ข่าวประชาสัมพันธ์

เกี่ยวกับสำนักงาน

ประวัติความเป็นมา

                     ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ได้บัญญัติให้มีการจัดตั้งศาลปกครองในระบบศาลคู่ กล่าวคือ ให้จัดตั้งศาลปกครองให้เป็นเอกเทศแยกต่างหากจากศาลอื่น เพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยคดีปกครอง โดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๔๒ และหลังจากศาลปกครองได้เปิดทำการแล้วปรากฏว่ามีคดีปกครองจำนวนมากที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐมอบอำนาจให้พนักงานอัยการฟ้องคดีหรือดำเนินคดีปกครองแทนประกอบกับระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยองค์คณะการจ่ายสำนวน การโอนคืน การปฏิบัติหน้าที่ของตุลาการในคดีปกครองการคัดค้านตุลาการศาลปกครอง การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานคดีปกครองและการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีปกครองแทน พ.ศ. ๒๕๔๔ข้อ ๒๐กำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมอบอำนาจให้พนักงานอัยการฟ้องคดีหรือดำเนินคดีปกครองแทนได้

                     คดีความปกครอง เป็นคดีที่มีความสำคัญต่อการให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนและเป็นกลไกสำคัญในการบริหารประเทศ โดยพนักงานอัยการรับทำหน้าที่พิจารณาข้อพิพาททางปกครอง ระหว่างราษฎร์กับรัฐ หรือระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ ประเทศต้นกำเนิดของศาลปกครองคือประเทศในแถบภาคพื้นยุโรป ซึ่งมีรากฐานในการพัฒนาขึ้นมาเป็นระบบศาลปกครอง นั่นคือ เคาน์ซิลออฟสเตด Council of State หรือสภาที่ปรึกษาแห่งรัฐ โดยสภาหลักดังกล่าวจะมีอำนาจหน้าที่สำคัญสองประการ คือ เป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร และอีกประการหนึ่งคือมีหน้าที่ในการพิจารณาข้อพิพาทระหว่างราษฎร์กับรัฐ กล่าวได้ว่าสถาบันดังกล่าวนี้เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจเพื่อทำหน้าที่แก้ปัญหาในด้านการปกครอง ร่างกฎหมาย และทำหน้าที่พิจารณาคดี ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างดียิ่งในทุกวันนี้

                    การฟ้องคดีปกครองนั้นถือหลักว่าให้กระทำโดยง่าย ไม่มีข้อยุ่งยาก โดยผู้ฟ้องคดีสามารถยื่นฟ้องได้ด้วยตนเองต่อเจ้าหน้าที่ของศาลปกครอง หรืออาจใช้วิธีการส่งคำฟ้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ โดยไม่มีแบบฟอร์ม แต่ขอให้ทำคำฟ้องเป็นหนังสือ ใช้ถ้อยคำที่สุภาพและมีสาระสำคัญและหลักฐานเท่าที่มีแนบไปด้วย โดยไม่มีหลักเกณฑ์ที่ซับซ้อนที่จะเป็นภาระแก่ผู้ประสงค์จะฟ้องคดี เว้นแต่เงื่อนไขบางประการที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินคดีอีกทั้งคดีส่วนใหญ่ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และไม่บังคับให้ต้องมีทนายความในการฟ้องคดีอีกด้วย

   สำนักงานคดีปกครองสงขลา เริ่มจัดตั้งหน่วยงาน วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๔ ณ อาคารสำนักงานอัยการภาค๙ (เดิม สำนักงานอัยการเขต ๙) ชั้นที่ ๓ ถนนแหลมสนอ่อน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองจังหวัดสงขลา โดยมีนายปรีชา วราโห เป็น อธิบดีอัยการฝ่ายคดีปกครองสงขลา คนแรก

ภารกิจ / อำนาจหน้าที่ /กระบวนงาน

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองสงขลา ๑
Executive Director’s Office of Songkhla Administrative Litigation 1
ข้าราชการฝ่ายอัยการมีหน้าที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้

