อัยการจังหวัดพะเยา พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานงานอัยการจังหวัดพะเยา มอบสิ่งของเนื่องในวันรวมน้ำใจช่วยกาชาด 2567 ณ ศาลาประชาคมจังหวัดพะเยา


9 กุมภาพันธ์ 2567 ท่านไพรัช ตั้งศรีไพโรจน์ อัยการจังหวัดพะเยา ร่วมพิธีกิจกรรมเนื่องในวันครบรอบวันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน ครบ 70 ปี ณ ศาลาประชาคมจังหวัดพะเยา


26 มกราคม 2567 ท่านไพรัช ตั้งศรีไพโรจน์ อัยการจังหวัดพะเยา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมพิธีสักการะพระอนุสาวรีย์พญางำเมือง
ณ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 จังหวัดพะเยา


18 มกราคม 2567 ท่านเยี่ยมยุทธ์ ปินใจ อัยการจังหวัดผู้ช่วย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สด
เนื่องในวันยุทธหัตถีสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ มหาวิทยาลัยพะเยา


17 มกราคม 2567 ท่านไพรัช ตั้งศรีไพโรจน์ อัยการจังหวัดพะเยา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมพิธีวางพานพุ่ม เนื่องในวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ณ ศาลาประชาคมจังหวัดพะเยา


8 มกราคม 2567 ท่านไพรัช ตั้งศรีไพโรจน์ อัยการจังหวัดพะเยา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมทำบุญตักบาตรถวายพระกุศลและถวายแจกันดอกไม้
เนื่องในวันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ณ ศาลาประชาคมจังหวัดพะเยา


1 มกราคม 2567 ท่านเยี่ยมยุทธ์ ปินใจ อัยการจังหวัดผู้ช่วย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมทำบุญตักบาตรเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 2567
ณ วัดพระธาตุจอมทอง จังหวัดพะเยา


7 ธันวาคม 2566 ท่านไพรัช ตั้งศรีไพโรจน์ พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ ศาลาประชาคมจังหวัดพะเยา


5 ธันวาคม 2566 ท่านไพรัช ตั้งศรีไพโรจน์ อัยการจังหวัดพะเยา พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบษร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ณ ศาลาประชาคมจังหวัดพะเยา


24 พ.ย. 2566 ท่านเจษฎากร เทพพรม อัยการประจำกอง พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรและวางพวงมาลา เนื่องในวันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าฯ
ณ ศาลาประชาคมจังหวัดพะเยา


24 พ.ย. 2566 ท่านฐานุพงษ์ ต่างใจ รองอัยการจังหวัดพะเยาร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้สดถวายราชสักการะเนื่องในวันพระบิดาแห่งฝนหลวง ประจำปี 2566
ณ ศาลาประชาคมจังหวัดพะเยา


23 ต.ค. 2566 ท่านไพรัช ตั้งศรีไพโรจน์ อัยการจังหวัดพะเยา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมพิธีวางพวงมาลาเนื่องในวันปิยมหาราช ณ ศาลากลางจังหวัดพะเยา


21 ต.ค. 2566 ท่านเจษฎากร เทพพรม อัยการประจำกองพร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมวางพานพุ่ม เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนคริน
ทราบรมราชชนนี ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา


13 ต.ค. 2566 ท่านมาลินี ฐิติผลพันธ์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ร่วมพิธีตักบาตรและวางพวงมาลา
เนื่องในวันนวมินทรมหาราช


12 ต.ค.2566 ท่านไพรัช ตั้งศรีไพโรจน์ อัยการจังหวัดพะเยา พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนากำจัดผักตบชวาและวัชพืชกว๊านพะเยา
ณ ข่วงวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา


29 ก.ย. 2566 ท่านไพรัช ตั้งศรีไพโรจน์ อัยการจังหวัดพะเยา พร้อมด้วยคณะอัยการและเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา
ร่วมกิจกรรมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย ณ บริเวณหน้าเสาธงอาคารสำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา


28 ส.ค. 2566 ท่านไพรัช ตั้งศรีไพโรจน์ อัยการจังหวัดพะเยา พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมงานสถาปนาจังหวัดพะเยา ครบรอบ 46 ปี ณ ศาลหลักเมืองจังหวัดพะเยา


22 ส.ค. 2566 ท่านเยี่ยมยุทธ ปินใจ อัยการจังหวัดผู้ช่วย ร่วมพิธีเปิดโครงการสามสัมพันธ์น้อง-พี่ เสริมพลังต้านยาเสพติด รุ่นที่ 4 ณ วลีกาญจน์รีสอร์ท


15 ส.ค. 2566 ท่านไพรัช ตั้งศรีไพโรจน์ ร่วมกิจกรรมโครงการน้ำพระทัยพระราชทานส่วนภูมิภาค สมาคมสภาสังคมสงเคราะห์ 76 จังหวัด ประจำปี 2566
ณ อาคารสโมสรพนักงานเทศบาลเมืองดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา


12 ส.ค. 2566 ท่านมาลินี ฐิติผลพันธ์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด พร้อมคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมพิธีลงนามถวายพระพรชัยมงคล
และพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ณ ศาลากลางจังหวัดพะเยา


11 ส.ค. 2566 ท่านไพรัช ตั้งศรีไพโรจน์ อัยการจังหวัดพะเยา พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมกิจกรรมจิตอาสา เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2566
ณ ข่วงวัฒนธรรมริมกว๊านพะเยา


9 ส.ค. 2566 ท่านไพรัช ตั้งศรีไพโรจน์ อัยการจังหวัดพะเยา พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมพิธีเจริญพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคล แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ณ วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา


26 ก.ค. 2566 สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน
ในวันพุธ ที่ 26 กรกฎาคม 2566 โดยท่านไพรัช ตั้งศรีไพโรจน์ เป็นประธานในพิธีฯในการกล่าวถวายพระพรชัยมงคลและนำถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลัง
ของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท วันที่ 28 กรกฎาคม 2566


25 ก.ค. 2566 ท่านไพรัช ตั้งศรีไพโรจน์ อัยการจังหวัดพะเยา พร้อมคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา ร่วมพิธีเปิดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาบำรุงรักษาฟื้นฟูแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ขุนน้ำแม่ปืม ณ อุทยานแห่งชาติแม่ปืม อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา


21 ก.ค. 2566 ท่านไพรัช ตั้งศรีไพโรจน์ อัยการจังหวัดพะเยา เข้าร่วมบันทึกเทปถวายพระพร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่


เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติสำนักงาน


 สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกา เปิดทำการเมื่อ วันที่ 1  สิงหาคม  2521  โดยใช้บ้านพักอัยการจังหวัดเป็นอาคารสำนักงาน ตั้งอยู่ในศูนย์ราชการจังหวัดพะเยา 
ต่อมาเมื่อศาลากลางจังหวัดพะเยาสร้าง เสร็จ จึงได้ย้ายสำนักงานอัยการจังหวัดพะเยามาอยู่ในอาคารศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า)ชั้น 2 ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
จนถึงปัจจุบัน โดยมีนายนายเกษม ชาญไววิทย์ ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดพะเยาคนแรก และ นายสกุลยุช หอพิบูลสุข ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดพะเยาคนปัจจุบัน


วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

นโยบายอัยการสูงสุด

นโยบาย

อำนาจและหน้าที่

องค์กรอัยการ
อัยการสูงสุด
พนักงานอัยการ

บุคลากร

ข้าราชการอัยการ


นายรวีวัฒน์ ชวมณีนันท์
อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการภาค 5
รักษาการในตำแหน่งอัยการจังหวัดพะเยา
นายวสันต์ ปฐมพงศ์ไพบูลย์
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้กลั่นกรองงาน

นางสาวมาลินี ฐิติผลพันธ์
อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้กลั่นกรองงาน
นางสาวรชยา ญาดารชตนนท์
รองอัยการจังหวัดพะเยา
นายฐานุพงษ์  ต่างใจ
รองอัยการจังหวัดพะเยา
นายเยี่ยมยุทธ  ปินใจ
อัยการจังหวัดผู้ช่วย
นายวาทิต วัฒนธารากิต
อัยการจังหวัดผู้ช่วย
นายพิสิษฐ์ ตรีบุพชาติสกุล
อัยการจังหวัดผู้ช่วย

นายวิจิตร รักราษฎร์
อัยการอาวุโส

ข้าราชการธุรการ

นางสาวสุภาพร คำวะรัตน์
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการพิเศษ
ปรท.ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ
สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา
นางสาวเพ็ญณรา อุทุมภา
นิติกรชำนาญการพิเศษ
นางชวนพิศ ชาวเหนือ
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นางสาวพรรษิยา สันตะรัตติวงศ์
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นางสาวณพิชชา  พันธุ์เขียว
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
นางราตี ทะนนท์
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
นางสาวปาริชาติ ศิลป์โชค
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
นางสาวศศิภา  พรมเสน
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นางสาวสิรภัทร  ว่องไว 
นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ
นางสาวเกวรินทร์  อินทวงศ์ 
นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ
นายอัศวิน  กาบจอก 
นิติกรชำนาญการ
นางสาววินา  เรือนเงิน 
นิติกรปฏิบัติการ
 
