ข่าวประชาสัมพันธ์


รูปภาพและกิจกรรม

ท่านวิจิตรา อิศโร อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค 5 พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ และบุคลากร สำนักงานคดีแรงงาน ภาค 5 ร่วมสระเกล้าดำหัว คณะผู้บริหารสำนักงานคดีแรงงานภาค 5 เนื่องในวันสงกรานต์ 2566 ในวันศุกร์ ที่ 26 เมษายน 2567 เวลา 10.30 น. ณ โถงหน้าลิฟต์ ชั้น 3

นายจรัศพงศ์ ขจัดสารพัดภัย รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค 5 พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราขเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ และวันอนุรักษ์มรดกไทย ในวันอังคารที่ 2 เมษายน 2567 เวลา 08.00 น. ณ ห้องราชพฤกษ์ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าฯตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

นางสาวจิรวรรณ จันทร์สว่าง อัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงานภาค 5 พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธีวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ ประจำปี 2567 ในวันเสาร์ที่ 6 เมษายน 2567 เวลา 09.00 น. ณ ห้องราชพฤกษ์ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าฯตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

นายบรรพต ภาคยุทธ อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งภาค 5 พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธีวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประจำปี 2567 ในวันพุธที่ 17 มกราคม 2567 เวลา 08.00 น. ณ ห้องนิทรรศการ 1  ศูนย์ประชุมและ    แสดงสินค้าฯตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

นางวิจิตรา  อิศโร อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค 5  พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ  เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะ ในวันอังคารที่ 5 ธันวาคม 2566 เวลา 07.00 น.  ณ ห้องนิทรรศการ 1 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

นายจรัสพงศ์  ขจัดสารพัดภัย รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค 5 พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์และพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล แลพิธีวางพวงมาลาถวายราชสักการะ ในวันศุกร์ที่13 ตุลาคม 2566 เวลา 07.00 น.  ณ ห้องนิทรรศการ 1  ศูนย์ประชุมและ    แสดงสินค้าฯตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

วันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม 2566 ข้าราชการฝ่ายอัยการ และบุคลากรสำนักงานคดีแรงงานภาค 5 ต้อนรับ ท่านวิจิตรา อิศโร อธิบดีอัยการ ท่านจรัสพงศ์ ขจัดสารพัดภัย รองอธิบดีอัยการ ท่านคมวิทย์ แดงไชยวัฒน์ อัยการอาวุโส เรืออากาศโท สงวน สวัสดิ์วงค์ อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งภาค 5 ท่านจิรวรรณ จันทร์สว่าง อัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงานภาค 5 เนื่องในวาระย้ายมาดำรงตำแหน่งใหม่ ณ สำนักงานคดีแรงงานภาค 5

ด้วยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหนังสือที่ นร 0109/ว 6772 ลงวันที่ 14 กันยายน 2566 แจ้งว่า คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 เห็นชอบกำหนดให้วันที่ 28 กันยายนของทุกปี เป็นวันวันพระราชทานธงชาติไทย 28 กันยายน (Thai National Flag Day) เริ่มในวันที่ 28 กันยายน 2560 เป็นวันแรก รวมทั้งกำหนดให้มีการชักและประดับธงชาติไทยในวันดังกล่าว เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจของคนในชาติและเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย สำนักงานคดีแรงงานได้ร่วมจัดกิจกรรมประดับธงชาติไทย ณ บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักงาน คดีปกครองเชียงใหม่

นายจำนอง ปานทอง อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค 5 พร้อมด้วยข้าราชการอัยการและข้าราชการธุรการ ร่วมทำบุญอาคารสำนักงานอัยการภาค 5 ประจำปี พ.ศ. 2566 ในวันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม 2566 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมล้านนา ชั้น 3 อาคารสำนักงานอัยการภาค 5

นายครรชิต หุตะกมล อัยการผู้เชี่ยวชาญ พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธีเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2566 ในวันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม 2566  เวลา 17.00 น.ณ ห้องนิทรรศการ 1 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ   7 รอบ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