           ๑. ดำเนินคดีทั้งปวงตามที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุดซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสงขลา
           ๒. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

พนักงานอัยการมีอำนาจสั่งคดีดังนี้

     (๑) อธิบดีมีอำนาจออกคำสั่งรับว่าต่างหรือแก้ต่างและตรวจร่างคำฟ้องหรือคำให้การคดีที่มีทุนทรัพย์เกินกว่ายี่สิบล้านบาทขึ้นไปคดีสำคัญ หรือคดีที่มีการแต่งตั้งคณะทำงานโดยอธิบดี      
     (๒) รองอธิบดีมีอำนาจออกคำสั่งรับว่าต่างหรือแก้ต่างและตรวจร่างคำฟ้องหรือคำให้การคดีที่มีทุนทรัพย์เกินกว่าสิบล้านบาทขึ้นไปแต่ไม่เกินยี่สิบล้านบาทแล้วเสนออธิบดีเพื่อทราบ
     (๓)อัยการพิเศษฝ่ายมีอำนาจออกคำสั่งรับว่าต่างหรือแก้ต่างและตรวจร่างคำฟ้องหรือคำให้การคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสิบล้านบาทแล้วเสนอรองอธิบดีเพื่อทราบ 
     (๔)  พนักงานอัยการชั้น ๖ มีอำนาจออกคำสั่งรับว่าต่างหรือแก้ต่างและทำคำฟ้องหรือคำให้การคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินเจ็ดล้านบาทแล้วเสนออัยการพิเศษฝ่ายเพื่อทราบ              
     (๕)   พนักงานอัยการชั้น ๕มีอำนาจออกคำสั่งรับว่าต่างหรือแก้ต่างและทำคำฟ้องหรือคำให้การคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าล้านบาทแล้วเสนออัยการพิเศษฝ่ายเพื่อทราบ              
 (๖)   พนักงานอัยการชั้น ๔มีอำนาจออกคำสั่งรับว่าต่างหรือแก้ต่างและทำคำฟ้องหรือคำให้การคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองล้านบาทแล้วเสนออัยการพิเศษฝ่ายเพื่อทราบ              
(๗) พนักงานอัยการตั้งแต่ชั้น ๔ขึ้นไปมีอำนาจออกคำสั่งรับว่าต่างหรือแก้ต่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ที่ไม่ใช่คดีสำคัญเมื่อมีคำสั่งแล้วให้เสนออัยการพิเศษฝ่ายเพื่อทราบ

            อำนาจสั่งคดีของอัยการอาวุโส ให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการนั้น     

สำนักอำนวยการ
General Affairs Division
ข้าราชการฝ่ายธุรการรับผิดชอบงานดังต่อไปนี้

๑. รับผิดชอบงานธุรการงานสารบบคดี งานบริหารงานบุคคล งานเลขานุการนักบริหารงานงบประมาณงาน     การเงินและบัญชี และ  งานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ พัสดุ และยานพาหนะของสำนักงานคดีปกครองสงขลา                             
๒.ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย 

กระบวนงาน
กระบวนพิจารณาคดีในศาลปกครอง

           พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 บัญญัติให้จัดตั้งศาลปกครองขึ้นโดยให้มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ซึ่งเป็นคดีพิพาทระหว่างเอกชนกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือระหว่างหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าด้วยกัน แต่โดยที่พยานหลักฐานในคดีปกครองส่วนใหญ่มักเป็นเอกสารที่อยู่ในครอบครองของหน่วยงานทางปกครองเกือบทั้งหมด ทำให้คู่กรณีสองฝ่ายอยู่ในฐานะที่ไม่เท่าเทียมกัน วิธีพิจารณาคดีในศาลปกครองจึงต้องใช้ระบบวิธีพิจารณา “แบบไต่สวน” ควบคู่กับหลักการให้สิทธิโต้แย้งหรือหลักการฟังความสองฝ่าย ซึ่งแตกต่างกับ “ระบบกล่าวหา” ของศาลยุติธรรม