นางสาวสุภาวดี  อินแถลง
นิติกรปฏิบัติการ
นางสาวรัชชุดา ตุงคนาคร
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ

นางสาวศศิธร กันธิยะ
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
นางสาวรัชนิดา โสมะ
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
นางสาวณัฐชนา หอมนาน
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
นายสถิตพงค์ ฟูแก้ว
พนักงานธุรการ ส.3

จ้างเหมาบริการ

นายอภิชิต  มานะกิจ
พนักงานขับรถยนต์
นางธนิกานต์  อินมาปั๋น
นักการภารโรง

ทำเนียบผู้บริหาร

1. นายเกษมชัย           ชาญไววิทย์                   2521 – 2522
2. นายสุนทร              เบ็ญจนิรัตน์2522 – 2525
3. นายชัยวัฒน์            ม่วงเพ็ง2525 – 2527
4. นายกฤตกา            เตลผล2527 – 2528       
5. นายมนัส               สุขสวัสดิ์2528 – 2529
6. นายวิฑิต               เองไพบูลย์2529 – 2531
7. นายภราดร             ศรีศุภรางค์กุล2531 – 2533
8. นายโชติ               ไพรพิรุณโรจน์2533 – 2535
9. นายสมบูรณ์            วิจักขณาพันธุ์2535 – 2536
10. นายพงศกร           จันทรศัพท์2536 – 2537
11. นายสมณัฐ            เปรมประเสริฐ2537 – 2538
12. นายธเนศ             บูชิตธรรม2538 – 2538
13. นายวราวุธ             ศิริยุทธ์วัฒนา2538 – 2539
14. นายสุรพงษ์           โสภณ2539 – 2542
15. ร.อ.ศานิตย์           ธรรมอาภา2542 – 2543
16. นายดิลก              โรจนศิริ2543 – 2544
17. นายดำริ               เฉลิมวงศ์2544 – 2545
18. นายนิเทศก์            พลเหิม2545 – 2546
19. นายสานิต             ธนทวี2546 – 2548
20. นายปริญญาวัฒน์      พลสมบัตินันท์2548 – 2549
21. นายเฉลิมพล          ไตรหิรัญ2549 – 2550
22. นางธนานันท์          กาญจนนิรัติศัย2550 – 2551
23. นายสมพงศ์           เย็นแก้ว2551 – 2553
24. นายสันติ              สวัสดิพงษ์2553 – 2554
25. นายศราวุธ            นากะพันธ์2554 – 2555
26. นายยุทธพงษ์         เพชรวิเศษ2555 – 2557
27. นายเวโรจน์           วงษ์สุรกูล2557 – 2558
28. นายเฉลิมเกียรติ     ไชยวรรณ2558 – 2559
29. นายสกุลยุช           หอพิบูลสุข2559 – 2560
30. นายอภิชาต           ถาใจ2560 – 2561
31. นายกฤษณ์ชเทพ    ทองสิน2561 – 2562
32. พันตรีวีรวิทย์         เจริญชาศรี2562 – 2563
33. นายกิตติคุณ         จันทรสถาพร 2563 – 2564
34. นายคณากร สันติพงศ์ 2564 – 2566
35. นายไพรัช ตั้งศรีไพโรจน์ 2566 – 2567
36. นายวรีวัฒน์ ชวมณีนันท์ 2567 – ปัจจุบัน

สถิติคดี

ดาวน์โหลดเอกสาร

บทความ

“บูชิโด” แปลว่า “วิถีแห่งนักรบ” เป็นหลักการที่พัฒนาขึ้นในญี่ปุ่นช่วงศตวรรษที่ ๙-๑๒ สมัยเฮ-อัน และโตกุกาวะ ถือเป็นหลักการและแนวปฏิบัติของซามูไร ที่ยึดหลักความจงรักภักดี การเสียสละ ความละอาย ความมีมารยาท ความอ่อนน้อม เกียรติยศ และความรักผูกพัน เป็นแนวในการปฏิบัติตน บูชิโด มีจุดกำเนิดจากการผสมผสานความเชื่อทางพุทธศาสนานิกายเซน คำสอนของขงจื้อ และศรัทธาในลัทธิชินโต ศาสนาพุทธเชื่อเรื่องการตายแล้วเกิดใหม่ ผู้ยึดถือบูชิโดโดยเฉพาะซามูไรจึงไม่กลัวอันตรายและความตาย นิการเซนเน้นการทำสมาธิเพื่อบรรลุนิพพาน เซนสอนให้คนรู้จักตนเองและไม่ยึดติดกับตัวตน ซามูไรใช้เซนในการฝึกเพื่อขับไล่ความกลัว ความไม่แน่นอนใจและความผิดพลาดชินโต สร้างความจงรักภักดีและความรักชาติให้แก่บูชิโด ชินโตบูชาบรรพบุรุษและนับถือจักรพรรดิดุจเทพเจ้า ซามูไรจึงจงรักภักดีต่อจักรพรรดิและเจ้านาย ชินโตเชื่อว่าแผ่นดินญี่ปุ่นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และที่สถิตของเทพและ วิญญาณของบรรพบุรุษ ซามูไรจึงมีความรักชาติและศรัทธาที่จะปกป้องแผ่นดิน ขงจื้อสอนให้เชื่อในโลกของมนุษย์ สิ่งรอบตัวและครอบครัว โดยเน้นคุณธรรมความสัมพันธ์ ๕ ประการ ระหว่าง เจ้านายกับลูกน้อง พ่อกับลูก สามีกับภรรยา พี่กับน้อง และเพื่อนกับเพื่อน ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ซามูไรยึดถือ นอกจากคุณธรรมต่างๆดังกล่าวข้างต้น บูชิโดยังประกอบด้วยหลักความยุติธรรม ความจริงใจ ความซื่อสัตย์สุจริต และการควบคุมตนเอง ความยุติธรรมถือเป็นหลักการสำคัญอันหนึ่งของซามูไร ความกะล่อนและการประพฤติมิชอบเป็นการกระทำที่ต่ำช้าของมนุษย์ ซามูไรเชื่อว่าความจริงใจและความซื่อสัตย์ทำให้ชีวิตมีคุณค่า มีคำพูดที่ว่า “บูชิ โนะ อิชิกง” แปลว่า “วาจาของซามูไร” มีความหมายถึง ความเชื่อใจและความจริงใจ ซามูไรจึงมีสัจจะวาจาเป็นศักดิ์ศรีแห่งตน ซามูไรต้องควบคุมตัวเองไม่อ่อนไหว ไม่แสดงอาการไม่ว่าเจ็บหรือยินดี ไม่บ่นไม่ร้องไห้ ต้องสงบนิ่งทั้งการกระทำและจิตใจ ซามูไรที่ยึดถือและปฏิบัติบูชิโดโดยครบถ้วนนับเป็นนักรบที่แท้จริงและ สมบูรณ์แบบ ในสมัยปฏิรูปของจักรพรรดิเมจิ นักรบซามูไรเริ่มสลายตัว ซามูไรคนสุดท้ายที่เป็นที่ยอมรับ คือ ไซโก้ ทาคะโมริ ซึ่งมีการนำชีวิตเขาไปถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์เรื่องเดอะลาสต์ซามูไร นำแสดงโดย ทอม ครุยส์ แม้นักรบซามูไรจะหายไปในสมัยต่อมา แต่ปรัชญาบูชิโดยังดำรงอยู่ในสังคมญี่ปุ่น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ นักบินหน่วยกามิกาเซะ ซึ่งแปลว่า ลมแห่งเทวะ ได้ฝึกบูชิโดฝังความจงรักภักดีต่อชาติในจิตใจของนักบินกามิกาเซะทำให้สามารถ สละชีวิตเพื่อแผ่นดินเกิดได้ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ กองทัพญี่ปุ่นถูกสลายตัว เกิดนักรบรุ่นใหม่คือ นักรบธุรกิจ ที่ยึดถือบูชิโดและทำงานให้บริษัทอย่างจงรักภักดี ซามูไรพันธุ์ใหม่จะอุทิศตนและเวลาให้แก่องค์กรเสียยิ่งกว่าครอบครัวของตน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ไม่เคยเห็นคนญี่ปุ่นเอาเวลางานไปรับลูกส่งเมียแต่ กลับทำงานหามรุ่งหามค่ำถึงห้าทุ่มเที่ยงคืนเป็นปกติ ผุ้เขียนเคยมีโอกาสไปดูงานที่บริษัทมัตซึชิตะ เมืองโอซาก้า ซึ่งผลิตสินค้ายี่ห้อเนชั่นแนล พานาโซนิค เขามีวิธีฝึกบุคลากรให้ภักดีต่อบริษัทอย่างหนึ่งคือ ทุกเช้าก่อนเริ่มทำงาน ๙ โมง พนักงานทุกคนจะต้องมาถึงบริษัทเข้าประจำแผนกของตนเวลา ๘.๔๕ น. แล้วบริษัทจะเปิดเพลงมาร์ชมัตซึชิตะ กระจายเสียงตามสาย พนักงานทุกคนจะลุกขึ้นยืนและร้องเพลงมาร์ชพร้อมกัน หลังจากนั้นพนักงานจะหมุนเวียนกันวันละหนึ่งคนมากล่าวสนทนาให้เพื่อนร่วมงาน ในแผนกได้รับรู้ความคิดความเห็นของตนทั้งเรื่องงานและเรื่องทั่วไป ในฐานะคนนอกผู้เขียนรู้สึกประทับใจกับความพรักพร้อมและเอาจริงเอาจังเพื่อ บริษัทของพนักงานมัตซึชิตะเป็นยิ่งนัก
การสร้างความภักดีต่อองค์กร (organizational loyalty) ประการหนึ่ง องค์กรคงต้องหาสัญลักษณ์ขององค์กรมาเป็นเครื่องผูกพันและหล่อหลอมบุคลากรให้ เป็นหนึ่ง บางองค์กรอาจใช้เพลงมาร์ช หรือธง หรือคติพจน์ หรือโลโก้ หรือทั้งหมดรวมกัน อัยการญี่ปุ่นก็มีสัญลักษณ์คือ เข็มกลัดเครื่องหมายอัยการติดปกเสื้อ (badge) ใครที่เคยดูหนังซีรี่ส์ญี่ปุ่น ทางไอทีวี เรื่อง ผม..ฮีโร่นะครับ ที่เล่าเรื่องการทำงานของอัยการคุริว แห่งสำนักงานอัยการโตเกียว คงเห็นความผูกพันและความภูมิใจที่เหล่าอัยการมีต่อเข็มกลัดอัยการของตน ผู้เขียนก็มีเพื่อนอัยการญี่ปุ่นคนหนึ่ง เธอเล่าให้ฟังว่า สำนักงานอัยการสูงสุดญี่ปุ่นจะทำเข็มกลัดอัยการมีรหัสประจำตัวมอบให้ทุกคน ทุกคนจะให้ความสำคัญกับเข็มกลัดอัยการ จะใส่ว่าความในศาลและออกงานสังคมเป็นประจำ โดยถือเป็นสัญลักษณ์แห่งศักดิ์ศรีและความภูมิใจของอัยการ ตัวเธอเองเคยทำเข็มกลัดประจำตัวหายซึ่งถือเป็นความบกพร่องอย่างร้ายแรง เธอต้องทำหนังสืออย่างเป็นทางการขอขมาต่ออัยการสูงสุด ความภักดีต่อองค์กร เป็นแก่นหนึ่งของบูชิโดที่สร้างพลังให้แก่ซามูไร ดังนั้นองค์กรที่ต้องการประสิทธิภาพและพลังความก้าวหน้าอย่างแท้จริง คงต้องให้ความสำคัญและศึกษาหาวิธีการฝังความภักดีต่อองค์กรให้แก่บุคลากรกัน อย่างจริงจัง