                    นายสมพงษ์  อุดมวัฒนานันท์ อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งภาค 5 พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ ร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีทางศาสนามหามงคล 5 ศาสนา ในวันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม 2566  เวลา 07.00 น. ณ ห้องนิทรรศการ 1 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ  7 รอบ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

นายเนธิภัททิก์ เสฏฐิตานันท์ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค 5 พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม 2566 เวลา 17.00 น. ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

นายจำนอง ปานทอง อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค 5 พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศล และพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม 2566 เวลา 07.00 น. ณ ห้องนิทรรศการ 1 ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

นายจำนอง ปานทอง อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค 5 พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากรของสำนักงานคดีแรงงานภาค ๕  เข้าร่วมพิธีลงนามถวานพระพรชัยมงคล ณ อาคารสำนักงานคดีปกครองเชียงใหม่ ชั้น 5 วันพุธที่ 26 กรกฎาคม 2566 เวลา 10.00 น.

ข้าราชการฝ่ายอัยการและบุคลากรของสำนักงานคดีแรงงานภาค ๕  ร่วมงานประเพณีสระเกล้าดำหัวครอบครัวอัยการภาค ๕ เนื่องในวันสงกรานต์ ๒๕๖๖ ณ สำนักงานอัยการภาค ๕ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ข้าราชการฝ่ายอัยการ และบุคลากร สำนักงานคดีแรงงาน ภาค 5 จัดงานประเพณีสระเกล้าดำหัวอัยการอาวุโส เนื่องในวันสงกรานต์ 2566 ในวันศุกร์ ที่ 21 เมษายน 2566 เวลา 09.30 น. ณ โถงหน้าลิฟต์ ชั้น 3

นายเนธิภัททิก์  เสฏฐิตานันท์ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค 5 พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธีวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ ประจำปี 2566   ในวันที่ 6 เมษายน 2566 เวลา 09.00 น.  ณ ห้องราชพฤกษ์   ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าฯตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

นายบรรพต  ภาคยุทธ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอยัการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งภาค 5   พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ พิธีถวายเครื่องราชสักการะและวางพานพุ่ม และพิธีถวายพระพรชัยมงคล ในวันที่ 2 เมษายน 2566 เวลา 08.00 น. ณ ห้องราชพฤกษ์ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

นายเกียรติศักดิ์  ไตรแสงรุจิระ อัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงานภาค 5 พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ  เข้าร่วมพิธีถวายราชสักการะ เนื่องในวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ประจำปี 2566  และการจัดงานวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2566 ในวันที่ 31 มีนาคม 2566  เวลา 09.00 น. ณ ห้องราชพฤกษ์ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

นายจำนอง  ปานทอง อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค 5 พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ   เข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี   กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในวันที่ 2 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 น. ณ วัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร  ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

นายสมพงษ์ อุดมวัฒนานันท์ อัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งภาค 5 พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายอัยการ เข้าร่วมประกอบพิธีวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประจำปี พ.ศ. 2566 ในวันอังคารที่ 17 มกราคม 2566 เวลา 08.00 น. ณ ห้องราชพฤกษ์ ศูนย์ประชุมแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

นายจำนอง ปานทอง อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค 5 พร้อมด้วยข้าราชการอัยการและข้าราชการธุรการ ร่วมกิจกรรมสาธารณกุศล การปล่อยปลา เพื่อถวายพระพรแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในวันที่ 10 มกราคม 2566 เวลา 10.00 น. ณ ทะเลสาบกรีนเลครีสอร์ท (ฝั่งหอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่) ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่

เกี่ยวกับสำนักงาน

          

วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์

วิสัยทัศน์ (Vision)

“องค์กรนำในการใช้กฎหมาย เพื่อรักษาความยุติธรรมให้กับประชาชนและสังคม”


พันธกิจ (Missions)

1. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานงานตามภารกิจ ด้านการอํานวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือทาง กฎหมายแก่ประชาชนให้มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและศรัทธา
2. พัฒนาความร่วมมือ บูรณาการเครือข่ายองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมของประเทศ
3. เพิ่มศักยภาพมาตรฐานกลไกการบริหารจัดการระบบงานและกระบวนการทํางานที่สําคัญ รวมทั้งการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลและระบบจัดการองค์ความรู้เพื่อมุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมโดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐาน
4. พัฒนาองค์กรให้มีคุณภาพคู่คุณธรรมตามหลักธรรมาภิบาล บุคลากรมีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี


โครงสร้าง (Structure)


วัฒนธรรมองค์กร

อำนาจหน้าที่

สำนักงานคดีแรงงาน สำนักงานคดีแรงงานเขต และศาลแรงงาน

โดยที่คดีแรงงานเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีแพ่งโดยทั่วไป รัฐจึงได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ขึ้นเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานเป็นการเฉพาะและได้จัดตั้งศาลแรงงานกลางขึ้นเป็นแห่งแรก ที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2553 โดยมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานตลอดกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี (ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 5)

เดิมยังไม่มีการจัดตั้งศาลแรงงานภาค หรือศาลแรงงานจังหวัดในส่วนภูมิภาค ตามบทเฉพาะกาลมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดไว้ว่า “ในระหว่างที่ศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด ให้ศาลแรงงานกลางมีเขตอำนาจในท้องที่นั้นด้วย” ดังนั้น ศาลแรงงานกลางจึงมีเขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร คดีเกี่ยวกับแรงงานที่เกิดขึ้นในส่วนภูมิภาค ไม่ว่าท้องที่จังหวัดใด จึงสามารถยื่นฟ้อง และดำเนินคดียังศาลในท้องที่ ๆ เกิดเหตุได้ โดยศาลแรงงานเกลางได้จัดตั้งศาลแรงงานกลางสาขาขึ้นมีเขตพื้นที่หลายจังหวัด และส่งผู้พิพากษาออกไปนั่งพิจารณาคดี ณ ศาลจังหวัดแห่งท้องที่นั้น ๆ

โดยที่พระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 6 บัญญัติไว้ว่า “ให้มีพนักงานอัยการไว้เป็นทนายแผ่นดินประจำศาลยุติธรรมชั้นต้นทุกศาล” ดังนั้น สำนักงานอัยการสูงสุดหรือกรมอัยการในขณะนั้น จึงได้จัดตั้งสำนักงานคดีแรงงานขึ้น โดยเฉพาะเพื่อให้มีพนักงานอัยการเป็นทนายแผ่นดินดำเนินคดีแรงงานในศาลแรงงาน เพื่อให้ได้พนักงานอัยการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดำเนินคดีแรงงานไว้ประจำทำหน้าที่ต่อไป สำนักงานคดีแรงงาน สำนักงานอัยการสูงสุด ได้จัดตั้งขึ้น โดยพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมอัยการ พ.ศ.2546 เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2526 เพื่อทำการว่าต่าง แก้ต่าง ให้แก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรส่วนท้องถิ่น และแก้ต่างให้เจ้าพนักงานในหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ องค์กรส่วนท้องถิ่น ซึ่งถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลแรงงานกลาง ในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ ทั้งนี้เป็นอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 และพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง กรม พ.ศ.2545 มาตรา 46(9)

เขตอำนาจของสำนักงานคดีแรงงาน และสำนักงานคดีแรงงานเขต

ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานอัยการสูงสุด ได้กำหนดให้สำนักงานคดีแรงงานมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีทั้งปวง ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ตลอดจนปฏิบัติงานอื่นร่วมกันสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย เนื่องจากตามบทเฉพาะกาลมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2552 กำหนดไว้ว่าในระหว่างที่ศาลแรงงานภาคและศาลแรงงานจังหวัดยังมิได้เปิดทำการในท้องที่ใด ให้ศาลแรงงานกลางมีเขตอำนาจในท้องที่นั่นด้วย ดังนั้นศาลแรงงานกลางจึงมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานทั่วราชอาณาจักร