           นอกจากนั้น ระบบวิธีพิจารณาคดีปกครองยังให้มีการถ่วงดุลการใช้อำนาจระหว่างตุลาการศาลปกครองด้วยกัน เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ถูกต้องของข้อเท็จจริงกล่าวคือโดยหลักแล้ว “ตุลาการเจ้าของสำนวน” จะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการแสวงหาและรวบรวมข้อเท็จจริงแต่จะต้องเสนอข้อเท็จจริงนั้นต่อตุลากรอื่นที่ประกอบกันเป็นองค์คณะ และต่อ “ตุลาการผู้แถลงคดี” ซึ่งมิใช่ตุลาการในองค์คณะนั้นพิจารณาด้วย สำหรับในส่วนของการวินิจฉัยชี้ขาดนั้น “ตุลาการผู้แถลงคดี” จะเสนอ “คำแถลงการณ์” ซึ่งรวมถึงความเห็นในทางชี้ขาดตัดสินคดีต่อองค์คณะก่อนที่องค์คณะจะลงมติวินิจฉัย อันเปรียบเสมือนเป็นความเห็นของตุลาการคนเดียวว่า หากตกมีหน้าที่ตัดสินคดีเรื่องนั้นตนจะพิพากษาอย่างไร ด้วยเหตุผลประการใด ซึ่งแม้ว่าคำตัดสินขององค์คณะเท่านั้นที่จะถือเป็นคำพิพากษา แต่การให้มีระบบการเสนอ “คำแถลงการณ์” ของตุลาการผู้แถลงคดีต่อองค์คณะเช่นนี้ จะช่วยส่งเสริมให้มีระบบการเสนอคดีขององค์คณะมีความรอบคอบและถูกต้องมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะหากองค์คณะไม่เห็นด้วยกับคำแถลงการณ์ โดยหลักก็จะต้องแสดงให้เห็นถึงเหตุผลที่หนักแน่นและน่าเชื่อถือมากกว่าเพราะจะมีการเปรียบเทียบคำวินิจฉัยและเหตุผลของตุลาการผู้แถลงคดีและขององค์คณะได้ง่ายเนื่องจากกฎหมายกำหนดให้มีการพิมพ์เผยแพร่คำพิพากษาขององค์คณะ และคำแถลงการณ์ของตุลาการผู้แถลงควบคู่กันเสมอ

            กระบวนการพิจารณาคดีปกครองในศาลปกครอง ทั้งที่เป็นการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ชั้นต้น หรือการฟ้องคดีโดยตรงต่อศาลปกครองสูงสุด อาจสรุปขั้นตอนง่าย ๆ ได้ดังนี้ 

  1. ผู้ฟ้องคดียื่นคำฟ้อง ต่อเจ้าหน้าที่ของศาลปกครองหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน โดยจะต้องส่งคำฟ้องและพยานหลักฐาน พร้อมด้วยสำเนาคำฟ้องและพยานหลักฐานที่ผู้ฟ้องคดีรับรองสำเนาถูกต้องเท่ากับจำนวนของผู้ถูกฟ้องคดีมาด้วย
  2. รับคำฟ้องและตรวจคำฟ้องเบื้องต้น เมื่อผู้ฟ้องคดียื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นหรือศาลปกครองสูงสุดแล้วแต่กรณีแล้ว เจ้าหน้าที่ของศาลจะลงทะเบียนคดีในสารบบความและออกใบรับให้กับผู้ฟ้องคดี พร้อมทั้งตรวจคำฟ้องเบื้องต้น หากพิจารณาเห็นว่าเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ครบถ้วน เจ้าหน้าที่ก็จะเสนอคำฟ้องดังกล่าวต่ออธิบดีศาลปกครองชั้นต้นหรือประธานศาลปกครองสูงสุดเพื่อพิจาณาต่อไป แต่หากเจ้าหน้าที่ของศาลเห็นว่าคำฟ้องนั้นไม่สมบูรณ์ครบถ้วน แต่อาจแก้ไขได้ เจ้าหน้าที่ก็จะแนะนำให้ผู้ฟ้องคดีดำเนินการแก้ไขให้สมบูรณ์ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด หากผู้ฟ้องคดีไม่แก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือหากเห็นว่าคำฟ้องนั้นไม่อาจแก้ไขให้สมบูรณ์ครบถ้วนได้ หรือไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง เจ้าหน้าที่ศาลก็จะบันทึกและเสนอคำฟ้องดังกล่าวต่ออธิบดีศาลปกครองชั้นต้นหรือประธานศาลปกครองสูงสุด แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาต่อไป
วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”

พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

โครงสร้าง (Structure)
วัฒนธรรมองค์กร

คดีปกครอง

เงื่อนไข การฟ้องคดีปกครอง
          แม้ว่าการฟ้องคดีปกครองจะกระทำได้โดยง่าย แต่ศาลปกครองก็เป็นศาลระบบหนึ่ง เช่นเดียวกับศาลยุติธรรม กฎหมายจึงกำหนดเงื่อนไขบางประการเอาไว้ ทั้งนี้ เพื่อให้การฟ้องคดีเป็นระบบ และสามารถแก้ไขความเดือดร้อนของผู้ประสงค์จะฟ้องคดีได้อย่างแท้จริง เงื่อนไขการฟ้องคดีปกครองที่สำคัญ ๆ มีดังนี้

          1.      ผู้มีสิทธิฟ้องคดีปกครอง
                   ผู้ฟ้องคดีปกครองจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถตามกฎหมาย ซึ่งโดยปกติได้แก่ บุคคล บรรลุนิติภาวะ ที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ และได้รับความเดือดร้อน หรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องมาจากการกระทำ หรืองดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ หรือเป็นผู้ที่มีข้อโต้แย้ง เกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง หรือเป็นผู้ที่มีข้อโต้แย้งอื่นใดที่กฎหมายกำหนด ให้ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง เช่น การได้รับค่าเวนคืนที่ดินไม่เป็นธรรม เจ้าหน้าที่ไม่ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารโดยไม่ชอบ การออกใบอนุญาตล่าช้า ทำให้ผู้รับใบอนุญาตเสียหายหรือขาดรายได้ เป็นต้น

          2.      การขอให้แก้ไขเยียวยา ความเดือดร้อนหรือเสียหายในเบื้องต้นก่อนฟ้องคดี
                   หากเรื่องที่จะนำมาฟ้องคดีปกครองนั้น มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการให้ต้องดำเนินการอย่างใด เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายนั้นเสีย ผู้ฟ้องคดีก็จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนหรือวิธีการนั้นให้เสร็จสิ้นเสียก่อน จึงจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองได้ กล่าวคือ ในกรณีที่ได้รับคำสั่งทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าวก่อนที่จะนำคดีมายื่นฟ้องต่อศาลปกครองนั้น ผู้ฟ้องคดี จะต้องยื่นอุทธรณ์หรือโต้แย้งตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายในเรื่องนั้น ๆ กำหนดไว้ เช่น การอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย คำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร เป็นต้น หากกฎหมายในเรื่องนั้น ๆ มิได้บัญญัติ เรื่องการอุทธรณ์คำสั่งไว้ เช่น คำสั่งไม่อนุมัติให้ข้าราชการเบิกค่าเช่าบ้าน ผู้ฟ้องคดีจะต้องยื่นอุทธรณ์ตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายว่าด้วย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองกำหนดไว้ โดยยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งภายในสิบห้าวัน
นับแต่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้นเว้นแต่กรณีเป็นคำสั่งของรัฐมนตรี หรือมติของคณะกรรมการต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การฟ้องให้เพิกถอน กฎ การเรียกค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิด หรือสัญญาทางปกครอง ผู้ฟ้องคดีไม่ต้องยื่นอุทธรณ์ก่อน สามารถยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้ทันที เนื่องจากกฎหมายไม่ได้กำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายไว้โดยเฉพาะ