โดย  บูชิโด : วิถีแห่งนักรบ

เมื่อ วันที่ 26 ธันวาคม 2547 เราคงรู้กันดีแล้วว่ามีเหตุการณ์ภัยธรรมชาติคลื่นยักษ์ถล่มจังหวัดภาคใต้แถบ ทะเลอันดามัน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน จึงขอแสดงความเสียใจต่อญาติผู้ที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นดังกล่าว พวกเราที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ต้องสู้ต่อไป เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายภายหลังคลื่นสงบกันดีกว่า ก่อนอื่นผู้ที่สูญหายจากคลื่นสึนามิยังไม่พบศพ ทางเจ้าหน้าที่ปกครองจะไม่ออกใบมรณบัตรให้ เรายังไม่ถือว่าเสียชีวิเป็นเพียงคนสูญหาย หากคนสูญหายมีทรัพย์สินต้องจัดการก็สามารถทำได้โดยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ภรรยา, บุตร, บิดามารดา ฯลฯ) หรือพนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งให้ทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ไปพลางก่อน ตามที่จำเป็นเพื่อจัดการทรัพย์สินของบุคคลผู้ไม่อยู่ ต่อมาหากครบกำหนด 1 ปี นับแต่สูญหายก็สามารถยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ ไม่อยู่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 48
ต่อมาหากครบ 2 ปี นับแต่เกิดคลื่นสึนามิโดยไม่ทราบว่ามีชีวิตอยู่หรือไม่ สามารถยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลสั่งเป็นคนสาปสูญได้ ซึ่งถือว่าถึงแก่ความตายโดยผลของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 61 หากเสียชีวิตแล้ว (มีใบมรณบัตร) ก็จะเกี่ยวข้องกับเรื่องมรดกอาจจะมีการตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 ถ้าผู้เสียชีวิตมีบุตรที่ยังเป็นผู้เยาว์อยู่จะต้องมีผู้ปกครองในการใช้ อำนาจปกครอง ต้องให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ หากประสงค์จะรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมต้องให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ ความยินยอมของบิดาและมารดา เรื่องกฎหมายทั้งหมดนี้ พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในการรับคำร้อง ยื่นคำร้องต่อศาลให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นสึนามิโดยไม่เสียค่าใช้ จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นการคุ้มครองสิทธิของประชาชนตามนโยบายของอัยการสูงสุด

โดย นายพงษ์พิทักษ์    พันธุลาวัณย์
นิติกร 4 สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือประชาชน จังหวัดพะเเยา

สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ อัยการสูงสุด มีเขตอำนาจในประเทศอังกฤษและเวลส์ และรับผิดชอบต่อรัฐสภาผ่านทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานแห่งชาติ แบ่งพื้นที่เป็น 42 เขต โดยแต่ละเขตอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของหัวหน้าพนักงานอัยการ และสอดรับกับหน่วยงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในแต่ละเขต ส่วนในลอนดอนมีสำนักงานหนึ่งแห่ง สำนักงานอัยการสูงสุดก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2529(ค.ศ. 1986) เพื่อพิจารณาฟ้องคดีที่ดำเนินการเริ่มต้นจากตำรวจ เจ้าหน้าที่ตำรวจมีหน้าที่รับผิดชอบในการสืบสวนสอบสวนคดีอาญา แม้สำนักงานอัยการสูงสุดจะทำงานประสานใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่ต่างก็ เป็นอิสระจากกัน อัยการสูงสุดมีหน้าที่รับผิดชอบในการออกประมวลสำหรับพนักงานอัยการตามมาตรา 10 ของพระราชบัญญัติการฟ้องคดีอาญา ค.ศ.1985 (The Prosecution of Offences Act 1985) เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ทั่วไปที่จะใช้สำหรับการพิจารณาสั่งคดี ประมวลนี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นครั้งที่สี่และให้ใช้แทนที่ประมวลฉบับที่ได้ รับการตีพิมพ์ก่อนหน้านี้ทั้งหมด ตามความมุ่งหมายของประมวลฉบับนี้ “พนักงานอัยการ” หมายความรวมถึง เจ้าหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดที่ได้รับการแต่งตั้งโดยอัยการสูงสุด ตามมาตรา 7A แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวและได้ใช้อำนาจที่ได้รับตามมาตราดังกล่าว

1. บทนำ
1.1 การวินิจฉัยสั่งฟ้องคดีอาญาแก่บุคคลใดถือเป็นขั้นตอนที่ร้ายแรง การดำเนินคดีที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมมีความสำคัญในการผดุงไว้ซึ่งกฎหมาย และความสงบเรียบร้อยของสังคม แม้ในคดีเล็กน้อยการฟ้องคดีอาญามีความสำคัญต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะ เป็นผู้เสียหายพยาน และผู้ต้องหา สำนักงานอัยการสูงสุดบังคับใช้ประมวลสำหรับพนักงานอัยการเพื่อให้เกิดความ เป็นธรรมและชัดเจนแน่นอนในการวินิจฉัยสั่งคดี
1.2 ประมวลฉบับนี้ช่วยให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีบทบาทในการสร้างความมั่นใจว่า กระบวนการต่าง ๆ ได้รับการปฏิบัติด้วยความยุติธรรม และได้รวบรวมข้อมูลที่มีความสำคัญต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและบุคคลอื่นที่เกี่ยว ข้องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญารวมทั้งสาธารณชน เจ้าหน้าที่ตำรวจควรคำนึงถึงประมวลฉบับนี้เมื่อพิจารณาว่าควรจะดำเนินคดีกับ บุคคลใดในการกระทำความผิดหรือไม่
1.3 และประมวลฉบับนี้ถูกยกร่างขึ้นเพื่อให้ทุกคนทราบถึงหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน อัยการสูงสุดใช้เป็นมาตรฐานในการทำงาน และโดยการใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวจะทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องในระบบสามารถให้ ความช่วยเหลือผู้เสียหายได้อย่างเป็นธรรมและทำให้การดำเนินคดีเป็นไปโดยมี ประสิทธิภาพและเป็นธรรม