ต่อมา สำนักงานอัยการสูงสุด มีนโยบายให้สำนักงานอัยการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีแรงงานด้วย เนื่องจากอัยการจังหวัดประจำกรมฯ (อัยการจังหวัด สคช.) มีคนเดียว เมื่ออัยการจังหวัดประจำกรมฯ (อัยการจังหวัด สคช.) ไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ เช่น เข้ารับการอบรม ก็จะไม่มีผู้ดำเนินคดีแทน อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่คดีได้ ประกอบกับสำนักงานอัยการสูงสุดประสบปัญหาขาดแคลนอัตรากำลัง เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ราชการและรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของรัฐ สำนักงานอัยการสูงสุด จึงได้มีคำสั่งที่ 261/2545 ลงวันที่ 3 มิถุนายน 2545 ยกเลิกคำสั่งที่ 330/2544 มอบอำนาจให้อัยการจังหวัดและพนักงานอัยการในสำนักงานอัยการจังหวัดทุกคนมีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีแรงงานด้วย

สำนักงานอัยการสูงสุด ได้มีคำสั่งแบ่งส่วนราชการในสำนักงานอัยการสูงสุด (เพิ่มเติม)
ในส่วนที่เกี่ยวกับสำนักงานคดีแรงงาน กล่าวคือ

คำสั่งที่ 590/2545 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2545 แบ่งส่วนราชการสำนักงานคดีแรงงานเพิ่มเติม คือ
(1) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงานสาขาชลบุรี
(2) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงานสาขาภูเก็ต
(3) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงานสาขาสงขลา
(4) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงานสาขาสมุทรปราการ
(5) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงานสาขาธัญบุรี
(6) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงานสาขาอุดรธานี
(7) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงานสาขาเชียงใหม่
(8) สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงานสาขาสมุทรสาคร

โดยในส่วนของสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงานสาขาเชียงใหม่ สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ให้สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแรงงานสาขาเชียงใหม่ มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินคดีทั้งปวงตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงานกลางสาขาเชียงใหม่ (เขตอำนาจเหนือพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน พะเยา เชียงราย น่าน ลำพูน แพร่) คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8
1. คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
2. คดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
3. กรณีที่จะต้องใช้สิทธิทางศาลตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
4. คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือของ
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
5. คดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างหรือลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน
6. ข้อพิพาทแรงงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ปัจจุบันได้แก่กระทรวงแรงงาน ขอให้ศาลแรงงานชี้ขาดตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์

แต่โดยปกติแล้วมักจะมีการโต้แย้งกันว่าเป็นการพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานหรือไม่ เพราะถ้าไม่ใช่เป็นการจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่นเป็นการจ้างทำของหรือรับฝากทรัพย์ ก็ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน

คดีแรงงาน

คดีแรงงานที่จะกล่าวถึงในที่นี้ หมายถึงคดีแรงงานที่เป็นคดีแพ่ง คดีแรงงาน เป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีแพ่งทั่วไป เนื่องจากคดีแรงงานเป็นคดีพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เนื่องในการทำงานให้แก่นายจ้าง ทั้งสองฝ่ายจึงมีความสัมพันธ์และต้องปฏิบัติต่อกันตามกฎหมายพิเศษนอกเหนือไปจากกรณีที่ต้องปฏิบัติต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการจ้างแรงงาน โดยรัฐได้ออกกฎหมายสารบัญญัติคุ้มครองแรงงานหลายฉบับ และได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 เพื่อพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 จึงจะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม

ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 กำหนดให้ศาลที่จะมีอำนาจพิจารณาคดีแรงงานไว้ 2 ชั้น คือ ศาลแรงงานชั้นต้นและศาลฎีกา

ศาลแรงงานชั้นต้น คือ ศาลแรงงานกลางตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังมีศาลแรงงานภาค 2 ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี ศาลแรงงานภาค 4 ตั้งอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี ศาลแรงงาน
ภาค 5 ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ศาลแรงงานภาค 6 ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ ศาลแรงงานภาค 8 ตั้งอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต ศาลแรงงานภาค 9 ตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา และศาลแรงงานกลาง (สาขา) ตั้งอยู่ที่ศาลจังหวัดต่าง ๆ อีกหลายแห่งเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้มีข้อพิพาทเกี่ยวกับคดีแรงงานให้ครอบคลุมทั่วราชอาณาจักร