          3.      คำฟ้องและพยานหลักฐาน
                   คำฟ้องนั้นไม่มีแบบกำหนดไว้โดยเฉพาะ แต่ต้องทำเป็นหนังสือโดยใช้ถ้อยคำสุภาพ และต้องมีชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดี ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ตามสมควรที่แสดงให้ศาลเป็นว่าหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่กระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือมีข้อพิพาทอย่างไร เมื่อใด ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นอุทธรณ์หรือขอให้เจ้าหน้าที่แก้ไขเยียวยาตามขั้นตอนหรือวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว เมื่อใด ผลเป็นอย่างไร นอกจากนั้น ผู้ฟ้องคดีจะต้องระบุในคำขอด้วยว่าต้องการให้ศาลสั่งอย่างไร โดยคำขอจะต้องสอดคล้องกับเรื่องที่ฟ้องคดีและเป็นเรื่องที่ศาลมีอำนาจสั่งให้ได้ เช่น ขอให้ศาลสั่งให้เพิกถอนคำสั่งในกรณีที่ฟ้องว่าเจ้าหน้าที่ออกคำสั่งไม่ชอบ หรือสั่งให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ภายในเวลาที่กำหนด ในกรณีที่ฟ้องว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินควร เป็นต้น และผู้ฟ้องคดีจะต้องลงลายมือชื่อในคำฟ้อง พร้อมทั้งแนบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาด้วย (เช่นคำสั่งที่ทำให้ผู้ฟ้องคดีเดือดร้อนเสียหาย)
                    กรณีที่ผู้เดือดร้อนหรือเสียหาย หลายคนซึ่งแต่ละคนประสงค์จะฟ้องคดีด้วยเหตุเดียวกัน ผู้ฟ้องคดีทุกคนอาจยื่นคำฟ้องร่วมกันเป็นฉบับเดียวกันก็ได้ โดยลงลายมือชื่อผู้ฟ้องคดีทุกคนท้ายฟ้อง ในกรณีนี้ผู้ฟ้องคดีทุกคนจะมอบหมายให้ผู้ฟ้องคดีคนหนึ่งเป็นผู้แทนของผู้ฟ้องคดีทุกคนในการดำเนินคดีก็ได้ โดยระบุชื่อผู้แทนนั้นในคำฟ้องฉบับนั้น ไม่ต้องทำใบมอบอำนาจหรือใบมอบฉันทะแยกต่างหากแต่อย่างใด

          4.      ระยะเวลาในการฟ้องคดีปกครอง
                   การฟ้องคดีปกครองจะต้องกระทำภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีรู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือร้องขอให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดและไม่ได้รับหนังสือชี้แจง หรือได้รับแต่เป็นคำชี้แจงที่ไม่มีเหตุผล แต่ถ้าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองหรือการกระทำ ละเมิดทางปกครอง หรือความรับผิดอย่างอื่นต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันที่รู้ หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี แต่ไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดี แต่ถ้าเป็นคดีที่เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ หรือสถานะของบุคคล ผู้ฟ้องคดีจะยื่นฟ้องเมื่อใดก็ได้ ในกรณีที่เป็นคำสั่ง ที่อาจฟ้องต่อศาลปกครองได้ กฎหมายบังคับให้ผู้ออกคำสั่งต้องระบุอายุความ และวิธีการยื่นคำฟ้องไว้ในคำสั่งด้วย มิเช่นนั้นอายุความในการฟ้องคดีจะขยายเป็น 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้รับทราบคำสั่งนั้น คดีที่ยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนดอายุความ ถ้าเป็นคดีที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม หรือมีเหตุจำเป็นอื่น โดยศาลเห็นเองหรือคู่กรณีมีคำขอ ศาลจะรับไว้พิจารณาก็ได้