2. หลักเกณฑ์ทั่วไป
2.1 คดีแต่ละคดีมีลักษณะเฉพาะตัวและจะต้องได้รับการพิจารณาตามข้อเท็จจริง และความเหมาะสมเฉพาะราย อย่างไรก็ตามในทุกคดีจะมีหลักเกณฑ์ทั่วไปที่พนักงานอัยการต้องพิจารณาปรับ ใช้
2.2 พนักงานอัยการต้องมีความยุติธรรม เป็นอิสระและมีภาวะวิสัยและต้องไม่ยอมให้ความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับเชื้อ ชาติ หรือเผ่าพันธุ์ เพศศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือความเบี่ยงเบนทางเพศของผู้ต้องหาหรือพยานมี อิทธิพลในการวินิจฉัยสั่งคดี พนักงานอัยการต้องไม่ได้รับผลกระทบจากความกดดันอันไม่สมควรหรือไม่ถูกต้อง จากผู้ใดในการปฏิบัติหน้าที่
2.3 พนักงานอัยการมีหน้าที่ต้องสร้างความมั่นใจให้แก่สาธารณะว่าบุคคลผู้ถูก ดำเนินคดีเป็นบุคคลซึ่งกระทำความผิดจริงและถูกฟ้องในข้อหาตรงตามความผิดที่ ได้กระทำ ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวพนักงานอัยการต้องกระทำการเพื่อประโยชน์ของความ ยุติธรรม มิใช่เพียงเพื่อวัตถุประสงค์ให้ศาลพิพากษาลงโทษตามฟ้องเท่านั้น
2.4 พนักงานอัยการมีหน้าที่ในการตรวจสอบ แนะนำ และดำเนินคดีเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ากฎหมายถูกนำมาบังคับใช้อย่างเหมาะสม และพยานหลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องถูกนำมาเสนอต่อศาล และมีหน้าที่ในการเปิดเผยข้อเท็จจริงตามหลักเกณฑ์ของประมวลนี้
2.5 สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานสาธารณะตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติ สิทธิมนุษยชน 1998 พนักงานอัยการจะต้องนำหลักเกณฑ์ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหภาพ ยุโรป มาบังคับใช้ให้เป็นไปในแนวเดียวกับพระราชบัญญัตินี้ด้วย

3. การตรวจสอบ
3.1 ตามปกติเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็นผู้เริ่มกระบวนการทางคดีต่าง ๆ แต่ในบางกรณีอาจมีการขอคำปรึกษาจากสำนักงานอัยการสูงสุดก่อนที่จะดำเนินคดี พนักงานอัยการต้องพิจารณาตรวจสอบคดีที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อให้ แน่ใจว่าแต่ละคดีเป็นไปตามหลักเกณฑ์พยานหลักฐานและหลักเกณฑ์ประโยชน์สาธารณะ ที่กำหนดในประมวลนี้ พนักงานอัยการอาจตัดสินใจที่จะดำเนินคดีต่อไป ตามข้อหาที่เจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งหรือทำการเปลี่ยนแปลงข้อหาหรือสั่งไม่ฟ้องในบางกรณี
3.2 การตรวจสอบเป็นกระบวนการอันต่อเนื่องและพนักงานอัยการจะต้องคำนึงถึง สถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเปลี่ยนแปลงไปและหากเป็นไปได้ควร แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจก่อนถ้าพนักงานอัยการคิดว่าควรมีการเปลี่ยนแปลงข้อ กล่าวหาหรือระงับการดำเนินคดี อันจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมีโอกาสเตรียมข้อมูลเพิ่มเติมที่อาจมีผลกระทบ ต่อการวินิจฉัยคดี พนักงานอัยการและเจ้าหน้าที่ตำรวจควรประสานงานกันอย่างใกล้ชิดเพื่อให้การ วินิจฉัยสั่งคดีเป็นไปโดยถูกต้อง แต่การวินิจฉัยสั่งคดีขั้นสุดท้ายขึ้นอยู่กับพนักงานอัยการ

4.หลักเกณฑ์ของประมวลนี้
4.1 ขั้นตอนการพิจารณาวินิจฉัยสั่งคดีประกอบด้วยสองขั้นตอน ขั้นตอนแรกคือ การพิจารณาตามหลักเกณฑ์พยานหลักฐาน (the EvidentialTest) หากคดีไม่ผ่านหลักเกณฑ์พยานหลักฐาน คดีต้องถูกระงับไม่ว่าคดีดังกล่าวจะมีความสำคัญหรือร้ายแรงเพียงใด หากคดีมีพยานหลักฐานครบถ้วนตามหลักเกณฑ์พยานหลักฐาน พนักงานอัยการต้องวินิจฉัยว่าการฟ้องคดีอาญามีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ สาธารณะหรือไม่
4.2 ขั้นตอนที่สอง คือ การพิจารณาตามหลักเกณฑ์ประโยชน์สาธารณะ (the Public Interest Test) สำนักงานอัยการสูงสุดจะเริ่มคดีหรือดำเนินคดีต่อไปเมื่อคดีผ่านการพิจารณา ทั้งสองหลักเกณฑ์ กล่าวคือหลักเกณฑ์พยานหลักฐานที่กำหนดในข้อ 5 และหลักเกณฑ์ประโยชน์สาธารณะที่กำหนดในข้อ 6

5. หลักเกณฑ์พยานหลักฐาน
5.1 ก่อนการพิจารณาสั่งฟ้องผู้ต้องหาในแต่ละข้อหา พนักงานอัยการต้องแน่ใจว่าคดีมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์ให้ศาล พิพากษาลงโทษจำเลยได้อย่างแน่นอน (realistic prospect of conviction)ในแต่ละข้อหา พนักงานอัยการต้องพิจารณาข้อต่อสู้ของผู้ต้องหาที่อาจถูกหยิบยกขึ้นได้และผล กระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในการดำเนินคดีอาญาประกอบด้วย
5.2 การพิจารณาว่าจะพิสูจน์ให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยได้อย่างแน่นอนมีลักษณะเป็น ภาวะวิสัย ซึ่งหมายความว่าคณะลูกขุนหรือคณะผู้พิพากษาของศาลแขวงผู้ซึ่งมีอำนาจพิจารณา คดีตามกฎหมายควรจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องมากกว่ายกฟ้อง บทพิสูจน์นี้เป็นบทพิสูจน์ที่แตกต่างจากบทพิสูจน์ที่ศาลอาญานำมาบังคับใช้ คณะลูกขุนหรือคณะผู้พิพากษาของศาลแขวงควรพิพากษาลงโทษก็ต่อเมื่อมั่นใจว่า จำเลยได้กระทำความผิดจริง
5.3 การที่จะพิจารณาว่าพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสั่งฟ้องหรือไม่ พนักงานอัยการจะต้องพิจารณาว่าพยานหลักฐานสามารถรับฟังได้และเชื่อถือได้ หรือไม่ มีหลายกรณีที่พยานหลักฐานไม่มีข้อสงสัย แต่ในบางกรณีพยานหลักฐานอาจไม่มีน้ำหนักรับฟังได้เท่ากับที่ถูกนำเสนอใน ครั้งแรกดังนั้น พนักงานอัยการต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
พยานหลักฐานดังกล่าวสามารถใช้ในศาลได้หรือไม่
a. เป็นไปได้หรือไม่ว่าพยานหลักฐานนั้นศาลจะไม่รับฟัง มีหลักกฎหมายที่ระบุว่าพยานหลักฐานที่อาจมีความเกี่ยวข้องกับคดีแต่ไม่ สามารถใช้ในศาลได้ ตัวอย่างเช่น เป็นไปได้หรือไม่ว่าพยานหลักฐานอาจรับฟังไม่ได้ เนื่องจากวิธีการเก็บรวบรวมหรือเนื่องจากมีหลักกฎหมายที่ห้ามรับฟังพยานบอก เล่า ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วจะต้องพิจารณาว่ามีพยานหลักฐานอื่นอันเพียงพอสำหรับ ใช้ยืนยันจนแน่ใจว่ามีการกระทำผิดจริงหรือไม่