ศาลแรงงานมีกระบวนวิธีพิจารณาเป็นการเฉพาะแตกต่างจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เช่น ในการนั่งพิจารณาพิพากษาคดีต้องมีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่า ๆ กัน จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ (ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 11) ในการยื่นคำฟ้องตลอดจนดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในศาลแรงงานให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียม (มาตรา 27) ศาลแรงงานจะพยายามไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงหรือประนีประนอมยอมความกัน โดยถือว่าคดีแรงงานมีลักษณะพิเศษอันควรระงับลงได้ด้วยความเข้าใจอันดีต่อกันเพื่อที่ทั้งสองฝ่ายจะได้มีความสัมพันธ์กันต่อไป (มาตรา38) และเมื่อศาลแรงงานชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีใดแล้ว คู่ความฝ่ายใดไม่พอใจก็อาจอุทธรณ์คำพิพากษาคดีนั้นได้ แต่จะอุทธรณ์ได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น และต้องอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง (มาตรา 54) เป็นต้น

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานอัยการสูงสุดนั้น เนื่องจากพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 6 (ได้บัญญัติไว้ว่า “ให้มีพนักงานอัยการไว้เป็นทนายแผ่นดินประจำศาลยุติธรรมชั้นต้นทุกศาล”
(1) ในคดีอาญา มีอำนาจหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่น ซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงาน
(2) ในคดีแพ่ง มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง กับมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
(3) ในคดีแพ่งหรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าพนักงานถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดีหรือในคดีแพ่งหรืออาญาที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน ซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมายหรือเข้าร่วมกับเจ้าพนักงานกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างก็ได้
(4) ในคดีแพ่งที่เทศบาลหรือสุขาภิบาลเป็นโจทก์หรือเป็นจำเลย ซึ่งมิใช่เป็นคดีพิพาทกับรัฐบาลเมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควรจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างก็ได้
(5) ในคดีแพ่งที่นิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นเป็นโจทก์หรือเป็นจำเลย และมิใช่เป็นคดีที่พิพาทกับรัฐบาล เมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควรจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างก็ได้
(6) ในคดีที่ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดฟ้องเองไม่ได้ โดยกฎหมายห้ามเมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่เป็นโจทก์ก็ได้
(7) ในคดีศาลชั้นต้นลงโทษบุคคลใดโดยลำพัง ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ปล่อยผู้นั้น เมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควรจะฎีกาก็ได้
(8) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น และในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ

นอกจากนี้ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 มาตรา 46 (9) บัญญัติให้สำนักงานอัยการสูงสุด มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่ง และให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย”

ดังนั้น เมื่อมีการจัดตั้งศาลแรงงานกลางขึ้นพิจารณาพิพากษาคดีแรงงาน สำนักงานอัยการสูงสุดจึงได้จัดตั้งสำนักงานคดีแรงงานขึ้นในสำนักงานอัยการสูงสุด โดยมีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีแรงงานในศาลแรงงานขึ้นในสำนักงานอัยการสูงสุด โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีแรงงานในศาลแรงงานกลางแทนรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ คือ กระกรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ องค์กรส่วนท้องถิ่นและเจ้าพนักงานของรัฐหรือองค์กรส่วนท้องถิ่นที่จะฟ้องคดีหรือถูกฟ้องคดีแรงงานในศาลแรงงาน

นโยบายและแผนบริหาร

หน่วยงานในสังกัด

การให้บริการ

เว็บไซต์ สคช. https://www3.ago.go.th/center/lawaid

คลิกที่นี่

 สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายแผนช่วยเหลือทางกฎหมาย สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด ได้พัฒนาระบบการให้คำปรึกษาปัญหากฎหมายผ่านเว็บบอร์ด (webboard) โดยประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งาน โดยใช้ชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ เลขบัตรประจำตัวประชาชน และตั้งรหัสของตนเอง ได้ จากนั้น ก็เข้าไปตั้งคำถามประเด็นกฎหมายที่สงสัยหรืออยากให้พนักงานอัยการให้คำปรึกษาในเรื่องใด และสามารถกดเลือกสำนักงานอัยการที่ต้องการจะถามได้ด้วย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ใช้งานอยู่ในจังหวัดใด หรือสะดวกที่สำนักงานใด และสามารถที่จะเลือกได้ว่า คำถามที่ถามนั้น ไม่ต้องการให้คนอื่นเห็น หรืออยากให้ประชาชนทั่วไปได้รู้ได้ทราบทั่วกันก็สามารถระบุความยินยอมในกระดานคำถามเว็บบอร์ดดังกล่าวได้ เมื่อถามไปแล้ว ข้อความคำถามก็จะไปแสดงในสารบบงาน สคช. (ระบบคอมพิวเตอร์) ของสำนักงานอัยการที่ผู้ถามระบุไว้ จากนั้น พนักงานอัยการก็จะตอบคำถามในเว็บบอร์ดแล้วส่งกลับไปยังผู้ถาม จากนั้น อาจเป็นการนัดหมายให้ไปพบหรือให้ไปส่งเอกสารเพิ่มเติม หรือ รับคำร้องให้ความช่วยเหลือกันต่อไป แล้วแต่กรณี
ตัวอย่างในการเข้าใช้งาน อัยการช่วยได้