ประโยชน์จากการมีศาลปกครอง
             ประชาชนจะได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของหน่วยงาน/เจ้าหน้าที่ของรัฐหน่วยงานทางปกครอง/เจ้าหน้าที่ของรัฐจะทำงานโดยยึดหลัก ความชอบด้วยกฎหมาย โปร่งใส ตรวจสอบได้และมีประสิทธิภาพก่อให้เกิด “การบริหารราชการที่ดี” เป็นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศผลสุดท้ายจะสะท้อนกลับมาเป็นผลดีต่อประเทศชาติและประชาชน

ประโยชน์จากวิธีฟ้องคดีและวิธีพิจารณาคดี
               ฟ้องง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย
               มีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาในการดำเนินคดีผลสุดท้ายต่อสู้คดีได้อย่างเท่าเทียมกันกับหน่วยงาน/จนท.ของรัฐได้รับการตัดสินคดีจากผู้ที่มีความเป็นกลางและมีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ฟ้องคดี
               มีระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลการพิจารณาพิพากษาคดีการตัดสินคดียึดหลักประโยชน์ส่วนรวมและประโยชน์เอกชนควบคู่กันไป

เขตอำนาจศาลปกครอง

เขตอำนาจศาลปกครอง
             พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒   กำหนดให้จัดตั้งศาลปกครองในส่วนกลาง

            ศาลปกครองกลาง โดยมีเขตอำนาจตลอดท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครนายก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอ่างทอง จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดอุทัยธานี

            ศาลปกครองในส่วนภูมิภาค กระจายกันทั่วประเทศ ซึ่งในวาระเริ่มแรกนี้ได้เปิดทำการศาลปกครองในภูมิภาคแล้ว ๙ แห่ง แต่ละแห่งมีเขตอำนาจพิพากษาคดีปกครอง ดังนี้

บุคลากร

ข้าราชการฝ่ายอัยการ

ร้อยเอก วรศักดิ์ เรืองศรี
อธิบดีอัยการ

นางสาวอภิพร จันทพันธ์
รองอธิบดีอัยการ
นายปัญณวัจณ์ วสุพลเศรษฐ์
อัยการพิเศษฝายคดีปกครองสงขลา 1

นายเสมรชัย บุญเลิศ
อัยการผู้เชี่ยวชาญ

นายสุวิทย์ แสวงทอง
อัยการอาวุโส

  นายเนิน  รอดกำพล
อัยการอาวุโส 
นายประวิทย์   ชูกำเหนิด
อัยการอาวุโส

ข้าราชการฝ่ายธุรการ

นายธราพงษ์ คงศรีทอง
นิติกรชำนาญการพิเศษ
รักษาการในตำแหน่ง
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการ

ฝ่ายสนับสนุนงานคดี

 นายทศพร  ช่วยภักดี
เจ้าพนักงานคดีชำนาญการพิเศษ
นางละอองดาว ทองอินทร์
เจ้าพนักงานคดีชำนาญการ

นางสาวขวัญหญิง ขวัญเกื้อ
เจ้าพนักงานคดีชำนาญการ

นางสาวศิรประภา เส็นคง
นิติกรปฏิบัติการ

นางสาวศุภมาส บุญศิริ
นิติกรปฏิบัติการ

ฝ่ายงานธุรการ

นางวิภาวรรณ ดำมีศักดิ์
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ

นางสาวกันต์กวี พรหมศร
นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ
นายอนุพงษ์ ชูเรืองสุข
นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
นางสาวนันท์นภัส พวงรัตน์
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
นางสาวมาณวิกา  ขุนรองโนต
 เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน  
                       ทำเนียบผู้บริหาร