พยานหลักฐานดังกล่าวเชื่อถือได้หรือไม่
b. มีพยานหลักฐานใดหรือไม่ที่อาจสนับสนุนหรือลดทอนความน่าเชื่อถือของคำให้การ รับสารภาพ ความน่าเชื่อถือได้ดังกล่าวได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ เชาว์ปัญญา หรือระดับความเข้าใจของจำเลยหรือไม่
c. ผู้ต้องหาให้การอย่างไร ศาลมีทีท่าจะถือว่าคำให้การดังกล่าวสามารถเชื่อถือได้ทั้งหมดหรือไม่ คำให้การดังกล่าวเป็นคำชี้แจงโดยสุจริตหรือไม่
d. ในกรณีที่ตำหนิรูปพรรณของผู้ต้องหาเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณา พยานหลักฐานในส่วนของตำหนิรูปพรรณนี้มีน้ำหนักเพียงพอหรือไม่
e. เป็นไปได้หรือไม่ว่าประวัติความเป็นมาของพยานอาจมีผลเสียต่อรูปคดี ตัวอย่างเช่น พยานมีมูลเหตุจูงใจที่อาจมีผลกระทบต่อทัศนคติของเขาในคดี หรือต่อคำพิพากษาในคดีก่อนที่เกี่ยวข้องหรือไม่
f. มีข้อสงสัยประการอื่นเกี่ยวกับความถูกต้องแม่นยำหรือความน่าเชื่อถือของพยาน หรือไม่ ข้อสงสัยดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานของพยานหลักฐานหรือเพียงเป็นข้อมูลที่ขาด รายละเอียดสนับสนุน มีพยานหลักฐานอื่น ๆ อันอาจสนับสนุนหรือทำลายความน่าเชื่อถือของพยานที่เจ้าหน้าที่ตำรวจควรสืบหา เพิ่มเติมหรือไม่
5.4 พนักงานอัยการไม่ควรละเลยพยานหลักฐานเพียงเพราะความไม่แน่ใจว่าพยานหลักฐาน ดังกล่าวสามารถใช้ได้หรือเชื่อถือได้หรือไม่ แต่พนักงานอัยการควรพิจารณาพยานหลักฐานดังกล่าวโดยละเอียดเมื่อจะวินิจฉัย ว่าคดีมีแนวโน้มที่ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยอย่างแน่นอนหรือไม่

6. หลักเกณฑ์ประโยชน์สาธารณะ
6.1 ในปี ค.ศ. 1951 ลอร์ด ชอว์ครอส ผู้ซึ่งในขณะนั้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้ให้คำแถลงเกี่ยวกับ ประโยชน์สาธารณะซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมคน อื่น ๆ ต่อมาว่า “ในประเทศนี้ไม่เคยมีกฎเกณฑ์ว่าการกระทำความผิดทางอาญาที่ต้องสงสัยจะต้อง ถูกฟ้องคดีอาญาโดยอัตโนมัติ และกระผมหวังว่าจะไม่มีกฎเกณฑ์ดังกล่าวตลอดไป” (คำอภิปรายของสภาผู้แทนราษฎรเล่มที่ 483, ตอน 681, 29 มกราคม1951)
6.2 ประโยชน์สาธารณะต้องได้รับการพิจารณาในแต่ละคดีแม้ในคดีที่มีพยานหลักฐาน เพียงพอที่จะพิสูจน์ให้ศาลลงโทษจำเลยได้อย่างแน่นอนก็ตาม ตามปกติเมื่อมีการกระทำความผิดจะต้องมีการดำเนินคดีทางอาญา เว้นแต่ว่ามีข้อพิจารณาเรื่องประโยชน์สาธารณะบางประการที่ทำให้การดำเนินคดี อาญาไม่เหมาะสมได้เพราะประโยชน์สาธารณะให้ไม่ฟ้องคดีมีน้ำหนักอย่างชัดเจน มากกว่าปัจจัยที่จะสนับสนุนการดำเนินคดี บางครั้งปัจจัยประโยชน์สาธารณะบางประการอาจมีน้ำหนักคัดค้านการฟ้องคดีอาญา ในกรณีใดเป็นการเฉพาะเจาะจง แต่การฟ้องคดีอาญาก็ควรดำเนินต่อไป โดยปัจจัยดังกล่าวควรได้รับการเสนอต่อศาลเพื่อพิจารณาเมื่อจะพิพากษาลงโทษ
6.3 พนักงานอัยการต้องชั่งน้ำหนักของปัจจัยที่สนับสนุนและปัจจัยที่คัดค้านการ ฟ้องคดีอาญาอย่างระมัดระวังและเป็นธรรม ปัจจัยประโยชน์สาธารณะที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจที่จะฟ้องคดีอาญาตามปกติ ขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของความผิดหรือพฤติการณ์อื่น ๆ ของผู้ต้องหา ปัจจัยบางประการอาจเพิ่มความจำเป็นในการฟ้อง ในขณะที่บางปัจจัยอาจชี้ให้เห็นว่าการดำเนินการด้วยวิธีอื่นจะเป็นการดีกว่า

ปัจจัยต่อไปนี้เป็นปัจจัยบางประการของประโยชน์สาธารณะโดยทั่วไปทั้ง ประเภทที่สนับสนุนและคัดค้านการฟ้องคดีอาญา ปัจจัยดังกล่าวที่นำมาบังคับใช้ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในแต่ละคดีปัจจัย ประโยชน์สาธารณะบางประการที่นำไปสู่การฟ้องคดีอาญา
6.4 ความผิดยิ่งร้ายแรงเท่าไรการฟ้องคดีอาญายิ่งมีความจำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะมากเท่านั้น การดำเนินคดีอาญาอาจมีความจำเป็นเมื่อ
a. คำพิพากษามีแนวโน้มว่าจะกำหนดโทษหนัก
b. กรณีที่มีการใช้อาวุธ หรือการข่มขู่ด้วยความรุนแรงในขณะกระทำความผิด
c. ความผิดได้กระทำลงต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ หรือพยาบาล)
d. ผู้ต้องหาเป็นเจ้าพนักงานหรือผู้จัดการทรัพย์สิน
e. เมื่อหลักฐานแสดงว่าผู้ต้องหาเป็นตัวการ หรือวางแผนดำเนินการในการกระทำความผิด
f. เมื่อหลักฐานแสดงว่าความผิดกระทำลงโดยการไตร่ตรองล่วงหน้า
g. เมื่อมีหลักฐานแสดงว่าความผิดถูกกระทำลงโดยกลุ่มคน
h. เมื่อผู้เสียหายอยู่ในสภาวะอ่อนแอ ถูกทำให้อยู่ในความกลัวอย่างมากหรือได้รับความทรมานจากการทำร้ายร่างกาย ความเสียหายหรือการถูกรบกวน
i. เมื่อความผิดกระทำลงโดยมูลเหตุจูงใจรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งของการแบ่งแยกวรรณะ หรือเชื้อชาติ เพศ ความเชื่อทางศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง หรือการเบี่ยงเบนทางเพศ หรือผู้ต้องหาแสดงความเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้เสียหาย เนื่องมาจากรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งของการแบ่งแยกดังกล่าวข้างต้น
j. เมื่อมีความแตกต่างอย่างมากระหว่างอายุที่แท้จริงและอายุทางจิตของผู้ต้องหา และผู้เสียหาย หรือเมื่อมีองค์ประกอบของการฉ้อราษฎร์บังหลวง
k. เมื่อผู้ต้องหากระทำผิดเคยถูกพิพากษาลงโทษหรือภาคทัณฑ์มาก่อน
l. เมื่อผู้ต้องหากระทำความผิดในขณะที่อยู่ภายใต้บังคับคำสั่งศาล
m. เมื่อมีเหตุให้เชื่อว่าความผิดนี้มีโอกาสเกิดขึ้นอีกหรืออาจเกิดขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง เช่น มีประวัติใน พฤติกรรมที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ หรือ
n. เมื่อความผิดที่แม้ไม่ได้มีความร้ายแรงในตัวเอง แต่มีการกระทำผิดอย่างแพร่หลายในพื้นที่ที่เกิดเหตุ

ปัจจัยประโยชน์สาธารณะบางประการที่นำไปสู่การไม่ฟ้องคดี
6.5 การฟ้องคดีอาจไม่มีความจำเป็นเมื่อ
a. เมื่อเล็งเห็นว่าศาลจะกำหนดโทษเพียงเล็กน้อย
b. ผู้ต้องหากำลังรับโทษในคดีอื่น ซึ่งการฟ้องร้องในคดีนี้ไม่มีผลทำให้ผู้ต้องหาได้รับโทษเพิ่มขึ้น เว้นแต่ว่าลักษณะของความผิดในคดีนี้จำต้องฟ้องคดี
c. ความผิดกระทำลงเนื่องจากการสำคัญผิดหรือเข้าใจผิดอย่างแท้จริง (ปัจจัยนี้ต้องได้รับการพิจารณาชั่งน้ำหนักร่วมกับความร้ายแรงของการกระทำ ความผิด)
d. เมื่อมีความเสียหายหรือภัยอันตรายเกิดขึ้นเล็กน้อยซึ่งเป็นผลมาจากการกระทำครั้งเดียว โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นเนื่องจากการตัดสินใจผิด
พลาด
c. เมื่อเกิดความล่าช้าในการดำเนินคดีอย่างมากระหว่างเวลาที่ความผิดถูกกระทำลงและวันที่นัดพิจารณาคดีในศาลเว้นแต่ว่า
– เป็นความผิดอุกฉกรรจ์
– ฝ่ายจำเลยเป็นผู้ก่อให้เกิดความล่าช้า
– ความผิดเพิ่งถูกนำมาสู่การพิจารณาหรือ
– ความล่าช้าเกิดขึ้นจากการสืบสวนสอบสวนอันยาวนานเนื่องจากความซับซ้อนของความผิด
f. การฟ้องคดีอาญาอาจมีผลร้ายต่อสภาพร่างกายหรือจิตใจของผู้เสียหาย อย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึงความร้ายแรงของความผิดอยู่เสมอ
g. ผู้ต้องหาเป็นบุคคลชราภาพ หรือกำลังหรือเคยได้รับความทุกข์ทรมานจากสภาวะความผิดปกติทางจิตใจหรือร่าง กายอย่างรุนแรงในขณะกระทำความผิด เว้นแต่ว่าความผิดนั้นเป็นความผิดอุกฉกรรจ์หรือมีความเป็นไปได้สูงว่าความ ผิดอาจเกิดขึ้นได้อีก หากมีความจำเป็น สำนักงานอัยการสูงสุดจะบังคับใช้แนวปฏิบัติของกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการ ปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดที่มีสภาวะจิตใจผิดปกติ พนักงานอัยการจะต้องชั่งน้ำหนักระหว่างความสมควรที่จะกันผู้ต้องหาซึ่งได้ รับความทุกข์ทรมานจากความผิดปกติทางจิตใจหรือร่างกายอย่างรุนแรงออก จากกระบวนการดำเนินคดีกับความจำเป็นที่จะปกป้องคุ้มครองสาธารณชน
h. ผู้ต้องหาได้ทำการแก้ไขเยียวยาความเสียหายหรือภัยอันตรายที่ก่อขึ้น (แต่ผู้ต้องหาจะต้องไม่หลีกเลี่ยงการถูกดำเนินคดีเพียงเพราะว่าตนได้ชดใช้ ค่าเสียหายแล้ว) หรือ
i. การดำเนินคดีอาจทำให้ข้อมูลบางประการถูกเปิดเผยต่อสาธารณะซึ่งอาจเป็น อันตรายต่อแหล่งที่มาของข้อมูล ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือความมั่นคงของชาติ
6.6 การพิจารณาประโยชน์สาธารณะมิใช่เพียงเรื่องของการเพิ่มเติมจำนวนของปัจจัยลง ในแต่ละฝ่าย พนักงานอัยการต้องวินิจฉัยว่าแต่ละปัจจัยมีความสำคัญอย่างไรในพฤติการณ์ของ แต่ละคดีและทำการชั่งน้ำหนักประเมินผลทั้งหมด

ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เสียหายและประโยชน์สาธารณะ
6.7 สำนักงานอัยการสูงสุดดำเนินคดีในนามของสาธารณะและมิใช่เพียงผลประโยชน์ของ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงหลักเกณฑ์ประโยชน์สาธารณะ พนักงานอัยการควรคำนึงถึงผลกระทบที่ผู้เสียหายอาจได้รับจาการวินิจฉัยสั่ง ฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง รวมถึงความคิดเห็นที่ผู้เสียหายหรือครอบครัวของผู้เสียหายได้แสดงออก
6.8 ผู้เสียหายต้องได้รับการแจ้งเกี่ยวกับการวินิจฉัยสั่งคดี พนักงานอัยการต้องทำให้เกิดความมั่นใจว่าตนได้ดำเนินการตามกระบวนการและหลัก เกณฑ์ที่กำหนดไว้

เยาวชน
6.9 พนักงานอัยการต้องคำนึงถึงประโยชน์ของเยาวชนในการตัดสินว่าการฟ้องคดีจะเป็น ประโยชน์สาธารณะหรือไม่ อย่างไรก็ตามพนักงานอัยการไม่ควรหลีกเลี่ยงการฟ้องคดีเพียงเพราะพิจารณาจาก อายุของผู้ต้องหาเท่านั้น โดยความร้ายแรงของการกระทำความผิดหรือพฤติกรรมในอดีตของเยาวชนมีความสำคัญ มากเช่นกัน
6.10 คดีที่เยาวชนมีส่วนร่วมปกติจะถูกส่งมายังสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดี ต่อเมื่อเยาวชนได้รับการตำหนิโทษและคำตักเตือนขั้นสุดท้ายแล้ว เว้นแต่เป็นความผิดอุกฉกรรจ์ขนาดที่ไม่จำเป็นต้องให้มีการตำหนิโทษและคำตัก เตือนก่อน การตำหนิโทษและคำตักเตือนขั้นสุดท้ายมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการกระทำความ ผิดซ้ำและข้อเท็จจริงที่ว่าการกระทำผิดได้เกิดขึ้นอีกถือเป็นเครื่องบ่งชี้ ว่าความพยายามที่จะกันเยาวชนออกจากกระบวนการดำเนินคดีนั้นไม่ประสบผลสำเร็จ ดังนั้น ในคดีประเภทนี้การฟ้องคดีจะเป็นประโยชน์สาธารณะมากกว่าการไม่ฟ้องคดี เว้นแต่จะมีปัจจัยประโยชน์สาธารณะประการอื่นที่ชัดเจนที่คัดค้านการฟ้องคดี การตักเตือนโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ
6.11 ข้อกำหนดนี้ใช้กับคดีที่ผู้ต้องหาเป็นผู้ใหญ่เท่านั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องตัดสินใจว่ากล่าวตักเตือนผู้กระทำผิดตามนัยแห่งแนว ปฏิบัติกระทรวงมหาดไทยที่กำหนดขึ้น
6.12 เมื่อพนักงานอัยการจะพิจารณาว่าจะสั่งฟ้องคดีหรือไม่ พนักงานอัยการควรพิจารณาถึงทางเลือกอื่น นอกเหนือจากการฟ้องคดีอาญาประกอบด้วย ทางเลือกดังกล่าวรวมถึงการตักเตือนโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งต้องปฏิบัติตาม แนวปฏิบัติกระทรวงมหาดไทย และเมื่อเห็นว่าการตักเตือนจะมีความเหมาะสมแก่คดีพนักงานอัยการต้องแจ้งแก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อทำการตักเตือนผู้ต้องหา หากการตักเตือนดังกล่าวไม่ได้รับความร่วมมือเพราะผู้ต้องหาปฏิเสธที่จะยอม รับการตักเตือน หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจคัดค้านที่จะทำการตักเตือน พนักงานอัยการอาจพิจารณาคดีอีกครั้งหนึ่ง

7. การตั้งข้อหา
7.1 พนักงานอัยการควรตั้งข้อหาซึ่ง
a. สะท้อนความร้ายแรงของการกระทำความผิด
b. ให้อำนาจการตัดสินลงโทษแก่ศาลอย่างพอเพียง และ
c. เอื้ออำนวยให้การดำเนินคดีเป็นไปโดยชัดเจนและเรียบง่าย พนักงานอัยการอาจไม่ดำเนินคดีด้วยข้อหาที่ร้ายแรงที่สุดหากเห็นว่ามีทาง เลือกอื่น นอกจากนั้นพนักงานอัยการไม่ควรดำเนินคดีด้วยการตั้งข้อหามากกว่าความจำเป็น
7.2 พนักงานอัยการไม่ควรตั้งข้อหามากเกินกว่าความจำเป็นเพียงเพื่อที่จะทำให้ จำเลยให้การรับสารภาพบางข้อหา ในทำนองเดียวกันพนักงานอัยการไม่ควรตั้งข้อหาที่ร้ายแรงกว่าข้อเท็จจริง เพียงเพื่อที่จะทำให้จำเลยให้การรับสารภาพในข้อหาที่มีความรุนแรงน้อยกว่า
7.3 พนักงานอัยการไม่ควรเปลี่ยนแปลงข้อหาเพียงเพราะเป็นผลจากคำชี้ขาดของศาล หรือการตัดสินใจของจำเลยเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลที่จะพิจารณาคดี

8. วิธีการพิจารณาคดีในศาล
8.1 สำนักงานอัยการสูงสุดใช้แนวปฏิบัติสำหรับผู้พิพากษาศาลแขวงซึ่งเป็นผู้ วินิจฉัยว่าคดีต่าง ๆ ควรถูกส่งไปพิจารณาในศาลอาญาหรือไม่เมื่อความผิดดังกล่าวเข้าข่ายให้สามารถ พิจารณาเลือกเขตอำนาจศาลและเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ (ดูแนวปฏิบัติสำหรับวิธีการพิจารณาคดีในศาลโดยประธานศาลฎีกา) พนักงานอัยการควรให้คำแนะนำแก่ศาลอาญาในกระบวนพิจารณาคดีเมื่อเห็นว่าแนวปฏิบัติดังกล่าวกำหนดให้พนักงานอัยการกระทำ
8.2 ความรวดเร็วเพียงอย่างเดียวไม่อาจนำมาใช้เป็นเหตุผลเพื่อขอให้คดีได้รับการ พิจารณาอยู่ในชั้นศาลแขวงแต่พนักงานอัยการควรพิจารณาถึงผลกระทบจากความล่า ช้าอันอาจเกิดขึ้นได้ หากพนักงานอัยการส่งคดีไปสู่การพิจารณาของศาลอาญา รวมทั้งความกดดันที่อาจเกิดขึ้นได้ในส่วนของผู้เสียหายและพยานหากคดีถูกทำ ให้ล่าช้า