คู่มือและมาตรฐานการปฏิบัติงาน

กระบวนงานการให้บริการ

การดำเนินการบังคับโทษปรับในคดียาเสพติด

แนวทางการส่งเรื่องให้อัยการในการดำเนินคดีปกครอง

คู่มือเกี่ยวกับการดำเนินการคดีแพ่ง

คู่มือการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการฐานความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

บุคลากร

ทำเนียบผู้บริหาร

๑. นายสรรเพ็ชร์     สิงหเสนี  ๑๖  ตุลาคม  ๒๕๔๙         –  ๓๐ กันยายน  ๒๕๕๐
๒. นางนิภา           ยิ้มฉาย                ๑  พฤศจิกายน  ๒๕๕๐   –  ๓๐  กันยายน  ๒๕๕๒
๓. นายวัฒนชัย      คุ้มวงศ์ดี                ๑  ตุลาคม  ๒๕๕๒         –  ๓๐  กันยายน  ๒๕๕๔
๔. นายพิชิต          เจริญเกียรติกุล        ๑  ตุลาคม  ๒๕๕๒         –  ๓๐  กันยายน  ๒๕๕๔
๕. นางสาวรจนา     เหมะกรม               ๑  เมษายน  ๒๕๕๕        –  ๓๑  ตุลาคม ๒๕๕๖
๖. นายศานติ         ประสาทกุล            ๑  พฤศจิกายน  ๒๕๕๖     –  ๓๐  กันยายน  ๒๕๕๘
๗. นายวิโรจน์       อรุณโรจน์             ๑  ตุลาคม  ๒๕๕๘           –   ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐
๘. นายพินิจ         ตันสถิรานันท์         ๑  ตุลาคม  ๒๕๖๐            –   ๓๐  กันยายน  ๒๕๖๑
๙. นายชวลิต        สุวรรณภูชัย           ๑  ตุลาคม  ๒๕๖๑            –  ๓๐  กันยายน  ๒๕๖๒
๑๐. นายอภิชาติ    พลอยแก้ว             ๑  ตุลาคม  ๒๕๖๒           –   ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓
๑๑.  นายอานันท์  ธีระชิต                   ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓            –    ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
๑๒. นายจิระประวัติ  แบบประเสริฐ                ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔    – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕
๑๓.  นายจำนอง ปานทอง๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖
๑๔. นางวิจิตรา อิศโร๑ ตุลาคม ๒๕๖๖