1. นายปรีชา วราโห         17 ธันวาคม 2544 - 10 พฤศจิกายน 2545
2. นายธวัชชัย ชำนาญล่อ     11 พฤศจิกายน 2545 - 30 กันยายน 2546
3. ร้อยโทปัญญา มีชื่น        1 ตุลาคม 2546 - 30 พฤศจิกายน 2547
4. นายเรวัตร จันทร์ประเสริฐ     1 ธันวาคม 2547 - 31 ตุลาคม 2548
5. นายสัญญา ศรีจันทรา       1 พฤศจิกายน 2548 - 30 พฤศจิกายน 2548
6. นายมณเฑียร รัตนปรีดากุล    1 ธันยาคม 2548 - 15 ตุลาคม 2549
7. นายนิพนธ์ วิชยาพร        16 ตุลาคม 2549-31 ตุลาคม 2550
8. นายชุษณะ อำพันแสง       1 พฤศจิกายน 2550- 30 กันยายน 2552
9. นายวิษณุ บุญยสมิต        1 ตุลาคม 2552 - 30 กันยายน 2554
10. นายสุรเชษฐ์ ศรีกระจ่าง     1 ตุลาคม 2554 - 30 กันยายน 2558
11. นายเกษมศักดิ์ อินทวงศ์    1 ตุลาคม 2558 - 30 กันยายน 2560
12. นายชาติชาย ทองอ่อน     1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2562
13. นายจิโรจน์ เอี่ยมโอภาส    1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
14. นายวิรัช ธัญญะกิจ       1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
15. นายชัชวาล จิรบวร       1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
16. นายประยูร พัฒนอมร     1 ตุลาคม 2565 -  30 กันยายน 2566
17. ร้อยเอกวรศักดิ์ เรืองศรี     1 ตุลาคม 2566 - ปัจจุบัน

สถิติคดี

คู่มือการส่งเรื่อง

   คู่มือแนวปฏิบัติการส่งเรื่องให้พนักงานอัยการดำเนินคดีปกครอง                  

       สำนักงานคดีปกครอง สำนักงานอัยการสูงสุด ได้จัดทำ Ebook , ซีดี (CD) และหนังสือคู่มือแนวปฏิบัติการส่งเรื่องให้พนักงานอัยการดำเนินคดีปกครอง  เพื่อประชาสัมพันธ์ให้นิติกรและผู้ประสานงานคดีปกครองของหน่วยงานต่าง ๆ ได้ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ ทำให้การส่งเรื่องให้พนักงานอัยการดำเนินคดีปกครองเป็นไปอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และรวดเร็วยิ่งขึ้น (หากหน่วยงานใดประสงค์ขอรับซีดี และหนังสือคู่มือฯ ติดต่อขอรับได้ด้วยตนเอง ที่สำนักงานคดีปกครองสงขลา ได้ทุกวันในเวลาราชการ (หมายเหตุ จำกัดจำนวนเพียง 150 ชุด เท่านั้น)

                          สื่อ วิดิทัศน์ – แนะนำการส่งเรื่องและเอกสารหลักฐาน กดรับชม

 เอกสาร 1 ชุด ประกอบด้วย

                       1. หนังสือคู่มือการปฏิบัติการส่งเรื่องให้พนักงานอัยการดำเนินคดีปกครอง    

                       2. ซีดี (ประกอบด้วยไฟล์ E-book และไฟล์ PDF คู่มือ) หรือ

                       3. โหลดคู่มือ PDF ได้ที่นี่  

เอกสารดาวน์โหลด

ติดต่อหน่วยงาน

สำนักงานคดีปกครองสงขลา
ที่ทำการตั้งอยู่ที่ อาคารสำนักงานอัยการเขต ๙ (อาคารหลังใหม่ ชั้น ๕) 
ถนนแหลมสนอ่อน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง
จังหวัดสงขลา ๙๐๐๐๐
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อหน่วยงาน
โทร./โทรสาร   ๐๗๔ – ๓๑๒๐๗๓    
   Email : sk-admin@ago.go.th
Facebook : สำนักงานคดีปกครองสงขลา