9. การยอมรับคำให้การรับสารภาพ
9.1 จำเลยอาจต้องการที่จะรับสารภาพบางข้อหา หรือจำเลยอาจต้องการที่จะรับสารภาพในข้อหาอื่นที่แตกต่างไปซึ่งอาจเป็นไปได้ ว่าเป็นข้อหาที่มีความร้ายแรงน้อยลงเพราะจำเลยยอมรับว่ากระทำความผิดเพียง บางส่วน พนักงานอัยการควรยอมรับคำให้การรับสารภาพของจำเลยต่อเมื่อพนักงานอัยการเห็น ว่าศาลจะพิพากษาลงโทษอย่างเหมาะสมกับความร้ายแรงของการกระทำความผิดเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคดีที่มีลักษณะร้ายแรง พนักงานอัยการต้องไม่ยอมรับคำให้การรับสารภาพเพียงเพื่อความสะดวกในการ ดำเนินคดีเท่านั้น
9.2 พนักงานอัยการต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อพิจารณาคำให้การรับสารภาพ ซึ่งจำเลยใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการกำหนดโทษขั้นต่ำตามกฎหมาย เมื่อจำเลยเสนอคำให้การรับสารภาพพนักงานอัยการต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ ว่าคำสั่งหรือโทษบางประเภทอาจมีได้สำหรับความผิดบางข้อหาแต่ไม่อาจมีได้ สำหรับความผิดในข้อหาอื่น

9.3 ในกรณีที่จำเลยให้การรับสารภาพต่อข้อหาตามข้อเท็จจริงที่แตกต่างไปจากคดีที่ ถูกฟ้องและอาจมีผลต่อการที่ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยศาลควรได้รับเชิญเข้าสู่ การไต่สวนพยานหลักฐานเพื่อที่จะวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรและ พิพากษาลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ถูกต้องดังกล่าว

10. การรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่
10.1 ประชาชนควรสามารถเชื่อถือการวินิจฉัยสั่งคดีของสำนักงานอัยการสูงสุด โดยทั่วไปถ้าสำนักงานอัยการสูงสุดแจ้งแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยว่าคดีสั่งไม่ ฟ้องหรือการดำเนินคดีดังกล่าวถูกระงับ ถือว่าคดีถึงที่สุดและจะไม่มีการรื้อฟื้นคดีอีก แต่ในบางกรณีอาจมีเหตุผลพิเศษบางประการที่สำนักงานอัยการสูงสุดจะรื้อฟื้น คดีขึ้นใหม่ โดยเฉพาะกรณีที่เป็นคดีอุกฉกรรจ์
10.2 เหตุผลดังกล่าวรวมถึง
a. กรณีเมื่อการทบทวนคำวินิจฉัยเดิมพบว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวกระทำลงด้วยความผิดพลาดอย่าง ชัดแจ้งและไม่ควรปล่อยให้คงอยู่
b. คดีที่ถูกระงับเพื่อค้นหาและตระเตรียมพยานหลักฐานเพิ่มเติมอันคาดว่าจะพบได้ ในอนาคตอันใกล้ในกรณีดังกล่าวพนักงานอัยการควรแจ้งต่อจำเลยว่าการดำเนินคดี อาญาอาจเริ่มขึ้นได้อีกครั้ง และ
c.คดีที่สั่งไม่ฟ้องเนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอแต่พยานหลักฐานชิ้นสำคัญถูกค้นพบในภายหลัง

ประมวลสำหรับพนักงานอัยการ
( The Coed for Crown Prosecutors)

ขายสลากเกินราคา มีความผิด

“ผู้ใดเสนอขายหรือขายสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ออกจำหน่ายตามกฎหมาย และที่ยังมิได้ออก รางวัลเกินกว่าราคาที่กำหนด ในสลากกินแบ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” (ตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 และพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517)

————————————————————————————————————————————————

อาวุธปืนมีทะเบียนก็อาจมีโทษได้

“ผู้ใดเสนอขายหรือขายสลากกินแบ่งรัฐบาลที่ออกจำหน่ายตามกฎหมาย และที่ยังมิได้ออกรางวัลเกินกว่าราคาที่กำหนด ในสลากกินแบ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” (ตามพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 และพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ. 2517)

————————————————————————————————————————————————

สูดดมกาวมีสิทธิติดคุก

ผลิตภัณฑ์ประเภททินเนอร์, แลคเกอร์, กาวอินทรีย์สังเคราะห์ ที่มียางนิโอปรีนหรือสารกลุ่มไวนิลเป็นตัวประสานถือเป็นสารระเหย อันเป็นอันตรายต่อสุขภาพและมีโทษตามกฎหมาย ผู้ใดกระการการดังต่อไปนี้เป็นความผิดมีโทษตามกฎหมาย
– ใช้สารระเหยโดยวิธีอื่นใด เพื่อบำบัดความต้องการของร่างกาย และจิตใจ
– ขายจัดหา หรือให้สารระเหย แก่ผู้ติดสารระเหยไม่ว่าผู้ติดสารระเหยจะอายุมากน้อยเท่าใดก็ตาม
– ขาย, จ่าย, แจกสารระเหย แก่ผู้อายุไม่เกิน 17 ปี (ไม่ว่าผู้นั้นจะติดสารระเหยหรือไม่ก็ตาม)
(พระราชกำหนดป้องกันทางใช้สารระเหย พ.ศ. 2533)

————————————————————————————————————————————————

เอาเปรียบทางการค้าโดยใช้เครื่องชั่งสินค้าเอาเปรียบมีโทษทางกฎหมาย

ป. อาญา มาตรา 270 “ผู้ใดใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ซึ่งเครื่องชั่งเครื่องตวง หรือเครื่องวัดที่ผิดอัตราเพื่อเอาเปรียบในการ ค้า หรือมีเครื่องเช่นว่านั้นไว้เพื่อขาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” มาตรา 271 “ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วยประการใดๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิดสภาพ คุณภาพ หรือ ปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” และตามพระราชบัญญัติ มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31

————————————————————————————————————————————————

เอาเปรียบทางการค้าโดยใช้เครื่องชั่งสินค้าเอาเปรียบมีโทษทางกฎหมาย

ป. อาญา
” มาตรา 270 “ผู้ใดใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ซึ่งเครื่องชั่งเครื่องตวง หรือเครื่องวัดที่ผิดอัตราเพื่อเอาเปรียบในการค้า หรือมีเครื่องเช่นว่านั้นไว้เพื่อขาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
” มาตรา 271 “ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วยประการใดๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิดสภาพ คุณภาพ หรือ ปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” และตามพระราชบัญญัติ มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ. 2466 มาตรา 31

————————————————————————————————————————————————

เช่าซื้อทรัพย์ต้องตรวจหลักฐาน

นาย ข. เป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ตามหลักฐานทางทะเบียนแล้วได้ให้ นาย ก.เช่าซื้อไปโดยระหว่างการผ่อนค่าเช่าซื้อ ยังไม่ครบนั้น นาย ก. ผู้เช่าซื้อไปขายรถจักรยานยนต์ต่อให้แก่ นาย ค. อีกต่อหนึ่งโดย นาย ค. ไม่ ทราบว่ายังค้างค่าเช่าซื้ออยู่ ดังนี้ ถือว่ากรรมสิทธิ์ในรถยังคงเป็นของ นายข. อยู่การที่นาย ก.นำไปขายให้ นาย ค.จึงเป็นการขายโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ตามหลักที่ว่าผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ดังนั้น นาย ข. มีสิทธิจะยึดรถคืนมาได้ นาย ค.ไม่มีสิทธิยึดรถไว้ แต่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินคืน จากนาย ก.ได้ และนาย ก. มีความผิดอาญา ฐานยักยอกทรัพย์ได้ ส่วน นาย ค. หากไม่รู้ว่ายังคงค้างกันอยู่ก็ไม่มีความผิดอาญาแต่ถ้ารู้หรือควรจะรู้เช่นนั้น มีความผิดอาญา ฐานรับของโจร

————————————————————————————————————————————————

อยากเป็นผู้ตรวจรักษาโรคต้องมีใบอนุญาต

“วิชาชีพเวชกรรม” หมายความว่า วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์ เกี่ยวกับการตรวจโรคการวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การผดุงครรภ์ การปรับสายตาด้วยเลนส์สัมผัส การแทงเข็ม หรือการฝังเข็มเพื่อบำบัดโรคหรือเพื่อระงับความรู้สึกและหมายความรวมถึง การกระทำทางศัลยกรรมและการใช้รังสี การฉีดยา หรือสสาร การสอดใส่วัตถุใดๆ เข้าไปในร่างกาย ทั้งนี้เพื่อการคุมกำเนิดการเสริมสวย หรือการบำรุงร่างกายด้วย “ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบอาชีพเวชกรรม หรือแสดงด้วยวิธีใดๆ ว่าพร้อมที่จะประกอบอาชีพเวชกรรมตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525” หากฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

————————————————————————————————————————————————

กู้ยืมเงิน ต้องมีหลักฐาน

“กู้ยืม” การกู้ยืมเงินกว่า 50 บาทขึ้นไป จะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือผู้กู้ไว้ เป็นสำคัญ จึงจะใช้ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ในอายุความ 10 ปี (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653) แต่จะคิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อไป หากคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี ฟ้องเรียกดอกเบี้ยกันไม่ได้ คงฟ้องบังคับได้เฉพาะต้นเงินเท่านั้นและผู้ให้กู้ซึ่งเรียกดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดดังกล่าวมีความผิดอาญาอาจถูกจำคุกหรือปรับตามที่กฎหมายกำหนด