ข้าราชการอัยการ

สำนักงานคดีแรงงานภาค 5

ข้าราชการธุรการ และบุคลากร

สำนักอำนวยการ สำนักงานคดีแรงงานภาค ๕

หนังสือเวียนของสำนักงานคดีแรงงานภาค 5

เลขที่หนังสือเวียนวันที่เรื่อง
อส 0038(5)/ว 14 มกราคม 2561การจัดเก็บข้อมูลผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด
อส 0038(5)/ว 213 มีนาคม 2561กำชับการปฏับิติตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีแพ่งของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2560
อส 0038(5)/ว 415 มิถุนายน 2561การหักล้างเงินยืมค่าธรรมเนียมความแพ่ง
อส 0038(5)/ว 55 กรกฏาคม 2561การจัดเก็บข้อมูลผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด
อส 0038(5)/ว 620 กรกฏาคม 2561การจัดส่งแบบรายงานบัญชีสำนวนเสร็จ, บัญชีสำนวนค้าง, บัญชีแสดงการที่ทำของพนักงานอัยการคดีแพ่ง ฯ
อส 0038(5)/ว 720 กันยายน 2561การจัดส่งแบบรายงาน บัญชีสำนวนเสร็จ บัญชีสำนวนค้าง และบัญชีแสดงการที่ทำของพนักงานอัยการคดีแพ่ง
อส 0038(5)/ว 82 ตุลาคม 2561ขอสถิติปริมาณคดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
อส 0038(5)/ว 917 ตุลาคม 2561จัดสรรค่าทนายความ
เลขที่หนังสือเวียนวันที่ เรื่อง
อส 0038(5)/ว 227 มีนาคม 2563การจัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด
อส 0038(5)/ว 39 เมษายน 2563ขอให้ตรวจสอบและเร่งรัดการดำเนินคดีแพ่ง
อส 0038(5)/ว 427 เมษายน 2563การายงานการรับเรื่องคดีแพ่ง
อส 0038(5)/ว 527 พฤษภาคม 2563ให้พนักงานอัยการที่ได้รับคำสั่งโยกย้ายดำเนินการหักล้างเงินยืมค่าธรรมเนียมความแพ่ง
อส 0038(5)/ว 628 สิงหาคม 2563แนวทางพิจารณาคดีแพ่ง กรณีการเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความรับผิดทางละเมิด
อส 0038(5)/ว 830 ตุลาคม 2563การหักล้างเงินยืมค่าธรรมเนียมความแพ่ง
อส 0035(5)/ว 911 พฤศจิกายน 2563ข้อพิจารณาของพนักงานอัยการในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 39 ที่มีความเห็นแตกต่างกับมติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
อส 0038(อก 5)/ว 1230 ธันวามคม 2563การจัดตั้งศูนย์เสริมสร้างศักยภาพการดำเนินคดีแพ่งภาค 5
อส 0038(5)/ว 1330 ธันวาคม 2563คำชั้ขาดปัญหาโตเแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาดำเนินการระหว่างสำนักงาน (กรณีการฟ้องเรียกเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคืน)
เลขที่หนังสือเวียนวันที่เรื่อง
อส 0038(5)/ว 213 มกราคม 2564ข้อพิจารณาของพนักงานอัยการในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 39 ที่มีความเห็นแตกต่างกับมติของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (เพิ่มเติม)
อส 0038(5)/ว 419 มีนาคม 2564ให้พนักงานอัยการที่ได้รับคำสั่งโยกย้ายดำเนินการหักล้างเงินยืมค่าธรรมเนียมความแพ่ง
อส 0038(5)/ว 52 สิงหาคม 2564การพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ที่ร้องเรียนต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
อส 0038(5)/ว 611 สิงหาคม 2564จัดส่งข้อมูลประกอบการตรวจราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
อส 0037(อก 5)/ว 77 ตุลาคม 2564การจัดตั้งศูนย์เสริมสร้างศักยภาพการดำเนินการคดีแพ่งภาค 5
อส 0037(5)/ว 815 ตุลาคม 2564การรายงานรับเรื่องคดีแพ่ง

ดาวน์โหลดเอกสารคดีแพ่ง


เตรียมความพร้อม ป้องกัน เฝ้าระวังสถานการณ์
แพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19)

สำนักงานคดีแรงงานภาค 5 เตรียมความพร้อม ป้องกัน เฝ้าระวังสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19)
ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ สวมหน้ากากอนามัย และจัดเตรียม
เจลแอลกอฮอล์ ล้างมือ เพื่อให้บริการแก่ผู้มาติดต่อราชการ
และบุคลากร ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 3 อาคารสำนักงานคดีปกครองเชียงใหม่  สำนักงานดคีแรงงานภาค 5



Email ago.go.th Email gov dga Line @oagth Page Facebook Youtube Channel


สำนักงานคดีแรงงานภาค 5
เลขที่ 559 อาคารสำนักงานคดีปกครองเชียงใหม่ ชั้น 3
ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก
อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์ 0-5311-2890 โทรสาร 0-5311-2891 E-mail : cm-labor@ago.go.th