———————————————————————————————————————————————–

สิทธิมนุษยชนของผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์

1. สิทธิในความเป็นส่วนตัว (The Right to Privacy) มนุษย์ทุกคนย่อมมีสิทธิในการดำเนินชีวิตของตนเอง โดยปราศจากการสอดแทรกหรือขัดขวางจากสิ่งหนึ่งสิ่งใดต้องไม่บังคับให้บุคคลเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อโรคเอดส์ ต้องไม่บังคับให้บุคคลรับการตรวจรับการตรวจเฉพาะหรือการตรวจแอบแฝงใดๆ ที่จะชี้บ่งถึงภาวะของการติดเชื้อโรคเอดส์ ห้ามระบุหรือเปิดเผยชื่อบุคคลพร้อมกับสถานภาพของการติดเชื้อโรคเอดส์ต่อบุคคลที่สาม หรือแม้แต่การสอบถามเป็นการส่วนตัวรวมทั้งการเปิดเผยต่อสาธารณะทางสื่อมวลชน ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของบุคคลทุกอย่างต้องถือว่าเป็นเรื่องส่วนตัว และเป็นความลับการเปิดเผยข้อมูล จะต้องได้รับความยินยอม โดยความสมัครใจของบุคคลนั้นหลังจากที่บุคคลนั้นได้รับรู้รับทราบ

2. สิทธิในการไปไหนมาไหนและความปลอดภัย สิทธิในการย้ายถิ่นฐาน(Right to Liberty and Security / Freedom of Movement)สิทธิในการไปไหนมาไหนและความปลอดภัย สิทธิในการย้ายถิ่นฐาน รวมถึงสิทธิในการต่อต้านมาตรการการแบ่งแยก การกักกัน หรือการโดดเดี่ยว ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์บุคคลมีีสิทธิในการต่อต้านการสอดส่อง จับกุมหน่วงเหนี่ยวผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์นอกจากนี้ บุคคลมีสิทธิในการต่อต้านการจำกัดการย้ายถิ่นฐานภายในประเทศและต่างประเทศ ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพหรือสงสัยในสถานภาพของการติดเชื้อเอดส์หรือเพราะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคเอดส์ควรมีกฎหมายในการประกันและปกป้องผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์จากการถูกละเมิดสิทธิเหล่านี้

3. ความเป็นอิสระจากการปฏิบัติ หรือการลงโทษอย่างไร้มนุษยธรรม และต่ำทราม (Freedom from Inhuman and Degrading Treatment of Punishment) มาตรการทุกอย่างในการป้องกัน และควบคุมโรคเอดส์ต้องไม่เป็นการปฏิบัติ หรือการลงโทษอย่างไร้มนุยธรรมและต่ำทราม นอกจากนี้รัฐต้องถือเป็นพันธะในการปกป้องผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยโรคเอดส์ จากการถูกสบประมาทหรือดูถูกเหยียดหยามในเกียรติศักดิ์ ความเป็นมนุษย์ รัฐต้องไม่ริเริ่มและไม่สนับสนุนในการออกกฎหมายใดๆ ที่ละเลยหรือละเว้นสิทธิอันนี้ รัฐต้องเอาผิดกับผู้ที่ละเมิดสิทธิของผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยโรคเอดส์ หากรัฐเพิกเฉยก็เท่ากับยินยอมให้เกิดการเยาะเย้ย การประจาน การโดดเดี่ยว การแบ่งแยกต่อผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์ รวมทั้งผู้ที่ต้องสงสัยว่าติดโรคเอดส์ และผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรคเอดส์

4. สิทธิในการทำงาน (Right to Work) ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ยังสามารถทำงานได้ มีสิทธิในการทำงาน รวมถึงสิทธิของความเท่าเทียมกันในโอกาส ของการจ้างงาน ความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่การใช้สิ่งของสาธารณะในที่ทำงนร่วมกัน การสนับสนุนในหน้าที่การงาน ตลอดจนสิทธิในการจัดตั้ง หรือเข้าร่วมสหภาพ หรือองค์กรผู้ใช้แรงงาน และต้องไม่ถูกกีดกันหรือแบ่งแยกด้วยวิธีการ หรือรูปแบบใดๆ ในที่ทำงาน

5. สิทธิในการศึกษา (Right to Education) ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์มีโอกาสที่จะเข้าถึง และได้รับประโยชน์จากการจัดการด้านการศึกษา รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในการศึกษา ทั้งสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน ตลอดจนมีสิทธิที่จะได้รับการศึกษานอกสถานศึกษา และการศึกษาต่อเนื่องผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ที่ต้องสงสัยว่าจะติดเชื้อโรคเอดส์ หรือกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเอดส์มีสิทธิในการศึกษาโดยไม่ถูกปฏิเสธ หรือริดรอนสิทธิ หรือตั้งข้อจำกัดใดๆ ทั้งสิ้นในสถาบันการศึกษาทุกแห่งผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยโรคเอดส์ จะต้องได้รับการปฏิบัติด้วยกฎและระเบียบเดียวกันกับผู้อื่น โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ

6. สิทธิด้านสวัสดิการ และการให้บริการทางสังคม (Right to Social Security and Services) ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์ ต้องได้รับการประกันว่า จะได้รับการบริการสาธารณะรวมทั้งการบริการทางสาธารณะ รวมทั้งการบริการทางสาธารณสุขและการแพทย์อย่างเท่าเทียมกับผู้อื่นโดยไม่ถูกปฏิเสธ หรือริดรอนหรือตั้งข้อจำกัดเว้นเสียแต่จะมีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันด้วยความเป็นเหตุเป็นผล และเป็นวิทยาศาสตร์

7. สิทธิในการได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย อย่างเท่าเทียมกัน (Right to Equal Protection of the Law)รัฐจะต้องจัดให้มีมาตรการ และโครงสร้างในการบริหารจัดการเอื้ออำนวย ให้ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งปกป้องมิให้เกิดการกีดกันผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยโรค เอดส์รัฐต้องออกกฎหมายป้องปรามและปราบปรามการปฏิบัติใดๆ โดยหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานเอกชน อันเป็นการกีดกันต่อผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์

8. สิทธิในการสมรส และการมีครอบครัว (Right to Marriage and Family Life)หญิงและชายผู้ที่มีอายุถึงข้อกำหนดตามกฎหมายมีสิทธิที่จะสมรสและมีครอบครัวแม้ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยโรคเอดส์ รวมทั้งมีสิทธิในการเสริมสร้างและมีสัมพันธภาพต่อกันและกันมีสิทธิในการสืบสายโลหิต และได้รับการยอมรับและเคารพในพฤติกรรมส่วนบุคคล

9. สิทธิการรับการรักษาและดูแล (Right to Treatment and Care) ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์ทุกคน มีสิทธิจะได้รับการดูแลรักษาทางการแพทย์ด้วยมาตรฐานที่ดีและเหมาะสม รวมทั้งการให้บริการปรึกษาและการสนับสนุนอื่นโดยปราศจากการกีดกัน ไม่ใช้เงื่อนไขทางการเงินของบุคคลเป็นตัวชี้วัดหรือบ่งถึงมาตรฐานการให้บริการประชาชนต้องได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับธรรมชาติวิทยาของโรคเอดส์และการแพร่กระจายของโรคเอดส์ โดยรัฐเป็นผู้ให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องชัดเจน ทันสมัยข้อมูลข่าวสารที่นำเสนอต้องไม่เป็นเรื่องทำให้เกิดความหวั่นไหวหรือเกิดความตื่นตระหนกทางศีลธรรมและขนบธรรมเนียมของสังคม

10. สิทธิในการกำหนดชีวิตของตนเองของกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ (Right to Self- Determination of Affected Groups)รัฐต้องสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้เสียเปรียบทางสังคมและผู้ที่ถูกสังคมตราหน้าโดยเฉพาะกลุ่มผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์ กลุ่มผู้หญิง กลุ่มโสเภณีกลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น กลุ่มชายรักร่วมเพศ รัฐพึงส่งเสริมให้้กลุ่มจัดตั้งเหล่านี้มีศักยภาพในการตัดสินใจและกำหนดชีวิตของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยความสมัครใจ ดำรงชีวิตอย่างมีเกียรติศักดิ์ของความเป็นมนุษย์ รัฐพึงเสริมสร้างและกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศของความสมานฉันท์ในสังคม ให้โอกาสผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยโรคเอดส์มีส่วนร่วมและตัดสินใจในการกำหนดชีวิตของตนเองไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม หรือสังคม

หมายเหตุเรียบเรียงจาก “สิทธิมนุษยชนของผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์” โดย รศ.นพ.วีระพล จันทร์ดียิ่ง”

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานอัยการจังหวัดพะเยา
เลขที่ 729 ตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
โทรศัทพ์ 054 449548-9 โทรสาร 054 449548
E-mail : phayao@ago.go.th